660308 พ่อครูเทศนาภาคค่ำ งานพุทธาภิเษกฯครั้งที่ 47 ปฐมอโศก
ดาวโหลดเอกสารที่
https://docs.google.com/document/d/1wRZlsmPDR2v3HDV3QTtXTOnM9fHrc3ROd3d8OcHOeTI/edit?usp=sharing
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/11CoO2PO-r3hlxYLQQJcjhv8LArWQ2pek/view?usp=share_link
ดูวิดีโอได้ที่ https://youtu.be/vO9i3BfaJ34
และ https://fb.watch/j8gTrQ43R-/
บุญของศาสนาพุทธต้องเกิดจากจรณะ 15
พ่อครูว่า…วันนี้วันพุธที่ 8 มีนาคม 2566 ที่บวรปฐมอโศก แรม 2 ค่ำเดือน 4 ปีเถาะ
พุทธาภิเษกฯ เราก็ย่างเข้ามาได้วันที่ 4 รายการอาตมาเป็นรายการสุดท้ายของวัน ชีวิตอาตมาก็ย้ำพูดซ้ำพูดซากจนกระทั่งพูดมา 50 กว่าปีนี้ อาตมาก็ไม่เก่งที่จะพูดอะไรต่ออะไรให้ได้พิสดารไปมากมาย ก็วนเวียนอยู่แต่ในคำสอนพระพุทธเจ้า ที่เอาหัวใจ หรือเอาหลักการของธรรมะของพระพุทธเจ้านี้ มาสอนมาอธิบายมาขยายความ ซ้ำซาก แต่ซ้ำซากก็ต้องฟัง เพราะมันเป็นธรรมะอันเป็นสัจธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ไม่ใช่คนจะมารู้ได้ง่ายๆ
ศาสดาเทวนิยมทั้งหลายที่เป็นศาสดาอยู่ในโลก เป็นเจ้าของศาสนาเลยนะ ซึ่งแพร่หลายยิ่งกว่าศาสนาพุทธ แพร่หลายจริงๆ คนยอมรับนับถือกันมากมาย ครึ่งค่อนโลกเลย มีสมาชิกหรือมีผู้เป็นศาสนิกของเขามากมาย แต่ของพุทธเราไม่มากหรอก
นอกจากไม่มากแล้ว ในศาสนาพุทธเองแท้ๆนี่ก็ยังยาก ที่จะถือว่าเป็นผู้ที่มีภูมิธรรม มีปัญญาที่จะเข้าใจถึงลักษณะของศาสนาพุทธอันเป็นโลกุตระ ความรู้ของศาสนาทั่วไปก็เป็นศาสนาที่ทุกคนจะพูดตรงกันหมดว่า ศาสนาทุกศาสนาเป็นศาสนาที่พาให้คนดี ไม่ให้เป็นคนชั่ว ให้คนละชั่วมาเป็นคนดี ถูกต้องหมด ของพุทธก็ไม่ละเว้นก็เป็นคนที่มีอย่างนั้นด้วย
ซึ่งอาตมาก็ได้ย้ำให้ฟังแล้วว่า ศาสนาพุทธก็พาคนมาทำดี และสามารถทำดีได้อย่างถาวรด้วย หมายความว่าอะไร หมายความว่า ทำดี กายกรรม วจีกรรม มีมโนกรรมเป็นประธานนั้น จิตวิญญาณหรือมโนนั้น สามารถรู้จักเหตุแห่งการทำดีด้วย แล้วละเหตุแห่งการทำดีนั้น จึงไม่ทำชั่วอย่างเด็ดขาด สัพพปาปัสสะ อกรณัง(ไม่ทำบาปทั้งปวง) เพราะฉะนั้นกรรมทุกกรรมของผู้ที่เรียนรู้ธรรมะพระพุทธเจ้า จึงทำดีตลอดกาล ไม่ทำชั่วอีกเลย แม้จะมีการกระทบสัมผัสยั่วยุ ปลุกเร้า ให้ไปทำชั่วอีกด้วย ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ไปทำอีก จึงเป็นการทำดีแบบโลกุตระ ไม่ได้เป็นการทำดีแต่แค่โลกียะเท่านั้น
โลกียะไม่เที่ยง โดยเฉพาะเขาทำได้ชาตินี้ ชาติหน้าตกต่ำ ชาติหน้าไม่เที่ยงแล้ว แม้จะเป็นศาสดาเอง เกิดมาชาติต่อๆไป เขาจะไม่มีการรู้ถึงจิตเวียนตายเวียนเกิด แล้วก็เหตุที่เป็นตัวต้นเหตุในจิตนิยาม ต้นเหตุคือกิเลสนี่แหละเขาไม่ได้เรียนรู้กัน เพราะฉะนั้นเขาทำลายกิเลสไม่ได้ ได้แต่กดข่ม สังวรระวัง เฉยๆ แล้วก็ไม่มีทฤษฎีที่จะจัดการกับกิเลส
ไม่มีธาตุรู้ที่เป็นญาณปัญญา ญาณปัญญาที่หยั่งรู้เข้าไปในจิต เจตสิก รูป นิพพาน อันนี้แหละ ยิ่งใหญ่ จิตเจตสิกต่างๆ
ในเจตสิกแยกแยะออกไปอีกมากมาย หลากหลายมาก ยกตัวอย่างเช่นที่อาตมานำมาสอนพวกเรา แล้วก็เรียนรู้ได้จริง เหตุปัจจัยเกิดอย่างไรอย่างไร เวทนาเจตสิกอย่างนี้เป็นต้น เวทนาเจตสิก108 เวทนา 108 มันมีลักษณะอย่างไร
เวทนา 2 พิจารณาเวทนาในเวทนา ก็คือสามารถรู้จักเวทนา 2
เวทนา 3 เวทนา 5 เวทนา 6 เวทนา 18 เวทนา 36 เวทนา 108 อย่างนี้เป็นต้น
มีพวกเรานี่ล่ะ ชาวอโศกนี่แหละเรียน แล้วก็รู้ รู้จัก รู้แจ้ง รู้จริง ในภาษาพวกนี้ด้วย รู้แล้วก็เข้าไปจัดการ ปรับปรุงหรือปรุงแต่ง ปรับแก้ ทำให้จิตเจตสิกเหล่านี้ ดีขึ้น ลดกิเลสได้จริง มีโพชฌงค์ 7 สามารถมีธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ มีสติสัมผัสแล้วมีสติตื่น มาสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เห็นทางกายกรรม ทางวจีกรรม ทางมโนกรรม ตื่นเต็ม ไม่ใช่ไปตื่นอยู่ในจิตหลับตาปฏิบัติ อยู่ในจิตแล้วก็ตื่นให้มีสติเต็มให้ได้ ในจิตเท่านั้น ไม่ใช่ ไม่พอ
มีกายะข้างนอกสัมผัสแล้วรู้ มีสติแล้วก็มีธัมมวิจัย วิจัยจิต ย่อเข้าไปลึกเรื่อยๆ เข้าไปก็วิจัยจิตกับกิเลส แยกกิเลสให้ออกจากจิตว่าจิตเรามีกิเลส หรือแยกไม่ออกจิตหมด แล้วไม่มีกิเลสแล้วในจิต มีแต่จิตสะอาดจริงๆ ก็เป็นอันจบ จิตหนึ่งเดียว จิตสะอาด จิตบริสุทธิ์จากกิเลส
เริ่มแรกพระพุทธเจ้าให้รู้เหตุปัจจัย หลักเกณฑ์ข้อที่ 1 ศีลสัมผัสกับสัตว์ สัมผัสกับของ สัมผัสกับพืชพันธุ์ธัญญาหาร สัมผัสกับวัตถุ แล้วก็ลึกเข้าไปถึง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ร่วมด้วย มันสัมผัสแล้วมันเกิดปฏิกิริยาอย่างไร เกิดอาการอย่างไร เกิดกิเลสเป็นอย่างไร แยกอาการที่เกิดในจิต อาการ ลิงค นิมิต แล้วก็มี อุเทส อุเทสคือคำบรรยาย คำอธิบาย คำสาธยายอย่างที่อาตมานำเอาคำของพระพุทธเจ้า มาสาธยายยกขึ้นให้ฟัง แล้วก็ไปปฏิบัติอ่านอาการ แล้วก็จับนิมิตของอาการต่างๆให้ได้ว่า มีกิเลส
-
มีจิต มีคู่ มีสิ่งที่ต่างกัน ทีละคู่ ๆๆ จากตั้งแต่สัตว์ ตั้งแต่ของ หรือลึกเข้ามาถึง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ศีล 3 ข้อเป็นหลักใหญ่ ถ้าไปปฏิบัติธรรมแล้วไม่มีศีล 3 ข้อนี้เลย ขออภัยไปหลับตาปฏิบัติไม่มีศีล 3 ข้อสมบูรณ์แบบ มันก็ไม่ใช่ศาสนาพุทธ นี่คือความเสื่อมของศาสนาพุทธที่ไปหลงหลับตาตาม อาฬารดาบส อุทกดาบส
แล้วไปยึดมั่นถือมั่นจริงๆว่าอย่างนี้ถูกต้อง เดี๋ยวนี้ก็ยังยึด อาตมาพูดเท่าไหร่ๆ เขาก็ไม่กระเตื้อง เพราะว่าอาตมาไม่มีเครดิตเท่าอาจารย์เขา เท่าประชาชนส่วนใหญ่ ที่ได้หลงผิด มันเป็นยุคกาลที่พระพุทธเจ้าท่านพยากรณ์เอาไว้แล้ว ในอาณิสูตรว่า ยุคนี้มันเสื่อม มันผิด เขาก็ผิดไปจริงๆ
อาตมาก็ต้องมากู้กลับ พยายาม ก็ต้องทำ ได้น้อยได้มากเท่าไหร่ก็ทำได้ ได้ประมาณเท่านี้
คำสอนที่เป็นหลัก หลักใหญ่เขาก็ไม่เอามาพูดแล้ว เพราะเขาไปหลับตา เพราะฉะนั้นหลับตาหลักใหญ่ของพุทธคุณ 9 คือ วิชชาจรณะสัมปันโน คำสอนของพระพุทธเจ้าคือ วิชชาจรณะสัมปันโน ก็ต้องเรียนรู้ ประพฤติ คือ จรณะ แล้วก็ให้เกิดวิชชา จะบรรลุธรรมด้วยวิชชาและจรณะ
ต้องมีจรณะ ประพฤติเป็นเหตุ แล้วก็มีวิชชาเป็นผลตามมา ซึ่งพวกเราก็จำได้หมดแล้ววิชชา 8 จรณะก็ 15 พวกเราไล่ได้ไหม มีอะไรบ้าง
จรณะ15 สังวรศีล สำรวมอินทรีย์ โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยคะ สัทธรรม 7 ฌาน 4 ของพุทธจึงเกิดจากเหตุจากการปฏิบัติสังวรศีลและ อปัณณกปฏิปทา 3 ปฏิบัติสัทธรรม 7 จึงจะเกิดฌาน
ไม่ใช่ไปหลับตาปฏิบัติ ไม่มีเหตุพวกนี้เลย ซึ่งแบบนั้น มันเป็นการหยุดนิ่งๆ สะกดเอาไว้ มันเป็นวิธีการสะกดจิตเท่านั้น ไม่ได้เรียนรู้อย่างพิสดาร อย่างวิจิตร อย่างที่ลืมตา ฌานของพระพุทธเจ้าลืมตาหมด ฌานของพระพุทธเจ้า ไม่ได้หลับตาเลย
เพราะฉะนั้นเมื่อไม่มีทาน แล้วก็ไปปฏิบัติจิตให้มันเป็นฌาน เป็นวิมุติ หรือ ถือศีลก็ให้มันเกิดจิตเป็น อธิจิต เป็นฌาน เป็นวิมุติ มันไม่มีเหตุปัจจัยอย่างนี้ นั่งหลับตาทานก็ไม่มี ศีลก็ไม่มี
เพราะฉะนั้นเขาจึงไปแปล แม้ผู้แปลพระไตรปิฎก สัมมาทิฏฐิ 10 มีทาน มีศีลเขาใช้พยัญชนะบาลีเลย
สัมมาทิฏฐิ ทินนัง ทานให้ไปแล้วจะบรรลุผลหรือไม่บรรลุผล แน่นอนทานที่ให้ไปแล้วมันก็มีผลทันที เพราะฉะนั้น ทานจะมีผลหรือไม่มีผล มันจะต้องมีผลสิ ทานอย่างไรมันก็ต้องมีผลคือได้ให้ คือ ทาน มันเป็นกุศลทันที แต่ผลที่พระพุทธเจ้าหมายนั้นไม่ใช่หมายถึงกุศล แต่หมายถึงมันเกิดชำระกิเลสหรือไม่
คำว่า ชำระกิเลสก็คือ บุญ เพราะฉะนั้นศาสนาพุทธมันเสื่อมจนกระทั่งคำว่า บุญ เขาไม่เข้าใจแล้ว บุญ เขาไปหมายถึง กุศล ได้กุศล
คำว่า บุญ เพี้ยนผิดไปเป็นกุศลเท่านั้นเอง เสื่อมแล้วศาสนาพุทธ ไม่มีโลกุตรธรรม บุญมันคือ อาวุธฆ่ากิเลส สะสมไม่ได้ พระอรหันต์คือผู้ที่ไม่มีบุญ หมดบุญ หมดบาป สิ้นบุญสิ้นบาป ปุญญปาปปริกขีโณ หมดบุญหมดบาป ก็เป็นพระอรหันต์
ยังไม่หมดบุญก็จะลดลงเรื่อยๆ เป็นโสดาบัน บุญก็ลดลงประมาณหนึ่ง เพราะว่าทำจิตให้สะอาดผ่องใสจากกิเลสไปได้จำนวนหนึ่ง สกิทาฯก็ลดลงไปได้อีก อนาคาฯก็ลดลงไปได้อีก อรหันต์หมดเลย บุญก็หมดเกลี้ยง บุญไม่ได้กลับกันไปเป็นบาปอีก ไม่ คนที่ได้แล้วได้เลย บุญหมดแล้วก็หมดเลย บุญจึงไม่เกิดในตนในผู้ที่หมดกิเลสนั้นแล้ว พระอรหันต์จึงไม่มีบุญ
จะไปได้บุญได้อย่างไร มันต้องทำบุญนี้ให้มันมีประสิทธิภาพในการที่จะชำระกิเลส ให้ได้ แล้วไม่ต้องใช้อีก บุญ คือ อาวุธฆ่ากิเลส เป็นเครื่องมือฆ่า หรือ ตัวพลังงานฆ่า เป็นตัวตนบุคคลก็คือ นายเพชฌฆาต ฆ่ากิเลส
เพราะฉะนั้น เราอยากจะไปเป็นนายเพชฌฆาตฆ่าคน จะไปเป็นนักฆ่า ไปทำไม ใช่ไหม อย่างนี้เป็นต้น นี่คือนัยยะที่สำคัญ ซึ่งมันได้เข้าใจผิดเสื่อมไป ศาสนาพุทธ จึงเหมือนศาสนาเทวนิยม ปฏิบัติแต่ดี ก็ยังดี ปฏิบัติแต่ดี ไม่ปฏิบัติชั่ว เพราะฉะนั้นปฏิบัติธรรมะที่เป็นโลกุตระไม่ได้
แก่นของการปฏิบัติในศาสนาพุทธคือจรณะ 15 วิชชา 8
โลกุตระนั้นปฏิบัติไม่ใช่ปฏิบัติเพื่อที่จะทำแต่ดี ไม่ปฏิบัติชั่วเท่านั้น ต้องปฏิบัติเพื่อให้รู้จักสุขรู้จักทุกข์ เพราะฉะนั้นอริยสัจ 4 ของศาสนาพุทธ คือ ทุกข์อริยสัจ เป็นศาสนาของอาริยกะ จึงเรียก อริยสัจ 4 ผู้ที่บรรลุธรรมของพุทธเป็นอริยะ ผู้ไม่บรรลุธรรมของพุทธ ไม่เป็นอริยะจึงเป็น มิลักขะ
มีคน 2 ประเภทคือ คนเจริญกับคนไม่เจริญ คนยังไม่เจริญคือ คนมิลักขะ อย่างศาสนาเทวนิยมเห็นไหม ยังฆ่าแกงกัน โอ้โห…รัสเซียกับยูเครนยังฆ่าแกงกันหนักเลย ประเทศอื่นใดเขาก็ฆ่าแกงกัน ประเทศไทย พุทธศาสนานี่ ไม่ต้องไปฆ่าแกงกับใครเลย พยายาม มันจำเป็นที่สุดก็ทำไปเพื่อป้องกันรักษาประเทศ จนกระทั่งหลีกเลี่ยงได้นั่นแหละคือสำเร็จ
เพราะฉะนั้น ถ้าประเทศไทยเป็นกลาง ใครจะเป็นอย่างไร ใครเขาจะรุกรานอย่างไร เราก็พยายามหลบเลี่ยงหลีกเว้น ไม่ไปปะทะ ไม่ไปทะเลาะ ไม่ไปทำสงคราม ไม่ไปรบราฆ่าฟันกันนะ แต่เป็นผู้ที่ปฏิบัติตนเป็นผู้ให้ เป็นผู้เสียสละ เป็นผู้เกื้อกูลโลก โลกานุกัมปายะให้ได้ เป็นผู้ที่มี พหุชนหิตายะ พหุชนสุขายะ โลกานุกัมปายะ จริงๆ
ช่วยเหลือประเทศอื่นๆใดๆ มันซ้อนมากเลยโลกุตรธรรมของพระพุทธเจ้านี้ ท่านสอนให้เป็นคนไม่สะสม ไม่กอบโกย ใจพอ มามีน้อยๆ กินน้อย ใช้น้อย ไม่ใช่ทรมานตนนะ กินน้อยใช้น้อย กินอย่าไปตะกละ เพราะว่ารู้กิเลส ไม่ไปติดไปยึดในสิ่งที่ไม่น่ากินไม่น่าเสพที่โลกเขาหลอกกันมาก ทุกวันนี้โลกเขาหลอกกันมาก แม้แต่ในเมืองไทยก็หลอกกัน ปรุงแต่งกัน หลอก จริงๆ มันขัดแย้งกับศาสนาพุทธ นี่ นำเที่ยวกินแหลก อะไร ชีพจรลงตีนกินอะไรของเขาไป ตามอำเภอจานอะไรรายการ ซึ่งมันย้อนแย้งกับศาสนาพุทธ มันไม่ใช่ศาสนาพุทธที่จะพาให้ไปหลงในอาหาร
อาหารนี่แหละหลงกันมาก ถ้าเรียนรู้ตรงนี้ โภชเนมัตตัญญุตา เป็นหลักของศาสนาพุทธ ปฏิบัติเรียนรู้กิเลสแล้วลดๆๆ ไป ไม่ต้องไปเอร็ดอร่อย ไม่ต้องไปตามหาอร่อยอีกเลย นั่นต่างหากคือศาสนาพุทธ ถ้ายังไปตามหาอร่อยอีก อร่อยที่ไหน ฉันนี่แหละ นักชิมชั้นเลิศว่าอย่างนั้น นักกินแหลก กินตามไปกินที่นั่นอะไร อร่อยที่ไหนตาม กิเลสแท้ๆ ซึ่งไม่รู้จักกิเลส ดูแล้วก็น่าสงสาร แต่ไม่รู้จะไปขัดแย้งอย่างไร เพราะว่าคนเราแม้แต่เป็นพุทธศาสนิกชนแท้ๆ ก็ยังไม่ได้รู้เรื่องอะไรเลย เผยแพร่ออกมาสื่อสารจัดรายการ
อาตมาก็เคย ผ่านมาตั้งแต่ยังไม่ปฏิบัติธรรม เป็นฆราวาส ทำรายการโทรทัศน์ ก็ทำรายการทำอาหารนี่แหละ อาตมาก็เป็นผู้ดูแลจัดรายการในอาหาร จัดรายการอาหารตั้งแต่เอา หม่อมหลวงเติบ ชุมสาย ที่เป็นมือทำอาหารระดับในวัง มาออกอากาศ เอาคนเก่งมาออกอากาศเป็นรายการก็ฮิตกันอยู่ เป็นรายการทำอาหาร ก็ไม่รู้ แต่มาปฏิบัติธรรมแล้วจึงรู้ ศาสนาพุทธ จึงน่าเห็นใจมันเป็นเรื่องโลกุตรธรรม
เพราะฉะนั้นจึงยาก แต่ยากก็ดีสุด เพราะเป็นศาสนาที่เกิดผลจริง เรียกว่า ภาวนามัยหรือภาวนมยะ ภาวนามัย แปลว่า เกิดการสำเร็จ เป็นผล ภาวนาเป็นผล ทานก็ให้เกิดภาวนามัย ศีลก็เพื่อทำให้เกิดภาวนมัย
ผลที่สำเร็จ ท่านเรียกว่า หุตัง ในพระบาลี เมื่อมีผลสำเร็จก็คือละกิเลสได้ ลดกิเลสได้ เป็นผลของทาน เป็นผลของศีล ภาวนามัยไม่ใช่เป็นผลจากการนั่งหลับตา สะกดจิต หลับตาสะกดจิตไม่เกิดผลภาวนามัย เป็นผลเดียรถีย์ เป็นผลได้สมถะจิต ไม่ได้เป็นผลสำเร็จที่เป็นการปฏิบัติล้างกิเลสออก
เพราะว่าการปฏิบัติทานก็ดี ปฏิบัติศีลก็ดี จะปฏิบัติแล้วมันจะรู้ตาหูจมูกลิ้นกาย ภายนอก 5 ทวาร กระทบสัมผัสแล้ว เกิดการปรุงแต่งขึ้นมาเป็นสังขารธรรม แล้วก็แยกแยะสังขารธรรมนี้ให้ออก แล้วเราก็จัดการ วิจัย ตามโพชฌงค์ 7 นั่นแหละ
เราปฏิบัติธรรมตามหลักมรรค 8 แล้วก็มีโพชฌงค์ 7 เป็นตัวร่วมไปด้วยเสมอเลย ที่จะทำงานร่วมกัน เมื่อโพชฌงค์ 7 กับมรรค 8 ทำงานร่วมกัน ก็กลายเป็น โพธิปักขิยธรรม 37
ตั้งแต่สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 หลัก 4 ของ สติปัฏฐานก็มีสำรวม สังวร พิจารณา กายในกาย
กายในก็ต้องมีกายนอก เวทนาในเวทนา ก็พูดกันนะ ใน เมื่อมีในแล้วมันก็ต้องมีนอก เมื่อมีนอกมันก็ต้องมีใน มันต้องมีคู่กันเสมอ จิตในจิต ธรรมในธรรม แต่เขาไปอยู่อันเดียวเขาไม่พิจารณา 2 ไม่ได้เปรียบเทียบกัน ไม่ได้มีทั้งคู่ เพราะฉะนั้นกายมีภายนอก ตาหูจมูกลิ้นกาย ผัสสะ แล้วก็เกิดเวทนา ในเวทนานั้นก็คือมีตัวจิตเป็นประธาน
ไอ้จิตเป็นประธานนี่แหละ เราต้องรู้รายละเอียดของจิตที่เป็นตัวตั้ง ที่มีกิเลสครบ เรียกว่า เจโตปริยะ เมื่อมีญาณ มีความรู้ก็เกิดรู้เจโตปริยะ 16 เป็น เจโตปริยญาณ 16 กิเลสก็มีกระบวนการอยู่ตรงนี้ ไม่เห็นยากเลย
-
มีราคะ 2. มีโทสะ 3. มีโมหะ ก็อ่านมันให้ได้ เรียนให้รู้ว่ามันเกิดราคะเมื่อไหร่ โทสะเมื่อไหร่ โมหะเมื่อไหร่ เรียนรู้ทีละลำดับ ไม่ใช่ไปฆ่ากิเลสราคะพรวดเดียว ราคะ ตื้นๆเล็กๆ ซึ่งมันไม่ใช่ตายง่ายๆนะ มันมี หยาบ กลาง ละเอียด ต้องฆ่ามันเป็นลำดับๆไป ให้มันตายเรียกว่า วีตราคะ วีตโทสะ วีตโมหะ ก็เป็นเจโตปริยะ 6 ข้อแล้ว ก็จำง่ายเมื่อมีหลัก
ที่นี้เมื่อเป็นคนมันมีตระกูลหรือว่ามีจริต มีจริตของตัวเอง เป็นพุทธจริตหรือ เป็นศรัทธาจริต เป็นต้น เป็นสายศรัทธาหรือสายปัญญา นี่แต่ละคนนี่แหละ ตัวเองคนส่วนใหญ่ ก็พอรู้นะบางคนก็มีปฏิภาณว่า เข้ามาศึกษาธรรมะจะรู้ได้แยกออกว่าอ๋อ เรานี่มีตระกูล มันเป็นตระกูลของ มาแต่ไหนแต่ไรเลย อย่างสายพระโมคคัลลานะกับสายพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะคือสายศรัทธา พระสารีบุตรคือสายปัญญา อย่างนี้เป็นต้น
ซึ่งมันไปบังคับไม่ได้ของคนแต่ไหนแต่ไรมา พระพุทธเจ้าก็ศึกษาค้นพบตรัสรู้ได้ เรียบร้อย ก็เอามาสอนได้เรียนรู้ เพราะฉะนั้นใครจะมีจริตอย่างไรก็แล้วแต่ จริตอย่างหนึ่งพอเรียนรู้ธรรมะได้ทำให้มันลดละได้เป็นขั้นตอน เริ่มต้นลดได้ก็เรียกว่าเป็น สังขิตฺตํจิตตํ เป็นตระกูลศรัทธา
ตระกูลปัญญาเป็นตระกูลฟุ้งๆ พวกฟุ้งกับพวกเป็นก้อน ซึ่งศัพท์สมัยใหม่อาตมาเรียกด้วยศัพท์วิทยาศาสตร์ว่า Static กับ Dynamic อย่างนี้เป็นต้น มันก็มี 2 อย่างนี้แหละแต่ไหนแต่ไร มันได้มามันก็ยังยาก มันไม่กระจ่าง ไม่จับตัวได้เป็นเนื้อแท้ได้ง่ายๆ ได้ขึ้นมารู้แล้วเริ่มต้นได้แล้ววิธี 2 อย่างได้มาเป็นขั้น สังขิตฺตํจิตตํ กับ วิกขิตฺตํจิตตํ ของใครก็ของมัน ของตัวเองอยู่ตระกูลไหน ก็เรียนรู้ ลดกิเลสให้ได้จริง
ทำได้ก็เรียกว่า มหัคคตะ จิตเป็น มหัคตจิต ทำไม่ได้เป็นอมหัคตจิต ก็เป็นอีกคู่หนึ่ง ก็จำได้ง่าย
ถ้าทำได้ดีเรื่อยๆ เลยจนกระทั่งรู้จักแล้วเก่งแล้ว กระทบสัมผัสก็รู้จักกิเลสแล้วมีวิธีทำให้กิเลสลดได้ ได้เก่งขึ้นชำนาญขึ้นก็เป็น สอุตรังจิตตัง เข้าไปสู่จิตที่มันเป็นอุตตระ ไปเรื่อยๆแต่กิเลสมันยังไม่หมด กิเลสมันยังไม่จบ กิเลสมันยังมีอีก แต่ได้แล้วได้จริง แต่เป็นอริยะแล้วเป็นโลกุตระบุคคลแล้วตรงนี้ สอุตรังจิตตัง เป็นโลกุตระบุคคลไปเรื่อยๆๆๆ
ท่านแปล สอุตรังจิตตังว่า จิตดีแล้ว แต่ดีกว่านี้ยังมีอีก มันรู้ว่ายังไม่หมดกิเลส ยังไม่ถึงขั้นสูงสุด ยังไม่เป็น อนุตตรังจิตตัง อนุตระคือ มันรู้จัก อุตระ มันคือความเหนือ เป็นโลกุตรธรรมพระพุทธเจ้า
เพราะฉะนั้นกิเลสยังไม่หมดไป ยังไม่สิ้นทีเดียว เรียกว่าได้แล้วทำได้แล้ว เข้าเป็นพระอาริยะไปเรื่อยๆ จนสุดท้าย จะชื่อว่า อนุตตรังจิตตัง ก็เพราะแยกไปเป็น 2 อย่าง
-
แกนจิต 2. แกนวิมุติ
เพราะฉะนั้น จะต้องดูที่จิตกับดูที่วิมุติ อนุตตรังจิตตัง ทีนี้สมาธิของพระพุทธเจ้าเรียกว่าจิตตั้งมั่นเรียกว่า สมาหิตะ มีจิตตั้งมั่น จิตที่จะตั้งมั่นเพราะว่ามีวิมุติ วิมุติคือกิเลสหลุดพ้นไป หลุดพ้นแล้วก็จึงจะตกผลึกลงไป ผลึกก็แน่นเข้า ตั้งมั่นเข้า
เพราะฉะนั้นจิตที่จะเป็นจิตตั้งมั่นสมาธิของพระพุทธเจ้า จึงไม่ใช่จิตตื้นๆ สะกดจิตเอาง่ายๆ ไม่มีเบื้องต้น ท่ามกลาง บั้นปลาย ไม่ได้เก็บตั้งแต่ข้างนอกไปถึงข้างในละเอียดลออไป ไม่ใช่เลย
นี่คือความเสื่อมของศาสนาพุทธทุกวันนี้ ไปหลง ศาสนาพุทธขอยืนยันอีกว่า ไม่ใช่นั่งหลับตาปฏิบัติ หลับตาปฏิบัติไม่ใช่ศาสนาพุทธ ต้องมี อปัณณกปฏิปทา 3 จึงจะเป็นศาสนาพุทธ มีหลักฐานยืนยันอธิบายแล้วอธิบายอีกวนเวียนซ้ำซาก พวกเราเข้าใจแล้ว
แต่หลับตานั้นจะมีประโยชน์ไหม มี ท่านถึงเรียกว่ามีอุปการะและท่านก็ไปแปลว่า มีอุปการะมากก็ไม่มีปัญหา หลับตามีประโยชน์อะไรบ้าง อาตมาก็ขยายความ มีอุปการะอะไรบ้าง แต่ไม่ใช่แกนของการปฏิบัติธรรม เพื่อที่จะล้างกิเลสหมด สิ้นอาสวะได้ ไม่ใช่ ไม่ใช่เลย
ผู้ปฏิบัติธรรมจริงๆเป็นสัมมาทิฏฐิของพระพุทธเจ้านั้น ไม่ต้องนั่งหลับตาเพื่อล้างกิเลส ลืมตาปฏิบัติด้วยจรณะ 15 วิชชา 8 เกิดฌาน เกิดวิมุติ เป็นวิชชา 8 ฌาน 4 เพราะฉะนั้นฌาน 4 ของพระพุทธเจ้าเกิดจากจรณะ 15 ฌาน 4 ของนั่งหลับเดียรถีย์เขาก็เรียกฌาน 4 เหมือนกัน เกิดจากการนั่งหลับตาสะกดจิต ซึ่งเป็นคนละโลกเลย คนละเรื่องเลย
เพราะฉะนั้นเมื่อศาสนาพุทธเสื่อมจริง เขาก็ไปเห็นตื้นๆง่ายๆเท่านั้น มันต้องยากหน่อยยากกว่ากันอยู่ ฌานของพระพุทธเจ้า ที่หลับตาไม่ได้ ต้องลืมตา หลับตาไม่ใช่ฌานของศาสนาพุทธ
พูดไปอย่างนี้มันก็ขัดแย้งกับที่เขาหลงยึดถืออาจารย์ใหญ่ แล้วก็มีครูบาอาจารย์นับถือกันมาสืบทอดกันมา โพธิรักษ์โผล่มาในชาตินี้อาจารย์ก็ไม่มี สำนักก็ไม่มี แล้วยังมาตั้งบอกว่าของฉันเอง ความรู้ของตัวเองมาตั้งแต่ชาติก่อนเขาก็ แหวะ ให้ไม่เชื่อ หน้าตาก็ไม่เห็นจะเป็นอาจารย์อาเจินอะไรเลย
เขาไม่เชื่อเพราะว่ามันเสื่อมจริงๆ ความเชื่อถือมันยาก เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นสายตำราหรือสายนั่งหลับตา ก็ไม่เชื่ออาตมาทั้งคู่ และสายที่นั่งหลับตาก็ไม่ค่อยอวดดีเท่าไร สายลืมตา สายตำรานี่ถึงมาตีอาตมา มาจัดการอาตมาก็คือสายเถรสมาคม ที่เป็นสายตำรา สายเปรียญ ปริญญาเอก ปริญญาเอก ไปได้ปริญญาเอกศาสนาพุทธมาจากอเมริกาอย่างนี้ โธ่เอ๋ย ศาสนาพุทธที่เป็นอเมริกาเทวนิยม ศาสนาพุทธจะมาให้โลกุตระธรรมได้อย่างไร
นี่แหละคือเห็นชัดๆเลยว่ามันไม่เข้าใจเลย ที่จะมาให้เทวนิยมมาสอนศาสนาพุทธ ให้โลกียะมาสอนโลกุตระ แล้วไปเขียนตำราเป็นเจ้ามาสอน นี่เห็นว่ามันเสื่อม โดยที่เขาไม่รู้อะไรเลย ไปเอาเศษขยะมาแกงให้เรากิน เพราะเขาไม่รู้ มันเสื่อมจริงๆ ยืนยันถึงความเสื่อมของศาสนาพระพุทธเจ้า
เพราะฉะนั้นผู้ที่ไม่รู้ก็นำพากันไปหลงทิศหลงทาง มันนานแล้วนะ มันเสื่อมมันผิดหลงทางมาหลายร้อยปีแล้ว หลายร้อยปีมาถึงวันนี้จึงบอกว่า โอ้โห จะไปสาวต้นทางที่พากันเสื่อม จนกระทั่งเห็นความผิด เห็นความเสื่อมเป็นความเจริญ เห็นความผิดเป็นความถูก ไปยึดอย่างนั้นแล้ว เห็นผลของความผิด จนกระทั่งไปหลง ผู้ที่จะว่าจริงๆแล้วมันก็มีภาษา 2 ภาษา เสื่อมก็คือตกนรก ทีนี้ถ้าพูดสภาวะคู่ คู่ของนรกก็คือสวรรค์
แต่ของพระพุทธเจ้ารู้ทั้งนรกสวรรค์เป็นสภาวะคู่ แล้วไม่มีทั้งนรกและสวรรค์ อันนี้แหละมันสุดพิเศษ เพราะฉะนั้นผู้ที่พ้นเป็นโลกุตระ มีอำนาจหลุดพ้นเป็นโลกุตตรธรรมจะรู้ทั้งนรกสวรรค์แล้วไม่เอาทั้งนรกสวรรค์ ก็สวรรค์ก็เป็นภพ นรกก็เป็นภพ
เพราะฉะนั้นศาสนาพุทธจึงไม่มีทั้งเทวดา 6 ภูมิ ไม่มีเทวดาจตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี คนที่เขาติดยึดอยู่เขาก็มี แต่พูดหลุดพ้นแล้วเป็นอรหันต์แล้วไม่มีสวรรค์ นรกไม่ต้องพูดเลย นรกนั้นพอมีนรกเยอะแยะสารพัด อาตมาไม่ได้จำมาเลย ไม่ได้ไปไล่ภาษาเขามา ที่เป็นนรก
เพราะฉะนั้น อาตมานำสิ่งที่มันผิดเพี้ยนนี้มาพยายามพูด แม้ยังไม่ตายอายุถึง 100 ไปเกินกว่า 100 อาตมาก็ยังจะพูดอยู่อย่างนี้แหละ เพราะเป็นความจริงที่อาตมามั่นใจที่สุดแล้วว่ามันไม่มีทางเป็นผิด ก็ต้องแก้ไข ก็ต้องพูดย้ำพูดซ้ำพูดซาก อาตมาว่าอาตมาทำงานเผยแพร่อธิบายความจริง เอาสัจธรรมพระพุทธเจ้ามายืนยัน 50 กว่าปีได้ จนป่านนี้แล้ว อาตมาเชื่อว่า
ถึงแม้เขาจะต้านอย่างไรก็ทุกวันนี้รับฟังบ้างแล้ว หรือ เขาไม่ต่อต้านอาตมา ผู้ที่ไม่ต่อต้านแต่รับฟังบ้างแล้วก็เจริญแน่ ผู้ที่ไม่ต่อต้านอาตมาก็เพราะว่าอาตมาหนังเหนียว ต้านอย่างไรอาตมาก็ไม่ยอมหยุด จะฆ่าอาตมาก็ฆ่าได้ให้ตาย แต่ว่าฆ่าอาตมาไม่ตายเพราะ อาตมาหนังเหนียวอยู่ยงคงกระพัน ฆ่าไม่ตาย แล้วอาตมายังมีชีวิตอยู่แล้วก็จะพยายาม มีชีวิตให้นานขึ้นไปเรื่อยๆ แล้วก็จะอธิบายสอนพวกนี้แหละ
ถ้าไม่ฟังอาตมาบ้างแล้วก็ไม่พัฒนาความเข้าใจใหม่ ตั้งใจตื่นขึ้นมาเรียนรู้ฟัง อาตมาสาธยายคำสอนซ้ำซาก เพราะว่ามันไม่รู้จะทำอย่างไร มันต้องเอาแก่น ที่ว่าเอาแก่นหรือเบื้องต้น รากเหง้าของศาสนามาพูด ที่เป็นเปลือกหรือสะเก็ด กระพี้ นั้นมันมีเยอะแยะ มันเป็นเรื่องปลอมไม่เข้าหาแก่นมีมากมาย เราพูดไม่ไหว อาตมาก็ต้องลัดมุ่งเข้าไปหาแก่น
แก่นที่ว่านี่ก็คือ พุทธคุณของพระพุทธเจ้าแท้ๆที่เรียกว่า จรณะ 15 วิชชา 8 นี่แหละ มันคืออะไรกันแท้ๆ เขาก็ยังพอพูดกัน ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อะไรอย่างนี้เป็นต้น แต่ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่อธิบายขยายความว่า อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา อธิคือสิ่งที่เจริญ จึงเรียกอธิ ซึ่งนัยยะของศาสนาพุทธ อธิจิต เจริญเป็นสมาธิมันก็อย่างหนึ่ง อธิจิตของเดียรถีย์ หรือของที่ไม่ใช่พุทธมันก็มี มันก็อีกอย่างหนึ่ง ก็ต้องรู้ว่ามันต่างกันอย่างไร ก็มาศึกษากันให้ได้จริงๆ แล้วก็จะไปเสียเวลากับสิ่งที่มันผิดอยู่ทำไม
เพราะฉะนั้นผู้ที่เข้าใจ อธิจิต ที่เป็นจิตสัมมาทิฏฐิ ปฏิบัติศีลเพื่อให้เกิดอธิจิต และให้เกิดมีปัญญาที่เป็นปัญญาของพุทธ ไม่ใช่เป็นปัญญาเดียรถีย์
ที่จริงปัญญาเดียรถีย์ไม่มี มันเป็น เฉโก พยัญชนะที่ใช้บอกความรู้แบบโลกีย์ก็คือ เฉโก เป็นความรู้ความฉลาด พยัญชนะเรียกว่า เฉโก
แต่ความรู้ความฉลาดที่เป็นปัญญา นี่เป็นของพระพุทธเจ้า เป็นโลกุตรธรรม เรียกว่าโลกุตระ เรียกว่าปัญญาแบบโลกุตระ อันนี้ก็ไม่เข้าใจ จนกระทั่งพระพุทธเจ้าตรัส ปัญญา 8 เอาไว้ อาตมาก็เอาปัญญา 8 มาเขียนเป็นหนังสือ เล่ม 1 ก็พิมพ์ออกไปแล้ว เล่ม 2 ก็พิมพ์ออกไปแล้ว เล่ม 3 เล่ม 4 ก็ยังเขียนอยู่ยังไม่จบ ขยายความเรื่องปัญญา เพราะมันเป็นความรู้โลกุตระ เป็นความรู้รอบโลก เป็นความรู้พิสดาร โอ้โห.. เลิศยอด ไม่มีพระพุทธเจ้า ไม่มีปัญญาเกิดในโลกหรอก
พอเกิดแล้วคนก็รับเอาไม่ไหวมันก็เลยเสื่อม อาตมาก็นำกลับมาฟื้นอีก ให้เกิดเป็นความเข้าใจว่า จริงๆแล้วปัญญาหรือความรู้ความฉลาดแบบโลกุตระ ที่เป็นอาริยกะ ไม่ใช่ มิลักขะ วนอยู่แต่ในโลกเทวนิยมเท่านั้นเอง
กินอาหาร 4 ให้หมดอาลัยมีแต่อาศัยในชีวิต
พวกเรานี้พอเข้าใจไหมว่าโลกียะมันต่างจากโลกุตระ เทวนิยมมันต่างจากพุทธ อย่างไร เข้าใจกันดีหรือยัง มันแยกกันคนละโลกเลย เพราะว่าโลกเทวนิยมนั้นมันเป็น โลกที่รู้จักแต่แค่ ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข เจริญ แล้วก็รักษาความเจริญให้มี ลาภเยอะๆสูงๆเข้าไว้ ให้ได้เท่านั้นเอง มันไม่ได้มีปัญญาที่เข้าไปชัดเจนแจ่มแจ้งว่า เหตุที่ไปหลงโลกียะ ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข อยู่นั้นมันคืออย่างไร มันไม่มีปัญญาที่เขาไปรู้ชัดจนกระทั่ง จนมันจบ รู้จบ ปฏิบัติให้ตนเองรู้จนจบ
เมื่อรู้จบนี่แหละ เราจึงจะได้รู้ว่า จิตนิยามนี้มันคือธาตุรู้ที่ อ๋อ.. คนไปยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเรา เป็นของเรา อย่างนี้เอง เพราะฉะนั้นศาสนาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านอธิบายจนกระทั่งสุดท้ายรู้แล้วว่า จิตที่ทำให้สะอาดบริสุทธิ์ รู้จักเหตุแล้วฆ่าเหตุ หมดแล้วไม่เกิดอีกเลยในจิต เมื่อรู้จบแล้วก็ อ๋อ..มันก็มีเหตุอย่างนี้เอง เพราะฉะนั้นอรหันต์ เป็นต้นขึ้นไป ก็รู้ว่าจิตที่หมดกิเลสเป็นอย่างนี้ จิตที่ยังมีกิเลสจะมากน้อยอย่างไรก็รายละเอียดก็มีไปตามลำดับ มันเป็นอย่างนี้
เมื่อบรรลุแล้วก็จะเห็น 2 ฝั่ง แล้วจะรู้ความจริงว่าตนเองเป็นจริงเป็นปัจจัตตัง เป็นตนเองแล้ว อ๋อ.. จิตมันเป็นสังขารชนิดหนึ่งเท่านั้น มันเป็นการปรุงแต่งระหว่าง รูปกับนาม เรียกมันว่าวิญญาณ เหตุปัจจัยอื่นๆก็ขยายไปเป็นอิทัปปัจจยตา หรือเป็นปฏิจจสมุปบาท
เพราะผู้ที่จะเข้าใจปฏิจจสมุปบาทได้ โดยถึงสภาวะเลย รู้ว่าสังขารมีอาการอย่างไร มาเป็นวิญญาณ วิญญาณเราเรียกว่าวิญญาณ ต่างจากสังขารอย่างไร แยกจากวิญญาณเป็นนามรูปแยกอย่างไร นามอย่างไร รูปอย่างไร เมื่อนามรูปไปรวมกันอีก เรียกว่า อายตนะ อายตนะก็คือ วิญญาณที่มีผัสสะ แล้วก็ในอายตนะนี่แหละไปเรียกว่า เวทนา รู้ความรู้สึก
ผู้ที่ไม่ได้เรียนรู้เป็นสุขเป็นทุกข์ ไม่ได้แยกกิเลสที่เป็นเหตุแห่งสุขแห่งทุกข์ ไม่ได้แยกปัญญา เฉโกอะไรได้ จิตไม่เป็นปัญญาแท้ เป็นเฉโกอยู่ ก็หลงสุขเกลียดทุกข์
แต่สุขกับทุกข์นั้นพระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ว่ามันเป็นความโง่ ที่มันเป็นสังขารปรุงแต่ง มันเป็นอันเดียวกันแยกกันไม่ออกหรอก มันเป็นเทวะ เทวะ แปลว่า 2 เหมือนกระดาษ 1 แผ่น
กระดาษแผ่นเดียวกันแยกไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้าจะดับสุขก็ต้องดับทุกข์ จะดับทุกข์ก็ต้องดับสุข ไม่ใช่หลงสุข เพราะฉะนั้นศาสนาทั้งโลกที่เป็นเทวนิยม ทั้งหลายเรียกว่าเป็นสุขนิยม คือยึดเรียนรู้เอาสุขให้ได้ แล้วผู้ที่มีสุขมากที่สุด ถือว่าเป็นพระเจ้า สอนเรื่องสุข เป็นพระเจ้า
ศาสนาพุทธมันเลยพระเจ้าไป เลยสุขทุกข์ ล้างสุขทุกข์หมดเลย ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ ชนิดที่ดับเหตุ ไม่สุขไม่ทุกข์มีพระบาลีว่า อทุกขมสุข ส่วนไม่มีเหตุแห่งทุกข์ หมดเลยเกลี้ยง สูงกว่าไม่สุขไม่ทุกข์ คือ อุเบกขา
อุเบกขา พระพุทธเจ้าจึงที่แยกว่าอุเบกขานั้นเป็นจิตที่มีองค์ธรรมอยู่ 5 คือ ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา
เพราะฉะนั้นผู้ที่จะรู้จักเหตุแห่งทุกข์ ดับเหตุแห่งทุกข์ได้ จิตจึงจะสะอาด เป็นปริสุทธาเป็นความบริสุทธิ์ เป็นโสดา สกิทา อนาคา อรหันต์
พอเป็นอรหันต์ก็เริ่มบริสุทธิ์ ไม่สุขไม่ทุกข์อีกแล้วในโลก ก็จะเจริญเป็น ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา ไปอีก ที่จริงมีรายละเอียดมากกว่านี้อีก แต่พระพุทธเจ้าเอา 5 นี้ก็สบายแล้วไปถึงขั้นประภัสรา ก็สุดยอดแล้ว
เพราะฉะนั้นถ้าเรารู้อาการของจิตอุเบกขา คือจิตไม่มีเหตุแห่งทุกข์คือกิเลสเลยได้ ไม่ใช่ไม่สุขไม่ทุกข์เพราะสะกดจิตไว้ ไม่ให้สัญญามันทำงาน ไม่ให้มันรับรู้อะไร หรือไปกดเวทนาเอาไว้ไม่ให้มันรู้สึกอะไร
เวทนากับสัญญานี้ มันเป็นคู่กันเหมือนสุขกับทุกข์ เหมือนเป็นเทวะคู่หนึ่ง เมื่อมีความตื่นไม่ใช่ไปกดให้มันดับสัญญาหรือดับเวทนา กดมันทั้งคู่ มันก็มืดดับดำมืด มืด ไม่เป็นเรียกว่า อสัญญีสัตว์ เป็นสัตว์ไม่มีการกำหนดรู้อะไร ไม่รู้เรื่องอะไรเลยเขาเรียกว่า พรหมลูกฟัก มันเหมือนพืชที่ถูกตัดออกมาจากขั้วแล้วไม่มีแม้ชีวะ เหมือนลูกอะไรกลิ้งคะโล่คะเล่ อยู่ตรงนี้มะม่วงอะไร ไม่รู้เรื่องอะไรเลย
เพราะฉะนั้นศาสนาพุทธไม่ทำอย่างนี้ เก่งนั่งสะกดจิตได้หลับตาได้อย่างเก่งก็เป็นพรหมลูกฟัก แต่ถ้าเผื่อว่าตัดขั้วตัดอะไรที่เป็นชีวะมันตายแล้ว หามมันทิ้งได้เลย เพราะมันไม่รู้ตัว ไม่รู้เรื่องอะไร ใช่ไหม หามไปเผาก็ได้ มันไม่ใช่ ของพระพุทธเจ้านั้นามตื่นเต็มรู้ตัวทาง ตาหูจมูกลิ้นกายใจ แล้วมีธัมมวิจัยมีสติตื่นรู้เต็มร้อยทางกาย วาจาใจ มีธัมมวิจัย รู้เข้าไปลึกในจิตจนกระทั่งรู้กิเลสทีละลำดับ ดับตั้งแต่ภายนอกที่มันหยาบลดลงไปได้ แล้วตั้งแต่ภายนอกก็อยู่เหนือมัน ไม่ได้หนีมันเลย
กิเลสที่เกิดจากอบายมุขกิเลสที่เกิดจากกาม ตา หู จมูก ลิ้น กาย มี 5 ทวาร กิเลสกามนี่แหละที่มันหยาบจัดจ้าน แล้วเขาก็เรียกว่าอบายมุข เราก็รู้เหตุของมันว่า เราไปติดไปยึดไปหลง พอมีโลกุตรธรรม รู้จักอบายมุข รู้จักเหตุ ไม่ไหวหรอก มันชั่ว มันทุกข์ แล้วต้องไปวนกับมัน เช่น ไปติดกินเหล้า ไปติดเล่นไพ่ ไปติดเล่นการพนัน ไปติดสิ่งเสพติด ที่หยาบๆ ขั้นต้น
หรือจะไปติดในเรื่องที่จะไปอยากใหญ่ อันนี้ยากกว่าพวกนี้ จะไปรบให้เป็นเจ้าโลก จะไปปราบปรามประเทศนั้นประเทศนี้ให้เป็นเจ้าโลก กิเลสทั้งนั้น แต่เขาไม่รู้อันนี้มันรู้ยาก ก็เอาแต่แค่นี้แหละ อยากใหญ่ ในอบายมุขตื้นๆก่อน
แล้วเรียนรู้กิเลสนี้ให้หมดจริง หมดอบายมุขนี่แหละแล้วมาหมด กาม ตา หู จมูก ลิ้น กาย กระทบแล้วไปเสพไปติดในกาม
เช่น กามกับอบายมุขมันก็ใกล้กัน ติดหนักก็เป็นอบายมุข อย่างมหาบัวนี้ติด หมากพลู ติดหนัก นั่นแหละเป็นอบายมุขแล้วจนไม่รู้ว่านั่นแหละคือตัวเองเสพติด ไม่รู้จักการเสพติด เรียกว่าติดหยาบท่านเรียกว่า สุรา
สุระ แปลว่า กล้า แข็ง ใหญ่ สุระ สุรา
เมรยะ ก็เสพติดลดลงมาอีก
มัชชะ ก็ลดลงมาอีก
เสพติดสุดท้ายเป็น ปมาทะ แต่นี่ ท่านเอาแค่สุรา เมรยะ มัชชะ เอาแค่ 3 ขั้นตอน
เพราะฉะนั้นเมื่อไม่รู้ก็ติดจมมันอย่างเป็นคนโง่คนไม่รู้เสพติด ที่อาตมายกตัวอย่างมหาบัวไม่ได้หมายความว่าเกลียดชัง แต่อาตมาสงสาร แล้วก็ไปมีลูกศิษย์ลูกหาหลงติดกัน พากันหลงไปอีก ยิ่งน่าสงสารมากเข้าไปใหญ่เลย แทนที่จะสงสารมหาบัวเท่านั้น ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ต้องสงสารลูกศิษย์ด้วยก็เพราะว่ามันผิด เขางมงายไปเป็นทั้งชาติ มันก็น่าสงสาร
อุตส่าห์เสียสละตัวเอง ชีวิตเข้ามาบวช แต่ไปหลงทาง ไอ้หลงทางนี่แหละท่านเรียกว่า เดินอยู่ในทางกันดาร หลงทางนี่คือเดินอยู่ในทางกันดาร
เพราะฉะนั้นผู้ที่หลงทาง เดินอยู่ในทางกันดาร จึงเป็นการหลงทางที่ไม่มีทางที่จะหลุดพ้นได้ง่ายๆ เดินอยู่ในทางอันนั้นเหมือนเดินอยู่ในเขาวงกต วนอยู่ในนั้น
ท่านเทียบคนที่หลงทาง ว่ามันมืดบอด แย่ยิ่งกว่าที่พระพุทธเจ้าท่านแยกอาหาร 4 เอาไว้
คุณว่า อาหาร 4 กวฬิงการาหาร ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณาหาร คุณว่าอันไหนหยาบกว่ากัน มองหยาบได้ทั้งสองด้าน
วิญญาณอาหาร พระพุทธเจ้าท่านแยกไว้ว่า ต้องเรียนรู้นามรูป ถ้าแยกนามรูปไม่ออกไม่รู้จักวิญญาณ ก็เรียนรู้ต่อไม่ได้
นามรูปนี้เป็นขั้นต้นของการศึกษา เรียนรู้ ต้องรู้สภาวะ 2 คือนามรูป ไม่เดินด้วยนามรูป ไม่เดินด้วยสภาวะ 2 ไม่ปฏิบัติธรรมด้วยสภาวะ 2 ไปสะกดจิตให้เป็นแต่ 1 1 1 อย่างเดียวเลย หลับพลั๊วะเข้าไปหา 1 อย่างเดียวเลย โมฆะ
ต้องมี 2 ต้องมีนามรูป ต้องมีกาย ต้องมีภายนอกภายใน ต้องมีกายมีจิตอะไรพวกนี้ อาตมาก็ขยายไปหมดแล้ว
เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านเทียบคนที่ หลงทาง ไม่รู้จักอะไร อีกอันหนึ่งก็คือ อันที่ 1 เลย วิญญาณอาหารอันที่ 4
กวฬิงการาหาร อันที่ 1 ท่านเรียกว่าเป็นผู้ที่เดิน มีพ่อแม่กับลูก 3 คน เดินทางอยู่ในทางกันดาร กันดารนั่นแหละ อย่างไรก็ออกจากเขาวงกตทางกันดารนี้ไม่ได้ คนๆนี้ แล้วยังไปมืดเมาโมหะ หลงหนักหลงหนา เข้าไปอีก
หลงหนักตรงที่ว่าเดินทางกันดารไป มันมีจิตนึกว่าจะไปสู่ทางที่สูงทางที่เจริญ แต่ไม่รู้ทางเลยเหมือนเขาวงกต ไม่รู้ทาง วน ทีนี้ก็มีเหตุปัจจัยอยู่ในตนเอง ท่านก็เรียกว่า อาหารเครื่องอาศัยชีวิต เป็นคำข้าว เป็นอาหาร กินให้ชีวิตอยู่ มีอาหารเป็นจำนวนหนึ่ง กินหมด หมดเสบียง ก็ไม่รู้ว่าจะกินอะไร คุณจะเดินทางอยู่ทางไหน มันก็มีดินน้ำไฟลม มีต้นหมากรากไม้ มีผลไม้ มีสัตว์ คุณกินสัตว์ล่าสัตว์ กินก็ได้ อย่างโง่ๆนั่นแหละกินสัตว์
ไม่โง่ไม่กินแล้วสัตว์ คุณก็เก็บพืชกิน จะโง่จนกระทั่งไม่รู้จักว่าพืชอะไรกินได้ เลยหรือก็ได้ ไม่ ไม่ พอหมดแล้วเป็นไง เราจะไปอย่างไร อยู่ในทางกันดาร ถ้าไม่มีกินนี้ตายทั้งหมดทั้งลูกด้วยนะ พ่อแม่เห็นแก่ตัวก็อย่ากระนั้นเลย ฆ่าลูกที่เป็นที่น่ารักที่น่าชื่นใจนี้กิน เอาเนื้อมากิน เดินอยู่ในทางกันดารต่อไป ก็ฆ่าลูกเสีย แล้วก็เอาไปทำเป็นเนื้อเค็ม พกไป กินไปเรื่อยๆ ก็อยู่ในทางกันดารอยู่ในเขาวงกตนั่นแหละ มันไม่มีทางพ้นหรอกเพราะไม่รู้ทาง ไม่มีจุดเริ่มต้น
เสร็จแล้วงมงาย ตัวเองฆ่าลูกด้วยมือ กินเข้าไปในปาก ลูกน้อยๆของฉันไปไหน ๆ ปัดโธ่เอ๋ย ก็เอ็งฆ่าลูกด้วยมือแล้วเอ็งก็ทำเนื้อเค็มกินยังชีพอยู่นี่ อุทาหรณ์ของพระพุทธเจ้านี้สุดแสบเลยนะ มันโง่อะไรถึงขั้นนั้นนะมนุษย์มนา
เพราะฉะนั้นคนกินเนื้อ และยกตัวอย่างถึงขั้นกินเนื้อบุตรด้วย คุณกินเนื้ออย่างอื่นก็เหมือนคุณกินเนื้อบุตร คุณกินเนื้อสัตว์ใดๆก็เหมือนคุณกินเนื้อ ทำไมโง่ ไม่รู้จักว่าพืชพันธ์ุธัญญาหาร มันไม่มีในแผ่นดินได้อย่างไร คุณเดินอยู่ในทะเลทราย รึไง
_สู่แดนธรรม… เดินอยู่ในทะเลทรายไม่มีพืชให้กินครับ
พ่อครูว่า… พระพุทธเจ้าท่านบอกแค่ว่าเดินทางไกลกันดาร ไม่ได้บอกว่าทะเลทราย คือเดินทางอย่างไม่สัมมาทิฏฐิ แต่คุณไปตีความว่าเดินอยู่ในทะเลทราย อย่าหัวล้านหลื่นครูนะ สำนวนของอีสาน อย่าหัวล้านหลื่นครู อย่าทำเป็นรู้เกินครูบาอาจารย์
เพราะฉะนั้นการโง่ซ้ำโง่ซ้อน คุณกินหมากกินพลูยังไม่ถึงขั้นกินเนื้อลูก อาจจะพอกันกับการกินเนื้อสัตว์ คุณก็ไม่รู้ตัว ไม่รู้เรื่อง กินไป นึกว่ามันยังชีพที่จริงมันไม่ได้ยังชีพอะไรเลยในการกินหมากกินพลูอย่างนี้เป็นต้น นี่คือความไม่รู้ เสพติด ไม่รู้สิ่งเสพติดในอาหาร กวฬิงการาหาร
_มีผู้เขียนมา คุณทำมาด้วยใจใต้ร่มโพธิ์
กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว เป็นอาหารเลี้ยงขันธ์ที่หยาบสุด มีกามคุณ 5 ครบ ต้องกินทุกวันขาดไม่ได้ จึงมีความยากที่จะแยกแยะความหิว ความรักชีวิต ความกลัวตาย แยกออกจากความติดในรูปรสกิน เสียงสัมผัสของอาหาร ที่ต้องอาศัยจนเกิดอาลัย
พ่อครูว่า…ผู้ที่พูดมาก็ได้เรียนรู้เข้าใจแม้แต่พยัญชนะและสภาวะ ว่า อาหารนี้เป็นของอาศัยจนเกิดอาลัย อาลัยคือยังโหยหา อาศัยคือในชีวิตยังต้อง อาศัยมันไป
พระสูตรนี้ชี้ให้เห็นการกินเพื่อดำรงชีวิตโดยไม่มีทางเลือก เพราะอาหารที่มีอยู่นั้นน้อยนิดก็หมดลง แถมทางก็กันดาร หาอะไรกินก็ไม่ได้ จำใจต้องฆ่าลูกน้อยเพื่อทำเป็นอาหารประทังชีวิต ไม่ฉะนั้นก็จะตายทั้ง 3 คนพ่อแม่ลูก
ขณะที่กินก็ยังรำพึงรำพันหาลูก กินเนื้อลูกอยู่แท้ๆก็ยังโง่จนกระทั่ง มันลืมไปได้อย่างไร ฆ่าลูกด้วยมือแล้วก็กินอยู่ในปาก ยังรำพี้รำพันว่า ลูกน้อยๆคนเดียวของฉันไม่อยู่ด้วยแล้ว หายไปไหนเสียๆ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านให้เตือนว่า ทำไมมันยังโง่ถึงขนาดนั้น ถ้ารู้สึกตัวกินอาหารนี่คือกินอย่างไม่ได้กินเพื่อความคะนอง ไม่ได้กินเพื่อความมัวเมา ไม่ได้กินเพื่อตกแต่ง ไม่ได้กินเพื่อประดับประดา แต่กินเพื่อจะต้องข้ามทางกันดาร ทางกันดารนี้คือโลกียะทั้งหมด รู้จักทาง พ้นจากทางกันดารออกไปสู่ทาง นิพพานได้นั่นคืออาริยะ นั่นคือทางพุทธ แต่เทวนิยมยังวนอยู่ในทาง กันดารทั้งนั้น ยังอยู่ในเขาวงกต ยังหลงสุขหลงทุกข์ ยังไม่มีทางพ้นได้เลย
เพราะฉะนั้นข้อเตือนใจให้เราตั้งสติให้มั่นเวลากินอาหาร ให้เปรียบเหมือนกันกินเนื้อบุตร เป็นอาหารที่มีผลสูงมาก ทั้ง 4 ข้อรวม 3 ข้อที่ผ่านมา จะได้ไม่มัวเมาหลงในรสอร่อยของอาหาร หรือกินเพื่อให้ร่างกายมีกล้ามเนื้อสวยงาม ผิวพรรณสวยงาม กินเพื่อให้ผิวพรรณสวยงาม กินแบบเพื่อความประดับประดา กินอย่างเท่ห์อีก
แต่ให้กินเอาสาระ รู้รสของตามรสแท้ของอาหาร เพื่อข้ามทางกันดาร เพื่อข้ามโอฆะสงสาร เพื่อละกามคุณ 5 ในอาหารนั้น
เมื่อกำหนดรู้ได้อย่างนี้แล้วความยินดีที่เกิดแต่เบญจกามคุณ จึงจะละสังโยชน์ได้
พ่อครูว่า… ดี ทำความเข้าใจไปเป็นลำดับ ผู้จะพ้นเรื่องอาหารนี้ มันเป็นเรื่องที่ แหม คือการใช้การรับรู้ทั้งทางตา หู จมูกลิ้น กาย ในอาหาร มันมีครบทุกรส กามคุณ 5 มันครบ ดีไม่ดีมันมีรสทางอัตตาด้วย คือติดยึดอย่างไม่รู้เรื่องเลย อัตตา ติดยึดอย่าง ไม่รู้เรื่องเลย เพราะฉะนั้นก็จะไม่รู้ตั้งแต่รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส มันเมาเลย เหมือนคนที่มันเมาเสพยา มันก็ไม่รู้เรื่องนี่คือพ่อคือแม่ คลั่งมาก็ฆ่าพ่อฆ่าแม่ได้ ไม่รู้เรื่องเลยติดยึด เมา ไม่รู้ความเสพติด ติดยึดคืออะไร แล้วทำให้ตัวเองหลง อย่างไม่รู้ว่ากินเพื่อที่จะยังขันธ์ แต่ไปติดเฉพาะรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส ไม่ได้ไปกินเพื่อยังขันธ์ กินหมากกินพลูนี้เพื่อยังชีวิตยังขันธ์ให้ต่อไปได้หรือเปล่า
พวกคุณไม่เคยกินหมากกินพลูเลยเคยถามแล้ว ชีวิตพวกคุณสบายกว่าไปติดยึด หมากพลูอีก ไม่ได้เรื่อง เพราะฉะนั้นความรู้ตื้นๆแค่ไม่รู้จักว่าสิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องกินเพื่อยังขันธ์ แล้วก็มาหลอกคนว่ามันเป็นเรื่องของธาตุขันธ์ พูดกลบๆเกลื่อนๆไปที่กินหมากกินพลู มันไม่ใช่เรื่องเสพสิ่งเสพติดแต่มันเป็นเรื่องของธาตุขันธ์ ถ้าจะให้อาตมาอธิบายตามความ เข้าใจที่อาตมารู้ก็คือ โมเมเพื่อให้เขาละไว้ในฐานที่เข้าใจว่า ก็เพื่อเลี้ยงธาตุขันธ์ ลึกเข้าไป กว่านั้นก็คือ คุณอยากกินต่างหาก แล้วคุณก็มาอ้างธาตุขันธ์มันอยาก ที่จริงธาตุขันธ์มัน ไม่ได้อยากหรอก แต่จิตนิยามของคุณต่างหากมันอยาก แล้วก็หลอกเอาไว้ว่านี่คือธาตุขันธ์ หลอกคนทั้งบ้านทั้งเมือง มหาบัวใช้ภาษานี้ว่ามันเป็นเรื่องของธาตุขันธ์ นี่คือหลอกคนไปอีก
อาตมาไม่เชื่อว่ามหาบัวไม่รู้ เพราะเรียนบาลีมา เป็นมหาด้วย แค่เรื่องธาตุ เรื่องขันธ์ไม่รู้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นอาตมาถึงบอกว่าคนที่โกหกอย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ทั้งๆที่รู้ว่าตัวเองโกหกไม่มีหรอกที่จะ ทำชั่วอะไรที่จะทำไม่ได้ ทำได้หมด ซึ่งก็ไม่รู้จะว่าอย่างไร
ที่ยกตัวอย่างนี้ขึ้นมาให้รู้ กวฬิงการาหาร ให้มันต่อกันไปจนกระทั่งถึงผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร และ วิญญาณาหาร มันเชื่อมโยงกันหมดเลยนะ
ผู้ที่มีความรู้ในเรื่องวิญญาณ ก็จะรู้เรื่องในความสุขความทุกข์
วิญญาณาหาร พระสูตรนี้ชี้ให้เห็น ความทนทุกข์ทรมานของวิญญาณ พระราชาสั่งเจ้าหน้าที่ประหารโจร ด้วยหอก 100 เล่มเวลาเช้า โจรไม่ตาย เที่ยงก็เอาไปฆ่าอีกด้วย หอก 100 เล่มก็ไม่ตาย เย็นอีก 100 เล่มก็ยังไม่ตาย เพื่อที่จะยก ให้เห็นชัดๆว่า วิญญาณนั้นตายยาก ต้องทนทุกข์ทรมานอย่างมาก แม้ว่ากำลังถูกประหาร ด้วยหอกเพียงเล่มเดียวก็เกินพอแล้ว หอกเล่มเดียวนี้ฆ่าชีวิตหนึ่งชีวิตตาย นี่หอกตั้ง 300 เล่ม ก็ยังไม่ตายอีก
อุทาหรณ์นี้เทียบไปจนกระทั่งอาตมาว่า อาตมาใช้ปากหอกแทงไปเรื่อย แทงผู้ที่หลงผิดเหมือนโจรปล้นศาสนา ก็พูดผ่านไปอธิบายหมดแล้ว หอกอาตมาหักไม่รู้เท่าไหร่แล้ว นี่เกินกว่า 300 เล่มแล้ว จนอาตมาว่าโอ้..ตาย จนอาตมาจึงได้ชื่อว่า โพธิรักษ์ไอ้หอกหัก ไม่มีความสามารถที่จะใช้หอกแทงให้พวกนี้รู้สึกตัว หอกเล่มเดียวก็รู้สึกได้แล้วเจ็บได้แล้ว ทำไมถึงหนังเหนียวอย่างนั้น หนังเหนียวขนาดนั้น เจ้าประคุณเอ๋ย..
นี่แหละคือความไม่รู้ทุกข์ แล้วหลงทุกข์ว่าสุข เป็นพวกวิปลาส
วิปลาส 4 มีอะไรบ้าง
1.เห็นความไม่เที่ยง 2. เห็นความทุกข์ว่าเป็นความสุข 3. เห็นความไม่มีตัวตน ว่ามีตัวตน 4. เห็นความไม่น่าได้ ไม่น่ามี ไม่น่าเป็นเลย หลงว่า เป็นความน่าได้ น่ามี น่าเป็น
เอาความไม่น่าได้ ไม่น่ามี ไม่น่าเป็น มาพูดดูบ้าง
ความทุกข์ 10 ประการที่เลี่ยงได้และเลี่ยงไม่ได้
คนเราเกิดมานี่ ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป ผู้ที่บรรลุแล้ว พระอรหันต์ทุกองค์ก็พูดแบบนี้ เห็นทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป
พระพุทธเจ้าท่านแยกทุกข์ที่หลุดพ้นได้ เลี่ยงได้ 4 ประการ ทุกข์ที่เลี่ยงไม่ได้อีก 6 ประการ
เพราะฉะนั้นทุกข์เท่านั้น ผู้บรรลุอรหันต์แล้ว ทุกข์ 4 ประการ หมดเลี่ยงได้หมดทุกข์ หมดสุขแล้วเพราะรู้เหตุมันดับไปแล้ว แต่ทุกข์อีก 6 ประการ แม้แต่พระพุทธเจ้าก็เลี่ยง ไม่ได้
ในทุกข์ 10 ประการ
ก. ทุกข์ที่เลี่ยงไม่ได้ (ทุกข์อันเกิดจากกาย)
-
สภาวทุกข์ ทุกข์ประจำสังขาร เกิด แก่ เจ็บ ตาย ใครก็เลี่ยงไม่ได้การเกิดก็เป็นทุกข์การแก่ก็เป็นทุกข์การเจ็บก็เป็นทุกข์การตายก็เป็นทุกข์นี่ เรียกว่า สภาวะทุกข์ สภาวะแปลว่า อันปรากฏ ปรากฏอยู่ให้เห็น
-
นิพัทธทุกข์ ทุกข์อยู่เนืองนิตย์ คือ หนาว ร้อน หิว กระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ
-
อาหารปริเยฏฐิทุกข์ ทุกข์ในการหากิน-การทำงาน . ต้องขวนขวาย แม้แต่สัตว์ก็ต้องหากิน
-
พยาธิทุกข์ อวัยวะเจ้าการทำหน้าที่ไม่เป็นปกติ คนไม่ป่วยเลยตลอดจนตายไม่ปวดหัวเลยมันคงจะหายากอย่างน้อยก็ต้องป่วยบ้างอย่างนั้นก็ต้องเจ็บแก่มา ปวดขา ปวดแข้ง ปวดนั่นปวดนี่ เป็นพยาธิทุกข์
-
วิปากทุกข์ ทุกข์เพราะผลกรรม เลี่ยงวิบากเก่าไม่ได้ วิปากคือวิบาก วิบากตามทันเราเหมือนหมาไล่เนื้อ มันจัดการทำให้เราทุกข์ อย่างอาตมานี้มีวิบากต้องไปรับทุกข์ ถูกแก๊สน้ำตา มันไม่รู้จะเอาไปไว้ไหน ความเป็นพยาธิทุกข์เจ็บป่วยนั่นก็ทุกข์อยู่แล้ว เจ็บป่วยก็ทุกข์อาตมาเจ็บป่วยก็ทุกข์ ไอ้นี่วิปากทุกข์ วิบากมันตามมาถึงทัน โอ้โห แสบ ทุกข์ทรมานทรกรรม
-
ทุกขขันธ์ ทุกข์รวบยอดเพราะการประชุมแห่งขันธ์ 5 อันยังอาศัยมีชีวิตอยู่
เพราะฉะนั้นคนที่เกิดมามีรูปนามขันธ์ 5 มันเป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ว่า จะพ้นทุกข์ได้จริงๆต้องไม่เกิดมามีรูปนามขันธ์ 5 สลายจิตวิญญาณ สลายอัตตาเป็นดินน้ำไฟลมไปเลยได้ สุดยอดแห่งการตรัสรู้เลย รู้วิธีทำ รู้วิธี รู้จักจิตนิยาม รู้จักจิตเจตสิกต่างๆ รู้จักเหตุให้เกิดจิต ดับเหตุเสียได้ทุกอย่างสลายเป็นดินน้ำไฟลม อันนี้ก็คืออยู่ในทุกข์ที่เลี่ยงได้ แล้วมันจะพาให้ความทุกข์ที่เลี่ยงไม่ได้นั้น เลี่ยงได้ด้วย อีก 4 อันที่เลี่ยงได้ ในขณะที่คุณยังเป็นๆ
ทำไมพระพุทธเจ้ารู้ว่าทุกข์ที่เลี่ยงได้ ถ้าคุณไม่มีชีวิต คุณจะรู้ได้ไหม … ไม่ได้ จึงต้องมีชีวิตอยู่ เพราะฉะนั้นก็ค้นคว้าในขณะมีชีวิตว่า อ๋อ…มันเลี่ยงได้ ก็คือ อริยสัจ 4
ทุกข์อริยสัจ คือ ทุกข์ที่เลี่ยงได้ เมื่อสามารถปฏิบัติจนหมดทุกข์ที่เลี่ยงได้นี่แล้ว มี
ข. ทุกข์ที่เลี่ยงได้ (เจตสิกทุกข์ อันสามารถดับเหตุได้แท้)
-
ปกิณกทุกข์ (ทุกข์จรแห่งกิเลส คือ โศก ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ เมื่อพรากจากคนที่รัก หรือพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก เป็นต้น) คือ คุณอวิชชา คุณโง่ คุณไม่รู้ คุณก็ไปมีทุกข์มีโศก ไปโศกทำไม ไปพิรี้พิไรอยู่อะไรต่างๆอยู่ทำไม ไปคร่ำไปครวญ แล้วก็ไปหลงโง่ ไปทุกข์โทมนัสอะไรอยู่กับมัน จะเหลือเศษทุกข์ อุปายาสะ ต้องเรียนรู้มาให้ได้มันเป็นปกิณกะทั้งนั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรเลย
-
สันตาปทุกข์ (ทุกข์ คือ ความร้อนเผาใจ อันนื่องมาจากกิเลสไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ แผดเผา) ทุกข์ที่เกิดจากกิเลส เราสามารถดับเหตุคือ ราคะ โทสะ โมหะได้ นี่ก็เลี่ยงทุกข์นี้ได้แล้ว
-
สหคตทุกข์ (ทุกข์ไปด้วยกันกับโลก เช่น ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข) เป็นความทุกข์ที่ยังพัวพัน ยังเกี่ยวข้องอยู่ เหมือนกับพวกมหาเถรสมาคมยังต้องไปเกี่ยวข้อง ไปมีลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข อยู่อย่างนั้น ทั้งที่มันเลี่ยงได้ ไม่ต้องไปเอา