660410 พ่อครูเทศน์ภาคค่ำ เรื่อง กาย งานปลุกเสกฯ#45 ราชธานีอโศก
ดาวโหลดเอกสารที่ https://docs.google.com/document/d/1QgViDbXCr0hd6K27AmGjK387nRP9sDsP/edit?usp=sharing&ouid=101958567431106342434&rtpof=true&sd=true
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1V37NUy8QJNZYihrOT5C30mruVqJ-djFw/view?usp=share_link
ดูวิดีโอได้ที่ https://youtu.be/ZZ1bSELWKxg
และ https://fb.watch/jPN83yI0ZR/
แยกกายแยกจิตให้ถึงวิญญาณฐิติ 7
พ่อครูว่า…เจริญธรรมทุกคน วันนี้วันจันทร์ที่ 10 เมษายน 2566 แรม 5 ค่ำ เดือน 5 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก ชวด ฉลูขาล เถาะ ปีเถาะเป็นปีที่ 4 ยังไม่ถึง 5
งานปลุกเสกพระแท้ๆของพุทธครั้งที่ 45 นี้ คาบสุดท้ายแล้วที่อาตมาจะอธิบายในงานปลุกเสกนี้ ซึ่งอาตมาได้อธิบายในเรื่องของ กาย อธิบายคำว่ากาย ถึงแม้ว่าได้อธิบายพูดไปแล้วก็ยังรู้สึกว่าตัวเองไม่เก่ง ยังไม่สามารถที่จะคลี่คลาย ขยายความ ความหมายของคำว่ากายนี้ให้ครบถ้วนได้ บริบูรณ์ดี สมบูรณ์จนกระทั่ง รู้สึกว่ามันจบถ้วนแล้ว แต่ก็ได้สรุปรอบจบความเป็นกายไปหลายรอบแล้ว แต่ก็ยังรู้สึกว่า ยังไม่จุใจ
พูดแล้วก็รู้สึกว่าตัวเองยังคลี่ไม่ค่อยออก วน รู้สึกว่ายังไม่เก่งเท่าไหร่ อาตมาพยายามที่จะนำ ความหมายที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสเอาไว้ ในสูตรต่างๆตั้งแต่คำว่า สักกายทิฏฐิ ที่ ผู้ปฏิบัติธรรมต้องรู้ รู้สักกะ รู้ กายะ
รู้ความเป็นกายที่ตัวตนนี้ให้ชัดเจน ให้ถูกต้อง ให้สัมมา จนกระทั่งสามารถแยกกายแยกจิตได้เป็นธรรมนิยาม 5 ทำให้กาย จนไม่มีความเป็นกาย เป็นอุตุธาตุไป เป็นแค่ พีชะ มีจิตนิยามอาศัยไป
ก็รู้ความจริงได้ว่า พีชะ มันไม่เหมือนอุตุ เมื่ออุตุไม่มี มันก็ไม่มีเวทนา ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ ก็อาศัยชีวะที่มีเวทนาที่ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ได้
พยัญชนะคำว่า อุตุ คืออย่างไร เราต้องรู้อาการจิต เจตสิกต่างๆที่แยกเป็นเจตสิก เจตสิก มันไม่มีเวทนา มันไม่มีกายเป็นอย่างไร เราก็เข้าใจของเราได้ โดยพระพุทธเจ้าท่านให้อ่านออกจากการพิจารณาตรงผม ขน เล็บ ฟันหนัง
ซึ่งอาตมาก็ได้แจกแจงให้ฟังแล้วว่า ส่วนที่ไม่ว่าจะเป็นส่วนของขนของผม ของเล็บ ของฟัน ของหนัง ส่วนนอกที่ ไม่เกี่ยวกับประสาทแล้ว ไม่มีความเป็นกายแล้ว เราจะตัดให้มันขาดออกจากร่าง ก็ตัดได้ ไม่เจ็บไม่ปวด ไม่มีความรู้สึก ไม่มีเวทนาเลย
ส่วนที่มันขาดออกไปมันก็ยิ่งชัดว่ามันหลุดออกไปจากร่าง สรีระเราแล้ว มันไม่มีชีวะกับสรีระเราแล้ว มันหลุดออกไปเลย
ส่วนนั้นมันก็ยิ่งชัดว่าเป็นดินน้ำไฟลม เป็นอุตุธาตุ มันไม่มีชีวะขาดไปแล้วก็ขาดกัน ส่วนที่ยังเหลืออยู่เป็นชีวะ มันไม่เจ็บมันไม่ปวด มันไม่ทุกข์ มันไม่สุขก็เข้าใจว่า มันไม่ทุกข์ไม่สุข มันไม่เจ็บไม่ปวดอย่างนี้ไม่มีบาปไม่มีบุญ เพราะไม่รู้สึกเจ็บ ไม่รู้สึกปวด ไม่รู้สึกชอบไม่รู้สึกชัง ไม่รู้สึกความเป็นเทวะหรือความเป็นกาย มันก็ไม่มีกายผูกยึด ไม่ติดไม่ยึดอะไรกัน
อาการเช่นนี้นะเป็นอาการที่เป็น อทุกขมสุข เป็นฐานที่อาศัยของจิต ที่เราจะปฏิบัติ
พวกมิจฉาทิฏฐิเขาก็ทำให้ไม่ทุกข์ไม่สุขได้ สะกดจิตให้ไม่ทุกข์ไม่สุขได้ แต่มันไม่จริง มันไม่ถาวร มันไม่ยั่งยืน มันไม่ได้ดับเหตุ
เพราะฉะนั้นศาสนาพุทธก็มารู้จักเหตุ ทำเหตุให้มันดับออกให้มันออกไป เหตุที่ทำให้เกิดอาการดูด อาการกาม อาการปฏิฆะ ด้วยปัญญาอันยิ่งเห็นว่ามันเป็นความยึดติด มันเป็นความโง่ มันเป็นความหลงว่าเป็นเราเป็นของเราเป็นรสชาติ
ถ้ามันชอบอย่างนี้ก็เป็นสุข ไม่ชอบมันก็เป็นทุกข์ ชัดเจน
โดยเฉพาะสิ่งหยาบที่เราเกี่ยวข้องสัมผัสสัมพันธ์ เห็นได้ง่าย และจิตของเราก็มีปฏิภาณรู้ว่าอย่างนี้ไร้สาระ ชีวิตเราถ้าจะเลิกจากมัน ก็ไม่กระทบกระเทือนไม่ทำให้ชีวิตเราตกต่ำ ชีวิตเราจะสูงขึ้นด้วยซ้ำ ชีวิตที่เคยเสียเวลาแรงงานทุนรอนกับมันไร้สาระจริงๆโง่จริงๆ เห็นความโง่ของตัวเองชัดเจนเลย ชัด ปัญญาเกิดขึ้นเป็น วิชชา อวิชชาหายไปเลย ก็หลุดพ้นมาจากโลก อบาย ก็ชัดเจน
เป็นเช่นนี้เองเหรอจิต เจตสิก รูป หลุดไปแล้วมันก็เป็นนิพพานเป็นชิ้นนี้เอง หรือ ความหมด ไม่มีความเกี่ยวข้องเป็นจิต เจตสิกอะไรกับเราแล้ว มันกลายเป็น สสารวัตถุ สรีระ เป็นอะไรที่เกิดอยู่ในโลก
เราเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับมันมีอยู่ก็เข้าใจแล้ว มันปรุงแต่งกันเป็นโลกอบาย เราก็หลุดพ้นจากโลกบาย เป็นเช่นนี้เอง ตถตา มันเป็นเช่นนี้เอง ไม่รู้แจ้งรู้จริงแล้วเหนือขึ้นมาเป็นโลกกาม มีรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส มีสุขทุกข์อยู่ทางตา ตากระทบรูป หูกระทบเสียง จมูกกระทบกลิ่น ลิ้นกระทบรส โผฏฐัพพะกระทบภายนอก มโนกับธรรมายตนะภายใน มันก็เกิดสุขเกิดทุกข์อยู่
ก็เหมือนแต่ก่อนเราติดในอบายมุข มันก็ง่ายขึ้น เพราะมันมีของจริงที่เราได้หลุดพ้นแต่ละโลก โลกต่ำทำได้แล้วโลกหยาบ โลกต่อมา เราก็เข้าใจปฏิภาณของเรามันเกิดจริงมีจริงเป็นจริงมันก็จะทำให้ง่ายขึ้น ก็รู้ว่าโง่ไปหลงว่า เป็นสุขเป็นทุกข์ไปหลงอยู่ที่เวทนา ที่เป็นเรื่องมายาหลอกน่ะ ที่จริงมันเป็นทุกข์มันจึงหลงว่าเป็นสุข มันเป็นสภาพมายากลหลอกเรา ทุกข์สุขมันไม่มีจริงหรอก
ความฉลาดก็สูงขึ้นเห็นขึ้น เลิกมาได้ รูปอะไรที่เป็นวัตถุรูป ที่เราเองเคยหลง เคยติด เคยทุกข์ เคยสุขกับมัน แต่ละคนไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน อันนี้เออ เราเองไม่ได้ติดมาก วางได้ปล่อยได้ มันก็หมดอาการผูกยึด ไม่แล้ว ไม่ติดไม่ยึด ไม่ห่วงไม่หา ไม่อาวรณ์
เราจะเกิดอาการที่ได้เรียนรู้ว่าจิตของเราเกี่ยวข้องสัมผัสสัมพันธ์แล้วมันเกิดการ ละ วาง ปลดปล่อย ขาด หมดกิเลส แม้จะสัมผัสสัมพันธ์กันอยู่ ก็เป็นธรรมดาธรรมชาติที่อยู่ร่วมกัน สัมผัสสัมพันธ์กัน มันไม่เป็นโทษ มันเป็นประโยชน์ในอันนี้อย่างนี้ ก็เอามาร่วมใช้ร่วมกินร่วมใช้ กับชีวิตได้ มันเป็นจริงมันจะเห็น
ฟังๆนี้เข้าใจไหม มีสภาวะไหม… มี ทำได้ไหม… ได้ ไอ้ที่ละได้แล้วมีไหม… มี ไอ้ที่ยังไม่ได้มีอยู่มีไหม… มี แล้วไอ้ที่ทำได้ ทำให้มันมีอยู่ มันไม่มีไม่ได้หรือ…กำลังทำอยู่ นี่ พูดไปแล้วเราก็รู้ว่าพูดอันนี้หมายถึงอะไร แล้วเราก็รู้ว่าเราได้หรือไม่ได้ ไม่มืดมัว กระจ่างชัด
เป็นอาภัสรา เป็นความสว่างกระจ่างแจ้ง คือ มีกาย อย่างเดียวกัน พวกเราเข้าใจสัมผัสแล้ว เราชัดเจน เรายังติดอยู่ เราก็รู้ เราไม่ติดอยู่เราก็รู้ เข้าใจว่าสัญญากำหนดหมายของเรารู้อ่านรู้ว่า ยังติดอยู่นะ อาภัสรา หมายถึงความสว่างกระจ่างแจ้ง หรือปัญญา หรือความรู้ ความเจริญของจิตท่านเรียกว่าอาภัสรา เทวดาขั้นสูง
วิญญาณฐิติขั้นที่ 1 ก็เป็นมนุษย์ เป็นมาร เป็นเทวดาไม่รู้เรื่อง กายต่างกันสัญญาต่างกัน
พอมาวิญญาณฐิติขั้นที่ 2 กายต่างกัน สัญญาอย่างเดียวกัน ทำให้เห็นอาการนิวรณ์ 5ไม่มีได้ ไม่มีกาม พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจจะ วิจิกิจฉา จนชัดเจนไม่สงสัย รู้จนกระทั่งกระจ่างแจ้งสัมมาทิฏฐิเลยว่ามันดับอย่าง กายต่างกัน
เพราะเราลืมตาสัมมาทิฏฐิ ส่วนมิจฉาทิฏฐินั้นหลับตาเขาถึงทำให้ไม่มีนิวรณ์ สัญญาไม่มีนิวรณ์ ก็ทำได้เหมือนกัน พวกหลับตาเขาก็ทำได้สัญญาอย่างไม่มีนิวรณ์ทั้ง 5
พวกลืมตาก็ทำได้ไม่มีนิวรณ์ 5 เหมือนกันโดยที่ กายต่างกัน คนหนึ่งลืมตา คนหนึ่งหลับตา
พอไปวิญญาณฐิติขั้นที่ 3 เกิดปัญญาเกิดความสว่าง กระจ่างแจ้งรู้ อ๋อ.. กายอย่างเดียวกัน ความสว่างกระจ่างแจ้งอย่างเดียวกัน หรือมีปฏิภาณปัญญารู้ มีความรู้ความฉลาดอย่างเดียวกัน แต่ว่ามิจฉาทิฏฐิเขาเห็นต่างจากเรา
ปัญญาของเขาไม่เหมือนเรา ความสว่างกระจ่างแจ้งความรู้เขาไม่เหมือนเรา เทวดาอาภัสราหรือความสว่างกระจ่างแจ้งความรู้ความเห็นไม่เหมือนกัน
วิญญาณฐิติขั้นที่ 4 นี้ ไปกำหนดหมายสัญญา กำหนดหมายนิโรธ มิจฉาทิฏฐิไปกำหนดหมายนิโรธอยู่ที่ ความไม่มีชนิดไม่รู้ ชนิดไม่เห็นไม่เข้าใจ มันเป็นความนิโรธดับความไม่รู้ ดับสัญญา ดับเวทนา ดับให้จิตไม่ทำงานเท่านั้น มันเป็นลักษณะ กิณหา
เป็นความดับ ความดำ ความหยุด มืด เงียบ สัญญาเป็น อสัญญีสัตว์ เวทนาก็เป็นเวทนาที่หลงว่าเป็นนิโรธ มันไม่ใช่ของจริง
เพราะฉะนั้นคนที่มองเห็น หรือคนที่ทำได้ สัมมาทิฏฐิ ก็เข้าใจนิโรธว่าไม่ใช่มันดำ มันดับ มันมืด แต่มันก็สูงกว่าดำกว่าดับกว่ามืด กิเลส มันไม่มีก็ไม่สุขไม่ทุกข์
การดับสัญญาให้ดับให้ดำให้มืด คุณก็ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข แต่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขที่ต่างกัน
ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขของมิจฉาทิฐินั้น เขาก็ไม่มีได้ แต่เขาทำแบบ ดำๆมืดๆไปเฉยๆให้มันหยุด มันดับ มันดำ มันผ่าน มันไม่มีแสงสว่างมันไม่มีปัญญา มันไม่มีความกระจ่างกระจ่าง ไม่มีความรู้เลย
แต่ของพระพุทธเจ้านั้น อ๋อ.. อทุกขมสุข ที่เป็นอุเบกขา ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะจิตสะอาดจากกิเลส อุเบกขา ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา
มันมีความเหมือนกันตรง กายเหมือนกันสัญญาเหมือนกัน แต่มันต่างกันที่สัมมาทิฏฐิและมิจฉาทิฏฐิ เห็นไหม
เพราะฉะนั้นในวิญญาณฐิติข้อที่ 5 6 7 สัมมาทิฏฐิ อากาสา นัญจายตนะ คือ ความว่าง อากาศ นั้นอย่างหนึ่ง เป็นรูป
วิญญานัญจายตนะ นั้นก็อย่างหนึ่ง เป็น นาม
ระหว่างรูปกับนาม ระหว่างอากาศกับวิญญาณนี้ ไม่มีนิดหนึ่งที่ต้องการไม่ให้มีเรียกว่า สิทธัตถะ
สิทธัตถะคือ ผู้ที่มีความต้องการอันสำเร็จแล้ว พยัญชนะคำว่าสิทธัตถะนี้ แปลว่าความต้องการ ผู้มีความต้องการอันสำเร็จแล้ว
นี่แหละคือความเป็นสิทธัตถะ โอ้โห พวกคุณนี้เป็นลูกของพระนางสิริมหามายาเลยทั้งนั้นนะ พวกคุณนี้เป็นลูกเป็นบุตรของพระนางสิริมหามายาทั้งนั้นเลย ที่ให้กำเนิดมาอย่างเป็นผู้มีความต้องการอันสำเร็จแล้วได้จริง
เพราะฉะนั้นจะมีกิเลสตัณหาในระดับใดก็แล้วแต่ กามตัณหาภวตัณหา วิภวตัณหา ก็อยู่สูงสุดหมดจบ แม้เป็นความต้องการหรือความอยากในระดับไม่มีภพแล้วเป็นวิภาวะตัณหา
ก็เข้าใจว่า พระอรหันต์แล้วไม่มีภพแล้ว แต่มีตัณหาอันไม่มีกิเลส เป็นตัณหาอุดมการณ์ เป็นตัณหาอันทำงานไม่มีตัวตน ไม่มีกิเลส ไม่มีเพื่อตัวเพื่อตน มีแต่เพื่อผู้อื่น เป็นประโยชน์
ส่วนกามตัณหา ภวตัณหานั้นแน่นอนมันไม่มีหมดแล้ว เหลือภพ แม้ภพนั้น ก็เป็นภพอันยิ่งวิภวะ
วิ คือยิ่งไม่มีแล้ว กามก็ไม่มี ตัณหาก็ไม่มีหมด เป็นตัณหาอุดมการณ์อย่างนี้เป็นต้น
สภาวะที่อาตมาอธิบายโดยพยัญชนะนี้ถ้าพวกคุณรู้ชัดเจนแล้วทำให้สภาวะมันถูกต้องได้ตามที่อาตมาพูดนี้ คุณคืออรหันต์ ใครทำได้ก็รู้ตัวเองว่าเป็นอรหันต์ ทำได้อย่างแข็งแรงมั่นคงถาวร ไม่มีในจิต กระทบสัมผัสอยู่บัดนี้อยู่หลัดๆ อย่าง หยาบ กลาง ละเอียด อย่างไรก็ไม่เกิด
ภาวะใดก็ไม่เกิดมั่นคงถาวร สมาหิโต จิตตั้งมั่นที่อเนญชา สมบูรณ์แบบ ไม่หวั่นไหว ไม่เกิดอาการ อิญชนะ ไม่มีการเคลื่อนไหว จิตนะ มันไม่เคลื่อนไหว ไม่ใช่ว่ากายไม่เคลื่อนไหว กายคล่องแคล่วเลย วจีกรรมก็คล่องแคล่ว จิตก็คล่องแคล่ว แต่ไม่มีกิเลสมาแฝงในจิต ที่จะมาคล่องแคล่วมาทำหลอก แวบๆวับๆ เร็วไวเลยนะ ไม่มี หายไป หมดสะอาดได้หมดจากจิต ไม่มีการเคลื่อนไหว ไม่มีบทบาทของกิเลสเหลือในจิตเลย อนุปาทิเสสะ ไม่เหลือ นิพพาน ที่เป็น อนุปาทิเสสนิพพาน อย่างนี้เป็นต้น
เพราะฉะนั้นจึงเป็นผู้ที่สามารถเข้าใจ สัตตาวาส 9 คือ ยังเป็นสัตว์อยู่หมดทั้ง 9 ตัว ส่วนวิญญาณฐิติ 7 นั้น บรรลุธรรมไปตามลำดับ พอพ้นลำดับที่ 4 ระดับที่ 5 6 7 ก็เป็นอรหันต์แล้ว หมดในรูปของอย่าง 1 อย่าง 2 อย่าง 3 อย่าง 4 ถ้ายังเหลือก็เป็น ฌาน หรือเป็นสภาพที่ยังไม่สมบูรณ์แบบ ทำวิญญาณฐิติ 7 ให้ไม่มีนิวรณ์ 5 ก็ได้ชั่วคราว ยังไม่มีพลังของปัญญาแสงสว่างความกระจ่างแจ้ง ที่สมบูรณ์แบบ จนกระทั่งมีปัญญามีความรู้ความเข้าใจ มีแสงสว่างกระจ่างแจ้งเป็นอาภัสรา เต็มสภาพขึ้นมาเรื่อยๆ
ความมืด ความดำ ความไม่รู้ ความที่ไม่กระจ่างแจ้งก็ค่อยๆหายไป หายไป หายไป ในวิญญาณฐิติข้อที่ 4 จนหมดความมืดดำ เป็นนิโรธที่คือกิเลสนั่นเองไม่ใช่ความมืดดำ แต่ความที่ยังบัง ยังพราง ความที่ยังลวงทั้งหลายแหล่สิ้นไปจากจิต มีแต่ความรู้สว่างกระจ่างแจ้งเต็ม คือเป็นปัญญาอันยิ่ง
เพราะฉะนั้นจิตวิญญาณของพระพุทธเจ้าก็จบที่วิญญาณฐิตี 7 ทรงสภาพเป็นอากาศ เป็นวิญญาณ เป็นอากิญจัญญายตนะ รู้สภาพ 2 คืออากาศกับวิญญาณ รูปกับนาม และรู้สภาพ อากิญจัญญายตนะ คือกิเลสนิดหนึ่งน้อยหนึ่งก็ไม่มี
ส่วน สัตตาวาส 9 อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ แถม เนวสัญญานาสัญญายตนะ แถม สัญญาเวทยิตนิโรธ ที่จริง มันอยู่ในวิโมกข์ 8 หรืออนุปุพพวิหาร 9 มี สัญญาเวทยิตนิโรธ
_สู่แดนธรรม… พ่อท่านพูดถูกแล้วครับ
พ่อครูว่า… สัตตาวาส 9 มันเป็นสัตว์หมดเลย สัญญาเวทยิตนิโรธ ที่ถูกต้องนั้นมีอยู่ในวิโมกข์ 8 อยู่ในอนุปุพพวิหาร 9
ในวิญญาณฐิติ 7 ไม่ต้องมีคำว่า สัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะว่ามันสมบูรณ์แบบแล้วโดยสภาวะธรรมที่ทำให้สำเร็จแล้ว จิตจบ
ใน 3 ข้อ อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ และ อากิญจัญญายตนะ มันคือ สัญญาเวทยิตนิโรธ
คือรู้จักเวทนา รู้จักสัญญา ทำงานไปตามหน้าที่ที่ชัดเจนแล้ว มันรู้แจ้งรู้จบหมดเลยนิโรธ เป็นนิโรธแท้ๆ ดับกิเลส สมบูรณ์แบบไม่มีกิเลสเลยเป็น อากิญจัญญายตนะ จิตก็เป็นแต่อากาศกับวิญญาณ เทวะ 2 ธาตุ รูปกับนามสังขารกันอยู่เท่านั้น
เพราะฉะนั้น วิญญาณฐีติ 7 ของมิจฉาทิฏฐิ 4 ตัวแรกก็เหมือนสัตตาวาส 9 ที่อวิชชาอยู่ หลงจะเป็นฌาน หลงจะกำหนดกาย กำหนดสัญญา สัตตาวาส 1 2 3 4 ก็มิจฉาทิฏฐิไปตามประสา
จริงๆก็คือเขาพยายามดับสัญญา ทั้ง 1234 เช่น ไปนั่งหลับตาปฏิบัติ ก็คือทำให้ดับสัญญาลงไปนั่นแหละ จนดับสัญญาเสร็จก็เป็น อสัญญีสัตว์ เป็นสัตตาวาสตัวที่ 5
เพราะฉะนั้น สัตตาวาส ตัวที่ 6 7 8 จึงเป็นเรื่องนิรมาณกายเป็นเรื่องที่คุณเนรมิตขึ้นเอง ต่างคนต่างเพ้อไปไม่รู้เรื่องกันเลยนะ
อากาสานัญจายตนะ ของใครก็ของคนนั้น ของใครของใครพูดกันโมเม สัมโภคกาย ก็ว่าใช่ๆๆ แต่มัน อาทิสมานกายไม่รู้ไม่เห็นของใครของใครก็ของมัน แต่ทำเป็นบ้าทำเป็นรู้ร่วมกันเป็นสัมโภคกาย
แต่ต่างคนต่างปั้นขึ้นมาเนรมิตขึ้นมา นิรมาณกายเองขึ้นมาเองทั้งหมด เพราะฉะนั้นทำไปเป็นรู้กันมาก เอาจริงๆมาจับมาพูดกันสิ ต่างคนต่างไปไหนมา 3 วา 2 ศอกเลยนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ เฮ้ย! อย่างที่คุณพูดมันใช่หรือเปล่านะ เออ ใช่ก็ใช่วะ สัมโภคกาย ของกูจริงกว่าของเอ็งมันจะไม่ใช่ มันจะจบไม่ลง มันจะสรุปไม่ได้ มันจะตัดสินไม่ได้เด็ดขาด มันเป็นหนึ่งเดียวไม่ได้เลย จึงจบด้วย เนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นความสับสน เป็นความวิจิกิจฉา เป็นความไม่สำเร็จ เป็นความไม่เป็นหนึ่งเดียว ชั่วกาลนาน
_สู่แดนธรรม… ชาวอโศกจะมีโอกาสที่เป็นสัมโภคกายที่กำหนดสัญญาไม่เหมือนกันได้ไหมครับ
พ่อครูว่า… เป็นสิ ถ้าคุณยังไม่มีปัญญาพอ ยังไม่สะอาดพอที่จะมีปัญญาแจกได้ชัดเจนพอ แต่ถ้าคุณเข้าใจแล้วต้องรู้ให้ชัดเจนจริงๆนะ ว่าพูดกันไปพูดกันมานึกว่าไปด้วยกันมาด้วยกัน เลือดราชธานีอโศกแล้วไม่ใช่ แต่เป็นเลือดสุพรรณโน่น เป็นเลือดอยู่ต่างถิ่นกันไม่ใช่เลือดราชธานีอโศกด้วยกันเลยนะ มันจะรู้เอง
พระพุทธเจ้าจึงบอกว่า คบหาร่วมอยู่ด้วยกัน คบกันจะรู้จักกันและกันดี
เพราะฉะนั้นอาตมาหยิบเอาบุคคล 7 มาอธิบายก็ดี ก็ใช้กายใช้จิตเป็นเครื่องตัดสินเหมือนกัน อุภโตภาควิมุติ ปัญญาวิมุติ ทิฏฐิปัตตะ กายสักขี สัทธาวิมุติ สัทธานุสารี ธัมมานุสารี
อธิบายไปหลายทีแล้ว อุภโตภาควิมุติ ก็แน่นอนมันสมบูรณ์มันได้ทั้ง 2 อย่าง จะเป็นศรัทธาหรือปัญญาก็มีครบทั้งกายทั้งจิตพร้อม
เพราะฉะนั้นก็เป็นอรหันต์ได้ อาสวะสิ้นหมดได้
พอเป็นบุคคลที่ 6 ปัญญาวิมุติ เออ ปัญญาวิมุตินี้ทำอาสวะสิ้นได้ แล้ว ทำอาสวะสิ้นได้เหมือน อุภโตภาควิมุติ เป็นอรหันต์เหมือน อุภโตภาควิมุติ ก็แสดงว่ามีกายสิ แต่ในพยัญชนะบอกว่า
ปัญญาวิมุตตินั้นเป็นผู้หลุดพ้นด้วยปัญญาเท่านั้นคือ ท่านที่ไม่ต้องสัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย เขาไม่ได้แปลเขาว่า ท่านที่ไม่มีสัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย เขาแปลจาก น เหว โข อัฏฐ วิโมกเขฯ เขาไปแปลว่าไม่สัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย อันนี้แหละคนไม่มีสภาวะ อาตมาก็เห็นใจเขาก็แปลตามพยัญชนะง่ายๆ แต่มันมีความลึกซึ้งในความหมายของมันว่า ไม่ต้องไปพูดถึงอีก น เหวโข เพราะท่านมีกายมาแล้วตั้งแต่ ทิฏฐิปัตตะ แล้วก็มีกายสักขี
พอมาถึงปัญญาวิมุติ ท่านก็เป็นผู้ที่มีกายมาแล้ว ก็ไม่ต้องไปพูดถึง ท่านผ่านกายสักขีมาแล้ว เริ่มตั้งแต่ทิฏฐิปัตตะ ท่านก็เป็นบรรลุถึงทิฎฐิที่สัมมาแล้ว ทิฏฐิปัตตะ คือผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิ ปัตตะ คือผู้บรรลุรู้กายสัมมาทิฏฐิ
สัทธาวิมุติบุคคลที่ 3 สายศรัทธาจึงยังไม่รู้ง่าย ยังไม่รู้ อาริยสัจ 4 คุณก็จะเป็นสัทธาวิมุติได้ คุณก็นั่งหลับตาวิมุติไม่ได้มีกาย เขาก็ว่าเขาวิมุติ เขานิโรธ เขาเป็นอรหันต์กันนะ สายหลับตามหาบัวสายนั่งหลับตาเขาก็มีวิมุติหลับตา
นั่นแหละคือมิจฉาทิฏฐิที่ถาวร แล้วจะวนเกิดวนตายเป็น อาฬารดาบส อุทกดาบส ไปอีกนานนับชาติไม่ถ้วน แต่มหาบัวหลงผิดว่าตัวเองมีชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ซึ่งน่าสงสารจริงๆ ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร
เพราะฉะนั้นลูกศิษย์ลูกหามหาบัวฟังหน่อยเด้อ อย่าไปเป็นอย่างอาจารย์ตัวเอง มันจะเป็น อาฬารดาบส อุทกดาบส พระพุทธเจ้าจึงได้อุทานว่า ฉิบหายแล้วหนอ ปฏิบัติอย่างนี้ตายไปก็ไปกับความผิดความโง่ ความหลงแล้วนึกว่าตัวเองนิโรธด้วย เวรจริงๆ จะเข้าใจไหมนี่
อาตมาไม่ได้รังเกียจนะ อาตมาสงสารนะ ไม่ได้พูดเล่นลิ้นเลยจริงๆ มาก อยากไปนิพพาน สูงกว่าพวกคุณอีก พวกนี้อยากไปนิพพานสูงกว่าพวกคุณอีก ออกมาบวชก่อนพวกคุณ ทิ้งสมบัติพัสถานออกมาเป็นพระป่า ทิ้งเลยนะ ลาภยศไม่เอา ทำเหมือนกันเชน พวกเชน ทิ้งแล้วไม่เอา แต่มันมิจฉาทิฏฐิ มันไม่มีทางปฏิบัติที่สัมมา น่าสงสาร เสียเวลาไปหนึ่งชาติ แล้วแถมพกเอาความมิจฉาทิฏฐิไปอีกชาติหน้าชาตินู้น จะเจอคนสัมมาทิฏฐิสอนได้ไหมนี่ จะเจอสัตตบุรุษ หรือเจอเหมือนกันแต่กูไม่เอามึงในชาตินี้
อาตมาเป็นสัตตบุรุษมาบอก ก็ยังติดอยู่อย่างนั้นจมอยู่ในศรัทธาวิมุติอยู่อย่างนั้นแบบนั้น
กว่าจะมีปฏิภาณปัญญารู้เป็น สัทธาวิมุติ อ๋..อ มาเป็นทิฏฐิปัตตะ เจริญพ้นจากสัทธาวิมุติเป็น ทิฏฐิปัตตะ เจริญเป็นความเห็นที่สัมมาทิฏฐิ โธ่เอ๋ย..เราย่อมมีผลมิจฉาทิฏฐิเลยหนอกูๆๆ โพธิรักษ์บอกเท่าไหร่กูก็ ดื้อๆๆ
ก็จะเกิดความละอายอย่างแรงกล้า ไม่ได้เคยดื้อด้านดึงดันต่อต้านโพธิรักษ์ หรือว่า ดูถูกดูแคลน โพธิรักษ์ไป ดีไม่ดีลบหลู่ต่อหน้าธาระกำนันอีก ได้ละเมิดไปก็พอรู้ตัวเข้าใจถูกขึ้นมา ต้องละอายอย่างแรง กลัวอย่างแรง ไม่ต้องกลัวหรอก อาตมาไม่ใช่ยักษ์ใช่มาร
แต่คนที่มันละอายจนกลัว พระพุทธเจ้าตรัสไว้นี้ลึกซึ้งทุกๆคำ มันเกิดจริงเป็นจริงอย่างนั้น
เพราะฉะนั้นกว่าจะเข้าใจอย่างถูกต้องสัมมาทิฏฐิจริง พูดง่าย แต่ไม่ใช่ง่ายๆหรอก แต่ละคนกว่าจะสัมมาทิฏฐิจริง ๆๆๆ นี่นะ กี่จริงก็ไม่รู้ อาจารย์สมเกียรติบอกว่าพ่อท่านพูดลงท้าย จริงๆๆๆๆ อาตมาก็ไม่รู้จะใช้พยัญชนะอะไร เพราะฉะนั้นเขาเจอแต่หลอก มันไม่จริงสักที ก็จริงให้มาเจอจริงๆๆๆๆๆๆนะ ไม่รู้จะพูดยังไง พยัญชนะต้องย้ำต้องซ้ำ มันเป็นพยัญชนะที่บอกถึงความจบ ตัวจบตัวจริง มันอย่างนี้ มันไม่มีผิดไม่มีพลาด
นี่อาตมาอาศัยคำสอนพระพุทธเจ้ามาอธิบายต่างๆนานา เพื่อที่จะขยายรายละเอียดต่างๆเพื่อให้เราเข้าใจ
`หนังสือปัญญา 8 ข้อ 227…
(๒๒๗)“อาริยะ”กับ“อนาริยะ”แตกต่างกันแน่นอน
ความสงบที่“สัมมาทิฏฐิ”นั้น “ดับ”กันเฉพาะ“เหตุแห่งทุกข์” ได้แก่ “กิเลส”แท้ๆ ตรงๆ จึงจะเป็น“อาริยสัจ” คือ “สัจจะของผู้ประเสริฐ-ผู้เป็นอาริยะจริงๆ”
ถ้ายัง“หลับตา” ไม่มี“สัมผัส” ก็ไม่มี“เวทนา” ไม่มี “วิญญาณฐิติ” ก็“มิจฉาทิฏฐิ”จะกำหนดความเป็น“กาย” แตกต่างกันกับผู้ปฏิบัติ“ลืมตา”มี“สติ”เป็น“อธิปไตย”เต็ม ๑๐๐ รับรู้อยู่ พร้อมทั้ง“ภายนอก-ภายใน”ของกาย-วาจา-ใจ แน่ๆ
จึงไม่เป็น“อาริยสัจ” ยังเป็นแค่“อนาริยสัจ”อยู่
ผู้ยัง“อนาริยสัจ”ก็ทำ“ความสงบ” ได้ แบบเดียรถีย์
ผู้มี“อาริยสัจ”จึงจะทำ“ความสงบ”แบบพุทธได้
“ความสงบ ๒ ชนิด” แบบพุทธ กับแบบที่ไม่ใช่พุทธ มันคนละ“ผลสำเร็จ”กันเลย
ผู้ทำได้ สามารถทำหลับตาดับไม่มีนิวรณ์ 5ได้ ลืมตาก็ไม่มีนิวรณ์ 5 ทำได้ทั้ง 2 อย่าง ผู้นี้ก็รู้ทั้ง 2 สภาพเป็นเทวะ หลับตาแล้วจะมาลืมตารู้นี้ไม่ง่ายจะพารู้ด้วยไม่ง่าย แต่ผู้ที่สัมมาทิฏฐิลืมตาปฏิบัตินี้ หลับตาไม่ให้มีนิวรณ์ 5 นั้น โอ้ย มันไม่ยากอะไรหรอก ตามันไม่ได้กระทบรูป หูไม่ได้กระทบเสียง มันง่ายกว่าคุณ คุณไม่ได้ฝึก เพราะคุณเอาแต่สะกดจิตหลับตาเฉยๆ คุณไม่ได้ฝึกตากระทบรูปแล้วอย่าให้มีกิเลสนะทำให้กิเลสลดคุณก็ไม่ได้ทำ หูกระทบเสียงคุณก็ไม่ได้ทำ รูปรสเสียงสัมผัสไม่ได้ทำ ก็งมงายอยู่อย่างนั้น
ทวาร 5 ยังมีกามอยู่ เหมือนมหาบัวเคี้ยวหมาก แชะๆอยู่ ก็ยังเฉยแล้วหลงว่าตัวเองไม่มีนิวรณ์ เป็นอรหันต์ นู่นไปนู่น ไปไกลลิบเลย
นึกว่าไม่มีนิวรณ์แล้วก็ทำให้ ภพ ภวตัณหาวิภวตัณหาดับ ก็เป็นอรหันต์ใช่ไหม ก็หลงงมงายดับ ที่จริงตัวเองดับสัญญา เป็น อสัญญีสัตตายตนะ
นี่คือความหลงผิดต่างๆ จนกระทั่งหลายแขนงที่พระพุทธเจ้าท่านแจกมา อาตมาก็หยิบมาขยายความให้ฟัง
เพราะฉะนั้นถ้าเผื่อว่าไม่สามารถเกิดปัญญาอย่างปฏิสัมภิทา ญาณ ก็จะไม่รู้ละเอียด แล้วไม่สามารถแจกแจงอธิบายอย่างที่อาตมาอธิบายได้ อาตมาเป็นสายปัญญาอย่างปฏิสัมภิทาญาณ จึงแจกแจงได้ทั้งพยัญชนะทั้งสภาวะ เอามาแจกแจงละเอียดและออกไป ตามที่ท่านมีบัญญัติไว้พระพุทธเจ้าท่านสอน
แม้แต่เวทนา 108 อย่างนี้เป็นต้น ไม่ได้หมายความว่าคุณจะอธิบายกันได้ง่ายๆนะเวทนา 108
เวทนา 2 เป็นอย่างไร เวทนา 3 ซึ่งรู้ง่าย 2 3 ไม่ยาก
กายิกเวทนากับเจตสิกเวทนา แยกกายแยกจิต แต่ถ้ากาย คุณมิจฉาทิฏฐิ กายิกเวทนาของคุณไม่มีเวทนานะ พวกที่มิจฉาทิฏฐิ
กายิกเวทนา ของคุณไม่มีเวทนาคุณไม่มีคำว่ากาย มิจฉาทิฐิแล้วเมื่อเริ่ม กายิกเวทนาก็ผิดแล้ว เวทนา 108 ขึ้นโมฆะไม่เรียนรู้ได้เลยจะรู้ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรมไม่ได้เลย เพราะกายเริ่มต้นก็มิจฉาทิฐิ เวทนาคุณก็ไม่มีแล้ว แล้วคุณจะปฏิบัติกายที่มีอิทัปปัจจายายะตา ให้ถึง การศึกษาเวทนาในเวทนาจิตในจิต ธรรมในธรรมไม่ได้เพราะไม่มี อิทัปปัจจยตาเลยคือจากอันนี้เป็นอย่างนี้อันนั้นเป็นอย่างนั้นไม่ได้เลย
มันไม่ต่อเนื่องคุณตัดเป็นท่อนๆ เช่น รักษาศีลก็อย่างหนึ่ง ทำสมาธิก็อย่างหนึ่ง ปัญญาก็อย่างหนึ่ง พวกนี้พวกนักตัดเป็นท่อนๆ มันไม่มีอิทัปปัจจยตา ไม่มีปัจจยาการ ไม่มีเหตุมีผลที่ต่อเนื่องกันเลย ไม่มีปฏิจจสมุปบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิหรือเป็นอวิชชาข้อสำคัญในอวิชชา 8 ไม่รู้จักปฏิจจสมุปบาท ไม่รู้จักอริยสัจ 4 ไม่รู้จักส่วนอดีตส่วนอนาคต ไม่รู้ทั้งส่วนอดีตและอนาคต ไม่รู้จักปฏิจจสมุปบาท นี่คือมิจฉาทิฏฐิเต็มประตู 8 เลย คนนี้
หรืออวิชชา 8 ประการ ท่านตรัสไว้ในพระไตรปิฎกเล่มไหนจำไม่ได้
_สู่แดนธรรม… เล่ม 34 ข้อ 391
พ่อครูว่า… อาตมาอธิบายธรรมะพระพุทธเจ้าไม่ได้เดาส่ง แต่อ้างอิงหลักฐานที่คนนับถือ เช่นพระไตรปิฎก เป็นต้น จากตำนานเป็นต้น อาตมาก็ไม่พูดลอยลม แต่อ้างแล้วอ้างต่างกัน อธิบายต่างกัน แปลความหมายไปต่างกัน
เพราะฉะนั้นผู้ที่ติดตาม ก็ต้องติดตามเมื่อมันเห็นแตกต่างกันอธิบายต่างกันแล้ว พระพุทธเจ้าท่านก็สุดวิสัย มันยึดถือความเห็นของตนเข้าไปแล้ว ท่านก็บอกว่า ใครจะเห็นของใครเป็นสิ่งที่ถูกต้องก็ต่างคนต่างเห็น ต่างคนต่างอยู่ อยู่ด้วยกัน เห็นต่างคนต่างปฏิบัติยืนยันกันไป เป็นนานาสังวาส ก็เป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้าด้วยกันทั้งคู่ แต่มันมีความเห็นต่างกัน เป็นนานาต่างกัน ท่านก็มีหลักธรรมวินัยพวกนี้ ก็ไม่ต้องไปถกเถียงกัน ไม่ต้องลงปาฏิโมกข์ร่วมกัน ไม่ต้องไปฟ้องร้องกัน แต่ด่ากันได้แรงๆ
นี่คือหลักเกณฑ์ของนานาสังวาส ปฏิกโกสนา เป็นพยัญชนะบาลี ปฏิกโกสนาคือ คัดค้านกันได้อย่างดังๆแรงๆ เต็มที่เลย ปฏิกโกสนา คือคัดค้านกันได้อย่างเต็มที่คอจะแตกเลยได้ แต่อย่าไปทำลายกัน อย่าไปฟ้องร้องกัน
_สู่แดนธรรม… ไม่ให้มี อักโกสะ
พ่อครูว่า… ปฏิกโกสนาได้แต่ไม่ให้ถึง อักโกสะ หรือฟ้องร้อง อธิกรณ์ เพราะฉะนั้นเถรสมาคมฟ้องร้องอาตมา ทั้งที่เป็นนานาสังวาส ท่านก็ไม่รู้นี่แหละคือความไม่รู้ ท่านเสื่อมหมดแล้ว ท่านไม่รู้ธรรมวินัย อาตมาประกาศนานาสังวาสตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2518 ประกาศแล้วเรียบร้อยก็อยู่กันไปได้ตั้งนาน วันร้ายคืนร้ายยังไงก็ไม่รู้ บอกว่านอกรีตต้องจัดการ พ.ศ 2531 – 32 ก็ซัดอาตมา เหมือนผีเข้าได้ สุดท้ายเราก็ต้องยอมเขา
ตัดสินไม่ได้ก็ให้ศาลทางโลกตัดสิน มันก็ผิดสิเขาจะไปรู้เรื่องอะไร ศาลทางโลกกับทางธรรมะ ผิดก็ผิด อาตมาก็ยอมทุกอย่างเลย ก็ทำให้ท่านได้รับวิบากไปต่างๆนานาสารพัด ท่านก็ไม่รู้หรอกว่าท่านทำอย่างนี้มันมีวิบาก ท่านไม่รู้ แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรได้ กรรมใครกรรมมัน กัมมัสโกมหิ กัมมทายาโท กัมมโยนิ กัมมพันธุ กัมมปฏิสรโณ กัมมังสัตเตวิภัชติ กัมมุนาวัตตติโลโก ใครทำก็ของใคร
อาตมามาทำงานจนถึงวันนี้ 2513-2566 ประมาณ 52 ถึง 53 ปีย่างเข้าไปแล้ว อาตมาว่าได้พูดยืนยันสัจจะ จนกระทั่งเขาไม่กล้าที่จะแย้งแล้ว
เพียงแต่เขามีกิเลสอัตตา มานะ มีกิเลสอยู่ มันดันไว้ไม่ให้เขามายอมรับ เพราะว่ากิเลสของเขามีจริง
คนที่กิเลสเบาบางหรือไม่มีกิเลสที่จะต้านแย้ง อัตตามานะน้อย แม้เขาจะมีอย่างอื่น ติดในโลกธรรมอะไรอย่างอื่นอยู่ แต่ลักษณะพวกนี้น้อย เขาก็เริ่มรับฟัง
ยิ่งไม่มีอะไรอคติกับอาตมามากเกินไป ฟังธรรมด้วยดี สุสูสังลภเตปัญญัง ฟังด้วยดีก็จะยิ่งเข้าใจ ยิ่งเข้าใจ อานิสงส์ในการฟังธรรม 5 ประการ ก็ยิ่งจะเกิดยิ่งจะเกิด ก็เป็นสัจจะตรงตามคำสอนพระพุทธเจ้า ที่อ้างอิงมาเทียบเคียงนี้ทั้งนั้น
ลักษณะคนมีโทษสมบัติ 6 ประการ ที่ไม่ควรคบ
ทีนี้ก็เข้ามาสู่ประเด็นที่อาตมาพูดโยงใยถึงเศรษฐศาสตร์ พูดถึงกาย พูดถึงจิต จนกระทั่งเกี่ยวข้องถึงความเป็นชีวิต เกี่ยวข้องถึงความเป็นสังคม แล้วก็มาทำงานกับสังคม ช่วยเศรษฐกิจเศรษฐศาสตร์ ให้กับมวลมนุษยชาติ ช่วยรัฐศาสตร์ ช่วยการเมืองให้มวลมนุษยชาติ
เพราะฉะนั้นผู้ใดเป็นอรหันต์ขึ้นไป เป็นผู้ที่มีความจบกิจ ก็จะมีความจริง มีภูมิธรรมจริง สัจธรรมจริง แล้วก็มาช่วยอย่างมีความจริงนั้น เป็นการช่วยอย่างมีสัจจะมีความจริง
ส่วนคนที่ไม่มีเลย ความรู้ทางธรรมไม่มี สมมุติสัจจะ ปรมัตถสัจจะ ไม่อีโน่อีเหน่อะไรเลย คำสอนพระพุทธเจ้า โม้ถึงขั้นอนัตตาเลยนะอย่างทักษิณ
ผู้ที่เขามีภูมิปัญญาก็รู้ได้ว่า ปัดโธ่ พูดไปคุยโม้โอ้อวด เป็นนักโอ่อวด
โทษสมบัติ 6 ประการ
อวดตัวเอง เบ่งอำนาจ ฉลาดโกง โขมงโม้แหลก แจกอย่างมีเล่ห์ ทำเท่โง่ๆ
นี่คือผู้ที่แสดง ไม่ว่าด้านเศรษฐศาสตร์ ไม่ว่าด้านรัฐศาสตร์ นี่คือโทษสมบัติ 6 ประการ
คนที่มีโทษสมบัติ 6 อย่างครบ นี้อย่าคบ ซวยมหาซวยเลย
_สู่แดนธรรม… มีคนอยากฟัง 6 ประการนี้ซ้ำอีกครั้งครับ
พ่อครูว่า… อวดตัวเอง เบ่งอำนาจ ฉลาดโกง โขมงโม้แหลก แจกอย่างมีเล่ห์ ทำเท่โง่ๆ
นี่คือนักเศรษฐศาสตร์คือนักรัฐศาสตร์ที่มีโทษสมบัตินี้อยู่ ก็ดูเอาก็แล้วกัน อ่านเอา
ที่นี้มาแวะผู้ที่รู้รอบโลกผู้ที่ได้รู้จักโลกภายนอกมา รู้ความหมายของภายนอกแล้วก็เอามาแสดงความเห็นมาร่วม เหมือน sms ส่งมากัน ยาวเป็นข้อความ ยาวเหมือนบทความเลย ไม่ได้เป็นคำสั้นๆเป็น SMS ทีเดียว ลายมืออาตมานั้นไม่สวยเลยแต่อ่านง่าย
บางคนเขียนตัวหนังสือก็ซ้วยสวย เป็นระเบียบเรียบร้อยแต่อ่านยากชิบเป๋งเลย จริงอ่านยากๆ เขียนสวยเป็นระเบียบตรง ได้เหลี่ยมได้มุมดี แต่ทำไมมันอ่านยากก็ไม่รู้ แต่ของอาตมา มันมีช่องว่างมีหัวมีตัวมีหาง มันดูง่าย มันแสดงซึ่งสัจธรรมอย่างหนึ่งเหมือนกัน พวกนักทำเท่โง่ๆ ทำได้สวย แต่อ่านยาก
เอามาฟังดู 2 อันนี้เขาเอามา
เมืองไทยมีคุณธรรมสูงจึงอลุ่มอล่วยมากกว่าบังคับใช้กฎหมาย
_Las Vegas…และลอตเตอรี่
คราวที่แล้วผู้เขียนได้นำเสนอบทความ “กาสิโน…ฮาวาย…แดน Paradise!!!” เป็นรัฐที่มีรายได้หลักจากการท่องเที่ยว แต่ปฏิเสธการพนันทุกประเภทบนแผ่นดิน คราวนี้จะนำเสนอเมืองกาสิโนที่ดังกระฉ่อนทั่วโลก คือ ลาสเวกัส ตั้งอยู่ในมลรัฐเนวาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ.2564 กาสิโนในรัฐเนวาดามีรายได้รวม 13.43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้มีภาพลักษณ์เป็นเมืองแห่งการพนัน แต่เนวาดาเป็น 1 ใน 5 รัฐที่มีกฎหมายบัญญัติให้การซื้อขายลอตเตอรี่เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย
อย่างไรก็ดี ในระยะเวลาที่ผ่านมาหลายทศวรรษ นักการเมืองของรัฐนี้ อาทิ Cameron C.H. Miller จากพรรคเดโมแครต พยายามผลักดันให้ลอตเตอรี่เป็นกิจกรรมถูกกฎหมาย เพื่อนำรายได้เป็นงบประมาณสนับสนุนการรักษาสุขภาพจิตเยาวชน เนื่องจากการฆ่าตัวตายของเยาวชนในรัฐเนวาดามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปี พ.ศ.2563 อายุที่ต่ำที่สุดของเด็กที่ฆ่าตัวตายคือ 8 ปี การศึกษาของ University of Nevada, Las Vegas (UNLV) พบว่า ปี พ.ศ. 2565 สุขภาพจิตโดยรวมและสุขภาพจิตเยาวชนในรัฐเนวาดาแย่ที่สุดเมื่อเทียบกับอีก 49 มลรัฐ
เมื่อพิจารณาปัญหาของประชาชนที่เกิดจากการพนัน ข้อมูลของ National Council on Problem Gambling พบว่า ในประเทศสหรัฐอเมริกาแต่ละปีประชากรผู้ใหญ่ประมาณ 2 ล้านคนมีปัญหาการพนันขั้นรุนแรง ในขณะที่อีก 4 ถึง 6 ล้านคนมีปัญหาเล็กน้อยถึงปานกลาง เมื่อพิจารณาข้อมูลเฉพาะรัฐเนวาดาที่เต็มไปด้วยกาสิโนชื่อดัง โดยเฉพาะลาสเวกัส Nevada Council on Problem Gambling เปิดเผยว่า ประมาณ 6% ของประชากรผู้ใหญ่ หรือประมาณ 140,000 คน มีปัญหาเกี่ยวเนื่องกับการพนัน เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ที่เข้ารับการรักษามีความคิดฆ่าตัวตาย และ 17% เป็นผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย
ดังนั้น นักการเมืองในมลรัฐเนวาดาจึงพยายามผลักดันลอตเตอรี่เป็นกิจกรรมถูกกฎหมาย เพื่อนำรายได้มาเป็นงบประมาณในการรักษาผู้ป่วยจิตเวช อย่างไรก็ดี ไม่เป็นผลสำเร็จ ซึ่งไม่ได้มาจากเหตุผลด้านศีลธรรมหรือความเสื่อมโทรมของสังคมดังเช่นรัฐอื่นๆ ในกรณีของเนวาดา ลอตเตอรี่ถูกขัดขวางจากอิทธิพลของอุตสาหกรรมกาสิโน เพราะแม้ว่าร้านค้าทั่วมลรัฐจะมีเครื่องสล็อตการพนัน แต่การขายลอตเตอรี่ในร้านสะดวกซื้อและอื่นๆ จะทำให้ผลประโยชน์ของธุรกิจกาสิโนลดลงมหาศาล ด้วยเหตุนี้ ลอตเตอรี่จึงไม่สามารถหยั่งลงบนแผ่นดินเนวาดาได้ในเวลาอันใกล้
หมายเหตุ: ภาพประกอบของผู้เขียน เมื่อครั้งเยือน Las Vegas มลรัฐเนวาดา ผู้เขียนเป็นคนไม่ชื่นชอบเรื่องอบายมุข แต่เป็นคนชอบศึกษาวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ของแต่ละประเทศ ดังนั้น จึงใช้เวลาเดินชม ถ่ายรูป ทานขนม แต่ให้รู้สึกว่าบางพื้นที่ค่อนข้างน่ากลัว อย่างไรก็ดี ต้องชื่นชมการบังคับใช้กฎหมายในประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีประสิทธิภาพ เห็นได้จากในขณะที่ผู้เขียนเดินไปชั้นแรกของโรงแรมที่เป็นที่ตั้งของกาสิโน รวมถึงไปที่ร้านอาหารสั่งเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ พนักงานของร้านได้ขอดู ID เพื่อเป็นการยืนยันว่าไม่ใช่ underage (อายุต่ำกว่ากฎหมายกำหนด ซึ่งกฎหมายของรัฐเนวาดากำหนดไว้ที่ 21 ปี) การละเมิดกฎหมายส่งผลให้ถูกปรับสูงถึง 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 35,000 บาท) และจำคุกสูงสุด 6 เดือน
พ่อครูว่า… อเมริกาเขาอยู่ได้เพราะการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มแข็ง ในเมืองไทยนี้ไม่เข้มแข็งในการบังคับใช้กฎหมาย
_สู่แดนธรรม… เมืองไทยเขาบอกว่าเป็นเมืองแห่งความอะลุ่มอล่วย
พ่อครูว่า… จริงๆความอะลุ่มอล่วยมันเป็นการใช้ได้กับสังคมคน ที่จะต้องไม่บังคับ ไม่รุนแรง อะลุ่มอล่วยกัน มันก็อยู่ได้สงบได้สบายแล้ว แต่เมืองที่คนมันกระด้าง คนที่มันเห็นแก่ตัวเห็นแก่ได้ ดื้อดึง กฎหมายมันต้องแรง นี่เป็นสัจจะ
เพราะฉะนั้นจะบอกว่า เมืองไทยกฎหมายอ่อน กฎหมายไม่จริงจัง อะลุ่มอล่วยก็ใช่ เพราะเป็นเมืองผู้ดี อันนี้สัจจะไม่ได้พูดเล่นไม่ได้พูดยกย่องโดยเพ้อๆพกๆอะไร เป็นเมืองผู้ดี เป็นเมืองที่เป็นผู้มีคุณธรรมเป็นผู้ที่มีธรรมะ โดยเฉพาะคนไทย มีพุทธศาสนามีโลกุตรธรรม สูงสุด
_สู่แดนธรรม… แสดงว่าในสังคมผู้เจริญไม่ต้องใช้อำนาจบังคับ จะใช้แต่สามัญสำนึก ก็พอใช่ไหมครับ
พ่อครูว่า… ใช้สำนึกก็พอใช้ รู้จักใช้ภูมิปัญญาว่าอะไรควรอะไรไม่ควรในความเป็นมนุษย์กับในความเป็นสังคม
ความจนอย่างจบกิจคือความเป็นคนมีวรรณะ 9
อาตมาพูดว่าในความเป็นมนุษย์กับในความเป็นสังคม พูดมาตั้งเท่าไหร่แล้วไม่รู้ว่า พระพุทธเจ้านี้เกิดมาไม่ได้ศึกษาอะไร เอ้า ทวน ท่านศึกษาความเป็นคนกับความเป็นสังคม พูดแล้วพูดอีก พูดอีกพูดแล้วไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง มันสูงสุดจริงๆนะ ในการศึกษาความเป็นคนและรู้จักว่า คนคืออะไรทำไมสำคัญนัก
คนคืออะไร แล้วก็รู้ไปถึงจิต เจตสิกของคน แยกกายแยกจิต จนทำกายทำจิตให้ไปนิพพานได้ สรุปง่ายๆ นี่สุดยอดเลย
เพราะฉะนั้นเมื่อคนกับสังคมมันจะเป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่าคนเป็นต้นเหตุ คนไม่รู้จักตัวเอง คนไม่รู้จักกิเลส แล้วก็ไม่ลดกิเลสจริงๆ
ถ้าคนเรียนรู้กิเลส ลดกิเลสจริงๆ สังคมที่มีคนที่ลดกิเลส ก็เกิดเป็นสังคมที่เจริญๆ จากสังคมกลุ่มเล็กก็เป็นกลุ่มใหญ่ กลุ่มกว้างออกไป
อย่างพวกเรานี้เป็นสังคมกลุ่มเล็ก แล้วก็ค่อยๆเป็นหมู่ใหญ่ขึ้นไป โดยเฉพาะที่มีพื้นฐานของศาสนาพุทธมาแต่เดิมแล้ว จึงหวังได้ว่า เมืองไทยต่อไปจากนี้ จะเจริญ
มันเสื่อมมา 2,500 ปี ไม่มีโลกุตรธรรม ไม่มีสังคมโลกุตระแบบนี้ สังคมโลกุตระแบบนี้คือสังคมสาราณียธรรม 6 เป็นสุดยอด เพราะสังคมสาราณียธรรม 6 นี้มีคุณธรรมของพุทธพจน์ 7
สาราณียะ ปิยกรณะ คุรุกรณะ สังคหะ อวิวาทะ สามัคคียะ เอกีภาวะ จริง จึงอยู่กันอย่างเห็นได้ สัมผัสได้ว่า มีวรรณะ 9
มีความเป็นอยู่อย่างสุภระ เลี้ยงง่าย เลี้ยงคืออย่างไร คือ อยู่อย่างนี้นะ กินอย่างนี้นะ ใช้อย่างนี้นะ ถ้าเลี้ยงหมูก็อยู่อย่างนี้นะ กั้นคอกไว้ กินอย่างนี้นะ เช้าเอามาเทใส่ไว้ให้ เลี้ยงง่าย ส่วนไก่ก็ปล่อยมัน มันไปจิกกินหาเองบ้าง หว่านเมล็ดถั่วงาข้าวให้มันกินบ้าง ไม่ให้มันเลยมันก็หากินเอง สำหรับไก่ เลี้ยงหมูก็ต้องกั้นคอกมันไว้ หรือไม่กั้นคอกก็ได้อยู่ในบ้านมันก็หากินเอง ใส่รางให้มันกินเองบ้าง เลี้ยงง่าย พวกเราง่ายกว่าหมูอีก ง่ายกว่าไก่อีก เพราะไปหยิบหากินเอง แล้วมีที่มีทางด้วย ไม่เละเทะเหมือนกับหมู เลี้ยงง่ายมีระเบียบเรียบร้อย สุภระ
บำรุงง่ายคือ ทำให้เป็นอาริยะ ทำให้เจริญง่าย สุโปสะ เจริญอะไร ก็เจริญอาริยธรรม เจริญโลกุตระง่าย ข้างนอกเขาไม่ได้ง่ายนะที่จะเจริญโลกุตระ แม้เจริญธรรมะโลกียะก็ยังยากเลย แต่ของเรานี้ สบม ทมด ปกต หห จจ ปกต หห จจ มชยลล ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ ข้างหน้าไม่แปล แปลแต่ข้างหลัง มชยลล ทำได้จริง
เป็นคนมักน้อย ท่านแปลศัพท์ อัปปิจฉะว่ามักน้อย อาตมาแปลให้ชัดว่า กล้าจน มีน้อยๆได้ กล้าที่จะมีน้อยๆ จนไปถึงข้อที่ 4 ใจพอ แต่เขาไปแปลเพี้ยนเบี้ยวบาลีว่า พึงพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ เปิดช่องให้พวกเศรษฐีทั้งหลายหรือกฎุมพีทั้งหลาย ใครมันไม่พึงพอใจในสมบัติที่มันมีอยู่ วะ ไปถามคุณธนินท์ ไปถามคุณเจริญว่าพึงพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ไหม มันไม่กินกันเลยความใจพอ ไปแปลความสันโดษว่าพึงพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่
มันมีใจพอสัมผัสกับ อัปปิจฉะ ไม่มีน้อยๆก็พอไม่ต้องไปมากมากมันตรงกันข้าม มหัปปิจฉะ มักมาก มักคือชอบ มักน้อยคือชอบที่จะมีน้อยๆ ภาษาอีสาน มักคือ ชอบหรือรักเลย… เพลงโบราณฮักเจ้าเด้ขาเป๋ลืมเบิ่ง ฮักเจ้าแล้วขาแป้วลืมเห็น
สันตุฏฐิใจพอ อาตมาแปลให้ตรงความหมายเลยคือ มีใจรู้จักพอสันโดษหรือ สันตุฏฐิ มีแค่นี้ก็พอ
อย่างพวกเราคุณสมบัติพวกนี้เป็นได้จริงมีจริงด้วย และมีได้มากกว่านี้ เรามีความอุตสาหะขยันหมั่นเพียร มีสมรรถนะความสามารถได้มากกว่านี้ แต่เราเอาแค่นี้ เหลือ นี่ มาแจกจ่ายไป เอาไปแบ่งกัน เราเอาแค่นี้ พอใช้พอกินพออยู่
มันยืนยันสัจจะ มันยืนยันสภาวะธรรมจริง พูดอย่างไรทำได้อย่างนั้น ยถาวาที ตถาการี ยถาการี ตถาวาที ไม่ใช่พวกขี้โม้แหลก พูดอย่างไรทำได้อย่างนั้นจริงๆ ไม่ค้านไม่แย้ง ไม่ได้ตระบัดสัตย์อะไร
เป็นผู้ที่ขัดเกลา สัลเลขะ เป็นผู้ที่ขัดเกลากายวาจาใจได้ กายบางทีบกพร่องก็ขัดเกลา วจีบางทีบกพร่องก็ขัดเกลา มโนก็ขัดเกลา มีหลักเกณฑ์ประพฤติปฏิบัติให้เจริญสูงขึ้นเรื่อยๆหรือ ธูตะหรือธุดงค์
ก็ไปแปลว่า ธุดงค์คือพวกหลับตา ออกป่า ออกดง ไปใหญ่เลยเบี้ยวบาลีเพี้ยนบาลีไป ทั่วทีปเลย นี่แหละคือความผิดพลาด
เพราะฉะนั้นไปแปลว่าธุดงค์คือออกป่าออกดงนี้หมดท่าเลยนะ น่าเกลียดจริงๆเลย ธุตังคะ บาลีเขาไม่มีด.เด็ก เมื่อมาเป็น ด.เด็ก ก็ทะลุดงเลยบ้าไปเลย ทำไมมันมักง่ายจังเลย ธูตะ แปลว่าบุกดง เลยออกไปออกป่าเข้ารกเข้าพงกันใหญ่เลย นี่คือความไม่ฉลาดที่แปลโดยภาษาไทยชัดๆว่าโง่ มันก็โง่กันไป ศาสนาพุทธ เพี้ยนผิดกันไปหมด
ข้อ 7 เมื่อสามารถขัดเกลาได้ มีข้อปฏิบัติที่เจริญไปตามลำดับๆให้สูงขึ้นเรื่อยๆ มันก็มีอาการที่เจริญน่าเลื่อมใสขึ้นไปๆ กายกรรมก็ยิ่งเหมาะสมยิ่งดีไปเรื่อยๆเป็น กัมมัญญตา ไปได้เรื่อยๆๆๆ น่าเลื่อมใสขึ้น ทัังกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมเป็นประธานอยู่ดี
สูงสุด 2 ข้อสุดท้ายเป็นคนไม่สะสม เป็นคนขยันเสมอ วิริยารัมภะ ไปด้วยพยัญชนะสวยๆว่า ปรารภความเพียร ท่านประยุทธ์ ปยุตโตหรือสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ท่านแปลว่า ระดมความเพียร พยัญชนะว่า วิริยารัมภะ ขยันเสมอ ขยันอยู่เป็นอัตโนมัติ ขยันอยู่ ปรารภ คือรู้จักพักรู้จักเพียร แล้วไม่สะสม
2 คำนี้สุดยอดเลยนะ ขยัน สร้างสรรค์ ทำโดยไม่สะสม โดยเฉพาะไม่ต้องสะสมเลย ไม่มีสักบาท ทำแล้วเอาเข้ากองกลางหมดเลย มันพิสูจน์ความไม่สะสมเป็นตัวเป็นตนไม่มีตัวตนของตนเลยไม่มีของตน เอาเป็นของส่วนกลาง แล้วเราก็บริหารของส่วนกลางกันอุดมสมบูรณ์ ไม่แย่ง ไม่ชิง ไม่มุบมิบ ไม่ทะเลาะวิวาทกันเลย
เราพิสูจน์สังคมที่อยู่กันอย่างไม่สะสมแล้วเข้ากองกลาง แบ่งกันกินแบ่งกันใช้ เจือจาน สังคหะเกื้อกูลแจกจ่ายกัน ผู้นั้นผู้นี้เก็บไปได้มากก็เอามาเข้ากองกลาง เอาไปแจกกันก่อน
นี่มันเป็นเครื่องยืนยันสัจจะว่า สังคมนี้เป็นสังคมที่มีพฤติกรรม ตรงกันกับคำสอน พระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างไรทำได้อย่างนั้น เป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ทำอย่างนี้แล้วจะเป็นอย่างนี้ได้ แล้วสบาย
สบาย สงบ อบอุ่น อิ่มเอม เกษมใส ใจเกื้อกูล และเพิ่มพูนเสียสละ จริงนะ ทุกคนมาทำอย่างอิสรเสรี
อาตมายิ่งพูดไปแล้วมันยิ่งตรง ลงตัวในสิ่งที่เท่ๆ ไม่ใช่อวดเท่โง่ๆ ทำเท่โง่ๆ ไม่ได้เป็นอย่างนั้นนะ ไม่ได้มีโทษสมบัติ แต่มีคุณสมบัตินะ ไม่ใช่ทำเท่โง่ๆแต่มันเท่จริงๆ ไม่ได้ทำเท่นะ แต่มันเป็นเท่ด้วยความจริง มันเท่ด้วยความจริง
ทำเท่โง่ๆ เราไม่ได้โง่ เราไม่ได้ทำ แต่มันเท่ด้วยความประพฤติที่ถูกต้องตามธรรม เราประพฤติถูกต้องตามธรรม มันจึงมีท่าทาง ไม่ต้องแอ็ค ไม่ต้องดราม่า ไม่ต้องเสแสร้ง มันเป็นความจริงอย่างไร เท่จริงๆ
นี่พูดขยายความในคำเดียวกัน พยัญชนะเดียวกัน ทำเท่ กับ เท่ไม่ต้องทำ มันเท่จริงๆเอง อย่างนี้เป็นสุดยอดเลย
คนมาจน ไม่มีมหาวิทยาลัยใดๆในโลกสอน ไม่มีใครกล่าว คนกล่าวว่าพากันมาจน บริหารกันด้วยแบบคนจน มีในประเทศไทยประเทศเดียว คนที่กล่าวจริงๆคือในหลวงรัชกาลที่ 9 ของประเทศไทย แล้วท่านก็ไม่ได้ขยายความอะไรมากเท่าไหร่ จึงตกเป็นภาระของโพธิรักษ์ที่ต้องขยายความ แล้วพาคนมาปฏิบัติยืนยันว่า มาเป็นคนจน บริหารกันแบบคนจน แล้วให้สำเร็จจบกิจในความเป็นคนจน
ลองถามดูซิ ใครว่าตัวเองได้เป็นคนจนสำเร็จลงแล้วบ้างยกมือซิ
_สู่แดนธรรม… มีเสียงปรึกษากันว่าจริงหรือไม่จริง แค่ไหน
พ่อครูว่า… จะเอากรอบไหน เราสามารถรวยได้ถึง 100 ล้าน เราไม่เอาเราแค่ 10 ล้าน เราสามารถเป็นคนจนลงได้ ถ้าเราทำมากได้เกิน 10 ล้าน เรากระจายแจกจ่ายอย่างไม่หวงแหน ให้ฟรีได้ หรือไม่ให้ฟรีก็ลดลงไป ไม่ใช่ไปเอาดอก ผลประโยชน์เพิ่มขึ้นอีก
มีกรอบไปตามลำดับ สมรรถนะเราทำได้ถึง 1 ล้าน เกิน 1 ล้านเราก็กระจายได้ สมรรถนะเราทำได้ถึง 1 ล้านหรือ 5 ล้าน แต่ถ้าเกิน 1 ล้าน เราก็มีใจพอ ตีกรอบความพอ แล้วก็อยู่ได้ไหม อยู่ได้ ล้านหนึ่งก็เหลือแหล่แล้ว
คนอยู่ได้แค่ 5 แสน เดือนละ 5 แสนบาท โอ้โห เกินนี้เหลือแหล่แล้ว ก็สะพัดให้ผู้อื่นออกไป แบ่งแจกจ่ายเลย ลดลงมา นี่คือการทำให้เศรษฐกิจเจริญ ทำให้คนก็เจริญ สังคมก็เจริญ สมรรถนะความสามารถ มีมากเกินกว่า ที่เราเอาไว้ใช้
-
เราสะสม กำหนดไว้มีของตน 2.เราทำการสะพัดออก นี่เป็นหลักเศรษฐศาสตร์ทั้งนั้น และคนจะต้องเจริญแบบนี้