641227 รายการ ตุ้ม ตะลุ่ม ตุ้ม ม้ง ครั้งที่ 22 ยุคนี้สมาธิชาวอโศกเกิดจากจรณะ 15 วิชชา 8
ดาวโหลดเอกสารที่
https://docs.google.com/document/d/19vT5TwEoFJ12Xp-x1TQF-8-tLFRlnH5fMmSg269lCFo/edit?usp=sharing
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1PXQdhqq7SNdbIAd0NY1smFJEbrz27RUn/view?usp=sharing
และดูวิดีโอได้ที่ https://youtu.be/-uM-v2Y65Fo
และ https://fb.watch/a9rF9GHHEK/
สู่แดนธรรม…วันนี้เป็นวันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก
พ่อครูว่า… ประกาศ
ขอเชิญท่านผู้สนใจ เข้าร่วม ค่ายอุโบสถศีลชาวอโศก ออนไลน์ ครั้งที่ 2
“เริ่มปีใหม่ สร้างอาหารใจให้พ้นทุกข์” วันที่ศุกร์ที่ 14 – อาทิตย์ที่ 16 มกราคม 2565
ยุคโควิดปิดหมู่บ้านชาวอโศก ท่านไม่สามารถมาวัดได้ เราจึงยกวัดไปไว้ที่บ้านคุณแทน
ท่านสามารถเข้าร่วมค่ายโดยรับใบสมัครและรับลิงค์* zoom เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมค่ายออนไลน์โดย คลิกลิงค์ https://line.me/ti/g2/gYgCAqEyNRBJnGrcpJ9zlJT0YgXBfH4AvHbQ5g?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default เพื่อเข้าร่วมห้องไลน์ Open chat ค่ายออนไลน์ชาวอโศก จากนั้นท่านจะได้รับ ลิงค์เข้า. Zoom และหากท่านใช้ Zoom ไม่เป็น สามารถแชทกับแอดมิน เพื่อให้สอนการใช้ Zoom แก่ท่านได้
ที่พูดลิงค์อะไรนี่อาตมาทำไม่เป็นสักอย่าง อาตมาคนโบราณ นวทัศน์ มีนามแฝงที่อาตมาใช้คำว่าโบราณนำหน้า 3 นามแฝง คือ
นามปากกา โบราณ สนิมรัก ,โบราณ นวทัศน์ ,โบราณ ใหม่เสมอ
อาตมามีนามแฝงเยอะ จำไม่หวาดไม่ไหว งานเขียนของอาตมาเลยไม่เป็นหมวดหมู่ ไม่เหมือนคนใช้นามแฝงเดียว
SMS วันที่ 24-26 ธ.ค. 2564
วสวัตตีโก กับ อภิภู ต่างกันอย่างไร
_จาก..ลูกหนอนใต้ต้นโพธิ์ : กราบนมัสการพ่อครูด้วยความเคารพค่ะ
จากการฟังธรรมพ่อครูและอ่านหนังสือเปิดยุคบุญนิยมเล่ม ๓ มีเรื่องเรียนถามค่ะว่า
วสวัตตีโก ผู้ยังจิตตนให้เป็นไปในอำนาจได้ กับ อภิภู ผู้มีอำนาจเหนือ มีนัยยะ แตกต่างกันอย่างไรคะ กราบขอบพระคุณพ่อครูด้วยความเคารพสุดเศียรเกล้าค่ะ
พ่อครูว่า… วสวัตตีโก คือ ผู้สามารถฝึกจิตของตัวเองให้มีอำนาจ ยังจิตของตัวเองให้เป็นไปอย่างไรได้ อย่างเก่งอย่างมีอำนาจเพียงพอ อยากให้เกิดก็ได้อยากให้ตายก็ได้ แล้วก็รู้รายละเอียดของการเกิดการตายที่สำคัญ กิเลสตายแล้ว แต่เราก็ปรุงแต่งกับกิเลสได้บ้าง ไปกับกิเลส แต่ตนเองก็ไม่ติดกิเลสนั้น ปรุงแต่งไป เช่น แม่เล่นหม้อข้าวหม้อแกง สนุกสนานไปกับลูก ลูกก็มีแม่เป็นเพื่อนเล่นไป แต่ตนเองก็ไม่ได้ติดยึดอะไรกับการเล่นนั้น ทำทีไป เราเคยรู้เคยเล่นมา
หรือแม่ครัว ปรุงแต่งอาหาร ปรุงอาหารให้คนกินแบบนั้นแบบนี้ได้ แต่ตนเองไม่ได้ติดอาหารนั้น อาหารนั้นไม่ได้ชอบเลย เขาก็มากินตามชอบ แต่เราปรุงให้คนอื่นได้สารพัดเก่ง
ส่วนอภิภูนั้น เป็นผู้ทั้งมีอำนาจเหนือสิ่งต่างๆที่โลกเขามีอยู่ด้วย แล้วรู้รายละเอียด เป็นนักศึกษาเป็นนักประพฤติปฏิบัติ เป็นนักรู้ที่เป็นเลือดโพธิสัตว์แท้
วสวัตตีโก คล้ายๆกับเป็นแค่อรหันต์ ส่วนอภิภู เป็นระดับโพธิสัตว์ ศึกษาต่อเรียนรู้ผู้ช่วยคนอื่นให้ได้มากขึ้นเป็นประโยชน์ต่อคนอื่นมากขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างนี้เป็นต้น ก็ต่างกันบ้าง
สรุปง่ายๆก็คล้ายๆกับ วสวัตตีโก เป็น static อภิภู เป็น Dynamic อย่างนี้เป็นต้น
ถ้าจะเทียบ วสวัตตีโก เหมือน Proper noun อภิภู เป็น Common noun
สู่แดนธรรม… แม้แต่คนมีศีล 5 ก็ ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจได้ ถ้าปรับจิตไม่ได้จิตก็ดื้อ คือจิตไม่มีอำนาจ วสวัตตีโก ผู้ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจได้
_สติพล จนพัฒนา : **มีคนฝากถามพ่อครูให้อธิบายคำว่า ลดคนลดหนี้ และ
เพิ่มคนเพิ่มหนี้ ทั้งในแง่บวกและลบครับ?.
พ่อครูว่า…ถ้ายิ่งไม่มีความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ก็ยังมีหนี้มากขึ้น คือ เอาแค่ภาษามาคิดแต่เรื่องความเป็นจริงที่เป็นอยู่ไม่ค่อยเป็นจริง ดูเหมือนเป็นวาทกรรมที่ดูเหมือนเท่ๆเฉยๆ มันก็คิดได้สารพัดเป็นโลกจินตา เดี๋ยวนี้มีเยอะ แล้วคนก็เมาสิ่งเหล่านี้ไป ทั้งนั้นแหละ
อาตมาว่าภาษาที่ปรุงแต่งมาว่ากันไป ต่างคนต่างเข้าใจกันไป (พ่อครูไอตัดออกด้วย)
สู่แดนธรรม… โดยเฉพาะสังคมออนไลน์คนก็เชื่อถือกัน
พ่อครูว่า… นึกถึงสักคำหนึ่ง มันกลายเป็น นักสู่รู้ เป็นคนสู่รู้ ทำเป็นคนอวดรู้ รู้ดี อวดรู้เยอะ มีเยอะ ฉะนั้นมันถึงเละเทะ มีอะไรอะไรออกมาคนแสดงความสู่รู้ จริงๆมันเป็นไปไม่ได้มีเยอะแต่สู่รู้ออกมาเท่านั้น ดูเท่ๆ ดูประหลาดมหัศจรรย์เท่านั้น
ลักษณะของจิตที่เป็นสมาธิพุทธแท้ ไม่มีสาเฐยจิต
_พรทิพย์ มุ่งกลัด : สมาธิของพุทธมีทั้ง static ซึ่งหมายถึงความมั่นคงได้แก่ ฐิเต (ตั่งมั่น) อาเนญชัปปัตเต (ไม่หวั่นไหว) และ dynamic ซึ่งหมายถึง ความมั่งคั่ง ได้แก่ มุทุภูเต (แววไว ดัดง่าย) กัมมนิเย (เหมาะควรแก่การงาน) ใช่มั้ยคะ
พ่อครูว่า…ใช่ ที่จริงแล้วคำว่า มุทุภูเต รวมทั้ง Static และ Dynamic ถ้าจะ เอาพวกนี้มารวมความหมายเช่นว่า static หมายถึงความมั่งคั่งมั่นคง ฐีเต อเนญชัปปัตเต ก็ได้ เป็นลักษณะ Static
ถ้าเป็น Dynamic ก็มีลักษณะของ กัมมนิเย อีกคำคือ ปภัสสเร , ปภัสสรา
มุทุภูเต เป็นคำกลางๆ
ลักษณะ 9 ของ ฌานที่เป็นสมาธิพุทธแท้ มีดังนี้
-
สมาหิเต (จิตเต จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ)
-
ปริสุทเธ (จิตบริสุทธิ์ สุกสกาว ไม่มีอะไรที่จะแอบแฝง)
-
ปริโยทาเต (ผ่องแผ้ว อย่างแข็งแรงอยู่กับผัสสะ)
-
อณังคเณ (ไม่มีกิเลสเครื่องเศร้าหมอง)
-
วิคตูปักกิเลเส (ปราศจากแม้แต่อุปกิเลส )
-
มุทุภูเต (แววไวด้วยจิตหัวอ่อนดัดง่ายแก้ไขไว )
-
กัมมนิเย (ควรแก่การงานอันไม่มีโทษ ไม่มีกิเลส)
-
ฐีเต (จิตถึงความตั้งมั่น )
-
อเนญชัปปัตเต (จิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหว )