641004 รายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 12
ดาวโหลดเอกสารที่
https://docs.google.com/document/d/1YGao5I_Lz4WSwbQhDwzhzySNnd1arq1Tke8aWitZpzY/edit?usp=sharing
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1tArZmxrHPXgRBjmB1c15v7RIoGS_1mIr/view?usp=sharing
และดูวิดีโอได้ที่ https://fb.watch/8qEuTV69w1/
กิเลสที่ชื่อว่า “ความปรารถนา” และ “ความอยาก”
_สู่แดนธรรม… วันนี้เป็นวันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก เร็วๆนี้พ่อครูเคยพูดไว้ว่า ชีวิตควรจะอยู่อย่างไรต่อไป เมื่อชีวิตนั้นอิสระแล้ว
พ่อครูว่า… ชีวิตควรจะอยู่อย่างไรต่อไป เมื่อชีวิตนั้นอิสระแล้ว
ชีวิตอิสระแล้วนั้นยิ่งใหญ่ จริงๆแล้วพระพุทธเจ้าตรัสรู้ค้นพบความอิสระ ความอิสระจึงยิ่งใหญ่ที่สุด คำว่าอิสระที่อาตมาใช้ขึ้นมาตรงนี้ มันหมายถึงอย่างไรบ้าง ก็ขอแบ่งอธิบายไปพอสมควร
อิสระ หมายความว่ามันหลุดพ้น หลุดพ้นจากที่ใช้บัญญัติโดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า อวิชชา หลุดพ้นจากความโง่ เป็นฉลาด
ฉลาด คำว่าฉลาดของพระพุทธเจ้า อาตมาเคยเฉลยไว้ว่า มันมาจากภาษาบาลีว่า
“ฉฬายตนะ” ซึ่งไม่ใช่เป็นการเดา แต่เป็นเรื่องจริง
ฉฬายตนะ ตัว ฉ คือ 6 ฉฬายตนะคือ ทวารทั้ง 6 ที่มีการกระทบสัมผัส ทาง ตาหูจมูกลิ้นกายกับในใจอีก 1 คู่ เมื่อกระทบกันแล้วก็เกิด ภาวะรู้ ความรู้ที่เกิดวิปัสสะ ก็คือเวทนา
เพราะฉะนั้นการศึกษาของพระพุทธเจ้าจึงให้ศึกษาตรงนี้ ที่รูป นามกระทบกัน รูป คือสิ่งที่ถูกรู้เป็น object คือสิ่งที่ถูกกระทบทั้งภายนอกภายใน แล้วเกิดรูป ตัวรู้คือนาม
ตัวนี้ล่ะตัวสำคัญที่เราจะศึกษา ศึกษาอย่างสำคัญเลย ศึกษาจากพยัญชนะที่พูดกัน แล้วก็มาอ่านจากจิตใจเรา อ่านจากประสาท ตาหูจมูกลิ้นกาย มีประสาทกระทบ แล้วก็ทำงานต่างๆนานา ตากระทบรูป ตากระทบตัวหนังสือ อาตมาเขียนมาก็ เดี๋ยวอ่านจากตัวที่เขียนมาแล้วค่อยไล่ไปเรื่อยๆ
ความอยาก ความปรารถนา ไม่ใช่ ปัญญา แต่คือ กิเลส นี่คือพื้นฐานของธาตุจิตนิยามที่เป็นสัตว์โลก ต้องการ ปรารถนา สิ่งนี้พาให้ดำเนินไปตามอารมณ์ปรารถนาอารมณ์ต้องการอารมณ์อย่างคือกิเลส มันจะไม่ฉลาด ทั้งๆที่มันใช้ตาหูจมูกลิ้นกายเป็นตัวกระทบ
เมื่อตากระทบรูป มันก็ปรุงแต่ง เมื่อหูกระทบเสียงก็ปรุงแต่งไปกับเสียง มีกิเลสเป็นตัวบงการสั่งการจัดการ ถ้าชอบใจก็ชื่นใจรื่นเริงบันเทิง ถ้าไม่ชอบใจก็ขัดเคืองขึ้นมา โดยอัตโนมัติเลย อวิชชามันจะเป็นเช่นนั้น ทุกคนเคยเป็นกัน เป็นธรรมดา ยิ่งเรียนรู้มาก็ยิ่งชัดเจน บางทีไม่ได้ผ่านการศึกษามาก็ไม่รู้ว่ากิเลสคืออย่างไร เรามีกิเลสอย่างไร
เดี๋ยวนี้ได้มาศึกษาหรือลองคิดไตร่ตรองตรวจตราตัวเอง เราศึกษามาจนป่านนี้แล้ว จิตใจของเรานี่ มันง่าย เหมือนแต่ก่อนนี้หรือว่ามันไม่ง่ายเหมือนแต่ก่อนนี้แล้ว….(โยมว่า.. ง่าย) ง่ายอย่างไร เมื่อก่อนนี้มันไปง่ายๆกับกิเลส เดี๋ยวนี้มันไม่ไปง่ายๆ เดี๋ยวนี้ก็ไม่ไปกับกิเลสง่ายๆ คนที่ตั้งชื่อว่า ดีง่าย มาพอดี(โยมว่า.. ชื่องามดีมาก ส่วนดีง่ายตายแล้ว)
เราใช้ภาษาพยัญชนะต่างๆสื่อไปสู่สภาวะ ซึ่งพวกเราศึกษา พอได้ยินพยัญชนะก็อ่านถึงอารมณ์ ว่าอารมณ์เราไม่เข้าท่าก็สำนึก หลายคนสำนึกตัวเองแล้วก็พยายามสำทับตัวเอง เปลี่ยนแปลงตัวเอง บางคนพอพูดก็รู้เหมือนกันแต่ไม่สำนึกไม่พยายามสำทับตัวเอง ก็เลยไม่เปลี่ยนแปลง แต่ทีหลังรู้ว่ามันไม่เข้าท่าก็สำนึกทันที รู้ว่ามีอาการอย่างนี้อย่าไปปล่อย อย่าไปง่ายกับมัน จนกระทั่งมันไม่ค่อยเกิด ก็รู้ขึ้นง่ายมันไม่ค่อยเกิด แต่ก่อนนี้ก็รู้ยาก มันเกิดแล้วก็ไม่รู้เลยรู้ได้ยาก มันเกิดมาจนกระทั่งทำให้เราเป็นไปตามที่มันต้องการปรารถนา ตามที่มันอยากจะให้เป็น เราเป็นลูกกะโล่ให้มันมาหนักหนา
ทีนี้ทางเทวนิยมเขามีความคิด เขามีความรู้ เรียนกันสอนกัน ว่าพระเจ้าเป็นเจ้าของความคิดเจ้าของความรู้ของมนุษย์ เพราะฉะนั้นพระเจ้าจึงเป็นเจ้าของกิเลส หรือ ให้ชัดๆก็คือ “พระเจ้านั่นแหละคือตัวกิเลส” ขออภัยอย่าหาว่าไปว่าพระเจ้าเป็นกิเลส
จริงๆแล้วเป็นอย่างนั้น พระเจ้าเป็นกิเลส แต่ว่าศาสนาเทวนิยมนับถือพระเจ้าเขาไม่ได้ศึกษา เขาไม่ได้ฉุกคิดให้ละเอียดละออ เขาไม่ไหวทัน ก็หลงผิดถนัดว่า พระเจ้าเป็นเจ้าของความอยาก เป็นเจ้าของความปรารถนา เป็นเจ้าของความต้องการ แล้วเขาไม่เคยหมดความอยาก ความปรารถนา ความต้องการ ก็ยังมีกิเลส มีความต้องการ ปรารถนา ความอยาก
แม้ความอยากความปรารถนานั้นจะเป็นความปรารถนาสิ่งที่ดี แล้วก็ได้ดีแล้วก็มายึดเป็นตัวเราของเรา มันก็ไม่นิพพาน ไม่มีหมด ไม่มีจบ ไม่มีสิ้น มันก็ยาวไป
แล้วทีนี้ความดีก็ตาม มีความดีแล้วมันไม่เที่ยง มันก็เพี้ยนไปเปลี่ยนไป เหลิงไประเริงไป ตกต่ำเป็นชั่วได้ เป็นอย่างนั้นหมุนเวียนไม่เคยเที่ยงแท้ พอเป็นเจ้าของสิ่งที่ดีมากๆเข้า เจ้าของก็ลืมตัวตน มีอำนาจบาตรใหญ่ พอมีอำนาจบาตรใหญ่มากเข้าก็จะเสื่อม เป็นไปได้อย่างรุนแรง ต้องการอย่างไร ปรารถนาอย่างไร ก็ได้ดั่งใจทั้งนั้น หยาบคายต่ำทรามอย่างไร หนักเข้าก็ไม่รู้ตัว ไม่รู้ว่าอยู่ในกรรมกิริยาขนาดไหน
คนจะรู้จักบทบาทลีลาของความอยาก ความปรารถนา ถ้าไม่รู้ก็ปล่อยให้มันเป็นตัวระเริงไปเรื่อยๆ จึงต้องยอมให้มันเป็นไปตาม อวิชชา เป็นตัวบงการหรือ พระเจ้าเป็นตัวบงการจะให้มันเป็น จะประสงค์อะไรให้เป็นอะไรก็แล้วแต่ประสงค์ จะทำชั่วทำต่ำ ก็เป็นพระประสงค์ของพระเจ้า จะทำไม่ดีงาม ทำแล้วก็ต้องทุกข์ทรมานตัวเอง ก็เป็นพระประสงค์ของพระเจ้า จะเป็นสุข สมใจ ระเริงยิ่งใหญ่สมใจ เผด็จการข่มผู้อื่นได้ยิ่งใหญ่ขนาดไหนก็ไม่รู้ตัว บอกว่าเป็นพระประสงค์ของพระเจ้าทั้งนั้น
สู่แดนธรรม… สาวกของเทวนิยมเคยแย้งว่า ถ้าเป็นประสงค์ของพระเจ้าทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งที่ดี อะไรที่ไม่ดีไม่ใช่พระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า เป็นประสงค์ของมาร
พ่อครูว่า……แล้วเคยศึกษา มาร ว่า อย่าให้มีอำนาจในใจได้หรือไม่
สู่แดนธรรม… หมายถึงว่า พระเจ้า ไม่สามารถข่มขี่มารจนราบคาบได้เลย
พ่อครูว่า… พระพุทธเจ้าว่า มาร เราหักเรือนยอดของเธอได้แล้วนะ แต่ไม่ได้ศึกษา มารก็เป็นตัวบงการหมด มันเหมือนไม่มีอะไรมาก แต่เป็นความละเอียดลึกซึ้ง ยิ่งเป็นสภาวะจริงที่เกิดในจิตมนุษย์
อวิชชามันไม่เคยศึกษา แต่มันฝึกฝน มันเกิดอาการ เกิดความประพฤติ ตามอำนาจอวิชชา ความช่ำชองชำนาญของคน มันชำนาญอวิชชาหรือชำนาญวิชชามากกว่ากัน…(โยมตอบว่า อวิชชา)
จนกว่าจะมาพยายาม หยุดเชี่ยวชาญแคล่วคล่อง เพราะมันชำนาญอย่างไม่ทันรู้ตัวเลยทำไปเสียแล้ว ดีไม่ดีมีประสิทธิภาพสูงเสียด้วย การทำสิ่งที่ไม่ดีไม่งามก็ทำอย่างชำนาญเร็ว มีประสิทธิภาพสูงสุด ค่าสูงเลย เป็นเรื่องต่ำๆทรามๆเลอะเทอะ ทำไมมันเร็วไว เพราะบางทีโลกีย์สำคัญเข้าก็เป็นอย่างนั้น เรียกว่าดำฤษณา มืด ไม่รู้ตัวก็พูดอย่างนั้นไปทันที
ประเด็นของเทวนิยมลัทธิพระเจ้า แยกกันตรงนี้ที่ พระพุทธเจ้าท่านสอนให้คนรู้จักประเด็นจิตของตนเอง จะปรารถนาอะไร จะต้องการอะไร จับตัวนี้ แล้วอ่านให้เร็ว
มันต้องการสิ่งที่ควร สิ่งที่ดี เหมาะจะทำในกาละองค์ประกอบนั้นๆ ก็จึงทำ
แต่ถ้าไม่เหมาะกับกาละ ไม่เหมาะกับองค์ประกอบนั้นๆ ขณะนั้น ก็อย่าทำ แม้ม้นจะดีก็อย่าทำไม่เหมาะกับกาละองค์ประกอบ ทำไปก็เสียของ
(พ่อครูไอตัดออกด้วย)
พระพุทธเจ้าสอนประเด็นนี้สำคัญที่สุดแล้ว ให้มีสติสัมปชัญญะ ไหวพริบ ปฏิภาณ เร็วไว จิตเป็น มุทุภูตธาตุ จิตมีปฏิภาณไหวพริบอยู่ในตัวเร็วไว เป็นกายปาคุญญตา มีจิตปาคุญญตา คล่องแคล่วเร็วไว00 กระทบภายนอกก็เร็ว การศึกษาเรียนรู้ของพุทธเจ้าคือเรียนรู้สิ่งที่มากระทบสัมผัส แล้วอ่าน แก้ไขปรับปรุง ไม่ใช่ไปนั่งหลับตาปฏิบัติไม่มีภายนอก
ปัญญาข้อ 2 ในปัญญา 8 ประการ สำคัญไฉน
พ่อครูว่า…ปัญญา 8 ประการ
คำว่า จิตสงบ หรือ กายสงบ คำว่า สงบ ในปัญญาของพระพุทธเจ้า
ปัญญาข้อที่ 1 นี่คือความรู้ ความฉลาด ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ เป็นของศาสนาพุทธเท่านั้น ศาสนาเทวนิยมไม่มีความฉลาดชนิดนี้ ซึ่งไม่ได้ดูถูกเขา เทวนิยมไม่รู้
1.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ซึ่งเป็นที่เข้าไปตั้งความละอาย ความเกรงกลัว ความรักและความเคารพไว้อย่างแรงกล้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ 1 ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
2.เธออาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่ง ผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ซึ่งเป็นที่เข้าไปตั้งความละอาย ความเกรงกลัว ความรัก และความเคารพไว้อย่างแรงกล้านั้นแล้ว เธอเข้าไปหาแล้วไต่ถาม สอบถามเป็นครั้งคราวว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภาษิตนี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งภาษิตนี้เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นย่อมเปิดเผยข้อที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้แจ้งข้อที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง และบรรเทาความสงสัยในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายประการแก่เธอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ 2 ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ
พ่อครูว่า… ครูในศาสนาต้องสัมมาทิฏฐิ หากว่าครูในศาสนาไม่สัมมาทิฏฐิก็เจ๊ง ถ้าไม่ได้ปัญญา 8 โมฆะบุรุษในชีวิตชาตินึงๆ 1.ไม่ได้ฟังจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า 2.ไม่ได้ฟังจากสัตบุรุษ 3.ไม่ได้ฟังจากผู้ที่อยู่ในฐานะครูหรือคนที่มีสัมมาทิฏฐิ หรือ ตอนนี้พระพุทธเจ้าไม่อยู่ก็ต้องไปฟังจากสัตบุรุษ ถ้าหากไม่มีสัตบุรุษ ก็ต้องได้ฟังจากผู้อยู่ในฐานะครูที่สัมมาทิฏฐิ เริ่มที่คำว่า สัมมาทิฏฐิ
สัมมาทิฏฐิ ก็ต้องไม่ใช่มิจฉาทิฏฐิ ตอบแบบกำปั้นทุบดินเลย แล้วจะรู้แยกแยะออกได้อย่างไรว่า อะไรสัมมาทิฏฐิ อะไรมิจฉาทิฏฐิ
ผู้ที่รู้สัมมาทิฏฐิว่าเป็นสัมมาทิฏฐินั้น คือผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิ ผู้ที่รู้มิจฉาทิฏฐิว่าเป็นมิจฉาทิฏฐินั้นคือ ผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิ คือแยกสัมมาเป็นสัมมาออก แยกมิจฉาเป็นมิจฉาออก แยกได้ เมื่อแยกได้แล้ว ถึงปฏิบัติอะไรต่ออะไรอีกได้หมด แต่ถ้าปฏิบัติสัมมาทิฏฐิไม่ได้แล้วก็ไม่ต้องไปปฏิบัติธรรม
ทีนี้ พระพุทธเจ้าตีกรอบชัดเข้าไปได้ ว่า ไม่ต้องไปคิดกว้างไกลเกิน คิดอยู่ในภาคที่จะปฏิบัติ ซึ่งแนวปฏิบัติของพระพุทธเจ้าคือ ไตรสิกขา หรือ วิชชาจรณะสัมปันโน นี่คือธรรมะพุทธคุณของพระพุทธเจ้านอกจากนี้ไม่ใช่
สรุปแล้วก็เริ่มต้นที่ศีล แล้วก็ อปัณณกปฏิปทา 3 สัทธรรม 7 ฌาน 4 วิชชา 8
ถ้าเริ่มต้นด้วยทาน มีหลัก ทาน ศีล ภาวนา
ภาวนาแปลว่า ปฏิบัติให้เกิดผล ปฏิบัติทานให้เกิดผล ปฏิบัติศีลให้เกิดผล
สัมมาทิฏฐิ 10 ใน 3 ข้อแรก คือ ทาน ทานที่มีผลเรียกว่า อัตถิทินนัง
แล้วก็มา อัตถิยิฏฐัง อัตถิหุตัง หรือ(นัตถิ แปลว่า ไม่ถูกต้อง อัตถิ แปลว่าถูกต้อง)
ที่จริงแล้วเวทนาเป็นตัวแท้ของการศึกษา แต่ไม่ค่อยฝึกฝนกัน ไปเอาที่ความคิดโครงสร้าง ปั้น นิรมาณกาย สัมโภคกาย อทิสมานกาย อาตมาเห็นแล้วน่าสงสาร
ประเด็นสำคัญต้องได้ฟังจากพระพุทธเจ้าจากสัตบุรุษจากผู้อยู่ในฐานะครู ผู้สัมมาทิฏฐิอย่างอาตมานี่อย่างน้อยเป็นผู้อยู่ในฐานะครู แล้วทีนี้พวกคุณจะต้องตัดสินเองว่า แล้วอาตมาอยู่ในฐานะครู อาตมาสัมมาทิฏฐิหรือมิจฉาทิฏฐิ
ตรงนี้อาตมาก็ต้องบอกว่าอาตมาสัมมาทิฏฐิ ส่วนคนฟังสัมผัสแล้วจะรู้ว่า โอ้ ใช่ อย่างนี้ใช่ หรือจะว่าไม่ใช่ เขาบอกว่าต้องไปนั่งหลับตาออกป่าเขาถ้ำ ยิ่งอาตมาไปตีพวกนั่งหลับตาอีก เขาก็บอกว่าไม่ใช่พระอรหันต์ หรือบางคนก็ฟังไปฟังมา ยิ่งอ้างพระไตรปิฎกก็จำนนๆอยู่ อันนี้ยังพอมีหวัง แต่ประเภทตีทิ้งไปเลยไม่มีหวัง
พระพุทธเจ้าท่านตรัสถึงปัญญา 8 ก็น่าจะสะดุดใจว่า ทำไมไปฟังแล้ว อาศัยพระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์ รูปใดรูปหนึ่งผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ซึ่งเป็นผู้ที่เข้าไปตั้งความละอาย ทำไมจะต้องตรัสอย่างนี้ ต้องเข้าไปตั้งความละอาย หมายความว่าต้องถ่อมตนมาก ว่าตนแสนโง่แสนไม่รู้ แสนจะต้องขอรับฟัง อย่างไรก็ขอรับฟังด้วยคนเถอะ
ผู้ที่มีความละอาย คือ ผู้สำนึก ผู้ที่ไม่รู้จักสัตบุรุษ ไม่รู้จักผู้อยู่ในฐานะครู หรือแม้แต่ไม่รู้จักผู้ที่อยู่ในฐานะของพระพุทธเจ้า ก็ไม่มีความละอาย ฟังอย่างผยอง ฟังอย่างถือดี ฟังอย่างมีจิตลบหลู่ ฟังอย่างยกตนเสมอ ข่มท่าน ไม่ได้ถ่อมตจนไม่ได้ละอาย ไม่ได้รู้สึกว่าควรจะต้องฟังท่านนะ พวกนี้ก็ไม่มีความหวังอะไรได้ ต้องปล่อยเขาไป
พระพุทธเจ้าถึงเตือนว่าจะต้องมี ปรโตโฆษะนะ ต้องฟังหูไว้หูต้องสำเหนียกอย่าตีทิ้ง
หากว่าฟังแล้วเข้าใจ มันตรงกันข้ามกับที่เรายึดถือเลย ระวังให้ดีเชียวคนคนนี้ ทำไมมันตรงกันข้ามกับเรา ระวังเลย ถ้าคนนี้สัมมาทิฏฐิ คุณก็ตีลังกา จะมีนรกหรือสวรรค์ คนละทิศ ยิ่งโอ้โห น่ากลัว
เพราะฉะนั้นคำว่าละอายก็ดี คำว่าเกรงกลัวก็ดี คำว่า ความรัก ความเคารพ ในปัญญาข้อที่ 1 อย่างแรงกล้า ถ้าใครคิดให้ดีๆ จะเห็นว่าพระพุทธเจ้าท่านยกความรู้ที่เรียกว่าปัญญาของท่านไว้สูงมาก เพราะฉะนั้นใครจะมาฟัง ต้องมาฟังอย่างละอายเกรงกลัว รักเคารพอย่างแรงกล้า อย่าทำเป็นเล่นไป
ถ้าพระพุทธเจ้ามาทุกคนก็ยอม แต่ถ้าไม่รู้ก็จะเหมือนกับกามนิต หรือพระภิกษุในพระไตรปิฎก ปุกกุสาติ ไปฟังคุยกับพระพุทธเจ้าทั้งคืน แสวงหานะ แต่เขาก็ไม่มีที่ยึดมีที่เข้าใจ เขาไม่สะดุดใจว่าที่ฟังทั้งคืนคืออะไร หรือ ขออภัยไม่ได้ยกตนเท่าพระพุทธเจ้า
ที่อาตมาพูดสอนตลอด ยกตำราพระไตรปิฎกอ้างอิงขยายความ ว่า มันใกล้เคียงไหมที่อาตมาพูดและขยายความอธิบายกันมาตั้ง 50 ปี จะสะดุดฉุกคิดบ้างไหม หากเขาสะดุดฉุกคิดทันทีว่า เราเคยลบหลู่เคยเพ่งมิจฉาทิฏฐิ แล้วก็นึกว่าเป็นมิจฉาด้วย แต่เมื่อมาสำนึกก็จะรู้ว่าตัวเองโง่ คนยุคนี้ที่เป็นปราชญ์ผู้รู้ เขาจะเกิดอาการอย่างนี้ขึ้นสักคนจะมีไหมหนอ
สู่แดนธรรม… เชื่อว่ามีครับ แต่ยากที่จะแสดงออก
พ่อครูว่า… คงไม่กล้าแสดงออก ก็ยังดี แต่ที่ไม่สำนึกเลยทั้งชาติ ต้องขออภัยว่า คุณเป็นปทปรมบุคคลเสียแล้ว คือ ผู้ท่องพุทธพจน์ได้ก็มาก ทรงจำได้ก็มาก สอนคนอื่นก็มาก แต่ตนเองไม่ได้บรรลุธรรมอะไรเลยในชาตินี้
คนบรรลุธรรมนี่ จะบอกตนเองว่าตนเองบรรลุอย่างไม่เก้อเขิน ไม่มังกุ ไม่ยาก ไม่ลำบากจริงๆเลย พูดง่ายๆสบายๆผู้บรรลุธรรมจริงๆ ไม่มีอะไรติดค้างอยู่ในจิต ไม่มีอาการเก้อเขินอายอะไรเลย ไม่เกรงกลัวเขาจะซักไซ้ไล่เลียง ไม่เกรงกลัวเขาจะเพ่งโทษหรืออะไรก็ตาม มันไม่มีเลย มันจริงๆ คุณเป็นใคร …เป็นคน คุณจะกล้าตอบไหม? … คุณจะสะดุดใจไหม? ก็ไม่ หากถามว่า คุณเป็นคนหรือส้ตว์ เราก็บอกว่าเป็นคนสิ
คุณเป็นอาริยะหรือไม่เป็นอาริยะ…ใช่เราเป็นอาริยะ เราจะไม่สะดุดหรอก
สู่แดนธรรม… คำพูดเหล่านี้เหมือนเป็นคำสามัญปกติ
พ่อครูว่า… เป็นเรื่องสบายๆ เขาก็ว่าประกาศตนเอง ก็ขนาดประกาศตัวเองนี้คุณยังไม่สะดุดเลย ธรรมดาคนไม่จริงจะสะดุด มังกุ เก้อเขินติดๆ มันไม่คล่อง มันไม่เฉย มันไม่ปกติหรอก ใช่ไหม มันละอายอย่างมังกุ ละอายอย่างไม่กล้าเต็มร้อย มันไม่ขาวรอบหรอก นี่ก็พูดความจริงจากสภาวะทั้งหมดให้ฟัง
อาตมาพูดที่ตัวเองเป็น อาตมาไม่เคยเก้อเขิน ไม่เคยลำบาก ไม่เคยยาก เขาถามมาก็ตอบ แต่ก็ดูกาลเทศะที่จะบอกตัวเองว่าเป็นอรหันต์
มีคนถามมาบ้าง คนที่กล้าถามจริงๆมีอยู่ 2 คนที่เคยพูดไปแล้ว มี ขวัญดีกับ อ.แสง
(พ่อครูไอตัดออกด้วย) เขาก็ถามตรงๆว่าเป็นอรหันต์หรือเปล่า (พ่อครูไอตัดออกด้วย)
สู่แดนธรรม… การที่เราจะบอกว่าเราเป็นคนจน จะเป็นการอวดตัวตรงไหน เขาขี้สงสัยว่า การบอกว่าเราเป็นคนจนมันเป็นการอวดตรงไหน แค่รับรองว่าเราจน ไม่มีอะไรจนไปกว่านี้อีกแล้ว ใช่มั้ยครับ?
พ่อครูว่า… ก็บอกว่าจนจริงๆ กลับว่าเราไม่จนจริงๆ กับการบอกว่าเราเป็นคนจน คุณจะไปเหนียมอายอะไร แต่รวยสิ มันก็ไม่กล้าพูดว่าเรารวยจริงๆ มันจะผยองเกิน มันจะสำนึกว่า จริงๆแล้วเรายังอยากรวยกว่านี้อีกนะ แต่จนนี่มันจนจริงได้ มัน 0 ไม่สะสมแล้ว อปจยะ
อาตมานี่ ภูมิใจตรงนี้เหมือนกันตรงที่ว่า มาสอนให้คนมากล้าจน เฉยเลย ไม่ต้องไปร่ำรวยอีกแล้วก็ได้บ้าง ก็มีบ้างในมือ ขาดมือก็ไม่เป็นไร มันก็มีที่อยู่ที่กิน มันไม่ว่างเว้น ไม่สิ้นไร้ไม้ตอก ยังไงยังไงก็มีที่อยู่ที่กิน พึ่งเกิดแก่เจ็บตายกันได้ อยู่ในสาธารณโภคี อันนี้แหละยิ่งใหญ่มากในสังคมมนุษยชาติที่มีสาธารณโภคี มีสังคมแบบนี้
คือ มัน นอกจากคนที่ ติดใจตรงที่ว่า มาจนนี้ต้องตัดกิเลส เราจะมาเป็นภาระให้แก่เขา มันก็เป็นอุปกิเลสเป็นตัวตนคือถือดีมีมานะ แต่ถ้าไม่มีมานะ เราอยู่กับหมู่ก็ปล่อยสบายไปลยเ เราก็ไว้ใจตัวเองว่าเราไม่ใช่คนขี้เกียจขี้คร้าน จนกระทั่งเป็นปลิงเป็นทากเกาะหมู่อยู่ ไม่มีประโยชน์ไม่มีคุณค่าไม่ได้ทำงาน ไม่ได้มีอะไรเลย มันก็ไม่ใช่อย่างนั้นทีเดียว ก็ยังมั่นใจว่าเราก็อยู่ได้ เพื่อนฝูงเรารู้ฐานะหมด
คนนี้เขาพอสมตัวขยันพอไปได้ไหมขี้เกียจ หรือคนนี้ก็พิการแล้วเขาก็ได้แค่นี้แหละ ช่วยตัวเองก็ไม่รอด หรือคนนี้แก่แล้วช่วยตัวเองไม่ได้แล้ว ซึ่งควรจะรู้เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องประหลาดอะไร ข้อสำคัญคนที่มีปัญญาปฏิภาณรู้ความเป็นจริงตามความจริง มีสาราณียธรรม อยู่กันยังมี สาราณียธรรม 6 พุทธพจน์ 7 โอ้โหสุดยอดมนุษย์เลย สุดยอดคุณธรรม สุดยอดวิเศษ
อาตมาเองภาคภูมิใจในยุคนี้แท้ๆ ซึ่งมันได้เพี้ยนได้เสื่อมโลกุตรธรรมพระพุทธเจ้าไป ก็ยังเอาคุณธรรมระดับสาราณียธรรม 6 พุทธพจน์ 7 เอามาสอนในศีลสมาธิปัญญานั่นแหละ สอนแล้วพวกเราเกิดคุณธรรมมีจิตใจสาราณียธรรม ขึ้นมาได้จนกระทั่งมีพุทธพจน์ 7 โอ้โห แสดงว่าธรรมะของพระพุทธเจ้ายังอยู่ในประเทศไทย ยังอยู่ในคนไทย โลกุตรธรรมของพระพุทธเจ้ายังไม่เสื่อมสูญไป ยังมีมรรคมีผลได้ มันน่ายินดี มันก็อบอุ่น
รูป 28 กับ เจโตปริยญาณ 16
พ่อครูว่า… คําสอนพระพุทธเจ้า ลองมาแยกแยะดูตรง รูปกับนาม เขาไม่ค่อยพูดถึง
พูดถึงนาม 5 รูป 28 ใครจำได้ครบไหม จำได้ครบเก่ง
นาม 5 1.เวทนา 2.สัญญา 3.เจตนา 4.ผัสสะ 5.มนสิการ
รูปที่ 28 มหาภูตรูป 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม เหลืออุปาทายรูป 24
-
ปสาทรูป 5 โคจรรูป 5 รวมแล้วทำงานหักออกไป 1 เหลือ 9