650117 รายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 24 จากโสดาบัน 4 ไปถึงความมี ไม่มี อภิภู ดาวโหลดเอกสารที่ https://docs.google.com/document/d/15jDR6JsTg7QftXG3UVJHE1tQy1sT6U6lq3HAPlOFqwQ/edit?usp=sharing ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/18SpUhRWBeZb6WMhyeuRZvlou8y8vr2Tl/view?usp=sharing และดูวิดีโอได้ที่ https://fb.watch/aB4-UOTpm6/ และ https://youtu.be/HXan_YOd12E สู่แดนธรรม…วันนี้เป็นวันจันทร์ที่ 17 มกราคม 2565 ที่บวรราชธานีอโศก คนฝากมาถามว่า คนนั้นคนนี้เป็นพระอรหันต์หรือไม่ ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นไปเพื่อเกิดประโยชน์ลดกิเลสหรือไม่ พ่อครูว่า…ก่อนอื่นก็โชว์ผลผลิตบนโต๊ะนี้ หัวหอมหัวใหญ่ ผักกาดขาวหัวใหญ่ (พ่อครูไอตัดออกด้วย) มะเขือเปราะจากสวนปู่เถา SMS วันที่ 14 -16 มกราคม 2565 กฎหมายป้องกันรัฐบาลเก่าไม่ควรเอามาใช้กับประชาชนปฏิวัติผู้บริสุทธิ์ _แก้วตะวัน พวงบุบผา : กราบนมัสการพ่อครู ท่านสมณะ ท่านสิกขมาตุด้วยความเคารพอย่างสูงค่ะ..ขอส่งกลอนในรายการมองโลกมองธรรม เปิดใจ คุณไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ และคุณอมร อมรรัตนานนท์ วิบากกรรมได้ถูกแก้แค่ต้องรับ ถูกจับปรับจองจำคือกรรมเก่า แม้ทำดีเต็มสามารถเพื่อชาติเรา ก็อาจเศร้าเข้าคุกทุกข์ตามมา ขอกราบท่านผู้รักชาติศาสน์กษัตริย์ ทุกท่านชัดอุดมการงานมีค่า แม้ต้องโทษไม่โกรธเคืองประเทืองปัญญา ท่านเป็นครูขอบูชาค่าควรเมือง พ่อครูว่า… ดีมากลอนนี้ก็ดีทีเดียว ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่พ้อกันอยู่ ทำดีช่วยชาติศาสน์กษัตริย์แต่ก็จะต้องไปติดคุกติดตะรางหาว่าผิดกฎหมาย ซึ่งกฎหมายนี้ รัฐบาลนั้นรัฐบาลนี้ออกมาป้องกันตัวเอง ถ้าเกิดไปต่อต้าน มันเหมือนพาซื่อเกินไป ไปต่อต้านรัฐบาลนั้นรัฐบาลนี้ก็ผิดกฎหมาย รัฐบาลนั้นเองออกกฎหมายป้องกันตนเอง เสร็จแล้วนัยยะสำคัญของมันก็คือ กฎหมายนี้รองรับอะไร… รองรับรัฐบาลที่เขาป้องกันตนเองเอาไว้ จริงๆแล้วมันเหมือนกับที่กฎหมายบอกว่า ห้ามปฏิวัติรัฐประหาร แต่มันเป็นเรื่องสุดวิสัย มันเป็นเรื่องที่คุณจะเอากฎหมายห้ามอย่างไร เขาก็จำต้องปฏิวัติเพราะเขาก็ทนไม่ได้ เขาก็จะต้องทำ ในทำนองเดียวกันประชาชนก็ต้องทำ ถึงออกกฎหมายอย่างไรเขาก็ต้องทำ แต่รัฐบาลนั่นแหละออกกฎหมายกันเอาไว้ว่าผิดกฎหมาย แล้วก็พากันซื่อตามกฎหมาย เมื่อประชาชนหรือคนที่เขาไปไล่รัฐบาลนั้นแล้ว รัฐบาลนั้นก็พ่ายแพ้ออกไปแล้ว ประชาชนก็เห็นดีเห็นงามกันแล้ว เปลี่ยนแปลงระบบเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่แล้วดีขึ้นดีแล้วชัดเจนแล้ว จะไปรื้อเอาไอ้ที่เป็นผิดกฎหมายของรัฐบาลเก่าที่ออกเอาไว้ เอามาใช้กับพฤติกรรมของประชาชนบริสุทธิ์ที่เขาทำเพื่อประเทศชาติโดยตรง แล้วก็ถูกต้องตามสัจจะด้วย เพราะว่ารัฐบาลนั้นควรให้ประชาชนไปไล่ออก มันเป็นสิทธิของประชาธิปไตย 100% ด้วย นี่แหละซ้อนอยู่ตรงนี้ อาตมาก็ว่าเออเนอะ ทำอย่างไรเขาจะชัดเจน ซึ่งก็ไปบังคับไม่ได้หรอก ผู้ที่เขามีสิทธิ์ที่จะพิจารณา พิพากษาอะไรต่ออะไรไม่ควรก็ทำไป เราก็ไปบังคับให้เขาเข้าใจอย่างที่เราเข้าใจไม่ได้เราก็ต้องเข้าใจอย่างที่เขาเข้าใจแล้วเขาก็ปฏิบัติไปตามที่เขาเข้าใจ ก็ถือว่าวิบากเก่าอย่างที่แก้วตะวันพวงบุบผาว่ามาก็แล้วกัน ซึ่งลึกๆก็คงเป็นเช่นนั้น เหมือนอย่างอาตมา อาตมาเกิดมาชาตินี้ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจจริงๆเลย และฟังดีๆนะไม่ใช่ว่าอาตมาเข้าข้างตัวเอง และอาตมาก็ไม่ได้ทำผิดอะไร แต่อาตมาก็โดนคดีอะไรต่างๆนานา จนสุดท้ายมันหมดเรื่องคดีแล้ว จนทุกวันนี้ อาตมาก็อิสระเสรีภาพ ก็ทำก็ว่าอะไรตามที่อาตมาจริงจัง ตามปรารถนาดีตามเจตนาที่ควรจะทำ มันก็ได้ผลนะ ได้ประโยชน์อะไรขึ้นมา เพราะว่าความจริงเท่านั้นแหละจะเป็น หรือความบริสุทธิ์เท่านั้นที่จะเป็นสิ่งที่ชนะในที่สุด ทำไมคนเราต้องเกิดมามีกิเลสด้วย _คำถามเด็กว่า… หลวงปู่ครับ ทำไมคนเราเกิดมาถึงต้องมีกิเลสครับ พ่อครูว่า…ฟังให้ดีๆ กิเลสนี่คือความโง่ของสัตว์โลก สัตว์โลกคือตั้งแต่เกิดเป็นสัตว์เซลล์เดียวแล้วก็จนกระทั่งพัฒนาขึ้นมาเป็นสัตว์ที่โตขึ้น โตขึ้น โตขึ้นเป็นตัว เป็นตน เป็นรูปเป็นร่าง เข้ามาเป็นแมลงหวี่ เป็นไส้เดือน กิ้งกืออะไรมาเรื่อย จนกระทั่งเป็นสัตว์ 2 ขา 4 ขา สัตว์น้ำ สัตว์บก สัตว์ปีกอะไรมา จนกระทั่งมาเป็นคน เป็นคนก็ยังเป็นคนที่โง่ๆเง่าๆ ยังไม่ได้เจริญกว่าสัตว์เดรัจฉานเท่าไหร่ จนเจริญกว่าสัตว์เดรัจฉาน เจริญกว่าลิง เป็นต้น เจริญขึ้นๆมาเป็นคน เมื่อเจริญขึ้นมาเป็นคน มีความเจริญทางความคิดความอ่านและความรู้ ความรู้ในการเป็นสังคมที่จะอยู่ร่วมกันให้ดีที่สุด เป็นสุขที่สุด สงบที่สุด อบอุ่นที่สุด เป็นประโยชน์แก่กันดีที่สุดได้อย่างไร ก็มีผู้รู้คิด จนกระทั่งสูงสุดได้เป็นศาสดา ได้เป็นศาสดาหมายความว่าได้เป็นเจ้าของความรู้ ความคิด ที่ทำให้คนดีที่สุดเท่าที่ศาสดาแต่ละองค์จะเข้าใจ ละชั่วประพฤติดี เป็นคนดีที่สุดได้ แล้วเขาก็เป็นศาสดา แล้วก็มาสอนให้คนอื่นทำตามเป็นคนดีตามที่พระศาสดาจริงใจ พระศาสดาทุกคนก็จริงใจ ก็อยู่ดีเป็นสังคมแต่ละกลุ่ม ตามแต่ศาสดาแต่ละองค์เท่าที่แนวคิดของแต่ละศาสนาจะมีหลายศาสดา ในยุคเดียวกัน ยุคไหนๆก็ช่าง จะไม่มีศาสดาองค์เดียวที่เป็นเทวนิยมที่เป็นโลกียะอย่างนี้ จริงๆนะจริงใจแต่ละศาสดา จริงใจไม่มีการแฝง ด้วยเรื่องไม่ดีอะไรเลย มีแต่ความจริงที่ดีบริสุทธิ์ หรือก็เก่งตามแนวแต่ละศาสดาก็จึงต่างกัน เช่น ที่มีอยู่ทุกวันนี้ ก็มีศาสดาที่เป็นชาวศาสนาหลายศาสนาอยู่ในโลกใหญ่ๆเล็กๆ เป็นสิบๆเป็นร้อยๆศาสนา แต่ใหญ่ๆจริงๆก็มี เห็นๆที่รู้ๆกันอยู่ 2-3 ศาสนา จะมีศาสนาที่เป็นอนัตตา เป็นไม่มีตัวตนอยู่ 2 ศาสนาในโลก คือศาสนาพุทธกับศาสนาเชน ศาสนาพุทธกับศาสนาของพระมหาวีระ หรือศาสนาเชน ศาสดาพระมหาวีระ ศาสนาเชนนั้น สุดโต่งไปไกลลิบ ทั้งสัตตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ ไม่มีอย่างไม่มีที่สิ้นสุด สุดโต่งไปทางความไม่มี ไม่มีอย่างไม่มีที่สิ้นสุดเลย เพราะฉะนั้นในชีวิตของคนศาสนาเชน จึงจะไม่อินังขังขอบกับอะไรทั้งนั้น ไม่ว่าวัตถุไม่ว่ามนุษย์ ไม่ว่าสัตว์ทั้งหลาย แต่รู้ว่าสัตว์มีวิบาก เพราะฉะนั้นก็จะไม่สร้างวิบาก จะไม่ทำร้ายสัตว์ใดๆเลย สัตว์ขนาดใหญ่ขนาดเล็กที่สุดแค่ไหน ก็ไม่พยายามเบียดเบียนทำร้าย อย่างเด็ดขาด เพราะฉะนั้นจะต้องรักษาสภาพความรู้สึกตรงนั้นไว้ จะต้องปล่อยวางหมด ไม่เอาอะไรไม่เป็นอะไรไม่ติดไม่คิดอะไรทั้งนั้นเลย มีชีวิตอยู่ก็กินๆอยู่ๆ กินให้น้อยที่สุด อยู่ให้หยุด อยู่ให้ไม่ต้องมีอะไรที่สุดเลย หนีเข้าป่า ไม่พบกับใคร นอกจากจะมีความจำเป็นต้องมาหาผู้คนที่จะต้องหาอะไรไปกินไปใช้ที่แต่ละผู้แต่ละคนต้องการก็มาหาไป เสร็จแล้วเขาก็จะต้องตาย เขาจะต้องตายชนิดที่ว่า ตายอย่างปล่อยวาง ไม่มีอะไรทั้งหมดเลย อย่างสุดโต่ง สาหัสสากรรจ์ที่สุด ซึ่งเขาก็ไม่รู้ว่าตายอย่างที่ไม่มีอะไรที่สุดนั้นเป็นอย่างไร เขารู้แต่ว่า กรรมวิบากมันเวียนวนซ้ำซาก เขาก็ไม่ทำกรรมอะไรอีกเลย เป็น อกรรมกิริยา ไม่ทำกรรมอะไรอีกที่จะเป็นวิบากกรรมกับสัตว์ใดเลย แม้แต่สัตว์เล็กสัตว์ใหญ่ สัตว์เล็กที่สุด เขาก็จะมีไม้ ไม้ปัดเบาๆอ่อนๆละเอียด จะนั่งจะพักที่ไหน ก็กลัวจะไปทับสัตว์ต่างๆ แล้วอะไรมันจะมาทำ ตัวเองก็ยอมหมดไม่ทำโต้ตอบด้วย แล้วก็มีชีวิตอยู่ต่อไปจนกระทั่งที่สุดก็ตาย ตายแล้วก็ถือว่าเขาจบแล้ว สูญเลย ถือว่าอย่างนี้คือสูญแล้ว เป็นนิพพานแบบของเขา เป็นนิพพานแบบพระมหาวีระคือศาสนาเชน เป็นความเข้าใจแบบเชน นั่นคืออนัตตาแบบพระมหาวีระหรือแบบศาสนาเชน กับศาสนาพุทธที่เป็นอนัตตา แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญมาก ศาสนาพุทธนั้นรู้จักความมีกับความไม่มี อย่างแท้จริง ไม่ต้องไปตรรกะ ไม่ต้องไปคิดเอาไปไกลจนกระทั่งชนิดที่มันไม่มี ไม่มีอย่างจินตนาการอย่างที่ศาสนาเชนจินตนาการ เราไม่เอาจินตนาการ แต่เอาความไม่มีให้รู้ให้เห็น ให้รู้ให้เห็นกับธาตุจิตหรือธาตุจิตวิญญาณที่สัมผัสแล้วเกิดอะไรมี แล้วเราก็ศึกษาความมีนั้น จากจิตวิญญาณเราเองอีกนั่นแหละ แยกมาเป็นเจตสิกให้รู้ว่าความไม่มีในสิ่งที่เราไปยึดว่ามีนี้คืออย่างไร ภาษาพูดพูดได้เท่านี้ ผู้ปฏิบัติก็จะต้องไปปฏิบัติเอง โดยไล่ไปตั้งแต่หยาบๆ เช่น กิเลสราคะเป็นอาการอย่างนี้ กิเลสโทสะเป็นอาการอย่างนี้ กิเลสโมหะ โมหะก็คือความยังไม่รู้ว่ามันเป็นโทสะหรือมันเป็นราคะ ละเอียดขึ้นละเอียดขึ้นโมหะ พอเก่งอย่างหยาบๆ ราคะหยาบ โทสะหยาบ แล้วก็ชัดเจนแล้วว่าจิตที่เป็นอาการโทสะ อาการราคะของเราที่เป็นคู่กันที่จริงผลักกับดูด มันไม่มีแล้วมันเป็นกลางๆแล้ว เป็นจิตกลางกลาง ถึงแม้มันมีในโลกคนอื่นเขามีให้เห็นตำตาอย่างไร เราก็เห็นว่าคนเขายังมีอยู่ คนอื่นเขาต้องมีอยู่แน่เพราะเขาไม่ได้ล้างเหมือนเรา เราก็รู้ความมีกับความไม่มี โดยไม่เข้าไปยึดถือความมีหรือความไม่มีในขณะที่เรายังมี ไม่เข้าไปมี ไม่เข้าไปใกล้ ไม่เข้าไปยึด ไม่เข้าไปเป็นในความมีกับความไม่มี 2 อย่างนี้ ในขณะที่เรายังมีความรู้อยู่เป็นๆนี่ เรียกว่า อนุปคัมมะ คนๆนี้แหละเป็นคนที่ จบกิจด้วยมัชฌิมา เป็นคนกลางที่สุดแล้ว แล้วกลางอย่างมี กลางอย่างไม่หลงว่า คุณมีนี้นะ ไม่ใช่คุณไม่มีตามความคิดตรรกะเหมือนเชน ไปไม่มีตามความคิดตามตรรกะทางศาสนา ไปไม่มีสุดโต่ง แล้วมันจะเป็นยังไงจินตนาการไปเฉยๆ มันมีความจริงยืนยันขณะที่มี และมีอันนี้คือมีอย่างลึกซึ้งตรงที่ท่านรู้ เรียนแยกธาตุวิญญาณ เป็นเจตสิกต่างๆที่สุด เจตสิกที่มันยึดมั่นถือมั่นอยู่ก็คือเวทนา เป็นธาตุนามธรรมตัวแรกของขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เพราะฉะนั้นเวทนาตัวแรกนี้รู้สึก รู้ รับรู้ มีรู้ขึ้นมา เพราะฉะนั้นเมื่อมันรู้ก็มีไม่รู้กับรู้ เราก็เรียนความรู้ ที่ไม่มี รู้ที่ไม่มีสิ่งที่เราจะยึดถือว่าเป็นเรา พระพุทธเจ้าท่านจะจบว่า ไม่ยึดเป็นเราไม่ยึดเป็นของเรา ภาษาก็มีเท่านี้ ผู้ที่ปฏิบัติมีภูมิธรรมถึงขนาดนี้ จึงจะรู้ความจริงตามความเป็นจริงด้วยตัวเอง โดยที่ไม่ต้องเชื่อแม้แต่พระพุทธเจ้า เพราะเราเป็นเองจริงเองแล้ว โดยไม่ต้องเชื่อใคร นี่สูงสุด เพราะฉะนั้นผู้ที่ปฏิบัติได้อย่างนี้จึงรู้จักอนัตตา ความไม่มีตัวตน โดยใช้ภาษาว่าตัวตน เป็นภาษาไทย ตัวตนก็ซ้ำมาจากภาษาบาลีนั่นแหละคือตน ตะ นะ ตน ตนคือพยัญชนะ 2 ตัว ต กับ น ต ก็คือตั้ง ตั้งอยู่นี่แหละ น ก็คือไม่มี ฉะนั้นสิ่งที่ไม่มีก็คือสภาพ 2 ของทุกสิ่งที่มีความมี ตั้งอยู่กับไม่ ตั้งอยู่กับไม่ตั้ง ไม่มี มีกับไม่มีนี่แหละ แต่มันเป็นพยัญชนะตัวต.ตอ กับ ตัว น.นอ ถ้าเรียกอย่างบาลีก็ ตะ กับ นะ เท่านั้นเอง 2 ตัวนี้แหละรวมเรียกว่าเป็น อัตตา อัตตาก็คือ สภาพมุมเหลี่ยมของสิริมหามายา อัตตาคือ อะ หรือ อัตตะ กับ ตต อัตตะหรืออัตตา อัตตะคือ เอกพจน์ อัตตาคือพหูพจน์ อะคือไม่ ต ต คือตั้งอยู่เป็น 2 นั่นคือเป็น 3 ลักษณะ อัตตา แต่ ตน มีแค่ 2 ตัว ที่เอา น มาใช้ กับ อะ มาใช้ อตต กับ ตน อะ เป็นสระ บางเบายิ่งกว่าพยัญชนะ แม้แต่เศษวรรคก็ไม่ใช้ แต่ น นี่เป็นพยัญชนะ ก็ใช้แค่ 2 ตัวก็พอคือ ตน แต่ อัตตา ต้องใช้ อ กับ ตต ฟังเข้าใจไหมเด็กๆ ผู้ใหญ่เข้าใจไหม นิมนต์พ่อครูจิบน้ำ คนเราอาศัยสองสิ่ง คือความมีกับความไม่มี สู่แดนธรรม… สรุปว่าทำไมคนเราเกิดมาต้องมีกิเลส..ก็เพราะว่าดวงจิตคนที่เกิดมา ยังไม่สามารถชำระให้หมดความไม่มีได้ เกิดมาศึกษา.. พ่อครูว่า… เป็นคำสองคำที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า คนต้องอาศัย 2 สิ่งคือความมีกับความไม่มี เป็นสิ่งที่เรียนรู้ไปจนกระทั่งจบ ไม่จบก็ไม่จบอยู่ที่ความไม่รู้ความมีแต่ความไม่มี ถ้ารู้ความมีกับความไม่มีเสียแล้ว ชัดเจนว่าจบว่ามีเป็นอย่างนี้ไม่มีเป็นอย่างนี้ แล้วเราก็ทำความไม่มีได้ เหมือนอย่างที่ท่านตรัสไว้ในพระไตรปิฎกเล่ม 16 ข้อ 43 ความมีเป็นอย่างนี้ ความไม่มีเป็นอย่างนี้ แล้วท่านก็บอกว่า อ๋อ ความมีนี้กับความไม่มีเพราะฉะนั้นเราก็ทำความไม่มีได้ เสร็จแล้วมามีความไม่มี เอ๊..อย่างไร จบด้วยความไม่มีเหมือนกัน ทำให้เกิดความไม่มีให้ได้ แล้วก็มามีอีกทีนึง แต่ก็จบด้วยความไม่มี สุดท้ายก็จบด้วยความไม่มี ไม่มีคือไม่มีอะไร ก็ได้ขยายความไปหมดแล้ว ไม่มี คือ การทำธาตุจิตวิญญาณนี้ให้สลาย ธาตุรู้นิสัย เป็นอุตุเป็นดินน้ำไฟลมไป ทำได้ตั้งแต่ตอนเป็นๆ แต่เราไปยึดถือในโลก โลกที่เป็นอบายมุขโลกหยาบๆ ต่อไปมีเวทนานี่แหละไม่มีความสุขความทุกข์มีความเป็นความมี จนกระทั่งเลิกไม่สุขไม่ทุกข์ไม่ต้องเป็นไม่ต้องมีเลยกับสิ่งนั้น หยาบ กลาง ละเอียด จากนั้นมาเป็นรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสเราก็ทำได้อีก ละเอียดมาเป็นรูปเราก็ทำในภวตัณหา รูปเราก็ทำได้อีก เหลือบางเบาเป็นอรูป เราก็ทำได้อีกหมดเลย พยัญชนะมันก็มีสื่อได้แค่นี้ ผู้ที่รู้จักสภาวะ ทำได้เป็นจริง มีของจริง เป็นลำดับๆ เป็นลำดับลำดา ไปจนถึงขั้น อรูป ก็จะรู้ความจริง ตามความเป็นจริงแล้วปฏิบัติได้หมดถึงขั้น อรูป อาตมาพูดนี้ไม่ได้เอามาจากตำรา แต่เอามาจากตัวเองที่มีสภาวะพวกนั้น แล้วมาพูดสู่พวกคุณฟังได้ จากสภาวะที่มีจริงของตนเอง พูดอย่างมั่นใจ พูดอย่างชัดเจน พูดอย่างละเอียด ละเอียดขนาดนี้ ผู้ฟังก็ตาม ตามความหมายจากพยัญชนะและก็เอาไปปฏิบัติเอง ก็จะรู้เองตามนั้น ขยันแต่โง่ กับ โง่แต่ขยัน แตกต่างกันหรือไม่ _สู่แดนธรรม…พ่อท่านครับเรื่องนี้ยังมีคนมาถามอีก ผู้ใหญ่ฝากมาถาม ในความที่มีอยู่นี้คือมีความขยัน อยากจะทราบความหมายที่มันแตกต่างกันให้ได้ว่า มันแตกต่างกันหรือไม่ คือความมีชนิดนี้เรียกว่าความขยัน แต่ว่ามันมีรายละเอียดที่ว่าในความขยันนั้น เขากลับเป็นความโง่ ขยันแต่โง่ อีกคนหนึ่งโง่แต่ขยันมันต่างกันไหมครับ พ่อครูว่า… ขยันแต่โง่กับโง่แต่ขยัน ขยันแต่โง่หมายความว่า ทำ ทำ ทำ ทำ ทำ แต่ทำอย่างโง่ๆ ที่นี่อีกอันหนึ่งโง่แต่ก็ขยัน ขยันแต่โง่นี้จะเกิดพลังงาน ขยันๆๆ แต่ทำแล้วชิบหายไปหมด ทำมากเท่าไหร่ก็ยิ่งฉิบหายเท่านั้น ขยันแต่โง่มันก็ทำเสียเพราะทำอย่างโง่ๆ ที่นี้คนโง่แต่ขยันนี่สิ ยังค่อยยังชั่วกว่า คนขยันแต่โง่ เพราะมันโง่ มันไม่ค่อยรู้หรอก แต่มันก็ขยันไปทำ มันก็เลยขยันน้อยกว่าคนที่โง่แต่ขยัน คนโง่แต่ขยันก็ยังน้อยกว่าคนขยันแต่โง่ ก็เขาโง่ก็เลยขยันเพิ่มเติมให้ตัวเองฉลาดขึ้น ขยันไปฟังธรรม ขยันไปศึกษาอีก แต่ความขยันแล้วโง่นี่สิ มันขยันเท่าไหร่ก็ชิบหายเท่านั้น สู่แดนธรรม… ปัญหานี้ถ้าผมว่าฝึกตั้งแต่รู้จักแยกรูปแยกนามให้ชัดๆ สิ่งที่แยกให้ชัดๆคือไม่ปูโลปูเล ทุกวันนี้ปูโลปูเล แม่แต่หัดเขียนหนังสือก็หัดเขียน โดยเฉพาะก่อนจะส่งไลน์ไม่ตรวจคำเสียก่อนเลยบางทีคำผิดคำถูกเยอะเลย เขียนผิดนี่ ชีวิตเปลี่ยนเลยนะ พ่อครูว่า… ที่สำคัญเลยนะ LINE ผิด ชีวิตเปลี่ยน ระวังเถอะนะนักไลน์ได้ก็ไลน์ตะพึด LINE ผิดชีวิตเปลี่ยน เป็นไปในทางดีก็แล้วไป แต่กลัวจะเปลี่ยนไปในทางที่ไม่ดีสิ สู่แดนธรรม… อย่างเช่นคำว่าอยากกับคำว่าอย่าง เขาเขียนสับสนไปหมด บางทีเขียนว่าอยาก แต่สะกดด้วย ง อย่าง บางทีจะเขียนว่าอยากแต่ไปเขียนว่าอย่า ทำจิตให้เป็นพีชะ ไม่มีเวทนาจึงรู้ความควรความไม่ควรได้ _อีกคนฝากมา คนอยู่บ้านราชฯ… ชื่นชม การสอบ ว.บบบ บอกว่าเป็นยันต์พิธีที่มหัศจรรย์ ทำให้เกิดความรอบรู้เรื่องกายเรื่องบุญ เรื่องเทวนิยมกับอเทวนิยม พ่อครูว่า… คนที่พูดมาถึงมาเนี่ย ก็เป็นเรื่องสำคัญนะ เรื่องบุญ เรื่องกุศล เรื่องความแตกต่างอะไรพวกนี้ อาตมาพูดอธิบายตลอด กาย แตกต่างกันอย่างไร ระหว่างคนที่เข้าใจผิดยังสัมมาทิฏฐิไม่ได้เข้าใจกายไม่ได้ ทุกวันนี้ในชาวพุทธ จะเป็นปราชญ์ระดับปราชญ์ก็ตาม ยังเข้าใจกายอย่างมิจฉาทิฏฐิ แล้วปฏิบัติธรรมพระพุทธเจ้าไม่ได้ปฏิบัติไม่ออก เพราะคำว่ากายเป็นคำต้น เป็นคำแรก เป็นคำสำคัญต้นๆเลย ความเป็นกาย กาย คือ ก กับ ย ก.ไก่ เป็นพยัญชนะตัวแรก ส่วน ย เป็นพยัญชนะของเศษวรรค ตัวแรกเหมือนกัน ก ย มา สองตัวนี้มา เอาสระอา มาเชื่อมซะ ครบทุกอย่างเลย กายะ เป็นรูปนาม เป็นสองสภาพ เป็นเทวะเป็นสภาพสอง เราก็เรียนรู้กันจนหมดจบยังอีกเยอะมากเลยในเรื่องของกาย มันไม่ใช่เรื่องธรรมดาเลย ซึ่งอาตมาก็เคยพยายามชี้ให้เห็นชี้ให้้ฟัง ว่า กาย เป็นตัวแรกที่คุณจะต้องพ้นมิจฉาทิฏฐิในสังโยชน์ 10 ถ้าคุณไม่สัมมาทิฏฐิในคำว่ากาย และมันก็อยู่ที่ตัวเรา สักกะ แปลว่าตัวเรา คุณไม่พ้นความไม่รู้อันนี้ คุณยังโง่ยังไม่รู้ยังเข้าใจไม่ถูกต้อง ยังผิดเพี้ยนอยู่ ไปไม่ออกปฏิบัติธรรมต่อไปก็ไม่ได้เลย แม้เข้าใจแล้ว เข้าใจกายได้แล้ว อย่างถูกต้องด้วย เข้าใจถูกต้องแล้ว คุณต้องมาแยกกาย แยกจิตให้เป็นอีก เพราะกายนั้น มันมีจิตอยู่ด้วย แล้วแยกกันไม่ได้เด็ดขาด เหมือนกระดาษแผ่นเดียวกายกับจิต แยกจากกันไม่ได้เลย ถ้าหมดกาย คุณก็หมดจิต ดับกายก็ดับจิต มีกายก็มีจิต นี่เป็นเรื่องยาก เพราะฉะนั้นต้องมาเรียนรู้การแยกกาย แยกจิตในขณะที่คุณยังมีกาย มีจิต คุณต้องทำกายให้ไม่มี ในขณะที่คุณมีจิต แล้วคุณต้องทำกายให้ไม่มี อันนี้สิ มันเป็นเรื่องที่ศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ตรัสรู้ อาตมารู้ตามเรื่องนี้เอามาพูดปัญญากับพวกเราทุกวันนี้ ก็ยัง ไปหมดสงสัยแล้วในเรื่องแยกกายแยกจิต แล้วเราก็มีจิตที่ทำความไม่มีกายได้ เพราะจิตของเราเป็นพีชะ ยังไม่ตายปรินิพพานเป็นปริโยสานก็อาศัยไว้ใช้เหมือนมนุษย์พืช แต่เป็นมนุษย์ที่มีจิตแข็งแรง มีสติสัมปชัญญะ แต่ไม่ใช่มนุษย์พืชที่นอนไม่รู้ตัวเลย ไม่ใช่ มนุษย์ที่จิตเป็นพืช แต่ไม่ได้เป็นมนุษย์พืช เมื่อทำจิตให้เป็นพืชได้ก็ไม่มีเวทนาเพราะพืชไม่มีเวทนา พืชมีแต่สัญญากับสังขาร พืชมีรูป มีสัญญา มีสังขาร สามเส้า ไม่มีเวทนา ไม่มีวิญญาณ จึงไม่มีบาป ไม่มีบุญ ไม่มีจองเวรจองกรรม ไม่มีรักไม่มีชัง ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เอาสภาพของพืชมันเป็นอย่างงี้ ชีวะมันเป็นชีวะอย่างนี้ เอามาใช้ จิตวิญญาณของมนุษย์ ผู้บรรลุธรรมจึงทำจิตของตนให้เป็นพืช เป็นสภาพที่ใช้พยัญชนะ แยกไปว่าไม่มีกาย ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ ไม่มีบาป ไม่มีบุญ ไม่มีผลักไม่มีดูด ไม่มีสภาพ 2 ผู้ที่ต้องการไม่มีได้สำเร็จ เป็นผู้ที่มีวสวัตตี เป็นผู้ที่ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจได้ ทำจิตของตนให้เป็นอย่างพืชได้สำเร็จ เป็น วสวัตตี หรือมันคล้ายๆกันกับ อนุปคัมมะ ก็คือ มีอิทธิพลทำจิตของตัวเองให้รู้อยู่มันมีอยู่ 2 อย่าง แล้วตนก็อยู่กับสองอย่างนี้สบาย ไม่ได้ไปเข้าข้างไหน อะไรควรเป็นก็เป็น อะไรควรไม่มี เราก็ต้องไม่มี อะไรควรมี เราก็มี สู่แดนธรรม… ในระดับเด็กๆ โจทย์สำหรับเด็กที่จะให้เข้าใจความจริงไม่ได้ ต้องลองมีตุ๊กตาสักอย่าง เด็กๆอาจพยายามสังวรละเลิก รู้อะไรควรทำ คือ ความควร จะยิ่งกว่าความชอบใจ เด็กๆหลายคน แต่ละคนก็คงเคยทำมา ทั้งของกินของใช้ เด็กคนไหนถ้าสามารถทำได้ ละความต้องการความชอบได้ แล้วก็ฝืนใจทำในสิ่งที่ควร อันนี้ถือว่าเป็นการสร้างนิสัยเป็นพื้นฐานปฏิบัติธรรม พ่อครูว่า… แยกออกไหม ความชอบ ทำตามชอบใจกับไม่ทำตามชอบใจ แต่ทำตามที่ควรจะทำ ต่างกันไหม เข้าใจให้ได้ เราไม่ทำตามที่เราชอบใจ หรือตามที่เราชัง แต่เราทำตามที่ควร บางทีเราไม่อยากทำหรอกแต่มันควรต้องทำ เราไม่ค่อยอยากทำหรอก แต่มันควรทำก็ต้องทำ ถ้าไม่ควร แหม มันอยากทำด้วยซ้ำไป แต่มันไม่ควรก็อย่าทำ แต่มันไม่อยากทำเลยแต่มันควร ควรจะทำนะ มันก็ต้องทำ เข้าใจไหม..เด็กๆก็ยังเข้าใจได้เลย คุ้มค่าอย่างไรในการใช้เงินมากเปิดบุญนิยมทีวี _9706 : ทีวี ช่องบุญนิยม ประชาชนคนส่วนใหญ่คงไม่ได้รับชม พ่อครูว่า… เราใช้เงินมากในการทำโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม สิ่งที่เราสื่อออกไป เราถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่มนุษย์ควรรู้ ควรได้ ควรเป็น ควรทำให้บรรลุ เราก็ทำไป ผู้ที่มีดวงตาเห็นมีปฏิภาณปัญญาเห็น เขาก็รับเอา คุณคนนี้บอกว่า ประชาชนคนส่วนใหญ่ก็ใช่ คนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยรู้หรอก เพราะคนที่จะรู้ได้มันเป็นโลกุตรธรรม มัน เป็นธรรมะยอดปิรมิด คนที่สามารถรู้ว่าสิ่งที่เราทำกันอยู่ ก็ประพฤติกันอยู่ เรียนรู้กันอยู่ พากเพียรบรรลุให้ได้สูงสุดกันอยู่ มันเป็นเรื่องของอาริยชน มันเป็นเรื่องของโลกโลกุตระ ซึ่งคนทั่วไปยังเข้าใจไม่ได้ ยังไม่รู้ค่า เราไปว่าเขาก็ไม่ได้เพราะเขายังไม่มีบารมี เขายังไม่มีภูมิ ยังไม่ถึงวาระที่เขาจะต้องเข้ามารู้สิ่งนี้ เข้ามารับสิ่งนี้ ฐานะของเขายังอยู่เหมือนกับไส้เดือนกิ้งกือ จะให้มันเหมือนกับลิงที่ฉลาดกว่าไส้เดือนเยอะก็ไม่ได้ เขายังเป็นแค่ไส้เดือน เขาก็ต้องเป็นแค่ไส้เดือน เขาจะมาเป็นลิงไม่ได้ ฉันเดียวกันเป็นคนเหมือนกัน แต่คนอย่างเขา ก็ได้แค่อย่างเขา อย่างเขาระดับไส้เดือน จะมาเป็นคนในระดับที่ลิงเป็น มันก็ยังเป็นไม่ได้เพราะว่ามันไม่ใช่ฐานะที่จะเป็น เขาจึงจะต้องสั่งสมความรู้ความฉลาดความมีบารมีเพิ่มเติมขึ้นมาอีก ไม่รู้กี่ชาติกี่ชาติ นี่เป็นเรื่องที่เป็นจริงๆ ทุกคนจะต้องปฏิบัติเอาเอง เรียนรู้เอาเอง อยู่ดีๆจะไปซื้อเอาตามร้านขายยา ไปเอาจากอันนั้นอันนี้ ไปขอจากพระเจ้าไม่ได้หรอก ไม่มี ต้องศึกษาทุกคนปฏิบัติประพฤติให้เกิด ให้มี ให้เป็นในตนให้ได้ ฉะนั้นช่องบุญนิยมนี้ ถึงอย่างไรๆมีคนดูเกิน 5 คนเราก็ถือว่าเป็นผลสำเร็จแล้ว เริ่มต้น แต่ทุกวันนี้เกิน 5 คนอยู่แล้วเกิน 500 อยู่แล้วมันคุ้มแสนคุ้ม สู่แดนธรรม… พ่อท่านเคยเปรียบ หากว่ามีคนเข้ากระแสโสดาบัน 2 – 3 คนก็ถือว่าคุ้มค่ามากแล้ว ทำไมถึงเรียกว่าคุ้ม พ่อครูว่า… ที่คุ้มค่าก็เพราะว่ามันเป็นเชื้อโลกุตระ มันเป็นเชื้อโลกุตระธรรมอันเป็นเชื้อธรรมะที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ เหนือชั้นแห่งความรู้สูงสุดที่จะมีหรือไม่มีได้สำเร็จจริงๆเลย เทวนิยม ส่วนใหญ่เขาทำความไม่มีให้แก่ธาตุวิญญาณของเขาไม่ได้ เขาทำไม่ได้ ส่วนใหญ่ในโลกทั้งโลกเลย เขาทำไม่ได้ เขาจะต้องมีจิตวิญญาณหมุนเวียนอยู่ในกรรมวิบากในวัฏสงสารอีกนานเท่านาน ฉะนั้นพุทธมาทำได้ก็เพราะโลกุตรธรรมของศาสนาพุทธ เป็นอรหันต์เป็นต้นไปถึงจะสลายธาตุจิตวิญญาณตนเองเป็นดินน้ำไฟลมได้ จบเลิกหรือจะไม่จบก็ได้ จะต่อไปอีกก็ได้ จะเป็นแค่ศาสดาของโลกียะเป็นแค่เรื่องเล็ก ไม่ใช่เรื่องดีเรื่องชั่วเท่านั้น เพราะฉะนั้นที่เป็นโลกุตระเหนือชั้นกว่าดีชั่ว โลกียนั้นชัดเจนดีชั่วอยู่แล้ว เรามีปัญหา แต่การเลิกจิตวิญญาณนี่ซิ เทวนิยมที่รู้จะดีจะชั่วแล้ววนเวียนในวัฏสงสารอย่างนี้ไม่มีทางรู้การเลิกจิตวิญญาณ วิญญาณของศาสนาเทวนิยมจึงเป็นวิญญาณนิรันดร แล้วก็ไปจบอยู่ที่ว่า ไปอยู่กับพระเจ้านิรันดร แล้วพระเจ้าอยู่ที่ไหน ไม่มีใครรู้ ปิดประตูรู้ ถ้าอยู่กับพระเจ้าคืออะไร คือปิดประตูที่จะพูดกันเพราะมันไม่รู้ ต่างคนต่างไม่รู้ พูดกันก็ไม่รู้เรื่อง พระเจ้าคืออะไร พระเจ้าอยู่ที่ไหน พระเจ้าเป็นอย่างไร แล้วพระเจ้านิรันดรด้วยแปลว่า นิระ แปลว่า ไม่ อันตระ แปลว่า ระหว่าง ไม่มีอะไรเลยในระหว่าง ไม่มีอะไรให้เกิดได้ในระหว่างเลย กาละ มันมีไปตลอด ตลอดกาละ เมื่อไหร่ที่คุณจะทำความไม่มีให้สำเร็จได้นิรันดร คุณทำให้ได้ คุณทำ นิระได้ ระหว่างใดระหว่างหนึ่งก็เถอะ ก็จบ ส่วนคนที่ทำไม่ได้คือไม่จบ โสดาบัน 4 ระดับ _สู่แดนธรรม… สิ่งที่ควรได้ก็คือหลักประกัน ที่ไม่มีกิเลส พ่อครูว่า… ศาสดาแต่ละองค์ที่เป็นศาสดาแล้ว ไม่ได้หมายความว่าศาสดานั้นเกิดชาติต่อๆไปไม่ได้ ยังจะเกิดชาติต่อๆไปได้ แล้วจะตกต่ำลงไปเป็นคนต่ำ ศาสดานี่แหละเป็นคนต่ำได้อีก สูงขึ้นอีกก็ได้ แล้วก็วนลงต่ำขึ้นสูงวนไปต่ำอยู่อย่างนั้นแหละ สู่แดนธรรม… ถึงเรียกว่าวัฏสงสาร ส่วนพระโสดาบันนั้น พ่อครูว่า… ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดาเข้ากระแสจิต โสดาบันจุดแรกก็คือจิตเข้ากระแสโลกุตระแล้ว เรียกว่าโสตาปันนะ พอเข้ามาแล้วก็ต้องให้คุณสมบัติมันสูงขึ้นไปจนกระทั่งไว้ใจได้เป็น อวินิปาตธรรม อวินิปาตธรรม หมายความว่ามีคุณสมบัติของโลกุตระเข้าไปได้ถึง 2 ส่วน 4 เพราะฉะนั้นจะยึกยักได้อยู่ แหม มันจะตก ไม่ตกแหล่่ ถ้าตกก็คือมันไม่เป็นแล้วไม่อยู่ในกระแสแล้วใช่ไหม เข้ากระแสแล้วก็ยังมาตกอีก เดินทางยึกยักยึกยัก ถ้าหากยึกยักตกลงไปอีกก็คือไม่อยู่ในกระแส แต่ถ้ายึกยักไม่ตก นี่ก็คือผู้ที่อยู่ในกระแส แต่ยึกยักยึกยัก โสดาบันอันที่ 2 อธิบายอีกที เรามาถึงเส้นชัย มาถึงขีดนี้แล้ว เราก็เข้ามาอยู่ในเขตวงกลมนี้ พอเข้ามาถึงแล้วเราก็จะพยายามไปให้ถึงที่สุดก็เข้ามาเข้ามามาถึงตรงนี้มันก็จะต้องพยายาม จะไปแต่มันก็ถูกดึงลงต่ำมันก็จะดึงลงต่ำ ถ้ามันดึงลงต่ำสุดลงไปอีกแล้วก็ตกจากกระแส แม้แต่กระแส คุณก็ไม่เข้า แต่อันที่ 2 นี้ที่ยืนยันได้ว่า คุณเป็นคนที่ 2 แท้ก็คือ คุณจะยึกยักอย่างไรคุณก็ไม่ตกจากกระแส นึกออกไหมเข้าใจไหม แต่มันจะยึกยักอยู่นานเป็นร้อยปี พันปี หมื่นปี แสนปีก็ได้ ถ้าคุณเองไม่แข็งแรงก็อยู่อย่างนี้ยึกยักอยู่แค่นี้ จนยึกยักกระทั่งยึกยักไปถึงขั้นที่ 3 นิยตะ แปลว่าเที่ยงแท้ หยุดยึกยักแล้ว อยู่ตรงนี้แล้วแต่มันก็จะดึงลงอยู่นั่นแหละ ธรรมชาติของสิ่งที่มีอยู่ในโลกมันจะดึงลงต่ำ ดึงลงสู่ที่เสื่อม มันก็ต้องเจริญไปสู่ที่สุดให้ได้ คุณจึงพยายามใช้ความรู้ความสามารถสูงสุดจาก นิยตะ ให้พ้นนิยตะ ขีดที่ 3 จาก 4 เลยขีดที่ 3 ไปหาขีดที่ 4 เรียกโดยภาษาว่า สัมโพธิปรายนะ ขึ้นไปสู่ที่สูงที่สุดได้ แปลเป็นไทยว่าอย่างนั้น ขึ้นไปสู่ที่สูงที่สุดได้ ไม่ตกต่ำ จากขีดที่ 3 นี้อีกแล้ว อันนี้ จึงเรียกว่าเที่ยง นิยตะ อาตมาเป็นโพธิสัตว์ระดับ 7 จึงเรียกว่าผู้เที่ยงต่อความเป็นพระพุทธเจ้า ไม่ตกต่ำ ถ้าตกต่ำก็ไม่ใช่ เพราะฉะนั้นสัจจะของมันก็คือความเป็นจริงที่เที่ยง ก็คือจริง ถ้าหากจริงไม่เที่ยงคุณก็ไม่จริง พยัญชนะว่าอย่างนั้น ความจริงที่ไม่เที่ยงมันก็คือไม่จริง ถ้าจริงมันต้องเที่ยงจริง ภาษาหมดแล้ว สู่แดนธรรม… เด็กๆพวกเราโชคดีที่มีโอกาส อยู่ใกล้สมณะ สิกขมาตุด้วย พ่อครูว่า… พวกเราพาปฏิบัติและเลี้ยงดูด้วย สู่แดนธรรม… จะได้เข้าขีด เขตของความเป็นอารยะเบื้องต้นให้เป็นหลักประกันได้บ้าง พ่อครูว่า… มีเด็กพวกเราเป็นพระโสดาบันเยอะไป ลักษณะ 4 ของรูปที่ 28 ที่พ่อครูใช้ในการขยายอายุไข _0852 : สมัยพุทธกาล พระอานนท์เป็นพุทธอุปัฏฐากองค์เดียว สมัยนี้พ่อครูมีปัจฉาหลายรูป สมัยก่อนหมอชีวกคนเดียวดูแลพระพุทธเจ้า สมัยนี้คณะหมอเกือบสิบคนดูแลพ่อครู ดูจะเว่อ ๆ นะครับ คณะหมอก็พยายามจะฝืนกฎอนิจจังหรือความเสื่อม คุณหมอพาตัวเองให้ถึง 80 ก็เลิศแล้ว เห็นแต่คุณหมอเฉก ธนศิริ ที่อายุยืน พ่อครูว่า…อาตมาไม่ได้เป็นคนเก่ง ไม่ได้เป็นคนมีความสามารถเหมือนพระพุทธเจ้าก็ต้องมีตัวช่วยเยอะหน่อย แต่พระพุทธเจ้านั้น ท่านแข็งแรง ทุกอย่างท่าน จริงๆไม่มีตัวช่วย ยังได้เลย เพราะฉะนั้นปัจฉาคนเดียวก็ได้ หมอคนเดียวก็เหลือแหล่ เพราะท่านแข็งแรง ทุกอย่างบริบูรณ์หมดแล้ว แต่อาตมามันยังไม่บริบูรณ์ เอาอาตมาเปรียบเทียบกับพระพุทธเจ้าอย่างไร สู่แดนธรรม… แม้แต่การแสดงธรรมพระพุทธเจ้าก็ไม่ไอใช่ไหมครับ พ่อครูว่า… ใช่ อาตมาก็พยายามอยู่ให้เกิน 120 เหมือนกัน ตั้งเป้าไว้ 133 ตอนนี้ลดลงมาจาก 151 แต่ก็รู้สึกว่าแย่เหมือนกัน รู้สึกว่าป้อแป้เหมือนกันแต่ก็พยายาม บางวันก็ โอ้โห Fresh up ดี กระปรี้กระเปร่า บางวันมันก็เมื่อยก็เพลียก็ว่าไป ก็พักผ่อนคือความไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าท่านสอนเรื่องความไม่เที่ยงเป็นที่สุด ในรูป 28 อนิจจตา เป็นตัวสุดท้ายเลยในลักษณะ 4 ที่มี อุปจยะ สันตติ ชรตา อนิจจตา ลักษณะ 4 ลักษณะสุดท้าย คนเราก็มีรู้จักเกิดกับรู้จักหยุด คือไม่ต่อสันตติ คือหยุด กับอุปจยะคือเกิด เพราะฉะนั้นแม้ว่าคุณเอง คุณไม่ต่อสันตติแล้ว คุณก็จะยังมีโมเมนตัม มีสิ่งที่ยังจะต้องเฉื่อยต่อไปจนกระทั่งหมดเรียกว่า ชรตา ไปถึงที่สุด จะเร็วหรือช้าก็อยู่ที่แต่ละบุคคล บุคคลไม่เฉื่อยมากหรอก พอตัดปุ๊บตายปั๊บเลย บุคคลที่ทำไม่ได้ถึงขนาดนั้นพอตายปุ๊บก็เฉื่อยไปอีกสัก 2 ปั๊บ อีกคนก็แย่กว่านั้นหน่อย พอตายปุ๊บก็เฉื่อยไปอีก 3 ปั๊บ อีกคนแย่หน่อย พอตายปุ๊บก็เฉื่อยไปอีก 40 ปั๊บ จนถึง 100/200 ปั๊บ ปั๊บหนึ่งเท่าไหร่ไปคิดเอาเอง มันก็เป็นอย่างนั้น ใช้คำลักษณะนามเป็นปั๊บๆ ยิ่งกว่าวินาทีก็ได้เท่านั้นเองไม่มีอะไร แต่ในระยะทางที่จะ ชรตา ยังทิ้งปลายเปิดที่อนิจจตา ถ้าฮึดขึ้นมา ไม่เฉื่อยไม่สูญ อุปจยะต่อ.. ได้ ถ้าคุณมีบารมี แต่ถ้าคุณไม่มีบารมีนะ ปล่อยไปจนกระทั่งถึง อุปจยะ สันตติปล่อยไปชรตา จนกระทั่งคุณไม่มีบารมี จะขึ้นมาอีกก็ขึ้นไม่ได้ ต้องตาย โยมหน่อยต้องตาย ถึงวาระต้องตาย สู่แดนธรรม… ตรงข้อสุดท้าย อนิจจตา ถ้าจะฮึดอุปจยะ ต้องใช้สันทะใช่ไหมครับ พ่อครูว่า… ต้องมีบารมีพอ ถ้ามีบารมีไม่พอไม่ขึ้น ต้องใช้ฉันทะสิใช่ ฉันทะเป็นมูล นี่ยิ่งใหญ่ หมอเฉกก็ดูๆกันไปตอนนี้ก็ว่ากันไป อาตมาดูๆกันอยู่ก็หลายคนไม่ออกชื่อหรอก หลายคนก็ยังมีชีวิตอยู่ไม่ถึงตาย แล้วใครจะตายก่อนกันเนาะ อาตมากับหมอเฉก อาตมาใครคนอื่นอีกไม่ออกชื่อ หรือจะดูเจ้าน้อย สุรพล โทณะวณิกก็ได้ ตอนนี้นอนติดเตียงอยู่ ติดเตียงแล้วเขาจะตายก่อนอาตมาหรืออาตมาจะตายก่อนเขาก็ได้ คนอื่นๆอีกไม่ออกชื่อ ที่ว่าดูๆกันไปคือไปดูยังไม่มีการศึกษา แต่ดูว่าเขาก็สามารถที่จะยังชีวิต ยังอายุขัยของเขา เขาใช้อะไรหนอ อย่างเช่นหมอเฉกก็ใช้อย่างหนึ่ง อย่างสุรพล โทณะวณิกก็แน่นอน เขาก็ต้องใช้อะไรขนาดนั้น อย่างคนอื่นๆใครก็แล้วแต่ ที่เขาพยายามยังชีวิตของเขาไปต่อ เขาก็พยายามของเขาตามที่เขามีภูมิรู้ มีความพยายาม สู่แดนธรรม… มีความปรารถนาไม่อยากตาย พ่อครูว่า… อันนั้นเป็นตัวหลักเป็นเจตนาไม่อยากตาย ยังไม่อยากปล่อย มันก็เป็นไปตามธรรมชาติก่อน เป็นตัวนำเป็นตัวตั้ง ส่วนจะไปได้ตามที่ปรารถนาทำให้ได้ตามที่ต้องการหรือไม่มันก็มีเหตุปัจจัยอื่นๆอีกเยอะ แพทย์ศาสตร์เป็นเดรัจฉานวิชา _ปะแก้วขวัญผ่อง : แพทย์ศาสตร์เป็นเดรัจฉานวิชา ที่พ่อครูเทศน์หาอ่านหรือฟังได้ที่ไหนคะ.. ลูกค้าถามมาค่ะ ขอให้พ่อท่านเทศน์หรือตอบมาอีกครั้งได้ไหมคะ ลูกค้าคงเป็นหมอ หรือเกี่ยวข้องกับหมออ่ะค่ะ พ่อครูว่า… แพทย์ศาสตร์เป็นเดรัจฉานวิชา อาตมาไม่ได้ด่าแพทย์ แต่อาตมาพูดหลักวิชาการ โอ้โหถ้าอาตมาด่าแพทย์ อาตมาบรรยายความจริงไม่ออก อาตมาออกจากที่บรรยายไม่ได้ ถูกอัดตายอยู่ที่นั่น มาเต็มแน่นกันเลยนะ อาตมายังจำได้ ตั้งชื่อการบรรยายว่า แพทย์เป็นเดรัจฉานวิชา คนไปฟังเข้าไปในห้องประชุมที่อาตมาจะบรรยายแน่นเลย มีทั้งผู้ที่เรียนหมอ มีทั้งวิศวะด้วย ปนกันไปในนั้นอัดกันไป อาตมาก็ต้องสาธยายด้วยหลักวิชาของพระพุทธเจ้า คำว่า เดรัจฉาน หมายความว่าขวางทางนิพพาน มันไม่พาไปนิพพาน วิชาแพทย์เป็นวิชาการเทคนิคอย่างหนึ่ง เทคนิคในการที่จะเรียนรู้สรีระมนุษย์ มีจิตวิทยาบ้าง แต่ไม่เหมือนของพระพุทธเจ้าแน่นอน โดยเฉพาะยิ่งจิตวิทยาที่ถึงขั้นนิพพาน เพราะฉะนั้นแพทย์จึงไม่ได้เรียนวิชาที่จะพาไปถึงนิพพาน ทีนี้นอกจากว่าแพทย์ไม่พาไปถึงนิพพาน แพทย์ยังขวางทางนิพพานอีกก็คือ คนที่เก่งแพทย์ มีความสามารถในแพทย์เขาก็ภูมิใจปลื้มใจว่าเขามีประโยชน์ เขาก็จะรักในงานแพทย์ คุณก็จะรักแต่งานแพทย์ไม่พาไปนิพพาน มันก็ต้องขวางนิพพานสิ เขาก็จะวนอยู่ชาติแล้วชาติเล่า เขาก็จะวนอยู่ชาติแล้วชาติเล่า ชอบวิชาแพทย์และคุณก็รัก คุณก็จะชำนาญ คุณก็จะมีวิบากกับคนส่วนที่จะรักษากัน คุณก็จะเกิดมาในวัฏสงสารเกี่ยวข้องกันกับคนที่จะต้องรักษา ต่างๆนานา คุณก็จะเป็นแพทย์อีกไม่รู้กี่ชาติ จนกว่าคุณจะเบื่อแพทย์ ปล่อยวางไปเรียนอย่างอื่นดีกว่า โดยเฉพาะมาเรียนวิชานิพพานดีกว่า คุณจึงจะเลิกเรียนวิชาแพทย์มาเรียนวิชานิพพานอย่างนี้เป็นต้น พอเข้าใจได้นะอันนี้ ที่ถามว่าอาตมาเทศน์ไว้ตอนนั้นดูเหมือนไม่ได้อัดบันทึกไว้ หายไปหมดแล้วแหละ สู่แดนธรรม… ท่านสมณะพิสุทโธ น่าจะมีข้อมูลอยู่ พ่อครูว่า… ถามดูสิ ท่านสมณะ สมณะพิสุทโธ คือท่านชื่อนายสมณะพิสุทโธ แต่ตอนนี้ ท่านเป็นสมณะก็ต้องเรียก สมณะสมณะพิสุทโธ ท่านตั้งชื่อกันเอาไว้เลยว่า ท่านจะไม่ตกจากการเป็นสมณะ ตั้งชื่อว่า นายสมณะพิสุทโธ แต่ตอนนี้ ท่านเป็นสมณะก็ต้องเรียก สมณะสมณะพิสุทโธ ท่านกันไว้เผื่อพอ ยังไง ยังไงท่านก็ต้องเป็นสมณะจนได้ แต่ท่านก็ยังไม่ได้ตกหล่นจากสมณะ มันก็เลยเป็น สมณะสมณะพิสุทโธ ก็เป็นเรื่องจริง เป็นเรื่องเกร็ดเล็กๆน้อยๆ สู่แดนธรรม…เดี๋ยวนี้ เขาได้ขวนขวายมาทำกสิกรรม ก็เห็นอานิสงส์ที่เกิดขึ้นกับตนเอง เพราะอาศัยการทำกสิกรรมทั้งที่เมื่อก่อนไม่เคยได้ทำ เมื่อได้ทำแล้วก็เกิดอิทธิบาทที่จะเอากสิกรรมเป็นต้นแบบเป็นเครื่องอาศัยเป็นการละกิเลสของลูก ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากกว่า แต่ลูกจะตั้งใจทำให้ได้คะ จากคุณ พิมพ์เพชรรุ้ง พ่อครูว่า… ดี อนุโมทนาสาธุ จากฟ้ามาลงดิน เป็นนางฟ้ามาเป็นนางดิน สภาวะ ฌานวิสัย กับ อภิภู เหมือน หรือ ต่างกันอย่างไร _จาก FC ท่านหนึ่ง : สภาวะ ฌานวิสัย กับ อภิภู เหมือน หรือ ต่างกันอย่างไร ? พ่อครูว่า… เอาคร่าวๆจากหยาบๆ ไปหาละเอียด ฌาน คือไฟ คือ พลังงานชนิดหนึ่ง ฌาน มีหน้าที่เผากิเลส (พ่อครูไอตัดออกด้วย) สู่แดนธรรม… เด็กๆเคยได้ยินคำว่า ฌานปนกิจ ไหมครับ สะกดอย่างเดียวกันเลย ฌานปนกิจ แปลว่า กิจที่ต้องทำการเผาเพื่อขจัดซากศพ (สว) (พ่อครูไอตัดออกด้วย) ถ้าแปลจริงๆ สว คือสิ่งหมักสิ่งดอง สิ่งเศษสิ่งเหลือ ฌาน พ่อครูเลยแปลว่า เครื่องเผาเครื่องทำลาย พ่อครูว่า… ฌาน นี้ ตรงๆเลยในพจนานุกรมไทย-บาลี เขาเกือบทิ้งกันแล้วเขาก็ยังแปลว่า ไฟ แปลว่า เพลิง แต่เขาก็นำหน้าด้วยการเพ่ง แปลว่า เพ่ง แปลว่าทำให้เป็นหนึ่งตามอะไรของเขาไปตามความเข้าใจของเขา เราก็เขียนลงไปในพจนานุกรม แปลอย่างนี้ตามที่เขาเข้าใจซึ่งได้ผิดเพี้ยนไปไกลแล้ว จริงๆแล้วคำว่า เพ่ง มันก็เป็นคำกลางๆ เช่น ถ้าเพ่งจดจ่อจดจ้องก็เพ่งหนักๆ เพ่งรู้เพ่งเห็นเพ่งเผา อาตมาเคยอธิบายว่า เพ่งเผา เพ่งให้รู้ หรือจับอันนั้นให้มั่น แล้วเรียนรู้ว่าอันนั้นมันเป็นกิเลส อย่าให้มันไปเอาเนื้อจิตหรือเนื้อเจตสิก เอาแต่เนื้อเฉพาะกิเลสมันเป็นพลังงานที่อยู่ด้วยกัน กิเลสกับจิตนี้ มันเหมือนจะเป็นหนึ่งเดียวกันเลย ต้องแยกให้ออก อาการกิเลสกับอาการจิตที่สะอาด อาการจิตแท้ๆกับจิตเก๊ คือกิเลส มาแยกตรง ความรู้สึกที่เวทนา เวทนาแท้ๆ เวทนาเห็นอันนี้สีขาว ขาวฉ่อง เป็นความจริง แต่เวทนาเก๋ก็บอกว่า ขาวนี้ อยากได้ ขาวนี้ชอบใจ ขาวนี้ไม่ชอบใจเลย นั่นคือ เก๊แล้ว เพี้ยนไปจากเดิมความจริง ก็ขาว มันก็ขาวอย่างนี้ ไทยมาเจอขาวก็ใช้ภาษาไทยว่า ขาว ใช่ภาษาจีนว่าอะไรก็ว่าไป ขาว หรือจะภาษาฝรั่งว่า ขาวว่าอะไรก็เรียกไปตามภาษาฝรั่ง ภาษาอะไรอีกก็แล้วแต่ ภาษาสเปน ภาษาแอฟริกัน เขาจะเรียกอันนี้ว่าอะไรก็ว่าตามภาษาของเขา แต่สัจจะมันคือ อันนี้คือขาว เป็นหนึ่งเดียวเหมือนกัน อย่างอื่นก็เรียกตามประสาไป แต่เหมือนกันหมด ส่วนที่ไม่เหมือนกันคือ อารมณ์ต่างกัน ชอบหรือไม่ชอบ มันมีแฝงออกมาจากการรู้จักความหมายเป็นอย่างหนึ่งอย่างเดียวสัจจะเป็นหนึ่งเดียวไปเป็นอีกอันหนึ่ง นั่นแหละคือมันเป็นสิ่งที่เป็นของเก๊ ต้องเรียนรู้ของเก๊นี้ให้ได้อย่าให้มันมาปล้น เพราะฉะน้น ฌานก็จะเผาของเก๊ วิสัยนั่นคือ ตัวเรา สย คือตัวเรา ตัวเราที่เก่ง อาตมาเคยอธิบาย เป็น 4 คำ อาศัย นิสัย วิสัย อนุสัย อาศัย ก็คือ สิ่งที่เราต้องอยู่กับมัน อยู่ด้วยกันกับมันนั่นแหละอย่างไรยังไงก็ต้องอยู่กับมันเรียกว่าอาศัย อาศัยมันอยู่อย่างนี้แหละ จนกระทั่งสิ่งที่เป็นเรา สย คือเป็นเรา เป็นจนกระทั่งเป็นอัตโนมัติ เรียกว่า นิสัย เป็นภาษาที่เราคงเข้าใจคือสิ่งที่เราเป็นนั่นแหละ พฤติกรรมของเรา ความเก่งความไม่เก่งของเราจะดีหรือจะเลวก็เป็นนิสัยแบบนี้แหละ นิสัยเลวนิสัยดีก็แล้วแต่เป็นอย่างนั้น ส่วน วิสัย นั่นก็คือเป็นได้เก่งกว่านิสัย เลือกเฟ้นและฝึกตน วิ แปลว่าไม่ก็ได้ แปลว่า วิเศษ แปลว่าเจริญมากขึ้นก็ได้ วิ นี่ แปลว่าไม่ดีก็ได้ แปลว่าดีเยี่ยมก็ได้ เพราะฉะนั้นคนควรจะทำสิ่งที่ดีเยี่ยม ไม่ใช่ไปเอาสิ่งที่ไม่ดีเยี่ยมใช่ไหมวิสัย ต้องทำให้ดีเยี่ยมได้จึงจะเรียกว่าวิสัย สูงกว่านิสัย วิสัย สูงกว่านิสัย จนเป็นอัตโนมัติ เป็นอัตโนมัติยิ่งขึ้นๆ จนเป็นตนเองเลย เรียกว่าเป็น ตถตา ก็คือ อนุสัย อนุ เป็นคำ แปลว่า ตาม ก็ตามที่ตัวเองสั่งสมมาทั้งหมด จะเรียกว่าอาศัยอยู่ มีนิสัยอย่างนี้อยู่ ก็คืออนุสัย มันตามตัวเราไปตลอด จนกว่าเราจะปล่อยมัน อนุ ไม่ได้ เป็นเจ้านายเรา อนุสัย ไม่ใช่เจ้านายเรา มันเป็นตัวน้อยๆ อยู่กับเรา มันตามเรา มันไม่มีอำนาจเหนือเราเป็นอนุสัย เป็นตัวเราที่ เรายังอนุโลม เอาอนุโลม มาใช้ เป็นตัวเราที่ยังอนุโลมให้มันมีตัวเราอยู่ อนุโลมอยู่กับตัวเราก็ได้ สู่แดนธรรม… ท่าน สมณะพิสุทธิ์ พิสุทโธ พ่อครูเทศน์ไว้นานกว่า 45 ปีไม่มีใครบันทึกไว้เลย ฌานที่คนทั่วไปทำนั้นเป็นการทำให้จิตมันรวมเท่านั้น ไม่ได้ลดกิเลสแต่ฌานที่พ่อครูสอนคือเผากิเลส ให้กิเลสหมดไปลดลงไป จนสิ้นกิเลส พ่อครูว่า… อภิภู แปลว่าผู้ยิ่งใหญ่ ตามพจนานุกรมบาลี เขาแปลไว้อย่างนั้นอภิภายตนะ 8 คือเป็นคนที่เจริญ เป็นคนประเสริฐเป็นคนเจริญที่พัฒนาตนเองมีความรู้ความสามารถในทางโลกุตรธรรมไปจนกระทั่ง อภิภู คือผู้ที่มีอภิภายตนะ 8 อภิ อายตนะ มีอายตนะยิ่ง อภินี่คือยิ่งใหญ่ เป็นผู้ที่มีความรู้ในเรื่องอายตนะถึง 8 ข้อ เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ รู้ทั้งรู้ถึงเป็นได้ถึง 8 ข้อ อาตมาค่อยๆทยอยอธิบายไป ที่จริงมันเป็นเรื่องสูงของ สยังอภิญญา สูงจากฐานะของอาตมาระดับ 7 เป็นระดับ 8 อภิภู ระดับ 8 ก็เริ่มมีความรู้ในอภิภูขึ้นมาเรื่อยๆ ตามลำดับๆๆ ก็เอาตัวอย่างนิดหน่อย เช่น อภิภู คือผู้ที่มีอภิภายตนะ 8 เป็นอายตนะที่ยิ่งใหญ่ ข้อที่ 1 ก็คือเป็นผู้ที่ มีความรู้เป็นอัตโนมัติอยู่แล้ว รู้ทั้งภายนอก รู้ทั้งภายในคู่กัน เรียกว่า กาย ไม่แยกกันแล้ว คนที่รู้ภายนอกกับภายในพร้อมกัน ไม่แยกกัน คนนี้เป็นคนชั้น 1 เป็นคนพิเศษชั้น 1 หากว่ารู้แต่ภายนอกเฉยๆ มันก็แค่นั้น รู้แต่ภายในให้เก่งให้ตายอย่างไรพวกหลับตาปฏิบัติรู้แต่ภายในให้เก่งให้ตายอย่างไร ก็เสร็จ ไปไหนไม่ออกก็บรรลุธรรมไม่ได้ บรรลุธรรมไม่ได้ เพราะรู้อย่างใดอย่างเดียว รู้จักภายนอกไม่รู้ภายในร่วม รู้แต่ภายในไม่รู้ภายนอกร่วม ก็ไม่บรรลุนิพพานไม่บรรลุธรรมะของพระพุทธเจ้า จะต้องมี 2 เพราะฉะนั้นเทวนิยมรู้จักพระเจ้าแต่ภายในอย่างเดียว ภายนอกที่กระทบด้วยตา หู จมูก ลิ้น กายไม่รู้เลย ไม่มีอยู่ไหนล่ะพระเจ้า ไหนลองสัมผัสดูซิ เอามือจับ ตาเห็นได้ยินเสียงจริงๆเดี๋ยวนี้ ได้กลิ่น ลิ้นแตะได้ ก็ไม่ได้ ก็ไม่ถือว่าเป็นสัจจะครบบริบูรณ์ เมื่อไม่มีสัจจะครบบริบูรณ์เขาก็ปฏิบัติธรรมบริบูรณ์ไม่ได้ เพราะฉะนั้นแม้ข้อเดียว นามรูป หรือภายนอกกับภายในเท่านี้แหละไม่ครบ นี้เป็นอภิภายตนะข้อที่ 1 มีสัญญาการกำหนดรู้ภายนอกภายใน สัญญาคือการกำหนดรู้สำคัญมั่นหมาย อันนี้ภายนอกแล้วอันนี้ภายในแล้ว 2 เป็น 1, 1 เป็น 2 แค่นี้อันเดียว คุณไม่มีแล้วคุณก็ยังไม่ใช่อภิภูเลย คุณจะเป็นอภิภูได้ ต้องมีข้อนี้เป็นข้อที่ 1 จากนั้นถึงจะรู้ ปริตตัง เพื่อจะรู้ไปถึง อัปปมาณา ทุพรรณะ สุพรรณา …ฝากไว้ก่อนโอฬาร สู่แดนธรรม… สรุปจบ เจริญธรรม ? Category: ศาสนาBy Samanasandin17 มกราคม 2022Tags: พุทธศาสนาตามภูมิวิถีอาริยธรรม Author: Samanasandin https://boonniyom.net Post navigationPreviousPrevious post:650114_พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ อภิธรรมของศีลข้อ 1 ที่ชาวอโศกปฏิบัติได้NextNext post:นสพ.ข่าวอโศก 523(545) ตุลาคม-ธันวาคม ๖๔ รวมปักษ์Related Posts150401 จะพึ่งอะไรดี-พ่อท่าน-วัดมหาธาตุ28 พฤษภาคม 2024141026 จูฬสุญญตสูตร ตอนที่ 2-พ่อท่าน-วัดธาตุทอง7 พฤษภาคม 2024141026 จูฬสุญญตสูตร ตอนที่ 1-พ่อท่าน-วัดธาตุทอง4 พฤษภาคม 2024670224 พ่อครูเทศน์เวียนธรรมมาฆบูชา งานพุทธาภิเษกฯ ครั้งที่ 48 ราชธานีอโศก24 กุมภาพันธ์ 2024670126 ตอบปัญหาเพื่อละอวิชชา 8 พุทธศาสนาตามภูมิ ราชธานีอโศก26 มกราคม 2024670117 ปฏิจจสมุปบาท ตอน 4 พุทธศาสนาตามภูมิ ราชธานีอโศก17 มกราคม 2024