640927_รายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 11
ดาวโหลดเอกสารที่
https://docs.google.com/document/d/1JeDbEssIwLBKUAW0XgFTzMkMAtN_RPFiCTlYDhB9Qk4/edit?usp=sharing
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1D6e4dv8Ee7i2a57z26K1_FqWN2DJf31H/view?usp=sharing
และดูวิดีโอได้ที่ https://www.facebook.com/300138787516163/videos/287610979870350
นิกาย กับ นานาสังวาส ต่างกันอย่างไร
พ่อครูว่า… วันนี้เป็นวันจันทร์ที่ 27 กันยายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก เดือน 10 ปีฉลู น้ำยังมาก น้ำยังท่วมท้น เป็นอุทกภัยกันอยู่ ก็เรื่องธรรมชาติจะไปปิดกั้นมันก็คงยากมาก ก็ได้แต่ต้องช่วยตัวเองกันไป
ก็มาพูดถึงเรื่องที่เราจะต้องช่วยตัวเองทางด้านหลักธรรม อาตมาตั้งหลักบรรยายเรื่องไปได้หน่อยแต่ก็ยังไม่ต่อเนื่อง ว่าจะเริ่มต้นไปตามลำดับ โดยเฉพาะเอาพระไตรปิฎกเล่ม 9 ซึ่งเป็นพระสูตรเล่มแรก
พระวินัยปิฎกเป็นเรื่องของภิกษุ อาตมาบวชตามพระวินัยและเป็นอยู่อย่างนานาสังวาสกับเถรสมาคม ซึ่งพระพุทธเจ้าใช้หลักนานาสังวาส ยืนยันหลักการใช้มาตั้งแต่อดีต เมืองไทยเราก็เคยเกิดมา แต่มันก็ยากอยู่ในการเข้าใจ
นานาสังวาสในเมืองไทยที่เกิดขึ้นคือเกิดธรรมยุตกับมหานิกาย เกิดเป็น 2 แยกกันมาเป็น 2 แต่ท่านแยกแล้ว กลายเป็นนิกาย
คำว่านิกายกับนานาสังวาสก็แตกต่างกัน
นิกายคือแยกแตกกันเลย ไม่มีส่วนไหนร่วมกันเลยในพระธรรมวินัย ต่างคนต่างยึดถือธรรมวินัย ยึดถือต่างปฏิบัติ แต่ละคณะแต่ละหมู่
ส่วนนานาสังวาสนั้นยังเป็นพุทธร่วมกัน ส่วนนิกายนั้นจะแยกไปเป็นไม่ใช่พุทธนิกายเป็นเดียรถีย์นิกายก็ได้ ไปกันใหญ่ แล้วก็จะแยกกันไปอย่างนั้น ไกลกันไปกว่านานาสังวาส
ซึ่งมันมีอยู่ประมาณ 3 คำเรื่องนานาสังวาส
1 สังวาสเดียวกัน 2 นานาสังวาส 3 สมานสังวาส 4 อสังวาส (คำว่า สังวาสคือร่วมกันอยู่ อย่างเช่นชาวอโศกเป็นต้น)
2 นานาสังวาส อย่างเช่นชาวอโศกกับเถรสมาคม ถือว่าเป็นพุทธร่วมกันแต่ว่าต่างคนต่างเห็นต่างคนต่างยึดถือธรรมวินัยไม่เหมือนกันแล้ว เช่น ศีลไม่เสมอสมานกัน การประพฤติปฏิบัติก็ไม่เหมือนกัน การอธิบาย อุเทส ขยายความธรรมะต่างๆก็ขยายกันไปคนละทาง
เช่น ศีลคำเดียวกัน สมาธิคำเดียวกัน แต่ฝ่ายหนึ่งอธิบายกันไปอย่างหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งอธิบายไปอีกอย่างหนึ่งคนละอย่างกัน นี่เรียกว่ามันไม่เดียวกัน มันไม่สมานกัน มันต่างกัน นานา นี่ก็คือสังวาสเดียวกัน
ต่างคนต่างยึดถือต่างกัน ใครเห็นว่าอันไหนเป็นธรรมวาที เป็นคำพูดอธิบายยืนยันความจริงเข้าท่าก็ยึดถือเอาข้างใดข้างหนึ่ง ตามที่เป็นธรรมวาที เป็นอิสระเสรีภาพ
นานาสังวาสเป็นหลักเกณฑ์ของการให้อิสระเสรีภาพแก่มนุษยชนอย่างสูงสุด ไม่มีการบังคับ เป็นเรื่องสุดวิสัย ต่างคนต่างเห็นอย่างนั้นบังคับให้เห็นด้วยกันร่วมกันไม่ได้ก็เป็นอิสระของแต่ละบุคคล ก็ให้ทำตามที่ตนเห็นดีเห็นงาม แต่ไม่ต้องทะเลาะวิวาทกัน มีหลักเกณฑ์คือ ว่ากันได้อย่างแรงตำหนิกันได้อย่างแรงคือ ปฏิกโกสนา แต่อย่าให้ผิดอย่าให้หยาบคาย อย่าส่อเสียดอย่าทำให้เกิดภัยเกิดโทษผิดวาจา 4 แต่จะแรงจะดังขนาดไหนจะว่ากันหนักขนาดไหน ตามหลักเกณฑ์ตามหลักธรรมวินัยก็ว่ากันไปเลย คือ ปฏิกโกสนา
ส่วนทิฏฐาวิกัมม์ คือ ความเห็นแย้งกันในหมู่ จะพูดกันคัดค้านกันในหมู่ ก็แล้วแต่หมู่จะจัดการอย่างไร แต่ไม่เหมือนกันแน่นอน หากรุนแรงจนทะเลาะวิวาทก็ต้องออกจากหมู่ ก็ต้องทำประมาณหนึ่ง ถ้าจะอยู่กับหมู่ต้องทำการประนีประนอม ถ้าอยู่กับหมู่ไม่ได้จะเป็นนานาสังวาสต้องประกาศแยกออกมา แต่ถ้าอย่างไรต้องอยู่กับหมู่ต้องทำการ ทิฏฐาวิกัมม์ หัวหน้าประธานจะกำหนดกฎเกณฑ์อย่างไรก็แล้วแต่ เถรสมาคมมีกฏซับซ้อนอะไรอีกเยอะแยะซึ่งไม่ใช่บัญญัติพระพุทธเจ้า แต่เราเองเราไม่ได้บัญญัติเอง แต่ตามบัญญัติของพระพุทธเจ้า
ส่วน อสังวาสคือมันไม่มีสังวาสกันแล้วร่วมกันไม่ได้แล้ว เพราะมันผิดแล้ว เช่นปาราชิก แสวงบุญนอกขอบเขตพุทธกันจนเลยเถิดไปแล้วร่วมกันไม่ได้อีก เข้าหลักเกณฑ์ของศีลมาจับก็ไม่มีมันผิดศีลกันจนเลอะเทอะ
อย่างทุกวันนี้เราร่วมกับคณะใหญ่ไม่ได้ไม่ใช่ว่าเราชิงชัง แต่มันรวมกันไม่ได้ด้วยธรรมวินัย ไม่รู้จะทำอย่างไร ก็เพราะท่านไม่เอาศีล ท่านไปเอาแต่วินัย 227 เป็นต้น จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล ท่านไม่เอา อย่างมหาศีล ท่านผิดไปทำเดรัจฉานวิชากันเละเทะเลย คงไม่ลงลึกในเดรัจฉานวิชา ก็ขอบอกแค่ว่า มันเป็นความรู้ที่ไปยึดถือกันโดยไม่พาไปนิพพาน เดรัจฉาน มันเป็นความรู้แต่เป็นความรู้ไม่พาไปนิพพาน มันมิจฉาทิฏฐิมันอวิชชา
สรุปแล้ว ผู้ที่แยกนานาสังวาสธรรมที่พระพุทธเจ้าให้หลักเกณฑ์ไว้ มีหมู่น้อยประกาศออกจากหมู่ใหญ่ หรือหมู่ใหญ่ประกาศออกจากหมู่น้อย จะเรียกว่าอัปเปหิก็ได้คือไล่ออกจากหมู่ แต่หมู่เล็กจะอัปเปหิหมู่ใหญ่ก็ดูกระไรอยู่ เราก็ไม่ถึงกับไล่ เราก็ว่าต่างคนต่างอยู่
หลายอันหมู่ก็กำหนดกันว่า เป็นนิกายกันไปเลยหรือเป็นนานาสังวาส
นิกายกับนานาสังวาสต่างกันอย่างไร
นิกายคือแยกออกไปแล้วถือกันคนละหลัก ศีลคนละหลัก วินัยคนละหลัก มันไม่ร่วมกันมันไม่ใช่สังวาสเดียวกันเลย แล้วจะมาสมานสังวาสกันอีก ก็ไม่ได้ เช่นในญี่ปุ่น เป็นพระแต่มีเมียได้ เป็นเจ้าของธนาคารได้อย่างนี้เป็นต้นเราจะไปร่วมกับเขาได้อย่างไร เราถือว่าปาราชิกเต็มเหนี่ยวเลยแต่เขาไม่ถือว่าเป็นธรรมวินัยอะไรเลย
เพราะฉะนั้นเขาก็มันเลยเถิดเกินไป ก็แยกกันไปเลยเป็นนิกายทำสังฆกรรมรวมกันไม่ได้เลย แต่ถ้ายังอยู่ในนานาสังวาสที่อนุโลมกันได้ ข้อใดที่แสดงออกร่วมกันได้เป็นครั้งคราวเช่นลงปาฏิโมกข์ร่วมกันได้ ถ้าในปัจจุบันนั้นคุณสะอาด ร่วมกันได้ อย่างนี้เป็นต้น เช่น นิสสัคคิยปาจิตตีย์เป็นต้น ละเอียดลงไปอีกซึ่งอาตมาจะไม่ลงไปนั่น
สรุปแล้วมันมี
1.สังวาสเดียวกัน 2.นานาสังวาส 3.สมานสังวาส 4.อสังวาส 5.ปาราชิก
ปาราชิก อย่าว่าแต่ร่วมกันเลย ทั้งชาติ สำหรับผู้ที่ทำปาราชิก ทั้งชาตินี้ไม่มีสิทธิ์ที่จะร่วมอะไรกันเลยในเรื่องของธรรมะ แล้วต้องกีดกันด้วย กีดกันว่า คุณจะมาเอาธรรมะของเรามารับไม่ได้เลย เราปิดประตูกันไว้เลย เช่น ถ้ากำลังแสดงธรรมกันอยู่แล้วมี สมีปาราชิกมาอยู่ในรัศมีที่จะฟังธรรมได้ ก็ให้ออกไปเลยไม่ให้ฟัง แต่เดี๋ยวนี้มีเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์แล้วจะห้ามมันก็สุดวิสัย แต่สมัยพระพุทธเจ้าไม่ได้เลย หมายความว่าฆ่าทิ้งไปทั้งชาติจากกันไปทั้งตอนเป็นๆ ปาราชิกถือว่าแรงที่สุดในกระบวนการโทษทางธรรมของศาสนาพุทธ แต่ทุกวันนี้ปาราชิกเขาเล่นกันเฉยเลย ปาราชิกก็แค่ว่าบวชใหม่อีกไม่ได้ นอกนั้นจะเป็นมัคนายก จะมาเป็นเจ้ากี้เจ้าการ ดีไม่ดีสอนธรรมะได้เฉยเลย แต่บวชไม่ได้เท่านั้นเองแต่จะไปเป็นอาจารย์ใหญ่อย่างไรก็ได้ โทษมันก็ไม่ศักดิ์สิทธิ์ปาราชิกอย่างที่เห็นเป็นกัน โทษมันก็ไม่ศักดิ์สิทธิ์ มันก็เหลาะแหละหยวนกันไปใหญ่ปนกันเละเทะ มันทำอย่างนี้ไม่ได้ สัจจะพระพุทธเจ้ามาทำเล่นหัวอย่างนี้ไม่ได้ อย่างนี้เป็นต้น
ใครจะว่าอาตมาจริงจังกับพระไตรปิฎก จริงจังกับหลักเกณฑ์เกินไปก็ยอมรับ แล้วก็หลักเกณฑ์หรือหลักฐานที่เรามีก็มีพระไตรปิฎก โดยเฉพาะพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ อาตมาถือเอาฉบับนี้ซึ่งพระไตรปิฎกเองก็มีหลายฉบับ แต่อาตมาคงไม่ได้ไปศึกษาหลายฉบับ เอาที่เมืองไทยนิยมฉบับสยามรัฐกัน อาจจะแตกต่างกันในปลีกย่อยแต่หลักเกณฑ์ใหญ่ๆตรงกันหมด
อย่างฉบับสยามรัฐของมหานิกายเขาก็อย่างหนึ่ง แปลกันไปเอง ส่วนธรรมยุติก็แปลกกันไปอีกอย่างหนึ่ง ก็ว่ากันไปนะ อาตมาก็ดูทั้ง 2 ฉบับ อันไหนที่ดีกว่า หรือไม่ก็อาศัยปัญญาของตนเอง
ในการทำงานของอาตมามาตลอดตั้งแต่ต้นจนบัดนี้ (พ่อครูไอตัดออกด้วย) และต่อๆไปจนกว่าจะตาย อาตมาก็ยึดพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐนี่แหละ เขาเรียกกันว่าฉบับหลวง พิมพ์พ.ศ. 2500 ซึ่งก็มีฉบับอื่นๆอีกหลายฉบับ แต่อาตมาใช้ฉบับหลวงเป็นหลัก
ขยายความพุทธคุณ 9
มาเริ่มเข้าเรื่อง แล้วหลักเกณฑ์ที่ 1 ที่อาตมาถือเป็นหลักที่ 1 คืออะไร ก็คือที่ทุกคนได้ยินอยู่แล้ว ศีล สมาธิ ปัญญา ไตรสิกขา การศึกษา 3หรือเรียกว่าอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาก็ได้ ถือว่ากำลังปฏิบัติอยู่ เจริญๆๆ อยู่ ถ้าตกผลึกเป็นจุดรวมได้ก็ถือว่าเป็นสำเร็จศีลสำเร็จสมาธิสำเร็จปัญญา ถ้ายังปฏิบัติให้เจริญอยู่เรียกว่า อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา หรืออธิมุติ ก็ยังไม่ถึงสุดยอด วิมุตติญาณทัสสนะ คือวิมุติ แต่ยังเป็นอธิมุติยังไม่ถึงวิมุติ เป็นต้น
ก็ใช้หลักเกณฑ์นี้ที่นี้ศีลสมาธิปัญญานั้นก็ขยายพุทธคุณ 9 คือ พระพุทธเจ้าถือว่ามีสิ่งที่เป็นคุณอย่างยิ่ง 9 ลักษณะ เรียกว่า พุทธคุณ 9
อาตมาเคยอธิบายแล้วว่า ในพุทธคุณ 9 ข้อ พุทธคุณข้อเดียว 1 เดียวใน 9 คือ วิชชาจะระณะสัมปันโน นี่เป็นข้อ 1 ข้อเดียวในทั้งหมด 9 ข้อ ข้อ 1 ข้อเดียวนี้คือหลักปฏิบัติที่ทุกคนต้องเอาหลักมาประพฤติปฏิบัติในกฎเกณฑ์นี้ ส่วนอีก 8 พุทธคุณนั้น เป็นตำแหน่ง เป็นฉายาที่สรุปยอดให้แก่พระพุทธเจ้าแล้ว
พุทธคุณ 9 (คุณของพระพุทธเจ้า — virtues or attributes of the Buddha)
อิติปิ โส ภควา (แม้เพราะอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น — thus indeed is he, the Blessed One,)
-
อรหํ แปลว่าไม่ลึกลับแล้ว รหะ แปลว่าลึกลับ แต่อรหํคือไม่ลึกลับแล้ว ท่านแปลว่าผู้ไกลจากกิเลสก็ไม่ผิด กิเลสไกลจากท่านวิ่งตามท่านไม่ทัน ท่านไม่มีกิเลสแล้ว
ไม่ลึกลับคือ กิเลสไม่ลึกลับในตัวท่านแล้ว ท่านได้ฆ่ากิเลสออกไปหมดแล้ว นี่คือสาระแท้ของ อรหํ คือรู้จักกิเลสในตัวท่านและได้ฆ่ากิเลสในตัวท่านจนหมดเกลี้ยงสิ้นอาสวะ กิเลสตายแล้วไม่เกิดอีก ตายแล้วตายเลยตลอดกาลไปเลย นิจจัง(เที่ยงแท้) ธุวัง (ถาวร) สัสตัง(ยืนนาน) อวิปริณามธัมมัง(ไม่แปรเปลี่ยน) อสังหิรัง(ไม่มีอะไรหักล้างได้) อสังกุปปัง(ตายแล้วไม่ฟื้น ไม่กลับกำเริบ)
อันตะแปลว่าที่สุด ท่านไม่มีอันตะแล้ว กิเลส หยาบ กลาง ละเอียดท่านไม่มีแล้วท่านฆ่ากิเลสได้สำเร็จไม่มีกิเลสเกิดอีกเลย อย่าง นิจจัง(เที่ยงแท้) ธุวัง (ถาวร) สัสตัง(ยืนนาน) อวิปริณามธัมมัง(ไม่แปรเปลี่ยน) อสังหิรัง(ไม่มีอะไรหักล้างได้) อสังกุปปัง(ไม่กลับกำเริบ)
-
สมฺมาสมฺพุทฺโธ (เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง) เป็นความตรัสรู้เป็นองค์แรกไม่ว่าจะในพุทธกัปป์ไหนที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมา ก็พระพุทธเจ้าองค์นั้นเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ไม่ได้เอาความรู้มาจากใคร ท่านเป็นต้นธาตุต้นธรรม ที่ต้นที่สุด ถือว่าเป็นเจ้าของพุทธธรรมเป็นธรรมะสามี พระพุทธเจ้าคือเจ้าของพุทธธรรมองค์แรกที่สุด
ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าสมณโคดมก็เป็นองค์แรกที่ตรัสรู้ในกัปนี้ เป็นไก่ที่เจาะกระเปาะไข่ออกมาเป็นตัวแรกไม่มีใครทำได้ก่อนท่าน ในยุคนี้ศาสนาพุทธได้เสื่อมไปแล้ว ไม่มีโลกุตรธรรม อาตมาก็มาพร้อมกับโลกุตรธรรมที่ได้สั่งสมมาแต่ชาติก่อนๆ เป็น สยังอภิญญา มีหลักฐานในพระไตรปิฎกเล่ม 10 ข้อ 10 อาตมามาชาตินี้ยืนยันว่าอาตมาเป็น สยังอภิญญา ตามในสัมมาทิฏฐิข้อที่ 10 แล้วอธิบายขยายความสัมมาทิฏฐิ 10 นี้ให้เข้าใจได้ คนอื่นเอาไปประพฤติปฏิบัติได้ผล
มีความรู้ความเฉลียวฉลาดเชิงปัญญาซึ่งไม่ใช่ความฉลาดเชิงโลกุตระ เขาเอาคำว่าปัญญาไปใช้จนคนเข้าใจว่ามันเหมือนความฉลาดโลกียทั่วไปธรรมดา เฉลียวฉลาดแม้จะเป็นศาสดาก็ถือว่าเฉโก แต่เขาก็ไม่ยอมรับ อาตมามีหน้าที่อธิบายความจริง ใครจะเชื่อถือหรือไม่ อาตมาไม่มีสิทธิ์ไปบังคับได้
เนื้อแท้ของการประพฤติปฏิบัติของความรู้ความฉลาดที่เรียกว่าวิชชาหรือญาณปัญญา
มีความรู้ความประพฤติเทวธรรมหรือธรรมะ 2 อย่าง คือรู้เป็นสุตมยปัญญา
มีปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ คือ มีความรู้ความเข้าใจแล้วเอาไปปฏิบัติจนเกิดผลเป็นปฏิเวธ
-
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน (เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา คือความรู้ และจรณะ คือความประพฤติ) สัมปัตโต คือ ภาวะที่เป็นไปตามลำดับ ส่วนสัมปันโน คือบรรลุแล้วถึงพร้อมแล้ว
คำว่า วิชชา เป็น 8 จรณะ เป็น 15
-
สุคโต (เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว) คำว่า คโต คติ คตัง แปลว่าดำเนินไป ส่วนคำว่าสุ แปลว่าดี สุคโต คือไม่มีอะไรสะดุดในการเป็นไปดำเนินไปดี พระพุทธเจ้านี้ดำเนินไปอย่างไม่มีอะไรสะดุด พระโพธิสัตว์ยังมีอะไรสะดุด แต่สะดุดน้อยลงๆๆ เป็นโพธิสัตว์สูงขึ้นก็สะดุดน้อยลงเรื่อยๆจนกระทั่งเป็นผู้บริบูรณ์ไม่สะดุด ไปอย่างจบดีที่สุดไม่มีสะดุดอะไรเลย ไม่มีวกวนไม่มีสะดุด ไปตรงเป็นลำดับน่าอัศจรรย์ถึงที่สุด ก็เป็นเครื่องอลังการ ท่านเป็นสุคโต
หรือแม้แต่เอาไปพูดกับคนปฏิบัติธรรมว่าเป็นสุคโต ใช้กับสาวกภูมิก็ใช้ได้อยู่ อรหันต์ก็ใช้ เป็นผู้บรรลุแล้ว แต่สัมมาสัมพุทโธต้องใช้เฉพาะพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็น ต้นธาตุต้นธรรมจริงๆเลย ในความเป็นมนุษย์ในความเป็นผู้ตรัสรู้
ส่วนพระเจ้านั้นเขาก็ถือว่าพระเจ้าเป็นต้นธาตุต้นธรรม แต่ลึกลับ รหัง คือลึกลับ อยู่ไหนก็ไม่รู้ไม่มีใครรู้จักพระเจ้าเลย ไม่มีใครสัมผัสพระเจ้าได้ มีแต่ผู้นำคำสอนของพระเจ้ามาประกาศ คือมีศาสดาที่เอาพระธรรมของพระเจ้า เป็นพระบิดา ศาสดาคือพระบุตรคือลูกของพระพุทธเจ้าเอาคำประกาศพระพุทธเจ้ามาประกาศ แล้วคำสอนของพระเจ้าเปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย ไม่ขึ้นกับกาละ
กาละ ทุกอย่างไม่เที่ยงในกาละ แต่นี่ไปยึดว่าเที่ยงเลย คำสอนของพระเจ้าไม่มีทางเปลี่ยนแปลง จะเป็นกาละยุคไหนก็แล้วแต่ คนเสื่อมอย่างไรองค์ประกอบอย่างไรก็ไม่มีสัปปุริสธรรม 7 มหาปเทส 4
อัตถะคือเนื้อ ธรรมะคือองค์ประกอบที่มาขยายความ และอัตตัญญุตา ลงไปในสัปปุริสธรรม 7 หน่อย หมายความว่า มีความรู้ของตน มัตตัญญุตาก็เอามาเฉลี่ยประมาณกับอีก 6 หลัก เรียกว่าสัปปุริสธรรม 7 มัตตัญญุตาคือหลักกลางระหว่าง ฝ่าย กาลัญญุตา ปริสัญญุตา
เวลายุคสมัย องค์ประกอบในยุคนี้ไม่เหมือนกับของพระพุทธเจ้าที่เป็นยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นยุคทาส ไม่รู้จักสิทธิ จะเอามาพูดร่วมกันได้อย่างไรเพราะว่าเป็นคนละเวลากัน
และคนละหมู่ปริสัญญุตา คนละหมู่กลุ่มก็เอามารวมกันไม่ได้เช่น สมาชิกชาวอโศกเป็นต้น
หรือความรู้ของแต่ละบท ปุคลปโรปรัญญุตา แต่ละคนก็มีความคิดไม่เหมือนกันอาจจะไม่เหมือนกับหมู่กลุ่มก็ต้องรับฟังเขาเหมือนกันนะ ทางสากลเรียกว่า minority rights เป็นส่วนย่อยแต่เราก็ต้องนึกถึงเขา ต้องรับฟังบ้างไม่ตีทิ้งทีเดียวอย่างนี้เป็นต้น นี่ครบเลย 7 ข้อ
ยิ่งมหาปเทส 4
-
สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย
-
สิ่งที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย
-
สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย
-
สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.
(พระไตรปิฎก เล่ม 5 ข้อ 92)
มหาปเทส เป็นเรื่องสุดวิสัยแต่ละบุคคล ผู้ที่ตัดสินนั้นคุณจะนับถือหรือไม่ ถ้าคุณนับถือก็ง่าย ถ้าไม่นับถือก็ยาก นับถือบ้างไม่นับถือบ้างก็ยากบ้างน้อยบ้างตามแต่
ในสุคโตก็ดีไปดีแล้ว
-
โลกวิทู (เป็นผู้รู้แจ้งโลก) เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้า อย่างอาตมาโลกวิทูสู้พระพุทธเจ้าไม่ได้ หมายความว่า รู้โลก โลกทั้งหลายที่เขาประมวลมา ทั้งอดีต ทั้งอนาคต ทั้งปัจจุบัน ซึ่งรวมมาเป็นเรื่อง องค์ประกอบองค์ประชุมของสิ่งที่พูดถึงกันได้ เอามาใช้ร่วมกันได้อยู่ พระพุทธเจ้าท่านได้ผ่านโลกมาจริงๆมากกว่าอาตมา อาศัยเวลาก็มากกว่า เรียนรู้ความจริงต่างๆครบครันกว่า อาตมายังไปไม่ถึง ยังพยายามไปตามลำดับอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องจริง ยอมรับความจริงเลย เพราะฉะนั้นโลกะวิทูของพระพุทธเจ้าต้องเหนือกว่า ท่านรู้ทั้งกรรมวิบากความวนเวียนของมนุษย์ที่มีกรรมเป็นของของตน เราก็เรียนรู้กรรมวิบากของแต่ละคนเป็นหลักเรียกว่า อัตตา ขึ้นอยู่ในโลก ปรุงแต่งกันอยู่ในโลก แยกกันยาก โลกกับอัตตา
ผู้ที่รู้จักโลกได้มาก เป็นที่หนึ่ง
-
อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ (เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งไปกว่า)
สามารถที่จะสอนคน ฝึกฝนคน ให้บรรลุได้เก่ง ได้จริง ได้ไวได้บริบูรณ์ยิ่งกว่าใครๆไม่มีใครเทียบได้ ไม่มีใครเหนือกว่าท่าน ก็จริงต้องยกให้ท่านเราก็ฝึกได้ประมาณหนึ่ง เป็นสารถีได้ประมาณหนึ่ง พยายามช่วยคนได้ประมาณหนึ่ง
-
สตฺถา เทวมนุสฺสานํ (เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย)
คำว่าศาสดา คำว่าเทวดา คำว่ามนุษย์
ศาสดาใดจะมายอมรับท่าน ก็ท่านเป็นครูบาอาจารย์ของคนนั้นได้
ศาสนาใดที่เขาเป็นเทวนิยม เขาไม่ยอมรับเรา เราก็เป็นศาสดาของเขาไม่ได้ อย่างอาตมาจะถือว่าเป็นศาสดาของพุทธยังไม่ได้ จนกว่าจะถึงระดับ 9 ซึ่งตอนนี้ระดับ 7อยู่ ระดับ 9 สูงสุดเป็น อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แต่อาตมายังเป็นแค่อรหันต์ระดับ 7
-
พุทฺโธ (เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว) เป็นผู้รู้ รู้คำนี้คือรู้โลกุตรธรรม เป็นผู้ตื่นอยู่ในโลกของความจริง ไม่ใช่ผู้ตื่นอยู่ในโลกของความฝัน ความหลับ แต่ตื่นอยู่ในโลกของความตื่น ตาลืมตา เป็นคนตื่นๆลืมตามีอาโลก ตอนนอนหลับปิดตาก็มืดสนิท อย่างอาตมาไม่ได้ฝันเพ้อแต่คุยกับเทวดาไม่ได้ฝันเพ้อ กาม หรืออรูปเพ้อเจ้อ ก็ไม่มี มีแต่เรื่องสาระทั้งนั้น
เป็นผู้ตื่น มโนกรรม 100% วจีกรรมก็ตื่น 100% กายกรรมก็ตื่น 100%
เบิกบาน ไม่ใช่เบิกบานด้วยกาม ด้วยโลกธรรมด้วยโลกีย์ ไม่ใช่ แต่เบิกบานด้วยธรรมะ อย่างอาตมาเบิกบานด้วยธรรมะ แม้จะร้องเพลงก็ร้องเพลงด้วยธรรมะ แม้จะร้องเพลงทางโลกๆเขาบ้างเล่นๆ ก็ไม่ได้เป็นเรื่องเอามาใช้ แต่เป็นเรื่องเล่น มันเคยอยู่ในวงการ จำได้เพลงของเพื่อนๆ แม้แต่เพลงทางโลกๆ ก็แต่งบ้างตอนใหม่ๆที่ยังไม่รู้ตัว เดี๋ยวนี้พยายามเก็บให้หมด เพลงรักเพลงใคร่ เคยแต่งเอาไว้บ้าง แต่ก็เอาแต่สาระที่ใช้ได้ แต่ก็ไม่ได้ฮิตเท่าไหร่ แต่ที่ใช้กันก็อนุโลมเพลงเดียวที่เป็นเพลงเชิงรักคือ เพลงผู้ครองรัก แต่เพลงธารสวาท ก็ใช้บ้าง ชื่นรัก ก็ใช้บ้าง ว่าไปก็มีอยู่นะ แม้แต่พิไรรักก็หายไปเลย เหลือแต่เพียงซากรักก็หายไปเลย ซากรักก็ไม่ค่อยฮิต เพ็ญศรี พุ่มชูศรีเป็นคนร้อง
-
ภควา (เป็นผู้จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์) อันนี้สุดยอด อาตมาก็พยายามฝึกเป็นผู้จำแนก แม้ที่สุดปรับวาทะ แปลว่าข่มคนอื่นให้ได้ ใช้วาทะข่มให้ได้ นี่แปลง่ายๆ แต่จริงๆแล้วต้องมีวาทะที่พูดแล้วเขาจำนน เขายอมรับ ว่า เป็นความจริงมีหลักฐานอ้างอิงมีที่ไปที่มาให้เขาจำนน ใครๆก็เถียงไม่ได้แล้ว อย่างนั้นเรียกว่า ปรับวาทะ อาตมาก็ยังไม่ค่อยเก่งปรับวาทะ แต่ก็ฝึกฝนไป เราก็ต้องศึกษาฝึกฝนเป็นผู้จำแนกธรรมให้เก่ง ก็ทำไปตามลำดับ
สู่แดนธรรม… แต่ก่อนมีคนแปล พระพุทธเจ้าว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ส่วนคำว่าสัทถา คือครูผู้สอนเทวดาและมนุษย์ เป็นคำยกย่องสูงสุดแล้วแต่คำว่าพระภาค ผมไปเห็นคำว่า ภควันหรือภควา ผมก็เคยได้ค้นหาหนังอินเดียมา มีภาษาบาลีว่า ภควาหรือภควัน แปลว่าพระผู้มีพระภาค ผู้แปลยกย่องว่า พระพุทธเจ้าเป็นพระเจ้า แต่เป็นพระเจ้าที่แปลกคือเป็นพระเจ้าที่เดินดิน เป็นมนุษย์ที่มีสภาวะเข้าถึงพระเจ้า ต่างกับพระเจ้าของเทวนิยม ที่หาตัวไม่เจอ ว่า ภควา อยู่ไหน เช่น พระนารายณ์ พระศิวะ พระกฤษณะ บุคคลเหล่านี้หาตัวจับต้องไม่ได้ แต่ผมก็ได้ซาบซึ้งว่า ภควา คือพระเจ้าเดินดิน
พ่อครูว่า… ได้ จะว่าไป ภค หรือภาค คือส่วน ภาคที่จับต้องไม่ได้อย่างที่ฮินดูเขามีกัน ส่วนภาคของพระพุทธเจ้า คือ ภาค ส่วนที่จับต้องเนื้อตัวได้ มีเนื้อมีหนัง เป็นบุคคลจริงๆ เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างพระสมณโคดมคือเจ้าชายสิทธัตถะ เป็นคนจริง มาเป็นพระพุทธเจ้า มาเป็นพระผู้มีพระภาค พระผู้มีส่วนหรือภาคส่วนจริง จับเนื้อต้องตัวได้
ภาค คือส่วนๆ ภาค ที่จับเนื้อต้องตัวไม่ได้คือ ผู้หาพระภาคไม่ได้ หาส่วนไม่เจอ เป็นพระผู้ไม่มีพระภาค หาส่วนไม่เจอ หาภาคไม่เจอ มีแต่อวตารต่างๆ เอามาส่วนหนึ่งๆส่วนเต็มไม่มี แต่พระพุทธเจ้ามาเต็มส่วน
สู่แดนธรรม… แล้วพระพุทธเจ้าก็สอนแตกต่างจากที่เขาสอนกันด้วย
พ่อครูว่า… สรุปอีกทีหนึ่ง 8 พุทธคุณ เป็นยศศักดิ์ อลังการ สิ่งยกย่องพระพุทธเจ้า ฉายายกย่องพระพุทธเจ้าทั้ง 8 แต่ว่าจรณะ 15 วิชชา 8 หรือวิชชาจะระณะสัมปันโนเป็นเนื้อแท้ของธรรมะ ที่สมควรจะต้องเอามาศึกษาและปฏิบัติให้เต็มส่วน เติมไปเรื่อยๆ อาตมาก็เต็มไปตามจรณะวิชชาของอาตมาไปเรื่อย คนอื่นก็เต็มตามมา โสดาบันสกิทาคามีอนาคามีอรหันต์ จนอนุโพธิสัตว์ อนิยตโพธิสัตว์ นิยตโพธิสัตว์ มหาโพธิสัตว์ จนเป็นพระพุทธเจ้าเลยครบบริบูรณ์
ศิลปะ 5 ขั้น และดาราดังคือกำลังมาใช้หนี้กรรม
_หมาเฒ่า…ศิลปินเดี่ยวหรือดาราดังที่คนติดตามเยอะแยะ นี่เป็นเรื่องที่ดี ที่เขามีหน้าตาทางสังคม หรือว่าเขาต้องมาชดใช้กรรมคะ
พ่อครูว่า… ประโยคหลังนี้แสดงว่าตัวเองมีปฏิภาณไหวพริบว่าเขาต้องมาใช้หนี้กรรม การร้องเพลงไพเราะเพราะพริ้ง ถือว่าเป็นเทวดานรก หลงว่าเป็นเทวดา แต่ที่จริงเป็นสัตว์นรก นี่พูดแรงนะ นักร้องเด่นๆดังๆพวกนี้ อาตมาก็เดินทางมาทางนี้ มีเพื่อนเป็นนักร้องแต่ก็ตายจากไปเกือบหมดแล้ว ที่ยังเหลือก็มีที่สนิทบ้าง ตอนหลังอาตมาตำหนิ บางคนก็เลยไม่ชอบใจ ตำหนิเป็นผู้ไม่พ้นความเป็นสัตว์ เป็นเดรัจฉานวิชา เป็นผู้ที่ไม่บรรลุธรรม เพราะว่ามันร้องเป็นเพลงโลกๆ ไม่ใช่เพลงโลกุตระ ซึ่งอาตมาแบ่ง ศิลปะไว้ 5 ขั้น
ลามก ราคะ สาระ ธรรมะ โลกุตระ
ถ้าขั้นลามกก็คงเข้าใจกัน อาตมาไม่เคยแต่ง
ราคะก็มีบ้างที่เคยหลงเป็นลิงลมอมข้าวพอง แต่งไว้บ้าง เดี๋ยวนี้ก็อายก็เก็บ คือเป็นเพลงราคะเกี่ยวกับเรื่องหญิงชาย เรื่องเพศ เรื่องกาม มันก็ไม่ดี อาตมาไม่จัดถือว่าเป็นศิลปะ ลามก ราคะ ไม่ถือว่าเป็นศิลปะ
พอมาเป็นสาระ สาระกับศิลปะต่างกันอย่างไร สาระคือสาระแท้ๆ เรียกเต็มๆว่า สารคดี เป็นเนื้อแท้ๆของสาระ มันไม่มีรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสอะไรมาเป็นองค์ประกอบประเทืองเลย เรียกว่า ยาสดๆ ขมๆ ขื่นๆ กินยาก ไม่มีน้ำตาล สักนิดหุ้มไว้ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นอะไรปรุงแต่งให้กินได้ง่ายเลย แต่มีสาระเป็นเนื้อสดๆ มันน่ากลัวคนไม่อยากใกล้
เพราะฉะนั้นศิลปะจึงจำเป็นต้องมีสุนทรียศิลป์ สารศิลป์ก็อย่างหนึ่ง จะอนุโลมเรียกสาระเป็นศิลปะก็ได้ แต่เนื้อแท้คือสารคดี ไม่ใช่ศิลปะ ถ้าศิลปะต้องมีสุนทรียะคู่เข้าไปด้วย ถ้าไม่มีสุนทรียะเลยไม่เรียกว่าเป็นศิลปะ จึงแยกเรียกว่าเป็น สารคดี
เพราะฉะนั้นถ้าจะเป็นศิลปะต้องเหยาะสี เหยาะน้ำตาล รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสเข้าไปนิดๆ แต่อย่าให้ไปหลงรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส ต้องคงสาระ คงแก่นแท้ของเนื้อคุณธรรมเอาไว้ให้เป็นหลัก อย่าให้ไปเอายานี้ไปกินแล้วมีแต่น้ำตาลหุ้ม เด็กกินแต่น้ำตาล พอเข้าถึงเนื้อยาก็คายทิ้งเลย ไม่ดี ต้องให้สาระมากกว่าสุนทรียะ อย่าไปให้สุนทรียะมากกว่าสาระ หากสุนทรียะมากกว่าสาระ คนก็ติดรื่นเริงบันเทิงเริงรมย์ กลายเป็นเรื่องโลกๆไปหมด ต้องเอาแก่นแท้เนื้อหาสาระเป็นหลัก แล้วมีพวกนี้นิดหน่อย น้อยเท่าไหร่ได้ ดีมากเท่านั้น แต่ต้องมีถึงเรียกว่า ศิลป์
ศิลป์ ต้องมีทั้ง 2 อย่าง คือสุนทรียศิลป์และสารศิลป์ อย่างเดียวไม่มีสุนทรีย์เลยก็เรียกว่าสารคดี มีแต่สุนทรีย์ไร้สาระหรือมีสาระน้อยเหลือเกินก็ไม่เรียกว่า ศิลป์ แต่เรียกว่าพวกมายาให้คนไปติด ก็คนก็ติดแต่สุนทรียะ
สุนทรียะ แปลว่าบันเทิงเริงรมย์ สนุกสนานเพลิดเพลินไป ยิ่งหาสาระมิได้ นั่นล่ะ สุน ทรีย์แท้ เรียกว่า ขิฑฑาปโทสิกะ แปลว่า บันเทิงเริงรมย์ รื่นรมย์ มีความบันเทิงเริงรมย์เป็นโทษของจิตใจเรียกว่า ขิฑฑาปโทสิกะ จึงเรียกว่าเทวดา ขิฑฑาปโทสิกะ คือเทวดานรกเทวดาติดในความรื่นเริงบันเทิงใจ หรือเรียกว่าเทวดาปหาสะ เทวดาติดยึดในรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส แล้วหลงติดอยู่อย่างนั้น
แล้วก็หลงบันเทิงเริงรมย์ด้วย ทางปาก กวฬิงการาหาร นี่เนียนมากเลย บันเทิงเริงรมย์ด้วยรูปแต่ละอย่าง ด้วยรสเฉยๆ ด้วยกลิ่น ด้วยเสียง ด้วยสัมผัส แต่ถ้ารวมกันมากๆเข้า 4 อย่าง 5 อย่างครบ ก็เรียกว่า มืดเลย ติดรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสทั้งหมด
เพราะฉะนั้นผู้ที่ยังติดในรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสอยู่ ก็ถือว่ายังติดยึด ยังเป็นโลกีย์ ยังใช้ไม่ได้
อาตมาว่าจะไล่ไปตามพระไตรปิฎก พรหมชาลสูตรก็ยังไม่เข้าเลย เข้าไปหาศีลเข้าไปหาอธิจิตก็ยังไม่เข้าไปเลยหาขี่ม้าเลียบค่ายไป8
คนเราเกิดมาเพื่ออะไร เกิดมาทำไม เกิดมาแล้วได้อะไร
_คนเราเกิดมาเพื่ออะไร เกิดมาทำไม เกิดมาแล้วได้อะไรจากการเกิดมา ?
พ่อครูว่า… 1 เกิดมาเพื่ออะไร เกิดมาเพื่อตาย นี่ก็ตอบมาแต่ต้น เดี๋ยวนี้ก็ยังตอบอย่างนี้อยู่ ถ้าคนเราเกิดมาเพื่อได้อะไร แล้วไม่รู้จักว่าเพื่อได้อะไรมันก็เพื่อตาย ก็ยังดีนะ แต่เกิดมาเพื่อได้อกุศลธรรม นั้นโอ้โห เกิดมาเพื่อได้สิ่งที่โง่ๆ หรือฟังดีหน่อย เกิดมาได้แต่โลกียธรรม ก็ยังอนุโลมเป็นกัลยาณะ เป็นสิ่งดี เป็นประโยชน์แก่มนุษยชาติอยู่บ้าง แต่มันไม่สามารถหลุดพ้น แต่มันไม่สามารถรู้จักความจริงที่เป็นโลกุตระ
ความจริงโลกุตระเรียกว่าหลุดพ้นหรือเรียกว่าล้างกิเลสจบเรียกว่า จิตนิยามเป็นธาตุรู้เป็นอัตตาของแต่ละคน ผู้มีความรู้จบในอัตตา รู้ในจิตนิยามของตัวเอง จนสามารถทำจิตนิยามของตนเอง กรรมคือกระทำ ทำจิตของตนเองให้ทรงไว้ซึ่งพีชะ จิตนิยามเป็นพีชนิยามหรือให้เป็นอุตุ เป็นดินน้ำไฟลมได้เลย สามารถทำใจในใจ ทำใจในใจ มนสิกโรติ หรือเป็นคำนามก็มนสิการ การทำใจในใจ ถ้ามนสิกโรติเป็นคำกิริยา ทำใจในใจของตนเองให้เป็นอุตุเป็นดินน้ำไฟลม ให้เป็นพืช มีพลังงานระดับพืช มีพลังงานระดับจิต
จริงเราเป็นเจ้าของจิต เรามีความรู้เต็มเป็นจิตรู้ จิตคือธาตุรู้ รู้เต็มๆ จิตไม่ได้หายไปไหน จิตยิ่งควบคุม จิตยิ่งจำเพาะ จิตยิ่งจัดแจงให้เป็นเช่นใด ให้เป็นพีชะ เป็นอุตุ ก็สามารถทำได้
พลังงานจะเป็นเวทนา สัญญา เจตนา เมื่อผัสสะ เมื่อมนสิการ ต้องมีผัสสะในการปฏิบัติถ้าหากไม่มีผัสสะในการปฏิบัติ ไม่มีนามมาประกอบปฏิบัติธรรมไม่ได้ ไม่เป็นวิญญาณฐีติ ปฏิบัติไปก็ไม่บรรลุธรรม อย่างที่หลับตาปฏิบัติไม่มีตาหูจมูกลิ้นกายในการผัสสะ มีแต่ใจของตัวเองก็ไปคิดเอาเอง ปั้นเอาเองในใจของตนเอง คนเดียวไม่มีใครรับรู้ ไม่มีใครรับรอง มันก็เพ้อเจ้อเพ้อพกไปตามสารพัด จะไปเอาความจริงในการนั่งหลับตาแล้วเกิดความรู้ เกิดภพชาติ เกิดอะไรก็แล้วแต่ คุณรู้เห็นในการนั่งหลับตา พระพุทธเจ้าไม่ยอมรับว่าเป็นปัญญา ไม่ยอมรับว่าเป็นความจริง ถือว่า เป็นส่วนตัว สร้างเองเป็นเอง
หรือ คุณจะมีหมู่กลุ่มร่วมรับรู้เห็นใจด้วยกันก็เป็นอาทิสมานกาย ต่างคนต่างไม่เห็นของใคร ต่างคนต่างเห็นของตนเองทั้งนั้น เสร็จแล้วก็มาสมมุติกันว่ารู้ร่วมกันเรียกว่าสัมโภคกาย พูดกันรู้เรื่องสมมุติกันไปตามตามกันไป ซึ่งมันไม่เที่ยงไม่ตรง ไม่เป็นสัจจะหนึ่งเดียวกันเลย มนุษย์เขาก็ทำกัน เพราะต่างคนต่างเนรมิตขึ้นมาเอง นิรมาณกายสร้างเองทั้งนั้น แต่มาพูดกับคนอื่นอย่างพระเจ้า พูดกับคนอื่นให้ร่วมด้วยเรียกว่า สัมโภคกาย
ที่จริงพระเจ้าไม่มีหรอก แต่ละคนนี่แหละคิด พระศาสดาของเทวนิยมแต่ละองค์คือความรู้ของตัวเองสั่งสมวิบากกรรมของตัวเอง จนกระทั่งได้เป็นศาสดา แต่ท่านไม่รู้จักตัวเองไม่รู้กรรมวิบากที่ท่านได้สั่งสมมาว่าเป็นของท่านเอง ศาสดาแต่ละองค์ของศาสนาเทวนิยม มีความรู้เป็นของท่านเองทั้งนั้นแต่ท่านไม่รู้ตัวเอง ไม่รู้อัตตาตนเอง ไม่รู้กรรมวิบาก ไม่รู้ว่าตัวเองสั่งสมมาเป็นวิบากกรรมอย่างไร เกิดมาอย่างไรแต่ละชาติๆ ไม่รู้ ไม่ได้ศึกษาไม่ได้รู้อย่างศาสนาพุทธสอน
กรรมวิบากเป็นอจินไตย เดาเอาไม่ได้ ต้องมาเรียนรู้จริงๆเลย สัมผัสเรียนรู้ด้วยตัวเองจึงใช้เวลานานมาก ไม่เอาแบบเดา เกิดมาแต่ละชาติๆ นับมาตั้งแต่ สัตว์เซลล์เดียวเลย จำได้ จนกระทั่งมีเป็นล้านล้านเซลล์ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องไปรู้มันมากเกินไป ก็ไม่ต้อง นับเป็นล้านๆๆๆไม่ถ้วนแหละ ไม่ใช่มานั่งสมมติเอา กว่าจะเกิดเป็นพระพุทธเจ้านั้นไม่รู้กี่ ล้านๆๆๆชาติ ล้านๆๆๆเซลล์นั่นแหละ แล้วเราก็ได้รู้จริง เราเคยเกิดเป็นเซลล์นั้นมา พวกคุณอาจจะเคยเกิดเป็นโควิดมาแล้วก็ได้ มาอาละวาดทุกวันนี้ โควิดไม่รู้หรอกว่าตัวเองเป็นตัวร้าย มันก็กัดกินไปเรื่อยมันจะไปรู้อะไรมันนึกว่าเป็นอาหารมันก็กัดกินไปเรื่อย
เสร็จแล้วคนตาย โควิดมันก็ตายไปกับคนนะ มันโง่ไงมันไม่รู้ จะไปฆ่าคนให้ตายทำไมเพราะมันต้องตายไปกับคนนี่คือ covid สุดท้าย
_เกิดมาแล้วควรได้อะไรจากการเกิดมาค่ะ
พ่อครูว่า…ถ้ายังไม่ตายเกิดมาทำไมก็ เกิดมาทำงาน ทำงานอะไร ทำงานที่ดีแม้จะเป็นโลกียก็ให้ดีที่สุด ดีกว่านั้นก็เป็นโลกุตระ เพราะฉะนั้นทำอย่างไรก็คือทำให้เกิดโลกุตระ หรือทำดีที่สุดในสมมุติ คุณเก่งที่สุดก็ได้เป็นศาสดาองค์ใดของศาสนาหนึ่งที่เป็นเทวนิยมและก็ตกต่ำวนเวียนอยู่อย่างนั้นแหละ สมบัติผลัดกันชม ศาสดาก็ได้หลงเป็นศาสดา แต่ละองค์อาจจะได้เป็นศาสดา 2 ครั้ง 3 ครั้งอะไรก็แล้วแต่ ศาสดาทางศาสนาโน้นก็ตามแต่ ซึ่งมันก็เป็นไปได้ถ้าหากพากเพียรให้ดีๆ ก็ทำได้ วนเวียนอยู่ในศาสนาโลกีย์อย่างนั้น
กว่าจะรู้ว่ามันมีโลกุตระ ต่างกันที่โลกุตระรู้จักอัตตาครบ แล้วแยกอัตตาเป็นอนัตตาทำให้ไม่มีตัวตนจนเป็นดินน้ำไฟลมไปได้ ทำเป็นชีวะในความเป็นจิตนิยาม แม้แต่ความเป็นจิตนิยามก็ไม่เหลือ ทำให้เป็นอุตุธาตุ เป็นดินน้ำไฟลมไปได้
แยกธาตุจิตนิยามของตัวเองให้เป็นดินน้ำไฟลมได้สำเร็จ เมื่อตายครั้งสุดท้ายเรียกว่าปรินิพพานเป็นปริโยสาน อย่างนี้เป็นต้น นี่คือสุดยอด
เพราะฉะนั้นเกิดมาทำไม..หากทำดีเป็นโลกียะก็ทำดีให้ดีที่สุด แล้วทำโลกุตระให้ได้ แล้วได้อะไร..ก็จะได้โลกุตรธรรมนี่แหละ ได้รู้จัก อัตตา และได้รู้จักอนัตตา ได้จากการเกิดมาถึงจะได้อันนี้ แล้วต้องมาพบศาสนาพุทธ ถ้าไม่พบศาสนาพุทธพบแต่ศาสนาเทวนิยม คุณก็จะวนอยู่ในศาสนาเทวนิยม จะพากเพียรให้เป็นศาสดาก็เป็นไปสิ อาตมาว่าอาตมาผ่านมาหมดแล้วเป็นศาสดาทางโลกียะ มันต้องเป็นมาก่อน รู้ก่อน แล้วมันก็ต้องมีตัวที่สามารถทำได้ยิ่งกว่านั้น ยิ่งกว่าความเป็นเทวนิยมก็คือ รู้จักความเป็นอัตตาแล้วก็แยกอัตตา จะอยู่อย่างมีอัตตาไปก่อนเป็นอมตะบุคคลแล้ว คุณจะไม่ปรินิพพานเป็นปริโยสาน จะยังอัตภาพไปให้นานมีปณิธานเหมือนพระอวโลกิเตศวร
มีปณิธานจะช่วยคนให้นิพพานหมดทั้งโลก แล้วเราจึงจะปรินิพพานเป็นปริโยสานเป็นองค์สุดท้าย เป็นคนสุดท้าย นี่คือพระปณิธานของพระอวโลกิเตศวร และมันจะเป็นไปได้ไหม …มันไม่ใช่ยากนะ แต่มันเป็นไปไม่ได้ แต่มีคนสมมุติว่า ถือว่าเป็น กัลกิยาวตาร
หมายความว่ามันเหนือกาละ กัลกิยาวตาร เหนือกาละ เป็นสมมติที่สมมุติทิ้งเอาไว้เท่านั้นเอง อวตารมาอย่าง จริงๆในกาละไม่มี กาละมันมีความหมุนของจักรวาล มันมีธาตุรู้ มีนามธรรมร่วมกับโลกในจักรวาลนี้ แต่ไอ้นั่นไม่มีตัวตนของจักรวาล ไม่มีตัวตนของอัตตา มีแต่สมมติอย่างเดียว กัลกิยาวตาร
สู่แดนธรรม… เราเกิดมาควรได้อะไร ก็ควรได้กรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
ปาราชิกคืออะไร
_วิมุติ คืออะไรคะ ปาราชิกคืออะไรคะ
พ่อครูว่า… ปาราชิก คือ คนทำผิดวินัยร้ายแรงที่สุด 4 ข้อ
-
ลักทรัพย์ เมื่อมาเป็นภิกษุปาราชิกก็จบเลย ลักทรัพย์ตั้งแต่ 5 มาสก ขึ้นไป ถือว่าขาดจากความเป็นศาสนาพุทธ ขาดจากความเป็นคนในศาสนาพุทธไปทั้งชาติ แล้วกีดกันไม่ให้รับธรรมะด้วย ถ้ารู้ว่าจะรับธรรมะก็กีดกันทุกอย่างไม่ให้รับ คือปาราชิกเป็นการลงโทษที่หนักกว่าพรหมทัณฑ์