660801 พ่อครูเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตร วันอาสาฬหบูชา ราชธานีอโศก
ดาวโหลดเอกสารที่ https://docs.google.com/document/d/1uT2wwmsS_Fw7gm7U9oCAQFpRbe1PVq_6/edit?usp=sharing&ouid=101958567431106342434&rtpof=true&sd=true
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1-0KNDYCpzM90qBcFC31lkl2PpMKdD-YF/view?usp=sharing
และ
ดูวิดีโอได้ที่ https://youtu.be/kqMHK_gMY2M
และhttps://fb.watch/m8M6cFydA6/
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร วันอาสาฬหบูชา
พ่อครูว่า… วันนี้วันอังคารที่ 1 สิงหาคม 2566 ที่บวรราชธานีอโศก ขึ้น 15 ค่ำเดือน 8(2) ปีเถาะ
เจริญธรรมทุกๆคน วันนี้เป็นวันอาสาฬหบูชา คือวันเพ็ญเดือน 8 วันสำคัญเดือน 8 ชาวไทยเรามาค้นพบ ก็คงมีคนพูดถึงเยอะแล้วล่ะ มาค้นพบว่าเป็นวันสำคัญที่
-
เกิดพระสงฆ์
-
เกิดพระธรรม
-
พระพุทธเจ้ามาทำให้เกิดพระธรรม แล้วทำให้เกิดพระสงฆ์ เป็น ด้วยความรัตนะ 3 หรือแก้วสามดวง
ประเทศอื่นเขานับเอาวันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญ เดือน 6 โน่นวันที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้เองโดยชอบ วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 แล้วท่านถึงได้พระราชดำเนินมาจากที่ตรัสรู้ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา มาถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน มาพบปัญจวัคคีย์ 5 รูปที่เคยศึกษาอยู่ร่วมกัน ท้าวความไปนิดนึง
ศึกษาอยู่ร่วมกัน ปัญจวัคคีย์เขายังเป็นเดียรถีย์อยู่เต็มที่ พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาก็พยายาม ความระลึกรู้ยังไม่ขึ้นมาตอนแรก ท่านก็ยังไม่ได้ว่าอะไร ท่านก็ปฏิบัติตามกันแบบผิดๆ เพราะว่าตอนนั้น พราหมณ์ทั้งหลายปฏิบัติผิดหมด พระพุทธเจ้า ก็ไปบำเพ็ญกันในป่า 6 ปี ร่วมกับ พราหมณ์ ทั้ง 5
ปฏิบัติ 6 ปีนั้นเป็นการปฏิบัติผิด ปฏิบัติ 6 ปีนั้นเป็นการปฏิบัติผิด ฟังให้ดีนะคือผิดอะไร
-
ออกป่า
-
ปฏิบัติแบบหลับตา สะกดจิต นั่งสมาธิอย่างทุกวันนี้เลยคือความผิด ที่ไม่ใช่ศาสนาพุทธปฏิบัติผิดที่ไม่ใช่ศาสนาพุทธ นั่นแหละที่ปฏิบัติกันอยู่ทุกวันนี้คือความเสื่อมของศาสนาพุทธ ส่วนใหญ่นะ ขออภัยขอแวะนิดหนึ่งว่าชาวอโศกนี้ปฏิบัติถูก จึงขัดแย้งกันกับทางสังคมหมู่ใหญ่ ที่ปฏิบัติผิด ยึดถือกันผิดๆไม่ว่าจะยึดถือกันทางความรู้แบบบัญญัติ แบบพยัญชนะศึกษา เปรียญศึกษา ภาษาศึกษา ไวยากรณะ วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ ฉันทลักษณ์ อะไรกันอยู่นั่น เตลิดเปิดเปิงไปรู้มากเป็นผู้รู้ ผู้คงจะเรียน เต็มหูเต็มหัวหมดแต่ไม่ได้บรรลุธรรมของพระพุทธเจ้า ไม่บรรลุธรรมในชาตินี้ ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสเรียกว่าเป็น ปทปรมบุคคล เป็นบุคคลผู้จมอยู่ใต้โคลน ไม่ใช่ เนยยะ อุคฏิตัญญู วิปัญจิตตัญญู