660406 พ่อครูเทศน์ภาคค่ำ เรื่อง กาย งานปลุกเสกฯ#45 ราชธานีอโศก
ดาวโหลดเอกสารที่ https://docs.google.com/document/d/1ywnXjZ7rv–aObMGSaimwhZ26Bdf_36Y/edit?usp=sharing&ouid=101958567431106342434&rtpof=true&sd=true
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1Fdk9m0XwX9H_I_yxupjwJG_FqttQvzZm/view?usp=share_link
ดูวิดีโอได้ที่ https://youtu.be/nvKimPtnHU4
และ https://fb.watch/jKvPSNZlIg/
อานิสงส์ฟังธรรม 5 ประการในงานปลุกเสกฯ
พ่อครูว่า…เจริญธรรมทุกๆคน วันนี้วันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน 2566 แรม 1 ค่ำ เดือน 5 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก
เราก็เริ่มคุยกันพูดกันเรื่องที่ควรจะคุย ควรจะพูด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องธรรมะหรือเป็นเรื่องการเป็นอยู่ของชีวิต ปลุกเสกฯก็ดี พุทธาภิเษกฯ ก็ดี ก็คือเรามาพยายาม อาตมาก็พยายามเทศน์ พวกเราก็พยายามมารับฟัง ทำให้มันเป็นธรรมะ ถ่ายทอดธรรมะ สาธยายธรรมะกันออกมา ให้ได้เข้าใจยิ่งๆขึ้น ยิ่งๆขึ้น
46 ปี ใช่ไหม 45 ครั้ง ครั้งนี้ครั้งที่ 45 เราทำปีละครั้ง ก็ 45 ปีผ่านมาแล้ว 45 ปีนี้พระพุทธเจ้าท่านก็ไปแล้วนะ 45ปีท่านก็พอแล้ว ท่านไม่ไปถึง 46 แต่เรายังต้องทำต่อไปอีก 46 ก็ต้องต่อ ยังไม่ตาย ถึงอาตมาตายพวกเราก็ทำต่อได้ สมมุติว่าอาตมาตายปีนี้ ปีหน้าก็มีกันอยู่ ผู้ใดนำพากันอยู่ก็ทำต่อไม่มีปัญหาอะไร สืบทอดกันไป
เพราะมันเป็นวิธีการที่จะได้เสริมความรู้ความเข้าใจ ความละเอียดละออของธรรมะพระพุทธเจ้านี้ ซึ่งแหม..มันละเอียดจริงๆ อาตมายิ่งเขียนยิ่งคิด เห็นความละเอียดลึกซึ้งครบถ้วนบริบูรณ์ ขนาดอาตมายังรู้ไม่ครบถ้วนบริบูรณ์เท่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย ยังเห็นความมากมายหลากหลาย ครบถ้วนจริงๆเลย ที่พูดออกมา พูดออกมา สาธยายออกมาๆ มันออกมาจากที่อาตมาเองเข้าใจและเห็นจริง เห็นยังไงเข้าใจยังไงก็เอามาพูดให้พวกเราฟัง พวกเรารู้สึกว่ามันมีอะไรที่ละเอียดลึกซึ้ง ฟังธรรมมีอานิสงส์ในการฟังธรรม 5 ประการขึ้นเรื่อยๆไหม
1.ได้ฟังสิ่งใหม่ที่มีใหม่ขึ้นมาเรื่อยๆ
-
เข้าใจยิ่งขึ้นๆๆๆ
-
ขจัดความสงสัย ขจัดสิ่งที่มันข้องจิตข้องใจให้หมดไปๆๆ
-
ทิฏฐิก็ตรง ตรง ตรง ตรง ตรงขึ้น เพราะฉะนั้นสัมมาทิฏฐิที่จะตรง ตรง ตรง ตรงจนกระทั่งมันไม่มีเป๋เลยได้ ไม่ใช่บอกว่าสัมมาทิฏฐิแล้ว พ้นมิจฉาทิฏฐิแล้ว ครั้งเดียว แนวเดียว ทีเดียวเลย ไม่ใช่ ไม่พอ เพราะฉะนั้นปัญญาของพระพุทธเจ้าข้อที่ 2 จึงต้องไต่ถามแล้วไต่ถามอีก แต่สำหรับพวกคุณมาฟังอาตมาบรรยายแล้วบรรยายอีก อาตมาไม่เบื่อ ใครจะเบื่อก็ช่างศีรษะใคร ของใครของมัน แต่อาตมาไม่เบื่อจะอธิบาย บางคนฟังแล้วอาจจะเบื่อก็ช่างสิ ตัวใครตัวมัน ศีรษะใครศีรษะมัน
SMS SMS วันที่ 3-4 เม.ย. 2566
_Khmer Bokador : เขมร โบกาดอร์ · ประยุทธเป็นพระโพธิสัตว์เหรอครับท่าน
พ่อครูว่า… ก็ดูไป ดูไป จะได้รู้พฤติกรรมทางกายวาจาใจว่า มันมีอะไรที่ไม่เหมือนคนสามัญธรรมดา มีความพิเศษ คุณจะได้ศึกษาเรียนรู้อันนั้นด้วยปัจจัตตังด้วยตัวคุณเอง
ความฝันฟุ้งเป็นอุปาทานใช่หรือไม่
_คำถามจากลูกที่ยังมีปัญหา : ลูกมีปัญหาว่า ตอนหลับ มีอาการได้ยินเสียงเด็กผู้ชายพูดคุยเกี่ยวกับการหาที่เกิด แล้วบอกว่าในนี้เกิดไม่ได้ มันเป็นอุตุ มันไม่มีการปฏิสนธิ แต่เขาอยากหาที่เกิด และมีอีกเสียงเป็นเสียงผู้หญิงบอกว่าร่างนี้เขาฝึกบำเพ็ญอุโบสถศีล เสียงเด็กพูดแค่ศีล 5 ได้ไหม เสียงผู้หญิงพูดอีกว่า กรรมสโกมหิ กรรมทายาโท กรรมโยนิ กรรมพันธุ กรรมปฏิสรโน อย่ายุ่งกับเขาเลยปล่อยให้เขาได้บำเพ็ญเถอะ
…มีอีกหลายเรื่องแต่ลูกจำไม่หมด เยอะมาก พอลูกรู้ตัว ใจเต้นแรง มีอาการกลัว เกิดขึ้น ส่งผลให้รู้สึกตัวไม่อยากเจอแบบนี้ อีกใจหนึ่งระลึกถึงคำสอนของพ่อครูว่า ตอนหลับไม่ใช่ความจริง ตอนลืมตาเปิดนั่นแหละความจริง ก็ปล่อยใจมันคลาย เสียงพูดคุยก็ยังมีอยู่ เป็นเรื่องใหม่เกิดขึ้นมาอีก พอมีสติก็เป็นตัวดูเฉยๆ มันก็หายไป มีอาการแบบนี้ บ่อยๆเกือบทุกครั้งที่หลับจะมีเสียงรบกวนตลอด
ลักษณะแบบนี้ มันเป็นอุปาทานในจิตของลูกใช่ไหมคะ? หรือว่า มันเป็นตัวอุธธัทจะที่ฟุ้งเกิดขึ้นมาเพื่อให้ลูกได้ล้าง ตัวยึดพวกนี้ ออกจากจิตวิญญาณให้มันสัมมาทิฏฐิด้วย จรณะ 15 วิชชา 8 มีอาการแบบนี้จะชัดขึ้นเมื่อลูกเข้าค่ายอุโบสถศีลออนไลน์ 3 วัน และยังมีเสียงของท่านสมณะ สิกขมาตุ กลุ่มพี่น้องอุโบสถศีล ส่งผลให้มีความตั้งมั่นในศีลมากขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นตอนหลับ
พ่อครูว่า… เสียงพูดคุยที่เกิดขึ้นมันเป็นสัญญา ที่พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์บอกว่า สัญญาความจำนี่แหละมันไม่หายไปจากจิตง่ายๆ
บอกว่ามันเป็นอุปาทานก็ถูกต้อง มันเป็นความยึดถือที่เห็นว่าอย่างนี้มันจริง มันยังยึดถืออยู่ มันจริงหรือมันยึดถือว่าเป็นเราเป็นของเราอยู่ เพราะฉะนั้นมันก็เลยติดอยู่กับตัวเรา เกี่ยวเกาะอยู่กับตัวเราประหวัดไปถึงมัน จิตประหวัดไปถึงมัน แล้วก็มีวนเวียนอยู่ยังไม่หายยังไม่คลาย
ยิ่งมีอาการรู้สึกว่ามันดี มันน่ามีน่าเป็น หรือมันอร่อย มันก็จะยิ่งนึก ยิ่งจะอยู่กับเรานานและแน่น เพราะฉะนั้นก็พยายามเลิกอาการอย่างนี้ ให้จิตมันคลายมันปล่อยแต่ไม่ต้องถึงกับไปกดข่มมัน ต้องทำความเข้าใจให้แจ้ง ทำปัญญาให้แจ้งว่า มันเกิดเป็นอย่างนี้กลายเป็นเรื่องต้องเกี่ยวข้องพัวพัน ต้องมีร่วมกันอย่างนี้ไปปรุงแต่งอย่างนี้ เราก็มาเรียนรู้อันนี้กัน
เมื่อเรามีปัญญาเข้าใจ มันมาก็ช่างมันเถอะเราอย่าไปเอาใจใส่มัน อย่าไปเกี่ยวข้องกับมัน มันเป็นสัญญาผ่านไปแล้วมันก็ก่อให้สุขทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์เท่านั้นแหละมันก็คือความรู้สึกนึกคิดเป็นความจำเป็นความรู้สึกนึกคิด เป็นความปรุงแต่งเรียกว่าเจตสิก 3 เวทนา สัญญา สังขาร มันก็มีเท่านั้น
มันก็ฟุ้งอยู่กับใจเรา เป็นอุทธัจจะก็ใช่ มีได้ถึงแม้ในภาวะตื่น และยิ่งเป็นได้ในตอนหลับ หลับแล้วยังมีการระลึกถึง เราได้ปฏิบัติประพฤติอย่างนี้ แบบนี้นะอยู่ในศีลออนไลน์ ควบคุมการระมัดระวังกาย วาจา ใจ อะไรอย่างนี้เป็นต้น ก็เป็นประโยชน์ ดีกว่าไปฝันฟุ้งซ่าน ระลึกฟุ้งซ่าน ตอนนอนหลับ
_ซึ้งซื่อ วิเชียร : กราบนมัสการพ่อท่านด้วยสุดเศียรเกล้าครับ ขอโอกาสถามพ่อท่านครับว่า พระสกทาคามีได้ปฏิบัติศีล 8 ส่วนพระอนาคามีต้องปฏิบัติ ศีล 10 เป็นต้น พระอรหันต์ในระดับที่ 4 นั้นต้องปฏิบัติ ศีล 43 ทุกข้อหรือไม่ครับ กราบขอบพระคุณพ่อท่านด้วยความเคารพสูงยิ่งครับ
พ่อครูว่า… ปฏิบัติไปบรรลุก่อนศีลครบ 43 ข้อก็ได้
พ้นกามคุณ 5 เข้าหาสาระแท้ของชีวิต
_จรูญลักษณ์ ทองเกสร : กราบนมัสการ พ่อท่านเจ้าค่ะ ลูกกำลังปฏิบัติตามคำสอนฯ ไม่กินอาหารที่มีเนื้อสัตว์มา13 ปีกว่าแล้ว ปล่อยผมให้มีหงอกโดยไม่ย้อม ไม่ใส่เครื่องประดับมามากกว่า 10 ปี เรื่องเงินที่ได้มา พยายามสะพัดออกโดยการบริจาคผู้ยากไร้ ให้ของตามเหมาะสม ช่วยเหลืองานโดยเป็นจิตอาสา ทำงานเกินเวลา โดยเข้างานก่อนเวลาและเลิกงานหลังเวลาวันละ 1-3 ชม.เเละอื่นๆตามสถานการณ์ที่เอื้อให้ปฏิบัติตามหลักคำสอนฯ
พ่อครูว่า… ระวัง over time จะทำเกินทำมาก ประเดี๋ยวมันมากไปมันก็จะเกินขอบเขตต้องระมัดระวัง ทำตามพอดีๆ รู้จักพักรู้จักเพียรให้พอดี
พวกเราที่รายงานผลหรือพูดถึงสิ่งที่ตัวเองปฏิบัติประพฤติแล้วเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตัวเอง พูดมาอธิบายมารายงานมาให้อาตมาอ่าน มันก็สะท้อนให้เห็นว่าอาตมาบรรยายธรรมะนี่นะ มีผล ทำให้พวกเรานี้เข้าใจ ว่าชีวิตมันจะดำเนินไปอย่างไร จะดีขึ้นอย่างไร ประเสริฐอย่างไร และก็พยายามทำไปเรื่อยๆ
พฤติกรรมพฤติการณ์ที่พูดมาก็แสดงให้เห็นว่าเป็นความเจริญก้าวหน้า เป็นคนมีประโยชน์คุณค่า รู้จักเลิกรู้จักปล่อยวางสิ่งที่มันเสียเวลา แรงงาน ทุนรอน ก็เลิกไป อะไรที่มันดีกว่านั้น เอาเวลา แรงงานทุนรอนที่ได้คืนมาเอามาทำสิ่งเหล่านี้เหล่านี้ จนกระทั่ง
อาตมามาเน้นให้พวกเราทำพืชพันธุ์ธัญญาหาร เพราะฉะนั้นผลผลิตหรือผลที่เน้นขึ้นมา ที่เห็นเอามาโชว์ เอามาอวดมาอ้าง ดูสินี่เป็นผลไม้มาก จะมีไม้ที่เป็นใบแล้วก็กินใบอีกเยอะ เยอะกว่านี้ อันนี้ไม้ที่มันมีผลก็เอาผลมันมาเท่าที่ได้ ดูสินี่ ยาวไปมีหมด มะมี่ มะโม มะแตง บักอึ บักเงาะ บักกล้วย บักขาม ก็มีสารพัด มีกินมีใช้อุดมสมบูรณ์ อาหารเป็นหนึ่งในโลก
เพราะฉะนั้นพวกชาวอโศกนี่ อาตมาจึงเห็นว่า มันบริบูรณ์ด้วยเศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ ที่เป็นสิ่งที่อาศัยใช้สอยในชีวิต ที่สำคัญเป็นหนึ่งในโลกอยู่รอด อาหารเป็นหนึ่งในโลก เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่ ยารักษาโรค ก็เป็นรองลงไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราก็ไม่ได้ขาดแคลน
ปฏิบัติธรรมตามพระพุทธเจ้าแล้วพวกเราก็บรรลุผลสาระสำคัญของชีวิตก็อุดมสมบูรณ์ แล้วเราก็ยิ่งเข้าใจต่อไปเลยว่า ความไปหลงว่า เพชรนิลจินดา เครื่องประดับเครื่องพอก เครื่องทา หลงอบายมุขมันเป็นสิ่งที่จะต้องไปเสียเวลาทุนรอนแรงงานกับมันเราก็เลิกมาได้เรื่อยๆ แต่ก่อนนี้ไร้สาระมากเรานี้โง่เดี๋ยวนี้เลิก
นี่แหละคือวิมุติ คือความหลุดพ้น ที่ยืนยันได้ตามพระอนุสาสนีตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่หลุดพ้นแล้วจิตก็เป็นเทวดา เป็นทิพย์ หลุดพ้นอย่างนู้นอย่างนี้ มันไม่ใช่ มันมีรูปมีนาม มีภาวะปรากฏการณ์ มีพฤติกรรมในชีวิต หลุดพ้นมาจากโลกอบาย หลุดพ้นมาจากโลกกามารมณ์ กามคุณ ที่ไปติดยึดในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
กามคุณ 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เราสัมผัสแล้วแต่ก่อนจีจ๋า รูปสวยต้องสัมผัสๆเสพรสสวย เสียงก็ต้องได้รับสัมผัสๆกับเสียง ไม่ได้ยินเสียงไม่มีเสียงที่เราติดเรายึดไม่อร่อยก็รู้สึกว่ามันขาดอะไร จิตไม่มีชีวิตชีวา จิตขาดสิ่งที่เราต้องการก็ลดลงๆ เรื่องกลิ่นก็ไม่กระไร เรื่องรสทางลิ้น โอ้โห..มาก รสทางลิ้น ติดนาน ติดละเอียดติดหลายแบบหลายมุมหลายแง่กว่าจะหลุดพ้น จะรู้สึกว่ารสพวกนี้มันก็เป็นอย่างที่มันเป็น เปรี้ยวก็เปรี้ยว เค็มก็เค็ม หวานก็หวาน ขมก็ขม มันก็เป็นรสของมันอย่างนั้น แล้วเราก็ไม่ได้ไปชื่นใจ ไปผลักไปดูดกับมัน รู้ความจริงตามความเป็นจริง รู้ว่ามันจำเป็นสำคัญมันขมหน่อยก็กิน มันเป็นธาตุที่จำเป็นที่ควรจะต้องกินหรือว่าจะต้องกิน เขาเอามาให้ไม่มีอะไร มีแต่อาหารขมๆก็ต้องกินมันทั้งขมๆนี่แหละ มีแต่อาหารจืดๆก็กินมันทั้งจืดๆ มีแต่อาหารหวานๆก็กินมันทั้งหวานๆนี่แหละ แต่มันก็มีหลายอย่างอยู่หรอก ไม่ใช่มีอย่างเดียวทีเดียว
เราก็ไม่ได้ไปเลือก เห็นความสำคัญในความสำคัญว่า กินอาหารอันนี้ จะเค็ม จะเปรี้ยว จะหวานก็แล้วแต่ มันมีธาตุที่ควรจะต้องได้รับเข้าไปในร่างกาย เราก็รู้ก็เข้าใจ
_สู่แดนธรรม… มีคนรายงานว่าผลไม้นี้มาจากไหนบ้าง เงาะมาจากวังจันทน์พฤกษา แตงโมริมมูลโดยกลุ่มศรีโคตรบูรณ์ กล้วยจากสวนพวกเราหลายๆสวน ฟักทองจากสวนปู่เถา
ผมฟังพ่อท่าน ผมได้ข้อคิดอย่างหนึ่งว่า การวิมุติหลุดพ้นของชาวอโศกมีรูปธรรมชัดเจน ไม่ใช่บรรลุที่ยังเป็นสิ่งจับต้องไม่ได้ละเมอเพ้อพกเป็นภพเป็นชาติ แต่การบรรลุของพวกเรานี้ถึงแม้จะหลุดพ้นจากรูป เราก็มาสร้างรูปให้เกิดเป็นเศรษฐกิจ การสอนธรรมะที่มีประโยชน์ของพ่อท่าน โลกน่าจะต้องการมากนะครับ
พ่อครูว่า… ใช่ มันไม่งมงาย มันรู้จักประโยชน์คุณค่าหรือความไร้ประโยชน์และไร้คุณค่า นอกจากไร้ประโยชน์คุณค่าแล้วยังเพ้อพกละเมอไป มันยิ่งมีความจริงว่ามันเป็นนิรมานกาย เป็นสิ่งที่สร้างลมๆแล้งๆแล้วไปหลงใหลว่าเป็นทิพย์ เป็นสิ่งวิเศษอะไรต่ออะไรไปเป็นเรื่องลึกซึ้งของจิตวิญญาณที่สามารถเป็นได้ไปโน่นเลย มันก็เลยยิ่งไม่ได้ประโยชน์ไม่ได้คุณค่า และเพ้อเจ้อหลงใหลเลอะเทอะ หนักเข้าเป็นบ้าได้
เรียนรู้ความเป็นกายในเรื่องเศรษฐศาสตร์
อาตมากำลังขยายความเรื่องกาย ซึ่งคำว่ากายนี้มีตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งสุดท้ายจบ ต้น กลาง ปลาย เช่น รู้จักกายอย่างสัมมาทิฏฐิแล้วก็มาปฏิบัติโพธิปักขิยธรรม 37 เริ่มต้นด้วยกาย กายนอกแล้วก็มีกายในกาย แล้วเข้าไปหาภายในไปเรื่อยๆ เป็น เวทนา จิต ธรรม
ลึกเข้าไปจนสามารถทำจิตเจตสิกต่างๆให้มันเป็นธรรมะที่เป็นโลกุตระลึกซึ้ง ลึกเข้าไปเจริญเป็นอินทรีย์ 5 พละ 5 ขึ้นไปเรื่อยๆ ด้วยฐานสำคัญคือโพชฌงค์กับมรรคมีองค์ 8 นั่นก็เต็มสูตร 7 หลักในโพธิปักขิยธรรม 37 สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8 ครบ นี้เป็นโลกุตรธรรม 37 ในศาสนาพุทธ
พวกเราเรียนและเข้าใจ เอาไปปฏิบัติ เกิดมรรคเกิดผล อาตมาขอยืนยันว่าชาวอโศกเรานี้เรียนรู้ธรรมะเกิดมรรคเกิดผล จนกระทั่งเป็นจริง มีคนหลุดพ้น มีคนเข้าใจปล่อยวางเรื่องรักโลกียะจนกระทั่งขั้นหยาบ จนกระทั่งสูงขึ้นสูงขึ้นละเอียดขึ้น แล้วชีวิตที่ มีเรื่องโลกีย์ในโลก โลกกับเรื่องการติดๆในรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสลดลง จึงมาอยู่รวมกันเป็นคนกลุ่ม สังคมหมู่กลุ่ม ที่เป็นสาราณียธรรม 6 มาอยู่รวมกัน มีชีวิตร่วมกัน มีชีวิตดำเนินไปด้วยกัน เหมือนพี่เหมือนน้อง จริงๆแล้วอาตมาว่ายิ่งกว่าพี่กว่าน้องเลย เพราะมันมีภูมิธรรมละเอียดลึกซึ้งสนิทใน เนียนใน มันไม่มีภาวะที่มันแบ่งตัวตน มันสลายตัวตนได้มากจริงๆ มันจึงอยู่กันได้เป็นมวลครอบครัวนี้ใหญ่ด้วย แล้วก็ไม่แย่งไม่ชิงอะไรกัน แบ่งกันกินกันใช้ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ใครบกพร่องใครขาดใครเหลือก็เกื้อกูลเจือจานกัน
มันจึงเป็นพฤติกรรมที่มี สาราณียธรรม 6 เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม มีสาธารณโภคี มีผลผลิตก็มารวมกันไม่ไปเสียเวลาผลิตสิ่งที่ไร้สาระ พวกเราเป็นคนที่กอบกู้เศรษฐกิจให้แก่ประเทศชาติสังคม นี่แหละคือการพัฒนาเศรษฐกิจที่แท้ ไม่ได้ไปหลงใหลเศรษฐกิจบ้าๆบอๆ ไปสำคัญที่ตัวเงิน แล้วก็เลยไปหลงใหลตัวเงินตัวทองกัน ไปหลงใหลที่รายได้ตัวเลขของเงินกัน มันไปใหญ่
การเจริญของเศรษฐกิจการเจริญของชีวิตมนุษย์คือการเจริญไปทางโน้น นี่แหละเข้าใจเศรษฐศาสตร์แบบเทวนิยม แบบขาเดียว แบบโง่ๆ มันไปกันใหญ่เลย แล้วทั้งโลกเขาเข้าใจอย่างนี้กัน ในเมืองไทยนี้มีผู้เข้าใจเศรษฐกิจหรือเศรษฐศาสตร์แบบของพระพุทธเจ้าคือชาวอโศกนี้ชัดเจน
จึงมามีเศรษฐศาสตร์หรือเศรษฐกิจแบบพระพุทธเจ้า ก็ อิสระ สบาย สงบ อบอุ่น อิ่มเอม เกษมใส ใจเกื้อกูล และเพิ่มพูนเสียสละ
นี่แหละคือคนบรรลุเศรษฐศาสตร์ บรรลุเศรษฐกิจจริงแท้ ไม่ได้ไปเที่ยวเป็นผู้ที่จะเป็นภาระของกลุ่มหมู่สังคมอื่น พวกเราอุดมสมบูรณ์ มีพออยู่พอกิน เหลืออยู่เหลือกิน แจกจ่ายเกื้อกูลผู้อื่นไป นี่คือคนที่สร้างเศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ เอื้อเฟื้อเจือจานแก่สังคม
เพราะสังคมมีกิเลสมันก็มีแต่ตะกละตะกลามไม่พอ วัตถุแท่งก้อน ทรัพย์สินเงินทองก็ไม่พอกอบโกยกัน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสก็ไม่พอ เสพย์แล้วเสพย์อีกเสพย์แล้วก็จัดจ้านขึ้น พวกเราเข้าใจแล้ว รสคือรส รูปคือรูป กลิ่นคือกลิ่น เสียงก็คือเสียง จบ มันไม่ได้ปรุงแต่งเพิ่มเติมอะไรมากมาย นี่เป็นการกอบกู้ความโง่ กอบกู้สิ่งที่มันทำให้เสียเวลา แรงงาน ทุนรอนไป คืนมาได้ นี่คือการทำงานเศรษฐกิจที่กอบกู้ความโง่ กอบกู้ความสูญเสียคืนมาได้ นี่เป็นเศรษฐกิจหรือเศรษฐศาสตร์ของพระพุทธเจ้าที่อาตมาพาทำ แต่เศรษฐกิจเศรษฐศาสตร์ของทางเทวนิยมของทางตะวันตกต่างประเทศ ที่เป็นความรู้ของศาสดา ขาเดียว ศาสดา รู้แต่เรื่องภายนอก เรื่องวัตถุ ไม่รู้เรื่องจิตที่สมบูรณ์
เพราะฉะนั้นเศรษฐศาสตร์ที่สูงที่สุด เจริญที่สุดก็คือ คนจะมาเป็นคนมีวรรณะ 9 วรรณะหรือ the classes เป็นคนชั้นสูงมี 9 ขั้นอย่างพวกเราถือว่าเป็นคนมีวรรณะ 9 จริงเลี้ยงง่าย
สุภระ ข้อที่ 1 แล้วก็มานั่งฟังธรรมเพิ่มความเจริญแล้วๆเล่าๆให้เจริญขึ้นเรื่อยๆ
สุโปสะ บำรุงง่าย พัฒนาให้เจริญขึ้นง่าย
อัปปิจฉะ เอาแต่น้อย จนกระทั่งถึงฐาน 0 ก็ได้
สันโดษ หรือสันตุฏฐิ ใจพอ มัน 0 มันก็พอ มี 5 บาทก็พอ 10 บาทก็พอ 100 ก็พอ ใครที่มีความจำเป็นจะต้องมีเงินถึง 100 ถึง 1,000 ก็เอาขนาดนี้ พอก็คือ ไม่ไปเพิ่ม ไม่ไปแย่งชิงกับใครมาอีก มีส่วนเกินสัมผัสง่ายๆ ไม่ติด ไม่หวงแหน ไม่ขี้เหนียว กระจายเผื่อแผ่กันไป
นี่คือความสำเร็จของนักเศรษฐศาสตร์หรือนักเศรษฐกิจที่สูงสุด สำเร็จถึงขั้นจบกิจ เศรษฐกิจที่จบกิจ จบคือ หมดตัวตน หมดกิเลสที่จะต้องเพิ่ม มีแต่สร้าง มีแต่ผลิต แล้วตัวเองก็อาศัยใช้สอยในสิ่งที่แรงงานที่เราทำ ความรู้ที่เราทำ ซึ่งมีเหลือมีเกินพอที่เรากินใช้ จึงเป็นคนมีกำไร จึงเป็นคนมีประโยชน์ เหลือ ก็สละประโยชน์ สละกำไรนั้น ให้แก่คนอื่นๆไป
ซึ่งโลกเขาไม่สละ เขาจะเอามากกว่าที่ตนเองทำได้ด้วยซ้ำ ตัวเองมีคุณค่า ค่าของคุณภาพหรือประสิทธิภาพของตนได้สัก 100 บาท คุณก็จะเอาให้เกิน 100 บาท ขี้โกงเขา หาทางหาวิธีการที่จะเอาเปรียบเอารัด ด้วยวิธีซับซ้อนมาก ทุนนิยมสามานย์ แล้วเขาก็ทำได้สำเร็จ แล้วโลกเขาก็ใจทฤษฎีแบบนั้น พวกนี้เป็นเรื่องยืนยัน ชี้บ่งว่าเป็นคนเจริญทางเศรษฐศาสตร์ เจริญทางเศรษฐกิจ เพราะมันมีสมบัติมาก มันรวยมันเก่ง ที่ทำได้มากอวดอ้างเขาแล้วเอามาโชว์ โชว์แต่เงินทองนับกันไม่หวาดไม่ไหวก็เอาแปลงเป็นเพชร เป็นทองเป็นเครื่องอะไรตั้งราคา ในที่สุดเสื้อราคา 10 บาทถึง 20 บาทมันตั้งราคา 100 บาท คนโง่ก็บอกว่าข้ามีเงินซื้อ 100 บาท ทั้งๆที่ราคาทุนมัน 10 บาทอะไรอย่างนี้ ซึ่งเดี๋ยวนี้ราคามันเป็นพันก็ขายเป็นหมื่นเป็นแสน คนโง่ก็ซื้อมาโชว์ว่า นี่ไง ฉันใส่เสื้อราคาหมื่น ราคาแสน ใส่แล้วมันเหาะได้หรือเปล่าวะ มันก็เหาะไม่ได้แต่ก็ถูกหลอกไป คนฉลาดคนโง่ก็หมุนเวียนอยู่อย่างนี้
คนฉลาดโกงก็หลอกคนโง่ที่รวย ก็เป็นอย่างนี้ หมุนเวียนแล้วเกิดการสะพัด คนฉลาดที่โกงก็ได้ เขาก็อยู่กับระบบโกงกับระบบโง่นี่ แต่ชาวอโศกเรานั้นไม่แย่งรวย เข้าใจจน เข้าใจสร้างสรรค์ขยันเพียร ไม่ได้เป็นคนขี้เกียจขี้คร้าน ไม่ได้เป็นคนดูดาย สร้างสรรค์ในสิ่งที่เป็นประโยชน์คุณค่า สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์คุณค่าไร้สาระ เลิก เอามาสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์คุณค่า จึงเป็นผู้ที่เข้าหาสาระแก่นสารของชีวิตของสังคมมนุษยชาติ นี่คือผู้เจริญเศรษฐศาสตร์
คนเหล่านี้รู้จักองค์ประกอบ รู้จักสิ่ง 2 คือกาย รู้จักจิต ที่ร่วมกันอยู่คือกาย
วกกลับมาถึงกายต้องมี 2 อย่าง ต้องมีทั้งภายนอกภายใน มีแต่ภายนอกอย่างเดียวไม่มีจิตวิญญาณเข้าไปเกี่ยวไม่ใช่กาย เพราะ ฉะนั้นถ้าเข้าใจผิดแค่นี้ก็เป็นโมฆะ หรือไปหลับตาไม่มีภายนอกเลยก็มิจฉาทิฏฐิอีก ผิด
กายต้องมี 2 ข้างนอกข้างในร่วมกันอยู่เป็นอายตนะ ตลอดเวลาเสมอๆๆๆ แล้วก็วิจัยภาวะ 2 ใน 1 ภาวะ 1 ใน 2 อันนี้แหละ
ธรรมทั้งสองเหล่านี้ รวมเป็นอันเดียวกันกับเวทนา โดยส่วนสอง (เทฺว ธมฺมา ทฺวเยน เวทนาย เอกสโมสรณา ภวนฺติ ฯ ) ล.10 ข.60
ตัวที่จะทำอย่างสำคัญจริงๆคือ เวทนา คือความรู้สึก เพราะฉะนั้นความรู้สึกนี้มันมีสุขมีทุกข์ นี่แหละคือโลกุตระธรรมที่พระพุทธเจ้าท่านค้นพบ ว่าถ้ามนุษย์เราเรียนรู้เรื่องสุขเรื่องทุกข์ เรื่องเวทนานี้ อันประกอบไปด้วยเรื่องกาย ประกอบไปด้วยอัตตา ที่เที่ยวไปวุ่นวายเกี่ยวก่อให้เป็นกาย แล้วเป็นข้างนอกออกไปเรื่อยๆ เรียกว่าโลก กว้างขึ้น โลกมันไปเกี่ยวไปผูกไปพัน น้อยๆแคบๆก็กว้างขึ้นกว้างขึ้นจนเลยออกนอกโลกไปเป็นเจ้าโลกเลย ข้าจะต้องมีอำนาจยิ่งใหญ่เป็นผู้เผด็จการหมด
เพราะฉะนั้นในความรู้ความเป็นของชาวเศรษฐศาสตร์เศรษฐกิจเทวนิยม ศาสดาเทวนิยมทั้งหลายจึงมีแนวโน้มแนวเน้นแบบนี้หมด ไม่มีมาเข้าใจอย่างที่อาตมาอธิบาย แม้แต่ในประเทศไทยก็ยังมีส่วนเชื้อที่จะเหลือไม่เข้าใจโลกุตระบ้าง แต่จะหมดแล้วถ้าอาตมาไม่ฟื้นขึ้นมานี้ หายไปเลยนะ
จบ 22 เพราะฉะนั้นเราจบกิจของเศรษฐศาสตร์ ดูแลการอภิบาลการเลี้ยงดูกัน เศรษฐศาสตร์ก็มีการสร้างทรัพย์ศฤงคาร สร้างที่อยู่อาศัยกินขึ้นมาได้ แล้วก็แบ่งแจกเกื้อกูลกันไป ชาวอโศกสำเร็จจบกิจทั้งเศรษฐศาสตร์จบกิจทั้งรัฐศาสตร์ เพราะเข้าใจกายเข้าใจจิตอย่างสมบูรณ์แบบ กายคือการเกี่ยวข้องจิตคือตัวเรา ตัวเรายังไม่ปรินิพพานเป็นปริโยสาน เราจะมีปัญญามีธาตุรู้ที่เข้าใจวิจัยอะไรออก มีธรรมวิจัยสัมโพชงค์สมบูรณ์แบบ รู้ละเอียดลออจึงสามารถที่จะร่วมปรุงแต่งเป็นอภิสังขาร ปรุงแต่งสิ่งที่ควรปรุงแต่งตามเหตุปัจจัยตาม กรอบ ของสังคมแต่ละกลุ่มแต่ละกลุ่มอย่างพอเหมาะ
อย่างพวกเรานี้เหลือเฟือในเรื่องอาหารการกิน ถึงขั้นไปแจกเขาได้อยู่ ไปทำออกให้ข้างนอก ปลูกข้างถนนไปให้คนเขาได้เก็บกินเพราะเราอยู่ในของเรานี้กินเหลือเฟืออยู่แล้วส่งผลผลิตไปวางศาลาปันสุขก็ทำอยู่แล้ว ปลูกเข้าไปให้เก็บเอง เด็ดเอง มันขี้เกียจนัก
มีคนมองว่าอย่างนี้ก็ทำให้คนเขาขี้เกียจสิ.. ก็ให้มันขี้เกียจไปสิอยากจะโง่ไม่มีปฏิภาณทำไม บางคนเขาก็ทำ ทำไมเราทำเป็นเราก็ทำได้ทำไมเราไม่ทำจะเสื่อม ทำอะไรกันนักกันหนา คนฉลาดจะได้คิดคนโง่ก็แล้วไปเถอะมันโง่ก็ต้องโง่ไปสิ แต่จะเอาเปรียบเอารัดมีกิเลสเห็นแก่ตัวกันไป จะไปรับผิดชอบเขาได้อย่างไร ไอ้คนมันโง่
เราก็ให้คนได้คิดเหมือนกับเราทำการขายตลาดอาริยะต่ำกว่าทุน คนก็บอกว่าแบบนี้ทำให้คนเห็นแก่ตัว เห็นกันได้ตอนแรกมันก็ใช่ ตอนหลังมันมีภาวะซับซ้อน ชาวอโศกมาเสียสละแล้วเราจะไม่ขี้โลภหรือความละอายก็จะเกิดขึ้นความสำนึกเกิดขึ้น เขาก็เปลี่ยนจิตของเขาเองว่าเราไม่ เดี๋ยวนี้ก็ไม่ขี้โลภเหมือนกัน เดี๋ยวนี้ไม่แย่งไม่ซิงไม่ขี้โลภเหมือนเก่า แต่ก่อนนั้นมาจองคิวอะไรกัน เวียนเทียนกัน เดี๋ยวนี้ก็สำนึกเกิดขึ้น
นี่คือความเจริญของจิตที่เขาสำนึกและเขาก็เปลี่ยนแปลง อย่างนี้แหละเป็นผล ไม่ใช่ไปบังคับให้เขาหยุดให้เขาเจริญให้เป็นอย่างนี้ไม่มีบังคับ เป็นอิสระเสรีภาพ คุณพัฒนาจิตของคุณให้เจริญเองเลย นี่คือการสร้างเศรษฐศาสตร์ สร้างให้คนรู้จักปฏิบัติกิจที่เป็นเศรษฐกิจที่ เป็นโลกุตระ เป็นเศรษฐกิจที่วิเศษ
เพราะฉะนั้นในความเป็นเศรษฐกิจของชาวอโศกในโลกตะวันตก จบด็อกเตอร์มา 5 ใบ 10 ใบก็ไม่มีอย่างนี้ เพราะเกิดจากจิตเป็นประธานมีปัญญา รู้พอ รู้จบ มีวรรณะ 9 เลี้ยงง่าย (สุภระ) บำรุงง่าย, ปรับให้เจริญได้ง่าย (สุโปสะ) มักน้อย, กล้าจน (อัปปิจฉะ) ใจพอ สันโดษ (สันตุฏฐิ) ขัดเกลากิเลส (สัลเลขะ)เพ่งทำลายกิเลส มันยังเหลือสิ่งที่ไม่สมบูรณ์ก็ขัดเกลาตนเอง กาย วาจา ใจ มีหลักเกณฑ์ให้ปฏิบัติที่สูงขึ้น มีศีลสูงอยู่ปกติ (ธูตะ, ธุดงค์) มีอาการน่าเลื่อมใส (ปาสาทิกะ) สุดท้ายเป็นคนไม่สะสมเหมือนพวกเรา สร้างสรรค์ไป ไม่ยึดเป็นเราเป็นของเรา สบายๆ สงบ อบอุ่น อิ่มเอม เกษมใส ใจก็มีแต่ความเกื้อกูล ช่วยเหลือเฟือฟายกันไป ทุกคนก็มีแต่เพิ่มพูนการเสียสละ ชีวิตสุดท้ายปลายเปิด ชีวิตคนนี้มีแต่พัฒนา ความเสียสละๆๆๆ จนกระทั่งเสียสละได้อย่างสุดยอด อย่างเจ้าชายสิทธัตถะเกิดมา มีวัง มีเวียง มีสมบัติ เกิดมารู้ตัวว่า เราต้องเป็นพระพุทธเจ้านี่ก็หนีเลยเดินออกมาเฉยๆเลย สมบัติพัสถาน ทั้งอำนาจบาตรใหญ่ ทรัพย์สินเงินทองก็หนีออกมาเฉยเลย เลิกเลย มาถอดเครื่องทรงแบบกษัตริย์ออกมา นุ่งห่มผ้าห่อศพ ผ้าบังสุกุล เดินเท้าเปล่า แต่ก่อนฉลองพระบาทเป็นทองคำ สมัยโบราณเป็นทองคำจริงๆ มาเดินพระบาทเปล่าเฉยๆเป็นสุขุมาลชาตินะพระพุทธเจ้า แน่นอนเท้าบางแน่ แต่ท่านก็มีบารมี ไม่มีปัญหา อย่างนี้เป็นต้น
คือมันไม่ใยดีไม่แยแสแล้ว สมบัติโลก พอรู้ตัวก็ไม่เอาแล้ว อย่างอาตมาไม่ต้องถึงพระพุทธเจ้า พอรู้ตัวแล้วก็ไม่เอา มาทางนี้เลยแล้วก็พาพวกคุณมาจนได้ จนสำเร็จด้วย ซึ่งมันเป็นทฤษฎีที่ชาวเทวนิยม ชาวโลก ชาวโลกียะเขาบอกว่าอะไร ว่ามาจนยังไง
แล้วมันซับซ้อนเป็นสิริมหามายา มาจนทำไมมันรวยๆ มันเอาแต่แจก ทำไมมันรวยได้ไง ดูที่นี่อะไรๆก็ดูอุดมสมบูรณ์ เครื่องไม้เครื่องมือเครื่องใช้ดูสิทำให้คนมาเล่นมาอาศัยมากินมาใช้ จ่ายนะ เครื่องเล่นทั้งหลายก็จ่าย แล้วแถมจ่ายค่าไฟทุกวัน รวมแล้วหลายแสนต่อเดือน
ในบ้านราชเรานี่ ตั้งแต่มาใหม่ๆก็มีคนมาทำงาน จนเดี๋ยวนี้มีคนงานมาอาศัยทำมาหากินตั้งแต่เรามาอยู่ก็หลาย 10 ปีแล้ว เขาก็ทำมาหากินจนกระทั่งตั้งหลักตั้งฐานะของเขาได้ เยอะแยะไป รวยกว่าพวกคุณ รวยกว่าพวกเรา พวกเราเป็นนายทุน เป็นคนจ่าย แต่ทางโน้นเขารวยกว่าพวกเรา
_สู่แดนธรรม… เขามีรถแทรกเตอร์
พ่อครูว่า… มีทุกอย่างมีสมบัติพัสถาน พวกเราก็มีแต่รถส่วนกลาง มันดูแล้วมันสลับ แต่พวกเราไม่สับสน เราชัดเจนแล้ว เราเต็มใจยินดีอย่างนี้ พวกนั้นเขาจะต้องอาศัยติดยึดอยู่ ก็เป็นไป เราไม่มีปัญหาอะไร
นี่คือความรู้ของมนุษย์ นี่คือความสำเร็จ ความรู้ของมนุษย์ ความสำเร็จที่สามารถที่จะมีชีวิตอยู่ร่วมโลกเขา แล้วเราเป็นตัวประโยชน์ เป็นอายะ พหุชนหิตายะ เป็นคนมีประโยชน์ ที่แท้จริง พหุชนะคือมวลประชาชน คือมี อธิปไตย 3 แล้วก็มี อายะ 3
อธิปไตยก็คือมวลประชาชน ประชาธิปไตยคืออธิปไตย 3 แล้วประชาชน พหุชนะ มวลประชาชน มีประโยชน์คุณค่าที่อาศัย ประโยชน์คุณค่าที่ทำให้คนสุขสงบ หิตะประโยชน์ พหุชนหิตายะ พหุชนสุขายะ โลกานุกัมปายะ ประโยชน์ที่จะกระจายไปทั้งโลก โลกานุกัมปายะ ชาวอโศกทำสำเร็จแล้ว นี่คือความเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบ นี่คือพุทธศาสตร์ ไม่ใช่ศาสตร์ของศาสดาเทวนิยม นี่เป็นศาสตร์ของศาสดาพระพุทธเจ้า เป็นอเทวนิยม ครบทั้งรัฐศาสตร์ ครบทั้งเศรษฐศาสตร์ จบกิจทั้งรัฐศาสตร์ จบกิจทั้งเศรษฐศาสตร์
ที่อาตมาพูดไม่ได้ขี้ตู่นะ คุณมาตรวจสอบวิจัยเอาได้เลยนะว่านักศึกษาจะมาทำวิจัยชาวอโศกนี้ ในเรื่องเศรษฐศาสตร์ก็ตามรัฐศาสตร์ก็ตาม ซึ่งเป็นเรื่องของสังคมศาสตร์ ต่อไปจะมีเพิ่มขึ้นๆๆ ซึ่งมันไม่มีในตำราของเทวนิยม ไม่มีในตำราของทางตะวันตก ยุโรปอะไรก็แล้วแต่ ยิ่งตะวันออกกลางแล้วยิ่งไม่รู้เรื่องเลย
มันมีในตะวันออกและอยู่ในประเทศไทยนี้สำคัญที่สุด สูงที่สุดสวยที่สุด ถึงขั้นจบกิจ
อาตมาพูดอธิบายนี้มันก็ขยายด้วย แล้วก็สรุปด้วย เพราะเราเข้าใจกายที่เกี่ยวข้องภาวะ 2 แล้วเราทำจิตของเราให้จบกิจได้ กายมีภาวะ 2 ก็รู้จักกรอบ รู้จักขนาดที่เกี่ยวข้อง แล้วก็ทำให้มันลงตัวทำให้มันได้พอเหมาะพอสม ปโหติ เป็นกรอบๆ ตามที่เราเกี่ยวข้องตามแต่ละองค์ประกอบทุกองค์ประกอบ
คนที่เก่งขึ้นก็ทำให้เกิดองค์ประกอบได้กว้างขึ้น อย่างอาตมานี่เก่งพอสมควร ทำให้พวกเราเกิดเศรษฐกิจ หรือการเมืองรัฐกิจ บริหารกัน มีอะไรก็แบ่งแจกกัน เอามาเกื้อกูลช่วยเหลือกันกินใช้ร่วมกันเป็นเศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ ขยายออกไป มีในแวดวงของพวกเราที่เป็นสมาชิกอุดมสมบูรณ์แล้วก็เผื่อแผ่ออกไปแก่คนที่ไม่ใช่สมาชิก มีไหม เราเผื่อแผ่ออกไปเกินกว่าพวกที่ไม่ใช่สมาชิกชาวอโศกมีไหม.. มี
มันก็สำเร็จแล้ว พวกเราพึ่งตัวเองรอดมีเหลือ แล้วเกื้อกูลผู้อื่นได้ ก็เป็นคนในโลกที่มีเศรษฐศาสตร์หรือมีเศรษฐกิจจบกิจแล้วไง ไม่ได้เป็นภาระรัฐบาล ไม่ได้เป็นภาระสังคม ไม่ได้เป็นภาระแก่ใครๆ
นี่คือการพัฒนาเศรษฐกิจถึงขั้นจบกิจ เศรษฐศาสตร์ของเทวนิยมไม่รู้จักการจบกิจ ไปหลงอยู่แต่ตัวเลขของรายได้ แล้วรายได้ก็พิกลพิการจะเอาเปรียบได้เปรียบ เจริญมันจะต้องมีเปรียบให้ได้มากๆมากๆแต่ของพระพุทธเจ้านี้ สูญ ผู้จบรายได้ 0 ไม่ต้องมาสะสมอีกแล้ว นี่ต่างหากคือจบกิจที่เจริญสูงสุด มันทวนกระแสกันเลย แล้วเขาจะเข้าใจได้ไหมนี่ เขาจะเข้าใจได้ไหม ข้างนอกเทวนิยมโลกทั้งโลก เข้าใจได้ไหม แล้วพวกคุณเข้าใจได้ไหม.. ได้ ทำได้ โอ้โห..สุดประเสริฐเลย เยี่ยมยอดเลย ทำแล้วยังทำต่อไปอีก ทันสมัย ใหม่เสมอ ก็จริง
จะว่าไปแล้ว พลเอกประยุทธ์ นี่แหละเป็นโพธิสัตว์ที่กำลังทำต่อ ตามฐานานุฐานะของความเป็นพลเอกประยุทธ์ ในนัยยะที่อย่างนี้ อาจจะไม่เห็นรูปร่างคมแม่นแน่นแข็ง เหมือนมีรูปธรรม นามธรรมเหมือนที่อาตมาพาทำ แต่ฟังเขาทำมีนัยยะพวกนี้อยู่
นี่คือความลึกซึ้งของศาสตร์ที่มนุษย์จะเอาไปสร้างเป็นกิจ เป็นการเป็นงานที่จะทำอยู่ในสังคม ประเทศไทยจึงเป็นประเทศที่มีปรากฏการณ์ มีพฤติการณ์ที่เป็นโลกุตรธรรม ที่เป็นธรรมะอาริยะ ชนิดเหนือโลก ที่ว่าเหนือโลกก็คือโลกเขามันเป็นโลกียะ เขายังไม่มีจิตชนิดนี้เลย อันนี้มันถึงเป็นพิเศษเหนือขึ้นไป มันไม่ได้ทำง่ายๆ ถ้าจิตของคุณไม่เข้าใจ จิตของคุณไม่ลดละตัวตน ไม่เข้าใจอย่างมีปัญญา 8 มันเป็นอย่างนี้ไม่ได้หรอก
ที่เป็นอย่างนี้ได้เพราะว่าเป็นไปตามทฤษฎีที่พระพุทธเจ้าท่านค้นพบ แล้วเอามาประกาศสอนไว้ แล้วอาตมาก็นำของพระพุทธเจ้ามาขยายความให้พวกเราได้ฟัง แล้วพวกคุณก็มีบารมี มีความเข้าใจทำได้ เห็นดี ก็มา เอาชีวิตมาทางนี้ นี่เห็นหน้านั่งๆกัน แต่ก่อนมีรายได้ปีหนึ่งเดือนหนึ่งเท่าไหร่ เดี๋ยวนี้จ๋อย ไม่มีเงินเดือนเงินวันอะไรเลย บางคนมีเงินผู้สูงอายุ (โยมบอกว่าเก็บไว้แล้วเอามาถวายพ่อท่าน)
พ่อครูว่า… ทำเท่ ได้เอาเงินของเขามา รัฐบาลเขาให้ ฟังๆแล้ว มันก็ดูตลกๆ ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะให้ก็ไม่เห็นจะมีปัญหาอะไร จะเอามาให้อาตมา อาตมาก็ใช้เงินเป็น ก็ทำการสะพัดไปอย่างนี้ กระจายสร้างสิ่งที่ควรสร้างให้แก่ผู้ที่ควรได้ เกื้อกูลกันไป อาตมาว่าอาตมาพูดไม่เก่ง อธิบายไม่เก่งนะ
ตัวอย่างสังคมอโศก สังคมบ้านราชเอามาวิจัยให้ละเอียดดีๆ มีคนมาเที่ยว มารับบริการ มาอาศัย ทำงานได้รายได้จากที่นี่ไป แล้วก็ไปเลี้ยงชีวิตไป วันแล้ววันเล่า เยอะแยะคนรอบด้านตั้งแต่ชาวอโศกเรามาอยู่ จนเดี๋ยวนี้เขาก็ยังมาทำงานอยู่ที่นี่ หนักเข้าก็คงจะเอาลูกมาเรียนที่นี่
นี่มันเป็นสิ่งที่ยืนยันว่า โลกุตรธรรมนี้ แม้ทุกวันนี้ก็ยังสถาปนาลงไปในสังคมมนุษยชาติได้ ไม่ใช่ไม่ได้ แต่มันไม่ง่าย มัน คัมภีรา (ลึกซึ้ง) ทุททัสสา (เห็นตามได้ยาก) ทุรนุโพธา (บรรลุรู้ตามได้ยาก) สันตา (สงบระงับอย่างสงบพิเศษ แม้จะวุ่นอยู่) . ปณีตา (สุขุมประณีตไปตามลำดับ ไม่ข้ามขั้น) อตักกาวจรา (คาดคะเนด้นเดามิได้) นิปุณา (ละเอียดลึกถึงขั้นนิพพาน) ปัณฑิตเวทนียา (รู้แจ้งได้เฉพาะผู้เป็นบัณฑิต บรรลุแท้จริงเท่านั้น) (พตปฎ. เล่ม 9 ข้อ 34)
มันมีความสงบ ความสงบไม่ใช่สงบแบบอยู่นิ่งๆ กายปัสสัทธิคือกายที่ไม่ขยับเขยื้อนนั้นไม่ใช่ กายปัสสัทธิคือองค์ประกอบของภายนอก ภายใน ที่มีตัวขับเคลื่อนเป็นประธาน จิตเป็นประธาน จิตมันลดตัวที่ทำให้ไม่แคล่วคล่อง ไม่ปราดเปรียว ไม่มีอะไรที่มันจะมาต้านให้เสียความสมบูรณ์หรือเสียความไม่ดีไม่งาม ที่เรียกกันว่ากิเลส มันลดลงๆ ยิ่งกิเลสลด ภายนอก กายปัสสัทธิ ก็ยิ่งแคล่วคล่อง ว่องไวปราดเปรียว รับรู้ทำงานร่วมกับคนอื่นได้เป็น กัมมัญญตา เป็นการงานที่เหมาะที่ควร ได้สัดส่วนที่ไม่มากไปไม่น้อยไป ไม่แรงไป ไม่เบาไป ได้ขนาดที่พอเหมาะ
เพราะฉะนั้นความสงบของแบบโลกุตระ จึงไม่ใช่ความสงบคือหยุดการเคลื่อนไหว กายก็ไม่เคลื่อนไหว กายวิญญัติ คือไม่เคลื่อน วจีวิญญัติ ไม่ต้องพูด มโนนั้นหยุดคิดเลย เป็นอสัญญีสัตว์ เข้าใจความสงบแบบเดียรถีย์ เข้าใจความสงบแบบมิจฉาทิฏฐิ
เพราะฉะนั้นความสงบ 2 อย่างของปัญญา ข้อที่ 3 เป็นโลกุตระนี้ มันจึงไม่ใช่ความสงบ แต่แค่มันไม่กระดุกกระดิก ไม่ขยับเขยื้อนทางกาย ไม่ขยับเขยื้อนทางวาจา..ไม่ใช่.. มันยิ่งขยับเขยื้อน แคล่วคล่องว่องไวปราดเปรียว จิตยิ่งผ่องใส ยิ่งสะอาด มันไม่ใช่เข้าใจกันได้ง่ายๆตื้นๆ แต่มันลึกซึ้งอย่างนี้
แล้วมีประโยชน์คุณค่าต่อมนุษยชาติ ต่อสังคม(พหุชน) มวลมนุษย์ประชาชนทั้งหลาย เพราะฉะนั้นเศรษฐศาสตร์ก็ต้องเจริญรัฐศาสตร์ก็ต้องเจริญ เมื่อมันเป็นสัมมาทิฏฐิแบบนี้เพราะเข้าใจกายเข้าใจจิต จิตมันชัดเจนแบบนี้เป็น จิตปาคุญญตา เป็น จิตปัสสัทธิ เป็นจิตสงบจากกิเลส มันยิ่งแคล่วคล่อง มันไม่มีอะไรหนืดๆเลย หนืดๆเหนียวๆชาๆเชื่องๆไม่มี ยิ่งแคล่วคล่องเร็วไว ทันโอกาสทันเวลา มันจึงช่วยสังคมได้มาก ได้คุณภาพประสิทธิภาพสูงส่งด้วย
นี่เป็นวิชาการหรือเศรษฐศาสตร์ของพระพุทธเจ้า เป็นรัฐศาสตร์ของพระพุทธเจ้าที่เข้าใจกาย เข้าใจจิต จนกระทั่งหมดความเห็นแก่ตัว หมดตัวหมดตน ไม่ใช่มีแค่โวหาร ไม่ใช่ภาษาพูด
การเห็นแก่ตัว ไม่มี หมดตัวตน เพราะฉะนั้นจึงเพิ่มพูนการเสียสละ เข้าใจแรงงานคือแรงงาน รู้จักพักรู้จักเพียร อัปปัฏติฐัง อนายูหัง ไม่ได้ทำงาน ร่างกายเป็นประโยชน์คุณค่า ตัวเราเองเจริญสูงสุดแล้วเป็นคนไม่สะสม เป็นคนยอดขยัน อปจยะ วิริยารัมภะ
เพราะฉะนั้นจึงเป็นเหมือน Robot ที่มีจิตวิญญาณควบคุม Robot คือหุ่นยนต์ หุ่นยนต์ที่มีจิตวิญญาณเป็นพระเจ้าควบคุมหุ่นยนต์นี้ ทำงานตามที่พระเจ้าต้องการ
_สู่แดนธรรม… ใช้พลังงานน้อย
พ่อครูว่า… ใช้พลังงานน้อยแล้วทำงานได้เก่งมาก ประสิทธิภาพสูงส่ง เป็นหุ่นยนต์ที่ประเสริฐสุด รับใช้โลก รับใช้ประชาชน รับใช้มนุษยชาติอยู่ นี่คือความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ที่เกิดมาเป็นตัวคน จนกระทั่งพระพุทธเจ้าท่านสร้างให้พวกเราเป็นมนุษย์ Robot มนุษย์หุ่นยนต์ที่มีพระเจ้าควบคุม แล้วพระเจ้าคือใคร คือตัวเราเอง จิตวิญญาณสูงสุด ไม่มีตัวตน
มีแต่ประโยชน์ พหุชนะ ประโยชน์ทำให้พหุชนมีสุข แล้วก็เป็นประโยชน์แก่โลก โลกานุกัมปายะ ไม่มีอัตตา ไม่มีตัวตน พิสูจน์ได้ความเป็นจริงอันนี้
เพราะฉะนั้น ผู้ที่ไม่มีตัวตนได้แล้วมาอยู่ในหมู่กลุ่ม มีประสิทธิภาพของตัวเราทำได้เท่านี้อย่างนี้ แล้วเราก็ร่วมกันรวมผลผลิตรวมผลประโยชน์ เอาไปรวมกันแล้วกระจายออกไป นี่คือการจบกิจเรื่องเศรษฐกิจเรื่องเศรษฐศาสตร์ที่สมบูรณ์แบบที่สุด
ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยสำนักตักสิลาไหนในโลก ก็จบกิจสู้มหาวิทยาลัยโลกุตระของพระพุทธเจ้าไม่ได้ นี่คือมหาวิทยาลัยพระพุทธเจ้าที่ยิ่งใหญ่ จบแบบนี้ เป็นคนแบบนี้ เชิญผู้ที่จบมหาวิทยาลัยสูงสุด ดร. Post Doctor จากมหาวิทยาลัยใดๆในโลก มาวิจัยมาศึกษาเอาได้ เพราะว่ามันจบกิจ มันจบแล้ว มันสมบูรณ์แบบแล้ว มันไม่ต้องรู้ต่ออีกแล้ว กิจที่ควรทำมันไม่มีอีกแล้ว กตัง กรณียัง จบกิจ กิจอื่นนอกจากนี้ ไม่มีอีก (กตํ กรณียํ นารํ อิตฺถตฺตายาติ ปชานาติ)
คือรู้ ไม่มีอะไรที่จะไม่รู้ รู้ครบรู้จบแล้ว เพราะฉะนั้น การเรียนรู้ก็ดี การประพฤติก็ดี มันมีการจบในคน คนที่จบที่เรียกว่า อรหันต์ คือคนที่จบ ที่ตนเองจบกิจตนเอง หมดภาระ ภาระตัวเองไม่เป็นภาระแก่ตน ไม่เป็นภาระแก่ใคร มันมีความขยันมีความรู้ สมรรถนะ ความสามารถอยู่ในตัวแล้ว
แล้วเราก็ทำเต็มที่ด้วยความไม่มีตัวตน มันก็เกิดคุณภาพ เกิดผลผลิต เกิดสิ่งที่มนุษยชาติได้กินได้ใช้ได้อาศัย ไม่สูญเปล่า เป็นคนไม่เสียแรงงาน เสียเวลาทุนรอน ไปบำเรอกิเลส บำเรอตนเอง บำเรออารมณ์ ไม่ เราเก็บคืนมาได้หมด เป็นความสูญเสียที่เกิดจากความโง่ แต่ก่อนโง่ก็ไปสูญเสียกับมัน เสียเวลา เสียแรงงาน เสียทุนรอน เดี๋ยวนี้เรียกคืนได้หมด แล้วเอามาใช้ทั้งเวลา แรงงาน ความรู้ ความคิด ทุนรอน เอามาผลิตสร้างสิ่งที่เป็นสาระแก่นสารให้แก่มนุษยชาติ
จึงเป็นเศรษฐศาสตร์ที่สุดยอดที่จะมีสาระแก่นสาร ที่ไม่มีความรั่วซึมสูญเสียอะไรได้มากที่สุด ครบที่สุด ผู้รู้อย่างนี้ มาทำอย่างนี้อย่างพวกเรา มีทฤษฎีของพระพุทธเจ้าสอนไว้ แล้วเอามาทำได้
เพราะฉะนั้น การเรียนรู้ในศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นศาสตร์ใด ศาสตร์ที่ชัดๆเด่นๆก็มีเศรษฐศาสตร์กับรัฐศาสตร์ซึ่งเป็นของสังคมทั่วโลก เป็นศาสตร์ที่ต้องอาศัยใหญ่ที่สุด
ศาสตร์ที่ต้องอาศัยกินอาศัยใช้คือเศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์คือ
ศาสตร์ที่ต้องใช้การบริหารดูแลเกื้อกูลจัดสรรอะไรกันอยู่
เพราะฉะนั้นผู้ที่จบกิจ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ จบกิจแล้ว ไม่มีตัวตนก็จะมีแต่ประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นไปเรื่อยๆๆๆ นี่แหละศาสตร์ของพระพุทธเจ้าเป็นศาสตร์ที่สร้างคนให้เป็นคนมีแต่ประโยชน์ ไม่ได้มีโทษอะไร เป็นภัยเป็นภาระแก่โลก สำหรับผู้อื่นเลย
อาตมาเข้าใจอย่างนี้แล้วพาพวกเรามาทำอย่างนี้ อาตมาว่าเกิดจริง เป็นจริง พวกเราเห็นด้วยไหม…เห็นด้วย ทำได้ไหม..ได้ ทำแล้วเสียด้วย แล้วเราก็ทำอยู่ทำต่อ ทำไมทันสมัยขนาดนั้น
ยิ่งพูดไปก็ยิ่งอบอุ่น
อาตมาได้อธิบายเรื่องกายทั้ง 9 ข้อไปแล้ว 4 ข้อ
-
สักกายทิฏฐิ
-
ธรรมะนิยาม 5
-
สติปัฏฐาน 4
-
สัตตาวาส 9
-
วิญญาณฐิติ 7
-
วิโมกข์ 8
-
สัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย
-
บุคคล 7
-
อรหันต์ ที่ทำกายแตกตาย ด้วยการแยกกายแยกจิตของตน เป็นดินน้ำไฟลมสำเร็จสุดท้าย คือ ปริโยสาน
สัตตาวาส 9 คือมิจฉาทิฏฐิ และเราก็มีสัมมาทิฏฐิเป็นวิญญาณฐิติ 7
วิญญาณฐิติมี 7 สัตตาวาสมี 9 มันมากน้อยกว่ากัน วิญญาณฐิติ 7 มีน้อยกว่าสัตตาวาสอยู่ 2 ข้อ สัตตาวาสมีมากกว่าวิญญาณฐิติอยู่ 2
สิ่งที่น้อยไป 2 นั้นคืออะไรบ้าง 1. อสัญญีสัตว์ 2. เนวสัญญานาสัญญายตนะ
อสัญญีสัตตายตนะกับ เนวสัญญานาสัญญายตนะ 2 อย่างนี้วิญญาณฐิติไม่มีแล้ว ผู้ที่ยังมิจฉาทิฏฐิอยู่ก็มี จะมีมากมีน้อยก็นั่นแหละ ถ้ามีมากคุณก็เป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ หรือว่าสัตว์ที่ไม่ตื่นง่ายๆไม่รู้ การเป็นสัตว์ที่นรกหรือเดรัจฉานทำความเดือดร้อน ทำความเสื่อมให้แก่ตนเองและสังคมยิ่งๆขึ้น
พอรู้แล้วเป็นวิญญาณฐิติ ก็เป็นผู้ที่เลิกสิ่งที่เราโง่ สิ่งที่เราทำให้เกิดความเป็นสัตว์ ก็จึงกลายมาเป็นการเจริญ ตั้งแต่เป็นวิญญาณฐิติข้อที่ 2 ทำให้จิตลด หรือจิตไม่มีนิวรณ์ทั้ง 5 ได้ รู้จักวิธีสัมมาทิฏฐิรู้จักวิธีลดละนิวรณ์ทั้ง 5 ก็คือกิเลสทั้งหมดนั่นแหละ กิเลสทั้งหมดพระพุทธเจ้าประมวลไว้แล้วมีนิวรณ์ 5
กาม พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจจะ วิจิกิจฉาคือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ
จนกระทั่งค่อยๆทำมาได้ วิธีที่ง่ายที่สุดก็นั่งสะกด ไม่ให้มันมีนิวรณ์ หลับตาสะกดจิตตามแบบฤาษี แบบง่ายๆตื้นๆ เขาก็ทำมาก่อนเป็นฐาน แต่พระพุทธเจ้าบอกว่าอย่างนี้มันไม่จริง มันไม่ดับที่เหตุมันไม่รู้เหตุมันได้แต่กดทับๆๆไว้ ให้ไม่รู้ มันต้องมาแจกออก แจกออก แจกออกทีละคู่ ทีละคู่ ก็รู้ตัวกิเลสจริง รู้ว่า กิเลสมันโง่อย่างนี้ มันฉลาดมัน ไม่มีเสียแล้ว มันก็เจริญ มันเป็นอย่างนี้ ทำออกไปตั้งแต่หยาบที่รู้ก่อน กลาง ละเอียด มันก็เจริญเป็นขั้นตอนตามลำดับอย่างน่าอัศจรรย์ ตามหลักเกณฑ์พระพุทธเจ้าว่าไว้ แม้แต่จะทำตามศีลแต่ละข้อก็แล้วแต่ จุลศีล 43 ข้อก็ทำไล่มาๆ ไม่ถึง 43 ข้อหรอก จบอรหันต์ก่อน ถ้าทำอย่างสัมมาทิฏฐิดีๆ ศีล 5 ก็จบแล้ว เป็นอรหันต์ได้แล้วถ้าชัดเจน ถ้าฉลาดพอ ถ้ามันยังไม่ฉลาดพอ ก็แจกไปหาศีล 8 ไม่ฉลาดพอแจกไปหาศีล 10 ไม่ฉลาดพอ แจกไปเป็นศีล12 13 15 จน 20 จน 30 มันจะโง่ดักดานจนถึง 43 ก็ให้มันรู้ไป 43 แล้วยังไม่บรรลุอรหันต์ ก็ไปไหนๆ ไปที่ชอบที่ชอบก่อนเถอะ ก็หมดปัญญาจะช่วยแล้วคน
เพราะฉะนั้นคนที่เห็นความสำคัญของหลักเกณฑ์แต่ละข้อแล้วทำไปตามลำดับๆ มันจึงสามารถที่จะเรียนรู้ เหตุที่เป็นเหตุจริง ที่คนโง่ไปยึดไปติด เลิกได้เลิกได้เลิกได้ มันก็มีขั้นตอนเรียงลำดับไปอย่างสำเร็จเสร็จแน่นอนด้วย เพราะว่าทำให้กิเลสตัวโง่นั้น มันเลิกเลย มันไม่มีตัวเราอีกต่อไปๆๆ นี่เป็นทฤษฎีที่สุดยอดแล้วของพระพุทธเจ้าที่ค้นพบ รู้จักลำดับของจิต แล้วแบ่งจิตออกเป็นเจตสิกต่างๆ
จนกระทั่งมาจับที่เวทนา 108 แล้วรู้จัก มโนปวิจาร
มโนปวิจาร คือ ปวิจรติหรือปวิจยะ คือจิตที่ได้มีการเลือกเฟ้นไตร่ตรอง พิจารณาแยกแยะออกไป เพราะฉะนั้นมันจะเกิดอยู่พระพุทธเจ้าก็ค้นพบว่ามันมีการเกิดได้ 18 หลัก
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้ง 6 มีสัมผัส มีกาย แล้วมีภายนอกภายใน เมื่อสัมผัสแล้วมันก็โง่ สัมผัสแล้วก็เกิดเวทนาเกิดความรู้สึก รู้สึกสุขพอใจ รู้สึกทุกข์ไม่พอใจ จะเอาให้ไม่สุขไม่ทุกข์ แล้วก็มีวิธีที่มิจฉาทิฏฐิทำให้ไม่สุขไม่ทุกข์ ประเภทดับสัญญา มันก็เลยยังวนเวียนอยู่แค่ สัตตาวาส 5
สัตตาวาส 4 ฌาน 1 2 3 4 มันก็เป็นฌานแบบโลกีย์คือดับสัญญา ลดสัญญาไม่ให้ทำงาน ถึงสัตตาวาสที่ 5 ก็ดับสัญญาเลย เป็น อสัญญีสัตตายตนะ เขาก็จบแค่นี้
จากนั้นไปแม้จะมี อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ หรือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็เป็นอายตนะเก๊ๆ เป็นอายตนะเพ้อๆ ที่สร้างเอง ปั้นเอง เป็นนิรมานกาย ว่าอากาศเป็นอย่างนี้ ว่างๆ วิญญาณเป็นอย่างนี้ ไม่มีกิเลสเป็นอย่างนี้ ทั้งๆที่กิเลสมีอยู่เต็มตัวอยู่เลยนะ อากิญจัญญายตนะ เสร็จแล้วก็ไม่แน่ใจว่ามันมีหรือไม่มีจริงหรือเปล่า ก็เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็อยู่แค่นี้ สุดท้ายก็งง มันใช่หรือไม่ใช่ ก็ไม่รู้ มันไม่สมบูรณ์แบบหรอก มันไม่รู้จริง มันไม่รู้ชัดอะไรหรอก มันก็เลยยังวนไปโง่อยู่กับ อย่างเก่งก็แค่ สัตตาวาส 4 แล้วจะทำให้สำเร็จก็ไปดับสัญญา ไม่ออกจาก อันนี้ เพราะฉะนั้นถ้าไม่มาเข้าใจกาย และจิตมีภายนอกภายใน รับรู้โลก รับรู้อัตตาอย่างสมบูรณ์แบบ แล้วก็จะตีกรอบของตัวเองไปรู้จักเหตุตั้งแต่โลกอบาย กามคุณ รูปาวจร อรูปาวจร
เมื่อดับกิเลสภายนอกได้แล้ว ก็ไม่ต้องหนีไปจากโลกกามาวจรหรือกามภพ อยู่ในนี้ทั้งหมดเราไม่หนีไปไหนแต่กิเลสตัวเหตุนั้นมันตาย เราฆ่ากิเลสนั้น มันมีปัญญาเข้าไปแทนแล้ว กิเลสไม่รอหน้ากิเลสเข้ามา ใกล้ไม่ได้แล้ว กิเลสไม่เกิดอีกแล้วในจิต นี่เรียกว่า อยู่เหนือกามภพ อยู่เหนือกามาวจร คือ อวจร อยู่ในภพนี้แหละ แต่ไม่ได้หนีเข้าป่าเขาถ้ำเข้ารูเลย อยู่สัมผัสสัมพันธ์กับโลกเขา ครบเต็มๆนี่แหละ แต่จิตของเรามันมีประสิทธิภาพ อยู่เหนือ โลกุตระ
เพราะฉะนั้น พวกที่หลับตาปฏิบัติหนีเข้าป่าเขาถ้ำนั้น มันน่าสงสาร พูดไปแล้วก็ได้แต่บอก ได้แต่เตือนว่า เลิกได้แล้ว หยุดได้แล้ว ไปงมงายอยู่กับเดียรถีย์วิชา มันเป็นวิชาของเดียรถีย์ ไม่ใช่วิชาของพระพุทธเจ้า อาตมาก็ย้ำยืนยันอยู่อย่างนี้ ขอยืนยันว่าอาตมาเจตนาดี ไม่อยากให้โง่งมงายอยู่อย่างนั้นต่อไป ผู้ใดตื่นขึ้นได้ก็เป็นกุศล จะเรียกว่าบุญนั่นแหละ เป็นบุญ คุณก็จะได้มากำจัดกิเลสได้ถูก ไปนั่งหลับตาอย่างนั้นไม่มีบุญหรอก บุญคือได้รู้กิเลส มีปัญญารู้กิเลสแล้วรู้จักการลดกิเลสได้ กำจัดกิเลสได้จริง ซึ่งมันไม่ได้อย่างนั้นก็ไม่มีทาง จะมาทำอย่างที่อาตมาว่านี่ ของพระพุทธเจ้าพาทำมันจริง
เพราะฉะนั้นเมื่อสัตตาวาส 9 นี้ สัมมาทิฏฐิ เป็นวิญญาณฐิติ 4 ฌาน 1 2 3 4 อย่างถูกต้องสัมมาทิฏฐิ อสัญญีสัตว์ ไม่มี ก็จึงจบ จบตรงที่ว่า สุดท้ายคุณก็มีอากาศกับวิญญาณ แล้วไม่มีกิเลส ไม่มีตัวเหตุที่ต้องเอาออกให้หมดมี อากิญจัญญายตนะ มีอากาศกับที่ว่าง กับธาตุรู้ แล้วธาตุรู้นะรู้ว่าไม่มีกิเลสที่ต้องทำออกอีกแล้ว วิญญาณฐิติจึงมีแค่ 7 ไม่ต้องไป ใช่หรือไม่ใช่ ไม่ใช่หรือใช่ไม่ต้อง เนวสัญญานาสัญญายตนะ อีกแล้ว
มีผู้ไม่เข้าใจ มีผู้ไม่รู้ว่า ทำไม อรูปฌาน ทำไมมันเหลือ 3 ตัวไม่มี เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็เพราะมันมีปัญญา มันมีกาย มีจิต มีองค์ประกอบของโลก ของอัตตาครบ เรียงลำดับมาหมด ถูกต้องหมดครบ ไม่มีอะไรตกหล่น ไม่มีอะไรเป็นเศษละอองธุลีที่จะมากวนอีกเลย หรือว่ามาแฝงๆ ไม่มีอะไรแฝง
อาตมาก็พยายามอธิบายวนเวียนอยู่อย่างนี้ รำคาญไหม…ไม่ รู้จักเพิ่มขึ้นไหม…เพิ่มขึ้น เอ๊.. ก็วนเวียนพูดภาษาเก่าไม่เห็นมีภาษาใหม่เท่าไหร่เลยนะ
แต่มันฉลาดขึ้น มันเข้าใจเพิ่มขึ้นจริงๆ เป็นอานิสงส์ 5 ประการจริงๆ คุณมีอานิสงส์ 5 ประการ จบ เป็นอรหันต์ คุณก็จบตัวเอง คุณรู้แล้วคุณก็ทำได้ด้วยก็จบที่เป็น อุภโตภาควิมุติ เลย นอกนั้นเราก็รู้ว่าคนต่อๆไป โพธิสัตว์ก็รู้ของผู้อื่นคนนั้นคนนี้เขาก็มีของเขา เป็นอย่างไร ไม่เหมือนของเราทีเดียว ไม่เหมือนอย่างไรก็ค่อยๆรู้ ว่ามันเป็นอย่างนี้เอง แล้วเราก็เอาโครงสร้างที่เราทำได้นี่แหละมาให้เขารู้ มันจะมีโครงสร้างหรือมีทฤษฎีสำเร็จของพระพุทธเจ้าเอาไปให้เขาให้สัมมาทิฏฐิ เขาก็จะทำได้เหมือนเราทำได้ เพราะว่าธรรมะมันจะเป็นอันเดียวกัน ของพระพุทธเจ้า รู้จักกายรู้จักจิต แยกกายแยกจิต
การแยกกาย แยกจิตที่เป็นวิโมกข์ 8 ที่สัมผัสวิโมกข์ 8 อยู่ด้วยกาย ตัววิโมกข์ 8 เองมี
-
ผู้มีรูป ย่อมเห็นรูปทั้งหลาย (รูปี รูปานิ ปัสสติ)
-
ผู้ไม่สำคัญมั่นหมาย รูปในภายใน เห็นรูปในภายนอก (อัชฌัตตัง อรูปสัญญี เอโก พหิทธา รูปานิ ปัสสติ)
-
ผู้ที่น้อมใจเห็นว่าเป็นของงาม (สุภันเตวะ อธิมุตโต โหติ, หรือ อธิโมกโข โหติ)
(พ่อครูแปลว่า เป็นโชคอันดีงามที่ผู้นั้นโน้มไปเจริญ สู่การบรรลุหลุดพ้นได้ยิ่งขึ้น)
4 อากาสานัญจายตนะ
5 วิญญานัญจายตนะ
6 อากิญจัญญายตนะ
-
ผู้ที่ล่วงพ้น อากิญจัญญายตนะ โดยประการทั้งปวง จึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ (สัพพโส อากิญ-จัญญายตนัง สมติกกัมมะ เนวสัญญานาสัญญายตนัง อุปสัมปัชชะ วิหรติ ฯ) หรือจิตวิญญาณต้องพ้นสิ่งที่ไม่รู้ และไม่มีที่จะไม่รู้ .