640530_วิถีอาริยธรรม บ้านราชฯ ธรรมบรรยาย คุหัฏฐกสุตตนิทเทส ตอน 5
ดาวโหลดเอกสารที่ https://docs.google.com/document/d/1NUF_3YoC-m4nF8i-07kVm2210J79tnDCrtqnlXNs60U/edit?usp=sharing
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1iSIesKzbv56k-YXUhCSFKRMGAa8b2CS4/view?usp=sharing
และยูทูปที่ https://youtu.be/HMGfGLc1FBE
กาย คือกิเลส กาม ผู้ข้องอยู่คือมีอาบัติ
พ่อครูว่า…วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม 2564 แรม 4 ค่ำเดือน 7 ที่บวรราชธานีอโศก อาตมาเกิดแรม 8 ค่ำ อาตมาเกิดเดือน 7 แรม 8 ค่ำ พ.ศ. 2477 วันอังคาร เป็นคู่ของ 7 คือ 3 ส่วนแรมเท่านั้นเองมันเป็น 8 ก็วนเวียนไป จะเต็ม 87 ปีและอีก 6 วัน เต็ม 87 ปีขึ้น 88 ปีก็เอา ตามวันเวลา คนเรา
มาต่อ วันนี้ก็มีรายละเอียดอะไรที่อยากจะเพิ่ม ไปให้ชัดเจนในเรื่องสับสน ระหว่างความเข้าใจเพียง “พยัญชนะ” กับ “สภาวธรรม” อยู่ 2 อย่างนี่แหละที่มันยาก ยากสภาวธรรมกับพยัญชนะ สภาวะเนื้อแท้ของจิต เจตสิก รูป และนิพพาน แจกออกไปเป็นเจตสิกต่างๆอีกสารพัด เช่นเวทนา 108 ก็เป็นเจตสิก 108 ตัว เป็นต้น เป็นอาการของจิตสำหรับเจตสิกที่แจกรายละเอียดลงไป ซึ่งพระพุทธเจ้าสรุปหมดแล้วให้เรียนที่เวทนา แล้วจบที่เวทนา ธรรมทั้งสองเหล่านี้ รวมเป็นอันเดียวกันกับเวทนา โดยส่วนสอง (เทฺว ธมฺมา ทฺวเยน เวทนาย เอกสโมสรณา ภวนฺติ ฯ ) ล.10 ข.60 จัดการเวทนาเก๊กับเวทนาแท้ ให้เหลือแต่เวทนาแท้อย่างเดียว ในขณะที่เรายังมีชีวิตมีเวทนาเป็นสิ่งอาศัย แต่เวทนาก็ไม่ใช่ตัวเรา เรายึดเวทนาเป็นตัวเราเป็นของเราไม่ได้ ต้องศึกษาให้รู้ว่าอาการไม่ยึดเป็นเราเป็นของเราเป็นอย่างไร
ที่นี้ก่อนจะถึงเวทนามันก็อยู่ที่ กาย ก่อน กาย เวทนา จิต ธรรม ทีนี้คนไม่รู้จักกาย กิเลสกาย คือกิเลส กาม
เพราะฉะนั้นคนที่ไม่รู้จัก กาม พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า กามทั้งหลายในโลก ไม่เป็นของ อันนรชนละได้โดยง่าย ในคุหัฏฐกสูตร ก็กล่าวถึง นรชน มีกิเลส กาม ปิดบังไว้แล้ว ตั้งอยู่จมอยู่ในความหลง ไม่มีทางถึงวิเวกได้ง่าย แม้แต่ปัสสัทธิเขาก็หลงในสมถะเรื่องพยัญชนะกับเรื่องสภาวะ สายหลับตาไม่รู้ทั้งสภาวะไม่รู้ทั้งพยัญชนะยิ่งมืดไปใหญ่เลย สายลืมตา สายศึกษาพยัญชนะ ศึกษาความรู้ความเฉลียวฉลาด ความหมายอะไรต่างๆเป็นพระบ้าน ก็งมงายไปกับความรู้ หลงความรู้ไปเป็นวิปัสสนูปกิเลสเลอะไปหมดเลย ยิ่งยุ่งยิ่งกว่าหญ้ามุงกระต่าย ยุ่งยิ่งกว่าแหที่ลิงเข้าไปติดแห หาทางออก ยิ่งแก้แหก็ยิ่งมัดตัวใหญ่เลย อย่างที่พระพุทธเจ้าท่านใช้คำว่า ชาละ (แห) ในพรหมชาลสูตร ซับซ้อนก็เลยยุ่ง ดิ้นไม่ออก
วันนี้จะไขความคำว่า เรื่องที่ข้องอยู่ในความไม่รู้ เข้าไปทำผิด เรียกว่า อาบัติ
อาบัติ คำหนึ่ง อนาบัติ อีกคำหนึ่ง สมาบัติ อีกคำหนึ่ง
คนทุกวันนี้ถือว่าเป็นคนผู้ที่มีอาบัติทั้งนั้น สำหรับผู้ที่เข้าอยู่ในเกณฑ์ตั้งใจจะมาอยู่ในกรอบของวินัยของศีล ของหลักเกณฑ์ที่จะปฏิบัติไปตามลำดับให้ลดละให้หลุดพ้นไปให้กิเลสหมดไปตามลำดับ แต่เสร็จแล้วก็มาเข้าขบถ มาไม่ตั้งใจ ทำให้ศีลทำให้วินัยของพระพุทธเจ้า มาเป็นคนสมัครอยู่ในนี้แล้วทำให้เละทำให้ไม่ถูกต้องทำให้ผิด นอกจากทำให้ผิดแล้วไปหลอกคนอื่นต่อว่าฉันไม่ผิดฉันถูก มันก็ยิ่งยุ่งกันใหญ่สลับซับซ้อนกัน ไม่รู้กี่ชั้นเข้าไปก็ยิ่งๆไปใหญ่
คำว่า อาบัติ คือเป็นผู้ข้องเป็นผู้ติด ผิดกับหลักปฏิบัติของพระพุทธเจ้าเรียกว่า อาบัติ ต้องออกจากอาบัติเรียกว่าให้พ้นอาบัติ เรียกว่า อนาบัติ มันก็ชัดๆ
อาบัติ หากไปบอกว่า อบัติ ก็คือไม่อปัตติ ท่านก็ใช้ อนาบัติ คือไม่เป็นอาบัติ
ในขณะปฏิบัติเพื่อให้ออกจากอาบัติหรือออกจากข้อที่ข้องที่ติดที่ยึดที่ยังพาปฏิบัติไม่บรรลุอยู่นี้ เรียกว่าสมาบัติ เราสมาทาน เราตั้งใจ สมาทาน ยึดถือเพื่อปฏิบัติให้หลุดพ้น
คำว่า สมาบัติ คือ การอยู่ในภาวะกำลังปฏิบัติ กำลังปฏิบัติใช้หลักเกณฑ์อะไร ก็ใช้หลักเกณฑ์ของวิโมกข์ 8 หรืออนุปุพพวิหาร 9 เรียกว่า เข้าสมาบัติ เขาเรียกภาษาง่ายๆว่าเข้า แต่ที่จริงไม่ต้องเข้าต้องออก เรียนรู้หลักเกณฑ์และประพฤติจรณะ 15 ให้เกิดการล้างออก ละออกหรือออกจาก คือ กิเลสกับเราขาดออกจากกัน จางคลายจากกันให้ได้ นั่นคือสภาวะ (พ่อครูไอ ตัดออกด้วย)
ทีนี้ คนที่ติดอยู่ในสภาพปฏิบัติไม่บรรลุ ไม่จบ ก็คือจมอยู่ในสมาบัติ แล้วก็เข้าใจสมาบัติคือวิโมกข์ 8 ก็ดี หรืออนุปุพพวิหาร 9 ก็ตาม อนุปุพพวิหารคือปฏิบัติไปตามลำดับ ปฏิบัติฌาน 4 อรูปฌาน 4 สัญญาเวทยิตนิโรธอีก 1 ก็เป็น 9
ส่วนวิโมกข์นั้นมี 8 จบด้วย สัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วก็มีอรูปฌาน 4 เป็น 5 แล้ว ทีนี้
วิโมขก์มี 8 รูปฌานก็เลยย่อเป็น รูปฌาน 3 แต่ไม่ได้ไล่แบบฌาน 1 2 3 4 แต่รูปฌาน 3 ของวิโมกข์ 8 คือการบอกรายละเอียดของการปฏิบัติ
-
ผู้มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย (รูปี รูปานิ ปัสสติ)
-
*ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปภายใน (10/66) ย่อมเห็น รูปทั้งหลายในภายนอก (อัชฌัตตัง อรูปสัญญี . เอโก พหิทธา รูปานิ ปัสสติ) (*พ่อครูแปลว่ามีสัญญาใส่ใจในอรูป)
-
ผู้ที่น้อมใจเห็นว่าเป็นของงาม (สุภันเตวะ อธิมุตโต . โหติ, หรือ อธิโมกโข โหติ (พ่อครูแปลว่า เป็นโชคอันดีงามที่ผู้นั้นโน้มไปเจริญ สู่การบรรลุหลุดพ้นได้ยิ่งขึ้น)
พตปฎ. ล.10 ข.66 / ล.23 ข.163
ข้อแรก มีรูป ที่จะต้องถูกรู้โดยเรา เราต้องเป็นผู้รู้จะต้องมี Subject object ต้องมีรูปมีนามมีตัวที่จะต้องถูกรู้เป็นกรรม และต้องมีประธาน เราเป็นประธานจะรู้ตัว object เราเป็น Subject อย่างนี้เป็นต้น ต้องมี 2 เสมอ
และปัสสติ เป็นตัวกำกับว่าคุณต้องเห็นเป็นปัจจุบันธรรม ต้องสัมผัส ต้องรู้ ต้องเห็นรูปนั้น ปัสสติคือธาตุรู้ ถ้าเสียงก็ต้องได้ยิน ถ้าได้กลิ่นก็ต้องกระทบกลิ่นก็เรียกว่าปกตินั่นแหละ
เป็นปัจจุบันธรรม หรือปัจจุบันชาติ ทิฏฐธรรม หลัดๆๆ ไม่ใช่ไปหลับตาแบบเวทีฤาษีที่ปิดทวารทั้ง 5 แต่ต้องปฏิบัติอย่างเป็นที่ยืนยันความจริงพร้อมกับคนอื่นๆ
พ่อครูหยิบกล้วยเทพพนม มาเป็นตัวอย่าง จะหยิบทุเรียนมันก็มีหนามแหลม มันป้องกันตัวมันจริงๆ อาตมาก็งงว่า ทุกวันนี้กินทุเรียนลูกละแสน เขาประมูลกัน คนซื้อไปก็โง่ แต่จะว่าดีก็เขาเสียสละเป็นการกุศล เอาไปใช้กับประโยชน์ส่วนรวมไม่ใช่ใช้กับส่วนตัวมันก็ซับซ้อนอย่างนี้ในโลก
สู่แดนธรรม…เรื่องวิโมกข์ 8 ข้อ 1 พระพุทธองค์กำกับไว้ว่าเป็นภูมิของบุคคลที่อยู่ในขั้นรูป สูงกว่ากามภพแล้ว แต่ท่านกำกับไว้ว่าต้องมาเห็นรูปทั้งหลายภายนอก
พ่อครูว่า…จะอธิบายเริ่มต้นก็ได้ ข้อ 2 อธิบายถึงพหิทา คือภายนอก ภายนอกเป็นกามตลอดเวลา แล้วต้องมีกามตลอดเวลาด้วย มันยาก อาตมาอธิบายเรื่องกาย เรื่องบุญ นี่ยาก
สู่แดนธรรม…ไม่ว่าคุณจะอยู่เป็นชาว กามภพ รูปภพหรืออรูปภพก็ตาม คุณก็ต้องปฏิบัติอยู่กับพวกกามาวจร จะต้องลืมตาเห็นรูปมากระทบทั้งหมด
พ่อครูว่า…ใช่ กามาวจร ทุกเวลา คุณจะต้องมีการ อวจร ในโลกกาม แต่จิตของคุณเป็นจิตสูง อุตรจิต จิตโลกุตระ จิตที่อยู่เหนือโลกกาม โลกอบายมาก่อน เป็นตัวอย่างเบื้องต้น เหนือโลกอบาย เหนือโลกกามได้
สู่แดนธรรม…พ่อท่านสอนว่า สิ่งภายนอกจะได้กระแทกกิเลสออกมาให้เราสลาย ง่ายกว่าไปนั่งหลับตาทำแล้วมันไม่ปรากฎตัวให้รู้เลย
พ่อครูว่า…ถูกต้องมันต้องมีสิ่งกระทบให้รู้ว่าเราอยู่เหนือโลกหรือไม่ ถ้าหลับตาเข้าไปมีแต่โลกภายใน มันไม่ได้อยู่เหนือหรอกก็หนีมันแล้วตั้งแต่ต้น หนีโลกภายนอกเข้าไปอยู่ภายใน ก็เป็นการหลบแล้วหลีกเลี่ยงแล้ว เรียกว่า สัลลีนะ ก็กลายเป็น ปฏิสัลลีนะ คือทวนไปทวนมา การหลีกเร้น คือสภาพที่จะทำให้มันไม่ติดไม่ยึด อนุโลมใชัคำว่าหลีกเร้น ที่จริงหลีกเร้นที่เป็น ภาษาซื่อๆคือหลบไปพักผ่อน เลี่ยงจากอันนั้นไป นี่เป็นภาษาซื่อๆ แต่ภาษาสิริมหามายาคือได้ทั้ง 2 สภาพ แต่ไม่สับสนจะจบอะไรมาก็รับรู้ได้ทัน รับทราบความเร็วความหมายอย่างจับได้มั่นคั้นตายทุกอย่าง จิตของคุณต้องเป็นมุทุภูตธาตุ จริงๆ
อาบัติ อนาบัติ สมาบัติ
-
อาบัติ 2. อนาบัติ 3. สมาบัติ เอาสามคำนี่ให้ชัดก่อน