650216 พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า พุทธาภิเษกฯ#46 วิญญาณกับวิญญัติ วันมาฆบูชา ดาวโหลดเอกสารที่ https://docs.google.com/document/d/1Z8r1Zjj5-aH978MNVdI4R66GfJpDAyfBC4nkONDMGmA/edit?usp=sharing ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1MFiBvel2bsQSOidKZVstxhLnu3pmuisb/view?usp=sharing และดูวิดีโอได้ที่ https://fb.watch/bc28U9WTag/ และ https://youtu.be/FgN9N3Pl4SU ความเข้าใจเรื่อง วิญญัติกับวิญญาณ สัมมากับมิจฉา พ่อครูว่า…วันนี้วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 ที่บวรราชธานีอโศก วันนี้เป็นวันมาฆบูชา อาตมาจะพยายามเทศน์ให้ละเอียดพอสมควร ในประเด็นที่มันยังมีความเข้าใจไม่ชัดเจนกันอยู่ สำหรับผู้ที่ศึกษาธรรมะกระแสหลัก พระป่านั่งหลับตา ยังเข้าใจความสำคัญ จุดที่ถูกต้อง บัญญัติภาษาว่าวิญญาณกับ วิญญัติ เป็นต้น ทางกระแสหลัก ส่วนใหญ่พระป่า จะเข้าใจว่าวิญญาณคือ วิญญัติ ซึ่งมันต่างกัน วิญญัติ มันเป็นแค่ รูป เป็นอาการของรูปธรรม ไม่ใช่อาการขั้นนามธรรม วิญญาณ จึงเป็นอาการ ลิงคะ นิมิต ของนามธรรม แต่วิญญัติ มีกายวิญญัติ วจีวิญญัติ แม้จะมีคำว่า มโนวิญญัติ ก็ไม่ค่อยพูดถึงกันแต่จะพูดถึงก็ได้ การเคลื่อนไหวของจิตของมโน ไม่ใช่ความรู้สึกของ มโน วิญญาณเป็นความรู้เป็นความรู้สึก วิญญาณ เวทนา เป็นความรู้เป็นความรู้สึก อย่างพืช ยังไม่มีวิญญาณไม่มีเวทนา มีแต่กายสังขาร เคลื่อนได้เหมือนกัน พืชมีวิญญัติ มีการเคลื่อนปรุงแต่งตัวมันเองมีสัญญามีสังขาร นัยละเอียดพวกนี้ เป็นภาษาบาลี อาตมาแปลเป็นภาษาไทย ถ้าเข้าใจไม่ถูกเป็นสภาวะ กำหนดสภาวะ เรียกว่า ทำนิมิต สร้างนิมิต มันไม่ตรงกับสภาวะจริงๆเลย อาการอย่างไรมันต่างกันอย่างไร รายละเอียดพวกนี้ ค่อนข้างยาก ถ้าศึกษาไม่สัมมาทิฏฐิดีๆ มันกำหนดไม่ถูก โดยเฉพาะคำว่า สัญญา สัญญากำหนดคู่ คือ กาย กำหนดสภาวะคู่คือ กาย กำหนดไม่ได้ กำหนดไม่ถูก กำหนดไม่ตรงกับความจริง ก็ผิดไป เพราะฉะนั้นการกำหนดหรือสัญญากำหนดก็รู้ กาย ทางสายหลับตา ก็ไปกำหนดรู้ กายใน กายในกาย มันไม่มีกายนอก ที่จริงเรียกภาษาว่ากาย แต่ว่าไม่มีภายใน เป็นภาษา สิริมหามายา เอาคำว่ากาย ซึ่งมันไม่มีหรอก กายที่ไม่มีภายนอกด้วย สภาพไม่มีภายนอกไม่เรียกกาย ต้องมีภายนอก-ภายใน คู่ จึงเรียกว่า กาย ไปหลงแต่ภายในเรียกว่า กาย พระพุทธเจ้าตรัสว่าผู้หลงกายแต่เพียงภายในเป็นคนพาล คนโง่ ในพระไตรปิฎก พาลบัณฑิตสูตร ล.16 ตายไปแล้วก็ยังมีกายอยู่ ตายไปแล้วไม่มีตาหูจมูกลิ้นกายก็เป็นจิตสัมภเวสี สัมภเวสีกับวิญญาณฐิติที่มีกายกับสัญญา วิญญาณฐิติมีกายกับสัญญาเป็นคู่ตรวจสอบสุดท้ายเลยวิญญาณฐิติข้อที่ 7 ตรวจสอบ เขาไม่รู้ก็ไม่มีวันที่จะบรรลุอรหันต์ ก็อาตมาพยายาม ที่พูดนี้ด้วยเมตตาสงสารจริงๆว่า ที่ท่านก็พยายามกันเนาะอุตสาหะวิริยะพากเพียรเอาชีวิตมาทิ้งทางนี้ตั้งแต่ เยอะ บวชตั้งแต่เป็นเณร จนกระทั่งถึงเป็นพระจนกระทั่งถึงอายุมากจนกระทั่งมีตำแหน่งยศศักดิ์ ทางศาสนามากมาย เพราะฉะนั้นวิธีปฏิบัติที่มันไม่ถูกต้อง ที่อาตมาพูดย้ำซ้ำซากว่าอย่างนั้นมันเป็นลัทธิ เดียรถีย์ หลับตานั้น ไปอดทนต่อความลำบากยากเข็ญ ซึ่งเป็นความลำบากภายนอกปฏิบัติการ อย่างสายพระป่าสายบุกตะลุย ไปผจญภัยในป่าเขาถ้ำ ต่อสภาวะภายนอก แล้วก็หลงเรียกภาษาคำว่าธุดงค์ไปเรียกพระธุดงค์ หรือพระกรรมฐาน ธูตะ หรือ องค์ เป็นภาษาไทยคือธุดงค์ เลยเพี้ยนแต่เป็นออกป่าดง ทะลุดงไปเลย ธุดงคือธุตังคะ คือศีลเคร่ง หลักปฏิบัติที่สูงขึ้นเข้มข้นขึ้นเรียกว่า ธุดงค์ อยู่ในวรรณะ 9 ธุตังคะ ที่จริงพยัญชนะต่างๆที่พระพุทธเจ้าสอนบันทึกในพระไตรปิฎก ดี ยังไม่ผิดอะไรมากมาย ไม่เหมือนท่านพุทธทาสที่ตีทิ้งไป 60% ท่านรู้ได้แค่นั้นท่านเลยฉีกทิ้งไป 60% อาตมารู้ได้เกือบเต็มร้อย มีที่เขาแปลกันผิดเพี้ยนบ้าง จากบาลีมาเป็นไทย ก็เบี้ยวบาลีกันไปบ้าง อย่างนั้นอย่างนี้อาตมาไม่อ่านหรอกมันยืดยาด เพราะฉะนั้นผู้ที่เพี้ยนไป ไปกำหนดวิธีหลับตาก็ผิดแล้ว หลับตาผิดไปจากจรณะ 15 แล้ว เพราะจรณะ 15 ระบุไปว่าต้องมีศีลต้องมี อปัณณกปฏิปทา 3 ชัดๆกำหนดไว้ว่าหลับตาไม่ได้ สำรวมอินทรีย์ 6 ก็บอกว่าแล้วว่าต้องมีการรู้ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ 6 ไปอยู่ที่หนึ่งเดียวและปิดอีก 5 ทวารไม่สำรวมสังวรเลยมันก็ผิดไปทันที พูดไปเท่าไหร่ท่านก็ไม่รู้ เพราะอาตมาไม่ได้มีสำนักมีครูบาอาจารย์สืบทอดมา โผล่มาบอกว่าตัวเองรู้ดีมาจากชาติก่อนๆ มันก็ไม่มีใครรับรอง มาชาตินี้อาภัพ ไม่มีใครรับรอง แต่อาตมาก็ยืนยันว่าอาตมารู้มาเองเป็น สยังอภิญญา ตามหลักธรรมพระพุทธเจ้ามีอยู่แล้วรู้มาเองข้ามชาติ สยังอภิญญา ก็เข้าใจคำว่า สยังอภิญญา ไม่ได้ พอเราบอกเรารู้เองก็มายัดเยียด ประชดประชันเราว่าเป็นพระพุทธเจ้าหรือยังไงรู้ด้วยตัวเอง ก็บอกว่าไม่ใช่ สยังอภิญญา ไม่ใช่สยัมภู พากเพียรไปเป็นอภิภู ซึ่งเขาจับความแตกต่างรายละเอียดพวกนี้ไม่ได้ หลับตาเป็นพวกสะกดจิต มีแต่ข่ม มีแต่สมถะๆๆ มันไม่มีวิปัสสนาไม่มีการรู้การเห็นแล้วก็พิจารณาความแตกต่างระหว่างการรู้การเห็น กระทบสัมผัสตั้งแต่ภายนอก หยาบ กลาง ละเอียด เข้าไปถึงภายใน มีแต่สมถะก็กดข่ม หยุด นิ่ง เฉย หลับไม่รู้คู้ไม่เห็น ไม่มีรายละเอียดของอภิธรรมในจิต มีแต่เก่งหยุดๆๆๆ ปล่อยวาง ไม่เอาถ่าน แล้วก็หลงว่าตัวเองหลุดพ้นหรือว่างแล้ว วางแล้ว ซึ่งข้อแตกต่างของพุทธจริงๆนั้น ลืมตา ปฏิบัตินี่เริ่มแตกต่างแล้ว มีจรณะ 15 วิชชา 8 นี่แตกต่างแล้ว แล้วหลักธรรมที่จะบรรลุธรรมของพวกหลับตากับลืมตา พวกหลับตา ผลที่ได้ส่วนมากจะเป็นผู้ชาย ผู้หญิงจะไม่ค่อยได้ ผู้หญิงจะเป็นคนคอยติดตามศึกษา ตัวเองยังไม่ได้เกิดเป็นผู้ชาย เพราะฉะนั้นไม่พูดเลย ผู้หญิงบรรลุอรหันต์ ผู้หญิงเป็นโสดาบันสกิทาคามี ไม่พูดถึงเลยแต่ต้องพากเพียร มันจะมีความลำเอียงผู้หญิงผู้ชายอยู่เยอะ เพราะฉะนั้นความแตกต่างอันนี้ อาตมาจำเป็นที่จะต้องพยายาม อธิบายขยายความ ที่ละเอียดลออเข้าไปแล้วก็พาพวกเราพิสูจน์ จริง ในโลกนี้ผู้ชายน้อยลง ผู้หญิงจะมากขึ้น ผู้หญิงหนังเหนียวตายยากกว่าผู้ชายอีก แปลก ไม่ว่าชนชาติไหน แล้วผู้หญิงก็ทุกข์มาก อยากบรรลุธรรม ยิ่งมาเรียนศาสนาพุทธเรียนรู้อริยสัจ จึงรู้ว่าเป็นทางออกจะพ้นทุกข์ ก็มากัน คนมาศึกษาพุทธจึงเป็นผู้หญิงมากขึ้นๆ ผู้ชายไปตายในสนามรบเสียเยอะ ผู้ชายห่ามๆก็เลยตายไว ผู้หญิงก็ไม่ห่ามเท่าไหร่ ได้แต่เก่งปากไม่เก่งกายกรรมเก่งแต่วจีกรรม ผู้ชายเก่งกายกรรมก็เลยไปตายเยอะกว่า ผู้หญิงเก่งแต่ปากหอกก็เลยไม่ตายเยอะ ที่พูดนี้เป็นสัจจะเป็นธรรมชาติ ศีลต่างกัน สมาธิต่างกัน ปัญญาต่างกัน มีความรู้ความเห็นความเข้าใจต่างกันไปหมด หลับตาแล้วศีลจะสะอาดบริสุทธิ์เอง ฝ่ายหลับตาว่างั้น ฝ่ายลืมตาบอกว่าไปหลับตาจะมีศีลกันได้อย่างไร ศีลต้องลืมตาเกี่ยวข้องกับสัตว์ เกี่ยวข้องกับของ เกี่ยวกับรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส ในศีล 3 ข้อแรก แต่นี่คุณหนี หลบไปอยู่ภายในสัตว์ก็ไม่เกี่ยวข้าวของคุณก็ไม่เกี่ยว ไม่ว่าจะเป็นข้าวของ พืชพันธุ์ธัญญาหาร คุณก็ไม่เกี่ยว คุณเอาแต่นั่งหลับตาเข้าไปอยู่ภายใน รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสภายนอกกามคุณ 5 คุณก็ไม่เกี่ยว คุณก็ไปทำแต่จิตในจิตของคุณอยู่เท่านั้น เห็นชัดเลยว่ามันไม่ใช่ มันผิดมันไม่มีศีล ไม่มีอปัณณกปฏิปทา 3 เพราะฉะนั้นในหลักเกณฑ์จรณะ 15 4ข้อแรกนี้ เขาไม่มี ไม่ได้ปฏิบัติรู้สีรู้สา ไม่ได้คำนึง นั่งหลับตาไป มีศรัทธาและเขาก็นึกว่ามีหิริโอตตัปปะก็ไม่ใช่ หิริ อย่างไร อาย โอตตัปปะอย่างไร เกรงกลัวอย่างไร พหูสูตเป็นอย่างไร นั่งหลับตา มีแต่หยุดรู้ รู้ฟุ้งซ่าน เป็นนิรมาณกายเป็นกาย เก๊กายหลอก สร้างกายขึ้นมาใหม่ ซึ่งแต่ละคนๆ เป็นกายของตนเองสร้าง สร้างขึ้นมาเองทั้งนั้น ต่างคนต่างของใครของมันอยู่ในภพ หลับตาอยู่ในสัมภเวสีของตนเอง เป็นนรกเป็นสวรรค์ เป็นดีเป็นชั่วเป็นอะไรก็แล้วแต่ ไปเป็นเรื่อง ไปเป็นนิยาย หรือเป็นโลกจินตา คิดเอาเองเต็มโลกเลย ต่างคนต่างหลับตาของใครของมัน แล้วทำมาพูดกันตรงกัน เรียกว่าสัมโภคกาย เรียกว่าอุปาทานหมู่ มาทำเป็นพูดตรงกันๆ มันไม่ตรงก็พยายามจะให้ตรงกันให้ได้ ใช่ๆๆ ก็มันนามธรรม เสร็จแล้วมันก็ไม่ถูกต้องสักอย่าง มันไม่เห็นจากของใครๆ เป็นอาทิสะ คือไม่เห็น ต่างคนต่างเห็นของแต่ละคนของใครของมัน เท่านั้นเอง แต่เอามาโมเมพูด เป็นอุปาทาน สัมโภคกาย เพราะฉะนั้น กายแต่ละกายที่หลับตามีกาย เนรมิตเองทั้งนั้น เป็นนิรมาณกาย แล้วโมเมเป็นสัมโภคกาย ก็เห็นของกันและกัน ซึ่งต่างคนต่างไม่เห็นของกันและกัน หลับตาก็เป็น กายสัมภเวสีก็ได้ เรียกว่ากาย 3 ก็ได้ เป็นพาล ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ในพระไตรปิฎกเล่ม 16 ข้อ 59 ยังเป็นพาลชนยังเป็นคนโง่ คนไม่เดียงสา คนยังอ่อนปัญญา คนยังไม่มีปัญญายังเข้าใจไม่ได้ ยังไม่รู้ประสีประสาเหมือนเด็กๆไร้เดียงสา มันก็ต้องพากเพียรศึกษาขึ้นมา ให้มันได้สภาวะจริงๆกันขึ้นมา วิญญัติกับวิญญาณความเข้าใจของสายศรัทธาสายปัญญาและสายวิตักกะ มาเข้าสู่บัญญัติ 2 คำ วิญญาณกับวิญญัติ วิญญาณคือ ธาตุรู้ทั้งหมด รูปเวทนาสัญญาสังขาร วิญญาณเป็นหัวหน้า ถ้าไปอ่านหนังสือคนคืออะไรทำไมสำคัญนัก ก็จะรู้ดีว่าอาตมาแยกวิญญาณออกเป็นหัวหน้าของเวทนาสัญญาสังขาร แยกเป็นหัวหน้ากรม หัวหน้ากองเป็นอธิบดีไว้ เวทนา สัญญา สังขาร ทำงานเป็นเจตสิก มีหน้าที่คนละหน้าที่ ทำแล้วส่งให้วิญญาณ วิญญาณเป็นตัวนายตัวผู้รู้รู้ร่วม รู้ครบ เวทนาก็ทำหน้าที่หนึ่ง สัญญาก็ทำหน้าที่หนึ่ง สัญญาทำหน้าที่หนึ่ง สังขารทำหน้าที่อีกอย่างหนึ่ง แม้ที่สุด แยกไปเป็นเจตนาก็ไปทำอีกหน้าที่หนึ่ง เพราะฉะนั้นคนที่ยังไม่เข้าใจถึงนามธรรมต่างๆ แม้แต่รูปธรรมก็ยังสับสน ถึงยากมาก ที่จะบรรลุธรรม แต่เขาก็พยายามทำความหยุดที่เป็นสงบ สงบเฉพาะการเคลื่อนไหว ไม่ใช่ไม่สงบเพราะจิตเจตสิกหรือคือตัวกิเลส อกุศลเจตสิก ซึ่งใช้พยัญชนะเรียกแยกกัน ของพระพุทธเจ้านั้นจับอาการตัวนิมิตของอาการนั้นให้ได้ว่ามันเป็นกิเลส จับมั่นคั้นตายตัวตนของกิเลสได้ แล้วก็พยายามเห็นให้ได้ว่าตัวเองยังโง่ ตัวเองยังอ่อนเยาว์ตัวเองยังไม่ชัดเจนในความจริง เพราะฉะนั้นเอาความจริงที่ตัวเองเริ่มเข้าใจความจริง เอาความจริงนั้นมายืนยันกับตัวโง่ ขยายความให้เห็นถึงภาษาลักษณะสัจธรรมที่จัดการกัน จะใช้ศัพท์ภาษาที่แรงว่ากำจัดฆ่าทำลายก็ได้ แต่ว่ามันก็แรงๆ แต่อย่างสุภาพอย่างจริงๆแล้วไม่ได้ฆ่าแกง ไม่ได้มีทุบมีถองกันหรอก พลังงานวิเศษ พลังงานของปัญญา ซึ่งเป็น ฌาน จนกระทั่งถึงบุญนี่สุดยอดปัญญาเลย แต่ไม่เรียกปัญญา ประเดี๋ยวจะกลายเป็นสภาพสมบัติ ปัญญาเป็นสมบัติแต่ว่าบุญไม่ใช่เป็นสมบัติ เพราะฉะนั้น ปุญญะ ถึงเข้าใจยากเพราะมันมีหน้าที่เดียว เป็นหน้าที่เพชฌฆาตมือสุดท้าย ฌานเป็นเพชฌฆาตมือ 1 มือ 2 มือ 3 ส่วนมือ 4 มือสุดท้ายเป็นขั้นบุญก็ได้ หรือว่าบุญจะเป็นมือที่ 5 ก็ได้ เพราะฉะนั้นในพระอภิธรรมบางทีก็แยกเป็น 5 เป็นฌาน 5 ไม่ใช่แค่ฌาน 4 จัดการตัวนี้อย่างไรอย่างไร กิเลสก็ต้องตายเด็ดขาดตายไม่มีฟื้น ตายเป็น นิจจัง(เที่ยงแท้) ธุวัง (ถาวร) สัสตัง(ยืนนาน) อวิปริณามธัมมัง(ไม่แปรเปลี่ยน) อสังหิรัง(ไม่มีอะไรหักล้างได้) อสังกุปปัง(ไม่กลับกำเริบ) ตายเด็ดขาด นี่คือภาษาที่เอามาสื่อสภาวะ ผู้ใดปฏิบัติถูกปฏิบัติตรงปฏิบัติสำเร็จก็ได้สภาวะนั้น มีสภาวะนั้นขึ้นมาในตน เอาตั้งแต่โลก หยาบๆ ที่ใช้ภาษาว่าอบายมุข มุขคือหัวหน้าเลย หรือหยาบๆต่ำของใคร เราก็ต้องรู้ของเราเอง ไปติดในเรื่องอบายมุข 6 อบายมุข 4 ท่านก็มีตัวอย่างแยกแยะไว้ อย่างนั้นเป็นต้น เราก็รู้ว่าเราไปติดไปเลอะในวงวนวัฏฏะ โลกนั้น ไปวนเวียนเสพกับสิ่งนั้นสิ่งนี้แล้วเกิดสุขเกิดทุกข์ จนกระทั่ง ว่า ปัดโธ่เอ๊ย สิ่งเหล่านี้ไม่ต้องไปสัมผัสก็ได้ ไม่ต้องไปวนเวียนกับมันก็ได้ มันก็มีอยู่สำหรับคนที่ติดยึด ถ้าเกิดปัญญารู้ว่าเราไปเสพรสชาติ สุขๆทุกข์ๆ แยกกันไม่ออก อันนี้ก็ยาก พวกสุขนิยม ไม่เรียนทุกข์เลยนี่พูดกันอย่างไร อย่างไรก็ยาก แค่พยัญชนะ สุขทุกข์ก็ตัวหนึ่งก็พอรู้ แต่เข้าไปหาอารมณ์จริง เขาไม่รู้ แวบใด ที่มันไม่ได้ดั่งใจก็ทุกข์ หยาบบ้าง ขนาดหยาบๆเขาก็ยังไม่รู้เลย เสพสุขอย่างหยาบ เขาก็ยังไม่รู้ อาตมาก็ว่า พูดละเอียดหมดแล้วก็วน มาขยายความพวกนี้ไป เพราะฉะนั้นคำว่าวิญญาณ นี้แยกออกมาเป็น เวทนา สัญญา สังขาร ส่วนวิญญัติคือ การเคลื่อนที่ไปมา กายวิญญัติ ไม่มีความรู้สึก ไม่เกี่ยวข้องกับเวทนา สัญญา สังขาร ไม่เป็นวิญญาณ เพราะฉะนั้นคนไม่รู้ก็ไปนั่ง บอกว่าสงบหยุด หยุดอะไร หยุดการเคลื่อน กายสงบก็หยุดการเคลื่อนของร่าง นิ่งเฉยหยุดเข้าไป หยุด กายสังขารังปัสสัมภรัง คือปฏิบัติให้สงบทางกายสังขาร เขาก็หยุดกาย ให้หยุด ยังหยุดไม่ได้ก็ช้าลง ก้าวหนอ ย่างหนอ ก็ไปฝึกฝนอยู่แต่การเคลื่อน ไม่ได้มีการหยั่งรู้เข้าไปถึงตัวอาการของจิตเจตสิกต่างๆ มันยังไม่เข้าถึงปรมัตถ์ ไม่เข้าถึงจิตเจตสิกรูปนิพพาน มันไม่เป็นอภิธรรม มันไม่เข้าถึงจิต มันมีแต่การเคลื่อนภายนอก ทางกาย ทางวาจา มันไปเพียรข้างนอก เพราะฉะนั้นเขาก็ให้มันหยุดข้างนอกเฉยๆ สะกดเอาไว้ ระงับเอาไว้อย่าให้มันเคลื่อนเป็นวิญญัติ ปฏิบัติอยู่แค่ส่วนภาควิญญัติ เข้าไปไม่ถึงวิญญาณ เพราะฉะนั้นคำสองคำนี้ วิญญาณกับ วิญญัติ ถ้าไปเห็นความต่าง ลิงคะหรือเพศ ของมันให้ได้แล้วรู้ตัวเอง เราอย่าไปหลงแค่การเคลื่อน เราทำไม่เคลื่อนได้ ถือว่าบรรลุธรรม ก็บรรลุธรรมอย่างหนึ่ง บรรลุมี วสวัตตี มีอำนาจทางจิตที่จะทำให้มันไม่เคลื่อน ให้มันระงับให้มันไม่เคลื่อน มันไม่ไปตีหัวคนได้เก่ง ก็ทำการไม่ฆ่าสัตว์ได้ แต่ไม่ฆ่าสัตว์เพราะมันเกิด ญาณหรือปัญญา ไปรู้ว่าไปฆ่าเขามันไม่ดีนะ มันไม่เกิดเมตตา ไม่รู้ด้วยสติปัญญาว่า เขาก็ชีวิต เราก็ชีวิต หวังประโยชน์เพื่อสัตว์ทั้งปวงอยู่ มีความเอ็นดูมีความกรุณาจริง มันก็ละเอียดเนาะ แต่ค่อยๆศึกษาไป โดยเรียนรู้ตามลำดับ เกี่ยวกับสัตว์ อาตมาก็พูดไปหมดแล้ว สัตว์สุขสันต์วันเกิด happy birthday สุขภาพแข็งแรงปลอดภัยห่างไกลโควิด จิตใจแจ่มใส ไม่ต้องไปเสียเวลา แม้แต่คน เวไนยสัตว์พวกหนึ่งสอนไม่ได้ พวกนี้เป็น ปทปรมะ พวกเนยยเน่าๆ ใต้โคลนตมใต้โคลนมันพูดกันไม่รู้เรื่อง แล้วก็คัดคนที่พอพูดกันรู้เรื่อง ก็คัดจากเนยยบุคคลนี่แหละที่พอได้ ยิ่งเป็นวิปจิตัญญู เป็นผู้ที่ได้รับแสงสว่างขึ้นมาสักวันสองวันสามวันก็บาน หรือยิ่งเป็นอุคติตัญญู พรึ่บ บานเอง ไม่ต้องรับแสงก็บานก่อนแสงหรือแสงนิดเดียวก็บานได้เลย มันก็เป็นบารมีหรือว่าเป็นตามกรรมวิบากตามสิ่งที่แต่ละคนได้สะสมมา ตามตระกูลศรัทธาหรือ เจโตกับตระกูลปัญญาหรือ พุทธิจริต มันมี 2 ตระกูลจริงๆ ก็เห็นใจตระกูลเจโต ส่วนผู้ที่เป็นปัญญาก็จะรู้เร็วรู้รอบ รู้ชัดรู้ครบก่อน ส่วนสายเจโตเขาเป็นอย่างนั้นจริงๆอสงไขยแสนมหากัปก็บรรลุได้ อย่างที่ท่านแจกไว้ ปัญญาธิกะ 20 อสงไขยกับเศษแสนมหากัปก็เป็นพระพุทธเจ้าได้แล้ว ส่วนสายศรัทธาต้อง 40 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป ส่วนคนที่เพียร แล้ววกไปวนมา ไม่แม่นจะเป็นศรัทธาก็ไม่ใช่ปัญญาก็ไม่เอา กลับไปกลับมาก็เป็นวิริยาธิกะ ต้องใช้ความเพียรมาก ล่อเข้าไป 80 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป ท่านก็ทำเป็นอัตราส่วนให้เข้าใจเอาไว้ ในผู้พากเพียรปฏิบัติ ต้องรู้ตัวเอง แม้เป็นสายศรัทธาก็ต้องรู้พากเพียรไป 40 ก็ 40 ดีหน่อย 39 ดีหน่อย 38 ดีหน่อย 35 30 กัป พากเพียรเอาได้ เก่งสุด ก็ 20 กัป มันไปชี้ไประบุเอา ไปเป็นโดยที่ตัวเองไม่มีรากฐานมันไม่มีมูลมาเลย อย่างสายปัญญานี้มูลมาแต่เดิมเป็นปัญญา ก็เลือกได้อย่างไรเป็นของใครของมันแต่ละตระกูลแต่ละพันธุ์ มันมีพันธุ์ของตนเอง พระพุทธเจ้าก็ตรัสรู้อธิบายเอาไว้หมดเรียบร้อย ประเทศไทย แยกตระกูลไว้เป็นสองตระกูลเหมือนกัน ตอนนี้ก็ตระกูลเจโต ตระกูลศรัทธาเป็นพระสังฆราช ไม่ได้เอาสายพุทธิ สายปัญญา จริงนะเอาตระกูลศรัทธา ตระกูล เจโต เป็นสังฆราชนั้นถูกแล้วไม่เอาสาย พุทธิ สายปัญญา ถูกแล้ว ซึ่งยังไม่เข้าเกณฑ์ที่ถูกต้องสัมมาทิฏฐิในสายปัญญานั้นก็เลยยังไม่ขึ้น สายพุทธิสายปัญญามันเลยเถิดฟุ้งซ่านเกิน อย่างไทยนี่ ยกตัวอย่าง พูดตรงๆอธิบายเป็นวิชาการ ไม่ใช่เป็นการลบหลู่ไม่ใช่ไปข่มเบ่ง อย่างสมเด็จช่วง ธัมมชโย เป็นสายเฟ้อเกิน สายฟุ้งสายปัญญา สายพุทธิ แต่มันเกินมันผิดมันมากมาย เอาสิ่งที่มันไม่ใช่ก็เอามาใช่ เอาขยะมารวมเป็นสัจจะไปหมด ทีนี้ เมืองไทยเป็นเมืองพุทธที่มีสมเด็จพระสมภารเจ้าชัดเจน ได้สมเด็จสังฆราชอันนี้มาก็ชัดเจนดีกว่าเอาสายเลอะเทอะมา สมเด็จช่วงอกหักไปเลย นี่ก็เสียไปแล้ว ที่จริงสมเด็จช่วงเป็นเบอร์หนึ่งเลยนะ เป็นอาวุโสลำดับ 1 เรียกโดยศัพท์ว่า อาวุโสที่จริงเป็นภันเต คือ ถึงผู้ที่อยู่ลำดับ 1 ที่จะขึ้นมาเป็นพระสังฆราช แต่เสร็จแล้ว เอาสมเด็จพระสังฆราชอัมพรนี้มาซะ นี่เป็นสัจจะลงตัวที่ถูกต้องที่สุด ตามฐานะกาละเทศะ ที่ตรงสภาพจริงลงตัว อันนี้ก็เป็นเครื่องยืนยันเป็นอจินไตยอันหนึ่งที่อาตมารู้ชัด เมืองไทยไม่ผิดเพี้ยน ตรง เป็นไปอย่างถูกต้อง ดี นี่อาตมาวิจารณ์สิ่งที่สูง สู่ฟังในวันมาฆบูชาวันนี้ ฟังดีๆ ไม่ได้ไปตั้งใจลบหลู่แต่เป็นวิชาการเป็นความรู้ที่ต้องศึกษาให้เข้าใจชัดๆ มันยืนยันพิสูจน์ถึงว่าประเทศไทยยังเป็นเมืองพุทธที่ยังมีความถูกต้อง ความลงตัว ความไม่ผิดฝาผิดตัว มันไม่ใช่ แต่มันถูกต้องอยู่ มันลงตัวอยู่ ยุคนี้ของเมืองไทย เป็นยุคที่ยืนยันความเป็นรูปธรรม ที่ลงตัวที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นทางธรรมหรือทางโลก ยุคนี้ต้องเป็นเช่นนี้ อาตมาก็ขยายต่อไม่ออกแล้วว่าเป็นเช่นนี้คือเช่นใด แต่เป็นอย่างที่มีสภาวะจริงมีตัวบุคคลจริง มีสิ่งที่เกิดจริงเป็นจริงอย่างลงตัว ไอ้ที่ยังไม่ใช่ ต้องไม่ใช่ แม้แต่ในทางธรรมะทางศาสนา ใช่ ทางโลกทางนายกฯ ก็ใช่ ลงตัว ที่ภาษาไทยเราบอกว่า จะแข่งอะไรก็แข่งแต่แข่งบุญแข่งวาสนากันไม่ได้หรอก จริง… สู่แดนธรรม.. เป็นมาตั้งแต่สมัยสังคายนาหรือเปล่าครับ ว่าสายศรัทธา จึงมีคุณสมบัติในการรักษาศาสนาไว้ได้ คือพ่อท่านก็เคยบอกว่าทำไมพระมหากัสสปะได้มาเป็นประธานในการสังคายนาพระไตรปิฎก แม้แต่ในยุคปัจจุบันท่านสมเด็จพระสังฆราช ทำไมถึงต้องเป็นสายศรัทธา สายเจโต อันนี้มีส่วนจริงใช่ไหมครับ พ่อครูว่า… ใช่ๆ สัจจะนี้ต้องลงตัวกันเลยทั้งรูปธรรมและนามธรรม สัจจะไม่ผิดเพี้ยน รูปธรรมนามธรรมต้องลงตัวอย่างถูกฝาถูกตัว อาตมาเก่งแค่นี้อธิบายได้แค่นี้ วิญญาณวิญญัติในวิโมกข์ 8 หลักสำคัญคือจรณะ 15 วิชชา 8 วิชชาคือธาตุรู้ คือความรู้ คือความเฉลียวฉลาด ที่จะต้องแทรกเข้าไปรู้ ในรายละเอียดต่างๆ ที่เป็นที่มีที่เกิดได้ เพราะฉะนั้นถ้าผิดเพี้ยนไปตั้งแต่เบื้องต้น ไม่ยืนยันตั้งแต่ศีลเป็นหลัก เกี่ยวข้องกับคน สัตว์ โดยเฉพาะกับคนก็ย้ำแล้ว สัตว์เดรัจฉานก็ปล่อยไปตามยถากรรม แม้แต่เวไนยสัตว์ อเวไนยสัตว์ก็อย่าเพิ่งไปเสียเวลามาก เอาเวไนยสัตว์ ผู้ที่สอนกันได้พูดกันรู้เรื่อง เอาให้เป็นผู้ที่บรรลุธรรมให้ได้ แค่นี้ก็เหลือมือเต็มมือแล้ว ไม่ใช่เรื่องง่ายแล้ว ที่นี้ก็ต้องชัดเจนว่าสัตว์อย่างหนึ่งของอย่างหนึ่งไม่ว่าจะเป็นวัตถุจะเป็นพืช ที่ยังเป็นข้าวของยังไม่ใช่สัตว์ จึงเป็นศีลข้อที่ 2 ส่วนศีลข้อที่ 3 นั้น ยิ่งสัตว์หรือพืชมันไม่รู้เรื่องหรอก พืชหรือวัตถุ มันจะไปรู้เรื่องของรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสอะไร แม้แต่เป็นสัตว์มันก็ติดในรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส แต่มันไม่รู้เรื่อง เวไนยสัตว์ถึงจะรู้เรื่อง ขนาดคนแล้วเป็นอเวไนยสัตว์ยังพูดกันไม่รู้เรื่องเลยว่า คุณติดในรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสนะ อย่างมหาบัวนี่ติดในรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส ติดหมากพลู คือ รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสแท้ๆก็ไม่รู้ตัวว่า ติด แล้วมันจะไปสอนให้คนอื่นหลุดพ้นให้คนอื่นไม่ติด ก็ตัวเองยังไม่รู้ จะไปสอนได้อย่างไร เหตุไม่โทษอะไร โทษหลับตา หลับตาจากรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส เมื่อหลับตาก็ไม่ได้สัมผัสศึกษากับรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสจริงๆจังๆ แล้วจะรู้ได้อย่างไร ทั้งสายอาจารย์เสาร์อาจารย์มั่น มหาบัว อาจารย์เสาร์เป็นอาจารย์ของอาจารย์มั่น อาจารย์มั่นเป็นอาจารย์ของมหาบัว ไล่ลงมาตอนนี้ก็มีเยอะแยะ สายหลับตา อาตมาก็ไม่ได้ตีพวกสายหลับตา แต่พูดให้ฉุกคิดทบทวน แล้วก็เปลี่ยนแปลงแก้ไขเกิดปัญญาเกิดความรู้ที่จริงให้ได้ ว่าเราได้ไปงมโข่งกับสิ่งที่ผิด แล้วจะพัฒนาตัวเองให้เจริญอย่างไรได้ จึงได้แต่ซ้ำซากหนาเพิ่มขึ้น สิ่งที่เราติดเข้าไปเป็นก้อน แท่ง แข็ง ขึ้นไปเรื่อยๆ หนักเข้าหลับตาเป็นพญานาคอย่างที่อธิบายไปแล้ว กลายเป็นพญานาค สู่แดนธรรม… วันนี้พ่อท่านเอาคำว่า วิญญัติกับวิญญาณ มาให้ศึกษา พ่อครูว่า… วิญญาณเป็นนามธรรม วิญญัติเป็นแค่รูปเป็นแค่การเคลื่อนที่ ถ้าเข้าใจการเคลื่อนที่กับความรู้สึกความรู้ธาตุรู้ การเคลื่อนที่ก็คือการเคลื่อนของกายกับวจี เห็นชัดๆอยู่แล้ว แม้มโนเคลื่อนที่ก็เคลื่อนเหมือนกัน แต่มันไม่ใช่ธาตุรู้ วิญญาณเป็นธาตุรู้ จะรู้สึกรู้จริงรู้รายละเอียดอะไรก็แล้วแต่ รู้เข้าไปในตัวรู้ ไม่ใช่ว่า เคลื่อน ถ้าแยกแยะการเคลื่อนกับการรู้มันต่างกัน ถ้าแยกอย่างนี้ไม่ได้ก็ไปงมโข่งอยู่กับ เคลื่อน สงบเพราะหยุดเคลื่อนไม่ใช่รู้กิเลส ทำให้กิเลสหมดไป วิญญาณคือธาตุรู้ยิ่งคล่องแคล่วว่องไว ไม่ใช่ไม่เคลื่อน ยิ่งทำงานได้แคล่วคล่องอย่างเป็น มุทุภูตธาตุ กายปาคุญญตา จิตปาคุญญตา ปาคุญญตา แปลว่าแคล่วคล่องว่องไว อย่างนี้แยกความต่าง สำคัญจริงๆคือความต่าง ถ้าแยกความต่างนี้ มันยิ่งละเอียดเป็นความต่างที่ยากที่จะรู้ ถ้าแยกความต่างนี้ไม่ออก ไม่มีทางที่จะเรียนรู้อะไรได้ เช่น เทวะ แปลว่า สอง แยกสองไม่ออก เทวะแปลว่าสภาพสอง เมื่อเป็นวิญญาณเมื่อเกิดมาเป็นคนจะต้องมีธาตุรู้กับสิ่งที่ถูกรู้ เรียกว่ารูปกับนาม แยกรูปแยกนามไม่ออก รูปเป็นสิ่งที่ถูกรู้ นามเป็นตัวที่ไปรู้รูปนั้น รูปีรูปานิ ปัสสติ รูปี รูปานิ เป็นสองคือสิ่งที่รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ คุณอย่าสลับกัน รูปี เป็นผู้รู้ รูปานิเป็นสิ่งที่ถูกรู้ รูปานิ สิ่งที่รู้ก็ได้หรือ รูปี เป็นสิ่งที่รู้ กับรูปานิ คือสิ่งที่ถูกรู้ก็ได้สลับกันไปสลับกันมาก็ได้ อย่าสับสนสภาวะก็แล้วกัน เสร็จแล้วมันเกิดปัสสติการรู้การเห็นที่มีตาหูจมูกลิ้นกายด้วย รู้การเห็น ไม่ใช่รู้แต่เฉพาะอยู่ข้างในอันเดียว นี่ วิโมกข์ 8 ข้อที่ 1 รูปี รูปานิ ปัสสติ ข้อที่ 2 อัชฌัตตัง อรูปสัญญี เอโก พหิทา รูปานิ ปัสสติ อัชฌัตตัง แปลว่าภายใน พหิทา แปลว่าภายนอก อรูปสัญญี แปลว่าผู้กำหนดรู้ ถึงขั้นภายในถึงขั้นอรูป โดยที่ไล่ไปจากพหิทา รูปานิปัสสติ รู้รูปแต่ภายนอกไป เรียนรู้ไปตามลำดับ จากหยาบภายนอก จนหมดกิเลสภายนอกเหลือกิเลสภายในเป็นรูป จะมีสาม กาม รูป อรูป อันกลางก็รูป ต้องลดกิเลสในรูปก่อน สุดท้ายคืออรูป ท่านก็สั้นๆ ละไว้ในฐานที่เข้าใจรวมเป็นสูตรอยู่ในวิโมกข์ 8 มันก็ยากสำหรับคนที่ไม่มีรายละเอียดยังทำไม่ได้จนกระทั่งหมดกามภายนอกหรือภายในเป็นรูปก็ทำรูปต่อให้หมดไป กิเลสขั้นรูป แล้วเหลือแต่อรูป ก็ทำอรูปให้หมดไปอีกใน อัชฌัตตัง ในภายในหมดจดเป็น 3 เส้า กาม รูป อรูป ก็ครบ ส่วนวิโมกข์ข้อที่ 3 นั้น สุภันเตว อธิมุตโตโหติ พยัญชนะบาลีมีแค่นี้ สุภันเตวะหรือสุภะ อันเตวะ คือ อันตะ แปลว่าที่สุด ที่สุดของอันนั้น(เอวะ) อะไร อันที่เราจะต้องจัดการ ทำให้ดีที่สุด จะดีสุดได้ คุณต้องมีทิฏฐิสัมมา ยืนยันอันที่ 3 ยืนยันวิโมกข์ข้อที่ 3 ด้วยทิฏฐิที่ต่างกัน ถ้าหากทิฏฐิต่างกันก็คนละเรื่องคนละพวกแล้ว ถ้าหากทิฏฐิตรงกันก็จะเป็นอันเดียวกัน สิ่งที่น่าได้ น่ามี น่าเป็น เรียกว่า สุภะหรือดีแท้ มันจะทำตรงนี้แหละ เช่น สุภกิณหา เอาอาภัสราก่อน ใน วิญญาณฐีติ ข้อที่ 3 จะอ่านอาภัสรา โดยมีกายอย่างเดียวกัน แต่สัญญาต่างกัน อย่างธรรมกายนี่ กายของเขาใสๆๆๆ ลืมตาเขาก็ใส ๆๆๆหลับตาเขาก็ใสๆๆๆ เอาใสไปกำหนด ใสๆเขาเอาแต่อย่างใสๆๆๆ เขาก็ได้อาภัสราใสอย่างเดียว ไม่มีกิณหา ไม่แยกไม่ออก แยกความมืดความดำไม่ออกเลย ทิ้งความมืดความดำเอาแต่ใสๆๆ กลายเป็นกายอย่างเดียวกันเอาแต่ใส แต่สัญญาณมันคนละอย่าง คนนี้ก็กำหนดของตนเองคนนั้นก็กำหนดของตนเองแต่ก็โมเมเป็นสัมโภคกาย ใส ทั้งข้างนอกข้างใน ใสๆๆ มันก็เป็นความจริง สู่แดนธรรม… เคยฟังอาจารย์ของเขาบอกว่าโสดาบันก็ใสขนาดนี้ แต่อาจารย์บอกใสขนาดนี้ แต่ลูกศิษย์ก็ไม่รู้ว่าใสขนาดไหน แต่มีขีดให้รู้ว่า โสดาบันจะใสไม่เท่าสกิทาคามี พ่อครูว่า… วิโมกข์ 8 ข้อที่ 3 อาภัสรา ส่วนมาเป็นอันที่ 4 นี้ยากกว่าอันที่ 3 สุภกิณหา ยินดีในความมืด อันนี้ไม่ใช่พวกใสแล้วเป็นพวกมืด พวกที่ไม่รู้เรื่องความมืดหลับตาไปซึ่งต่างกันกับสายธรรมกายที่ลืมตา เรียกว่าพวกตาบอดตาใส คือ ถ้าคนตาบอด ตามันไม่ใสมันจะขุ่นก็รู้ว่าตาบอด แต่นี่เหมือนคนตาดีเลยนะ ตาใสบ้องก้องเลย แต่มันบอด มันไม่เห็น ก็เลยลวงคนเก่ง หลอกคนเก่ง พวกตาบอดตาใสหลอกคนได้เต็มบ้านเต็มเมืองเลย เห็นไหม…สัจธรรมมันเป็นอย่างนั้น เลยได้พวกมาก เพราะคนยุคนี้คนฉลาดน้อย แต่พวกมากเป็นสัญชัยเวลัฏฐบุตร พระสารีบุตรชวนมาหาพระพุทธเจ้าก็ไม่มา จะอยู่กับพวกมาก อยู่กับสัญชัยเวลัฏฐบุตร เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิดจริงในยุคนี้เกิดจึงมีจริงมีธัมมชโย ชื่อจริงเขาชื่อ ไชยบูลย์ เดี๋ยวนี้เป็นสมีไปแล้ว แต่เขาก็ไม่ยอมรับหรอก พวกมากก็ว่ากันไป จนกระทั่งพระสังฆราช ท่านลงไปด้วยพระลิขิตถึง 4-5 แผ่นว่าปาราชิก เป็นสมี คนที่มันงมงายก็งมงายกันอยู่อย่างนั้นก็เชื่อว่าเป็นอาจารย์ผู้รู้ผู้ใหญ่ เดี๋ยวนี้ก็ยังไม่รู้ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร เก่งที่ปิดบังข่าวคราวได้ แต่ยังมีกิจกรรมกิจการอะไรกันอยู่ในที่เขา วัดธรรมกายเขายังมี ก็ปล่อยไป วิบากใครวิบากมัน วิญญัติ วิญญาณ ในปฏิจจสมุปบาท ชาติ 5 เข้ามาสู่ วิญญาณกับวิญญัติ วิญญาณคือธาตุ วิญญัติคือรูป รูปะรูปัง เป็นอาการเคลื่อนของนามธรรม วิญญัติ แม้แต่กายกับวาจา เราก็ยังไม่ถือเป็นมโน เน้นมาสู่กายกับวาจา แต่ที่จริง กายกรรมกับวจีกรรมมันขาดนามธรรมไม่ได้หรอก เคลื่อนไหวทางกายกรรมก็มีนามธรรมมาเกี่ยว เคลื่อนไหวทั้งวจีกรรมก็มีนามธรรมมาเกี่ยว แต่แยกให้ชัดเจนว่า 1 นั้น กายก็ส่วนหนึ่ง วจีก็ส่วนหนึ่ง แบ่งเป็น 3 กาย วจี มโน ถ้าแยก กาย วจี มโน ไม่ได้ก็สับสนตายเลยเรียนธรรมะพระเจ้าไม่ได้ ต้องแยก กาย วจี ภายนอก มโน ก็ต้องควบคุม กาย วจี อยู่ตลอด มโน จะต้องเป็นภายในหมดเลย มนายตนะ ธรรมายตนะ มโนหรือจิตวิญญาณ เกี่ยวพันกันหมดต้องเป็นสอง สภาพ 2 ที่แยกไม่ได้เรียกว่า เทวะ แยกมาเป็นกายก็เป็นรูปเป็นนามเป็นสภาพ 2 การเรียนรู้การแยก 2 ออกไปแต่ละอย่างก็เป็นหนึ่ง กับหนึ่ง แล้วรู้ว่า 1 กับ 1 มันต่างกันนะ อันหนึ่งเป็นรูป อันหนึ่งเป็นนาม หนึ่งเป็นภายนอกหนึ่งเป็นภายในเป็นต้น 1 ชีวะ 1 ไม่มีชีวะ นี่เป็นกายแล้วนี่ไม่เป็นกาย โดยเฉพาะกายนี่ คำใหญ่ ถ้ายืนยันว่ายังมี กายอยู่ จะต้องมีจิตอยู่ในกายนั้น ถ้าไม่มีจิตไม่มีเจตสิกไม่มีธาตุรู้เข้าไปร่วมด้วยเลย สิ่งนั้นก็ไม่ใช่กายแล้ว ตัวที่ไม่ใช่กายแล้วนี่แหละคือตัวหมดเวทนา หมดวิญญาณ ไม่ใช่กายแล้วไม่มีเวทนาไม่มีความรู้สึกไม่เป็นธาตุรู้องค์รวมแล้ว แต่สามารถมีธาตุรู้ได้ เป็นธาตุรู้ขั้นพืช มีสังขารกับมีสัญญา ตัวกำหนดรู้เรียกว่าสัญญา ปรุงแต่งกันอยู่เรียกว่าสังขาร เช่น พืชมันกำหนดรู้ในตัวมันเอง แล้วมันก็ปรุงแต่งตัวมันเองอยู่ เช่น กระเทียมหัวใหญ่งามแท้ ทั้งหอม กระเทียมพืชพันธุ์ธัญญาหารของเรา เราก็ดูตามรูปร่าง นี่ก็ภาษาจีนเขาเรียกหัวไชเท้าหรือภาษาไทยเรียกหัวผักกาด หัวมันกับผักกาดต่างกัน คนแยกออก ก็แยกความต่าง ลิงคะ การแยกความต่างนี่แหละ เป็นเรื่องใหญ่ที่สุดเลย แยกรูปแยกนาม แยกกายแยกจิต แยกเทวะ อเทวะ แยกสุขแยกทุกข์ แยกสภาพ 2 ออกได้ แต่เราก็ไม่ได้ไปลบหลู่ดูถูก รังเกียจสภาพ 2 เพราะมันต้องมีสภาพ 2 อยู่ตลอดหมดเลยก็อาศัยสภาพ 2 นี่แหละอยู่ในโลก สุดแห่งที่สุด ของสภาพ 2 ก็คือความมีกับความไม่มี เราก็เป็นได้ทั้งสองเป็นมีก็ได้ไม่มีก็ได้ เมื่อไหร่เราจะมีก็ไปมี เมื่อไหร่เราจะไม่มีก็ไม่มี อาตมายังไม่เก่ง ตอนนี้พยายามจะมีอร่อย โดยเฉพาะการกินอาหาร เพราะว่าจะต้องให้ธาตุขันธ์มันกินด้วยอร่อยจะกินได้เยอะ จะกินได้เร็วด้วย แต่อันนี้โอ้โห 3 ชั่วโมง เจ้าประคุณ กว่าจะกินเสร็จอย่างกับเข้าสนามรบ พูดเรื่องนี้มานานแล้วฟังแล้วก็ซ้ำซากแต่ไม่ได้แกล้ง รู้อยู่ว่ามันไม่ได้เสแสร้ง พูดไปแล้วเหมือนไม่มีเลย รสชาติรู้ตามเขาได้ทุกอย่างแต่อัสสาทะความอร่อยไม่มี พยายามฟื้นมันขึ้นมาอยู่ ให้มันมาช่วยหน่อย ช่วยเรา เราจะได้เร็วขึ้นจะได้รู้สึกว่าไม่ต้องเข้าสู่สนามรบอะไร อย่างทรมานทรกรรมอะไรนัก อธิบายสภาวะหยิบมาอธิบายสู่พวกเราฟัง โดยที่อาตมาไม่ต้องไปแกล้งเสแสร้ง แต่มันเป็นจริง เชื่อว่าสักวันคงเป็นได้ เสร็จแล้วก็ต้องมาล้างมันอีกนะ ที่จริงอาตมาเป็นโพธิสัตว์นะ ถ้าตายโดยไม่มีสิ่งนี้ก็ไม่มีปัญหาอะไร สบาย โดยไม่ติดไม่ยึดไม่เหลือค้างอะไรเลย รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ไม่ติดค้างอะไรเลย มันก็สบาย แต่มันจำเป็นจะต้องมามีเพื่อจะสอน เพื่อที่จะยืนยัน เพื่อจะอธิบาย กลับไปกลับมาจากความมีกับความไม่มี ตกลงมันไปจบที่ความยึดกับไม่ยึด อุปาทาน คำว่าอุปาทานนี่แหละ เป็นตัวหลักมากเลยในปฏิจจสมุปบาท อวิชชา สังขาร วิญญาณบวชนามรูป อายตนะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ตัณหา อุปาทาน ภพ สามเส้า ตัณหาคือความเคลื่อน อุปาทานคือความนิ่งหยุด ถ้าไม่รู้มันก็ปรุงแต่งกันอยู่ ความเคลื่อนกับความยึด ปรุงแต่งกันอยู่ มันก็สมบูรณ์แบบเป็น ภพ อยู่เป็นตัวที่ 3 เป็นภพเป็นชาติ ชาติคือตัวเกิด ภพเป็นแดนเกิด ชาติเป็นตัวสภาวะนามธรรมเกิด ภพเป็นสภาวะแดนเกิด พื้นที่สถานะให้มันเกิด ถ้ามีอยู่มันก็ โศก ปริเทว ทุกข โทมนัสอุปายาสะ ถ้าหากดับชาติได้ ผู้นี้รู้จักความเกิดความดับ ชาติ สัญชาติ โอกกันติ นิพพัตติ อภินิพพัตติ เป็น 5 สภาวะ ความเกิด 5 ประการ ชาติคือความเกิดที่เป็นภาษารวม สัญชาติคือมันเกิดขึ้นมาก็จำที่มันเคยเกิดได้ จำได้ก็เป็นของเก่า เป็นไปตามอัตโนมัติด้วยสัญชาตญาณ เกิดมาที่จำได้ก็ทำได้เลย คนหรือสัตว์เกิดมาก็มีสัญชาตญาณ สัตว์เดรัจฉานเลี้ยงลูกด้วยนม เมื่อเกิดออกมาก็หานมแม่ดูดเป็นธรรมชาติ เป็นสัญชาตญาณ โอกกันติ คือพลังงานที่หยั่งลง เป็นการเกิดหยั่งลง เพิ่มขึ้นมาใหม่ในปัจจุบัน ถ้าไม่มีการเลือกหรือไม่มีตัวแยกได้ว่า อะไรที่สะสมลงมาเกิดมา แยกเอาที่ดี อย่าไปเอาที่ไม่ดี แยกเอาที่เป็นโลกุตระอย่าไปเอาโลกียะ คุณแยกไม่ออก คุณก็รับเละไป ยิ่งไม่มีโลกุตระเลยคุณก็ได้แต่โลกียะ ยิ่งไม่รู้ดีเลยรู้แต่ชั่วคุณก็ได้ หยั่งลงแต่ชั่วๆๆ ต้องแยกให้ออกว่ามีดีมีชั่ว อย่าเอาชั่วเอาแต่ดี จนกระทั่งมีภูมิธรรมขั้นโลกุตระ รู้โลกุตระ เลิกโลกียะ มาเอาแต่โลกุตระ นี่ ใช้พยัญชนะดูความต่างระหว่างสิ่งสองสิ่ง ผู้ที่แยกโลกียะโลกุตระ เลิกโลกียะได้เอาแต่โลกุตระนั่นคือเริ่มมี นิพพัตติ คือรู้จักกันเกิดโลกุตระแล้วทำให้การเกิดโลกุตระ แต่มันไม่เก่งก็มีโลกียะอยู่ ทำให้เก่ง ทำให้โลกุตระเจริญงอกงามไพบูลย์ขึ้นเรื่อยๆ จนที่สุดเรียกว่า อภินิพพัตติ ตัวที่ 5 เป็นการเกิดที่สูงสุด อภินิพพัตติ ที่พูดเป็นภาษาไปอาการกิเลสคืออย่างไรนี้ให้รู้อาการจิตเรา เช่นกิเลสมันเกิดหรือกิเลสมันจางคลาย หรือว่ากิเลสมันดับ เราก็ต้องรู้ว่าอาการกิเลสคืออย่างไร ตัวตนของกิเลสคืออย่างไร เช่น กามคุณ 5 มันเป็นอาการอย่างไร กระทบทางตา เอาละ..ดูด กระทบทางหูก็ดูดเอาแต่ที่ชอบๆ กระทบทางจมูกลิ้นกาย ดูดเอาที่ชอบ คุณก็เต็มไปด้วย กาม คุณไม่รู้หรือรู้แต่มันชอบ คุณก็เป็นตัวกาม เก่งที่สุดเขาเรียกว่ากามเทพ เทวฺะเจ้าของกาม มีลูกศรที่ทำด้วยเกสรดอกไม้หรือหยาดน้ำผึ้ง มันเป็นภาษา คนจะหลงหยาดน้ำผึ้ง เกสรดอกไม้ที่มันหอม คนก็หลงเหล่านี้ก็คือกามนั่นเอง หอมหวาน กามเทพ เพราะฉะนั้นเราอย่าไปหลงติดยึดพวกนี้ มันมีรูปตามความเป็นจริง มันก็เป็นรูปของมัน มันมีกลิ่นตามความเป็นจริง มันก็เป็นกลิ่นของมัน มันจะเป็นเสียงก็ตามมันก็เป็นเสียงของมัน มันเป็นรส แตะทางลิ้นมันก็เป็นตามที่มันเป็น สัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็งอย่างไรมันก็เป็นตามที่มันเป็น เราก็รู้ความจริงตามความเป็นจริงว่ามันเป็นอย่างนี้พอ ถ้าไปเอียง ดูด เอียงผลักไปเอียงผลัก คุณมีดูดมีผลักคุณมีอย่างมากก็ยิ่งเป็น กาม เป็นปฏิฆะ มากเท่าที่คุณมีจิตเป็นจริงคุณก็เป็นจริงๆ คุณเข้าใจแล้วคุณเอาออกเรียกว่า เนกขัมมะทำออก อย่าให้มันดูดอย่าให้มันผลักมาก แต่มันมีอยู่ในโลกนี้แหละ เราก็อาศัยมัน รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสก็อาศัยมันทั้งนั้น สักแต่ว่าอาศัย เพื่อยังขันธ์ยังชีพไปเท่านั้น ในนามธรรมในรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสเราไม่ดูดเราไม่ผลัก ก็ต้องเข้าใจอาการที่ไม่ดูดและไม่ผลัก เป็นกลางๆ เรียกว่าอุเบกขาหรือไม่บำเรอสุข ไม่บำเรอทุกข์ ไม่เป็นสุขไม่เป็นทุกข์ ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ กลางๆ ภาษาเรียกว่ากลางๆ กลางๆก็คือ ความบริสุทธิ์จากผลักหรือดูด กลางๆก็คือความบริสุทธิ์ไม่มีผลักไม่มีดูดไม่ไปเอียงข้างนั้นข้างนี้ รู้ครบทุกอย่างเรียกว่าผู้เป็นกลาง มัชฌิมาหรือ อนุปคัมมะ เป็นผู้ที่มีพลังมีอิทธิพล มีอิทธิพล มีอำนาจควบคุมให้มีหรือไม่มีได้อยู่เหนือมันได้ อนุปคัมมะ เป็นผู้ที่เป็นกลาง รู้สองอย่างมีสองอย่าง ยังไม่ตายยังไม่ดับธาตุรู้ ยังไม่แยกธาตุรู้เป็นดินน้ำไฟลมมันก็รู้ความจริงของสองหรือเทวะนี้ตลอดเวลาแล้วเราก็ไม่ไปเข้าข้างไหน ไม่เกิดข้างไหน จะอาศัยมี อาศัยไม่มี ได้ เป็นผู้ที่มีอิทธิพล มีพลังงานอยู่เหนือ วสวัตตีหรืออภิภุยยะ มีพลังเหนือมัน อยู่เหนือมันได้ นี่เอา อภิภายนตะ 8 มาขยายความเพิ่มเติมวันมาฆบูชา นิมนต์พ่อครูจิบน้ำ สู่แดนธรรม.. พ่อครูพูดวันนี้ให้รู้จักความเคลื่อน จากสิ่งหนึ่งไปสู่สิ่งหนึ่งก็คือความเคลื่อน สมัยผมไปอยู่กับพระป่า ท่านจะไม่ให้จิตเคลื่อนออกมา ให้หยุดคิด การเข้าฌานคือเพ่งไม่ให้มันเคลื่อนให้มันสงบ ถ้ามันเคลื่อนก็หยุดมัน ในองค์ฌาน 1 ท่านบอกว่า ถ้ามีวิตกวิจารคือหวั่นไหวคือเคลื่อน ผมก็คิดว่าถ้าไปคุยกับตัวเองก็ คือ การเคลื่อน พ่อครูว่า… จมอยู่กับการเคลื่อนมีแต่ วิญญัติ ไม่เข้าถึงวิญญาณมีแต่งมงายอยู่กับการเคลื่อนทางรูปธรรม ไม่เข้าถึงจิตเจตสิกรูปนิพพานยังไม่เข้าถึงวิญญาณ วิตกวิจาร เป็นฌานที่ 1 วิตกคือธาตุดำริ วิจาร คือถ้าพิจารณาแล้ว วิตกคือดำริขึ้นมาแยกแยะเอากิเลสออกมาให้ได้ จากธาตุแท้กับธาตุที่มีกิเลสแยกให้ออก แล้วก็รู้ให้เท่าทัน ไอ้เจ้ากิเลสมันจะไม่รอหน้าปัญญาเลย พลังปัญญานี้เจอกิเลสแล้ว เจอปัญญามันก็รีบไปเลย กิเลสมันกลัวปัญญา ปัญญามีฤทธิ์มีสิ่งวิเศษมีอิทธิฤทธิ์มีพลังวิเศษ อันนี้เป็นสัจจะใช้ภาษาสื่อเท่านี้แล้วมันมีจริงๆ ถ้าหากธาตุปัญญาเกิดจริงแล้ว กิเลสเห็นหน้าปัญญา รีบหายตัวไปทันทีเลย ไม่รอหน้าเลย สู่แดนธรรม.. พ่อครูว่า… มันต้องรู้ความเป็น 2 และเลือกเอาความเป็น 1 ให้ได้สำเร็จ ภาษาก็คงมีได้แค่นี้ ว่า ต้องเป็น 1 อย่างนี้ถึงจะถูกต้อง เป็น 2 มันยังไม่หยุด มันยังเคลื่อน เพราะฉะนั้นอยากหยุดก็ต้องเลือกเอาความเป็น 1 แต่ถ้าให้เป็น 2 คุณก็ปรุงแต่งเป็น2เป็น3เป็น4เป็น5 ก็รู้ความจริงของความเคลื่อนกับความหยุด สู่แดนธรรม.. แสดงว่าเราศึกษาเรื่องของความเคลื่อนมากกว่า พ่อครูว่า… อันนั้นเป็นเรื่อง Dynamic เป็นเรื่องที่มันอยู่ในโลก มันต้องรู้แล้วก็จัดการให้มันได้ ไม่ให้เคลื่อนได้ เคลื่อนได้ หรือพยัญชนะอีกอย่างคือ ให้มันมีก็ได้ให้มันไม่มีก็ได้ สูงขึ้นไปคนนั้นก็ใช้คำว่ามีและไม่มี สู่แดนธรรม.. แม้แต่คำว่า เจริญธรรม เจริญคือเคลื่อน พ่อครูว่า… ธรรมะคือทรงไว้แล้วหยุด สู่แดนธรรม.. แต่ถ้ามันยังไม่ถึงที่สุดก็ต้องเคลื่อนต่อไป พ่อครูว่า… ก็ต้องให้มันมีต่อและควบคุมการมีและควบคุมการไม่มีได้เป็นที่สุด ผู้ที่สามารถควบคุมการมีและไม่มีได้เป็นที่สุด ยังมีอำนาจมีพลัง วสสัตตี จะให้มีก็ได้ไม่มีก็ได้ สรุปลงไปอีก จะให้ตายก็ได้ ให้ยังไม่ตายก็ได้ เรียกว่า อมตะบุคคล ความจบที่ใช้พยัญชนะว่า อมตะบุคคล ฝ่ายเทวนิยมเขาแปลว่าไม่ตายนิรันดรเลย อมตะบุคคลคือ บุคคลที่ไม่ตายนิรันดร แต่ของพุทธนั้นอมตะบุคคลคือ ให้ตายก็ได้ ไม่ให้ตายก็ได้ แต่เทวนิยม ไม่เข้าใจรายละเอียดทั้งหมดครบเขาก็จะเป็นหนึ่งเดียว อมตะคือไม่ตาย เอาพยัญชนะ อ แปลว่าไม่ มตะ แปลว่าตาย อมตะแปลว่าไม่ตาย เขาเข้าใจอันเดียวอย่างนั้น แต่ของพระพุทธเจ้า อมตะบุคคลคือผู้ที่รู้ความเป็นความตายทำความเป็นความตายได้ จะทำความตายก็ได้และตายอย่างปรินิพพานเป็นปริโยสาน ตายอย่างแยกธาตุจิตออกไปเลยแล้วจบกันเลย เรียกว่า จบสูงสุดแล้ว แยกธาตุไปเป็น ดินน้ำไฟลม แยกแล้วแยกเลย เอามารวมตัวกันอีกไม่ได้แล้ว อัตภาพหายไปแล้ว อัตตาหายไป ตายตอนแยกก็ดีแล้วนี่แหละคือความจบแห่งที่สุดของที่สุดของจิตวิญญาณ ถึงพิสูจน์ได้ว่า วิญญาณไม่ใช่ของพระเจ้า ที่มีอยู่ยังไม่รู้จักตาย เป็นธาตุรู้ที่ไม่รู้จักจบ แต่ของพระพุทธเจ้า ศาสนาพุทธทำลายธาตุรู้ที่เป็นนิรันดรนี้ได้ หมดสูญเป็นดินน้ำไฟลม เพราะฉะนั้นตายแล้วไม่ต้องไปอยู่กับพระเจ้า พระเจ้าก็เด๋อเลยว่าพวกนี้ขบถ พวกขบถ พวกนี้คือ พวกมีอิสรเสรีภาพสมบูรณ์ ไม่เป็นทาสของพระเจ้า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ในอนาคตที่เทวนิยมมีมากในโลก คนที่เป็นเทวนิยมยังไม่รู้แบบพุทธ ยังไม่รู้สมบูรณ์แบบจนกระทั่งทำลายวิญญาณได้ ทำลายพระเจ้าได้ พระเจ้าของเขาไม่มีใครทำลายได้แต่ ศาสนาพุทธทำลายพระเจ้าได้ อันนี้แหละอนาคตจะเป็นเรื่องพอสมควร เป็นแต่เพียงว่าตอนนี้ ไม่มีใครจะไปรู้สึกไปรุกรานความเป็นพระเจ้าของเขา ที่จริงเราไม่ได้ไปรุกราน แต่เรารู้ความจริง ถ้าคุณจะไปยึดความมีไปตลอดนิรันดร์ คุณก็ยึดของคุณเท่านั้นยึดเข้าไปและคุณก็มี ผู้ที่มายึดแล้ววางเลยแล้วทำให้สลายเป็นดินน้ำไฟลมได้ เมื่อสลายเป็นดินน้ำไฟลมได้แล้ว วิญญาณพระเจ้าจะมาจัดการกับดินน้ำไฟลมโดยที่ตัวเองหลงว่าตัวเองเป็นผู้สร้างดินน้ำไฟลม ทำไม่ได้หรอก เป็นแต่เพียงโวหารภาษาว่าพระเจ้าสร้างดินน้ำไฟลมพระเจ้าสร้างทุกสิ่งทุกอย่าง เราก็ยืนยันว่าแล้วพระเจ้าสร้างซาตานทำไม เขาว่าไม่ได้สร้าง แล้วทำไมซาตานมันยิ่งใหญ่อย่างไรพระเจ้าทำไมไม่จัดการซาตานให้หมดเลยเสีย ก็บอกว่าจัดการไม่ได้เพราะไม่รู้จักซาตาน แท้จริงแล้วซาตานก็คือตัวเองนั่นแหละ สู่แดนธรรม… สรุปจบ Category: ศาสนาBy Samanasandin16 กุมภาพันธ์ 2022Tags: พุทธศาสนาตามภูมิวิถีอาริยธรรม Author: Samanasandin https://boonniyom.net Post navigationPreviousPrevious post:525(547) นสพ.ข่าวอโศก ปักษ์แรกกุมภาพันธ์NextNext post:650217 พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า พุทธาภิเษกฯ#46 พญานาคเดียรถีย์ลัทธิหลับตาทำลายศาสนาพุทธRelated Posts150401 จะพึ่งอะไรดี-พ่อท่าน-วัดมหาธาตุ28 พฤษภาคม 2024141026 จูฬสุญญตสูตร ตอนที่ 2-พ่อท่าน-วัดธาตุทอง7 พฤษภาคม 2024141026 จูฬสุญญตสูตร ตอนที่ 1-พ่อท่าน-วัดธาตุทอง4 พฤษภาคม 2024670224 พ่อครูเทศน์เวียนธรรมมาฆบูชา งานพุทธาภิเษกฯ ครั้งที่ 48 ราชธานีอโศก24 กุมภาพันธ์ 2024670126 ตอบปัญหาเพื่อละอวิชชา 8 พุทธศาสนาตามภูมิ ราชธานีอโศก26 มกราคม 2024670117 ปฏิจจสมุปบาท ตอน 4 พุทธศาสนาตามภูมิ ราชธานีอโศก17 มกราคม 2024