640406_พ่อครูเทศน์ เปิดยุคบุญนิยมระดม ปัญญา-อนัตตา ตอน 2 งานปลุกเสกฯครั้งที่ 44
ดาวโหลดเอกสารที่ https://docs.google.com/document/d/1kWXPUsDf2jFv10e7CZFyRUo7sV_4gI65uR7rPbcR_zE/edit?usp=sharing
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1AR6aYLBSrkT-sTQLQOKfPCDkEUSQyXJr/view?usp=sharing
และยูทูปที่ Facebookhttps://www.facebook.com/300138787516163/videos/437961860840076
กายสักขีกับปัญญาวิมุติ
พ่อครูว่า…วันนี้วันอังคารที่ 6 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศกวันนี้เป็นวันจักรี
งานนี้เราพูดเป็นซีรีย์ว่า จะพูดถึงปัญญา อนัตตา ก็เลยเอาปัญญา ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในปัญญาสูตรพระไตรปิฎกเล่ม 13 ข้อ 92 ไล่มา เราพูดถึงปัญญาไป 3 ข้อแล้ว
ปัญญา ซึ่งเป็นความรู้ความฉลาดที่เป็นโลกุตระ ไม่ใช่ความรู้ความฉลาดที่เป็นโลกียะ นี่ถ้า อาตมาไม่ได้เกิดมาก็จะไม่มีใครมาบอกนัยสำคัญประเด็นนี้ให้แก่โลกรู้ ก็จะเข้าใจคำว่าปัญญา มันก็คือความรู้ความฉลาดที่เหมือนกับเฉโก หรือเฉกะ เขาก็จะเข้าใจว่าเหมือนกัน
ซึ่งความจริงไม่ใช่อย่างยิ่ง เป็นความรู้กันคนละโลก ความรู้โลกีย์เป็นความรู้ความฉลาดที่ใช้ภาษาบาลี เฉโก หรือเฉกะ หรือเฉกตา(นาม) แต่คนทุกวันนี้ไม่เข้าใจแล้ว แยกไม่ออกไม่เห็นความต่างอันนี้ตรงที่ว่าเป็นโลกุตระนั้นอย่างไร จะเห็นว่าเป็นความฉลาดเหมือนโลกีย์ เพราะฉะนั้นจะพูดถึงปัญญาๆๆ เมื่อไหร่ ชาวพุทธคนไทยก็จะเข้าใจว่าเป็น เฉโก เป็นความฉลาดแบบเดียวกับโลกีย์ ซึ่งผิดหมดเลย ใช้ไม่ได้เลย
เพราะปัญญานี้ เป็นความฉลาดที่เป็น ฌาน ถ้าปฏิบัติฌาน ของพระพุทธเจ้าสำเร็จ เป็นมรรคผลที่แท้จริง สัมมาทิฏฐิ แต่ทุกวันนี้ปฏิบัติฌานไม่เป็นสัมมาทิฏฐิ ที่เป็นแบบฤาษี เดียรถีย์สมัยเก่า ไม่ใช่ของพระพุทธเจ้าตรัสรู้เป็น ฌาน นั่งหลับตาสะกดจิต แบบนั้นไม่ใช่ฌาน ของพระพุทธเจ้าที่จะมีปัญญา ปัญญาย จัสสทิสวา จะไม่มี
นัตถิ ฌานัง อปัญญัสสะ ปัญญา นัตถิ อฌายโต
ยัมหิ ฌานัญจะ ปัญญา จ ส เว นิพพานสันติเก
ฌานย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา ปัญญาย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน
ฌานและปัญญามีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นแล อยู่ในที่ใกล้นิพพาน
(พตปฎ. เล่ม 25 ข้อ 35)
ปัญญาพาสู่นิพพาน แต่เฉโก ไม่พาไปสู่นิพพาน จะเป็นความฉลาดของศาสดาองค์ใดก็ตาม ในศาสนาเทวนิยม กี่ศาสดาประกาศศาสนาเป็นของตัวเองได้ไม่รู้กี่องค์ก็ไม่ใช่ความรู้ความฉลาดที่เรียกว่าปัญญา
ใน พระไตรปิฎกเล่ม 36 ที่ท่านบอกว่าจะทำให้อาสวะสิ้นได้ด้วยปัญญา ถ้าไม่มีปัญญาก็ทำให้อาสวะสิ้นไปไม่ได้ เป็นคำตรัสของพระพุทธเจ้าชัดเจนในบุคคล 7
ปัญญาเป็นความเฉลียวฉลาดของโลกุตรธรรมที่จะเรียนรู้ธาตุขันธ์ จิตเจตสิก รูปนิพพาน ไม่ใช่เป็นความรู้สารพัดสารเพที่จะรู้อะไรโลกโลกโลกีย์ทั้งหมด ไม่ใช่เลย เป็นความรู้พิเศษต่างหาก ที่ตรัสรู้โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ศาสนาไหนก็มีไม่ได้ตัวปัญญานี้ มีได้เฉพาะศาสนาพุทธ มีได้เฉพาะที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ทั้งนั้น ไม่มีใครสามารถรู้ได้
เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสความหมายของปัญญา 8 ข้อนี้ไว้เลย
ข้อ 1 คนจะเกิดปัญญาได้ต้องได้ยินจากพระโอษฐ์พระพุทธเจ้าเท่านั้น ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้าในโลก ยุคไหน ๆ ก็ตาม ก็ไม่เกิดปัญญา … ใน พระไตรปิฎก เล่ม 36
[41] บุคคลชื่อว่าปัญญาวิมุต เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ มิได้ถูกต้องซึ่งวิโมกข์ 8 ด้วยกาย สำเร็จอิริยาบถอยู่ แต่อาสวะของผู้นั้นสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้ เรียกว่า ปัญญาวิมุต
[41] กตโม จ ปุคฺคโล ปญฺญาวิมุตฺโต อิเธกจฺโจ ปุคฺคโล น เหว โข อฏฺฐ วิโมกฺเข กาเยน ผุสิตฺวา วิหรติ ปญฺญาย จสฺส ทิสฺวา อาสวา ปริกฺขีณา โหนฺติ อยํ วุจฺจติ ปุคฺคโล ปญฺญาวิมุตฺโต ฯ
[42] บุคคลชื่อว่ากายสักขี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องซึ่งวิโมกข์ 8 ด้วยกาย แล้วสำเร็จอิริยาบถอยู่ ทั้งอาสวะบางอย่างของผู้นั้นก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า กายสักขี
[42] กตโม จ ปุคฺคโล กายสกฺขี อิเธกจฺโจ ปุคฺคโล อฏฺฐ วิโมกฺเข กาเยน ผุสิตฺวา วิหรติ ปญฺญาย จสฺส ทิสฺวา เอกจฺเจ อาสวา ปริกฺขีณา โหนฺติ อยํ วุจฺจติ ปุคฺคโล กายสกฺขี ฯ
แม้แต่คำว่าปัญญาทุกวันนี้ก็เสื่อม คนได้เสื่อมจากความรู้ที่เป็นวิชชา ปัญญา พระพุทธเจ้าไปแล้ว เข้าใจสิ่งที่อาตมาพูดไปนี้ไม่ได้แล้ว
แค่คำว่า กาย คำว่า ปุญญะ คำว่า สมาธิ คำว่าฌาน เป็นของพระพุทธเจ้าก็เสื่อมเพี้ยนไปหมดอาตาตมาก็เอามาอธิบายแก้ไปหมด พูดไปแล้วก็เหมือนกับตัวเองรู้ยิ่งอยู่คนเดียว เกิดมาในยุคนี้มีคนเดียวจริงๆ เป็นไก่ตัวพี่ที่หาตัวน้องไม่ได้ มีแต่ไก่นอกคอก เปิดสุ่มมาเขารุมจิกเราอยู่ตัวเดียวเลย แต่เราก็อึด รุมจิกอย่างไรก็จิกไป เราก็ทนยอมให้จิก แล้วเราก็บอกเขาด้วยความสงสาร พูดไปแล้วก็เหมือนกับยกตัวอย่างของตนข่มผู้อื่นเพราะว่าเป็นยุคที่แล้งศาสนาพุทธที่เป็นโลกุตระไปแล้ว เหลือแต่ศาสนาพุทธที่เป็นเดรัจฉานวิชาเป็นไสยศาสตร์ มีแต่หลงโลกีย์ ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุขตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
ศาสนาต่อไปจะไม่เหลือ จะเหลือแต่ผู้ที่เอาใบดอกผลไม่เอาแก่นกระพี้ ซึ่งเป็นเรื่องจริง ศาสนาพุทธทุกวันนี้เขามีความยินดี มีความดำริ เต็มเปี่ยมในลาภ และความสรรเสริญ(พ่อครูไอ ตัดออกด้วย)
สู่แดนธรรมว่า…อันนี้อยู่ใน มหาสาโรปมสูตร เล่ม 12 ข้อ 347
พ่อครูว่า…เขาไปหาแก่นไม้แต่ไปหลงผิด ไปเอาใบดอกผล ไปหลงติดใบดอกผลของต้นไม้งามพริ้ง ไม่มาศึกษาเอาแก่น ติดลอยลมอยู่บนต้น ไม่มาเรียนรู้เปลือก กระพี้ สะเก็ด
เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยมในลาภและความสรรเสริญ เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีลาภสักการะและความสรรเสริญ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ไม่ปรากฏ มีศักดาน้อย. เขาย่อมมัวเมา ถึงความประมาท เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้วย่อมอยู่เป็นทุกข์
เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นอยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือก ละเลยเสก็ดไปเสีย ตัดเอากิ่งและใบถือไป สำคัญว่าแก่น.
ศีลเป็นสะเก็ด สมาธิเป็นเปลือก ปัญญาเป็นกระพี้ วิมุติเป็นแก่น ดอกใบผลเป็นลาภสักการะสรรเสริญ
เขาละเลย สะเก็ด เปลือก กระพี้ เพราะฉะนั้นไม่ต้องฝันถึงแก่นหรือวิมุติ ว่าจะได้ เขาก็ได้ ดอกใบผล สำคัญว่าเป็นแก่น งมงายอยู่แค่นั้น ชัดๆ อย่างนี้เลย
ไม่ใช่อาตมาไปว่า แต่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดๆอย่างนั้น ในยุคนี้เป็นอย่างนั้นจริงๆ
เพราะฉะนั้นผู้ที่แสวงหาแก่นของศาสนาพุทธจริงๆ โดยไม่มีอคติว่า ใครจะพูด ไม่อคติกับอาตมา จะเข้าใจ จะรู้ได้ว่า ศาสนาพุทธทุกวันนี้ มันไม่เหลือแล้วในประเทศไทย เพราะเขาไปหลงอยู่ที่ กิ่งใบดอกผล อร่ามงาม อยู่บนต้น ไม่ได้ลงมาหาต้นเลย ลอยลมเฟ้อฟ่องอยู่บนต้นยอด เอาดอกใบกิ่งผล ซึ่งมันยั่วใจ จะมาถึงต้นที่ดูเหมือนมีแต่สะเก็ด เปลือกกระพี้ ไม่เอา แต่ไปหลงพริ้งเพราแต่ใบดอกผล น่าสงสาร
อาตมาพูดเหมือนกับผู้ใหญ่ที่สงสารเด็ก อย่างนั้นจริงๆ น่าสงสาร ไม่รู้ทำยังไง ไม่รู้เมื่อไหร่จะเดียงสา เมื่อไหร่จะฟังอาตมารู้เรื่อง เมื่อไหร่จะพอมีปฏิภาณปัญญา มีวัยวุฒิ วุฒิ อะไรที่จะพอที่จะรู้เรื่องที่อาตมาพูดนี้บ้าง น่าสงสารจริงๆ (พ่อครูไอ ตัดออกด้วย)
โลกุตรธรรมต้องได้ยินจากผู้อยู่ในฐานะครูที่เป็นสัตบุรุษ
สู่แดนธรรม…คงจะได้กลับมาสู่ปัญญาสูตร ข้อที่ 1 อีกครั้งนะครับ
พ่อครูว่า…พระพุทธเจ้าจึงย้ำจะเกิดปัญญาได้ข้อที่ 1 ต้องเกิดจากสัตบุรุษต้องได้ยินจากสัตบุรุษ อาศัยพระสหอศาสดา ซึ่ง ตอนนี้พระศาสดาไม่มี ก็รู้กันอยู่แล้ว ท่านปรินิพพานไปหมดแล้ว ก็เหลือแต่ผู้ที่จะเป็นบุคคลธรรมดา ไม่ใช่ศาสดา เป็นเพื่อนพรหมจรรย์ที่เป็นผู้ที่ตั้งอยู่ในฐานะครู เพราะฉะนั้นเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งที่เป็นผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู
พวกเราเรียกอาตมาได้ไปเรียกมาเรียกว่าพ่อท่าน เอาไปเอามาเรียกว่าพ่อครู อาตมาเลยอยู่ในฐานะครู
ทีนี้ผู้ที่จะรู้จักอาตมาว่าอยู่ในฐานะครูจะต้องมีปัญญา เพราะฉะนั้นเขาไม่มีปัญญาเขาจะไม่รู้จักเลยว่าอาตมาคือครู ที่จะมาสอนให้เกิดปัญญา จะมีความรู้ที่เป็น อัญญธาตุ ซึ่งไม่เหมือนโลกเขาเป็น จะต้องเกิดอัญญธาตุ ธาตุใหม่ธาตุอื่นที่แตกต่างจากโลกียธาตุ จะเป็น เป็นอันอื่น ที่เราใช้เป็นศัพท์บาลีว่า อัญญธาตุ
พระพุทธเจ้าท่านใช้กับ อัญญาโกณฑัญญะ 1 ในปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ท่าน เทศนาไปแล้วโกณฑัญญะเกิดเข้าใจได้เป็นโลกุตรธรรม พระพุทธเจ้าถึงได้อุทานว่า อัญญาสิ วตโภโกณฑัญโญ มีคนรู้ได้เข้าใจได้แล้ว มันยากจริงๆนะที่โลกโลกียธรรมดาจะมารู้อันนี้ได้ เพราะในยุคนี้เป็นยุคเสื่อม 2,500 กว่าปีแล้ว คนได้เสื่อมจากศาสนาแล้ว ศาสนาไม่ได้เสื่อมหรอก ชาวพุทธได้เสื่อมไปจากศาสนา จนกระทั่งพูดกันไม่ค่อยรู้เรื่อง เอาไปเอามาจนกระทั่งผู้ที่ยังพูดโลกุตระถูกจัดการเลย เหมือนที่ท่านตรัสในอาณิสูตร ล.8 ข้อ
[672] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี … พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพนชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่าทสารหะได้มีแล้ว เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมาโครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึกมีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ จักไม่ปรารถนาฟังจักไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน ควรศึกษาแต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตรอันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มีอักษรอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นของภายนอก เป็นสาวกภาษิต อยู่ จักปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา ฯ
[673] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น ที่ตถาคตกล่าวแล้วอันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม จักอันตรธานฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ พวกเราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ
พ่อครูว่า…อาตมาเอาธรรมะที่เป็นโลกุตระมากล่าวเอาพระไตรปิฎกมาอ้างอิงยืนยันเขาก็จะไปอ้างของคนอื่น ของพุทธโฆษาจารย์ วิสุทธิมรรค ไปอ้างตำราของอาจารย์สมัยนี้เขียน ก็ช่างกระไรหนอ พุทธโฆษาจารย์เขียนเขาก็เรียนแต่วิสุทธิมรรค ในพระไตรปิฎกเขาไม่เรียนเขาไม่รู้ ของวิสุทธิมรรคซึ่งเป็นเทวนิยมเยอะ อาจจะกล่าวพาดพิงถึงโลกุตระ แต่มันไม่ใช่โลกุตระที่ชัดเจนเพียวๆ มันเป็นเทวนิยมกว่าครึ่งกว่าค่อน เท่าที่อาตมาสัมผัสศาสนาพุทธทุกวันนี้ ที่เขาเรียนจากวิสุทธิมรรคของพุทธโฆษาจารย์ เดี๋ยวนี้คนไทยก็เรียนรู้จากตำราผู้เขียนใหม่เป็นคนไทยเหมือนกัน แล้วก็ยึดถือ พุทธธรรม ตามตำราอันนั้นๆเหมือนกัน มันก็เลยเป็นอย่างที่มันเป็น
อาตมาพูดซื่อๆ พูดความจริง พูดตรงๆ ไม่ได้ไปข่มเบ่ง ขออภัยหากทำให้เข้าใจว่าไปข่มเบ่ง อวดดี ทั้งที่บางคนเป็นผู้ที่เขายอมรับนับถือกันทั่วโลก อาตมาไปค้านแย้งกับคนที่ทั้งโลกเขานับถือ อาตมาจะเป็นอย่างไร เข้าใจไหม? ซึ่งอันนั้นทั้งโลกเขารับรอง ซึ่งทั้งโลกเขาจะไปรู้จักโลกุตรธรรมที่ไหน Unesco ก็ดี สหประชาชาติ ก็ดี เขาเป็นเทวนิยม แล้วจะมารู้จักโลกุตระธรรมอย่างไร เขามาให้คะแนน เขามาให้ตำแหน่ง เขาก็เอา กู๊ดวิน ที่ประเทศไทยนิยมชมชอบ เขาก็เอาประมาณอันนั้น เอาไปนับถือตาม เขาไม่ได้แทงเข้าหาแก่นแท้เนื้อแท้ของศาสนาพุทธ ซึ่งมันไม่ใช่ว่าจะรู้กันได้ง่ายๆ รู้ไม่ได้ คนเทวนิยม คนตะวันตก คนอเมริกา คนยุโรป ไม่สามารถที่จะมีปัญญา ขอพูดชัดๆ มีได้แต่ เฉกา เฉโก ไม่สามารถจะมีปัญญาได้ มันไม่ใช่เรื่องเล่นนะ ที่อาตมาพูดนี้เหมือนกับพูดอวดดี ไปดูถูกดูแคลนคนอื่น
กำลังพูดนี่ไม่ได้ดูถูกใคร แต่มันพูดถูก ไม่ได้ดูถูก พูดความจริง ไม่ใช่ไปดูผิดๆ ถูกๆไม่ใช่ ไม่ต้องดูหรอก เห็น อาตมาชัดเจนอยู่แล้วว่าอะไรถูกอะไรผิด แล้วก็พูดความถูกความผิดนั้นออกมา ไม่ได้ไปเอาแต่แค่มาดูมาแล แลถูกแลผิด แล้วดูถูกดูผิด เพราะว่าแลถูกแลผิด แค่แนมเห็นถูก แนมเห็นผิด แนมนี่แค่ชำเลือง ไม่ใช่ แต่นี่เห็นเลย ไม่ใช่จ้อง ทะลุ เห็นทะลุ เห็นอย่างปฏิเวธ แทงทะลุรอบเลย พูดแล้วผู้ที่ไม่ชอบใจก็อาจจะไม่ชอบใจเพิ่มขึ้นพูดที่เข้าใจก็ไม่มีปัญหาอะไร
1.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ซึ่งเป็นที่เข้าไปตั้งความละอาย ความเกรงกลัว ความรักและความเคารพไว้อย่างแรงกล้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ 1 ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
ปัญญาข้อที่ 1 ต้องได้รับได้ยินได้ฟังจากพระโอษฐ์จากพระศาสดาหรือผู้อยู่ในฐานะครู ที่เป็นสัตบุรุษหรือเป็นผู้ที่สืบทอดผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิถูกต้องจริง เป็นพระอริยะแท้ๆ เป็นต้น
เมื่อท่านพูดท่านบอกความจริงโลกุตรธรรมให้ความรู้ขั้นปัญญานี้แล้ว ผู้ที่ได้ยินนั้นจะรู้สึกละอายเลย ประเด็นแค่นี้มันยากมากเลยที่อาตมาจะอธิบายถึงความจริงขึ้นมาได้ แต่ความจริงมีอยู่ให้เห็น แต่เขาไม่ละอาย เพราะเขายังไม่เกิดปัญญา ถ้าเขาเกิดปัญญาเขาจะละอาย ฟังเข้าใจขึ้นไหม
ผู้รู้ทั้งหลายอยู่ในประเทศไทยนี่ ถ้าเขารู้ว่าโพธิรักษ์พูดนี่แหละของจริงอย่างที่เขาเข้าใจเขายึดถือมานั้นมันไม่ใช่ มันผิด โลกุตระอย่างที่เขาเข้าใจมันไม่ใช่ เพราะฉะนั้นเขารู้ ที่เรียกด้วยศัพท์ว่าปัญญา เขายังฉลาดเพี้ยนๆ หรือรู้อย่างผิดๆเขาไม่ได้รู้ถูกโลกุตรแท้ พออาตมาเอาโลกุตรแท้มาพูด เขาก็จะว่าพูดอะไรวะ ไม่เห็นเหมือนที่เขาเข้าใจ เมื่อเขาจะรู้เมื่อไหร่ว่า เฮ้ย เราเข้าใจว่าโลกุตระเป็นอย่างนี้อยู่ตั้งนานแล้ว ที่จริงมันไม่ใช่ มันต้องเป็นอย่างโพธิรักษ์บอกนี้ ก็จะละอายมาก เขาจะละอายมาก เพราะเขาเคยได้ดูถูก ข่มขี่ ย่ำยี โพธิรักษ์มามากแล้ว เข้าใจไหมความละอายที่พระพุทธเจ้าท่านตรัส พอได้ยินจากปากของผู้ที่อยู่ในฐานะครู อาตมาอยู่ในฐานะครู ฉะนั้นเขาจะเกิดปัญญาข้อที่ 1 อ๋อ แต่นี่มันยังไม่เกิดปัญญา เขาก็จะไม่ละอายและก็ดูถูกอาตมา ถ้าเขาเข้าใจเขาจะรู้ว่า เขาหลงเสียเวลาเข้าใจขี้กะโล้โท้ ว่าเป็นโลกุตระเป็นสิ่งที่ควรได้ควรมีแบกมาเสียตั้งนาน เสร็จแล้วก็หลงมาบำเรอยกย่องกันมาตั้งนาน เพิ่งมารู้ว่า ผิดหรือนี่ เขาจะละอายอย่างแรงกล้า
แค่นี้ อธิบายยากจะตาย จะเกิดความละอายอย่างแรงกล้า จะเกิดความเกรงกลัว ทำไมต้องเกรงกลัวเมื่อได้ยินสิ่งที่ดีๆ สิ่งที่ประเสริฐ ก็เพราะตัวเองได้ทำผิดมา ได้ลบหลู่ดูถูกได้ปรามาส จริง เขาจะกลัว ตายๆๆ เรานี่แหละผิดไปนานก็จะกลัว เพราะรู้แล้ว ทีนี้ก็ค่อยเกิดความรัก เปลี่ยนจากรักอันผิด มาเห็นอันถูกอันควรได้ควรมีควรเป็นจะเกิดรัก จนเกิดเคารพอย่างแรงกล้า รักอย่างแรงกล้า
ความสงบกายสงบจิตของพุทธในปัญญาสูตร
2.เธออาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่ง ผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ซึ่งเป็นที่เข้าไปตั้งความละอาย ความเกรงกลัว ความรัก และความเคารพไว้อย่างแรงกล้านั้นแล้ว เธอเข้าไปหาแล้วไต่ถาม สอบถามเป็นครั้งคราวว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภาษิตนี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งภาษิตนี้เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นย่อมเปิดเผยข้อที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้แจ้งข้อที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง และบรรเทาความสงสัยในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายประการแก่เธอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ 2 ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ
ผู้ที่เห็นความจริงก็จะเข้ามาหา แล้วไต่ถาม สอบถามเป็นครั้งคราวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ตอนนี้เรียกใหม่ ไม่เรียกโพธิรักษ์เฉยๆ แต่นี่ว่า ข้าแต่ผู้เจริญ ภาษิตนี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งภาษิตนี้เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นย่อมเปิดเผย ข้อที่ยังไม่ได้เปิดเผย
3.เธอฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมยังความสงบ 2 อย่าง คือ ความสงบกายและความสงบจิต ให้ถึงพร้อม ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ 3 ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ
เป็นความสงบที่เป็นโลกุตระ มันเป็นความสงบที่ไม่ใช่เรื่องของร่างกาย แต่คำว่า กายสงบไม่ได้หมายถึงร่าง ส่วนกายไม่ใช่ร่าง แต่กายนั้นมีความเป็นร่างด้วย จริงๆแล้ว ความสงบไม่ได้หมายความว่า ร่างสงบ แต่กายสงบไม่ได้หมายความว่า เอาสรีระสงบ ฟังให้ชัด กายสงบ ไม่ได้หมายความว่า ร่างข้างนอก body ข้างนอก ดินน้ำไฟลมข้างนอกสงบ สงบคือมันอยู่เฉยๆ ก็ไม่ใช่ เพราะว่ามันมีเหตุให้สงบคือตัวที่ทำให้ไม่สงบหายไปมันไม่มีกายอีก ตัวที่ทำให้ไม่สงบหายไปในจิต แต่ร่างนี้คล่องแคล่วว่องไว ยิ่งสงบจากกิเลส กิเลสมันไม่มีในกาย กิเลสมันไม่มีในจิต กายก็ยิ่งคล่องแคล้ว กายปาคุญญตา จิตก็ยิ่งคล่องแคล่ว จิตปาคุญญตา ใช้บาลีอันนี้ให้คนเชื่อมากขึ้นหน่อย สงบนี่ ยิ่งคล่องแคล่ว ว่องไว ปราดเปรียว ซึ่งเป็นภาษาสิริมหามายา
ท่านพุทธทาสพยายามจะพูดเรื่องนี้ แล้วท่านใช้ภาษาว่าภาษาคนกับภาษาธรรม แต่ก็ยังยากยังแยกไม่ค่อยออก ท่านพุทธทาสพอรู้บ้างแล้ว อาตมาก็เอามาขยายความต่อให้รู้ชัดมากขึ้น ท่านพุทธทาสก็ทำได้ขนาดของท่าน อาตมาก็มาทำต่อยอดให้มันชัดเจน ให้มันครบบริบูรณ์เพิ่มเติม ใครจะหาว่าอาตมาใหญ่กว่าท่านพุทธทาสก็ตามใจ มาเบ่งอะไรก็ไม่ว่ากัน หาว่าอาตมาข่มท่านพุทธทาสก็แล้วแต่ อาตมาไม่มีปัญหาอะไรใครจะว่าอะไรก็แล้วแต่ อาตมามีหน้าที่ทำให้ทำมันชัดเจนถูกต้องมากขึ้น ท่านพุทธทาสอธิบายอะไรที่ไม่ถูกอาตมาก็บอกว่าไม่ถูกมาแก้ให้ถูก ใครจะว่ามาใหญ่มาเบ่งข่มดูถูกดูแคลนก็ไม่ใช่ อาตมาเพียงทำให้ถูกต้องทำให้สมบูรณ์
เพราะฉะนั้นในความสงบจึงไม่ใช่เรื่องสามัญง่ายๆ สงบกายสงบจิตถึงไม่ได้พาซื่อนี่แหละจึงจะเรียกว่าต้องรู้จักด้วยปัญญา ถ้าไม่มีปัญญาก็เข้าใจความสงบกายสงบจิตไม่ได้ง่ายๆก็จะไปพาซื้อเอาร่างสรีระสนุกนี่คือกาย จิตสงบก็คือจิตหยุดอยู่นิ่งๆจิตอยู่เป็นหนึ่ง
จิตอยู่เป็นหนึ่ง ของเขาก็คือหยุดนิ่งไม่คิดไม่ปรุงอะไรอยู่เฉยๆนี่แหละเป็นหนึ่งของเขา
แต่ของพระพุทธเจ้าเป็นหนึ่งนั้นคือ คือไม่มีเพื่อน 2 แล้ว, เพื่อน 2 คืออะไร?.. เพื่อน 2 ก็คือกิเลส กิเลสตายไปแล้วจึงเรียกว่าเป็นหนึ่ง แต่ก่อนอยู่กับกิเลสมีเพื่อน 2 อยู่ตลอดเวลา คำว่าเพื่อน 2 ก็เป็นศัพท์ของพระพุทธเจ้า แต่ก่อนมันมีแต่กิเลสเป็นเพื่อนอยู่ แต่เดี๋ยวนี้มันเป็นหนึ่งคือไม่มีกิเลสนี่คือสงบ
เพราะฉะนั้นจิตที่ไม่มีกิเลสแล้วจึงยอดเยี่ยม เร็วไว ปราดเปรียว คล่องแคล่ว เป็นปาคุญญตา อย่างที่ว่า เพราะจิตนี้ บริสุทธิ์สะอาด เป็นจิตอ่อนไหว ไวเร็ว มุทุ ปรับปรุงง่าย เหมาะสมกับการทำการงานทุกอย่าง กัมมัญญา ยิ่งทำงานยิ่งดียิ่งเจริญยิ่งก้าวหน้าประภัสสรมากขึ้น
ปัญญาข้อที่ 4 ในปัญญา 8 ประการ
-
เธอเป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรมีปรกติเห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ 4 ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯเพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ