660731 ถ้าไม่เรียนรู้สุขทุกข์ ก็สั่งสมบาปอยู่ทุกลมหายใจ รายการปรับทุกข์ปลุกธรรม #33 ราชธานีอโศก
ดาวโหลดเอกสารที่ https://docs.google.com/document/d/1-LeigUFVc4zzY8sy-FPYAEO404wDR9R7/edit?usp=sharing&ouid=101958567431106342434&rtpof=true&sd=true
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1VjZGsj9wAAlWJtwuW1BuoR8ipDuD6Ipu/view?usp=sharing
และ https://podcasters.spotify.com/pod/show/dhamaporkru/episodes/660731-167-1—-_1_1-e27it61
ดูวิดีโอได้ที่https://youtu.be/3LYHWwuHDd8
และ
https://fb.watch/m7qqrJ54-7/
โลกุตระคืออะไร สำคัญอย่างไร
พ่อครูว่า…วันนี้วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม 2566 ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8(2) ที่บวรราชธานีอโศก
วันนี้อาตมาคิดว่าจะดึงเอาเรื่องโลกุตระกลับมาตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม เราพูดไปได้ 2-3 ประเด็น อาตมาเจตนาจะนำเรื่องโลกุตระมาพูดขยายความให้เข้าใจกัน
คือโลกุตรธรรมมันสูญ มันเสื่อมไปจากชาวพุทธไปแล้วตามที่พระพุทธเจ้าท่านพยากรณ์เอาไว้ ในพระไตรปิฎก เล่ม 16 ข้อ 672 ว่ามันจะเสื่อมไปแล้ว มันก็เสื่อมจริงๆตามคำพยากรณ์ไว้ในยุค 2,500 ปีนี้
อาตมาก็จะยืนยันตัวเองว่า อาตมานี่แหละเป็นผู้ที่นำเอาโลกุตรธรรมของพระพุทธเจ้าที่มันเสื่อมไปนั้นกลับคืนมา สถาปนาลงไปในสังคมโลกยุคนี้เลย เอาโลกุตระมาเปิดเผยมาขยาย มาสืบทอดของพระพุทธเจ้าว่า โลกุตระคืออะไร
โลกุตระ คือ สิ่งที่ไม่ใช่โลกียะ แตกต่างไปจากโลกียะ โลกียะหมายถึงอะไร หมายถึงว่าความเป็นโลก ความเป็นโลกคืออะไร คือสิ่งที่มนุษย์ชาติเราเป็นอยู่นี้ มนุษย์ชาติเราก็เป็นอยู่อย่างธรรมดาสามัญปุถุชน อยู่ใต้อำนาจของ ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข เป็นทาสเลย หรือ ทาษ เป็นทาสของ ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข ยังไม่หมดกิเลส ยังไม่รู้จักกิเลสที่จะหลุดพ้นออกมาจากโลกียะ
โลกุตระ จึงเป็นผู้หลุดพ้นออกมา จิตไม่อยู่เป็นทาสแล้ว เป็นนายเลย เป็นนาย ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข นี่คือโลกุตระ
สำคัญอย่างไร สำคัญมากสำหรับความเป็นมนุษย์ มนุษย์เราถ้าไม่ได้ศึกษาโลกุตรธรรมของพระพุทธเจ้า
โลกทั้งโลกนี้ มีพลเมือง 7,000 ล้านกว่า ล้วนแต่ส่วนใหญ่เกือบครบ เกือบเต็มโลก ตกอยู่ใต้อำนาจโลกียะทั้งนั้น ตกอยู่ใต้อำนาจของ ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข ไม่รู้จักสุขไม่รู้จักทุกข์ จะต้องเอาสุข เป็นสุขนิยม จะต้องเอาสุขให้ได้
มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้โลกุตรธรรม จึงรู้ว่าโลกุตรธรรมไม่อยู่ใต้อำนาจโลกแล้ว อยู่เหนือโลกได้ จึงคือความสำคัญยิ่ง โลกุตระนี้อยู่เหนือโลกธรรมได้ จึงสุดยอดสำคัญ นี่คือสำคัญอย่างไร
ผู้ที่สามารถเรียนรู้ฝึกฝนจิต เจตสิก มีปัญญา รู้จักรู้แจ้งรู้จริงในเรื่องของโลกุตรธรรมนี่แหละ จึงจะสามารถอยู่เหนือโลกได้
อีกประเด็นหนึ่งก็คือโลกุตระมีในโลกเพราะใคร โลกุตระมีในโลกขึ้นมาได้เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่อุบัติขึ้นมาในโลก ขึ้นมาสถาปนา ขึ้นมาอธิบาย ขึ้นมานำเอาโลกุตรธรรมขึ้นมาประกาศ มันเป็นเรื่องของ จิต เจตสิก รูป นิพพาน
โลกุตรธรรมมีนิพพาน เอามาประกาศแล้วให้คนรู้ตาม เรียนรู้แล้วไปฝึกฝน จิต เจตสิก รูป แล้วถึงขั้นนิพพานได้
วันนี้ตั้งใจจะต่อว่าโลกุตรธรรมทำให้คนเจริญแบบไหนแล้วก็จะว่ากันไปยาวเรื่อยๆ
ก่อนจะต่อก็ขอแวะโอภาสปราศรัยกับ SMS
SMS วันที่ 29-30 ก.ค. 2566
_วันชัย สหมโนธรรม : ทุกวันนี้ฟังธรรมอยู่ที่บ้านแล้วนำมาปฏิบัติ..แต่ไม่มีหมู่กลุ่มมาขัดเกลาการเจริญในธรรมนั้นยากมากแต่ก็พยายามขัดเกลา..ลดละแต่ไม่ทบทวนในธรรมนั้นเจริญยากเพราะไม่อยู่ในหมู่กลุ่ม ไม่มีคนขัดเกลากำลังคิดว่าถ้าเราไม่มีหมู่กลุ่มเจริญในธรรมยากจริงๆ ครับ.
พ่อครูว่า… ดีมาก ฟังธรรมแล้วเอาไปทำ ไม่ฟังธรรมแล้วเอาไปทิ้งดีมาก และจริงที่อยู่คนเดียวปฏิบัติเรียนรู้ไม่มีหมู่กลุ่มขัดเกลา ไม่มี มิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี ทั้งหมดที่จะช่วยกันจะไม่เต็มที่ แต่มันมีเท่านั้นก็ทำเท่าที่จำเป็นก็ดีแล้ว ฟังธรรมไปก็มีความรู้ว่ามันบกพร่อง เหตุที่มันไม่สมบูรณ์มีอะไรบ้าง
_นาง จับใจ ธนะโภค · กราบนมัสการท่านสมณะฯ ทั้งสามท่านค่ะ รายการวาไรตี้บุญนิยมวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ฟังธรรมได้อรรถรส – ธรรมมะเบาๆ เรียบๆ (หมัดหนัก) – ได้รู้วิธีการขัดเกลาจากอดีตเจ้าอาวาส(วัดในเมือง)
พ่อครูว่า… ดี รายงานผลมา ขอบคุณมากผู้ที่ฟังไปและ SMS มา เพียงแต่บอกตอบว่าได้รับฟังรับทราบ ก็ดีแล้ว มี comment มาก็ดี
_นาคี ภูน้ำเพชร · คารวะ ท่านจันทร์ นักกลอนธรรม_ผู้น้อมนำ บทกวี นำคำสอน _เทศน์ธรรมะ ชี้การเมือง ถูกทุกตอน_ได้บั่นทอน อำนาจชั่ว มัวอัตตา
พ่อครูว่า… พูดเป็นกลอนเลย ใกล้ชิดท่านจันทร์ก็เลยได้ด้วย ท่านจันทร์ ท่านร่ายกลอนกวีเป็นประจำเลย ขาดไม่ได้ รู้สึกว่าท่านจะเป็นผู้บรรยายธรรมะที่เป็นนักกลอน
_Kasem Santhong เกษม แสนทอง · กรณีของท่านเจ้าคุณพยอมเป็นที่น่าเสียดายที่ท่านตำหนิบุคคลที่ไม่ควรตำหนิ แถมยังไปยกย่องบุคคลที่ไม่ควรยกย่อง
พ่อครูว่า… สังคม Social เดี๋ยวนี้ก็ดี ต่างคนต่างรับฟัง กล้าแนะนำกัน ให้ความเห็นกัน อย่างที่ทำๆกันนี้
อะไรเป็นบรรทัดฐานที่พ่อครูใช้วัดความดี
_Sup Laopranichon ทรัพย์ เหล่าปรานีชน : ท่าน เอาความดี วัดกับบรรทัดฐานอะไรค่ะ
พ่อครูว่า… อาตมาพยายามทำความเข้าใจสำนวนของคุณนะ พยายามที่จะเอาอะไรมาวัดเป็นบรรทัดฐาน ความดี เอาความดีวัดกับบรรทัดฐานอะไร
เรามาเข้าใจแบบไทยๆว่า บรรทัดฐานการวัดความดีนั้นเอาอะไรวัด ก็เข้าใจอย่างนี้นะ อาตมาเข้าใจอย่างนี้
ก็ขอตอบว่าบรรทัดฐานในการวัดความดี มันเป็นสมมุติ ความดีความชั่วเป็นสมมุติ แต่ละกลุ่มชุมชน แต่ละสังคม กลุ่มชุมชนแต่ละสังคมหมู่กลุ่ม ก็จะมีบรรทัดฐานของตัวเอง ยกตัวอย่างอย่างหยาบๆ
ศาสนาหนึ่งก็มีบรรทัดฐานของคัมภีร์หรือคำสอนของพระศาสดาเป็นบรรทัดฐาน ย่อยลงมาแม้แต่ในศาสนาเดียวกันก็ยังมีนิกาย มีพวกที่ย่อยๆแต่ละความเห็น แต่ละกลุ่ม แต่ละสังคมก็แยกแตกต่างกันไป ถือเป็นบรรทัดฐานแยกไปอีก ก็เป็นสมมุติมันไม่เที่ยงมันแล้วแต่สมมุติยึดถือ นับถือ ยอมรับกันเป็นบรรทัดฐาน
ที่นี่ของอาตมาเอาอะไรเป็นบรรทัดฐาน อาตมาเอาบรรทัดฐานของตัวเอง ต่อไปนี้เลย เอาตัวเองเป็นบรรทัดฐานของตัวเองนี้ขอยืนยันว่า อาตมาเข้าใจธรรมะของพระพุทธเจ้าอย่างนี้ คนอื่นเขาก็จะพูดอย่างนี้เหมือนกัน เขาว่าเขาเอาความเข้าใจของพระพุทธเจ้า คนอื่นเขาก็จะพูดอย่างนี้เหมือนกันเขาว่าเขาเอาความเข้าใจของพระพุทธเจ้าอย่างนี้ เพราะฉะนั้นเขาก็เอาของเก่าเหมือนกันอาตมาก็ขอบอกความจริงอย่างนี้เพราะมันแย้งกันแน่
เพราะความเห็นความเข้าใจที่อาตมาเอาความเห็นอาตมาเป็นบรรทัดฐานนี้ อาตมาเปิดเผยความจริงว่าอาตมาทำงานศาสนาอาตมาเอาธรรมะของอาตมามาเอง อาตมาเป็นพระโพธิสัตว์ แม้จะเรียกว่าเป็นพุทธศาสนาด้วยกัน อาตมายืนยันอาตมาเป็นพุทธแล้วพุทธก็มีแต่เดิมด้วย อาตมาก็เอาความเห็นของอาตมาตามที่อาตมาเข้าใจนี้มาแสดงออก ซึ่ซึ่งขัดแย้งเลยกับของส่วนใหญ่กับของที่เขายอมรับนับถือกันจนเป็นเรื่องขัดแย้งกันจนกระทั่งจะเอาอาตมาตาย
จนสุดท้าย อาตมาก็เข้าใจของอาตมาอย่างนี้ ท่านก็เข้าใจของท่านเป็นอย่างนั้นก็เป็นนานาสังวาส แต่ว่าท่านเรียกได้ว่าความเข้าใจของอาตมาไม่เป็นพุทธแต่ของท่านเป็นพุทธ นี่คือท่านแยกนิกายโดยความเห็นของท่านความเข้าใจของท่าน
แต่อาตมาไม่ได้ไปว่าท่านไม่เป็นพุทธ อาตมาก็ถือว่าท่านเป็นพุทธ แต่ท่านมีความเห็นต่างกันกับอาตมา นี่คือความหมายของนานาสังวาส ที่อาตมาเห็นอย่างนั้นและถืออย่างนั้น อาตมาไม่เห็นว่าท่านเป็นนิกายเพราะอาตมาไม่อยากแยก อาตมาก็ไม่เห็นว่าท่านคิดแยก ท่านก็ว่าท่านนับถือพระพุทธเจ้า อาตมาก็ว่านับถือพระพุทธเจ้า อันนี้อาตมาเชื่อจริงๆของท่านและอาตมาก็จริงใจของอาตมา อาตมานับถือพระพุทธเจ้า
แม้ว่า แม้ว่าในทิฐิ Concept นับถือพระพุทธเจ้า อาจจะพระพุทธเจ้าคนละองค์ก็แล้วแต่ อันนู้นคือตามสมมุติ แต่สัจจะมันคือเนื้อหาของความเข้าใจ เนื้อหาของปัญญาที่แท้ ของอาตมานั้นอย่างหนึ่ง ของท่านที่แตกต่างกับอาตมานั้นอีกอย่างหนึ่ง นี่คือบรรทัดฐาน ที่ใช้ อาตมาก็ใช้อย่างนี้ด้วยความจริงใจ ทำงานนี้มาก็ยังอยู่ในบรรทัดฐานที่อาตมาเชื่อมั่นของอาตมา ทำงานมา 50 กว่าปีแล้วและก็มั่นใจอยู่ว่ายิ่งดี ยิ่งถูกต้อง ยิ่งยืนยันตามจริง
อาตมาก็ถือบรรทัดฐานบัญญัติของพยัญชนะในพระไตรปิฎก อาตมาก็ว่ายังโชคดี ท่านสังคมหมู่ใหญ่ ท่านก็ถือพระไตรปิฎกเล่มนี้ ฉบับของพระกัสสปะ ฉบับสยามรัฐนี้ พยัญชนะอันเดียวกันแต่ความเห็นต่างกัน เท่านั้นเอง ก็ยังดีมีหลักฐานอันเดียวกันให้ยึดถือก็ต่างคนต่างเข้าใจหรือต่างคนต่างอธิบาย มันเป็นสุดท้าย
อาตมาอธิบายอย่างอาตมา ใครฟังแล้วเห็นว่าเป็นธรรมวาทีเป็นคำพูดคำกล่าวอธิบายแล้วเห็นว่าเป็นธรรมะก็เอา ใครจะเห็นว่าไม่เป็นธรรมะ เป็นอธรรม ก็ไม่เอา ก็ไปเห็นอีกอย่างหนึ่งที่ต่างจากอาตมา ก็เห็นอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นธรรมวาที ก็เห็นของอาตมาเป็นอาทมาวาที มันไม่ใช่ธรรมะ พูดอย่างนี้ไม่ใช่ธรรมะตามที่เขาเห็น เขาเชื่อก็ต่างต่างคนต่างเห็น
ที่นี้ถ้ามีอะไรจะไม่เห็นด้วยกันได้ อันนี้บังคับไม่ได้ มันเป็นอิสระเสรีภาพของบุคคลพระพุทธเจ้าถึงแยกให้เป็นนานาสังวาส ต่างคนต่างมีความเห็นความเข้าใจต่างกันแล้วก็ต่างคนต่างทำตามที่เราเห็นเราเชื่อ นี่เป็นสุดยอดแห่งอิสรเสรีภาพ ไม่ได้บังคับใคร
_ซึ้งซื่อ วิเชียร : กราบนมัสการพ่อท่านด้วยสุดเศียรสุดเกล้าครับ ผมประทับใจที่พ่อท่านเลือกที่ผ่าตัดแผลที่ขาที่หมอว่าอาจจะกลายเป็น cancer ได้ ที่พ่อท่านกรุณาทำเพื่อ ลูกๆ ทั้งหลายขอกราบขอบพระคุณที่เมตตาครับ และพ่อท่านได้เทศน์เรื่อง จรณะ 15 มาบ่อยอยากให้พ่อท่านอธิบายซ้ำในเรื่อง วิชชา 8 บ้างครับ กราบนมัสการขอบพระคุณอย่างสูงยิ่งครับ
พ่อครูว่า… รับไว้เป็นวาระ
จะเข้าถึงโลกุตระต้องละอุปาทาน 4
_สู่แดนธรรม : พ่อท่านนั้นน่าเห็นใจมาก ที่ต้องเหน็ดเหนื่อยมาสอนให้กลับมาตั้งต้นใหม่ โดยให้เข้าใจคำว่า “กาย” ให้ถูกตัวปัญหาซะก่อน ให้รู้ความหมายที่แท้จริงของตัวปัญหาที่ถูกต้องว่าเป็นอย่างไรแล้ว จึงจะสอนในขั้นต่อไป คือ ทำใจในใจให้ตัวปัญหานี้ให้มันพ้นไปจากสังโยชน์ คือ พ้นจากการผูกไว้ด้วยการเห็นผิด ว่าเป็นเรา เป็นของเรา เราเป็นอันนั้น ฯลฯ อันเป็นการสอนปัญหา “ในระดับชั้นประถม”
พ่อครูว่า… แม้แต่ในความเห็นของเถรสมาคมก็ยังมิจฉาทิฎฐิในเรื่องกายอยู่หรือสัมมาทิฏฐิก็ยังไม่ถ้วนรอบ ไม่บริบูรณ์เพราะคำว่ากายนี้ยิ่งใหญ่
_แต่ทุกวันนี้พ่อท่านต้องยอมรับเอาภาระมาสอนเบื้องต้น “ในระดับอนุบาล” กันเลยทีเดียวว่า ถ้าคนเรายังไปเข้าใจคำว่า กาย คือสภาพวัตถุที่เป็นเพียง “รูป” คือร่างกายอันเป็นสสารเท่านั้น โดยไม่มีนามอันเป็นพลังงานเลย แค่ชื่อว่า “กาย” คนก็ยังตีความให้ห่างไกลไปจากความหมายเดิมแล้ว
พ่อครูว่า… อันนี้อาตมาว่าจริงที่สุด มันจึงแสดงถึงความจริงว่ามันเสื่อม คนเข้าใจกายมิจฉาทิฏฐิคือแสดงความเสื่อมเบื้องต้นเลย
_ประสาอะไรที่ผู้เข้าใจผิดแม้แค่คำแปล จะได้ไปทำใจในใจให้ถูกต้อง คือ ยากต่อการไปละเป้าหมายของปัญหา / เขาเห็นผิด เข้าใจผิดตรงที่ มีทิฏฐิอันเป็นมิจฉาในเรื่อง “กายหยาบๆ ของตน” จึงควรมาเข้าใจใหม่ให้ถูกต้องต่อสภาวธรรมที่เป็นธรรมดาของเหตุปัจจัยเท่านั้น โดยไม่เป็นของตัวตนใคร ไม่มีอหังการในความเห็นผิด ที่ยึดเอากายมาเป็นของสำคัญว่าเป็นตัวเป็นตนของฉัน
พ่อครูว่า… คุณอธิบายไปถึงขั้นสูงสุดนะ คนไม่ยึดถือว่ากายมาเป็นของสำคัญว่าเป็นของตน ของฉัน ไม่ใช่ของใครเลย คุณไปเอาตัวจบ ตัวปล่อยวางว่ากายไม่ใช่ของใคร
_สู่แดนธรรม… คือ ที่ผมเขียนมา ผมก็เขียนไว้แต่พ่อท่านยังอ่านไม่ถึง ขอต่อเลยนะครับ…
คนที่พิจารณาอย่างนี้กับพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าบอกว่าเขาใช้โจทย์เดียวกัน เพียงแต่ว่า ผลของการพิจารณานั้น พระโสดาบันได้แค่เข้ากระแสไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ และ สู่สัมโพธิปรายนะ ขอแต่เพียงมีทิฏฐิ มีความเห็นได้ถูกเขาก็จะได้อย่างนั้น
ถ้าเป็นของพระอรหันต์นั้นพิจารณาในเรื่องเดียวกัน ท่านก็ได้ผลถึงถอนอาสวะได้หมด…
_นี่คือ ลำดับขั้นตอนที่พ่อท่านต้องยอมเหนื่อยโดยถอยกลับไปสอนใหม่ ตั้งแต่ขั้นอนุบาลกันเลยครับ ทุกวันนี้ผมก็รอคอยฟังจังหวะต่อไป ที่พ่อท่านจะเอามาสอนในขั้นประถม ว่า ต้องละความเห็นผิดในกายหยาบของตน ว่า ไม่เป็นตนของเรา เราไม่เป็นอันนั้น ชีวิตที่เราอาศัยอยู่ในขันธ์ทั้ง 5 มันเป็นแต่เพียง เหตุปัจจัย มาประกอบกันขึ้น เท่านั้น ฯลฯ
พ่อครูว่า… คำว่า กายหยาบของตน ว่า ไม่เป็นตนของเรา
อย่าลืมว่าอันนี้เป็นกายหยาบนะ คำว่าชีวิตหรือขันธ์ ทั้ง 5 เป็นเพียงเหตุปัจจัยที่ประกอบขึ้นเท่านั้น อันนี้เป็นความเข้าใจของผู้ที่มีวิชชาเต็ม ผู้ที่ยังไม่มีวิชชาเต็มจะไม่เข้าใจว่าขันธ์ 5 เป็นเพียงเหตุปัจจัยที่ประกอบขึ้นเท่านั้น คุณอ่านภาษาเข้าใจภาษาแต่ละคำ แต่ละความเอามาต่อเป็นวลี เป็นประโยค เข้าใจได้หมด คุณเข้าใจความหมายนั้นได้ แต่ความเข้าใจของคนมันมีขั้นมีชั้น ความเข้าใจขั้นต้นขั้นตื้นๆ เผินๆ อันนี้มีเยอะ
จะเข้าใจลึกซึ้งถึงเนื้อหา เนื้อแท้จริงๆ มันยากมากเลย เรื่องนี้นี่อาตมา ถ้าจะพูดถึง เรื่องความเข้าใจหรือความยึดถือนั้นเรียกว่าอุปาทาน มันจะชัดเจนขึ้น อุปาทาน 4 ที่พระพุทธเจ้าแยกไว้
-
กามุปาทาน (ถือมั่นติดยึดในกามภพ บำเรอรูปรสฯ) .
-
ทิฏฐุปาทาน (ถือมั่นติดยึดในทิฏฐิ เช่น เห็นว่าผีมีตัวตน)
-
สีลัพพตุปาทาน (ถือมั่นติดยึดในศีลและวัตรปฏิบัติธรรม)
-
อัตตวาทุปาทาน (ถือมั่นเข้าใจในอัตตาหรืออาตมันได้แค่ วาทะ แต่ไม่เคยรู้เห็นอัตตาตัวปรมาตมันจริงๆนั้นเลย) . . .
(พตปฎ. เล่ม 11 ข้อ 262)
กามุปาทาน ข้อที่ 1 หยาบ
อัตวาทุปาทาน อันนี้ข้อที่ 4 มีหยาบผสมละเอียด
ส่วนทิฏฐิ ความเข้าใจกับศีลพรต คือเรื่องความเข้าใจกับเรื่องของข้อปฏิบัติที่เอาไปทำกัน
คนเราพยายามจะทำ อุปาทาน 4 ให้ชัดเจน ให้ตนรู้ตนเองว่ามันหนักใน กาม ทิฏฐิ ศีลพรต หรือใน อัตตวาทุปาทาน
(พ่อครูไอตัดออกด้วย)
พ่อครูว่า… ถูกของคุณเหมือนกันที่จะต้องทำทิฏฐิให้เข้าใจก่อน แต่ทิฏฐินี้ ใครๆก็พูดกัน แต่เขาไม่รู้ความยึดถือของเขา คำว่าคำพูดมันก็พูดไปคนก็ฟัง ฟังก็เข้าใจหรือไม่เข้าใจ แต่ไม่รู้ว่าตัวเองยึดติดหนัก อุปาทานคือติดหนัก ติดเป็นอัตตวาทุปาทาน ติดทั้งอัตตา ติดทั้งเป็นวาทะ
ก็แปลกันถูกอยู่ว่า อุปาทานข้อที่ 4 อัตตวาทุปาทาน คือ ยึดถือ คำพูดเป็น อัตตา วาทะคือคำพูด เป็นอัตตา แล้วเขาก็แปลถูก แต่เขาไม่ใจสภาวะธรรมที่เขาเองนั้นยึดได้แค่คำพูดเป็นอัตตาอยู่
เช่น ปราชญ์ทางศาสนาพุทธได้แต่วาทะ ได้แต่คำพูด จ้อยๆๆๆๆ นั่นแหละยึดได้แต่คำพูดเป็นอัตตาของเขา เขาเข้าใจ กาม แปลว่าอะไร ทิฏฐิ ศีลพรตคืออะไร เขาเข้าใจทุกอย่าง แต่ศีลพรต เขาก็ปฏิบัติอย่าง สีลัพพตุปาทาน คือ ปฏิบัติศีลพรตไปตามจารีตประเพณีที่มันได้ผิดเพี้ยนสืบทอดกันมาอย่างออกนอกรีตพระพุทธเจ้าเลย เป็นของเดียรถีย์เลย มีแค่นั้นศีลพรตของเขา
ส่วนความเห็นของเขาก็เข้าใจตามที่เขายึด อัตตา ที่เขาพูด อัตตวาทุปาทาน ตามที่เขายึด อัตตา ที่เขาพูดนี่แหละ เขาได้เท่านี้
ส่วน กาม เขาก็เข้าใจว่า กาม นั่นมันคือเรื่อง จริงๆแล้วก็เข้าใจอย่างตื้นมาก กามนี่ เขาเข้าใจกามตื้นๆ แค่เพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นสายศึกษาบัญยัติ อย่างเปรียญธรรม ที่เรียนทางบัญญัติเป็นพระเมืองพระบ้าน เขาก็เข้าใจ กาม เขาเข้าใจว่าคืออะไร คือไม่มีเมีย เขาก็บอกว่าเขาพูดแล้วกามุปาทาน
พระป่าก็เหมือนกัน เข้าใจว่ากามคืออะไร ก็คือไม่มีเมีย นี่คือพ้นแล้วกามุปาทาน
ส่วนพระป่านั้นได้สะกดจิตตัวเองเก่ง เรื่องนี้ก็เลยมีน้อย ส่วนเรื่องของพระบ้านนั้นเละเลย แล้วหลอกคนตะพึด ทุกวันนี้ข่าวคราวออกมาไม่กี่วันนี้มีเยอะเลย แต่ละวัด แต่ละบ้านแต่ละพระแต่ละเจ้า เอาออกมาเปิดเผยกันหยำฉ่ากันในเรื่องของเพศสัมพันธ์ เลอะเทอะ ปาราชิกเน่าเหม็น
พูดก็พูดเถอะอาตมามัน ขออภัยขอใช้ภาษา ร่วมไม่ได้ เพราะสะอิดสะเอียน ขออภัยต้องใช้ความจริงที่บอกหัวใจจริงๆ อาตมารู้สึกอย่างนั้น อยู่ไม่ได้ มันรู้สึกสะอิดสะเอียนมาก มันเลอะ ไม่ว่าจะเป็นปาราชิกข้อ 1 ข้อ 2 เรื่องผู้หญิงผู้ชายและเรื่องเงิน
ข้อ 1 เรื่องผู้หญิงผู้ชาย
ข้อ 2 เรื่องเงิน ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่เละนะ ปาราชิกกันอย่างไม่รู้เรื่องเลย ในข้อที่ 2 มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ
เพราะฉะนั้นอาตมาเห็นความเสื่อมที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าสัจธรรมของพระพุทธเจ้านั้นเป็นโลกุตรธรรมนั้นหมายความว่ามันมีมรรคมีผลที่แท้จริง โลกุตระคือความมีมรรคมีผล รู้จักจิต เจตสิก รูปนิพพาน อ่านจิตเจตสิกของตัวเองได้ อ่านรูปได้ แยกรูปได้ แยกรูป 28 เป็นต้น แล้วก็มีนาม 5 เป็นต้นเอามาปฏิบัติ มีธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ หรือมีโพธิปักขิยธรรม 37 สามารถที่จะจัดการกับจิตเจตสิกของตนเอง ลดละกิเลสได้จริงๆ
มันไม่ได้เลย ไม่ว่าพระป่าหรือพระบ้าน ไม่ได้เลย ขออภัย แล้วก็ต้องไปดูถูกไปข่มเขาแต่อาตมาหลีกเลี่ยงความเป็นจริงไม่ได้จำเป็นต้องพูดความจริงนี้
อุปาทานทั้ง 4 นี้ อัตตวาทุปาทาน นี่คือผู้รู้นักปราชญ์ทางศาสนาพุทธทุกวันนี้ จมหนักที่สุด แล้วเขาก็รู้สึกว่าเขาเองไม่ละเมิดเรื่องเพศ เรื่องผู้หญิงผู้ชาย เขาก็พ้นกามแล้ว ที่จริงไม่ใช่เลย เขาไม่มี อปัณณกปฏิปทา 3
เขาไม่ได้ฝึกหัดตามหลักจรณะ 15 เริ่มตั้งแต่ศีลข้อ 1 2 3 เขาไม่ได้ปฏิบัติ เมื่อไม่ได้ปฏิบัติ สัจธรรมที่จะเกิด 1.เห็นแก่มนุษย์หรือเห็นแก่ความเป็นสัตว์โลก ตั้งแต่ข้อที่ 1 เขาไม่มีรายละเอียดเรื่องพวกนี้
เพราะฉะนั้นไม่มีมรรคผลในเรื่องนี้ จึงไม่เกิดการปฏิบัติกับมวลมนุษยชาติหรือกับสัตว์ทั้งหลายแหล่ อย่างลึกซึ้ง เช่น พวกเรานี้ สัตว์ทั้งหลายแหล่เราลึกซึ้ง จนกระทั่งไม่กินสัตว์เป็นต้น แต่เขาดูถูกแล้วนะว่ามันจะเลอะเกินไป คำสอนพระพุทธเจ้าไม่มีอย่างนั้น แต่ที่จริงมีชัดๆอย่างนั้นและลึกซึ้งกว่านี้ด้วยเรื่องเกี่ยวกับสัตว์ซึ่งเป็นธาตุวิญญาณตั้งแต่ สัตตะ ปาณะ ภูตะ ชีวะ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระไตรปิฎกอาตมาพูดอย่างมีหลักฐานเขาไม่รู้เรื่องมันไกลห่าง
พวกเราไม่กินเนื้อสัตว์นี่เขาก็ว่าแล้ว ที่จริงมันลึกกว่านั้น เราเอาเรื่องของใน ชีวกสูตร ท่านแยกถึงความ สัญจิจจะ แยกถึงจิต ที่มีจุดมุ่ง สัญจิจจะ อาตมาแปลว่า อาการของจิตที่มีทิศมุ่งไปแล้ว
สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตุง จิตที่มีทิศมุ่งไปสู่การทำให้ชีวิตตกต่ำ ถ้าจิต คนที่มีสัญญา มีจิตคิดมุ่งไปสู่จะทำลาย โวโรเปตุง แปลว่าจิตมุ่งไปทางร้าย จนทำลาย จนถึงการฆ่า ฆ่าอะไร ฆ่าชีวิตของความเป็น ปาณะ
เพราะฉะนั้น ถ้าแยก สัตตะ ปาณะ ภูตะ คือความเป็นชีวะ ชีวะในระดับ สัตตะ ชีวะในระดับ ปาณะ ชีวะในระดับ ภูตะ
ถ้าสัตตะ แน่นอนคือสัตว์เต็มตัว ถ้าปาณะนี่นับเป็นส้ตว์แล้ว แต่ถ้าภูตะ ท่านยังแยกเป็น 3 เป็น มหาภูตะ อันนี้ไม่ใช่สัตว์เลย
ภูตคาม เริ่มมีชีวะแล้ว แต่ก็ยังไม่ใช่สัตว์
เจตภูต เริ่มจะเข้าไปหาความเป็นสัตว์ความเป็น ปาณะ แต่ยังไม่ถึงสัตตะ
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในชีวกสูตรว่า จิตที่มุ่งมีทิศมุ่งไปสู่ความทำลาย โวโรเปตุง หรือ มุ่งหมายไปทางร้าย กับธาตุ ธาตุในระดับ ศีลข้อที่ 1 ท่านเอา ปาณะเป็นตัวตั้ง
แน่นอนฆ่าสัตตะ มันเป็นสัตว์ยิ่งกว่า ปาณะ
เพราะฉะนั้นถ้าก่ำๆกึ่งๆ สัตว์ที่เริ่มจะเป็นเจตภูติสูงกว่าภูตคาม เขาไม่สามารถที่จะรู้รายละเอียดเหล่านี้เลยว่าเขามี โวโรเปตุง เขามีบาป พระพุทธเจ้าถึงบอกว่า บาป ใน 5 ข้อนี้ที่มี สัญจิจจะเป็นบาป
มีจิตมุ่งไปสู่ข้อที่ 1 จิตเริ่ม สัญจิจจะ
ชีวกสูตร 1. ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อโน้นมา” สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตุง (อุทิศ, อุททิสสะ คือ เจาะจงมุ่งหมายไปที่สัตว์ชื่อนั้น) อุทฺทิสฺส ปาณํ อารภนฺติ
แค่มีจิตอย่างนี้ก็เป็นบาปเป็นเหมือนมากแล้วไม่ใช่บุญเลย
-
สัตว์นั้นเมื่อถูกเขาผูกคอนำมา ย่อมได้เสวยทุกข์โทมนัส
อันนี้มันบาปเห็นชัดๆแล้วแค่กล่าวชื่อก็บาป แต่ไปจับมันมาจะเป็นบาปขนาดไหน
-
ผู้นั้นพูดอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลายจงไปฆ่าสัตว์นี้” อันนี้ลงไม้ลงมือเลย
-
สัตว์นั้น เมื่อกำลังถูกเขาฆ่าย่อมเสวยทุกข์โทมนัส
-
ผู้นั้นย่อมยังตถาคตและสาวกตถาคต ให้ยินดีด้วยเนื้อเป็นอกัปปิยะ ชื่อว่าย่อมประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก