660408 พ่อครูเทศน์ภาคค่ำ เรื่อง กาย งานปลุกเสกฯ#45 ราชธานีอโศก
ดาวโหลดเอกสารที่ https://docs.google.com/document/d/1rPmW3DWkvyVtsCLRq10UxC4Y2M1pwQce/edit?usp=sharing&ouid=101958567431106342434&rtpof=true&sd=true
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1v4QM25Lok7lPQhLAHV64Thypob5ynWLQ/view?usp=share_link
ดูวิดีโอได้ที่
และ https://www.facebook.com/300138787516163/videos/695281942372467
ไปสู่โลกุตระได้ด้วยใจเป็นประธาน
พ่อครูว่า…วันนี้วันเสาร์ที่ 8 เมษายน 2566 แรม 3 ค่ำ เดือน 5 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก เราก็มาพูดเรื่องของที่ควรจะพูด พูดในสิ่งที่เราควรจะทำ พูดในสิ่งที่เราจะดำเนินชีวิตอาศัยไป ไม่ได้พูดสิ่งที่นอกกว่าที่เราเองเราไม่รู้ รู้ไปก็ไม่ได้ใช้ในชีวิต แต่เราพูดในสิ่งที่เรารู้แล้วเราก็ใช้ได้ในชีวิต อาศัยในชีวิต จนกระทั่งความเป็นอยู่ของเราแต่ละคน ก็รู้สึก อิสระ สบาย สงบ อบอุ่น อิ่มเอม เกษมใส ใจเกื้อกูล และเพิ่มพูนเสียสละ ได้อย่างแท้จริง
เป็นความเจริญของมนุษย์ มีชีวิตอยู่เป็นปกติสามัญเหมือนคนธรรมดา ไม่ใช่เป็นคนปลีกแยกไปจากความเป็นปกติของสังคมของมนุษย์ที่ควรเป็นอยู่เป็นสามัญที่ส่วนใหญ่ทั้งหลายเขาเป็นกัน ปลีกแยกแตกต่างออกไปอย่างง่ายๆตื้นๆ
ที่จริงมีความแปลกแตกต่างที่เป็นโลกุตระที่ลึกซึ้งมาก แต่ไม่ได้หยาบอยู่แค่เอาร่างกายตัวเองหนีแยกออกไป ไม่ใช่ ธรรมะตรงนี้ที่มันเข้าใจตื้นๆมันก็เข้าใจแยก แต่ที่จริงมันมีความแยก แต่มันไม่มีความแยก มันมีความแยกแต่มันไม่มีความแยกอยู่ในตัวเองมันมีปัญญาที่จะรู้จักแยกอย่างละเอียดลึกซึ้ง
แยกจนกระทั่งแยกเอาสิ่งที่มันเป็นพิษ สิ่งที่มันไม่ดีไม่งามในจิต แม้ในการประพฤติหรือความประพฤติภายนอกทางกายเราก็แยกออกแล้ว มันหยาบ เราก็เลิกมันได้แต่จะเลิกมาทางกายก็ตาม จิตก็เป็นประธาน ทางวาจาที่มันไม่ดีไม่งาม เราเคยประพฤติอยู่ เราแยกออกแล้ว เราก็ไม่ประพฤติอย่างที่ไม่ดีไม่งามนั้นได้
จิตก็เป็นประธาน จิตเป็นตัวรู้ จิตเป็นตัวกำหนดและจิตเป็นตัวสั่งการและเป็นตัวแก้ไขมีพลังมีอำนาจทำให้เราสามารถเปลี่ยนแปลงกายวาจา เปลี่ยนใจไปได้อย่างถาวรจากโลกียะชนหรือเป็นคนไม่เจริญ มาเป็นคนเจริญสูงสุด
_มีคนเขียนส่งมาว่า…เมื่อสมัยที่ผมอายุ ได้ 20 กว่าๆผมได้บวชเป็นพระ แล้วได้ไปปฏิบัติธรรมที่วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ ขณะที่นั่งรอเพื่อส่งอารมณ์ (พ่อครูว่า… คำศัพท์นี้มันไม่รู้มาจากไหนกันไปส่งอารมณ์เหมือนส่งดอกเบี้ยหรือส่งข้าวส่งน้ำ.. ไปส่งอารมณ์ ) ไปส่งอารมณ์ให้พระอาจารย์ (พ่อครูว่า… พระอาจารย์ไม่มีอารมณ์หรือไง ) ความรู้สึกนึกคิดแว๊บเข้ามาในใจ ถ้าทุกคนในประเทศมานั่งหลับตาปฏิบัติแบบนี้กันหมด แล้วจะมีใครไปทำไร่ทำนาปลูกข้าวปลูกผักทำสวนครัว อาหารการกินคงจะขาดแคลน
เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับที่พ่อครูนำพาปฏิบัติธรรม ก็ปฏิบัติธรรมพร้อมกับการทำงานทุกชนิดทุกอาชีพ การทำไร่ไถนาปลูกข้าวพืชผักสวนครัว ปลูกพืชผักผลไม้ ก็ปฏิบัติธรรมไปด้วยกันกับกิจการ นั้นๆ ยิ่งมีคนมาปฏิบัติธรรมมากเท่าไหร่ ผลจากการผลิตก็มีมากเพิ่มขึ้น อาหารเป็นหนึ่งในโลก ประเทศชาติจะไม่มีวันขาดแคลนอาหารประชาชนก็จะไม่เดือดร้อน
พ่อครูว่า… คนที่เขาไม่เข้าใจ ไม่เชื่อถือ ไม่เห็นดีเห็นงามด้วยเขาก็ไม่เอาก็เป็นธรรมดาธรรมชาติลางเนื้อชอบลางยา มันเป็นธรรมดาอย่างนี้แหละ
อาตมาได้เทศน์เรื่องกายกันมาหลายคาบ คาบนี้ก็เกือบจะเป็นคาบที่ 3 แล้วนะ ยังมีคาบหน้าเป็นคาบที่ 4
ศึกษากายในวิโมกข์ 8 ให้พ้นสัตตาวาส 9
เรื่องกายที่อาตมาลองสรุปรวมเป็นหัวข้ออยู่ได้ถึง 9 หัวข้อ ตั้งแต่ สักกายทิฏฐิ ซึ่งเป็นตัวแรกที่ทุกคนต้องศึกษา ทุกคนต้องมีความรู้เป็นสัมมาทิฏฐิในเรื่องกาย แล้วก็อยู่ที่ตนเอง สักกายทิฏฐิ ต้องมีความเห็นที่ถูกต้องโดยเฉพาะคำว่า กาย
สักกายทิฏฐิ เป็นการรู้เป็นอันที่ 1 ของทุกๆคนจะต้องเข้าใจ ที่นี้ผู้ที่จะศึกษาเพื่อที่จะบรรลุนิพพานจริงๆ ก็ต้องมาเข้าใจธรรมนิยาม 5 ถ้าเข้าใจธรรมนิยาม 5 ไม่ได้
การเข้าใจธรรมนิยาม 5 ก็คือสามารถแยกความเป็นกาย ความเป็นจิตได้ ซึ่งเป็นความลึกซึ้งซับซ้อนวิจิตรพิสดาร ที่วิทยาศาสตร์ทางโลกก็คิดไม่ออก มีพระพุทธเจ้าค้นพบแล้วเอามาสอนให้รู้ ก็จึงมีนิพพานได้ เป็นพระอรหันต์ได้
ถ้าแยกกายแยกจิตในธรรมะนิยาม 5 นี้ไม่ออก อุตุนิยาม พีชนิยาม จิตนิยาม กรรมนิยาม ธรรมนิยาม
กรรม กับธรรม ก็เป็นการปฏิบัติเป็นการกระทำกรรมแล้วก็เกิดผลสั่งสมเป็นธรรม
เพราะฉะนั้นจะเกิดกรรมที่สั่งสมเป็นธรรมได้ก็ต้องมีความเข้าใจเริ่มจากความเป็นจิตความเป็นพืช ความเป็นอุตุ
อุตุ หรือ อุตุธาตุ หรือการกำหนดนิยาม คำจำกัดความของความเป็นธาตุก็คือมหาภูตรูป 4 คือดินน้ำไฟลม
แล้วก็มีชีวะเป็นพืชเป็นระดับที่ 2 ก็เป็นอุปาทายรูป เป็นรูปที่เกี่ยวเนื่องกันกับทั้งกายและจิต เพราะฉะนั้นก็จะเข้าใจในรายละเอียดของอีก 24 สภาพ อุปาทายรูป 24
ตั้งแต่แยกคน มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็จะต้องมาเรียนรู้ภายนอกที่มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย กับใจร่วมกับ 5 ทวาร ทำงานสัมพันธ์กันมีอายตนะ
โดยท่านอธิบายแยกไว้มี ปสาทรูป โคจรรูป วิสยรูป
คือมีประสาทตากระทบกับรูปภายนอก โคจร มันเกิดทำงานแล้ว สตาร์ทเครื่องแล้ว ตา ประสาทตาทำงานกับสิ่งที่เป็นรูปภายนอก ภายในก็จะเกิดวิสัยที่รู้จักรูปนาม เป็นนามรูปขึ้นมา
เพราะฉะนั้นสิ่งที่รู้ขึ้นมาก็เป็นภาวะ 2 แล้วสิ่งที่เป็นภาวะ 2 ใดๆ ก็จะมีภาวะที่แตกต่างกัน มี 2 ภาวะ เป็น ปุริสภาวะ กับ อิตถีภาวะ นี่เป็น 2 ..ท่านมีรายละเอียดถึงขั้น รูปภายนอก 5 กับการสัมผัสอารมณ์เกี่ยวข้องกันโดยมีใจเป็นตัวร่วมกับรูปทั้ง 5 เป็น 5 คู่
สุดท้ายท่านสรุปว่า เหลือแค่ 9 รูป รูปภายนอกกับรูปภายในเหลือแค่ 9 เพราะจิตมันเป็นตัวร่วมอยู่ใน 5 คู่ เลยหักออกไป 1 เหลือ 9 ถ้าไม่มีจิตมันก็ไม่เกิด 5 คู่นี้ได้ มันก็มีแต่กาย 5 รูป 5 มันก็ไม่เกิดการมีภาวะที่จะเกิดภาวะ 2 ได้เลย
จากภาวะรูป ก็มียอดแห่งความเป็นหัวใจเรียกว่า หทัยรูป หัวใจอันนี้เป็นนามธรรม ไม่ใช่รูปหัวใจที่อยู่ในร่างกาย ไม่ใช่อวัยวะในร่างกาย แต่เป็นนามธรรม เป็นตัวหทัย หรือจิตวิญญาณเลย จิตวิญญาณที่เรียกด้วยศัพท์ว่า หทัยรูป
อยู่ที่ไหนไม่มีตำแหน่งไม่มีแหล่ง มันจะร่วมกับความรู้สึกเป็นชีวะขึ้นมา และเป็นชีวะในระดับมีความรู้สึก ชีวะในระดับพืชยังไม่มีความรู้สึกยังไม่มีเวทนา เป็นชีวะในระดับแค่สัญญากับสังขารเท่านั้น แต่ชีวะในระดับจิตขึ้นไปเป็นสัตว์ขึ้นไป จึงจะมีความรู้สึก จึงเรียกเอาชีวิตอันที่มีความรู้สึกนี้ เป็นสิ่งที่จะต้องรู้จักชีวิตินทรีย์ ชีวิตรูปของมัน มีกำลังพลังอำนาจ ของความเป็นชีวิตสูงถึงขั้นจิต หรือจะเป็นชีวิตอยู่แต่แค่พืช ก็จะเรียนรู้เรื่องชีวิต
อาหารรูป รูปที่เป็นเครื่องอาศัยเช่นตั้งแต่ กวฬิงการาหาร คือสิ่งที่กินเข้าไปเลี้ยงขันธ์ มันมีรูปรสกลิ่นเสียง สัมผัสอยู่ในนั้นเลย ที่คุณจะเลี้ยงได้ เพราะฉะนั้น โภชเนมัตตัญญุตา จึงเป็นแหล่งที่เรียนรู้แห่งการปฏิบัติธรรมเรียนรู้รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส กิเลสอยู่ในนี้ทุกตัว เพราะฉะนั้นเรียนรู้กิเลสจากอันนี้แล้วฆ่ากิเลสแล้ว รู้จักกิเลส เข้าใจกิเลส เป็นอรหันต์ได้ในแค่การปฏิบัติ โภชเนมัตตัญญุตา ได้เลย เพราะมีรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส อันพาให้เกิดกิเลส รวมแล้วอยู่ในนี้ทั้งหมดเลย
มาจาก อาหารรูปไป เครื่องอาศัยต่างๆที่เราจะต้องเรียนรู้ ก็มีการแยกเป็นปริเฉทรูป แยกให้ออกว่าจากที่มันมีความรู้สึกกับว่างจากความรู้สึก มันเป็นความว่างๆ หรือความรู้สึกที่ว่างจากกิเลส
ผู้ที่ไม่รู้เรื่องมั่วก็ไปเรียนรู้ด้วยวิธีว่างจากความรู้สึก เขาก็ไปดับเวทนาดับสัญญา เพราะสัญญากับเวทนาต้องทำงานร่วมกันต้องสัมผัสกัน สัญญากำหนดว่ารู้เวทนามันสัมผัสอะไรมันก็จะรู้ ไม่มี ผัสสะมันก็ไม่เกิดเวทนาไม่รู้จะไปเรียนอะไร ไม่ว่าคุณจะไปดับเวทนาหรือดับสัญญาก็ตาม แต่ถ้าคุณดับสัญญาคุณก็หมดเลย มันก็คือจิตที่ทำงานอย่างหนักคือสัญญา ต้องกำหนดรู้ทำหน้าที่กำหนดรู้อะไรทุกอย่างภายนอกภายในที่จะได้เรียน จนกระทั่งเป็นความรู้สัญญาถึงขั้นปัญญา
ถ้าคุณไปดับมันเสีย นี่แหละคือการทำให้มันว่าง ปริเฉทรูป ไปแยกออกแล้วก็ทำให้มันว่างชนิดที่เรียกว่า มันว่างอย่างเดียรถีย์ ว่าง อย่างโง่ๆ ว่างอย่างไม่ได้เป็นความวิเศษ ที่เป็นคุณสมบัติขั้นโลกุตระเพราะไปดับเอาสัญญาเป็น อสัญญีสัตว์
เพราะฉะนั้นในสัตตาวาส 9 อสัญญีสัตว์ จึงเป็นสัตว์ตัวที่ 5
ฌาน 1 2 3 4 ก็เป็นฌานที่นอกรีตของพระพุทธเจ้าเพราะไปนั่งหลับตาสะกดจิตหรือไปทำแบบไหนก็แล้วแต่ ที่มันไม่เป็นฌานที่เกิดจาก จรณะ 15 วิชชา 8 มันเป็นการปฏิบัติไปคนละเรื่องคนละทาง
ความเสื่อมของศาสนาพุทธที่ไปเรียนฌานกันแบบนี้ ไม่มีใครพูดเลย ไม่เห็นอาจารย์สำนักไหนพูดว่าฌานจะต้องมาปฏิบัติศีล อปัณณกปฏิปทา 3 สัทธรรม 7 เกิดฌาน ในจรณะ 15 ใครเคยได้ยินอาจารย์คนไหนสอนบ้าง ที่นั่งอยู่เป็นพันหรือเปล่าวันนี้
_สู่แดนธรรม… ที่พ่อท่านถามไป มีอาจารย์คนหนึ่งที่สอนครับ ชื่อท่านอาจารย์โพธิรักษ์
พ่อครูว่า… โธ่เอ๊ย
ไปทำ อสัญญีสัตว์ กันทั้งนั้นหรือทำฌานนอกรีตซึ่งขาดกาย
ขาดกายนี้ไม่ใช่ศาสนาพุทธแล้ว เรียนรู้พุทธ ธรรมนิยาม 5 ก็ขาดกาย คุณก็ไม่รู้จักความเป็นกายอย่างพิสดาร อย่างวิจิตร อย่างรู้เลยหรือว่า เมื่อไหร่มันเป็นกาย เมื่อไหร่มันไม่เป็นกาย
เริ่มต้นจิตวิญญาณมันรับรู้ตั้งแต่กรอบแค่พืช มีธาตุรู้ที่รู้ในจิตแค่พืช คุณก็ไม่มีเวทนา เวทนาที่คุณไม่ต้องการ ธรรมชาติมันจะมีธาตุรู้ที่รู้ดีเต็มที่อยู่ และรู้จนกระทั่งเป็นปัญญาคือจัดเป็นเวทนา เก๊ ที่มาหลอก เป็นรสผีรสมารรสหลอก ว่ามันดี มันสูงส่ง เอาออกได้เลยก็สมบูรณ์
ถ้าคุณไม่รู้อย่างนี้ โดยจิตเจตสิกต่างๆ อ่าน อาการ ลิงค นิมิต ของมันออกตามที่อาตมาขยายความให้ฟังเป็น อุเทส แล้วไปปฏิบัติออกจากอาการมันได้มันมีลิงคะมันมีนิมิตอย่างนี้แล้วมันทำให้หายไปจางคลายได้หรือดับสนิทได้ ส่วนที่มันเป็นเจตสิกควรจะดับ โดยการมีกระทบสัมผัส
ถ้าไม่กระทบสัมผัสคุณไม่เกิดความจริง ไม่เกิดสภาวะจริงได้หลับตามันเกิดเป็นอดีตกับอนาคตเข้าใจชัดไหมว่าอดีตกับอนาคตมันไม่มีของจริงมันเป็นความจำไม่ใช่ความจริง หรือความคิดฟุ้งซ่านเป็นอนาคตไปมันไม่ใช่ของจริง เพราะฉะนั้นอย่าไปเสียเวลาอยู่กับมันโดยการหลับตาที่เป็นอดีตกับอนาคต เป็นทิฏฐิ 62
มันไม่เกิดประโยชน์อะไรนั่งหลับตาปฏิบัติธรรม เมื่อไหร่จะเข้าใจ เมื่อไหร่จะตื่นสักที สงสาร พูดเมื่อไหร่ก็นึกถึงท่านทั้งหลาย หลายผู้หลายคนก็แก่เฒ่า อายุเป็น 100 ปีบวชตั้งแต่เป็นเณรจนเป็นพระจนอายุ 100 กว่าแล้ว เสร็จแล้วก็ไม่ไหว แสดงประพฤติเป็นข่าวคราว กว่าเป็นพระอรหันต์แล้วอะไรอย่างนี้ที่เป็นข่าว
เพราะฉะนั้นเมื่อไม่เข้าใจกายที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ไม่เข้าใจการแยกกายแยกจิตเป็นธรรมนิยาม 5 จะไปปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 เรียนรู้ตั้งแต่กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิตทำในธรรม มีแต่ภาษากับทำจิตแบบเดียรถีย์ทำจิตผิดทาง มนสิการแบบออกนอกลู่นอกทางหมด
เพราะไม่เข้าใจว่ากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิตนั้นไม่ได้แยกกันเลยนะ มันจะเป็นปฏิสัมพัทธ์ต่อเนื่องกันจากภายนอกและเข้าไปภายใน เป็นภายในก็จะกลายเป็นตัวต่อที่คุณจะรู้ก็คือเวทนา แล้วเข้าไปถึงเวทนาในเวทนา ก็คือจิตที่เราจะต้องแยกออกเป็นเจโตปริยญาณ 16 อ้อ..
จิตเจตสิกต่างๆ มันแบ่งมันแยกออกมาเป็นกิเลสปลอมตัวมา เหมือนมันมาเป็นเจตสิกแต่มันก็ไม่ใช่ เหมือนจะมาเป็นจิตแต่มันก็ไม่ใช่ แต่มันปลอมมาสนิทเนียนเหลือเกินเป็นกิเลสครอบครองตัวเรามาตั้งแต่เราอวิชชายังไม่ได้ศึกษาธรรมะ จนมาพอรู้ว่าอย่างนี้เอง
แล้วก็เรียนรู้ตั้งแต่ตัวที่มันหยาบ รู้ง่าย ขจัดไปขจัดไป คุณก็จะได้บันได ในการที่จะเรียนรู้ตัวกิเลสในจิตสูงขึ้นๆ ตัวยิ่งเก่งยิ่งเล็กยิ่งละเอียดคุณก็จะจับมันได้ เอาตัวหยาบก่อน ตัวโตๆที่มันง่ายๆที่มันไม่เก่ง ไม่วิจิตร เอาตัวอย่างนี้ก่อนให้หมดไปหมดไปจนกระทั่งเจโตปริญาน 16
คุณทำได้คุณก็เกิดโลกุตรธรรมเป็นธรรมะในธรรม จากโลกียะเป็นโลกุตระ จากโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ ไป หรือยิ่งแยกเป็นโพธิปักขิยธรรม ก็เป็นโลกุตรธรรมตามองค์ธรรม 37 องค์ประกอบแล้วก็มีขั้นมีชั้น แบ่งง่ายๆเป็น โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์
เพราะฉะนั้นถ้าเผื่อว่ากายก็มิจฉาทิฏฐิแล้วคุณจะปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 กระดุมเม็ดแรกก็ผิดแล้ว ไปเลย ไม่เหลียวหลังเลย ไม่รู้เรื่องเลยแหละ เหมือนคนที่ฟังอาตมาพูดภาษาอีสานไม่รู้เรื่อง ไม่ได้ติดต่อกัน ไม่ได้พูดถึง พูดสั่งกันก็ไม่ได้สักคำ ไม่เกิดผลอะไร
เพราะฉะนั้นคนจึงยังเป็นสัตว์อยู่ทั้ง 9 ชนิด สัตว์ 9 ชนิดนี้เคยอธิบายมาหลายที 4 ชนิดที่เขาปฏิบัติแล้วจะเกิดฌาน เกิดประโยชน์ในการทำใจในใจได้ แต่เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นเดียรถีย์ไปหมด หนักเข้าจนกระทั่งเข้าใจว่านิโรธคือ อสัญญีสัตว์ เขาจะได้แค่ อสัญญีสัตว์ แบบ อาฬารดาบส อุทกดาบส ไม่ว่า เดียรถีย์ คนไหนหรือไปนั่งหลับตาปฏิบัติทั้งนั้น จะได้แค่ อสัญญีสัตว์ แล้วเข้าใจไปว่า นี่แหละคือนิโรธ
แม้นิโรธที่ได้ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิมันไม่ใช่นิโรธของพระพุทธเจ้าเลย ฌานที่ได้ ก็ไม่ใช่ของพระพุทธเจ้า ยิ่งไปได้สรุปว่า สัญญาเวทยิตนิโรธ หลงว่าเป็น นิโรธ ของพระพุทธเจ้าหรือนิพพานของพระพุทธเจ้าซึ่งมันไม่ใช่นิพพานเลยมันยิ่งไกล
มันเป็นนิโรธ แปลว่า ความดับ แต่มันเป็นความดับอย่างซื่อบื้อ อย่างอวิชชา อย่างเดียรถีย์ ไปดับความนึกคิด ไปดับการทำงานการทำหน้าที่ ของธาตุสัญญาที่ทำหน้าที่กำหนดรู้ มันก็ไม่กำหนดรู้อะไรนิ่งยิ่งแข็งทื่อ กลายเป็นก้อนอิฐก้อนดินไปเลย
ในสัตตาวาสข้อที่ 6 7 8 9 เป็นความเพ้อเจ้อทั้งนั้น พอดับสัญญาเสร็จแล้ว แล้วคุณก็มาสร้างภพใหม่เป็นอรูปภพ ภพที่จะต่อเนื่องจากอรูปภพไม่มีแล้วนะเพราะคุณ อสัญญีสัตว์
แล้วคุณก็ไปนิรมานกายด้วยความไม่รู้ว่ากายคืออะไร ก็ไปสร้างนึกว่าเป็นกาย นิรมาน คือ เนรมิตกายขึ้นมาเอง เช่น เป็นอากาศแล้วเราเป็นที่ว่างแล้วเรา นี่เป็นวิญญาณของเรา วิญญาณสะอาดวิญญาณบริสุทธิ์ วิญญาณเก่งที่สุดแล้ว นิโรธแล้ว อากิญจัญญายตนะ ไม่มีกิเลสแล้ว
แต่คุณก็ไม่ พ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ เอ๊!.. แล้วมันจริงหรือเปล่าวะใช่หรือไม่ใช่ จะว่าใช่ แต่มันก็ไม่ใช่ มันไม่มีตัวปัญญาตัดสินหรอก เนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วก็ใช่เดี๋ยวก็ไม่ใช่ ก็ไม่ใช่ได้อย่างไรเราได้มาถึงขั้นเป็นอากาศเป็นวิญญาณเป็น อากิญจัญญายตนะ แปลว่านิดหนึ่งน้อยหนึ่งก็ไม่มี แล้วไม่มีกิเลสแต่คุณก็รู้สึกว่าเอ๊ะ..กิเลสมันมีหรือไม่มีหรือเปล่า มันใช่หรือไม่ใช่ อาตมาขยายความที่ท่านแปลจากภาษาพยัญชนะ
สัตว์บางพวก เข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ มีอธิบายข้อความใช่หรือไม่ใช่ คุณไม่รู้จริงหรอก มันไม่ได้แท้ๆจริงๆเลย
เพราะฉะนั้นผู้ที่ปฏิบัติสัมมาทิฏฐิถูกต้องเลยก็ต้องปฏิบัติตามวิญญาณฐิติ 7 โดยไม่ต้องมีตัว ignore ของ เนวสัญญานาสัญญายตนะ อีก ถ้าสัมมาทิฏฐิถูกต้อง กาย รู้จักกายมาตั้งแต่ต้น จนกระทั่งมาถึงตัวที่ 3
กายอย่างเดียวกัน สัญญาอย่างเดียวกัน แล้วก็รู้ว่า นิโรธคืออะไร ความมืดคือ กิณหา ความดับคืออะไร
เพราะฉะนั้นจะไปเข้าใจว่าควรมี กิณหาหรือไม่ สุภกิณหา สภาพของจิตที่ควรจะมีจะนอนหลับก็อยู่กับความมืดสบายดีไม่มีอะไรแม้แต่แสงสว่างไม่มีอุปาทานอะไรเลย หลับตาก็ดำมืดดำ กิณหา
ถ้าคุณได้หลับตาเข้าไปแล้วยังมีแสงแวบวาบ สีขาว สีแดง สีเขียว มันเป็นอุปาทานทั้งนั้น ถ้าคนไม่มีอุปาทานแล้วหลับตาก็มืด ตอนนี้หลับตาตอนนี้มันมีแสงสะท้อนเข้ามา ถ้าหลับตาในที่มืดมันก็มืดเฉยๆเพราะไม่มีอุปาทาน พระอรหันต์ขึ้นไปแล้วชัดเจนหลับตาไม่มีอะไร แต่คนที่มีอุปาทานจะมีแสงสว่างแสงนั่นแสงนี่ ดีไม่ดีเล่นแสงสว่าง สีม่วง สีเขียว สีแดง สีเหลือง อะไรอีกเลอะเทอะเป็นอุปาทาน
เพราะฉะนั้นจึงรู้จักสัจจะความจริงอย่างถูกต้องหมดเลย ตั้งแต่ความดำก็คือ ความดำ นิโรธก็คือนิโรธ ความมืดก็คือความมืด มันไม่ใช่นิโรธ นิโรธกับความมืดมันคนละเรื่อง นิโรธเป็นการดับกิเลสส่วนความมืดเป็นสภาวะที่ประสาทรับรู้เป็นองค์ประกอบการหลับตาหรืออยู่ในที่มืด อยู่ในที่มืดคุณไม่มีแสงสว่างเลย มันมืดจริงๆคุณก็ไม่เห็นอะไรเหมือนกัน ก็กิณหา คุณหลับตาไม่รับแสงสว่างมันก็ดำมืดสิ เมื่อคุณปิดตาเลยแล้วก็ไม่มีแสงสว่างพวกนี้มาส่อง เช่น อยู่ในกลางคืนเดือนมืด แรม 15 ค่ำเลยยิ่งมืดสนิทก็ไม่มีแสงอะไรเลย มันก็มืดเป็นธรรมดาก็ไม่ได้กำหนดผิดอะไรก็รู้ดี ไม่สับสนว่านิโรธกับ กิณหา อันเดียวกันหรือคนละเรื่อง มันคนละเรื่องไม่หลงผิดว่า กิณหาคือนิโรธ นิโรธคือกิณหา
คนที่ไปทำความรู้สึกเป็นความมืดความดำแล้วหลงว่าเป็นนิโรธนี่ นั่นน่ะ ก็เสียเวลาไปชาติ แถมกิเลสที่หลงติดนี้ไปอีกกี่ชาติ
เพราะฉะนั้นจึงต้องมีวิโมกข์ 8 ด้วยกาย ต้องรู้วิโมกข์ 8 แล้วต้องรู้ด้วยกายอีก
วิโมกข์ 8 มีอะไร
-
ผู้มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย (รูปี รูปานิ ปัสสติ)
-
ผู้ไม่สำคัญมั่นหมาย รูปในภายใน เห็นรูปในภายนอก (อัชฌัตตัง อรูปสัญญี เอโก พหิทธา รูปานิ ปัสสติ)
-
ผู้ที่น้อมใของจเห็นว่าเป็นงาม (สุภันเตวะ อธิมุตโต โหติ, หรือ อธิโมกโข โหติ)