641011 รายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 13
ดาวโหลดเอกสารที่
https://docs.google.com/document/d/1B3dJpiMhY9-Ag2HuzQ2eAdqluMBLtIDq1beCpu7-RZI/edit?usp=sharing
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1yrt_Df68TSTxEyhLylQbyuF9usnHsV_O/view?usp=sharing
และดูวิดีโอได้ที่ https://www.facebook.com/300138787516163/videos/157950753207654
สู่แดนธรรม… วันนี้เป็นวันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก ที่ผ่านมาพ่อครูได้สาธยาย ความสำคัญของศีลกับปัญญา ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับชั้นวรรณะ
สัมมาทิฏฐิ 10 เริ่มที่คบสัตบุรุษ
พ่อครูว่า… ศีลกับปัญญาจะทำให้เกิดสมาธิได้อย่างไร ก็ตอบก่อนว่าถ้าไม่ใช่ศีลกับปัญญาจะไม่เกิดสมาธิ นั่งหลับตาก็ทำให้เกิดสมาธิแต่ไม่ใช่สมาธิของศาสนาพุทธ สมาธิต้องมีศีลกับปัญญาช่วยกันเหมือนล้างมือด้วยมือล้างเท้าด้วยเท้าทำให้เกิดความบริบูรณ์ได้
ศาสนาพุทธเสื่อมเพราะไม่รู้จักศีล ไม่เข้าใจคุณสมบัติของศีล ไม่เข้าใจลึกซึ้งถึงขั้นละเอียดว่าศีลกับวินัยมีนัยยะสำคัญต่างกันอย่างไรเป็นต้น ก็ได้แต่ยืนยันว่าทุกวันนี้ พระมีศีลเท่าไหร่ 227 เขาจะตอบอย่างนี้ทั้งนั้น เราก็บอกว่าไม่ใช่ ศีลนั้นไม่ใช่วินัย 227 เขาก็จะเถียงเลยว่า พระก็ต้องถือศีล 227 ทั้งนั้น
ซึ่งมันก็จริงว่าพระเดี๋ยวนี้ไม่รู้จักศีลรู้จักแต่วินัย ถ้าพระไตรปิฎกไม่มีไม่ได้เขียนไว้ก็จะไม่รู้จักเลย พระไตรปิฎกยืนยันไว้ว่า ศีลนั้นพระพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดเจนเป็นเรื่องต้น จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล แม้แต่ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ก็อยู่ในนี้
เป็นการบ่งชี้ว่าไม่เข้าใจเรื่องศีล เอามาใช้ไม่ได้ เข้าใจไม่บริบูรณ์ มันก็ไม่เหลือแล้วศาสนาพุทธ ขออภัยที่อาตมาต้องพูดอะไรให้ชัดเจนหมดเกลี้ยง ไม่ได้ตั้งใจไปข่มเบ่งใส่ไคล้ ที่พูดไปนี้เป็นความจริงทั้งหมดไม่ได้มีอคติเลย พูดกันอย่างตรงๆสมบูรณ์
เพราะฉะนั้นก็เลยไม่รู้จักสภาพของความเป็นศีลเป็นปัญญาที่เป็นเหมือนกับแม่กับพ่อ ศีลเป็นแม่ ปัญญาเป็นพ่อ ร่วมกันทำให้เกิดสัตว์โอปปาติกะขึ้นมา
มาตา ปิตา สัตตาโอปปาติกาในสัมมาทิฏฐิ10 ข้อที่ 7 8 9 เราก็ไม่เข้าใจ แม่คืออะไรพ่อคืออะไรเขาก็ไปบอกว่าเป็นบุญคุณของพ่อแม่ไปโน่น อธิบายกันไปไม่ใช่นามธรรมที่ลึกซึ้ง
แม่คือคุณธรรมทางด้านจิตวิญญาณ พ่อก็เป็นคุณธรรมด้านจิตวิญญาณ ให้กำเนิดออกมาเป็นสัตว์ทางจิตวิญญาณ เรียกว่าโอปปาติกะ
ซึ่งความเป็นสัมมาทิฏฐิอันนี้เขาไม่ได้มีสัมมาทิฏฐิกันจริงๆ ศาสนาพุทธจึงไม่เหลือ แม้แต่ปราชญ์เอกในศาสนาพุทธทุกวันนี้ก็เข้าใจไม่ได้ ไม่ได้เข้าใจอย่างนี้อธิบายไม่เป็นอย่างนี้จึงปฏิบัติกันไม่ได้ ก็ไม่ได้มีธรรมะเนื้อหาสาระของพระพุทธเจ้าก็ไม่เหลือก็ไม่มีความเป็นจริงเกิดขึ้นมาได้
จริงๆแล้ว ไม่ใช่ว่าจะไม่มีความรู้ถึงขั้นไม่เข้าใจ มาตา ปิตา สัตตาโอปปาติกา
แม้แต่แค่เรื่อง ทาน เขาก็ยังไม่สัมมาทิฏฐิ ในสัมมาทิฏฐิ 10 แม้แต่คำว่าทานในข้อที่ 1 เลย
ทานมีผล ผลอย่างไร มีสัมมาทิฏฐิไหมเขาก็ยังไม่เข้าใจไม่รู้ ว่า สัมมาทิฏฐิของการทาน มีผล ผลของทานคืออย่างไร
ผลของทาน เป็นโลกุตระ ทานแล้วจิตของเราไม่เกิดกิเลส จิตของเราทำให้กิเลสลดได้อีกคือการทาน ทานแล้วก็ลดกิเลส แต่หากทานแล้วกิเลสยิ่งโตยิ่งมาก ตะกละ เพิ่มเป็นภพชาติ ยิ่งมีโลภะมากมายก่ายกองเข้าไปอีก มันก็เป็นมิจฉาทิฐิสอนกันไม่ได้ตั้งแต่เริ่มทาน
เพราะฉะนั้นปฏิบัติศีลที่เขาบอกว่าเป็น ยัญพิธีที่บูชาแล้ว ย่อชัดๆคือพิธีการ เป็นศีลสมาธิปัญญา ปฏิบัติศีลเพื่อให้เกิดคู่กันกับปัญญาแล้วทำให้เกิดที่จิต อธิศีล อธิปัญญา มีอธิจิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ฟังต่อไปแล้วอย่าอาเจียนเป็นโลหิตพุ่งออกจากปาก
ยิ่งในข้อ 3 เป็นผลของการของศีล หุตัง คือสังเวยที่บวงสรวงแล้ว เขาก็แปลทับศัพท์จากภาษาบาลีเก่าๆ ผลคือ ประสบผลได้สังเวยผล สำเร็จผล ผลคือวิธีการปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติแล้วก็ได้ผล ลิ้มเล็มเสวย ลิ้มเล็มผลนั้น ได้รับผลนั้นเป็นวิมุติรส หรือเป็นธรรมรสขึ้นไปสูงสุดเป็นวิมุติรส ได้ผลอย่างนั้น เขาก็ไม่รู้จักกันก็ต้องเข้าใจกรรมวิบากที่เป็น
สุกตทุกฎานังกัมมานังผลังวิปาโก มันจะเกิดดีหรือไม่ดี สุกตะหรือเกิดไม่ดี ทุกตะ ผลมันเป็นอย่างไรก็ไม่รู้จัก อ่านไม่เป็นรู้ไม่ได้เพราะอ่านจิตเจตสิกไม่ออก จิตเจตสิกรูป สภาวะ 2 จากรูป กับจิตแล้วแยกเป็นเจตสิกละเอียดต่อไปอีก รูปคือสิ่งที่ถูกรู้ เจตสิกก็ถูกรู้ได้เหมือนกันเป็นนามรูป
โลกนี้โลกหน้าก็คือ โลกโลกียะกับโลกุตระ เขาก็แยกกันไม่ออก ไม่รู้เรื่องของโลกุตระ มีแต่โลกโลกียะอย่างเดียว แล้วก็บอกว่าโลกหน้าคือ การตายจากร่างกายได้เกิดอีกรอบหนึ่ง จิตวิญญาณไปเกิดอีกภพหนึ่งเรียกว่าโลกหน้ากันแค่นั้น มันก็อธิบายไปปฏิบัติไม่ได้ เป็นดินน้ำไฟลมไปหมดเลย ไม่เข้าถึงปรมัตถ์
มาตา ปิตา สัตว์โอปปาติกะ มารดาบิดาก็ไม่มี สัตว์โอปปาติกะคือลูกของมารดาบิดาก็ไม่มีแน่นอน มีมันก็ผิดไปหมด ก็ไม่รู้เรื่องอะไรกันเลย เพราะอะไร เพราะคุณไม่คบสัตบุรุษ ในข้อที่ 10 คุณไม่รู้จักสัตบุรุษ คุณไม่คบสัตบุรุษให้บริบูรณ์ ฟังธรรมจากสัตบุรุษให้บริบูรณ์ ศรัทธาจึงจะบริบูรณ์ เมื่อศรัทธาบริบูรณ์แล้วจึงจะทำการโยนิโสมนสิการได้บริบูรณ์ ถึงจะทำใจในใจของตนเองให้บริบูรณ์ได้ เมื่อทำใจในใจของตนเองได้บริบูรณ์ได้เต็มสติสัมปชัญญะก็จะบริบูรณ์ การสำรวมอินทรีย์ก็จะบริบูรณ์ ก็จัดการกับทุจริต 3 ให้เป็นสุจริต 3 โดยบริบูรณ์ได้ สติปัฏฐาน 4 ก็บริบูรณ์ โพชฌงค์ 7 ก็บริบูรณ์ วิชชาและวิมุติก็บริบูรณ์ด้วยประการฉะนี้ นี่คืออาหารสูตร 10 พระไตรปิฎกเล่ม 14 ข้อ 66
ขยายความให้ชัดเจนเพราะว่าอาตมาเป็นสัตบุรุษ ไม่พูดเท็จอาตมาพูดเป็นแต่ความจริงพูดเท็จไม่เป็น คนที่ฟังอาตมาพูดตรง อาตมาพูดเท็จไม่เป็น เขาก็หัวเราะฟันร่วงหรือเปล่ายิ่งพูดธรรมะสัจจะอาตมายิ่งไม่พูดเท็จ ไม่พูดให้ผิดเพี้ยน เพราะว่ามันเป็นบาปหนักบาปหนา อาตมารู้จักบาป รู้จักบุญดี ซึ่งยากมากที่จะเข้าใจเรื่องบุญได้สมบูรณ์แบบ เพราะว่าเป็น เอกังเสนะ เดียวๆเลย ไม่มีหน้าที่อื่นเลยมีหน้าที่เดียว ทำเสร็จแล้วหมดหน้าที่ก็หายไปเลยสะสมไม่ได้ แต่เขามิจฉาทิฎฐิพยายามจะขายบุญกัน มันก็ยิ่งทำให้เห็นความเสื่อมของศาสนาพุทธ
แม้แต่ปราชญ์เอกของศาสนาพุทธ ท่านก็ยังไม่เข้าใจสัมมาทิฏฐิในเรื่องของกาย แม้แต่ลักษณะเรื่องรูปนาม นามรูป ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ปุตตมังสสูตรในข้อที่ 4 วิญญาณอาหาร ท่านก็ตรัสสรุปไว้ชัด ว่าวิญญาณาหารนั้น ก็คืออาหารของวิญญาณ อาศัยการกำหนดรู้ด้วยนามรูป
วิญญาณ คืออาหารกำหนดรู้ได้ด้วยนามรูป เป็นปัจจัยให้ตั้งอยู่แห่งสังขาร วิญญาณาหาร (อาหารของวิญญาณ กำหนดรู้นาม-รูป . อันเป็นปัจจัยให้ตั้งอยู่แห่งสังขาร เพื่อการเกิดในภพใหม่ คือมีปัจจัยเกิดชาติชรามรณะ ทุกข์ และความคับแค้น) (ปุตตมังสสูตร พตปฎ. เล่ม 16 ข้อ 241-244)
ที่สุดแห่งที่สุด คือคำว่ามีหรือไม่มี
พ่อครูว่า… ที่สุดแห่งที่สุดคำว่ามีหรือไม่มีนี่แหละ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระไตรปิฎกเล่ม 16 ข้อ 43 เป็นสุดยอดแห่งความหมายที่จริงเลย ซึ่งอยู่ในนั้นทั้งหมด ผู้ที่บรรลุธรรมแล้วคือผู้ที่เป็น อนุปคัมโม หรืออนุปคัมมะ คำสั้นๆไม่ยาวเลย
อนุปคัมโม
คือผู้เป็นกลางแล้วเป็นผู้บรรลุแล้ว คนเป็นกลางผู้เป็นกลางเป็นอย่างไร คือคนที่รู้ 2 ฝั่ง แล้ว 2 ฝั่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก็คือ ความมีกับความไม่มี
ความไม่มีคือ 0 ความมีเริ่มต้นที่ อุปจยะ เริ่มมีแล้วก็ขยายตัวจนเป็นลักษณะ 4 อุปจยะ สันตติ อนิจจตา ชรตา เป็นรูปหมวดสุดท้ายของอุปาทายรูป 24 4 ข้อสุดท้าย
รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส 28 นี้ ดินน้ำไฟลมเป็นเรื่องของวัตถุโดยตรงเลยก็ไม่ยากอะไร จะมายากก็คือการปรุงแต่งอยู่ในอุปทายรูป 24 นี้แหละ
ผู้ที่ท่านรู้จักความมีและความไม่มี เป็นอนุปคัมโม เป็นบุคคลที่เป็นคนเป็นกลาง ซึ่งแปลว่าคนไม่มีแล้วในสองฝ่าย แต่คนผู้นี้มีแล้ว 2 ฝ่าย เห็นไหม ภาษาสิริมหามายา อนุปคัมโม แปลว่า เป็นคนผู้ไม่มีแล้ว ไม่มีอะไร ไม่มี 2 อย่าง คือท่านมีปัญญารู้จักทั้ง 2 อย่าง แล้วท่านก็ไม่เป็นคนที่จะไปมีกับเขา แล้วท่านก็อนุโลมปรุงแต่งร่วมสังเคราะห์สังขาร ทำประโยชน์อะไรกับเขาได้ โดยที่ท่านไม่เอาตัวตนไปเป็นจริงเป็นจังไปอยู่ร่วมกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
เพราะฉะนั้นการเข้าใจเรื่องของการ อนุปคัมมะหรือมัชฌิมะ บุคคล ไม่ใช่แปลว่าทางสายกลาง แต่ มัชฌิมาปฏิปทา คำว่าปฏิปทาแปลว่าข้อปฏิบัติหรือทางปฏิบัติ ทางปฏิบัติให้เกิดความเป็นมัชฌิมะหรือ อนุปคัมมะ
อนุปคัมมะกับมัชฌิมาเป็นคำไวพจน์แทนกันได้ หมายถึงผู้ที่บรรลุแล้วผู้นั้น ผู้ที่มีความเป็นกลางนั้นแล้ว นี่คือนัยยะที่ละเอียดลึกซึ้งมาก ในธรรมะพระพุทธเจ้าที่จะอธิบายใน ธรรมจักรกัปปวัตนสูตรก็ตาม ความไม่โต่ฟตงไปทั้งสองข้างผู้ใดมีความบรรลุจริงก็อธิบายได้ฟังชัด
จบผู้บรรลุศาสนาพุทธคือผู้บรรลุในความมีความไม่มี
๕. กัจจานโคตตสูตร
[๔๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระกัจจานโคตต์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ที่เรียกว่าสัมมาทิฐิ สัมมาทิฐิ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะชื่อว่าสัมมาทิฐิ ฯ
[๔๓] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรกัจจานะ โลกนี้ โดยมากอาศัยส่วน ๒ อย่าง คือ ความมี ๑ ความไม่มี ๑ ก็เมื่อบุคคลเห็นความเกิดแห่งโลก(โลกสมุทัย)ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว ความไม่มีในโลก ย่อมไม่มี(โลเก นตฺถิตา สา น โหติฯ) เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลก(โลกนิโรธ)ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว ความ มีในโลก ย่อมไม่มี(โลเก อตฺถิตา สา น โหติฯ)
ผู้ที่เข้าถึงความมีและความไม่มี ผู้ที่ยืนอยู่ระหว่างกลาง ชีวิตที่มีอยู่ก็จะเห็นความมีและความไม่มี แต่ที่สุดแห่งที่สุดของผู้นี้แล้วท่านจบอยู่ที่ความไม่มี ท่านผู้นี้เป็นผู้ที่มีความไม่มีได้อย่างแข็งแรงบริบูรณ์ถ้วนรอบ จะไม่มีเมื่อไหร่ก็ได้ จะชะลอความมีไป ท่านก็มีความไม่มีของตัวท่านไปกับความมีไปเรื่อยๆได้
ผู้ที่ท่านบรรลุสมบูรณ์แบบอย่างนี้แล้ว ท่านก็จะไปกับทุกๆคน้ได เพราะทุกๆคนยังไม่ถึงที่สุดแห่งความไม่มี เพราะฉะนั้นเขาก็จะอยู่กับความมี เพราะเขายังไม่ถึงที่สุดแห่งความไม่มี
จนกว่าเป็นคนที่รู้จักความไม่มีไปตามลำดับ เช่น พระโสดาบันไม่มีสภาพติดยึดอีกแล้วในอบายมุข จิตของท่านหลุดพ้นแล้วไม่มีแล้ว แต่อบายมุขของท่านมันยังมีอยู่ในโลก เกี่ยวข้องสัมผัสสัมพันธ์กัน กระทุ้งกระแทกท่านอย่างไรท่านก็ไม่มี ไม่เกี่ยวพัน ไม่เกิดรสชาติไม่เกิดปรุงแต่งด้วยเลย ไม่เป็น 2 ท่านมีแต่ความเป็น 1 คือความไม่มี ท่านไม่ปรุงแต่งเป็น 2 และท่านรู้ด้วยว่า เป็น 2 คือผู้ที่ยังไม่ถึงที่สุดแห่งความไม่มี เขาก็จะมี 2 3 4 5 6 7 8 9 นับไม่ถ้วน ปรุงแต่งกันอยู่เยอะ เพราะฉะนั้นผู้ที่มีความไม่มีได้แล้วเป็นต้น เช่น 1 เป็นต้น ที่สุดทำความเป็น 0 ได้ยิ่งกว่าความเป็น 1 ได้ เป็นความไม่มียิ่งๆเลย และความไม่มีนั้นๆอยู่ในโลกมันก็ยังมีอยู่ แต่ท่านเด็ดขาดเลย ไม่ปรุงแต่งอย่างยิ่ง
การไม่ปรุงแต่งกันเลยมีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติ ไม่ปรุงแต่งกันเป็นชีวะเลย มันก็ปรุงแต่งแบบวัตถุกับวัตถุเท่านั้น เรียกว่า อุตุนิยาม ก็รู้จักความเป็นคุณสมบัติของอุตุนิยาม ผู้ที่สามารถทำจิตของตนเองให้เป็นอุตุนิยามได้เลยนี่แหละ ผู้นี้แหละเป็นผู้เข้าสู่นิพพาน ถึงจุดที่จิตไม่มีชีวะ จิตไม่มีกาย จิตไม่มีเวทนา จิตไม่มีวิญญาณได้แล้ว เป็นพีชนิยามอย่างน้อย ยิ่งเป็นอุตุนิยาม หมดชีวะด้วย ถ้าเป็นพีชนิยาม ไม่มีกาย ไม่มีวิญญาณเป็นพีชะ ไม่มีเวทนา มีแต่สัญญากับสังขารปรุงแต่งกันอยู่ สัญญากำหนดรู้สิ่งที่ปรุงแต่ง มีสัญญากำหนดรู้ สัญญา สังขาร รูป ไม่มีเวทนาไม่มีวิญญาณ เป็น cyclic order ของพีชนิยาม
ผู้รู้จักสภาพความมีกับไม่มีเริ่มต้น จิต พีชะ ทำจิตในจิตให้เป็น พีชะเป็นอุตุได้ ทำเป็นอุตุได้แต่เรายังเป็นชีวะ เราก็ร่วมเอาดินน้ำไฟลมปรุงแต่งรูปอยู่ได้ ก็เป็นอำนาจจิตอำนาจพลังงานรู้ที่เหนือกว่าเป็น วสวัตตีโก เป็นผู้ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจได้ สามารถสังเคราะห์ปรุงแต่งสภาพนี้ได้ตามต้องการ นี่แหละคือพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ เป็นพระเจ้าตัวจริง ที่พิสูจน์กันได้ สัมผัสกันได้ เรียนรู้ตามได้ พิสูจน์ความจริงได้ ทุกอย่างไม่ใช่เรื่องลึกลับ และไม่ใช่เรื่องตายตัว ว่าคำสอนของพระเจ้ามีอย่างไรเปลี่ยนแปลงไม่ได้เลยนิรันดรไม่ใช่ ทุกอย่างไม่เที่ยง คำสอนของพระพุทธเจ้าก็เป็นไปตามกาละ เทศะ เป็นไปตามสัปปุริสธรรม 7 หรือแม้แต่ มหาปเทส 4 อย่างนี้เป็นต้น
ซึ่งสุดยอดละเอียดลออ ไม่มีความยึดมั่นถือมั่น เป็นที่สุดแห่งที่สุด ผู้ที่ศึกษาธรรมะพระพุทธเจ้าจึงเป็นผู้รู้ ที่รู้ทุกสิ่งทุกอย่างในความเป็นพระเจ้าทั้งหมด ศาสนาพุทธรู้จบ
ขออภัยชาวเทวนิยมถ้าหากไปหลงยึดติดอยู่กับความเที่ยงแท้อย่างนั้นก็จะไม่มีปรินิพพานเป็นปริโยสาน ผู้ที่จบปรินิพพานเป็นปริโยสานแล้ว เป็นอมตะบุคคล นี่แหละคือยอดพระเจ้า เป็นอมตะบุคคล เหนือกว่าพระเจ้าตรงที่ว่าจะตายก็ได้ จะสูญเลยปรินิพพานเป็นปริโยสานก็ได้ จะเกิดไปอีกนิรันดรก็ได้ แต่มันไม่มีความจำเป็นจะต้องไปเกิดนิรันดรหรอก มันควรจะเลิก ควรจะจบได้ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ประกาศศาสนาเป็นพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งแล้ว ท่านก็ปรินิพพานเป็นปริโยสานไป หรือแม้แต่พระอรหันต์รู้จักความจบที่จะทำปรินิพพานเป็นปริโยสานได้ พระอรหันต์องค์ใดองค์หนึ่ง ไม่ใช่แค่พระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งนะ พระอรหันต์องค์ใดองค์หนึ่งที่มีภูมิธรรมสามารถทำปรินิพพานเป็นปริโยสาน
ปรินิพพานเป็นปริโยสานอยู่ในมูลสูตรข้อที่ 10 อาตมาอธิบายให้ฟัง คนอื่นไม่รู้ เพราะอาตมาเป็นไก่ตัวพี่ รู้อันนี้ก็เอามาอธิบายสู่ฟัง ทั้งๆที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกอาตมาไม่ได้บัญญัตเเอง
พระไตรปิฎกเล่ม 24 ข้อ 58 มูลสูตร 10 อาตมาก็อธิบายไปอาศัยมูลสูตรเป็นหลักสูตรสำคัญ ยิ่งกว่าต้นธาตุต้นธรรม เพราะเอามาใช้สอยได้ เริ่มตั้งแต่ข้อที่ 1 เป็นความยินดีเป็นฉันทะซึ่งยิ่งใหญ่มาก
สู่แดนธรรม…
รูป 24 โดยพิสดาร
พ่อครูว่า…
นาม 5 รูป 28
อุปาทายรูป 24
ก. ปสาทรูป 5
จักขุ (ตา)
โสตะ (หู)
ฆานะ (จมูก)
ชิวหา (ลิ้น)
กายา (กาย)
-
ข. โคจรรูป, วิสัยรูป 4
รูปะ (รูป)
สัททะ (เสียง)
คันธะ (กลิ่น)
รสะ (รส)
โผฏฐัพพะ (สัมผัส)
(กายกับโผฏฐัพพะ ถือว่าเป็นอันเดียวกัน)
กายมี 5 แต่ใช้ใจเป็นตัวรับรู้ซ้อนอยู่กับ 5 ทวาร เมื่อซ้อนตรงนี้ จิตตัวนี้ธาตุรู้ตัวนี้ จะถือว่ามีหรือไม่มีก็ได้ เรากำลังอธิบายถึงรูปก็เลยหักจิตออกไป เหลือแต่โผฏฐัพพะคือการสัมผัสภายนอก ตา หู จมูก ลิ้น กาย คือภายนอกทั้งหมด รวมเรียกว่า กาย
เพราะฉะนั้น ตา หู จมูก ลิ้น กาย รวมเป็น 1 ก็จะต้องรู้ภายนอกเป็น 1 ทั้งหมด 4 คู่
ค. ภาวรูป 2
-
อิตถัตตภาวะ, อิตถินทรีย์ (ญ)
-
ปุริสสัตตภาวะ, ปุริสสินทรีย์ (ช)