641025 รายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 15
ดาวโหลดเอกสารที่
https://docs.google.com/document/d/19PAhYDkVSbF2pDonmB6xRMdrcVeNuwFeeIi9px_LbGA/edit?usp=sharing
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1gctyjlBAYqw_EHzZxB5Z5n-VpfvsFN1Y/view?usp=sharing
และดูวิดีโอได้ที่
ลิ๊งค์รายการ https://fb.watch/8SlyVWfvwk/ และ https://youtu.be/Bw9SLJ-nMqc
สู่แดนธรรม… วันนี้วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก วันนี้พ่อครูเกือบไม่ได้มาเทศน์เพราะมีอาการเจ็บแปล๊บที่เท้า ระดมหมอนวดมาช่วยกัน
ความแตกต่างระหว่าง วิญญาณฐีติ 7 สัตตาวาส 9 อนุปุพพวิหาร 9
พ่อครูว่า… ยกปลีต้นกล้วยที่ไม่มีลูกกล้วย แต่หวีแต่ละหวี ออกเป็นปลีทั้งหมด ไม่เป็นลูกกล้วย แต่กลายเป็นปลีกล้วยทั้งหมด มีต้นกล้วยนี้ที่ลานเบิ่งฟ้า ตลกเกิดมาเพิ่งเคยเจอ อายุ 88 ปีย่างเข้าแล้ว เกิดอยู่ในบ้านราชฯนี่เองด้วย เอาไปเพาะพันธุ์ไว้ ประหลาดๆ (โยมบอกว่ากล้วยพันปลี) ที่นี่มีกล้วยประนม 2 หวี อันนี้เคยเห็นมามากแล้ว ยังมีกล้วยหอม กล้วยนวล
สู่แดนธรรม… กล้วยมีต่างพันธุ์โยงไปถึงกายต่างกันได้ไหมครับ
พ่อครูว่า… ได้ กายต่างกันสัญญาต่างกัน นี่วิญญาณฐีติ 7 หรือสัตตาวาส 9 ผู้ที่เห็นกายต่างกันสัญญาต่างกัน คนจะมีความเห็นต่างก็หมายความว่ามีทิฏฐิต่างกัน คนหนึ่งเห็นอีกอย่างหนึ่ง อีกคนเห็นอีกอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นมันก็จะต้องมีอย่างใด อย่างไรเป็นสัมมาทิฏฐิ อีกอย่างใดอย่างหนึ่งก็ต้องเป็นมิจฉาทิฏฐิ ใช่ไหม มันเป็น 2
เพราะฉะนั้นกายต่างกันสัญญาต่างกัน คำว่าต่างกันหมายถึงทิฏฐิที่ต่างกัน ความเห็นความเข้าใจ ความรู้ ที่ต่างกัน ความเห็นความรู้อย่างใดอย่างนั้นของใคร ยึดถืออย่างไร เชื่ออย่างไร กับอีกคนหนึ่งยึดถืออย่างไร เชื่อถืออย่างไร มันก็ต่างกัน
ทีนี้ที่มันไม่ต่างกัน มันเหมือนกัน อย่างเดียวกัน กายต่างกัน ข้อที่ 2 กายต่างกัน สัญญาอย่างเดียวกัน นี่เป็นข้อที่ 2
ข้อที่ 3 กายอย่างเดียวกัน สัญญาต่างกัน
ข้อที่ 4 กายอย่างเดียวกัน สัญญาอย่างเดียวกัน
ข้อที่ 5 อากาสานัญจายตนะ
ข้อที่ 6 วิญญานัญจายตนะ
ข้อที่ 7 อากิญจัญญายตนะ
แต่สัตตาวาสนี้ ยังมีความเป็นสัตว์ ยังไม่บรรลุธรรม เป็นสัตว์อยู่ทั้ง 7 ชนิด เป็นสัตว์ทางจิตวิญญาณ ร่างกายเป็นคนนี่แหละจะเป็นตัวน้อยตัวหนุ่มตัวแก่ แต่จิตวิญญาณยังเป็นสัตว์ พระพุทธเจ้าแบ่งสัตว์เป็น 7 ชนิด
สรุปที่ว่า กายต่างกันสัญญาต่างกัน เช่นว่าพวกที่เกิดมาเป็นมนุษย์ มันก็ต่างที่ทิฏฐิ เรียกว่ามนุษย์เหมือนกัน มนุษย์แปลว่าคนจิตสูง แต่ก็สูงกันคนละอย่าง ที่แยกไว้ สำคัญที่สุดก็คือ สูงไปคนละอย่างก็คือแบ่งเป็น 2 อย่างนี้โลกียะ อย่างนี้โลกุตระ นี่มันจะต่างกันอย่างนี้เป็นสำคัญ นอกนั้นจะต่างแยกกัน นอกนั้นจะเป็นเสี้ยว เศษส่วน เต็มโลกุตระหรือไม่ก็แล้วแต่ จะมีคุณภาพคุณสมบัติของมนุษย์ เป็นอย่างนั้นอย่างนั้น หรือจะเรียกว่าเทพบางเหล่า
เทพก็เป็นภาษาพยัญชนะว่าเทพหรือเทวดา เทพคือจิตผู้เจริญ มนุสโสก็จิตเจริญ แต่มนุสโส นั้นจำเพาะหมายถึงตัวบุคคลขึ้นต้นบุคคล มีตัวตนมีเนื้อมีหนังมีร่างกายแท่งก้อน คนตั้งแต่เด็กจนถึงแก่ จนถึงเป็นซากศพก็เป็นคนตาย นี่แหละเรียกว่ามนุษย์
แต่เทวะ หมายเอาจิตวิอญญาณ มนุษย์หมายถึงเอาทั้งร่างตัวตนบุคคลด้วย เรียกว่ามนุษย์ ส่วนเทวะ หมายถึงเอาจิตวิญญาณ
จิตวิญญาณเทวะ คือ จิตวิญญาณเจริญ
อันที่ 3 สัตว์วินิบาตหรือสัตว์วินิปาติกะ หรือสัตว์นรก ก็แบ่งเป็น 3 อย่างใหญ่ๆ คือมนุษย์ เทวดา และสัตว์นรก
มนุษย์เรียกว่าร่างกายนี้เป็นมนุษย์กันทุกคน แต่จิตวิญญาณแยกไปเป็นเทวดา ก็ต่างกันอีกเยอะ แยกไปเป็นสัตว์นรกก็ต่างกันไปอีกเยอะ ร่างกายนี่เป็นมนุษย์เป็นร่างกายตามสมมุติ มนุษย์ชาติไทย มนุษย์ชาติจีน มนุษย์ชาติฝรั่ง ชาติอังกฤษ ชาติอเมริกา อะไรก็แล้วแต่ มันจะแยกกันไปที่มีองค์ประกอบของสรีระ องค์ประกอบตั้งแต่โครงกระดูก เนื้อหนังมังสาผิวพรรณ โครงสร้าง ยังแบ่งกันไปอีกเยอะ เป็นมองโกเลี่ยน คอเคเซียน นิโกรเรี่ยน อะไรพวกนี้ นิโกรเรี่ยนก็คือพวกตามแอฟริกา คอเคเซียนก็พวกฝรั่งหรืออินเดียขาว ส่วนมองโกเลี่ยนก็คือเอเชีย คนไทยอยู่ในเผ่ามองโกล ก็แบ่งกันไปตามชีววิทยา
ทีนี้ส่วนตัวของ เทวะหรือเทวดา หมายถึงจิตนิยาม หมายถึงคุณภาพของจิต ว่าเจริญ มนุสโสเขาหมายถึงจิตเจริญแล้ว แต่หมายถึงเน้นเอาไปทางร่างกาย ตัวตน รูปร่าง องค์ประกอบโครงสร้างร่างกาย ส่วนเทวะ หมายถึงจิตวิญญาณ จิตเจริญเรียกว่าเทพ จิตสัตว์นรกสัตว์วินิปาติกะ
ส่วนข้อ 2 สัตว์บางพวกมีกายต่างกัน สัญญาอย่างเดียวกัน คำว่า กายกับสัญญานี้ จึงเป็นเครื่องตัดสินความเป็นสัตว์ หรือความเป็นมนุสโส หรือผู้เจริญ หรือสัตว์นรก จะแยกให้ชัดเจน เพราะฉะนั้นการศึกษาเรื่องวิญญาณฐิติ 7 หรือ สัตตาวาส 9 จึงเป็นความรู้ที่เรียนรู้เรื่องมนุษยชาติ ทั้งจิตวิญญาณและร่างกาย กายและจิต
จิตก็เจาะเอาที่สัญญา ต้องรู้ว่า สัญญาหมายถึงเจตสิกอย่างใด เป็นตัวกำหนดรู้ เป็นตัวความจำ ซึ่งอธิบายกันไปหลากหลายไม่ค่อยตรงกันเป๊ะทีเดียว
อย่างอาตมาอธิบายกับท่านมหาประยุทธ์ พุทธโฆษาจารย์ ก็อธิบายต่างกัน ในนัยยะ ของคำว่าสัญญา กายก็ต่างกัน ของท่านก็ต่างกันกับของอาตมา เพราะฉะนั้นมันจึงยังไม่เป็นหนึ่งเดียวกันเท่าไหร่ ยังไม่เป็นหนึ่งเดียวกันทีเดียว ก็ศึกษากันไป
หากอาตมาผิดท่านก็ถูก หากอาตมาถูกท่านก็ผิด แต่มีสิ่งที่ตรงกันไม่น้อยเหมือนกัน แต่นัยยะสำคัญที่แยกเป็น กายกับสัญญา ชัดๆตัดสิน ถ้าวิญญาณฐีติตรงกันหมด อันนี้ก็เป็นผู้ถูกสัมมาทิฏฐิตามคำสอนพระพุทธเจ้าทั้งหมด แต่ถ้าไม่ถูก จะผิดไปทั้งหมดเลย ผิดไปทั้ง 7 ข้อ และยังแถมผิดหนักหนาเลย แถม อสัญญีสัตว์กับเนวสัญญานาสัญญายตนะ อีก 2 ตัว ก็เป็น สัตตาวาส 9 คือ 7 นี้พยัญชนะต่างกันกับ วิญญาณฐีติ แต่ที่ยังเป็นสัตว์อยู่ก็ยังไม่บรรลุเป็นมิจฉาทิฏฐิ
แต่ถ้าผู้ที่อ่านออกวิญญาณตรงกันทั้ง 7 นี้ อันนี้แหละคือผู้บรรลุอรหันต์ ตรงเป็นหนึ่งเดียวกันกับอรหันต์ทุกองค์ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ตรงกันทั้ง 7 ก็เป็นศาสนาพุทธบริบูรณ์ แต่ถ้าผิดไปข้อหนึ่งก็ยังไม่เต็ม เป็นสัตตาวาสไปข้อ 1 ก็ตรงกัน 7 ถ้าผิดไป 2 เป็นสัตตาวาสตรงกัน 2 อีก 7 ไม่ตรงกันก็ยังเป็นสัตว์ ตรงกันเป็น 3 ขึ้นมาก็ดีขึ้น ตรงกัน 4 ขึ้นมาก็ดีขึ้น ตรงกันมาเป็น 5 สัตตาวาสข้อที่ 5 คือ อสัญญีสัตว์
ข้อที่ 1 2 3 4 ไม่ตรงกันก็คือเป็น ฌาน หรือ เป็นสมาธิทางจิต มันมีกายด้วยร่างก็ไม่ตรงกัน สัญญาก็ไม่ตรงกัน ก็จะสลับกันอยู่อย่างนั้น กายต่างกัน สัญญาต่างกัน กายต่างกันสัญญาอย่างเดียวกัน กายต่างกันสัญญาต่างกัน มันไม่ตรงกันสักอย่าง เป็นมนุษย์ เป็นเทวดาสัตว์นรก ต่างคนต่างสมมติคนละเรื่อง เป็นร้อยเป็นพันเป็นหมื่นเป็นแสน แล้วแต่เขาจะต่างกันแล้วแต่ใครจะสมมติกันเป็นอย่างไร แต่ก็พูดโมเมกันด้วยพยัญชนะ รู้น้อยก็ตรงกันน้อย ตรงกันที่ภาษา แต่สภาวะต่างกันอีกเยอะแยะ เพราะว่าเป็นนิมิตเป็นรูป เป็นเรื่องราว ตัวตนแต่ละคนในภพในจิตของตัวเองคิดเอาเอง เรียกว่า นิรมาณกาย สัมโภคกาย อทิสมานกาย นึกว่าสมมุติองค์ประชุมของ กาย รูปกับนามภาวะ 2 เนรมิตหรือนิรมิตเอาเอง ไม่มีใครเห็นของใคร อาทิสมาณกาย ของใครของมัน แต่พอพูดกันรู้เรื่องเรยีกว่าสัมโภคกาย ตรงกันมากหน่อยก็เรียกว่าสัมโภคกายมากหน่อย ตรงกันน้อยหน่อยก็สัมโภคกายหน่อย อย่างนี้เป็นต้น
สรุปลงไปแต่แค่น้อยๆ อย่างกาย 3 นิรมาณกาย สัมโภคกาย อาทิสมานกาย ซึ่งเป็นสิ่งผิดทั้งนั้นสร้างขึ้นเองไม่เข้ากับหมวดหมู่เขา ถ้าเป็นอรหันต์จะไม่มี 3 กายนี้เลย แต่ถ้าไม่ใช่อรหันต์ถูกบางส่วน ก็จะมี นิรมาณกายถูกบางส่วน ก็จะมีส่วนไม่ถูกทั้งนั้น กาย 3 นี้ นิรมาณกาย สัมโภคกาย อทิสมานกาย ไม่ถูกไปตามสัดส่วน
ต้องศึกษาให้ดี กว่าจะเป็นผู้ที่รู้ตรงกันที่เรียกว่าสัจจะมีหนึ่งเดียว เป็นพระอรหันต์ตรงกันหมด จะตรงกันทั้งหมดเลย สัจจะมีหนึ่งเดียว ถ้าเห็นต่างกันไปก็ต้องของคนใดคนหนึ่งถูกอีกคนหนึ่งก็ผิด อันนี้ไม่มีใครตัดสินก็ต้องเป็นสัจจะ
อย่างชาวอโศกขณะนี้อาตมาเป็นผู้ยืนยันว่าอย่างไรผิดอย่างไรถูก อาตมาก็ตัดสิน ถ้าไปคณะใหญ่เขาก็จะมีอย่างท่านมหาประยุทธ์ หรือท่านพุทธโฆษาจารย์ เขียนหนังสือพุทธธรรมไว้ตั้ง 3 เล่ม ไม่ใช่น้อย เป็นพันๆหน้า อาตมาก็พยายามอ่านอยู่ เล่ม 1 ยังไม่จบ อ่านไปเรื่อยๆ ตั้งใจอ่าน แต่ไม่รู้จะจบ 3 เล่มหรือเปล่า แต่ก็นึกอยู่ว่า ไม่น่าจะอ่านจบ 3 เล่ม นึก แต่จะพยายามอยู่ แต่มันก็แหม ไม่ใช่เล่มเล็กๆ หนา อาตมาเป็นคนอ่านหนังสือยาก หนังสือตัวเองก็ยังไม่ค่อยได้อ่าน แต่มันก็ต้องอ่านเพราะว่าต้องแก้ไข ทบทวน ของคนอื่นก็ไม่ค่อยมีเวลาอ่าน ไม่ใช่ดูถูกดูแคลน มันเป็นความเห็นต่างทำให้เราเกิดปฏิภาณปัญญาเห็นชัดเจนว่าอะไรถูกอะไรผิด แน่นอนมันเป็นประโยชน์มากเลย อ่านสิ่งที่ต่างกันก็เป็นประโยชน์ ไม่ใช่เป็นเรื่องโทษภัยอะไร เรื่องความเห็นต่าง..บังคับกันไม่ได้
เพราะฉะนั้นก็ศึกษาดีๆได้ถูกแล้วก็เป็นผลสำเร็จของแต่ละคน คนที่มีความถูกต้องลงตัวกับพระพุทธเจ้า ตรงกับพระพุทธเจ้า ซึ่งต่างคนก็ต่างเข้าใจว่าตนเองตรงกับของพระพุทธเจ้าทั้งนั้นแหละ มิจฉาทิฏฐิอย่างธัมมชโยก็บอกว่าตรงกับพระพุทธเจ้า มหาบัวหรืออาจารย์มั่นก็บอกว่าตรงกับพระพุทธเจ้า ซึ่งอาตมาก็บอกว่า ถ้าอย่างธัมมชโย บรรลัยจักรเลย มันผิดไปอย่างฟุ้งเฟ้อกระจัดกระจายมากมายจนนับไม่ถ้วนของทางสายธัมมชโย เรียกว่าสายฟุ้งซ่าน
ส่วนทางสาย อ.มั่นหรือสายนั่งหลับตาอาจารย์เสาร์ อาจารย์มหาบัว ก็นั่งหลับตาเข้าไปแต่มันเป็นมิจฉาทิฏฐิ ก็เป็นประเภทจับตัวกันอย่างที่ตัวเองเชื่อ เชื่อเอามาสรุปรวมแน่นกันเข้า แล้วตีไม่แตก ใครไปแยกไม่ออก จะเชื่อมั่นเป็นหนึ่งๆๆ อยู่อย่างนั้น ซึ่งผู้ที่ยึดมั่นถือมั่นในความเชื่อตัวเอง ไม่ฟังคนอื่น อาตมาให้ข้อสังเกตนิดนึงว่า ผู้ที่เข้าใจเป็นหนึ่ง แล้วเข้าใจการเป็น 2 ที่จะแตกต่างกันสลับไปสลับมา จนกระทั่งจัดความถูกต้องลงตัวได้ แล้วก็จะรู้ว่าตัวเองผิด จัดการถูกต้องได้โดยไม่ยึดมั่นถือมั่น แล้วก็จะรู้ตัวเองผิด อ้อ.. เราผิดไม่ใช่น้อย หรือเรายังผิดอยู่นิดหน่อย ผิดอยู่ไม่มาก จะรู้ได้จริงๆเลย ก็ต้องอยู่ที่ตัวแต่ละบุคคล ที่จะเข้าใจได้ จะแยกขึ้นมาได้ ถ้าไม่เช่นนั้นก็เป็นธรรมชาติ ธรรมดาของผู้ที่มีปัญญาหรือมีภูมิธรรมที่จะสามารถรู้ได้ขนาดไหน
ขยายความสัตตาวาสให้จบทั้ง 9 ข้อก่อน แล้วก็สรุปลง วิญญาณฐีติ 7
ข้อที่ 1 นะ กายต่างกันสัญญาต่างกัน เช่น สมมุติแล้วก็ยึดถือว่ามนุษย์เป็นแบบนี้ เทพเทวดาเป็นอย่างนี้ สัตว์นรกเป็นอย่างนี้ 3 อย่าง แล้วก็แตกต่างหลากหลายกันเป็นล้านชนิด ล้านความต่างเลย เพราะคนมันไม่รู้กี่ล้านคน เป็นล้านๆเลย ต่างกันไปได้สารพัด นิดนึงๆๆ หรือเหมือนกันมากหน่อย หรือเหมือนกันมากๆ ต่างกันนิด หรือต่างกันมากเหมือนกันนิดเดียวหรือไม่เหมือนกันเลย ไม่เหมือนกันอย่างปรุงแต่งต่างกันไปจนกระทั่งเราไม่รู้กับคุณได้เลย ปรุงแต่งกันไปอย่างนั้น เป็นสัตว์นรกอย่างนั้น เราไม่เคยไปใกล้ความเป็นสัตว์นรกแบบนั้น หรือเทวดาพิสดารวิตถารไปอย่างนั้น เราก็นึกไม่ออกนึกไม่ถึง นึกไม่ถึง
อย่างพอจะนึก เช่นว่า ท่าน อ.มั่นบอกว่าเทวดาอยู่ในภพ สมาธิก็หลับตา ฌานก็หลับตา พอหลับตาท่านก็ นิรมาณกายสร้างเองแล้วก็รู้เองเห็นเองคนเดียว คนอื่นไม่เห็นด้วย อาทิสมาณกาย แต่คนอื่นเห็นด้วยสัมโภคกาย แต่ทุกคนไม่ได้เห็นร่วมของอาจารย์มั่นเลย แต่ต่างคนต่างสมมติเอาเองทั้งนั้นเลย แต่ไม่สามารถเห็นของใครได้ มันอยู่ในภพตัวเอง ปั้นเองทั้งนั้น ไม่เป็นอย่างเดียวไม่ลงกันเป็นอย่างเดียว นี่เรียกว่า ข้อ 1 กายต่างกันหมด กายก็ต่างกันสัญญาก็ต่างกัน
ข้อที่ 2 สัตว์บางพวก กายต่างกัน สัญญาอย่างเดียว เช่น เทพ จำพวกพรหม พวกนี้ปฐมฌาน ฌานที่ 1 คึอจิตสัญญาว่า กำหนดรู้ว่า อาการของนิวรณ์ 5 กามก็ดี พยาบาทก็ดี ถีนมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจจะ วิจิกิจฉา 5 ชนิดนี้ มันไม่มีเหมือนกัน เรียกว่า อย่างเดียวกัน สัญญากำหนดอย่างเดียวกัน กำหนดนิวรณ์ 5 ไม่มีเหมือนกัน
แต่ได้กายต่างกัน ได้องค์ประชุมของรูปนามต่างกัน คนที่ได้นิวรณ์ 5 ไม่มี หลับตาอย่างสายอาจารย์มั่น สายมหาบัว สายธัมมชโย เขาก็ว่าไม่มีนิวรณ์ 5 ในตอนหลับตา หรือสายเถรสมาคม เป็นส่วนใหญ่ไม่ได้เหมือนชาวอโศก แต่ทางเถรสมาคมบางท่านอาจเหมือนชาวอโศกได้ อาตมาไม่ค่อยรู้ เพราะว่าท่านไม่แสดงตัว อาจจะไม่กล้าหรืออย่างไรก็แล้วแต่ ไม่ได้แสดงออกมาให้รู้ว่าเป็นอย่างไร
เพราะฉะนั้นในข้อ 2 กายต่างกัน สัญญาอย่างเดียวกันก็คือ เป็นการกำหนดหมายว่า จิตในขณะเป็นปฐมฌาน เป็นฌาน 1 ไม่มีนิวรณ์ 5 เหมือนกัน แต่ในความไม่มีนั้นต่างกัน คนนึงลืมตา
อย่างพุทธนั้นลืมตา ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ตื่นเต็มหมด ตาก็เห็นหูก็ได้ยิน แล้วไม่มีนิวรณ์ 5 ในขณะที่ลืมตาสัมผัสรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส อะไรต่างๆ กามไม่มี พยาบาทไม่มี ถีนมิทธะไม่มี อุทธัจจะกุกกุจจะ ไม่มี วิจิกิจฉา ไม่มี
แต่สายหลับตา ไม่มีนิวรณ์ 5 ตอนหลับตาเท่านั้น แต่ลืมตาออกมามีกาม อย่างมหาบัว กินหมากอยู่ จั๊บๆ ติดหนักหนาในรสชาติของหมากพลูจนตายไปกับสิ่งนั้น ท่านก็ไม่รู้รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสกามคุณ 5 เพราะฉะนั้นที่ท่านทั้งหลายยังศรัทธา หลงกันว่าเป็นพระอรหันต์กันอยู่ โถ! รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสทั้ง 5 ทวาร 6 ทวาร จิตเป็นตัวมิจฉาทิฏฐิเต็มบ้อง ก็ไม่เข้าใจว่าตัวเองติดยึดอยู่จนตายคา ไม่ได้ปล่อยวางเลย แล้วความติดยึดแค่นี้ก็ไม่รู้ แล้วจะไปรู้ความปล่อยวางจนไม่มี มันจะไปรู้ได้อย่างไร ก็ขนาดติดไม่ขาดปาก ตลอดเวลา ถ้าขาดไปหน่อยก็หาวแล้ว อ้าวก็หามาให้แล้ว เป็นความต้องการของร่างกาย ของจิตใจ หาว มันแสดงออกอย่างนั้น เออ เอามาหน่อย เอามาหน่อยมันจะดิ้นแล้วนะ
ขออภัยลูกศิษย์ลูกหาท่านมหาบัว ไม่ใช่ไปข่ม ถ้าสายหลับตาไม่ว่าจะเป็นสายธัมมชโย สายมหาบัว ฤาษีลิงดำ ที่เรียนกันมาเป็นฌานหลับตาทั้งนั้น ฌานลืมตานั้นมีน้อย แล้วไม่เต็ม ถ้าฌานลืมตาเต็มก็สายอโศก ฌานลืมตา ที่เกิดจากจรณะ 15 วิชชา 8 อย่างสัมมาทิฏฐิที่เป็นกระบวนการของพุทธคุณ 1 ใน 9
พระพุทธเจ้ามีพุทธคุณ 9 ชนิด วิชชาจรณสัมปันโน เป็น 1 ในพุทธคุณทั้ง 9 เพราะฉะนั้นผู้ที่ปฏิบัติไม่ตรงกับจรณะ 15 วิชชา 8 ไม่ตรง ไปเข้าใจกันคนละอย่าง สัญญากันคนละอย่าง ทิฏฐิคนละอย่าง มันก็ไม่ใช่แบบของพระพุทธเจ้า ถ้ามันตรงกับจรณะ 15 วิชชา 8 ตรงกันทุกตัว เป็นสัจจะเป็นหนึ่งเดียว ก็นั่นแหละ เป็นอรหันต์แท้
เพราะฉะนั้นขณะนี้มีสายอโศก ที่มีอาตมาเป็นผู้นำความถูกต้องนี้มาเรียกว่าโลกุตรธรรม กับสายเถรสมาคม สายฤาษีลิงดำ สายธัมมชโย ธรรมกาย สายท่านพุทธทาส อาศัยหลับตาทั้งนั้น ลืมตาจริงๆนี่ก็ยังไม่พ้น วิจิกิจฉา อย่างสมบูรณ์แบบ เป็นผู้ยังไม่ตัดรอบชัด ไม่กระจ่างอย่างแยกดำแยกขาวให้ชัด แต่อาตมาว่าอาตมาแยกดำแยกขาวชัดนะ แต่ท่านเหล่านี้ยังมี วิจิกิจฉา ยังไม่สมบูรณ์ยังไม่ถ้วนรอบก็ว่าไป
พูดไปเหมือนอาตมาถูกคนเดียวไปข่มคนอื่นเขาหมด แต่ขออภัย ขณะนี้อาตมายังไม่เห็นคนที่ 2 ที่อธิบายถูกอย่างอาตมา แต่ผู้ที่มีความประพฤติที่ตรงกันคือ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งก็เป็นเรื่องของรูปธรรม ท่านก็อธิบายนามธรรมไม่ออก แต่ท่านทำรูปธรรม ซึ่งเป็นรูปธรรมที่นามธรรมมีรายละเอียดมาก แต่รูปธรรม มันไม่มีรายละเอียด มันเป็นองค์รวม เป็นสภาวะ ส่วนรายละเอียดของความรู้ มันละเอียดเป็นปัญญา ปัญญากับสภาวะจึงต่างกัน
แล้วความเป็นปัญญานี่แหละเป็นตัวชี้บ่งถึงความถูกต้อง ที่พระพุทธเจ้าท่านสรุปลงไปไว้อีกว่า เป็นปัญญา 8
อันที่ 2 เมื่อตรงกันที่ไม่มีนิวรณ์ แต่เขาหลับตา แต่ผู้ที่กายต่างกัน องค์รวมทั้งหมด 1, ภาวะ 2 ไม่ตรงกัน แต่นิวรณ์ไม่มีเหมือนกัน อีกคนนึงหลับตาอีกคนนึงลืมตากว้าง มีกามคุณ 5 รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสภายนอก รวมเข้าไปหาภายใน รู้ชัดหมด มันก็ต้องต่างกัน กายต่างกัน แต่นิวรณ์ 5 ไม่มีเหมือนกัน นี่คือสัตตาวาสข้อที่ 2
สัตตาวาสข้อที่ 3 กายอย่างเดียวกัน แต่สัญญาต่างกัน กายอย่างเดียวกัน เช่น เหมือนเทพอาภัสรา เทพสว่าง สายของธัมมชโยนี่แหละ ใสๆ สว่าง แต่หลับตาตลอด สว่างใสๆ พวกตาบอดตาใส คือไม่มีวิชชา ไม่รู้ความจริง แต่ก็สมมุติกันอยู่ในภพ หลับตาตรงกันเห็นลูกแก้ว เห็นอะไรที่สมมติเป็นรูปเป็นนั้นรูปนี้ ตรงกันอยู่ในภพ เอามายืนยันด้วยกันข้างนอก รูปสัมผัสด้วยกัน เห็นด้วยตา เอาเสียงได้ยินเหมือนกัน สัมผัสด้วยมือ สัมผัสด้วยทุกอย่าง โผฏฐัพพะ ได้กลิ่นร่วมกัน เอาลิ้นแตะเหมือนกัน มันก็ไม่ตรงกันเอามายืนยันด้วยกันไม่ได้ เรียกว่ากายต่างกัน สัญญาอย่างเดียวกัน
ต่อมาก็กายอย่างเดียวกันใสเหมือนกัน แต่สัญญากำหนดหมาย อย่างเช่นสายธรรมกาย ต่างคนต่างสร้างเองเลย สัญญาสร้างไปกำหนดเอาเองไปเป็นภพเป็นชาติ เป็นนิรมาณกายแตกต่างกันไปสารพัด แต่สมมติคำว่า กาย ด้วยภาษาสั้นๆว่า ใสๆ สว่างใส แม้จะสมมุติว่า ใส โสดาบัน ใสสกิทาคามี ใสอนาคามี ใสอรหันต์ ซึ่งเขาอธิบายไป แต่สมมุติได้ว่าใส สรุปว่าเป็นไง ก็ใสๆ ไม่ขุ่น ก็เท่านั้นเอง นี่คือกายต่างกัน
เพราะฉะนั้นกายต่างกันใสๆเยอะเลย แต่สัญญาอย่างเดียวกัน แต่ปฏิบัติตามกันไปหมด
ส่วนอันที่ 4 กายอย่างเดียวกัน สัญญาอย่างเดียวกัน เช่น สุภกิณหา คำว่ากิณหะ แปลว่ามืด แปลว่าดำ เพราะฉะนั้นก็เห็นร่วมกันในพยัญชนะว่า เออ มืดดำนี้ดีด้วยกันทั้งคู่ สุภะคือดี น่าได้ น่ามี น่าเป็น แล้วมีทิฏฐิ มีความรู้ความเห็นกำหนดหมายถูกต้องด้วย แต่ถ้าไม่ถูกต้องทั้งสายมิจฉาทิฏฐิและสัมมาทิฏฐิก็ไปต่างกันตรงนั้น เพราะฉะนั้นผู้ที่ต่างก็ยังเป็นสัตว์ ไม่พ้นความเป็นสัตว์ ผู้ที่เหมือนกันเป็นหนึ่งเดียว สัจจะมีหนึ่งเดียว ก็พ้นความเป็นสัตว์ เป็นวิญญาณฐีติ
สุภกิณหา ก็เป็นวิญญาณฐีติร่วมกันในข้อที่ 4 แต่สุภกิณหา ชัดเจนทั้งรูปนามว่า มืดดำนี้คืออะไร มืดดำก็คือ ไม่มีแสงสว่าง ผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิก็รู้ว่ามีแสงสว่าง มันมืดมันดำ หรือหลับตามันก็มืดดำ ทีนี้ถ้าลืมตา มืดดำก็คือคนไม่มีสติสัมปชัญญะ เบลอ จมอยู่ในภพ เป็นคนตกภวังค์ แต่ถ้าคนตื่นอยู่ลืมตารับรู้มีสติเต็ม ตากระทบรูป หูกระทบเสียงรู้อยู่ตื่นเต็มอยู่ก็ตรงกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น เจ๊กแขกฝรั่งไทยก็ตรงกัน แต่อาจต่างกันที่สัตว์สมมุติต่างกัน แต่คนไม่ว่าเจ๊กแขกไทยฝรั่ง กระทบสัมผัสเข้าตรงกันหมด เห็นสีแดงเป็นสีแดง เห็นสีเขียวเป็นสีเขียว อาจจะใช้ภาษาต่างกันไป แต่ละภาษา ก็แยกภาษาไป แต่สภาวะตรงกันหมด อันเดียวกันหมด
เพราะฉะนั้นในข้อที่ 4 นี้ มืด ดำ คือ ไม่มีแสงสว่าง อาโลกะ หรืออาโลก แปลว่าแสงสว่าง เพราะฉะนั้นคุณจะลืมตาหรือหลับตาคุณก็อยู่กับความมืด แต่ถ้าคุณไปสร้างภพชาติ มีรูปร่าง มีตัวตน มีสัตว์ตัวตนบุคคลเราเขาไปหมด ทั้งที่มันมืดดำไปหมด
ผู้ที่รู้ความมืดถูกต้องเป็นสัมมาทิฎฐิก็รู้ว่าความมืดความดำ เพราะเราต้องการพัก ต้องการดับ ต้องการหลับ มืดดำสบาย ตื่นขึ้นมา ก็มีแสงสว่างรับรู้ทุกอย่างหรือแม้แต่จะหลับตาอยู่แต่ก็ไปสร้างจินตนาการอยู่ในภพ หรือสัญญากำหนดระลึกอันนั้นอันนี้มาคิดก็ได้ โดยสัมมาทิฏฐิด้วยความรู้ตัวระลึกรู้ตัว เป็นสติสัมปชัญญะ ปัญญารู้อยู่ ไม่ได้เลอะเลือนเละเทะสับสน ก็ได้ แต่ก็รู้ว่าเราอยู่ในความมืด หลับตาอยู่ในความมืด แต่เราตื่นอยู่ในภพ ในภวังค์
ถ้าลืมตาขึ้นมา ก็รู้ครบทั้งภายนอกภายใน ครบกาย เรียกว่า 2 อย่างทั้งภายนอกและภายใน ตื่นทั้งภายนอกตื่นทั้งภายใน เพราะฉะนั้นคำว่า กายนี้ต้องตื่นภายนอกด้วยเต็มๆ ไม่เต็มก็ถือว่ากายพร่อง กายไม่สัมมาทิฏฐิทีเดียว ยิ่งกายข้างนอกไม่รู้เรื่องอะไรเลย กายไปหหลงว่าเป็นวัตถุ กายไปเข้าใจผิดว่า เป็นดินน้ำไฟลมอย่างเดียว ไม่มีจิตเข้าไปร่วมในคำว่ากาย อันนี้ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิ 100%
ผู้ที่เข้าใจว่า กาย ไม่มีธาตุจิตร่วมด้วยเลย คือมิจฉาทิฏฐิ 100% กายต้องมีจิตร่วม บางครั้งก็เน้นที่กายมากจิตน้อย บางครั้งเน้นที่กายน้อยจิตมาก ตามเปอร์เซ็นต์ ก็แล้วแต่จะกำหนดรู้ของแต่ละคน
เพราะฉะนั้นผู้ที่จะเข้าใจกาย เข้าใจจิต โดยเฉพาะเข้าใจกายกับตัวสัญญากำหนดรู้ กำหนดหมายเท่านี้ๆๆ และก็จำได้เท่านี้ เปรียบเทียบ ตรงกันถูกต้อง ความจำกับการกำหนดหมายของคำว่าสัญญาจึงจะเปรียบเทียบกันอยู่ตลอดเวลา กำหนดปัจจุบันนี้คือกำหนดสัญญากำหนดปัจจุบัน ส่วนความจำคือสิ่งที่เป็นอดีต
อดีตที่ตายตัวแล้ว หรืออนาคต ก็นำมาจำได้ ซึ่งเรายังไม่เป็นตามนั้นหรอกมันเป็นอนาคต เรายังไม่เคยผ่านอย่างนั้นหรอกเป็นอนาคต แต่เราก็เคยสัญญากำหนดรู้ว่ามันจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้อยู่ข้างหน้า ยังไม่มาถึงทีเดียว ได้เยอะ พระพุทธเจ้าแบ่งไว้ 44 อย่าง ส่วนที่เป็นอดีตนั้นพระพุทธเจ้าแบ่งไว้ 18 อย่าง อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งเรียนรู้ดีๆ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน พรหมชาลสูตร ละเอียดลึกซึ้งมาก เป็นสัจจะที่พระพุทธเจ้าประกาศ อาตมาเป็นโพธิสัตว์ระดับ 7 ก็พอรู้จึงเอามาขยายให้ฟัง ซึ่งไม่มีใครขยาย ขออภัยอีกที ไม่มีใครขยายอย่างอาตมา แบบอาตมาทีเดียว ตรงกันอย่างที่อาตมาอธิบาย ก็ยังไม่มีใครอธิบายอย่างอาตมา อาตมาก็อ่านหนังสือพุทธธรรมของท่านสมเด็จพุทธโฆษาจารย์อยู่ ท่านมียศศักดิ์ฐานะ อาตมาไม่มีอะไร มีแต่พวกคุณยกให้อาตมาเป็นพ่อครู บางคนบอกเป็นพ่อเฒ่า บางคนเรียกพ่อท่าน ตอนแรกเรียกพ่อท่าน คำว่าท่านนี้เป็นศักดินาอยู่นิดหน่อย
สรุปตรงข้อที่ 4 ก่อน สุภกิณหา คำว่า สุภ คือ น่าได้ น่ามี น่าเป็น แล้วคนควรได้อะไร ก็เช่น คนจะพักให้หลับสนิทก็ให้มืดดำ ไม่มีอะไรตุกติกเลย นั่นคือการหลับพักที่ดี ดับได้สมบูรณ์แบบ แต่สายปัญญาสายฟุ้งซ่านไม่ค่อยจะดับได้ หลับก็ไม่ค่อยดับยิ่งดับนึก คิดไปทั้งคืน หรือปรุงแต่งอะไรไปเขาเรียกว่าฝัน แต่ถ้าพระอรหันต์ก็นึกว่านิมิต ไม่ได้มีอกุศลอะไร เป็นสัญญาความจำและพิจารณาความรู้สำหรับพระอรหันต์ สัญญาความจำก็สับสนเอาอะไรขึ้นมานิดอะไรหน่อย เยอะแยะแม้พระอรหันต์ก็ตามขึ้นมาได้ สัญญาเก่าก็เกิดมาในขณะที่เราไม่ได้ควบคุมด้วยสติ นอนหลับมันก็เป็นอย่างนั้น แต่มันไม่มีอกุศลจิตอะไรเข้าไปปรุงแต่งร่วมด้วย ถ้าสำหรับพระอรหันต์ขึ้นไป
เพราะฉะนั้นก็เกิดภาพเกิดรูปเรื่องอะไรได้หรือหลับ ดับสนิทลึกก็คือการทำความดำความมืดความดับให้ลึกแล้วก็ดำมืดเกลี้ยงนั้น ไม่มีแม้แต่แสงอะไรนิดหน่อย เรื่องราวก็ไม่มี ก็ดีเป็นการมืดดำที่ดีเรียกว่า สุภกิณหาหรือกัณหะ
นี่คือสัตว์จำพวกที่ 4 เท่านี้แหละเรียกว่า รูปฌาน ต่างกันบ้าง ถ้าตรงกันก็เรียกว่า ฌาน ตรงกัน เป็นฌานตรงกันแบบสมาธิของพุทธ ของที่ต่างกันไปก็ถือว่าเป็นของเดียรถีย์เป็นของนอกพุทธ อันไหนต่างกันไม่ใช่ของหนึ่งเดียวกันก็เป็นของนอกพุรทธ รูปฌาน 4
ที่นี่ในสายหลับตาไม่มีความรู้เรื่องสัญญา ก็ไปดับสัญญาเรียกว่าเป็น อสัญญีสัตว์ ไม่ใช่ดับแค่สัญญาแต่ก็ดับเวทนาไปด้วย เข้าใจว่าเป็นนิโรธ คือการดับความรู้สึก ไม่เห็น กำหนดรู้ก็ไม่มีหยุดนิ่ง บื้อทื่อก็เป็นอสัญญีสัตว์
ในสัตตาวาส 9 หลังจาก อสัญญีสัตว์ เป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งนั้นเลย ต่างคนต่างสร้าง วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญยายตนะ ทุกคนจึง มีแต่ต่างกันหมดเรียกว่าเป็น เนวสัญญานาสัญญายตนะ ใช่ก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ก็ไม่ใช่อะไรอย่างนั้น ในสัญญาต่างๆ คือ เนวสัญญา นาสัญญา ไม่ตรงกันอยู่ หรือ ตรงกันมากไม่ตรงกันน้อยหรือว่าไม่ตรงกันมากตรงกันน้อย มันยังไม่ลงตัวเป็นหนึ่งเดียวกันก็เป็น เนวสัญญานาสัญญายตนะ ตามสัจจะที่มันต่างกันไม่ลงกันในสัญญาต่างๆ นาสัญญา เรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนะ นี่คือส้ตตาวาส 9 ทั้งหมด
ทวนอีกที
รูปฌาน 4 ของผู้ที่เป็นสัตว์ก็คือรูปฌานของพวกมิจฉาทิฏฐิ ถ้าเป็นรูปฌานของสัมมาทิฏฐิก็เป็น ฌาน 4 ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิก็เป็นสัตตาวาสข้อที่ 4
สัตตาวาสข้อที่ 5 อสัญญีสัตว์ไปดับสัญญา
แต่สัมมาทิฏฐิจะไม่มี อสัญญี สัญญาจะตื่นเต็มแล้วก็รู้จัก อากาสานัญจายตนะ อากิญจัญยายตนะ แล้วรู้จัก สัญญาเวทยิตนิโรธ ซึ่งละไว้ในฐานที่เข้าใจ จึงมีวิญญาณฐีติแค่ 7
สัญญาเวทยิตนิโรธ แปลว่า เป็นนิโรธที่สัมมาทิฏฐิ มีสัญญากำหนดรู้ เคล้าเคลียอารมณ์เรียกว่า เวทยิตะ สัญญาเวทยิตนิโรธ การดับกิเลสในเวทนา เหลือแต่เวทนาแท้ เวทนาเทียมที่มีกิเลสไม่มีแล้ว สัญญากำหนดรู้ สัญญาเวทยิตะ ก็ต้องรู้เวทนาเวทยิตคือ อารมณ์ หรือความรู้สึกทั้งหลายที่พระพุทธธเจ้าแยกกระบวนธรรมออกไปเป็น 108 เป็นเวทนา 108 สำคัญตรงที่แยกเป็นโลกีย์เรียกว่า เคหสิตะ เรียกว่า มโนปวิจาร 18 เป็นเคหสิตะคือ เป็นอวิชชา เอากิเลสออกได้บ้างไม่ได้บ้างหรือยังไม่หมดยังไม่ครบ แต่ถ้าเนกขัมมะ ก็ออกได้เป็นลำดับจนถึงอุเบกขาเป็นลำดับสุดท้าย
อุเบกขาก็คือความบริสุทธิ์จากกิเลสอาสวะ อุเบกขา มีองค์ธรรม 5 ปริสุทธาแปลว่าบริสุทธิ์ ปริโยทาตาบริสุทธิ์มากยิ่งขึ้น มุทุสะสมความบริสุทธิ์ จิตที่ประเสริฐ จิตที่เจริญขึ้นเรื่อยๆ ทั้งเจโตและปัญญาเป็นมุทุ เจริญขึ้นละเอียดลึกซึ้งขึ้น วิเศษขึ้น รวมเล็กเข้าละเอียดเข้าแน่นเข้าไว้เข้ายิ่งว่องไวยิ่งปราดเปรียว ไม่ใช่ยิ่งทื่อแข็ง ไม่ใช่ นี่คือความละเอียดลออของสภาวะธรรมที่อาตมาพยายามขยาย
เพราะฉะนั้นจิตใจที่ มุทุภูตธาตุ จึงเอาไปทำการงานด้วย กัมมัญญา ทำการงานด้วยธาตุรู้ โลกุตระ เอามาใช้ตามเหมาะควรเรียกว่า กัมมัญญา เรียกเต็มๆว่า กัม ปัญญา แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ถึงขั้นทั้งหมดทุกอย่าง เอาแค่โลกุตรธรรมบางอย่างมาใช้ในกรรมการงานเรียกว่า กัมมัญญา พอแล้ว ไม่จำเป็นต้องเอาปัญญาทั้ง 8 ปัญญาทั้งหมดมาใช้ทั้งหมดหรอก อย่างนี้เป็นต้น
เพราะฉะนั้น กัมมัญญา เป็นกรรมการกระทำอันไหนควรตามเหตุปัจจัยในทุกๆ status quo ในทุกๆขณะปัจจุบันนั้น ในสัมปติ suddenly ในปัจจุบันชาติ ตามเหตุปัจจัยในปัจจุบันนั้น ถ้าเลื่อนไปตามวินาทีก็จะเป็นอีกเหตุปัจจัยแล้ว ไม่เที่ยง นี่มันละเอียดลอออย่างนี้
เพราะฉะนั้นผู้ที่รู้ว่าความไม่เที่ยงและก็รวมเอาเหตุปัจจัยมากขึ้น คนที่รู้เหตุปัจจัยร่วมด้วยก็พูดกันรู้เรื่อง คนไม่รู้เหตุปัจจัยด้วยกัน ก็ไม่รู้เรื่องแย้งกันเถียงกัน บอกว่าเอาอะไรมาใส่ ไม่รู้เรื่อง ถ้ารู้ด้วยกันร่วมกันก็พูดกันรู้เรื่อง เหตุปัจจัยอันอันนี้มาร่วมกันก็พูดกันเป็นหนึ่งเดียว รู้เรื่องกันดี รวมหมดแล้วก็เป็นสัจจะเป็นอย่างเดียว
ต่อจากอสัญญีสัตว์ สายมิจฉาทิฏฐิจะมีอสัญญีสัตว์ สายสัมมาทิฏฐิจะไม่มีอสัญญีสัตว์
ต่อจากวิญญาณฐีติอันที่ 5 ก็คือ อากาสานัญจายตนะ กับ วิญญาณัญจายตนะ หรือจะอธิบายทะลุ ไปถึงอากิญจัญญายตนะเลยก็ได้
1 อากาศเป็นความว่างมีรูปนามมีธรรมะ 2 กำหนดรู้ว่านี้ว่างนะ อากาศนี่ว่างๆนะ มันไม่มีอะไรนะ ไม่มีในสิ่งที่หมายว่าไม่มี
ส่วนวิญญาณคือธาตุรู้ วิญญานัญจายตนะ รู้ว่าอันนี้ว่าง ส่วนอากิญฯ รู้ว่าอะไรไม่มี คือกิเลสไม่มี สิ่งที่ไม่ต้องการไม่ให้มาร่วมนั้นไม่มี ไม่มีนิดนึงนะ 1 ก็ไม่มี ในขณะที่เรารวมปรุงแต่งกันเป็น 1 เป็น 2 เป็น 3 ก็ตาม เพราะฉะนั้น อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ กับอากิญจัญญายตนะ 3 อย่างนี้คือสุดท้าย
1. สภาพอากาศคือรูป 2. สภาวะธาตุรู้คือนาม 3. สภาวะของกิเลสมันไม่มี
-
มันว่าง 2. สภาพธาตุรู้คืออากาศ 3. ไม่มีกิเลส อากิญ จบวิญญาณฐีติ 7 ไม่ต้องไปเป็น เนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะปฏิบัติถูกต้องเป็นสัมมาทิฏฐิมาตั้งแต่ต้น 7 กระบวนการ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็ไม่ต้องมี วิจิกิจฉาไม่ต้องมี สงสัยว่าใช่หรือไม่ใช่ พ้น เนวสัญญานาสัญญายตนะ จึงไม่มีในวิญญาณฐีติ 7 จบ เป็น สัญญาเวทยิตนิโรธ ตามที่ละไว้ในฐานที่เข้าใจ