660317 GDPแบบพุทธที่ต่างจากนักเศรษฐศาสตร์เทฺวนิยม พุทธศาสนาตามภูมิ ราชธานีอโศก ดาวโหลดเอกสารที่ https://docs.google.com/document/d/1bIyQ516KXEzOCOx6-bmkfHCERYXTDRS4/edit?usp=sharing&ouid=101958567431106342434&rtpof=true&sd=true ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1c5SJSimW9-JDTDUfQa4VaK0b07vo-GcH/view?usp=share_link ดูวิดีโอได้ที่ https://youtu.be/JKXGHNeWtQY และ https://fb.watch/jk87bdx-Rn/ สมณะเดินดิน… วันนี้วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม 2566 ที่บวรราชธานีอโศก แรม 14 ค่ำเดือน 4 ปีเถาะ อาตมาก็แว๊บไปถึงงานปลุกเสก ซึ่งอยู่ต้นเดือนเมษายนในวันที่ 5 สรุปแล้วเหลืออีกไม่ถึง 20 วัน เราจะเข้างานแล้ว แต่ก็ดี ในงานพุทธาภิเษกที่ผ่านมา เหมือนเป็นการสัมมนาภายในของพวกเรา มีอะไรที่จะทำให้พวกเราสมบูรณ์ หน่วยงานองค์กรอะไรที่ต้องแก้ไขทำให้เกิดการพัฒนาขึ้น ก็ได้เอาเรื่องราวต่างๆนาๆขึ้นมารวบรวมเรียบเรียง ก็มีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้านด้วยกัน เรื่องหนึ่งที่ถือว่าเป็นเรื่องที่ฟังแล้วก็ได้ข้อสรุปตรงกันว่า เป็นเรื่องที่ชาวอโศกจะต้องยกมาตรฐานการผลิต ฐานผลิต ฐานแปรรูปต่างๆนานา ต้องทำให้เข้ามาตรฐานสากลมากขึ้น เราก็จะต้องให้ความร่วมมือกับทาง อ.ย. ซึ่งเขาก็ให้ความช่วยเหลือเราทุกอย่าง ส่งเจ้าหน้าที่มาให้คำแนะนำโดยตรง ต้องขอบคุณเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เขาอยากให้เราเข้าสู่มาตรฐานสากล เพราะหมู่บ้านของเรามีคนมาศึกษาดูงาน น่าจะเป็นตัวอย่างให้ชุมชนและคนที่มาศึกษาดูงาน ต้องขอบคุณเจ้าหน้าที่ของรัฐเขาด้วย พวกเราเองก็จะได้มีการปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น รู้สึกทำแล้วมีแต่ดีไม่มีเสีย มีแต่เจริญก้าวหน้า ทางบ้านราชฯหลายอย่างก็ต้องเปลี่ยนแปลง ฐานงานที่อยู่กันมานานก็ยอมเปลี่ยนแปลงปรับปรุง เหมือนกับคู้แขนเข้าเหยียดแขนออก คิดแค่ 2 นาทีก็ยอมเปลี่ยนแปลงแล้ว _ป๋องว่า…เป็นธุดงควัตรข้อที่ 12 จะอยู่ตรงไหนก็ได้แล้วแต่หมู่จะจัดให้ สมณะเดินดิน… พวกเราเป็นเหมือนสายธุดงค์ ธุดงค์พ่อครูบอกว่าไม่ใช่ต้องไปเดินในป่าในดง แต่อยู่ในบ้านในเมืองนี่แหละ เรามีข้อปฏิบัติที่เคร่งครัด เป็นต้นว่า เราไม่ใช้เงินใช้ทอง ฉันอาหารวันละ 1 มื้อพวกนี้ ยิ่งได้ข้อที่ทำงานตรงไหนก็ได้อยู่ตรงไหนก็ได้แล้วแต่หมู่จะจัดให้ เป็นธุดงควัตรข้อที่ 12 ใครทำได้ถือว่าเคร่งมาก เป็นความเจริญก้าวหน้าอย่างมากๆทีเดียว ที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้ แต่พวกเราก็เป็นไปได้ สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว เมื่อไปสันติอโศก พ่อครูไปเยี่ยมอุบาสิกาเย็นฟ้า (เดิมชื่ออภิญญา) อายุถึง 102 ปี ซึ่งก็น่าอัศจรรย์ จากคนที่ไม่ค่อยจะพูดกลับพูดได้เยอะเลยหรือเป็นเพราะพ่อครูไปเยี่ยมเลยเกิดพลังพิเศษ คนดูแลบอกว่า บางช่วงก็จำอะไรไม่ค่อยได้ แต่วันนั้นก็ค่อยๆจำได้ จำท่านแสนดินได้ก่อน คุยไปคุยมาค่อยจำท่านติกขะได้ แต่ว่า ลูกเขาไม่ค่อยอยากให้ดูโทรทัศน์เลย เพราะดูโทรทัศน์แล้วเขาจะไม่นอนเลย เพราะใจจะพุ่งมาอยู่ที่บ้านราชอย่างเดียวเลย แม้อายุ 102 ปี แต่จิตวิญญาณก็พุ่งมาอยู่กับหมู่กลุ่ม พุ่งอยู่กับพ่อครู เห็นพลังวิญญาณที่มีแรง จนลูกคิดว่าการดูโทรทัศน์ บุญนิยมทีวีจะเป็นอุปสรรคต่อแม่ เห็นคติภพที่ว่า ใจอยู่กับหมู่กลุ่มตลอด แต่ก่อนนี้เคยเห็นตอนอายุ 50 ถึง 60 ก็ป่วยกระเสาะกระแส ดูแล้วไม่น่าอายุยืนได้เลย แต่พลังศรัทธาทำให้อยู่ได้ถึง 102 ปีแล้ว นี่เป็นสิ่งหนึ่งที่บอกถึง ความมั่นคง ความแน่วแน่ ไม่ถดถอย มันเป็นตัวทำให้ชีวิตมุ่งมั่น อยู่ต่อไป แต่ก็น่าเสียดาย ที่ไม่สามารถมาอยู่กับพวกเราได้ พวกเราก็ตอนนี้มีพรรคการเมือง เดี๋ยวจะมีหัวหน้าพรรคขึ้นมา จะมีเรื่องราวอะไรต่อไปมากขึ้นเรื่อยๆ ใครที่นิ่งอยู่กับที่มีโอกาสหลุดออกจากหมู่นะ พ่อครูพาไปกลับรถด่วนขบวนสุดท้ายที่จะมาเก็บชาวบุญนิยมเดินทางไปต่อ วันนี้ได้โอกาสที่พวกเราจะได้ตั้งใจฟังสัจจะโลกุตระกัน ขออาราธนาพ่อครูครับ พ่อครูว่า… เจริญธรรมทุกคน SMS วันที่ 15-16 มี.ค. 2566 _เมตตา โพธิสุทธิ์ · กราบนมัสการพ่อครูด้วยความเคารพบูชายิ่งค่ะ เมื่อวันพุธพ่อครูเพิ่งเดินทางมาถึงเช้านี้ ตอนเย็นก็เทศน์เลย สุดดดด…..ยอดดดด…. ม๊ากกก..ค่ะ _อารยา ศรีไพโรจน์ · ข้อกำหนดการเป็นสมาชิกพรรคสัมมาธิปไตย ต้องเป็นคนที่กินมังวิรัติด้วยใช่หรือไม่ค่ะ พ่อครูว่า…เอ๊ ไม่นะ ไม่มีกำหนด เป็นแต่เพียงว่าไม่มีอบายมุข ไม่ได้บังคับให้มาถือศีล 5 ก็ไม่ถึงอย่างนั้นหรอก มีแค่ว่า คุยๆกันบ้างว่า แค่ไม่มีอบายมุข อบายมุขก็ตามความหมายของพวกเรา คนนอกมาสมัครก็คงจะสัมภาษณ์บ้าง อบายมุขก็ถามไถ่ดู เป็นไง สูบฝิ่นบ้างไหม กัญชาลองเล่นบ้างไหมหรืออะไรก็แล้วแต่ ก็ต้องถามอบายมุขต่างๆ เล่นหุ้น เล่นแชร์ได้แค่ไหน ก็เลียบๆเคียงๆดู ถ้าเห็นว่า คุณยังเป็นอย่างนั้นอยู่ พวกเราก็คงจะลำบากอะไรก็ว่ากันไป ก็ฉลาดกัน เจ้าหน้าที่จบด็อกเตอร์กันเยอะแยะ _บุญญากร พัฒนสัตถาพร · ถ้าต้องการให้นายกลุงตู่เป็นนายกฯอีกรอบ บัตรสองใบต้องกา ทั้งพรรครวมไทยสร้างชาติ กา ผู้สมัครของพรรคแบบเขตด้วย ครับ _คอยใคร · กราบเคารพพ่อครูครับ เมื่อวันจันทร์ผมได้ไปสันติอโศกเพื่อฟังพ่อครูเทศน์ช่วงเย็น ผมจึงรีบทำงานให้เสร็จอย่างไวแล้วรีบเดินทางไปถึงสันติอโศกช่วงสี่โมงเย็นเพราะกลัวไปช้ารถจะยิ่งติดเยอะครับ พอไปถึงผมก็นั่งรอแถวๆซุ้มป้ายสันติอโศกซอยร้านขายอาหารเจครับ นั่งรอสักพักก็เห็นอาปะท่านหนึ่ง(ผมไม่ได้ถามชื่ออาปะ) ยกกระถางต้นไม้เดินข้ามไปข้ามมา ผมจึงถามอาปะว่า ให้ผมช่วยยกไหมครับ อาปะก็ให้ช่วยยกไปวางฝั่งตรงข้าม บอกว่าวางตรงไหนก็ได้ อาปะส่งกระถางมาสามใบ ผมก็ไปวางให้จนครบ สักพักอาปะก็มายืนคุยด้วยถามที่มาที่ไปของผมและเล่าที่มาที่ไปของอาปะ พอคุยกับอาปะ ผมจึงเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์อีกแล้วครับ อาปะถามจะไปบ้านราชเพื่ออะไร ผมก็ตอบไปว่าจะไปช่วยทำงานครับ อาปะก็บอกว่าอย่าคิดว่าไปช่วยทำงานสิ มันยิ่งใหญ่เกินไป คิดว่าไปปฎิบัติบัตธรรมจะดีกว่า แล้วก่อนอื่นให้มาลองเข้าค่ายที่สันติก่อน มาลองนอนต่างที่ เจอคนที่ไม่รู้จัก ว่าเราจะอยู่ได้ไหม กินได้ไหม ทิ้งคนข้างหลังได้ไหม เพราะเราพร้อมที่จะโดนดึงไปทางโลกียะมากกว่าโลกุตระ ถ้ายังก้าวไปข้างหน้าไม่ได้ โอกาสที่จะโดนดึงกลับหลังมันมีมากกว่า ซึ่งมันพร้อมที่จะถอยหลังอยู่แล้ว พอผมได้ฟังเช่นนั้นก็กระตุกจิตโลกุตระผมขึ้นมาอีกครั้ง เพราะช่วงหลังผมเองก็รู้สึกว่า ผมถอยหลังกลับไปจริงๆครับ การมาสันติเพื่อฟังธรรมพ่อครู ครั้งนี้มันเกินความคาดหมายที่ตั้งไว้มากครับ ได้พบอรหันต์ตัวเป็นๆ ได้พบพระโพธิสัตว์ตัวเป็นๆ บุญอย่างยิ่งครับ นานๆ ผมส่งแมสเสทมาที ขอเล่าเพียงเท่านี้ก่อนครับ กราบขอบพระคุณพ่อครูครับ _กิตติมา เอกมาไพศาล : ถ้าพ่อครูไม่เทศน์เกี่ยวกับเรื่องการเมืองและมีพฤติกรรมเป็นรูปธรรมให้เห็น และมีการทำสืบเนื่องมา ซึ่งเห็นได้จากการที่อาจารย์หมอเขียวรับเป็นหัวหอกในการทำพรรคสไตล์บุญนิยม แต่ก่อนไม่ค่อยได้สนใจเรื่องการเมืองเท่าไร (แต่ก็ออกมาต้านระบอบทักษิณอยู่ค่ะ) แต่ก็ต้องมาสนใจเพราะพ่อครูเทศน์จนลูกรู้สึกว่าต้องมาสนใจมากๆล่ะ ถ้าไม่สำคัญพ่อครูคงไม่แสดงบทบาทชัดเจนเช่นนี้ มันน่าสนใจที่จะเห็นชาวโลกุตระทำการเมืองเจ้าค่ะ ลูกจะเรียนรู้การเมืองจากพ่อครู ถึงแม้จะยังไม่ค่อยอิน แต่ก็สมัครเป็นสมาชิกพรรคแล้วค่ะ เช่นเดียวกับการทำกสิกรรม ก็ได้รับสัมมาทิฏฐิจากพ่อครูจนเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง กราบขอบพระคุณที่ให้ปัญญาเจ้าค่ะ พ่อครูว่า…ดีเข้าใจอะไรมากขึ้นก็เปลี่ยนแปลงอะไรได้มากขึ้น เรียนรู้ธรรมะให้รู้ว่า เราจะพัฒนาไปอย่างนี้อย่างนี้ มันก็จะได้เปลี่ยนแปลงตัวเอง ไม่งั้นมันก็จะไปตามยถากรรมตามกิเลส ถ้ามันสนุกมันได้เกิดขึ้นอะไรอย่างนั้นอย่างนี้มันก็ไปเรื่อย ตอนนี้อะไรให้ได้คิด ยิ่งเป็นธรรมะหรือว่าเป็นการเจริญที่แท้จริงของความเป็นมนุษย์ มันก็ได้อะไรเพิ่มขึ้น _มยุรี ชั่งภู่ · กราบนมัสการพ่อครูด้วยความเคารพยิ่งค่ะ วันนี้ได้ไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคสัมมาธิปไตยที่สันติอโศก มีความยินดีอย่างยิ่งค่ะ _สาน สีสกุล · กราบนมัสการด้วยความเคารพครับ ไปร่วมงาน พุทธา ภิเษก ที่ปฐมอโศก ได้รับหนังสือแจกฟรี เงาฟ้าที่ท่าน้ำ อ่านแล้วชอบมาก เป็นหนังสือที่มีคุณค่าน่าอ่าน ขอบพระคุณคณะผู้เขียนผู้จัดพิมพ์ครับ จะสมัครเป็นสมาชิกพรรคสัมมาธิปไตยไม่จำเป็นจะต้องกินมังสวิรัติ _ช่อทิพ หนูทอง ·เคยสมัครพรรคเพื่อฟ้าดิน โมฆะไปแล้วใช่ไหมคะ? พ่อครูว่า…ใช่ หมายความว่ามันสูญไปแล้วเพราะว่ามันยุบไปแล้วมันเลิกไปแล้ว อันนี้มันเป็นพรรคตั้งขึ้นใหม่ เพราะฉะนั้นก็เริ่มกัน ก็ขอเสริมอีกนะว่า พวกเรานี่ คนมาสนใจทางเรา แม้จะเป็นเรื่องการเมือง ที่เราเปิดใจกว้างกับข้างนอกเขาก็เป็นการเมืองแต่คนข้างนอกก็ยังสนใจน้อย ก็เอาพวกเรานี่แหละ หรือว่าข้างนอกได้ยินได้ฟังสนใจก็เชิญ เมื่อกี้บอกไปแล้วว่าข้างนอกมาสมัครก็ได้ เราไม่ได้ไปเคร่งครัดเหมือนกับผู้ที่มาปฏิบัติธรรมทีเดียว การเมืองนี้เราอนุโลมไปไม่ใช่น้อยตอบไปแล้ว เชิญมาสมัครได้ ถ้าสนใจมาเป็นสมาชิกของที่นี่ คือสมาชิกพรรคการเมืองจะเป็นสมาชิก 2 พรรคไม่ได้นะตามกฎหมายเขาไม่ให้..เป็นโมฆะ ถ้าเป็นสมาชิก 2 พรรคเขาก็หักไปเลยทั้งคู่ เป็นคนผิดไปเลย ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคไหนได้เลย เพราะฉะนั้นอย่าเป็นสมาชิก 2 พรรค มาเป็นสมาชิกพรรคเดียว ทีนี้ของชาวอโศกมันก็ได้ตามเกณฑ์ของตามกฎหมายเขา จะต้องมีสมาชิก 500 จะต้องมี 5,000 จะต้องมี 10,000 ตามกฎเกณฑ์ของเขา ซึ่งมันก็ต้องอาศัยคนข้างนอกบ้าง เพราะฉะนั้นเราก็ได้บอกไปแล้วว่า เพียงแต่ไม่มีอบายมุขเท่านั้นแหละ จะยังกินเนื้อสัตว์อยู่ ยังไม่ใช่มังสวิรัติ หรือไม่ได้ถือศีล 5 อย่างต่ำเหมือนชาวอโศก ที่จะเป็นสมาชิกในชาวอโศกทีเดียวก็ได้มาสมัครได้ วิปัสสนาจะได้ปัสสัทธิส่วนสมถะเป็นเดียรถีย์ _ทองใบ อิงคสารมณี · ขอน้อมกราบพ่อครูด้วยความเคารพยิ่ง จะพ้นทุกข์ด้วยสมถและวิปัสสนากรรมฐานเท่านั้น จริงหรือเจ้าค่ะ? พ่อครูว่า…อันนี้เป็นหลักวิชาการ จะพ้นทุกข์ด้วยสมถะและวิปัสสนากรรมฐานจริงหรือเจ้าคะ ก็ขอขยายความนิดนึง คำว่า สมถะ กับคำว่าวิปัสสนา สมถะมันเป็นมิจฉาทิฏฐิ มันเป็นการสงบแบบเดียรถีย์ เพราะฉะนั้นคนส่วนมากที่มาปฏิบัติธรรมจะได้ความสงบแบบเดียรถีย์ คือได้สมถะ ซึ่งเป็นความสงบที่ไม่ใช่ของพระพุทธเจ้า เป็นความสงบชนิดหนึ่งเรารู้แล้วก็ทำได้ง่ายไม่ยากหรอก แต่ถ้าเป็นความสงบแบบพระพุทธเจ้าแล้วจะเรียกว่า ปัสสัทธิ ไม่ใช่สมถะ ปัสสัทธิเป็นความสงบ วิปัสสนาเป็นความมีปัญญา ปัสสัทธิคือความสงบ วิปัสสนาคือมีปัญญา เพราะฉะนั้นมาปฏิบัติธรรมของพุทธแล้วก็จะมีปัญญา มาปฏิบัติเรียกว่าวิปัสสนากรรมฐาน เขาเรียกกันเผิ่นๆว่าคือการใช้การพินิจพิจารณาต่างๆแล้วคุณก็จะทำให้กิเลสลดได้ คุณก็จะเกิดปัสสัทธิ เกิดจิตที่มันสงบ ส่วนวิปัสสนานั้นคือจิตที่มีปัญญา เพราะฉะนั้นความเข้าใจทุกวันนี้ยังไม่ละเอียด รอปฏิบัติสมถะวิปัสสนา พูดอย่างนี้ก็แสดงว่า คนนี้ไม่เข้าใจศาสนาพุทธ ยังปนๆกันอยู่ ปฏิบัติก็จะไม่ถูกไม่สัมมาทิฏฐิ เพราะแม้แต่ใช้ภาษาความหมายของสภาวธรรม ซึ่งภาษามันก็สื่อสภาวธรรม ผู้ปฏิบัติแล้วไม่เข้าถึงสภาวธรรม มันก็ไม่มี พูดก็พูดยังไม่ถูกเราก็รู้แล้ว มันยังไม่ได้ เมื่อพูดไม่ถูกเข้าใจไม่ถูกก็ปฏิบัติไม่ถูก ผู้ที่มีจิตอยากจนแบบชาวอโศกเป็นคนเข้ากระแสโลกุตระ _ดนุธรรม วิรุฬห์ศิริกุล : “ผมหลุดจาก” เทวนิยม”.. (ธรรมกายได้)…เพราะ..(กาลามสูตร).. ของพระพุทธเจ้า.ครับ..ที่ไม่ให้เชื่ออะไรโดยไร้เหตุผลหรือหาความจริงไม่ได้.หลงงมงายตามๆกันไป….ผมมาฟัง”พ่อท่าน”..ครั้งแรก” FMtv” ปี 2553..ก็ฟังดูแปลกๆ เพราะ” พ่อท่าน” สอนไม่เหมือนพระรูปอื่นๆ ที่ผมฟังมา.. พ่อครูว่า…ขออภัยไม่เหมือนทั้งประเทศไม่มีใครเหมือนแน่นอน เพราะอาตมาเทศน์นั้น มันเป็นโลกุตตรธรรมของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่เป็นธรรมะของโลกียะสามัญธรรมดา เหมือนกับศาสนาไหนๆ แต่อันนี้มีชื่อว่าพุทธแต่เขาก็วนเวียนอยู่กับ ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข มันไม่เป็นธรรมะที่จะมาเรียนรู้ลึกซึ้งเข้าไปเหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้าสอนที่ตรัสรู้แล้วนำมาสอนมาเปิดเผยมาประกาศ ก็ยังไม่ถือว่าเป็นพุทธที่เต็มๆ หรือเป็นพุทธที่เข้าเขตพุทธ เป็นอารยธรรมของพุทธ ซึ่งมันก็เป็นแบบโลกีย์ธรรมดาก็เจริญลาภยศเหมือนอย่างเถรสมาคมเขา ไม่เป็นโลกุตระ มันก็เป็น ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข เป็นสังคมศาสนาพุทธกระแสหลักหมู่ใหญ่เขา คุณก็ได้ฟังอย่างนั้นมาทั้งนั้น เพราะมันไม่มี พออาตมามาเทศน์ขึ้นคุณก็บอกว่าไม่เหมือนพระรูปอื่น มันก็ต้องถูกต้องแล้วจะเหมือนได้อย่างไร เพราะมันคนละชนิด อันหนึ่งไปนิพพาน อันหนึ่งมันไปพาล มันไม่ได้ไปนิพพาน พาล แปลว่า โง่ แปลว่ายังไม่ฉลาด _หลังจากนั้นก็ฟังธรรมะของ”พ่อท่าน”..มาตลอดจนถึงทุกวันนี้.. ยิ่งฟังยิ่งอยากจน.. พ่อครูว่า…ถ้าจริงตามที่คุณพูดมาก็หมายถึงคุณชัดเจนแล้ว จิตเข้ากระแสแล้ว เป็นอริยบุคคลแล้ว ยิ่งอยากจน จริงๆแล้วนี่ศาสนาของเทวนิยมหรือศาสนาของเดียรถีย์ เขาก็พากันไปจนเหมือนกัน จนนะ แม้แต่คริสตศาสนาเขาก็เห็นว่าไปจนนั้นถูกต้อง ศาสนาเชนอย่างนี้จนหมดเนื้อหมดตัวเลย แก้ผ้าเดินโทงๆ ไม่ใส่อะไรไม่เอาอะไร อย่างนี้เป็นต้น ศาสนาเยอะที่เขาเข้าใจในเรื่องอยากจน แต่อยากจนของพระพุทธเจ้านั้น อยากจน อยากอยู่กับสังคม อยากจนแล้วเป็นคนจนที่มีประโยชน์ต่อสังคมเป็นคนจนมหัศจรรย์อย่างที่ชาวอโศกเราเป็น ไม่ใช่เป็นคนงอมืองอเท้า สิ้นไร้ไม้ตอก นั่งมกซก หนักเข้า เป็นอาการซึมเศร้าอะไร ไม่ใช่ แต่เป็นคนยิ่งเบิกบานร่าเริงกระปรี้กระเปร่า ยิ่งรู้จักการงานทำการงานให้แก่สังคม แต่เป็นคนไม่สะสม เป็นคนไม่อยากได้เป็นคนที่ยิ่งมาถึงระดับเศรษฐกิจขั้นสาธารณภัยอย่างพวกเราเป็น ยิ่งสบายสร้างสรรค์แล้วก็พออยู่พอกิน แล้วก็ไม่ได้ตะกละตะกลามเพราะว่ากิเลสเราลด เราก็กินเพื่ออยู่ทำงานชัดเจนไปสบายชีวิต อิสระ สบาย สงบ อบอุ่น อิ่มเอม เกษมใส ใจเกื้อกูล และเพิ่มพูนเสียสละ อยู่อย่างนี้อย่างจริงจังเลย ยิ่งฟังยิ่งอยากจนมันจะเป็นอย่างนั้น _ไม่อยากมีอะไรเพราะมันคือความทุกข์ และหลอกลวงใจของเราทุกเรื่องยิ่งมีทรัพย์มีเงินมากยิ่งทุกข์ (พ่อครูว่า…ขยายความอย่างนี้แสดงว่าคุณเข้ากระแส) เพราะจะหาความสงบไม่ได้ คนโน้นไปคนนี้มา เมื่อไม่ให้ก็มีปัญหาผิดใจกัน วุ่นวายไม่จบสิ้น..บางครั้งถึงตัดพี่ตัดเพื่อนตัดน้อง…หาความจริงใจไม่มี…(มีแต่โลกียธรรม).. ทั้งนั้นครับ..แต่ผมได้มาพบ (โลกุตรธรรม).. จากธรรมะของ”พ่อท่าน”….กราบ”พ่อท่าน”…ด้วยความเคารพที่สูงอย่างยิ่งครับ…. พ่อครูว่า…อาตมาฟังเท่าที่คุณพูด แสดงว่าคุณเลื่อนฐานะของจิตเป็นอาริยบุคคลขึ้นไปแล้ว ก็พัฒนาไปเถอะ นี่เป็นของจริงนะ เป็นคนที่ธรรมะพระพุทธเจ้ามันมีอริยบุคคลสมณะ 4 เหล่า มี โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ แต่ข้อมูลมานี้อาตมาก็รู้ไม่ได้ว่า คุณจะเป็น สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ แต่กำหนดได้ว่าเป็นโสดาบันแล้ว _BKK walk บีเคเค วอล์ค • ผมว่าระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมต้องขับเคลื่อนด้วยกิเลส จึงต้องใช้วิธีสังขารปรุงแต่งมามอมเมาเพื่อให้เกิดการบริโภค ผู้นำฝ่ายโลกีย์จะไม่เอาเศรษฐกิจแบบบุญนิยม และเขาไม่อยากให้ชาวโลกเรียนรู้ธรรมะพระพุทธเจ้า ที่ถูกต้องเหมือนของชาวอโศก เพราะถ้าชาวโลกมีสติตื่นรู้ว่ากำลังถูกมอมเมาอยู่ ระบบทุนนิยมก็ไปไม่ได้ พ่อครูว่า…คุณพูดถูกต้อง 100% แต่เขาเข้าใจไม่ถึงคุณหรอกแต่คุณมีความรู้ความเข้าใจแล้ว เพราะฉะนั้นเขาไม่เรียนรู้ไม่ประสีประสาเกี่ยวกับโลกุตระด้วยซ้ำ แต่เขารู้ว่า เอ๊..คนที่มาปฏิบัติธรรมโลกุตระ มันหลอกไม่ได้ มันไม่เป็นเหยื่อเขา เขาก็พอสะดุดๆแค่นั้น แต่เขาไม่รู้ถึงขั้นโลกุตระ เขาไม่อยากให้เอาโลกุตระมาสอน แต่เขาขาดสมาชิกที่จะหลอกได้เพิ่มขึ้นเขาก็สะดุดเท่านั้นเอง นักบวชของพุทธทำการเมืองเป็นเรื่องที่มีมาแล้วในโลก _ชรินทร์ ธนโภค • เป็นประวัติศาสตร์ของชาวโลก (วัชรินทร์โพสคลิปพ่อครูไปสมัครสมาชิกพรรคสัมมาธิปไตย) พ่อครูว่า…มันไม่ใช่ประวัติศาสตร์ของชาวโลก ศรีลังกานั้นพระเป็น ส.ส.เลยนะ แม้แต่พม่า ศาสนาพุทธนี้เขาก็เป็นการเมือง ทำการเมืองประท้วง ทำอะไรต่ออะไรกันเป็นกลุ่มเลย มันไม่ใช่เป็นประวัติศาสตร์ของชาวโลกหรอก เรื่องพระของพุทธหรือศาสนาพุทธที่เข้าไปทำงานการเมือง ที่จริงมันไม่ใช่เรื่องประหลาด มันไม่ใช่เรื่องผิด แต่ประเทศไทยนี่ต่างหาก ไปยึดถือ ไปถือสาแบบนั้นว่า อย่านะอย่าเอาธรรมะเข้าไปยุ่งกับการเมือง พระนี่คือชาวธรรมะ การเมืองมันไม่ใช่เรื่องของธรรมะ การเมืองเป็นเรื่องเหลวไหล เพราะฉะนั้นพระต้องออกนี้ไปไกลๆ มันก็ยิ่งแย่ใหญ่สิ ประเทศก็ยิ่งเสื่อมยิ่งทรุด ไม่ผิดหรอกคุณพูดถูกการเมืองยิ่งเละอย่างนั้นน่ะ เพราะฉะนั้นมันต้องเอาธรรมะเข้าไปใส่ อันนี้แม้แต่ท่านพุทธทาสท่านก็เคยเตือนมาแล้ว แต่ท่านไม่ลึกเข้าไปถึงว่าพระจะไปเกี่ยวข้องกับการเมือง ท่านยังไม่ถึงหรอก ท่านยังไม่กล้าและท่านก็ไม่ทำ ท่านก็อยู่ของท่านไป รักษาตัวรอดพอสมควร แต่อาตมามันก้าวข้ามขั้นนั้นมาแล้วก็พาทำ จึงต่างกัน _ซึ้งซื่อ วิเชียร กราบนมัสการพ่อท่านด้วยสุดเศียรเกล้าครับ ในงาน พุทธาภิเษก ครั้งที่ ๔๗ ที่ปฐมอโศก ผมได้มีโอกาสไปได้แค่ ๑ วัน ก็ได้พบมิตรดีตัวจริงหลายท่าน มีความอบอุ่นยิ่งครับและวันนั้นเป็นวันมาฆะบูชา ตอนแรกไม่ได้ตั้งใจจะมาวันนั้น แต่โชคดีที่มาได้พอดีก็ได้มาฟังธรรมะจากพ่อท่านตัวจริง เกิดพลังใจยิ่งนักก็จะขอพากเพียรปฏิบัติลดละกิเลสต่อไปครับ กราบนมัสการขอบพระคุณสูงยิ่งครับ พ่อครูว่า… มีข้อเขียนของคุณเทวินทร์ สิทธิ์น้อย เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐศาสตร์ที่อาตมาจะอธิบายวันนี้ ที่จริงอธิบายมาหลายวันแล้ว วันนี้ก็จะขออธิบายอีก ก็ขออ่านก็แล้วกัน หมู่กลุ่มที่มีจิตพุทธพจน์ 7 แก้ปัญหาเศรษฐกิจจบกิจ _เรียน พ่อครู จากที่ได้ฟังธรรมพ่อครู ที่สันติอโศก เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (๑๓ มีนาคม ๒๕๖๖) เรื่อง GDP โลกุตระ ผมได้สะดุดใจกับประโยคที่พ่อครูบอกว่า “เศรษฐศาสตร์คือเรื่องของจิตวิญญาณ” และทําให้ผมได้เปลี่ยน มุมมองเป็นอย่างมาก จากเรื่องนี้ ซึ่งแต่ก่อนผมเข้าใจว่าพ่อครูสอนเรื่องบุญนิยม แล้วใช้บริบททางด้านเศรษฐศาสตร์เป็นเครื่องมือใน การอธิบาย แต่จากประโยคดังกล่าวทําให้ผมต้องกลับมาทบทวนความรู้เก่าๆ ที่มีอยู่บ้างในอดีตอีกครั้งหนึ่ง เทียบกับความรู้เรื่องอื่นๆที่ผ่านมา จึงพอจะคลําทางได้บ้างตามความหมายที่พ่อครูได้อธิบาย แล้วก็เห็นจริง ตามที่พ่อครู ได้บอกว่า “เศรษฐศาสตร์คือเรื่องของจิตวิญญาณ” ขออ้างอิงคําจํากัดความ เศรษฐศาสตร์ จาก วิกิพีเดีย ว่าเศรษฐศาสตร์ เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ ศีกษาเกี่ยวกับการผลิต การกระจาย การบริโภคสินค้าและบริการ คําจํากัดความก็คือเป้าหมายที่ทําให้ศาสตร์นี้เกิดขึ้นมา ซึ่งถ้าพิเคราะห์จากคําจํากัดความนี้แล้ว เศรษฐศาสตร์ ก็คือศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากร พึ่งพากันและกันนั้นเอง แต่ปรากฏว่าคนที่ศึกษาเศรษฐศาสตร์มักจะใช้และหาช่องว่างของระบบเพื่อที่ให้ตนเองอยู่ในสถานะที่ ได้เปรียบกว่าคนอื่นในการเข้าถึงทรัพยากร จึงทําให้ความเข้าใจของคนในสังคมส่วนใหญ่เข้าใจผิดเพี้ยน (รวมทั้งผมด้วยในอดีต) ออกห่างจากคําจํากัดความเดิมของ เศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ แบ่งเป็น 6 สาขา เศรษฐศาสตร์จุลภาค และ เศรษฐศาสตร์มหัพภาค เศรษฐศาสตร์จุลภาค แบบโลกุตระ ตามความเข้าใจของผม ก็คือ เศรษฐศาสตร์ที่ใช้ในการบริหาร ตนเองเป็นสําคัญ ก็น่าจะเทียบได้กับ วรรณะ ๙ ที่พ่อครูสอนอยู่นั่นเอง ส่วน เศรษฐศาสตร์มหัพภาค แบบโลกุตระ ตามความเข้าใจของผม ก็น่าจะเป็น เศรษฐศาสตร์ที่ใช้ใน การบริหารสังคม คือ อิสรเสรีภาพ ภราดรภาพ สันติภาพ สมรรถภาพ บูรณภาพ พ่อครู จึงให้นโยบายด้าน พรรคการเมืองไว้ว่า “ประชาธิปไตยสูงสุดคือบรมภาวะสุดประเสริฐ ๕ ประการ นี้” เพราะนักการเมืองจะ เป็นผู้ที่มีบทบาทในการกําหนดกติกาในการจัดสรรทรัพยากรให้กับคนในสังคมอย่างเป็นธรรมจนเกิดบรมภาวะ สุดประเสริฐ นั่นเอง ส่วนอีกประเด็นที่ผมจู่ๆ ก็รู้สึกเข้าใจขึ้นมา ก็คือตอนที่พ่อครูบอกว่า “GDP หลงติดกับตัวเลข มากกว่าเนื้องานของคนเป็นสําคัญ” พ่อครูว่า… เก่งมาก ทุกวันนี้เขาพูดกันแต่ตัวเลขแต่เงินทอง แม้แต่การเมืองก็บอกว่าตัวเลขของผู้ที่รับคะแนนเลือกตั้ง ไม่ได้เข้าหาคนกับเนื้อหาของคนที่เขาจะทำงานการเมือง ว่ามันจะดีมันจะเป็นยังไง ไม่ ไปเผินอยู่ที่ตัว ๆๆๆ เศรษฐศาสตร์ก็ตัวเลขการเมืองก็ตัวเลข ยังนั้น หลงอย่างนั้นกัน _คําว่าหลงติดกับตัวเลข ผมเข้าใจเอาเองว่าพ่อครูน่าจะหมายถึงตัวเลขที่เป็นตัวบ่งชี้เรื่องเงินเป็นสําคัญ เป็นเรื่องจริงทีเดียวที่เอารายได้ที่เกิดขึ้นทั้งหมดมาเป็นตัวชี้วัดความเจริญ โดยไม่ได้ดูที่มาของรายได้ว่าเกิดจาก อะไรกันแน่ ทําให้ ค่า GDP ไม่สามารถเป็นดัชนีชี้วัดที่สะท้อนภาวะทางเศรษฐกิจของคนในสังคมได้อย่าง แท้จริง จะเป็นอย่างไรถ้ารายได้ส่วนใหญ่ของสังคมได้มาจาก การค้าอาวุธ การค้าประเวณี การเล่นการพนัน การค้ายาเสพติด ค้าการละเล่นบันเทิงเริงรมณ์ต่างๆ GDP ที่เกิดจากเนื้องานเหล่านี้แม้สูง แต่จะพูดได้อย่างเต็มปากไหมว่าเป็นสังคมแห่งความเจริญอาวุธ” พ่อครูว่า… ดีมาก ไม่เสียเปล่า ศึกษาธรรมะพระพุทธเจ้าและเข้าใจสัจธรรมก็จะเห็นความจริงของสังคม จริงๆขอพูดถึงตรงนี้แล้วขอพูดความจริง ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ของเทวนิยมหรือของทางโลกที่เขาเรียนมา เป็นโลกียธรรมที่ตื้นเขินมากเลย ไม่ได้เป็นอะไรที่จะพัฒนาจริงๆ เพราะฉะนั้นเขาจึงแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่มีวันจบ แก้ปัญหาประชาธิปไตยไม่มีวันจบ ขอยืนยัน แต่ชาวอโศกแก้ปัญหาเศรษฐกิจจบแล้ว ประชาธิปไตยก็จบแล้ว _ในทรรศนะของผมแล้วเห็นว่าไม่น่าจะใช่ ตามที่พ่อครูให้โศลกธรรมไว้นั้นเป็นจริงอย่างที่สุด “คนฉลาดสร้างอาหาร คนชั่วช้าสามานย์สร้าง GDP แบบโลกุตระ ควรเป็นดัชนีที่แสดงให้เห็นบริบทของสังคมนั้นๆ ว่าได้สร้าง ผลผลิต อุปทาน (supply) ที่เป็นการตอบสนองต่อความต้องการจริงๆ อุปสงค์ (demand) ของสังคมได้ อย่างเพียงพอ เช่น อาหาร ยารักษาโรค เครื่องอุปโภค บริโภคที่จําเป็น เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น จนเป็นสังคมที่พึ่งพาซึ่งกันและกันได้ เกิดบรมภาวะ ๕ ประการดังที่กล่าวมาแล้ว น่าเสียดายที่ผมมีความรู้เรื่องนี้เพียงตื้นเขินเท่านั้น เสมือนลิงที่ได้แก้ว ไม่สามารถนําไปต่อยอดได้มากกว่านี้แล้ว ใจของผมอยากให้ผู้ที่เรียนรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์อย่างสําคัญ เอาข้อคิดเห็นของพ่อครู เรื่อง GDP โลกุตระ ไปต่อยอด เพื่อเป็นเครื่องมือนําทางในการพัฒนาสังคมต่อไป ผมขอกราบขอบพระคุณพ่อครูเป็นอย่างสูงครับที่ทําให้ผมเกิดความเข้าใจ ความเป็นโลกุตระที่มากขึ้นกว่าแต่ก่อน …เทวินทร์ สิทธิ์น้อย พ่อครูว่า… ก็ขยายความต่อ เรื่องของพฤติกรรมของมนุษย์ จะเป็นพฤติกรรมที่เรียกด้วยศัพท์ว่า “เศรษฐศาสตร์” ก็ตาม จะเรียกพฤติกรรมของความเป็นประชาธิปไตยก็ตาม ก็เป็นเรื่องของมนุษย์ เรื่องของสังคมมนุษย์นี่แหละ เพราะฉะนั้นความเข้าใจของผู้ที่ไปเรียนมา เรียนมาจากวิชาตักสิลาไหนๆ วิทยาลัยไหนๆ มหาวิทยาลัยใหญ่ๆของโลกที่เป็นเทวนิยมทั้งสิ้น แต่สังคมจะมีเศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์ จะมีรัฐศาสตร์หรือจะมีเรื่องของการเมือง มันอยู่ในธรรมชาติ ทีนี้พระพุทธเจ้าแบบของท่านสอนคนโดยใช้จิตเป็นประธาน จิตสามารถที่จะบรรลุธรรมหรือจิตที่จะสามารถรู้ธรรมะได้แล้วเข้าใจธรรมะ รู้ทิศทางที่พระพุทธเจ้าท่านนำพาสอนไปแล้ว มันเข้าใจและเรียกว่ามันบรรลุไปตามลำดับ เป็นอาริยธรรมเจริญขึ้น มันก็จะเข้าใจว่า เราควรประพฤติอย่างไรในสังคม หรือตัวเราเจริญเราก็เข้าใจอย่างนี้เราก็ทำอย่างนี้ มีคนนึงมี 2 คน มี 5 คน 100 คน 1,000 คนก็เป็นมวลหมู่กลุ่ม ของสิ่งที่เรียกว่าเศรษฐกิจหรือเศรษฐศาสตร์ที่รู้หรือเรียกว่าการเมืองหรือเรียกว่ารัฐกิจ รัฐศาสตร์ที่รู้ มันก็เกิดขึ้นมา เป็นพฤติกรรมจริงขึ้นมาในสังคม ไม่ว่าที่ไหนมันเป็นธรรมชาติของที่ เขาเข้าใจเศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์แบบใดกลุ่มหมู่เขาก็เป็นอย่างนั้น เขาเข้าใจอย่างไรรัฐศาสตร์การเมืองก็เป็นอย่างนั้น เช่นในหมู่ 3 นิ้วเขาก็เข้าใจว่าเขาเป็นเจ้าของประชาธิปไตยเต็มที่ เพราะหมู่อื่นไม่มาตะโกนบอกโหวกเหวก เขาก็มีมวลไปตามเขา เช่น พรรคการเมืองพรรคนี้เข้าใจประชาธิปไตยแบบนี้ พรรคการเมืองแบบนั้นเข้าใจประชาธิปไตยแบบนั้น เขาก็พยายามให้ทำให้คนมาทำตามที่เขาเข้าใจ เขาจะมีอำนาจหรือมีฤทธิ์เดชหรือมีความสามารถ ทำให้คนเป็นไปตามเขาได้เท่าไหร่ๆ นั่นคือการทำอยู่กับสังคม ไม่ว่าพรรคไหน ชาวอโศกก็เป็นพรรคการเมืองที่ยิ่งใหญ่มากโดยธรรมชาติ ชาวอโศกคือพรรคการเมืองพรรคหนึ่งโดยธรรมชาติ ไม่ต้องจดทะเบียน แต่ก็ทำงานเศรษฐศาสตร์เศรษฐกิจ ทำงานรัฐศาสตร์รัฐกิจ ทำงานการเมืองอยู่ในสังคมประเทศนี้แหละ อาตมาเอาธรรมะพระพุทธเจ้ามาเป็นสูตรใหญ่มาเป็นทฤษฎีใหญ่หลักการใหญ่ มาสอนเศรษฐศาสตร์ จะเรียกโดยแยกเป็นเศรษฐศาสตร์หรือรัฐศาสตร์ก็ตาม พวกคุณก็ได้สิ่งเหล่านั้น ก็เกิดการเป็นจริงเป็นปรากฏการณ์จริงเป็นพฤติการณ์จริงของแต่ละคน และพฤติการณ์จริงๆพวกนี้ก็เป็นอยู่ในสังคม อาตมาก็บอกได้ว่าสังคมอโศกนี่ สบาย ได้ผลแล้ว เอาของพระพุทธเจ้ามา พวกคุณสบายไหมล่ะ สงบไหมล่ะ อบอุ่นไหม อิ่มเอมไหม เกษมใสไหม มีใจเกื้อกูลไหม เพิ่มพูนการเสียสละไหม นี่เป็นภาษาที่อาตมาเสริมเติมเข้าไปในยุคนี้ เป็นภาษาสมัยนี้ ที่อธิบาย แทนที่อาตมาจะอธิบายสาราณียธรรม 6 เท่านั้น จะอธิบายวรรณะ 9 เท่านั้น ความหมายเหล่านี้ก็คือสาราณียธรรม 6 คือวรรณะ 9 สาราณียธรรม 6 จิตวิญญาณของพวกคุณมีพุทธพจน์ 7 สาราณียะ ปิยกรณะ คุรุกรณะ สังคหะ อวิวาทะ สามัคคียะ เอกีภาวะ ขยายความสาราณียธรรม 6 จะเห็นความเป็นเศรษฐศาสตร์ ความเป็นรัฐศาสตร์อยู่ในนี้ สมบูรณ์แบบ ฟังดู ศาสนาพระพุทธเจ้าไม่ใช่ศาสนาที่เอาแต่ตัวรอดปลีกเดียว ปลีกเดี่ยวไปนั่งหลับตา ไปนั่งหลบหนีสังคม ไม่ใช่ แต่เป็นศาสนาสังคม เป็นศาสนาที่อยู่กับโลกอย่างลืมตาเปิดๆมีสติสัมปชัญญะ มีโลกวิทู รู้แจ้งในความเป็นโลก ในความเป็นอยู่ของสังคมมนุษยชาติ แล้วร่วมกับเขาเท่าที่เราจะสามารถร่วมได้ ให้มันเกิดผลเป็น… จิตเป็นประธานนี่แหละ เสร็จแล้วก็เกิดกายกรรม วจีกรรม จากมโนกรรม จากคนหนึ่ง สองคนแล้วก็รวมกันเฉลี่ยเกิดสังคมกลุ่มหมู่เช่นชาวอโศก เป็นต้น อาตมาพามาประพฤติปฏิบัติจนพวกคุณมีพฤติกรรม แล้วก็เกิดพฤติการณ์ของสังคมแบบนี้ทุกวันนี้ อาตมาได้ช่วยประเทศชาติแล้ว และประเทศชาติก็ต้องการผลในความเจริญเรียกว่า อาริยธรรม เป็นธรรมะเป็นความประเสริฐแล้วเกิดเป็นอาริยบุคคล อาตมาก็ได้ทำความเป็นอาริยบุคคลเกิดแล้ว อย่างพวกคุณเป็นอาริยบุคคล เป็นคนเจริญ ไม่ใช่คนมิลักขะ ไม่ใช่คนเถื่อนคนป่า คนเถื่อนคนป่าคือ พวกที่ยังสร้างแต่อาวุธเข่นฆ่ากัน หลงใหลในอบายมุข หลงใหลในการละเล่นการบันเทิงเริงรมย์หนักหนา สาหัส จัดจ้าน อย่างที่พอยกตัวอย่าง อเมริกา เป็นต้น นั่นยังเป็น มิลักขะ ยังเป็นคนเถื่อนอยู่ ยังไม่ได้ตื่นรู้ความเจริญที่แท้จริงที่จะเกิด อิสระ สบาย สงบ อบอุ่น อิ่มเอม เป็นสังคมที่ เกษมใส ใจเกื้อกูล และเพิ่มพูนความเสียสละ ลงท้ายด้วยความเสียสละ เพิ่มพูนความเสียสละ เป็นคุณธรรมอันประเสริฐเลิศลอย เริ่มต้นใน พุทธพจน์ 7 ระลึกถึงกัน สาราณียะ รักกัน เป็นความรักอย่างดีนะของ 10 มิติ เป็นความรักที่ดีครบทั้ง 10 มิติอย่างดี แม้แต่เป็นอย่างที่ 1 เรื่องของคนคู่ก็อย่างดี เรื่องของพ่อแม่ลูกก็อย่างดี เรื่องของญาติโกโยติกาบริวารที่สูงขึ้นไป เป็นมิติที่ 3 ญาตินิยมก็อย่างดี เพิ่มจากมิตรสหายขึ้นไปก็เป็นสังคมนิยมก็อย่างดี จนกระทั่งถึงระดับชาตินิยมก็อย่างดี ยิ่งเป็นไปถึงต่างประเทศสากลนิยมก็อย่างดี เข้ามาหาจิตเทวนิยมก็อย่างดี อาริยะนิยม นิพพานนิยม พุทธนิยมสุดท้าย อย่างนี้เป็นต้น ที่อาตมาวิเคราะห์วิจัยแล้วก็แยกหมายอะไรพวกนี้ ในอนาคตจะมีคนตามมาดู แล้วก็เอาไปใช้งาน ทุกวันนี้ก็มีคนหยิบไปใช้ประกอบบ้าง แต่เขาก็ยังไม่ เพราะอาตมาเป็นหมาหัวเน่าในประเทศไทยที่เถรสมาคมเขาตีตราเอาไว้แล้ว ตีตราเป็นหมาหัวเน่า เป็นคนไม่ถูกต้อง ทำอะไรก็ไม่ถูกต้อง คนก็เลยต้องเชื่อเถรสมาคมเขา อันนี้แหละมันเป็นวิบากของประเทศที่อาตมาก็สุดสงสาร ไม่รู้จะทำอย่างไร อาตมาก็ไม่เก่งกว่านี้ ก็พยายามเสนอว่า อาตมาทำนี่มันเป็นของดีนะ ไม่ใช่ของเน่า ของเสียอย่างที่เขาเข้าใจตีทิ้งอย่างนั้น ถ้าได้กันไปจริงๆแล้วนี่มันเจริญคุณว่าไหม ถ้าคนจะมาเป็นอย่างชาวอโศกอยู่นี่ เป็นได้ครึ่งได้ค่อนประเทศนี้จะเป็นอย่างไร อาตมาว่า โอ้โห…ประเทศไทยจะรุ่งเรืองเจริญมากเลย และอาตมาก็เชื่อมั่นว่า ความรู้อย่างนี้เป็นของพระพุทธเจ้า เป็นความรู้ที่คนทั้งโลกแสวงหาอยู่ แต่เขายังมองไม่ออก เขายังมองไม่เห็น โลกุตรธรรม อย่างนี้ เขายังมองไม่ออก ยังมองไม่เห็น เพราะฉะนั้นจะมามีความรัก สาราณียะ ปิยะกรณะ ก็มีความรักกันอย่างดี ครุกรณะ ก็จะรู้จักผู้ที่ควรเคารพ ไม่ใช่สับสนคนที่ควรเคารพไม่เคารพดันไปเคารพคนที่ไม่น่าเคารพ ไอ้ที่ถูกไปทำที่ผิด ไอ้ที่ควรไม่ทำไปทำไอ้ที่ไม่ ไอ้ที่จะนั่งไม่นั่ง ไปนั่งเอาที่จะตั้ง ไอ้ที่จะตั้งก็ไม่ตั้ง ไปตั้งไอ้ที่จะนั่ง แต่สัจธรรมที่ดีๆที่อาตมาเอาของพระพุทธเจ้ามา อาตมามั่นใจว่าของพระพุทธเจ้ามาแล้วก็เกิดผลต่อพวกเราอยู่อย่างนี้ มันก็ดีขึ้นมาแล้ว เห็นชัดเจนตามสาราณียธรรมที่จะพูดต่อ รู้จักเคารพกันเพราะรู้ว่า คนนี้นี่ควรเคารพ ปาสาทิกะ มีอาการน่าเลื่อมใสน่าเคารพ มีปัญญารู้ว่า คนที่ควรเคารพคือใครไม่ใช่เข้าใจอย่างโง่ๆผิดๆแต่เข้าใจถูกต้องว่าคนควรเคารพที่จริงเป็นอย่างนี้เอง คนที่ไม่ควรเคารพแต่หลอกเขาว่าน่าเคารพเป็นอย่างนี้เอง หลอกจนคนโง่ๆหลงเชื่อมันก็มีในสังคมมันไม่รู้ จะรู้จักว่าคนที่ควรเคารพคือใคร ครุกรณะ สังคหะตรงนี้ก็ระบุเลยว่าจะเป็นคนที่มีใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูลช่วยเหลือคนอื่นอยู่ ความเห็นแก่ตัวลดลง ความเห็นแก่ได้ลดลง วรรณะ 9 จะเกิดขึ้นสูงสุดเป็นคนเลี้ยงง่าย บำรุงง่าย เป็นคนที่มักน้อย เป็นคนสันโดษ เป็นคนขัดเกลาตนเอง เป็นคนที่มีข้อปฏิบัติที่เจริญขึ้นๆ เป็นคนมีอาการน่าเลื่อมใส ไม่สะสม อปจยะ และเป็นคนที่ยอดขยัน ระดมความเพียร วิริยารัมภะ ตามวรรณะ 9 เนี่ยเอาหลักธรรมพระพุทธเจ้าเลยมาอ้างอิงยืนยัน ว่ามันเข้าหลักเข้าเกณฑ์อย่างนี้นี่แหละคือความเจริญ หรือความพัฒนาสังคมพัฒนามนุษยชาติ สังคหะ เกื้อกูล ช่วยเหลือ สร้างสรรค์ เสียสละอยู่ อวิวาทะ ไม่ใช่หาเรื่องทะเลาะกัน วิวาทกัน มันมีความขัดแย้งอันพอเหมาะและเราก็รู้จักการอนุโลม อะลุ่มอล่วยกันอยู่อย่างที่ในหลวงร. 9 เราตรัส อยู่กันอย่างอะลุ่มอล่วย อยู่กันอย่างอนุโลมปฏิโลม ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันพึ่งพากันไปผ่อนสั้นผ่อนยาวแก่กันและกัน อย่างนี้เป็นต้น อวิวาทะ จะเห็นได้ว่าชาวอโศกเราไม่มีเรื่องที่จะวิวาทอะไรกันมากมายทะเลาะตีกันฆ่ากัน ขึ้นโรงขึ้นศาลมันไม่มี นอกจากคนข้างนอกเขามาทำอะไรเราก็ต้องอาศัยตำรวจ อาศัยคนข้างนอกเขา เพราะเราไม่มีทางจะไปห้ามกั้นเขาได้ แต่พวกเราเองไม่มีวิวาทกัน สามัคคียะ พร้อมเพรียงกันอบอุ่นมี เอกีภาวะ เป็นปึกแผ่นเป็นเอกภาพที่ดีงามครบ มีคุณธรรมพุทธพจน์ทั้ง 7 นี้อย่างแท้จริง ไม่สูญเปล่าคำสอนพระพุทธเจ้า ทุกวันนี้พระพุทธเจ้าถึงตรัสว่าผู้ที่มาปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ โลกไม่ว่างจากพระอรหันต์ เพราะฉะนั้นผู้ใดเข้าใจสัจธรรมตามพระพุทธเจ้าอย่างที่ว่านี้และปฏิบัติได้มีมรรคมีผล มีอริยะ 4 เหล่าแน่นอน เพราะฉะนั้นศาสนาพระพุทธเจ้า ทุกวันนี้อาตมาก็เข้าใจและเชื่อมั่น ว่า ไอ้ที่เสื่อม โลกุตตรธรรมที่เสื่อมไปแล้ว 2,500 ปี ได้กอบกู้ขึ้นมาได้แล้ว นี่ อาตมาพูดด้วยความจริงใจและก็ไม่ได้คิดว่าเป็นการโอ้อวด แต่เป็นเรื่องพูดจากความจริงใจ เพราะฉะนั้นในเรื่องของที่จะอธิบายเป็นเชิงภาษาสมัยใหม่ เป็นความรู้สมัยใหม่ที่เรียกกันว่า เศรษฐกิจ เรียกเท่ห์ๆว่า GDP ก็แล้วแต่ เท่ห์เสียไม่มีพูดคำว่า GDP ได้ มันก็มีของพระพุทธเจ้าเหมือนกัน แต่เขาไม่รู้ว่ามันเป็นพฤติการณ์พฤติกรรมของมนุษย์ ยุคของพระพุทธเจ้าก็มี แต่มันมีข้อจำกัดไม่เหมือนในยุคนี้ไง ในยุคโน้นเป็นยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นยุคทาส เป็นยุคที่คนไม่รู้จักสิทธิมนุษยชน พระพุทธเจ้าท่านทำได้แต่ในวงของสงฆ์ ก็มี GDP โลกุตระแบบพุทธ ที่แตกต่างจากทั้งหมดทั้งมวลของเทวนิยมเขา เพราะของพระพุทธเจ้านั้นเป็นอเทวนิยม ไม่ใช่เทวนิยม มันต่าง ต่างแน่ อย่างที่อาตมาได้แยกแยะไว้ให้ฟังแล้วนี่อาตมาขยายอธิบายเพิ่มเติมขึ้นอีก ยาวกว่าแต่ก็จะซ้ำอย่างที่เคยอธิบายบ้างแล้ว แต่ว่าขยายความละเอียดขึ้นไปอีกเพิ่มขึ้นไป แต่เดิมนั้นมันมีแค่ไม่กี่ประเด็น 5-6 ประเด็น อันนี้ไปถึง 8 ประเด็นขยายความไปอีกเป็น แม้แต่ในรายละเอียดของแต่ละประเด็นก็ขยายเพิ่มขึ้นต้องอ่านใหม่ ฟังซ้ำซากเบื่อไหม … ไม่เบื่อ ดีมาก GDP แบบพุทธที่เห็นแตกต่างจากนักเศรษฐศาสตร์เทฺวนิยมหรือผู้ยังนับถือพระเจ้า ทำความเข้าใจเบื้องต้นกันก่อนว่า คำว่า “พระเจ้า”นั้น เราไม่ได้หมายถึง GOD ที่ชาวเทฺวนิยมเคารพนับถือ กันอย่างสูงยิ่ง สำหรับ GOD หรือ“พระเจ้า”ของชาวเทฺวนิยมทั้งหลายบูชาเคารพนับถือนั้น เราก็ให้ความเคารพอยู่เช่นกัน เพราะ GOD อันหมายถึง“วิญญาณ”หรือ“พระศาสดา”ที่ทรงคุณงามความดีแท้กันทุกพระองค์ เราย่อมเคารพพระผู้มีคุณธรรมอันสูงส่ง ไม่ว่าจะเป็นชาติเชื้อใดแน่นอน พ่อครูว่า… เป็นการทวนกระแสถ้าฟังไม่ดีดูเหมือนจะเป็นการลบหลู่พระเจ้าเลยทีเดียว ต้องฟังให้ดีๆแต่เราไม่ได้ไปข่มแต่เราเห็นความต่าง ความต่างนี่แหละเป็นอุตระหรือเป็นโลกุตระที่นอกเหนือจากที่คุณเข้าใจกันแปลศัพท์สั้นๆ เขาแปลอุตระว่าอยู่เหนือ แต่“พระเจ้า”ในที่นี้ที่เรากำลังกล่าวถึงนี้ หมายถึง เรื่อง“เงินๆทองๆ”ที่เป็น“วัตถุ”แท้ๆซึ่งคนไปหลงงมงายวุ่นวายเอาเป็นเอาตายอยู่ที่“เงินๆทองๆ”กัน โดยนับถือเงินทองเป็น God ยิ่งชีวิต และความรู้ความเห็นที่อาตมาแสดงออกไปนี้ เป็นความรู้ของอาตมาที่ไม่ใช่แบบโลกียะที่อาตมามีน้อยนิดจริงๆ ซึ่งเป็นความเห็นเฉพาะของอาตมา ที่อาตมาเชื่อว่าเป็นแบบโลกุตระ จึงแน่นอนว่า มันย่อมผิดเพี้ยนไป ไม่ตรงกับผู้รู้เศรษฐศาสตร์ หรือไม่ตรงกับผู้มีครูมีอาจารย์มีตำราเรียนกันมาแบบสากลโลกียะนั้นแน่ยิ่งกว่าแน่ “เศรษฐศาสตร์”คือ“ภาวะแห่งความเป็นจริง”ที่เป็น“สัจธรรม”ทาง“จิตวิญญาณ” ซึ่งมันไม่ใช่แค่เรื่องของ“เงินๆทองๆ”ที่หลงยึดถือกันสูง หลงหนักว่า “ตัวเลข”นั่นแหละคือ“พระเจ้า” หรือเคารพบูชาแต่“จำนวนของตัวเลขที่แข่งกันสูง-แข่งกันมาก”เท่านั้น ที่จริงแล้วมันต้องสำคัญกันที่“จิตวิญญาณ”จึงจะดีแท้ ถูกต้องจริง แต่ถ้าแม้น“จิตวิญญาณ”หลงเงินๆทองๆกันหนักหนา หนักหน้ากันอย่างที่เป็นๆกันอยู่ รับรองเด็ดขาดว่า เขาแก้ปัญหาเศรษฐกิจ“ไม่เสร็จ” ไม่“จบกิจ”ได้นิรันดร เพราะมันวิปลาสหลงผิดไปแล้ว เขาไม่รู้ตัวกันเลยหรือว่า เขาหลงบูชานับถือ“วัตถุเงินทอง-ตัวเลข”กันหนักหนาสาหัสนั้น นั่นคือ หลงจำนวน “ตัวเลข”โดยหลงยึดถือเอา“รายได้”จากวัตถุแปรมาเป็นเงินทอง แล้วก็นับจำนวน“ตัวเลข”มาเป็นเครื่องชี้บ่งยืนยันความเจริญ“เศรษฐกิจ” มันก็เป็นแค่การบ่งบอกว่า ความสำคัญของมนุษย์ทั้งหลายอยู่ที่“วัตถุ” ชีวิตคนจะอยู่ดีมีสุขด้วย“วัตถุ”เท่านั้น “วัตถุ”สำคัญยิ่งใหญ่ที่สุด เป็น“ที่พึ่ง”คือ“พระเจ้า”คือ God ของชีวิตคนทั้งหลายทั้งหมด ก็ขอยืนยันว่า “แก้ปัญหาเศรษฐกิจ”กันแต่เรื่องของ“วัตถุ”นั้น ไม่มีทางสำเร็จเสร็จสิ้น ถึงขั้นไม่ต้อง“แก้ปัญหาเศรษฐกิจ”กันอีก “จบกิจ”เด็ดขาด ได้แน่นอน และยิ่งไปหลงยึดเอา“ความสูงของตัวเลข”ที่เป็น“จำนวนของ“รายได้ทางวัตถุ” มาเป็นเครื่องวัดแบบ“โลกียะ”สามัญปุถุชนทั่วไปในโลกอยู่นั้น ก็รับรองว่า “ไม่มีที่สิ้นที่สุด”เด็ดขาด หากไม่หันมา“แก้ปัญหาเศรษฐกิจกันทาง“จิตวิญญาณ” โดยใช้“ทฤษฎี”ของพระพุทธเจ้าที่เป็น“โลกุตระ” เพราะมันไม่มีขีดจำกัดเลย ว่า “ความสิ้นสุดของความโลภ” หรือ“ความสิ้นสุดของความต้องการอยากได้”ของคน มันรู้จัก“พอ”กันตรงไหน? “การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ”ด้วย“ทฤษฎี”ของชาวโลกที่มีความรู้-ความฉลาดแค่ชาว“เทฺวนิยม”มีกัน จะสูงส่งเต็มที่ปานใดๆก็ตาม มันก็มีแต่แบบ“โลกียะ”อยู่เท่านั้น มันยังไม่ใช่“ทฤษฎี”ของชาว“โลกุตระ”ที่มีความรู้-ความฉลาดของ“พุทธ”ที่เป็น “อเทฺวนิยม” คือ ผู้รู้จักรู้แจ้งรู้จริงในความเป็น“เทฺว” และจัดการกับ“เทฺว”ได้สำเร็จสูงสุดถึงขั้น“อนัตตา”หรือ“นิพพาน” จึงจะสามารถ“แก้ปัญหาเศรษฐกิจ”สำเร็จเสร็จ“จบกิจ”เด็ดขาดลงได้จริง พ่อครูว่า… อาตมาพูดไปนี้ พวกสายหลับตาเขาจะบอกว่า โพธิรักษ์เอาอะไรมาพูด ไอ้คำว่าเศรษฐกิจฟังแล้วก็บ้าๆบอๆ แล้วยังไงมาเกี่ยวกับเทวะเกี่ยวกับจิตวิญญาณเข้าไปอีก เขาจะเห็นว่า เขาฟังไม่ออก พูดง่ายๆ “ทฤษฎี”ของชาวเทฺวนิยม หรือชาวโลกที่ยังไม่มี“ทฤษฎี”ของชาว“โลกุตระ”ไม่มี“จุดสำเร็จ”ของ“ปัญหา”ว่า จะ“จบ”ปัญหาเศรษฐกิจได้แท้จริง เพราะ“คำตอบ”ของคนร่ำรวยหรือของผู้ได้เปรียบทางเศรษฐกิจ จะไม่มีคำว่า “เพียงพอ”หรือ“พอ”เป็นอันขาด คนผู้ไม่มี“ปัญญา”รู้แจ้งรู้จริงทาง“จิตวิญญาณ”จากการเรียนรู้และปฏิบัติจนกระทั่งเกิด“ปัญญา”แท้ใน“อาริยสัจ ๔”เท่านั้น ที่จะ“ยุติ”การกอบโกย-การเอาเปรียบจากสังคม จึงจะเป็นผู้“แก้ปัญหาเศรษฐกิจ”ของตนให้แก่สังคมได้สำเร็จจริง พ่อครูว่า… พวกคุณนี้ยุติการกอบโกยออกแบบสังคมได้ เอาแค่พออยู่พอกิน ในหลวงรัชกาลที่ 9 เราตรัสเอาแต่ว่า พอเพียง พออยู่พอกิน แต่คนไม่กระเตื้องและท่านไม่ได้ขยายความมากนัก เขาก็เลยสรุปกันว่า ตามศาสตร์พระราชา ถ้าไม่ศึกษาหรือเกิดความรู้-ความฉลาดทาง“จิตใจ” หรือความรู้-ความฉลาดทาง“วิญญาณ” หรือทำให้ประชาชนเกิดรู้จักรู้แจ้งรู้จริงว่า “เงินๆทองๆ”นั้นไม่ใช่ “พระเจ้า” แต่เป็น“ซาตาน” หรือเป็นผี เป็นมาร ต่างหาก พระพุทธเจ้าตรัสว่า เงินๆทองๆนั้น คือ อสรพิษ คือ งูร้าย พ่อครูว่า… แต่เขาหลงงมงายอยู่แค่นี้ ไม่ว่าประเทศไหน เอางูพิษษเป็นพระเจ้า เอาซาตานเป็นพระเจ้า “วิญญาณ”หรือ“ธาตุรู้”หรือ“จิตใจ”หรือ“ความรู้-ความฉลาด”ของคนปุถุชนทั่วไปนั้นรู้จักรู้แจ้งรู้จริง“พระเจ้า”ที่ชื่อว่า เงินๆทองๆแล้วกันละหรือ? ทำไมจึงเป็น“ทาสเงินๆทองๆ” หรือเป็น“ทาสพระเจ้า”กันนัก งมงายอยู่กับ GDP กันไม่เงยหูเงยหัว ทำไมไม่เห็นความสำคัญของ“จิตใจของคน”อันเป็นประธานของสิ่งทั้งปวง”ของคนในสังคม”มากกว่า“เงินๆทองๆ” แล้วแก้ปัญหากันที่“จิตใจของคน”กันให้ได้ ถึงจะ“แก้ปัญหาเศรษฐกิจ”สำเร็จเสร็จ“จบกิจ”กันได้จริง ไม่ต้องแก้กันอยู่ตลอดกาลนาน ด้วยอวิชชาอยู่ อย่างที่ตำราหรือทฤษฎีของชาวโลกียะเทฺวนิยมมีกันทำกันอยู่ พ่อครูว่า… อย่างตอนนี้เห็นว่านายเศรษฐาจะมาแก้ปัญหาเศรษฐกิจ อาตมาว่าเอาเข้ามาเดี๋ยวก็หมด จะเก่งกว่าทักษิณในการที่จะทำอีก ทักษิณนั้นเอาไปเอามานอกลูกมาเป็นเรื่องข้าว แต่นี่ เรื่องที่ดินบ้านช่องเรือนชาน มันหนักก็เรื่องข้าวเลยนะทีนี้ เพราะแม้จะ“รู้สึก”กันว่า “แก้ปัญหาเศรษฐกิจ”ได้บ้าง ที่แก้ด้วยวิธีจัดการกันแต่ทาง“วัตถุ”และดูกันที่“ตัวเลข”รายได้”นั้น มันก็แค่“เกมที่จัดการแข่งขันกัน”ทำให้“สมบัติผลัดกันชม”ไปชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น แล้วมันก็“ไม่เที่ยงแท้ยั่งยืนมั่นคงถาวร”เลย ซึ่งมัน“ไม่หมดปัญหา”แท้ๆ เกิด“ทิฏฐิ”เป็นโลกุตระ แล้วปฏิบัติอย่าง“สัมมาปฏิบัติ” จนบรรลุ“ปัญญา”ของพุทธ สำเร็จเสร็จ“จบกิจ”กันอย่างยั่งยืนถาวรไปตลอดกาลได้หรอก ถ้าไม่สามารถรู้เรื่อง“จิต เจตสิก รูป นิพพาน” แล้วเรียนรู้ปฏิบัติตามทฤษฎีของพระพุทธเจ้าให้เจริญ งอกงาม ไพบูลย์เป็นที่สุดได้จริง “การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ”ตามตำราหรือทฎษฎีที่เรียนกันมาจากเมืองนอกอันมีแต่“ความรู้”ของชาว“เทฺวนิยม”ที่เป็น“โลกียภูมิ”เท่านั้น รับรองได้ว่า ไม่มีวัน“จบกิจ”ในการ“แก้ปัญหาเศรษฐกิจ”เด็ดขาดได้แน่ๆ เพราะ“ความรู้-ความฉลาด”ประดามีของชาวโลกทั้งหลายทั้งหมดที่เป็นแค่“โลกียภูมิ”นั้นยังเป็นแค่“เฉโก” แม้จะเก่งกาจปานใดก็ไม่สามารถ“แก้ปัญหาเศรษฐกิจ”ได้สำเร็จเสร็จ“จบกิจ”ที่เป็น“เศรษฐกิจ”ได้มั่นคงยั่งยืนถาวร แน่ยิ่งกว่าแน่ ต้องทำคนให้เกิด“ปัญญา”มี“ความรู้” ที่เป็นพุทธขั้น“โลกุตระ”ในชาว“อเทฺวนิยม”ที่แก้ปัญหากันด้วย“ความรู้”ที่เป็น“โลกุตรธรรม”จึงจะจัดการกับ“พระเจ้า”ที่เป็น“เงินๆทองๆ” และมี“ปัญญา”รู้จักรู้แจ้งรู้จริง“เทฺว”ที่เป็น“พระเจ้า”ทางจิตวิญญาณอย่างถึงแก่นแท้ครบความเป็น“พระเจ้า”ที่เป็น“เงินๆทองๆ”และที่เป็น“จิตวิญญาณ”จริงที่สุด “การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ”ตามตำราหรือทฤษฎีของพระพุทธเจ้าที่เรียนกันในเมืองไทยที่มี“ศาสนาพุทธ”ให้“สัมมาทิฏฐิ” จึงจะ“แก้ปัญหาเศรษฐกิจ”สำเร็จเสร็จ“จบกิจ”ในการแก้ปัญหาได้จริง ตำราหรือทฤษฎีของศาสดาเทฺวนิยมแก้ไม่สำเร็จเสร็จ“จบกิจ”เศรษฐกิจแน่ ซึ่งในประเทศไทยยุคนี้มีประชาชนคนจริงในประเทศไทยกลุ่มหนึ่งได้“แก้ปัญหาเศรษฐกิจ”สำเร็จเสร็จ“จบกิจ”ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้จริงยืนยันให้พิสูจน์ได้ นั่นคือ กลุ่มชนคนไทยที่เรียกกันว่า ชาวอโศก หรือ“สันติอโศก” …เชิญ! เอหปัสสิโก ไปเห็นแจ้งของจริงด้วยได้ด้วยการ“เห็น”หรือ“สัมผัส”กันได้เลย ขอยืนยันว่า ตำราเรียนหรือทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของเมืองนอกที่ร่ำเรียนมา จนจบด็อกเตอร์ทางเศรษฐศาสตร์ จากยุโรป ตะวันตก อเมริกา อินเดียจีน ตะวันออกกลาง ฯลฯ หรือแม้จะเป็นประเทศที่มีพุทธศาสนาก็ตาม ในยุคนี้ไม่มี“สัมมาทิฏฐิ”ที่จะ“แก้ปัญหาเศรษฐกิจ”ได้สำเร็จเสร็จ“จบกิจ”ของปัญหาเศรษฐิกิจได้ดอก มีอยู่แท้ก็ที่ในเมืองไทยและเป็นพุทธอันมี“โลกุตรธรรม”ด้วยนะ! ไม่ใช่พุทธที่ยังมิจฉาทิฏฐิอยู่ โดยเฉพาะที่แน่ๆก็เชิญพิสูจน์กันได้ใน“ชาวอโศก” มาเจาะลึกวินิจฉัยกันให้ละเอียดๆดูทีรึ? ว่า อะไร? ตรงไหน? ที่มันหลงกำหนดหมายผิดเพี้ยนกันอยู่ มันไม่สำเร็จเสร็จจบอย่างไร? จะได้รู้จักรู้แจ้งรู้จริงรู้จบใน“ความถูกต้องถ่องแท้ของความหลงผิดนั้น”กันเสียที อาตมาขอหยิบยกเอาข้อความต่อไปนี้ มาจาก“กูเกิ้ล” มาเป็นจุดเริ่มต้นสาธยาย “คำว่า GDP ย่อมาจาก Gross Domestic Product หรือแปลเป็นไทยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ แปลจากไทยเป็นไทยอีกที คือ การที่นับรายได้ที่เกิดขึ้นจากในประเทศเท่านั้น ไม่ว่าจะสัญชาติใดก็ตาม โดย GDP ประเทศไทย จะนับการคำนวณเฉพาะรายได้ที่เกิดขึ้นในไทยเท่านั้น แต่ถ้าเป็นคนไทย แล้วมีรายได้ที่ต่างประเทศ ไม่นับ อันนั้นเรียก GNP : Gross National Product ที่จะนับเฉพาะรายได้จากคนไทยเท่านั้น ไม่ว่าจะอยู่ประเทศใดในโลกนี้ก็ตาม” นอกจากคำว่า GDP เขาแถม GNP : Gross National Product มาให้อีกด้วยนะ! ยิ่งใช้คำว่า GNP : Gross National Product นั้นแหละยิ่งเน้นหมายเจาะลงไปที่“เฉพาะรายได้ที่เกิดขึ้นของตนเองในชาติตนเองแท้ๆเท่านั้น” มันก็ยิ่งชัดเจนว่า เศรษฐศาสตร์ของชาวเทฺวนิยมโลกียะได้ว่า ไม่มี“โลกุตระ” พ่อครูว่า… โลกุตระที่จริงนั้น อาตมาอธิบายล้ำหน้าไปก่อน จะได้เข้าใจก่อน ฟังต่อไปจะได้เข้าใจง่ายขึ้น ความรู้ของอาตมาเรื่องเศรษฐศาสตร์ ที่บอกว่าเป็นรายได้เฉพาะภายใน domestic ก็คือคนไทยอยู่ในประเทศแล้วก็มีผลผลิต เมื่อผลผลิตที่มีแล้วก็ขาย ถ้าขายออกไปต่างประเทศแล้วไปเอาเงินต่างประเทศมา เราไม่นับนะ คุณขายเฉพาะในประเทศแล้วก็เงินที่ได้อยู่ในประเทศนี่แหละ domestic โดเมสติกที่อาตมาหมายถึงจริงๆ เขาจะหมายตรงอย่างนี้หรือเปล่า เขาก็ไม่หมายอย่างนี้จริงๆ ยิ่งกว่านั้นเมื่อคุณเอาของๆเรานี้ขายในประเทศ ให้มันพออยู่พอกินในประเทศ ของผลิตของไทยแล้วก็ขายกันพออยู่พอกินในประเทศ ถ้าคนจนเราก็ยิ่งต้องขายให้เขาถูกๆ จึงจะพออยู่พอกิน นี่คือการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ แต่นี่ไม่.. มีพ่อค้าคนกลาง มีพวกนายทุนมากว้านซื้อแล้วก็เอาออกไปขายต่างประเทศ แล้วพยายามกดราคาของคนไทย แล้วมีอิทธิพลด้วยนะ กดราคา แล้วเอาไปขายเอากำรี้กำไรจากต่างประเทศ เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างนี้มันไม่ทำให้คนไทย เข้าใจตามพระพุทธเจ้าว่า อย่าไปหลงไอ้เงินๆทองๆ เราจะได้ไม่ตกเป็นทาสของพวกนายทุน อย่างพวกเรานี้ไม่หลงเงินๆทองๆ ไม่ตกเป็นทาสของนายทุน ดีไม่ดีไล่แจกนายทุน เพราะว่าเรามีความพอ เราพึ่งตนเองรอดพออยู่พอกินมีเหลือมีเกินจึงกระจายสะพัดให้แก่คนอื่น นี่คือการแก้ปัญหาสำเร็จ แก้ปัญหาเศรษฐกิจจบกิจเสร็จแล้ว เราทำได้ ตามทฤษฎีของพระพุทธเจ้า แต่ทฤษฎีของเทวนิยมไม่มีทางแก้เสร็จอย่างนี้ ขอยืนยัน เพราะมันจะกินก็ตาม จะใช้ก็ตาม มันบ้าไปกับโลกที่เขาหลอก แล้วก็โฆษณาหลอกกันเต็มหมดเลย ในข่าวคราวก็มีโฆษณาเต็มไปหมด แม้แต่สถานีข่าว สถานีธรรมะ ของเทวนิยม ไม่ใช่ ของพุทธ ก็ยังโฆษณาแบบเทวนิยม หรือเรี่ยไรหาเงิน หลงเงินๆทองๆเป็นพระเจ้าอยู่นั่นแหละเลี้ยงตนเองไม่รอด เดี๋ยวก็ขอบริจาคอยู่นั่นแหละ อาตมาภาคภูมิใจนะ เราทำของเรา ไม่เรี่ยไรบริจาคเงินจากใครทั้งนั้น โดยเฉพาะอย่าว่าแต่บริจาคเงินจากใครเลย เงินที่เอามาทำทานหรือมาบริจาคให้แก่อโศก ต้องเป็นคนที่เป็นสมาชิกของชาวอโศกเท่านั้น คนนอกจริงที่ไม่รู้อิโหน่อีเหน่อะไรมาบริจาคไม่ได้ เคยมีคนต่างประเทศเอาเงินต่างประเทศค่าสูงด้วยนะมา เราก็บอกว่าคุณไม่มีสิทธิ์บริจาค เอาคืนไปเขาก็งกๆเงิ่นๆ บอกว่าเรามีกติกา เรารับบริจาคไม่ได้ เพราะพวกคุณไม่ได้อยู่ในกติกาพวกเราอธิบายไป อย่าว่าแต่คนเมืองนอกเลย คนไทยที่ไม่รู้จักอโศกเลย เช่น เรามีกฎเกณฑ์ว่า ยังไม่ได้มาคบคุ้นที่วัดหรือพุทธสถานชาวอโศกถึง 7 ครั้งยังไม่มีสิทธิ์ให้บริจาค หรือว่าไม่ได้อ่านหนังสือ 7 เล่ม เดี๋ยวนี้มันมีโทรทัศน์แล้ว แล้วโทรทัศน์จะดูกี่ครั้งกันล่ะ อยู่กันมาแล้ว 7 เดือน 7 ปีมีสิทธิ์บริจาคไหม ถ้าดูกันจริงๆจังๆก็เอา ถ้าดูก็ดูผ่านๆหรือเดือนนี้ดูครั้งเดียว ปีต่อมาก็ดูอีกครั้งสองครั้ง แล้วก็นับว่า 7 ครั้งอย่างนั้น มันก็จิ๊บจ้อยเกินไป มันจะรู้จักอะไรดีนักหนา เพราะฉะนั้นมันมีรายละเอียดอะไรต่ออะไรอีกเยอะ เศรษฐศาสตร์แบบพุทธที่เป็น“โลกุตรธรรม”นั้น แตกต่างจากเศรษฐศาสตร์ของชาวเทฺวนิยมโลกียะหรือแตกต่างจากเศรษฐศาสตร์ของชาว“ทุนนิยม”สากลทั่วไปที่ทั้งหลาย ทั้งหมด อย่างมีนัยสำคัญลึกล้ำมาก แต่คนเห็นว่า “โลกุตรธรรม”นั้น“สุดโต่ง”เกินไป และเชื่อว่า ไม่มั่นคง ไม่ยั่งยืน ไม่เป็นประโยชน์ต่อคน ต่อสังคม ต่อโลก หรือเชื่อว่า เป็นไปไม่ได้ ไม่สากล เป็นของคนส่วนน้อย ที่จริงนั้น ไม่สุดโต่งหรอก มันเป็นไปได้ในคนกลุ่มที่มีอินทรีย์พละ ที่ได้ศึกษาปฏิบัติบรรลุธรรม“โลกุตรธรรม”ได้แท้จริงแล้ว เขา“เป็นไปได้” และหมด“ปัญหา”ไม่เป็นทุกข์-ไม่เป็นสุข” ไม่ใช่“การทรมานตัวเอง” ต้องอดทนข่มฝืนใดๆเลย แต่มีจิตใจเจริญได้แท้จริง เป็น“การทำใจในใจ”คือ“มนสิการ” มี“ปัญญา”ปฏิบัติบรรลุ“โลกุตรธรรม”จริง จึงทำได้สำเร็จเสร็จ“จบกิจ”ในเรื่อง“แก้ปัญหาเศรษฐกิจ”กันแท้ๆ ยืนยัน“ตัวอย่าง”ใน“คน”ที่มีความเป็น“คน”เช่นเดียวกันกับคนทั้งหลายในโลก ว่า วิชชาการสุดวิเศษ ที่แก้ปัญหาเศรษฐกิจได้สำเร็จเสร็จ“จบกิจ”ยั่งยืนถาวรนิรันดรนั้น“มี”จริง สากลคนทั่วไปเข้าใจกันตามที่ลอกมาจากที่ท่านผู้รู้ทางเศรษฐศาสตร์เทฺวนิยมแปลกันไว้ ดังที่ยกมาอ้างอิงไว้ข้างบนนั้น ถ้าพินิจเข้าไปให้เข้าถึงความหมายที่ตรงเนื้อหาแท้จริงแล้ว มันกลับเพี้ยนไปจากความเป็นจริงของเนื้อหาแท้จริงที่เป็นกันอยู่ ซึ่งมีนัยสำคัญอยู่อย่างยิ่งยวดทีเดียว เริ่มประเด็นที่ ๑ นั่นคือ เศรษฐศาสตร์แบบโลกุตระของพุทธ ถ้าระบุลงไปว่า Domestic ที่แปลว่า ภายในประเทศ ก็จะ“ไม่นับ”เอา“ผลผลิต”ที่ขายได้รายได้จาก“ต่างประเทศ” หรือ“ไม่นับ”เอาที่คนไทยในต่างประเทศไปมีรายได้อยู่ในประเทศอื่นเขาแล้วส่งเข้ามาให้เราในประเทศ ปนเปกันหรอก เรา“ไม่นับ”รวมเอาที่เป็น“รายได้”ที่ได้จากภายนอกประเทศ อันไม่ใช่“รายได้”ที่ได้จาก“ผลผลิต”ที่ผลิตจาก“ภายในประเทศโดยเฉพาะเท่านั้น”มารวม คำว่า “รายได้ที่เกิดภายในประเทศ”นั้น ต้องไม่รวมเอา“รายได้”ส่วนที่ได้จากต่างประเทศเข้ามารวมด้วยเลย ไม่ว่าจะเป็น“รายได้”จากสินค้าที่ไม่ใช่ผลผลิตของไทย หรือจากคนไทยที่ไปมีรายได้จากต่างประเทศ ก็ให้เอาเฉพาะที่เป็น“รายได้ภายในประเทศ”ที่ได้จาก“ผลผลิตภายในประเทศไทย และขายกันระหว่างคนไทยในประเทศไทยเท่านั้น” ที่นับเป็น“รายได้มวลรวมภายในประเทศ” คือ เอาของ“คนไทยที่ผลิตเองขายกันเองในประเทศไทยเอง เป็นรายได้“ทั้งเงินทั้งผลผลิตเฉพาะของคนไทยเองเท่านั้น”จริงๆ “ความแตกต่าง”ของแนวคิดทาง“เศรษฐศาสตร์”ของทุนนิยม หรือที่ยังเป็นแบบ“โลกียะ”ทั่วไปในโลกสากลกับแบบ“โลกุตระ”ของ“พุทธ”ที่เป็น“บุญนิยม” มีเฉพาะของพุทธนั้นมีนัยสำคัญหลายนัยะ หลากมิติ มากประเด็น ตามประเด็นที่ ๑ ที่สาธยายมานั้น ก็คือ ทั้งๆที่ท่านนักเศรษฐศาสตร์เทฺวนิยมกำหนดหมายว่า “รายได้มวลรวมที่เกิดขึ้นในประเทศเท่านั้น” แต่นักเศรษฐศาสตร์เทฺว นิยมไพล่ผิดเพี้ยนไปคิดเอา“รายได้”ซึ่ง“มันไม่ใช่รายได้มวลรวมที่เกิดขึ้นในประเทศเท่านั้น” ตามกำหนดหมายและพูดๆกันอยู่ทั่วไปเป็นสากลหรอกนะ! ทว่ามันเป็น“รายได้มวลรวม”ที่บวกเอารายได้จากการขายผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ของตนเองที่ผลิตภายในประเทศของตนเองแท้ๆ เมื่อส่งออกไปขายแก่ต่างประเทศได้รายได้มา ก็เอา“รายได้”จากต่างประเทศมารวมกันกับทั้งที่จาก“ผลผลิต”ขายในประเทศด้วยรวม“รายได้เข้าเป็นมวลรวม” มันก็รวมเป็น“รายได้”ที่ขาย“ผลผลิต”ได้ทั้งจากขายให้ต่างประเทศ รวมกับ“รายได้”ทั้งที่ขายได้ในประเทศ มันเป็นการเหมารวมปนภายนอกกับภายในเป็น“มวลรวม”ทั้งหมดหนะซี! นั่นมันไม่ใช่“การขายผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ของตนเองในประเทศตนเองเท่านั้น” แท้จริงกันที่ไหน? มันยัง“ขี้ตู่”ไปผนวกเอา“ผลผลิต”ที่ขายให้ต่างประเทศ แล้วได้“รายได้”จากต่างประเทศ”แถมเข้ามาอยู่ดี มันก็เป็น“รายได้มวลรวม”ที่ไปนับเอา“รายได้”จากที่ขาย“ผลผลิต”ออกไปให้แก่ต่างประเทศโน่นมา “รวมเป็นรายได้ปนเปเข้าไปด้วยอีก” แล้วหลงผิดนับว่า เป็น“รายได้มวลรวมเฉพาะภายในประเทศ” …มันสำคัญผิดไปมั้ย? พินิจดูกันให้คมๆ แม่นๆ ชัดๆ กันเถิด พินิจกันลึกๆชัดๆคมๆแม่นๆแล้ว จะเห็นว่า ที่ว่า“รายได้มวลรวมในประเทศเท่านั้น” หรือจากภาษาที่ว่า Gross Domestic Product นี้ มันเป็น“รายได้มวลรวม”คือ Gross ที่ถูกต้องตรงตามความกำหนดหมายกันแล้วหรือไม่ใช่? มันเป็น“รายได้มวลรวม”ที่เกิดขึ้น“เฉพาะภายในประเทศเท่านั้น”จริงหรือ? มันต้องเอา“รายได้ที่เกิดขึ้นจากการนับ‘รายได้’อันได้ขายผลผลิตของไทยที่ไทยผลิตขึ้นได้”กันในประเทศ”เท่านั้นเป็น“รายได้มวลรวมจากผลผลิตของไทยเอง”ตะหาก ประเด็นที่ ๑ นี้ จึงเป็นการหลงผิดในการขาย“ผลผลิต”ที่ควบรวม“รายได้”จากภายนอก ของ“ผลผลิต”ที่ส่งออกไปขายนอกต่างประเทศ และหรือนับเอาของคนไทยที่ไปได้“รายได้”อยู่นอกต่างประเทศแล้วส่งเงินเข้ามาให้คนไทยในประเทศไทย ว่า เป็น“รายได้มวลรวม”เฉพาะของไทยคนไทยภายในประเทศไทยเท่านั้น ว่า เป็นการขาย“ผลผลิตไทยกันเองภายในประเทศเท่านั้น” แต่หลงว่า“รายได้มวลรวมเฉพาะภายในประเทศ” “เศรษฐกิจ”ประเด็นที่ ๑ นั้นกำหนดหมายผิดเพี้ยนตรงหลงควบรวมเอาที่“ไม่ใช่ภายในเท่านั้น”แท้ๆ มาควบรวมเป็น“ภายในแท้”เข้าไปด้วยอย่างสับสนอยู่ ไม่“ตรง”แท้ พ่อครูว่า… ถ้าจะว่าเศรษฐกิจที่โลกเขาหมายถึงเราไม่ได้มีเรื่องเศรษฐกิจไม่ใช่ เราก็มีเรื่องเศรษฐกิจด้วย ทุกคนเกี่ยวเนื่องกับเศรษฐกิจทั้งนั้นจะว่าไปแล้ว คือเป็นสมาชิกของประเทศสมาชิกของสังคมก็ต้องอยู่กันอย่างที่เขาหมายความว่าผู้บริหารจะต้องแบ่งแจกทรัพยากรให้มีอยู่มีกินกันอย่างทั่วถึง แต่ถ้าไม่มีการลดกิเลสมีสมรรถนะสร้างสรรทำให้เหลือให้เกินแล้วเผื่อแผ่ผู้อื่นมันก็ไม่พอ ต้องทำอย่างที่พระพุทธเจ้าพาทำ อาตมาพาทำพวกเรานี้เป็นพวกที่แก้ปัญหาเศรษฐกิจจบ และมีผลช่วยสังคมประเทศอยู่ทางเศรษฐกิจ จบแค่นี้ก่อน คุยต่อไปเดี๋ยวจะมากกว่านี้อีก สมณะเดินดิน… สรุปจบ ประเด็นที่ ๒ คือ ความหลงเพี้ยนๆผิดๆ ที่มักจะวิปลาสไปหลงคิดเอา“ตัวเลข”กัน มากกว่าที่เจาะให้ลึกลงไปคิดเอา“เนื้องาน”หรือ“ผลผลิตที่เกิดจากการทำงานโดยตรงของคนผู้ทำงาน”เป็นสำคัญ คนมักจะหลงผิดไปกำหนดหมายเอา“ตัวเลข”หรือ“จำนวนตัวเลข”มาเป็นเครื่องชี้ว่า เป็น“ความเจริญเนื้อแท้”ของคนกัน ไม่ว่าจะเป็นการแข่งดีทางค้าขายหรือธุรกิจ แม้แต่จะเป็นการแข่งขันของนักการเมืองหรือพรรคการเมืองซึ่งเป็นประชาธิปไตยที่หลงสำคัญกันที่“การเลือกตั้ง” ล้วนมุ่งมั่นหมายแข่งกันที่“ตัวเลข”กันนั่นเอง ที่กำหนดหมายกันผิดอยู่ เพราะพากันเผลอเผินไปหลง“ตัวเลข”กัน ว่า เป็น“เนื้อหาแท้จริง” ไม่กำหนดหมายกันที่“การทำงานของคน”ที่เป็นผู้มีความรู้ในเรื่อง“เศรษฐศาสตร์” แบบ“โลกุตระ”ของพระพุทธเจ้า หรือการเมืองก็เช่นกัน ก็ไปหลงกันที่“ตัวเลข” ไม่ไปสำคัญมั่นหมายกันที่“ตัวนักการเมือง”หรือกำหนดหมายกันที่“ผลงานของนักการเมืองทำจริง”มายืนยันเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า เป็นความสำคัญที่เป็นเนื้อหาแท้จริงยิ่งกว่า “ตัวเลข”ของ“การนับคะแนนเอาที่การเลือกตั้ง” ที่แฝงไปด้วยเล่ห์กลสารพัด มันจึงไม่ตรงสัจธรรม หรือความเป็นจริงกันได้จริง “เศรษฐกิจ”ประเด็นที่ ๒ นี้ โลกียะหรือเทฺวนิยมจะวิปลาสไปคิดเน้น“ตัวเลข”แทนที่จะคิดเอา“เนื้องาน”ที่เป็น“ผลผลิตของคนผู้ผลิต”หรือสำคัญมั่นหมายกันที่“คนผู้ทำงานผลิตจริง” เป็นความเจริญทาง“เศรษฐกิจ”หรือ“การเมือง”กันแท้ ประเด็นที่ ๓ นั่นคือ “โลกียะ”นับเอา“ผลได้” ที่เมื่อ“ได้เปรียบ”คู่แข่งขัน หรือผู้อื่นแล้ว เราได้ทำเกิน“ทุน”มาเป็น“ของเรา” มีผลมากเกินกว่า“คนอื่น”แท้ เมื่อ“เปรียบเทียบ”ก็เป็น จริง คือเขาถือว่า เป็น“ความเจริญ”หรือ“ความก้าวหน้า”ของความเป็น“เศรษฐกิจ”ในความเป็นชีวิตคนหรือสังคม ก็ถูกของเขา ที่เขา“ยึดถือของเขาชาว“โลกียะเทฺวนิยม”เป็นสากล ชาว“โลกียะ”มีความยึดถือเช่นนี้ เข้าใจและเชื่อว่า อย่างนี้แหละว่า“ถูกต้อง”ดีจริง ความเป็น“โลกียธรรม”จะไม่ยอม“เสีย(สละ)ไปให้ใคร” ไม่ยอม“ขาดทุน” จะมีแต่“เอาเปรียบ-ได้เปรียบ”ถือว่า เป็นความเจริญ เป็นอารยะ(ศิวิไลซ์ civilize) หากจะ“เสียสละออกไป”ก็จะคิดเป็น“ราคาของคุณงามความดี-ความเขื่องคุณ”ที่ตนให้แก่คนอื่นได้เป็น“ความยึด” ซับซ้อนขึ้นไปอีก แล้วยึดติดใส่จิตตนเองเป็น“ตน(อัตตา)” เป็น“ของของตน(อัตตนียา)”อยู่ และนับเป็น“บุญคุณ”ที่ตนมีต่อผู้อื่น นี้คือ ความยึด มันคือ“อุปาทาน”ที่เป็น“กิเลส”แท้ๆ “ความยึด”ภาวะนั้นๆเป็นตน-เป็นของตนนั้น มันคือ“อุปาทาน”นะ! เป็น“กิเลส” ทั้งๆที่“กิเลส”มันไม่ใช่“บุญ”เลยแม้แค่นิดน้อย “อุปาทาน”มันเป็น“การยึด”แท้ๆ แต่ก็เพี้ยนไปยึดเอา“กิเลส”มาเป็น“บุญ” แล้วก็หลงผิดว่า “ความยึด”เป็น“กุศล” “บุญ”ต้อง“ไม่มี”อาศัยอยู่ในชีวิต ส่วน“กุศล”นั้นต้อง“มี”อาศัยอยู่ในชีวิต ที่ถูกแท้นั้น “บุญ”คือ “การทำลายความยึด” “บุญ”ไม่ใช่“การไปยึดมามีไว้” แต่“กุศล”มันต้อง“มี” มันต้องสะสม “กุศล”จึงแตกต่างจาก“บุญ”ที่มันไม่ต้อง“มี” “บุญ”มันก็“ผิด”ไปจาก“สัจจะ”ที่แท้ของ“โลกุตระ”กันอย่างอวิชชาหรือมิจฉาทิฏฐิ เพราะไพล่ไปเห็น“กุศล”เป็น“บุญ”อันผิดเพี้ยนไปจาก“สัจจะ”คนละทิศละทางเลย “บุญ”มันไม่ใช่“สมบัติ”ที่จะ“มีสะสมไว้” ซึ่งแตกต่างจาก“กุศล”ที่คนต้องสะสม แต่“บุญ”เป็นแค่“พลังงานจิต”ที่สร้างให้เกิดเป็น“ฌาน”เป็น“ปัญญา” เผากิเลสเท่านั้น “บุญ”มีหน้าที่ทำแต่“วิบัติ”ทำลาย“กิเลส หรือมีหน้าที่ฆ่ากิเลสให้ดับสิ้น “บุญ”ไม่มีความเป็น“สสาร” ไม่ว่าทางวัตถุหรือทางจิต เพราะ“บุญ”ไม่จับตัวกัน ขึ้นเป็นกลุ่มก้อนเด็ดขาด มันเป็นแค่“พลังงานทางจิต” ซึ่ง“บุญ”นี้จะไม่“ทรงอยู่” เป็น“ธรรม”เกินกว่า“ปัจจุบันชาติ” เนื่องจาก“บุญ”เพียงทำหน้าที่เป็น“พลังงานขึ้นได้ในปัจจุบันของอาริยชนโลกุตระ”เท่านั้น “บุญ”ไม่เกิดใน“อดีต”หรือไม่่เกิดใน“อนาคต” “บุญ”เกิดใน“ปัจจุบันชาติ”เท่านั้น ถ้าไม่ใช่ปัจจุบันที่เป็นคนผู้มีพร้อม“ตาหูจมูกลิ้นกาย”ตื่นเต็มทำงานร่วมกันกับ“ใจภายใน”เป็น“ภาวะ ๒”แล้วไซร้ “บุญ”ก็เกิดไม่ได้ “บุญ”เป็น“พลังงานจิต”ที่ทำหน้าที่“ประหารกิเลส”เท่านั้น ไม่มี“คุณวิเศษ”อื่น “เศรษฐกิจ”ประเด็นที่ ๓ นี้ชาวเทฺวนิยมโลกียะเขาหลงผิดนับนับเอา“ความได้เปรียบ” นับส่วนที่ได้เกิน“ทุน” หรือได้เกินกว่า“คนอื่น”นั้นๆ ถือว่า เป็น“ความเจริญ”หรือ“ความก้าวหน้า”ของความเป็น“เศรษฐกิจ”ในความเป็นชีวิตคนหรือสังคม ซึ่งมันตรงกันข้ามกับ“เศรษฐกิจ”ของชาวโลกุตระกันคนละทิศละทางกันเลย “เศรษฐกิจ”ของชาวโลกุตระนั้นนับเอา“ความเสียสละ”ซึ่งเป็น“ความเสียเปรียบ” นั่นเอง ว่าคือ“การได้กำไร” เพราะเสียสละก็“ทำประโยชน์แก่ผู้อื่น” และก็แค่“สักแต่ว่าทำ” ไม่“ยึดเป็นตัวตน” หรือปฏิบัติจนกระทั่งไม่ยึดมา“เป็นตน-เป็นของตน”ได้สำเร็จจริง นี้คือ “คุณวิเศษ”ที่ชาวโลกุตระ“ทำได้” ซึ่ง“ยึด-ไม่ยึด”นี้ชาวโลกียะยังไม่ศึกษา “ความยึด”ภาษาวิชาการว่า “อุปาทาน”นี้เอง คือ “กิเลส”ที่ต้องศึกษาและพิชิตมัน “เศรษฐกิจ”ของชาวโลกุตระจึงแตกต่างกับขาวโลกียะเทฺวนิยม ยิ่งกว่าดาวคนละดวง ประเด็นที่ ๔ นั้นคือ ความเป็น“โลกุตรธรรม”นี่แหละสำคัญมากยิ่ง ได้แก่ “ขาดทุนของเรา คือ กำไรของเรา” ประเด็นนี้แหละที่ชาว‘เทฺวนิยมโลกียะเขายังทั้งไม่รู้จักรู้แจ้งรู้จริงในความลึกล้ำของความจริงนี้ ทั้งยังไม่ได้ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติกันให้สำเร็จได้ อย่าง ภาคภูมิใจ เต็มใจ อิ่มเอมใจ เกษมใส ใจเกื้อกูล เพิ่มพูนการเสียสละจริงๆจังๆกันเลย ชาวพุทธที่เจริญอาริยธรรมเป็น“โลกุตระ”กันได้สำเร็จจริงๆนั้น จะนับเอา“การขาดทุนของเรา” เป็น“ความเจริญพัฒนาก้าวหน้าของเรา” ด้วยความบริสุทธิ์ใจที่จริงใจด้วย“ปัญญา”อันยิ่ง ว่า ความเป็นผู้ประเสริฐแท้จริงนั้น คือ คนผู้เสียสละ ผู้ขาดทุนให้แก่ผู้อื่น..ดี แพ้ผู้อื่น..ได้ แต่จะไม่ยอมเป็นผู้ผิด ไม่ยอมทุจริต แล้วยินดี เต็มใจเป็น“ผู้รับใช้ผู้อื่น-รับใช้สังคมประเทศชาติ หรือรับใช้โลก ที่ไม่ใช่ทาส หรือไม่ใช่ผู้รับจ้าง เป็นอันขาด ผู้เป็น“อาริยบุคคล”แบบ“โลกุตระ” จึงไม่ใช่ทั้ง“ทาส”ทั้ง“เทพ”หรือเทฺวะผู้ยิ่งใหญ่ใด เพราะเป็นผู้รู้จักรู้แจ้งรู้จริงรู้จบความเป็น“เทพ”หรือ“เทฺว”แม้จะยิ่งใหญ่ที่สุดปานใด ความเป็น“ทาส”คือ ผู้ยังมี“ตัวตน”แล้ว ไม่รู้ว่า “ตนเองเป็นทาส”ที่หลงรับใช้ตัวเองก็ละลดความเป็น“ทาส”ได้ไปตามลำดับ เป็นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ ชีวิตที่มีอยู่ จึงอยู่อย่างมี“ปัญญาอันยิ่ง”ว่า ยังมีแรงทำกรรมที่เป็นประโยชน์ได้ จึงอยู่อย่าง“เสียสละ” หรือรับใช้ผู้อื่นที่เหมาะที่ควร ชนิดที่ไม่ยึดติดความเป็น“ตัวตน”กันแท้ ผู้หมดสิ้น“อัตตา” หรือหมดสิ้นตัวตน เป็นคนตามที่กล่าวนี้จริงใจ จริงกาย ไม่เสแสร้ง จึงเป็น“งัวงานเศรษฐกิจ”ที่ซื่อสัตย์ จริงใจ เต็มใจแก่สังคมมนุษยชาติอยู่ในโลกนี้แท้ ประเด็นที่ ๕ ยิ่งชัดเจนแจ่มแจ้งที่สุดในความเป็น“โลกุตระ”ที่แตกต่างยิ่งใหญ่จากระบบ“ทุนนิยม”หรือแบบชาว“เทฺวนิยมโลกียธรรม”สามัญของปุถุชน นั่นก็คือ ชาว“โลกุตระ”ผู้บรรลุอรหันต์แล้ว ไม่มีอารมณ์“สุข”กับ“การได้กำไร” และไม่มีอารมณ์“ทุกข์”กับ“การขาดทุน”เลย การทำ“เศรษฐกิจ”จึงสบายกายที่สุด สงบใจที่สุด หรือแม้แต่ผู้ยังไม่บรรลุอรหันต์ก็ตาม ที่“สัมมาทิฏฐิ”ดีแล้ว ก็จะพยายามตั้งใจ“ไม่ทุกข์”กับ“การขาดทุน” แต่กลับจะ“ยังมีสุข”เกิดขึ้นบ้างในจิตของผู้ยังไม่บรรลุอรหันต์ก็ตาม เพราะมี“สัมมาทิฏฐิ”ในความเป็น“โลกุตระ”ดีแล้ว “ความสุข”ที่เป็น“มายา”ตัวร้ายกาจเก่งยิ่ง คือ“ความทุกข์”แปลงร่างหลอกคนนี้เองที่ต้องเรียนรู้อย่างสำคัญสุดๆ กระทั่งมี“ปัญญา”รู้จักรู้แจ้งรู้จริง“ความจริง”อันยิ่งใหญ่นี้ได้ จึง“จบกิจ”ที่จะยังหลงงงมงายวิ่งไล่เป็นทาส“พระเจ้า”ผู้สถาปนาตนเอง ยึดเอาความเป็น“เจ้าของสุข”ที่จะประทาน“สุข”ให้แก่“ทาส”ผู้ปล่อยไม่ไป เพราะยังมี“อวิชชา” ดังนั้น ผู้มี“วิชชา” อันคือ“ปัญญา”หลุดพ้นจากความเป็น“ทาส”จาก“เทพ”หรือจาก“พระเจ้า”ได้จริง จึงคือ ผู้รู้จักรู้แจ้งรู้จริงรู้จบ ทั้งความเป็น“ทาส”เป็น“เทพ”เป็น“พระเจ้า” เพราะได้ศึกษาปฏิบัติจนกระทั่งสามารถทำ“จิต เจตสิก รูป”ให้บรรลุ“นิพพาน”สำเร็จแท้ “เศรษฐกิจ”แบบโลกุตระ จึงไม่ใช่ผู้่ติดยึดอยู่กับ“ตัวเลข”จนทำให้พา“สุข”พา“ทุกข์” ประเด็นที่ ๖ นี้มันยากยิ่งมากๆเลยที่ชาว“เทวนิยมโลกียะ”จะรู้จักรู้แจ้งรู้จริงกันได้ นั่นคือ เครื่องชี้บ่งความเจริญก้าวหน้าของชาวโลกุตระนั้น “ตัวเลข”ที่แจ้งผลรวมสรุปของ“รายได้การค้าขายแต่ละครั้งคราว แต่ละไตรมาส หรือแต่ละ ๖ เดือน หรือแต่ละปี แต่ละ ๕ ปี ๑๐ ปี อะไรพวกนี้ “โลกุตระ”จะรู้แจ้งรู้จริง“ตัวเลข”ที่ น้อยลงๆ หรือ“ขาดทุน” ถึงเจริญสุดคือ “๐” แม้แต่จะ“๐”ในสังคมของเราชาวโลกุตระ ก็ยังอยู่ได้ มีชีวิตพออยู่พอกิน สบาย สงบ อบอุ่น อิ่มเอม เกษมใส ใจเกืิ้อกูล เพิ่มพูนการเสียสละ”อยู่ จึงเป็นผู้ขาดทุน”ให้แก่สังคมแก่โลกชนิดที่ มี“ปัญญา”แท้ ที่รู้ชัดเจน จบจริง จึงนับเป็นเศรษฐกิจที่มีความเจริญก้าวหน้าแปลกประหลาดมหัศจรรย์ สำคัญยิ่งกว่าเศรษฐกิจที่ชาวทุนนิยมโลกียะเขานับว่า เป็นความเจริญก้าวหน้าของเขาชาวเทฺว นิยมโลกียะในโลกส่วนใหญ่ ประเด็นที่ ๗ นี้ยิ่งแสดงถึงความทะนงองอาจแกล้วกล้าของ“จิตวิญญาณ”ที่มั่นใจใน“สมรรถนะ”และ“ความขยัน”ของตนๆ ของหมู่กลุ่มสังคมโลกุตระที่อยู่กันอย่างมีชั้นมี ลำดับสูงกลาง-ต่ำของแต่ละคนที่ต่างก็ปฏิสัมพันธ์กันอยู่เป็น“เอกภาพ”ยิ่งนั้น ตาม“วรรณะ ๙” ที่แต่ละคนของกลุ่มสังคมชุมชนโลกุตระนั้นๆ อยู่เป็นสังคม“สาราณียธรรม ๖” นั่นคือ การอยู่ร่วมกัน ด้วย“เมตตากายกรรม-เมตตาวจีกรรม-เมตตามโนกรรม แต่ละคนทำงานได้ลาภโดยธรรมแล้วก็เอามารวมกันเป็นสาธารณโภคี กินใช้เป็นกองกลางเดียวกัน แต่ละคนมีอินทรีย์พละไม่เท่ากันอยู่แน่ เพราะต่างคนต่างยังมี“ความเข้าใจ”ไม่เท่ากันหรือ“ทิฏฐิ”ไม่เท่ากันแต่กันอยู่กันอย่างเสมอสมานกัน รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาวกัน ศัพท์คือ “ทิฏฐิสามัญญตา” และต่างคนต่างมีการปฏิบัติตามศีลที่ตนทำได้ของตนๆ และเคารพผู้มีศีลสูงกว่า อนุโลมผู้มีศีลต่ำกว่า ก็เป็น“ศีลสามัญญตา” ฉะนี้คือ ชุมชนคน“สาราณียธรรม ๖” “เศรษฐกิจ”ที่มีในสังคมนี้ก็คือ ทุกคนทำงานได้ผลผลิตหรือรายได้เท่าไหร่ ก็นำมารวมเป็นกองกลาง ซึ่งเท่ากับทุกคนอยู่ในกงสี หรือเสียภาษีให้กองกลาง ไม่แบ่งออกไป ไม่แย่งกัน เพราะเป็นคนมีปัญญาอันยิ่งเข้าใจ“ความจริงที่เป็นโลกุตรธรรม” ของการไม่ยึดตัวตน ไม่เอามาให้ตัวตน แม้เราจะยังมีกิเลสเหลืออยู่ก็ขัดเกลาของตนเองที่จริงไปตามขั้นตอน ประเด็นที่ ๘ แม้ที่สุดเงิน“คงคลัง”ของชาวโลกุตระ ก็จะพยายามเหลือเก็บไว้ให้“น้อยที่สุด”เท่าที่จะสามารถทำการสะพัดให้ได้เร็วและออกไปมากที่สุด เท่าที่จะสามารถรักษาสภาพการอยู่ได้ไปกับกระแสหมุนเวียนของสังคมในช่วงไม่ใกล้ไม่ไกลนัก โดยอ่านเอาจากสมาชิกของสังคมนั้นๆแต่ละสังคมว่า คนมี“ความรู้ความสามารถ”กับ“ความขยัน”แท้ๆที่เป็น“ต้นทุนสำคัญสุด”เป็นหลักเป็นการประเมินประมาณได้ว่า นี่คือ“ต้นทุนที่สำคัญยิ่งยอดแท้”ของเรา ที่ไม่มีขาดหายไปจาก“ทุนแท้”ของคนของสังคม เพราะมั่นคงยั่งยืนแน่นอนตลอดคนนั้นตายอยู่เสมอแล้ว แม้จะมี“คน”ในสังคมนั้นพิการไป หรือแก่เฒ่าลงเรี่ยวแรงในการทำงานก็จะน้อยลงไปบ้าง เป็นธรรมดา คนผู้บรรลุเป็น“อาริยบุคคล”แล้ว ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป จนกระทั่งถึงพระโพธิสัตว์ระดับสูงสุด ที่สุดเป็นพระพุทธเจ้า ก็จะมี“ปัญญา”รู้การอลุ่มอล่วยอนุโลม-ปฏิโลมกันไป จึงยิ่งมีแต่จะเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ยิ่งๆขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่มีถดถอยเลย ซึ่งคนผู้จัดการใช้ความยืดหยุ่นทางใจของตนได้ดีรู้่จักทำความผ่อนหนักผ่อนเบา ผ่อนสั้นผ่อนยาว ให้เท่าทันกับเหตุการณ์สถานการณ์ แต่กระนั้น“ต้นทุนที่สำคัญวิเศษยิ่งสุดเป็นต้นทุน”อันคือ“ฌานวิสัยของคนผู้นั้น” จะอยู่กับตนไปจนกระทั่ง“ทำตายให้แก่ตนเองไป”เป็น“ปริโยสาน”นั่นทีเดียว จะไม่ใช่“ความเที่ยงแท้”ที่ได้แค่ความยึดมั่นถือมั่น(อุปาทาน)“อัตตา”ของตนอยู่เท่านั้น แต่เป็นผู้หมดสิ้นความเป็น“อัตตา”ของตน เป็นผู้มี“อนัตตาธรรม”แล้ว และมีคุณวิเศษตาม“มูลสูตร ๑๐”ได้สำเร็สัมบูรณ์ ฉะนี้คือ “ความเที่ยงแท้”ที่วิเศษสุด ไม่มีตกต่ำอีกเลย จะเวียนเกิด-เวียนตายไปอีกกี่ชาติต่อกี่ชาติก็ตาม ไม่เปลี่ยนแปลงไปจาก“ความเจริญงอกงามไพบูลย์”แล้วเด็ดขาด จะไม่เหมือน“เทฺวนิยม”ซึ่งยัง“ไม่มีความเที่ยงแท้เด็ดขาด” แม้จะได้เป็น“พระศาสดา”องค์ใดองค์หนึ่งแล้ว ก็ตาม ซึ่งศาสดาเทฺวนิยมนั้นยัง“ไม่รู้(อวิชชา)”หรอกว่า เมื่อท่านตายลงก็จะไปอยู่กับ“พระเจ้า”นิรันดรนั้น มันก็ยัง“ไม่เที่ยง”ตามที่ท่านเชื่อถือกันเลย “อัตตา”ของพระศาสดาของเทฺวนิยมทุกองค์ เมื่อสิ้นชีวิตลงก็จะต่้องเวียนว่ายตายเกิดกันอีกนับชาติไม่ถ้วน เพราะท่านยังไม่มีความเป็น“อมตะ”แบบ“โลกุตรธรรม”ที่มี “มูลรากของคุณวิเศษ ๑๐”(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๔ ข้อ ๕๘ “มูลสูตร ๑๐”) ความเป็น“อมตะ”นั้น ต้องมีเหตุมีปัจจัยในจิตวิญญาณว่า มี“คุณวิเศษ ๑๐” ได้แก่ มีความยินดี(ฉันทะ)เป็นรากเหง้าของจิต(มูลกา)-มีการทำใจในใจ(มนสิการ)เป็นแดนเกิด (สัมภวะ)-มีการกระทบสัมผัส(ผัสสะ)เป็นเหตุเกิด(สมุทัย)-มีความรู้สึก(เวทนา)เป็นที่ประชุมลง(สโมสรณา)-มีจิตตั้งมั่น(สมาธิ)เป็น“หัวหน้า(ปมุข)-มีความระลึกรู้ตัว(สติ)เป็นใหญ่(อธิปไตย)-มีความรู้ความฉลาด(ปัญญา)เป็นยิ่ง(อุตตระ)-มีความหลุดพ้น(วิมุติ)เป็นแก่น(สาระ)-มีกรรมสิทธิ์อยู่เหนือการเกิด-การตายของตนที่จะทำเกิดทำตายให้แก่ตนเองได้สุดวิเศษ(อมตะ)-มีการดับกิเลสสิ้นเกลี้ยง(นิพพาน)ถึงขั้นสามารถทำการตายเป็นที่สุดไปเลยแยกธาตุจิตของตนเป็นดินน้ำไฟลมไปไม่เหลือตามที่ตนต้องการเมื่อใดก็ได้(ปรินิพพานเป็นปริโยสาน) ไม่ใช่ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยที่บอกแจ้งถึง“ต้นทุนที่สำคัญยิ่งเป็นทุนแท้”ที่ตนพึงมีอยู่จริง ได้ชัดเจน ตามที่ได้สาธยายมานั้นแน่นอน “ต้นทุนที่สำคัญยิ่งเป็นทุนแท้”นี้ จะไม่หมดไม่หายไปไหน เพราะมันเป็น“สมบัติ ในตัวคนติดตัวคน”ไปจนตาย เป็น“กรรมที่เป็นของของตน(กัมมัสสกะ)-กรรมเป็นมรดกวิบากของตน(กัมมทายาท)-กรรมจะพาตนเป็นไปดำเนินไป(กัมมโยนิ)-กรรมเป็นเผ่าพันธ์ของตน(กัมมพันธุ)-กรรมเป็นที่พึ่งอาศัยของต(กัมมปฏิสรโณ)”ที่สะสมเป็น“สัมภารวิบาก”ติดตัวเรา จะตายแล้วเกิดใหม่ไปอีกกี่ชาติต่อกี่ชาติ เมื่อเป็น “อาริยบุคคล”แล้ว “กรรมวิบาก”ที่เป็น“อาริยธรรม”แล้วของตนก็จะมีแต่เจริญ งอกงาม ไพบูลย์เป็นลำดับไปยิ่งๆ “เที่ยงแท้-ยั่งยืน-ตลอดไป-ไม่มีตกต่ำอีกแล้วเป็นธรรมดา-ไม่มี อะไรหักล้างได้แล้ว-ไม่กลับกำเริบ” ฉะนี้คือ GDP ย่อมาจาก Gross Domestic Product หรือแปลเป็นไทยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ แปลจากไทยเป็นไทยอีกที คือ การที่นับรายได้ที่เกิดขึ้นจากในประเทศเท่านั้น ไม่ว่าจะสัญชาติใดก็ตาม โดย GDP ประเทศไทย จะนับการคำนวณเฉพาะรายได้ที่เกิดขึ้นในไทยเท่านั้น ที่คนผู้มีความรู้เรื่อง“เศรษฐศาสตร์”ได้แค่แบบ“เทฺวนิยม”ที่ยังเป็น“โลกียะ”เท่านั้น จะไม่รู้เรื่อง“เศรษฐศาสตร์”ที่เป็น“โลกุตระ”อย่างที่ได้สาธยายมา ทีนี้ มาดู GDP ที่ได้มาจากตัวย่อของ Gross Democracy Product ตามประสาอาตมา ที่ลองอวดภูมิ ที่คนเคยว่า อาตมา“ดัดจริต” ก็จริง อาตมาพยายาม“ดัดจริต”ตนเอง ทำ“จริต”ให้มันลดเลิก“ทุจริต” ให้มัน“สุจริต”ขึ้น ยิ่งขึ้นๆ ให้เก่งที่สุด ให้ได้เสมอๆ ไม่ได้หยุดหย่อน โดย“การทำจิตในจิตของตน(มนสิการ)” เพราะ“จิตเป็นประธานสิ่งทั้งปวงฯ(พตปฎ. ๒๕ ข้อ ๑๑) เป็น“ปรมัตถธรรม” และ“อาการกาย-วาจาอย่างอื่นที่เราควรทำ ดีกว่านี้ ยังมีอีก” ตามพระอนุสาสนีของพระพุทธเจ้าที่ตรัสสอนไว้ใน“อภิณหปัจจเวกขณะ ๑๐”อยู่จริงๆ Gross Democracy Product ตามที่อาตมาดัดจริตเรียกนี้ ก็คือ “ผลผลิตในความเป็นประชาธิปไตย ที่มีมวลรวมทั้งหมดอยู่ในสังคมนั้นๆ” มันคืออย่างไร? แบบไหน? โดยเฉพาะ“ความเป็นประชาธิปไตย”ที่อาตมามีความเข้าใจตาม“ปัญญา”ของอาตมานะ ว่า “ความเป็นประชาธิปไตย”แบบ“พระพุทธเจ้า”ซึ่งเป็น“โลกุตระ” ไม่ใช่“ความเป็นประชาธิปไตย”แบบชาวตะวันตก ยุโรป อเมริกา ฯลฯ หรือที่ยังเป็น“โลกียะ”ตามแนวคิดของชาว“เทฺวนิยม”ทั้งหลายประดามีอยู่ในโลก แต่ต้องเป็น“ประชาธิปไตย”ที่มี“พุทธอาริยธรรม”อัน“สัมมาทิฏฐิ”แท้ๆถูกต้องถ่องแท้จริงๆด้วยนะ! ถ้ากลุ่มหมู่มวลประชาชนนั้นๆปฏิบัติเป็น“สัมมาทิฏฐิ”ถูกต้องถ่องแท้จริงตาม “โลกุตรสัจจะ”ของพระพุทธเจ้า ก็จะ“เกิดผลผลิต”เป็น“ประชาธิปไตย”ที่มี“อาริยธรรม” อันเป็น“โลกุตรธรรม” และเกิด“ปรากฏการณ์”ขึ้นในสังคมมนุษย์นั้นๆจริงได้แน่นอน ซึ่งจะสามารถ“วัดค่า”ของความเป็น“ประชาธิปไตย”ได้จากความมี“เศรษฐกิจ-การเมือง-สังคม”ในหมู่มวลชนกลุ่มนั้นๆ ใน“สังคมนิยม”กลุ่มนั้นๆได้ชนิดที่มี“คุณค่า-คุณลักษณะ-คุณธรรม-คุณประโยชน์-คุณงามความดี-คุณภาพ-คุณสมบัติ-คุณนิธิ(คลังแห่งความดีงาม)-คุณวิเศษ ฯลฯ” เฉพาะอย่างยิ่งต้องเป็น“คุณค่า”ที่เข้าชั้น“อาริยคุณ-คุณที่เป็นโลกุตระ”ของพุทธแท้สัมมาทิฏฐิ ถ้าแม้นมีสัมมาทิฏฐิและสัมมาปฏิบัติตรงพุทธแท้เกิดสัมมาปฏิเวธได้จริง“ผลยอดเยี่ยม”ที่ปรากฏ”ก็จะมียืนยันให้สัมผัสแตะต้องได้ นั่นคือ ทำประชาชนให้อยู่ดีมีสุขถึงขั้นมี“อิสระ สบาย สงบ อบอุ่น อิ่มเอม เกษมใส ใจเกื้อกูล เพิ่มพูนการเสียสละ”กันจริงแท้แน่นอน ทุกวันนี้ในประเทศไทยยุค พ.ศ. ๒๕๐๐ นี้ ได้มี“ความเป็นประชาธิปไตย”ตามที่สาธยายมาคร่าวๆนี้แล้ว “เชิญมาสัมผัสความจริงได้(เอหิปัสสิโก)ในหมู่กลุ่มที่เรียกว่า “ชาวอโศก”หรือ“ชาว“สันติอโศก”ดูบ้าง ก็จะพบ“ความเป็นประชาธิปไตย”ที่มี“คุณ”ดังกล่าวมานั้นกันจริงๆให้“สัมผัส” ที่พูดนี้ไม่ใช่กิเลส“อยากอวดดี”หรอกนะ! แต่เป็น“การบอกความดีที่ยืนยันได้ออกมาเสนอให้ตรวจสอบหรือพิสูจน์ความจริง” ด้วยใจบริสุทธิ์โดยในจิต“ไม่มีกิเลสหรืออุปกิเลสแม้เล็กน้อยเลย” ท่านผู้ใดพอจะฟังได้ และจะเชื่อบ้าง ก็น่าจะมาสัมผัสพิสูจน์ความจริงนี้นะ อาตมาอธิบายคำสอนของพระพุทธเจ้ามาถึงวันนี้ก็ยาวนานเกิน ๕๐ ปีแล้ว พยายามสาธยายตาม“ทิฏฐิ-ปัญญา”ของอาตมาเท่าที่ได้“บำเพ็ญโพธิสัตวภูมิ”มา และมีในตัวเอง ก็มีผู้คนที่ได้ยินได้ฟัง และสนใจมาเล่าเรียนปฏิบัติตาม จนกระทั่งแต่ละคนเกิดมรรคผลจริงกันได้ แล้วนำตนเองที่ได้มรรคผลออกมาดำเนินไปรวมกัน เป็น“มวลรวม”ที่เกิด“ประชาธิปไตย”ในมวลชนกลุ่มหนึ่ง คือ แบบที่ชาว“อโศก”เป็นได้ ซึ่งพิสูจน์ทั้งในแง่ของ“เศรษฐศาสตร์ ก็บรรลุเศรษฐกิจที่“จบกิจ”ได้สำเร็จแล้ว ไม่ต้อง“แก้ปัญหาเศรษฐกิจ”กันอีก ให้หนักหนาสาหัสยิ่งขึ้นๆ ตามที่“สังคมโลกียะ”หรือชาว“เทฺวนิยมทั้งหลาย ยังแก้ไม่สำเร็จ ยังพากันหาทางแก้กันอยู่ ยังไม่สามารถเรียกได้ว่า สำเร็จ ขั้น”จบกิจ” เหมือนชาวอโศก ที่แก้ได้ด้วย“โลกุตรธรรม” แม้จะยืนยันทั้งความเป็น“การเมือง”ก็ตาม ทั้งความเป็น“สังคม”ก็ตาม ชาวอโศกแก้ปัญหาสำเร็จ “จบกิจ”ได้ ทั้งที่เป็น“เศรษฐกิจ-การเมือง-สังคม” ซึ่งเป็นสังคมที่บรรลุ“สาราณียธรรม ๖” นั่นคือ มีสังคมชุมชนที่อยู่กันด้วย“เมตตากายกรรม-เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม ลาภที่ได้มาโดยธรรมก็นำมารวมกันเป็น กองกลางกินใช้ร่วมกัน ทุกคนในชุมชนต่างก็ทำงานฟรี ไม่มีคนแบ่งแยกเอารายได้จากส่วนกลางไปเป็นของตนเลย พึ่งเกิด พึงแก่ พึ่งเจ็บ พึ่งตายกันได้ เป็นญาติธรรม ที่“ระลึกถึงกัน รักกัน เคารพกัน เอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน ไม่วิวาทกัน สามัคคีกัน เป็นเอกภาพแท้ และแสดงความจริงที่เป็นสังคมเศรษฐกิจแบบ“มีมวลรวมของรายได้สูงถึงขั้นสาธารณโภคี”ทีเดียว••••••••• พ่อครูว่า… Categories: ธรรมะพ่อครู, ศาสนาBy Samanasandin17 มีนาคม 2023Tags: พุทธศาสนาตามภูมิวิถีอาริยธรรม Author: Samanasandin https://boonniyom.net Post navigationPreviousPrevious post:660315 การเมืองและเศรษฐกิจแบบโลกุตระ พรรคสัมมาธิปไตย พุทธศาสนาตามภูมิ ราชธานีอโศกNextNext post:660320 เปรียบเทียบเศรษฐศาสตร์โลกียะกับเศรษฐศาสตร์โลกุตระ รายการปรับทุกข์ ปลุกธรรม ราชธานีอโศกRelated Posts150401 จะพึ่งอะไรดี-พ่อท่าน-วัดมหาธาตุ28 พฤษภาคม 2024141026 จูฬสุญญตสูตร ตอนที่ 2-พ่อท่าน-วัดธาตุทอง7 พฤษภาคม 2024141026 จูฬสุญญตสูตร ตอนที่ 1-พ่อท่าน-วัดธาตุทอง4 พฤษภาคม 2024670224 พ่อครูเทศน์เวียนธรรมมาฆบูชา งานพุทธาภิเษกฯ ครั้งที่ 48 ราชธานีอโศก24 กุมภาพันธ์ 2024670126 ตอบปัญหาเพื่อละอวิชชา 8 พุทธศาสนาตามภูมิ ราชธานีอโศก26 มกราคม 2024670117 ปฏิจจสมุปบาท ตอน 4 พุทธศาสนาตามภูมิ ราชธานีอโศก17 มกราคม 2024