640620_วิถีอาริยธรรม บ้านราชฯ อานาปานสติแบบพุทธ ถึง อนุปัสสี 4 โดยพิสดาร
ดาวโหลดเอกสารที่ https://docs.google.com/document/d/1k4FwlwIPlfiPAwIAmQWbj8fin2HlMfpVXL_3w-sjemI/edit?usp=sharing
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1tl1RxM5oLy5TqVb_EJjStFJoagJgROYO/view?usp=sharing
และยูทูปที่ https://youtu.be/S31AkMlAr30
อานาปานสติ ถึง อนุปัสสี 4
พ่อครูว่า…วันนี้วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน 2564 ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 8 ปีฉลู ที่บวรราชธานีอโศก มีดอกกระเจียวจากศีรษะอโศก ส้มโอจากบ้านราชฯ มาประดับโต๊ะ
สตะ แปลว่า 7 หรือแปลว่าสัตว์ เป็นจิตนิยามแล้ว เลข 7 เป็นเลขที่ชี้บ่งหลายอย่างเป็นเลขเข้า Final ไปสู่สุดท้าย
มีที่ค้างตอบ sms ไว้น่าจะตอบ เรื่องอนุปัสสี 4
_สว่างแสง ขวัญดาว : น้อมกราบนมัสการพ่อครูด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ ในหนัสือเปิดยุคบุญนิยมเล่ม ๒ ข้อ ๑๕ รู้จากผู้อื่นหมายถึงรู้จากใครบ้าง? ผู้อยู่ในฐานะครูที่สัมมาทิฏฐินั้น ต่างจากสัตบุรุษอย่างไร ต้องบรรลุธรรมขั้นไหนอย่างไรคะ เพราะในอนุปัสสี๔ นั้น ผู้ได้ข้อ๑บรรลุอนิจจานุปัสสีได้สัมมาทิฏฐิแล้ว ผู้อยู่ในฐานะครูควรได้สัมมาทิฏฐิขั้นไหนคะ
ลูกเขียนมาเหมือนรู้มาก แต่แท้จริงลูกไม่เข้าใจคะ
พ่อครูว่า…ที่น่าอธิบายคืออนุปัสสี 4 …คนที่อธิบาย อานาปานสติ ตอนนั้นคงไปเห็นคนปฏิบัติธรรมอยู่ในป่านั่งตั้งกายตรงดำรงสติคงมั่น เป็นพวกมิจฉาทิฏฐิทั้งหลาย แล้วพวกที่อ่านพระไตรปิฎกไม่แตกก็คิดว่าอย่างนั้นเป็นวิธีการของศาสนาพุทธ แบบพระป่าไปนั่งสมาธิ นั่งตั้งกายตรงดำรงสติคงมั่นกำหนดลมหายใจเข้าออก นี่แหละให้นิ่งจนกระทั่งอธิบายเลอะไปเยอะเลย ทั้งๆที่พระพุทธเจ้าท่านอธิบายไว้ว่าถ้าเผื่อว่าหายใจเข้าหายใจออก ไม่มีสติอยู่กับภายนอก แม้แต่แค่ลมหายใจเข้าลมหายใจออก ก็ไม่รู้ตัวแล้ว เข้าไปอยู่ในภวังค์ อันนั้นก็คือหมดสภาพ หมดเลยไม่เหลือเชื้ออะไรที่จะเกี่ยวข้องกับโลกเขาเลย เป็นสัมภเวสีไปเลย อันนั้นไม่ได้เรื่องเป็นการปฏิบัติที่ไม่มีวิญญาณฐีติแล้ว
วิญญาณฐีติที่บอกว่าลมหายใจเข้าลมหายใจออกก็ต้องสัมผัสรู้ มีสัมผัสเหลือที่จมูกมีความรู้สึก ตาก็หลับไปแล้ว หูก็ไม่พยายามได้ยิน ก็เหลือแต่จมูกกับกาย โผฏฐัพพะ ยุงมันมากัด ลมพัดต้องร่างกายก็พอรู้เรื่อง ถ้าไม่รู้เรื่องทางกายเข้าไปอยู่แต่ภายในแล้ว ออกไปเลยไกลลิบลับ ไกลจากวิเวกของศาสนาพุทธ ไกลจากศาสนาพุทธเป็นคนละโลกเลย
แต่เขาไม่เข้าใจอย่างนั้น เขากลับเข้าใจตรงกันข้ามว่าอย่างนั้นดีเข้าภวังค์ได้อย่างนั้นไม่รู้โลกเลยดับไป 7 วัน 7 คืนเลย นี่แหละสุดยอด นี่คือความเข้าใจผิด
ทีนี้ใน อานาปานสติ อธิบายสุดยอดไว้ว่าจะต้องเป็นผู้ที่ศึกษา แล้วก็จะรู้จักรู้แจ้งใน 4 ประการคือ
-
ตามรู้ความไม่เที่ยง อนิจจานุปัสสี
-
ตามเห็นความจางคลาย วิราคานุปัสสี
-
ตามรู้ความดับของกิเลส นิโรธานุปัสสี
-
ตามรู้สภาพที่มันเป็นสวรรค์เป็นนรกสลับไปสลับมา มีสุขมีทุกข์ มีสวรรค์มีนรก ปฏินิสสัคโค ตามรู้ความรู้สึกตามรู้กาย เวทนา จิต ธรรม ก็คือปฏินิสสัคคะ แต่เขาแปลกันอย่างตื้นว่าสลัดคืน ตามรู้การสลัดคืน มันก็เลยไม่ตรงกับสภาวะไปไกลก็เลยไม่รู้เรื่อง สลัดคืนอะไรหนอ
มันก็คือการเวียนไปเวียนมาของจิต ความมีสุขมีทุกข์ก็ไม่เที่ยง ความมีกิเลสไม่มีกิเลสก็ไม่เที่ยง ความจางคลายก็คือชักจะรู้แล้ว ทำให้กิเลสหยุดกิเลสจางคลายได้ รู้ว่าเอ็งอย่าเก่งเลย เอ็งอย่าอยู่กับข้าตลอด ข้าทำให้เอ็งหยุด ลด หายไป หายไปถาวรก็ได้ แต่มันยังไม่ถาวรก็เลยกลับไปกลับมา ยังไม่เที่ยง อวินิปาตธรรม แปรเปลี่ยนไปได้ จะให้สูงขึ้นได้แล้ว ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา แต่มันก็ยังตกอยู่บ้าง แต่ไม่ตกต่ำกว่าขีด ยังยึกยักอยู่บ้าง จนถึง นิยตะ เที่ยง ทำให้กิเลสลดจนเที่ยงได้ตามเห็นนิโรธานุปัสสี ดับกิเลสจนเที่ยง จนสัมบูรณ์นิรันดร กิเลสไม่มีได้เด็ดขาดเที่ยงจนเป็นพระอรหันต์ บอกตนเองได้เลยว่าเป็นพระอรหันต์
ในอานาปานสติ เขาตามอ่านอาการของลม ไม่ได้อ่านอาการของจิต เขาอ่านอาการของลม หายใจออกยาวก็รู้ชัดหายใจออกยาว หายใจเข้าก็เห็นความต่าง อันนี้มันออกนะ อันนี้มันเข้านะ พระพุทธเจ้าท่านเจตนาให้รู้ก็คือรู้ความต่าง ลิงคะ ของการเข้าการออก แม้แต่เราจะมีแค่ลมหายใจก็มีสิ่งที่ต่างกัน ที่จริงมันก็มีความหอม ความเหม็นก็ต่างกันนะ ได้กลิ่นจากลมหายใจ รับสัมผัสรู้ทางฆานะทางจมูก เหม็นหอม อะไรอย่างนี้ก็ต่างกัน
ให้รู้ลักษณะต่างกันแม้แต่สิ่งที่จะได้กลิ่นต่างกัน ได้ลมหายใจต่างกันเข้าออกก็ดี ถ้ายิ่งไปรับรู้สึกถึงเวทนาเหม็นหรือหอม แต่ดูทางกายก็ดูเข้าหรือออก เข้าสั้นออกสั้น เข้ายาวออกยาว ออกยาวเข้ายาว มีนัยยะต่างกัน
อานาปานสติทั้ง 16 ขั้นนั้นคือ
-
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาวหรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
-
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้นหรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
-
สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก ว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า (สัพพกายปฏิสังเวที สิกขติ)
-
สำเหนียกอยู่ว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า(ปัสสัมภยัง กายสังขารัง สิกขติ)