660707 ตอบปัญหาให้มีปัญญาผ่าสุขผ่าทุกข์ พุทธศาสนาตามภูมิ ราชธานีอโศก
ดาวโหลดเอกสารที่ https://docs.google.com/document/d/1PZxC5S8cxONvPvXxtcuGauvSqgxA30nu/edit?usp=sharing&ouid=101958567431106342434&rtpof=true&sd=true
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1gm6c90VFPeDp3Q_EqVnHv9zarY5oEyLc/view?usp=sharing
https://podcasters.spotify.com/pod/show/dhamaporkru/episodes/660707-108-e26lu25
ดูวิดีโอได้ที่ https://youtu.be/Wj7OgiLZC3A
และ https://fb.watch/lDMZ4G6EEB/
สมณะฟ้าไท… วันนี้วันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม 2566 แรม 5 ค่ำ เดือน 8 ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก
พ่อครูพูดเอาไว้ในหนังสือสารอโศก ฉบับเดือนกันยายน 2565 – มีนาคม 2566 ไว้ว่า “แก่นการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา อาตมาก็ไม่เก่งที่จะพูดอะไรต่ออะไรให้พิสดารไปมากมาย ก็วนเวียนอยู่ในคำสอนพระพุทธเจ้า ที่เอาหัวใจหรือเอาหลักการธรรมะพระพุทธเจ้ามาสอนอธิบายขยาย ด้วยความซ้ำซาก แต่ซ้ำซากก็ต้องฟัง เพราะเป็นธรรมะอันเป็นสัจธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ไม่ใช่คนจะมารู้ได้ง่ายๆ
ศาสดาเทวนิยมทั้งหลายที่เป็นศาสดาอยู่ในโลกซึ่งแพร่หลายยิ่งกว่าศาสนาพุทธ มีสมาชิกหรือผู้เป็นศาสนิกของเขามากมาย แต่ของพุทธเราไม่มากหรอก นอกจากไม่มากแล้วในศาสนาพุทธเองแท้ๆก็ยังยาก ที่ถือว่าเป็นผู้มีภูมิธรรม มีปัญญาที่จะเข้าใจลักษณะของศาสนาพุทธที่เป็นโลกุตระ ความรู้ของศาสนาทั่วไปก็เป็นความรู้ที่พูดตรงกันทุกคนว่า ทุกศาสนาเป็นศาสนาที่พาให้คนละความชั่วมาเป็นคนดี ซึ่งอาตมาก็ได้ย้ำให้ฟังว่า ศาสนาพุทธก็พาให้คนมาทำดี และสามารถทำดีได้อย่างถาวรด้วย หมายความว่าอะไร หมายความว่าทำดีในกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม หรือจิตวิญญาณเป็นประธานนั้น สามารถรู้จักเหตุแห่งการทำชั่วด้วย แล้วละเหตุแห่งการทำชั่วนั้น จึงไม่ทำชั่วอย่างเด็ดขาด
เพราะฉะนั้นกรรมทุกกรรมของผู้ปฏิบัติธรรมะของพระพุทธเจ้า จึงทำแต่ดีไม่มีทำชั่วเด็ดขาด และสามารถไม่ไปตามความปลุกเร้าให้ทำชั่วด้วย ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข อย่างไรก็ตามก็ไม่ไปทำอีก จึงเป็นการทำดีแบบโลกุตระ ไม่ได้ทำดีแค่โลกียะเท่านั้น โลกียะไม่เที่ยง โดยเฉพาะเขาทำได้ชาตินี้ ชาติหน้าตกต่ำ ชาติหน้าไม่เที่ยงแล้ว แม้จะเป็นศาสดาเองเกิดมาชาติต่อๆไป เขาจะไม่มีการรู้ถึงจิตวิญญาณเวียนตายเวียนเกิด และก็เหตุที่เป็นตัวต้นแห่งจิตนิยาม ต้นเหตุคือกิเลสนี่แหละ เขาไม่ได้เรียนรู้กัน เพราะฉะนั้น เขาทำลายกิเลสไม่ได้ ได้แต่กดข่ม สังวรระวังเฉยๆ แล้วไม่มีทฤษฎี ไม่มีธาตุรู้ที่เป็นญาณปัญญาที่จะจัดการกับกิเลส”
sms
ทำจิตให้เป็นดินน้ำไฟลม คืออย่างไร
_กิ่งธรรม…กราบนมัสการพ่อท่านที่เคารพและศรัทธายิ่งค่ะ…ลูกมีความสงสัยว่าสภาวะจิตที่เป็นพีชะกับอุตุ แตกต่างกันอย่างไรคะ เพราะจิตที่เป็นพีชะ กะ อุตุ ต่างก็เป็นจิตที่ไม่สุขไม่ทุกข์ เราจะทำจิตให้เป็นดินน้ำลมไฟ ในขณะที่มีชีวิตอยู่ได้อย่างไรคะ เพราะจิตวิญญาณเป็นธาตุรู้ แต่ดินน้ำลมไฟไม่มีธาตุรู้ หรือว่าเป็นอุตุตอนที่เราตายไปแล้วคะ กราบขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ
พ่อครูว่า…กายที่สามารถแยก เราไม่ไปแยกดินน้ำลมไฟหรอก แต่ในคำว่า กาย อันนี้ลึกซึ้ง ยังไงๆคุณก็จะต้องมี ในขณะที่คุณยังไม่ตาย กายแตก เพราะฉะนั้นคำว่า กายแตก กายัสเภทาปรัมมรณา หลังจากกายแตกไปแล้วนี่ ถ้ามันยังไม่ทิ้งกาย ยังไม่วางคำว่ากาย มันก็จะยังเกิดได้ มันก็จะยังมีจิตนิยาม มันก็จะเหลือธาตุรู้อยู่ เป็นแต่เพียงว่า
เมื่อตายกายแตก จิตวิญญาณก็ออกจากร่างไป เหลือสิ่งที่เป็นซากศพ ก็นั่นแหละคือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ที่แท้จริง ดิน น้ำ ไฟ ลม ที่ไม่มีจิตที่ร่วมเลย และไม่เรียกว่ามีกาย มีแต่ซากศพ ไม่ถือว่า คนตายที่มีร่าง จะบอกว่าคนตายมีแต่ร่างกาย ผิด คนตายไม่มีกาย มีแต่ร่าง
แต่คนที่ยังไม่ตาย ต้องมีกายอยู่เสมอ จะต้องมีทั้งดินน้ำไฟลมและจิต สังขารกันอยู่ ร่วมปรุงแต่งกันอยู่ ไม่มีการแยก เพราะฉะนั้นคำว่ากายจึงไม่แยก 2 ต้องมี 2 เสมอ กาย มีอย่างเดียวไม่ได้ นี่คือสัมมาทิฏฐิ
เพราะฉะนั้นศาสนาพุทธ 2,500 กว่าปี มิจฉาทิฏฐิในคำว่ากายแล้วในสังโยชน์ 10 ข้อที่ 1 ต้องให้สัมมาทิฏฐิในคำว่ากาย และต้องรู้กายที่เป็น สักกะ ในตัวเรา ของตน จึงจะเป็นผู้ที่สังวร สำรวม ปฏิบัติธรรมใดๆได้ เพราะมีความสัมมาทิฏฐิในคำว่ากาย แล้ว ตัวเองก็ปฏิบัติธรรมเพราะมีสัมมาทิฏฐิคำว่ากายจึงจะสามารถปฏิบัติธรรมของพุทธบรรลุธรรม ถ้าไม่มีความรู้สัมมาทิฏฐิอันนี้ โมฆะ
เพราะฉะนั้น กาย จะต้องมีข้างนอกเสมอ กายต้องมีข้างนอกเสมอ เมื่อมีข้างนอกเสมอ จึงมีกามคุณ 5 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ต้องเรียนรู้กิเลสใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย จนหมดกิเลสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย คือเราอยู่เหนือมันได้
กามาวจร ภายนอกเราอยู่เหนือมันหมด แล้วเป็นอนาคามีภูมิเป็นพระอนาคามีขึ้นไป เหลือแต่กิเลส รูปาวจร อรูปาวจร ข้างในก็สัมพันธ์สัมผัสข้างนอกนี่แหละ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็รับรู้อะไรอยู่ แต่ข้างนอกกิเลสไม่ได้กินท่านแล้วอนาคามี กิเลสมันหมดไม่มีฤทธิ์กับท่านและท่านก็หมดกิเลสภายนอก
เพราะฉะนั้น ดินน้ำไฟลมกับจิต มันต้องร่วมกันเป็นกายผสมกันอยู่ แต่เรียนรู้นี้เรียนรู้จากปัญญา กำหนดรู้ด้วยสัญญา และตัวรู้ที่มันเป็นตัวรู้สึกจริงๆคือเวทนา
สัญญาก็เป็นตัวกำหนดรู้จากเวทนาในเวทนา (พ่อครูไอตัดออกด้วย)
สมณะฟ้าไท… พ่อครู อธิบายถึงเรื่องกาย ซึ่งเราฟังมานับครั้งไม่ถ้วน แต่ก็ไม่ง่ายเลยที่เราจะรู้กายในปัจจุบันของเราได้ รู้เท่าทันอย่างมุทุภูตธาตุได้รวดเร็ว ไม่ง่าย แล้วจะทำใจในใจให้กิเลสมันลดในขณะปัจจุบันนั้นก็ยิ่งยาก ถ้าใครทำได้ก็ถือว่าจิตมี มุทุภูตธาตุ จิตเป็นอรหันต์ในปัจจุบันๆนั้นได้ หรือว่ามีความสามารถในการปฏิบัติธรรม
พ่อครูว่า… เพราะฉะนั้นเราทำใจในใจ มนสิการ การทำใจในใจของเรา เราจึงทำแต่ใจในใจ เป็นความรู้สึก และเป็นตัวที่จะรู้สึกอย่างดินน้ำไฟลม เป็นความรู้สึกอย่างดินน้ำไฟลม ใช้ภาษาพูดได้เท่านี้ คือดินน้ำไฟลมมันไม่มีบาป มันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ไม่มีบาปไม่มีบุญอะไรแล้ว
ก็อาการของใจที่เราสามารถสัมผัส ตาเราเห็นรูป เราก็รู้ความจริงตามความเป็นจริงของรูป รูปที่เราสัมผัสนั้นเป็นดินน้ำไฟลม เช่นก้อนหิน นี่คือก้อนหิน หยิบขึ้นมาดู ถ้าบอกว่าก้อนหินเฉยๆเราก็ไม่รู้สึกว่ามันเป็นอะไร พอก้อนหิน ทาสี เขาปรุงแต่งด้วยสี ดูอีกด้านหนึ่งมันก็เป็นก้อนหินธรรมดา แล้วเขาก็มาเอาสีทา เขียนลาย เขียนรูปอะไรเข้าไป มันก็เหมือนไม่ใช่ก้อนหิน แต่มันก็เป็นก้อนหินก้อนนี้ มันก็เลยแปรเปลี่ยนในความรู้สึกของเรา
การเห็นก้อนหินเฉยๆไม่ได้ปรุงแต่งอะไรเลย แม้คุณเองคุณไม่ได้เห็นว่ามันปรุงแต่ง ถ้าคุณชอบ โอ้โห..ก้อนหินก้อนนี้สวย มันก็สวยได้ ถ้าเขียนอย่างนี้มันก็แปลกไปจากก้อนหินเรียบๆ ถ้าเห็นเรียบๆก็ไม่รู้สึกว่าแปลก สวยๆอะไร ถ้ามาเขียนเป็นรูปร่าง มันก็เหมือนจะสวยขึ้น มันก็ต้องมีหิน มันก็ต้องมีความรู้สึก มีสัญญา มีเวทนากำหนด รู้สึกว่ามันสวย แล้วก็ชอบใจ รู้สึกว่าสวย อาการรู้สึกเวทนาของคุณก็ว่าสวย
มันก็มีทั้งก้อนหิน ดิน น้ำ ไฟ ลม มีทั้งเวทนา เพราะฉะนั้นกายในกาย เวทนาในเวทนา คุณก็แยกมีธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ แยกวิจัยแยกวิภัช แยกออกว่า กาย ส่วนนอกมันเป็นดินน้ำไฟลม ไอ้นั่นมันพืช ไอ้นี่มันอุตุ ก็แยกได้ว่านี่เป็นอุตุนะ
ส่วนอันนั้นคือพืช และพืชพวกนี้ตัดออกมาจากรากแล้ว พวกนี้มันเป็นพืชหรือเป็นอุตุ มันก็เป็นอุตุ มันหมดชีวะ นอกจากเหลือเป็น เจตภูต ในภูตคาม มีเชื้อแตกเหง้าแตกรากอีก มันยังมีภูตอีก
มี 3 ภูตะ ภูตคาม เจตภูต มหาภูต
พืชที่เกิดแต่เหง้าแต่ราก มันก็ปลูกขึ้นอีกแต่ว่าพืชบางอันถัดมาแล้วมันก็ไม่สามารถเป็นชีวิตชีวะอีกงอกงามไม่ได้อีก
สรุปที่ถามมามันก็ต้องรู้สังขาร สังขารมันก็ปรุงแต่งร่วมกัน ในร่างกายคุณไม่มีธาตุดินน้ำลมได้ที่ไหน แต่ตอนนี้ดูเหมือนเราไม่ได้มี อุจจาระมันถ่ายออกไปเป็นอุจจาระ มันก็เป็นอุตุ เป็นอุตุไปแล้วไม่เป็น พีชะ ไม่เป็นอาหาร แน่นอนอาหารไม่ใช่จิตหรอก คำข้าวอาหารไม่ใช่จิต เมื่อกินเข้าไป มันจะเป็นสัตว์ คนกินเนื้อสัตว์นะ ตอนเป็นๆก็เป็นชีวะ แต่ว่าคุณกินเข้าไปแล้ว มันไม่เหลือหรอกชีวะ ใช่ไหม เพราะฉะนั้นพืชก็เหมือนกัน มันอยู่บนต้นมันก็เป็นชีวะ คุณตัดออกมามันก็ไม่เป็นชีวะแล้ว กินเข้าไปมันก็ไม่มีชีวะ
แต่สัตว์บางทีมันยังดิ้นอยู่เลยนะ กินมันทั้งเป็นๆ สัตว์ ชีวะของมันตายคาปากเลย พวกยักษ์ทั้งหลาย
_สู่แดนธรรม… ผมขอถามว่าอุตุมันปรุงแต่งกับอุตุ มันไม่มีเจตนาใช่ไหมครับ ทีนี้พืชปรุงแต่งกับอุตุ อันนี้มีเจตนาไหมครับ
พ่อครูว่า… มันมีเจตภูต เริ่มต้นมีเจตะ ถ้ามันเป็น ภูตคาม มันก็มีส่วนของธาตุมุ่ง มันมี สัญจิจจะแล้ว เพราะว่าธาตุพืชมันมีสัญญากับสังขารแล้ว มีธาตุมุ่ง มีธาตุที่มีจิตมุ่ง มันเริ่มแล้ว ตั้งแต่สัญญา ตรงกับ สัญจิจจะ หรืออีกคำคือ อุทิศะ มีธาตุมุ่งแล้ว ไม่มีความมุ่งหมายแล้ว พวกเราศึกษาสภาวธรรมก็ละเอียดลออขึ้น
กิ่งธรรม คงพอเข้าใจได้นะว่า ตอนตายก็แน่นอน ไม่มีจิตวิญญาณในร่างมันก็เป็นซากศพดินน้ำไฟลมแน่ แต่อยู่ในชีวิตตอนเป็นๆนี่แหละ เพราะฉะนั้นปัญญาของพระพุทธเจ้าจึงสามารถรู้ได้ยอดเยี่ยมเลย และนอกจากจะรู้ได้ว่า ร่างกายเรามีดินน้ำไฟลม มีพืช มีพีชะ อาการอุตุ พีชะ จิต และสามารถเปลี่ยนแปลงทำให้มันเจริญหรือมันเสื่อมได้ด้วยกรรม คนอวิชชาเขาก็ทำโดยอวิชชา ไม่รู้ ทำให้เสื่อม เขาก็ทำของเขาเอง ทำกรรมที่มันเป็นความเสื่อม เป็นบาปเป็นตัวอกุศลก็แล้วแต่ เขาก็เป็นคนทำ
เมื่อสามารถเรียนรู้กรรมและสามารถทำกรรมไม่ให้มันเป็นกรรมที่เสื่อม กรรมต่ำ เป็นกรรมที่เจริญ เป็นกรรมที่ประเสริฐจนถึงขั้นโลกุตระ สามารถทำกรรมที่ล้างกิเลส เพราะรู้กาย รู้เวทนา รู้จิต
จิตมันมีกิเลส เจโตปริยญาณ 16 รู้จิตในจิต 1. สราคจิต (จิตมีราคะ) 2. วีตราคจิต (จิตไม่มีราคะ) 3. สโทสจิต (จิตมีโทสะ)
แล้วก็รู้วิธีทำให้กิเลสมันลดได้ 4. วีตโทสจิต (จิตไม่มีโทสะ) 5. สโมหจิต (จิตมีโมหะ) 6. วีตโมหจิต (จิตไม่มีโมหะ)
ให้จิตมันลดกิเลสได้แล้วมันก็มีอีก 2 แบบ 7. สังขิตฺตํจิตตํ. (จิตเกร็ง-จับตัวแน่น หด คุมเคร่งอยู่) . 8. วิกขิตฺตํจิตตํ . (จิตกระจาย-ดิ้นไป ฟุ้ง จับไม่ติด)
-
มหัคคตจิต (จิตเจริญยิ่งใหญ่ขึ้น) 10. อมหัคคตจิต (จิตไม่เจริญขึ้น) 11. สอุตตรจิต (จิตมีดีแต่ยังมีดียิ่งกว่านี้-ยังไม่จบ) 12. อนุตตรจิต (จิตไม่มีจิตอื่นสูงยิ่งกว่า) . 13. สมาหิตจิต (จิตตั้งมั่นเป็นประโยชน์ดีแล้ว) 14. อสมาหิตจิต (จิตยังไม่ตั้งมั่นไม่เป็นประโยชน์) 15. วิมุตตจิต (จิตหลุดพ้น) . . . 16. อวิมุตตจิต (จิตยังไม่หลุดพ้นสิ้นเกลี้ยง) . (พตปฎ. เล่ม 9 ข้อ 135)
นี่คือเจโตปริยญาณ 16 อีก 8 คู่ เมื่อทรงไว้ก็เรียกว่าธรรมในธรรมปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้าก็ต้องเรียนรู้นี่แหละ กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม
ถ้าไม่เรียนรู้อันนี้และปฏิบัติอันนี้ได้จนถึง สมาหิตะ เป็นวิมุติ เจโตปริยญาณ 16 ปฏิบัติไปตามลำดับจนถึงจบ
ไปนั่งหลับตาไม่รู้เรื่องเลย ไม่มีผัสสะ มันเป็นโมฆะ ไม่รู้เรื่องกายมันไม่มีแล้ว ไม่รู้แล้ว เวทนามันไม่มีสัมผัสภายนอก เวทนามันก็ไม่มี แล้วมันจะไปรู้อะไร มันก็มีแต่ กายเก๊ เป็น นิรมาณกาย เป็นสัมภเวสี กายทิพย์ สัมโภคกาย อทิสมานกาย กายทิพย์ก็กายเพ้อเจ้อไป ภาษาคำว่าทิพย์ มันเป็นความเจริญ แต่มันเก๊ มันอวิชชา เรื่องทิพย์ มันเป็นเรื่องหลอกตัวเอง เป็นมายา
แยก ฟังแล้วพอเข้าใจได้นะ ตอนเราตายไปก็เหลือแต่ซากศพเป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม ไปแท้ แต่ยังไม่ตาย คุณเป็นอรหันต์แล้วคุณก็ยังมีกาย แต่กายคุณไม่มีกาม ไม่มีกิเลส ไม่มีอะไรแล้ว ก็อยู่กับสามัญ
ยิ่ง ไม่มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย นอนหลับตาไป มันก็ยิ่งสบายเพราะทวารที่จะไปสัมผัสเกี่ยวข้องเกิดปรุงแต่งกับกิเลสพวกนี้ คนที่ไม่เป็นพระอรหันต์ยังมีอยู่ แล้วแต่ฐานะของคน ใครอยู่ในฐานะที่มีกิเลสมาก กิเลสน้อย จนหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์แล้ว ลืมตามันก็ไม่มีอะไร ถ้าไม่ใช่อรหันต์ อนาคามีก็ยังอยู่เหนือไปแล้ว เหลือแต่ข้างใน สกิทาคามี ก็มากหน่อย ไม่มีกิเลสนอกกิเลสใน โสดาบัน ก็เริ่มเรียนรู้เบื้องต้น อย่างนี้ก็เป็นสัจธรรมไปตามลำดับ
สรุปแล้ว ดินน้ำไฟลมกับจิต รวมกันเป็นกาย จะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไรก็แล้วคุณมีชีวิตอยู่อย่างไร จนป่านนี้อายุก็เยอะแล้ว ก็อยู่ได้อย่างที่มันมีมาอยู่ เป็นอจินไตย
คนไม่ศึกษาก็จะยิ่งงง แต่พวกเราศึกษาแล้วจะรู้ว่าสิ่งเหล่านี้ มันปรุงแต่งกันอยู่ สังเคราะห์สังขารกันอยู่ เป็นอย่างนี้เอง คุณก็พ้นอวิชชา คุณก็พอเข้าใจสังขารว่าเป็นเรื่องปรุงแต่ง ถ้าเราแยกแยะได้เราจึงจะพอเข้าใจได้ ถ้าตายมันก็แยกไปได้เลยนะ ถ้าเราไม่ติดยึดติด ไม่เกาะเกี่ยวกันเลย ตายแล้วแยกเป็น สุญญตนิพพาน อนิมิตนิพพาน อัปนิหิตตนิพพาน นิพพานอย่างไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกันเลยสูญ ไม่มีนิมิตอะไรที่จะเกี่ยวกันอีก ไม่มีการตั้งจิตที่จะต่อเลย อ๋อ.. มันก็เข้าใจแล้วมันก็แยกได้
มันจะแยกได้ มันพิสูจน์ได้ตั้งแต่เราเองเกี่ยวข้องกับอะไรต่ออะไรทั้งหมด เดี๋ยวนี้เราก็สามารถรู้จิตของเราว่าจิตของเราไม่ไปเกี่ยว เช่น หินนี่ คุณสัมผัสเห็นคุณก็รู้ว่าเป็นหิน คุณไม่ได้ปฏิพัทธ์ ไม่ได้ชื่นชอบมัน คุณเห็นหินแล้วก็เฉยๆ สักแต่ว่าเป็นหิน ใช่ไหม ไม่มีอารมณ์มาผูกพัน ไม่มีอารมณ์ชอบอารมณ์ชังอะไรกับมัน เมื่อไหร่มันก็ไม่เกี่ยวเกาะกับมัน แล้วจิตเป็นอรหันต์ก็เป็นอย่างนั้น แต่เราจะสามารถเกี่ยวข้องเอามาใช้ประโยชน์อะไรต่ออะไรกันอีก ดูว่ามีประโยชน์แก่กันและกัน
_สู่แดนธรรม… ประเด็นที่เขาถามอยู่ตรงที่ว่าเราจะทำจิตให้เป็นดินน้ำลมไฟ ในขณะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร เพราะจิตวิญญาณเป็นธาตุรู้ แต่ดินน้ำลมไฟไม่มีธาตุรู้
พ่อครูว่า… คุณจะไปบังคับให้ดินน้ำลมไฟมีธาตุรู้ได้อย่างไร ก็อยู่กับธาตุรู้ของคุณ ให้มันเป็นของมัน แล้วเราก็เป็นเรา เราก็รับรู้ของมันโดยเราไม่เกี่ยวเกาะ เรารู้ความจริงตามความเป็นจริงว่าอันนี้เป็นอย่างนี้เราก็ไม่เกี่ยวเกาะ เราไม่เกี่ยวเกาะมันก็เป็นอย่างนี้
สมณะฟ้าไท… ไม่เกี่ยวเกาะมันก็เปรียบเหมือนกับอุตุใช่ไหมครับ
พ่อครูว่า… จิตคุณทำได้ไหมล่ะ คุณอาจจะงงในภาษา จิตคุณอาจจะทำได้แล้วและคนก็ทำได้บ้างแล้ว คนที่จิตใจไม่เกี่ยวเกาะกับอะไรปุถุชนก็เป็น คุณเห็นก็ผ่านไปเฉยๆ รู้แต่สักแต่ว่ารู้ แล้วก็ปล่อยจินนั่นแหละเป็นจิตอรหันต์ ปุถุชนนี่แหละ จิตคุณรู้สักแต่ว่ารู้ แล้วก็ไม่เกี่ยวเกาะอะไร อาตมาถึงบอกว่าอรหันต์มีอยู่เต็มโลก เคยเขียนมาแล้ว บรรยายมาแล้ว แต่คนไม่รู้ว่าจิตที่จะเป็นอรหันต์อย่างมีปัญญาแล้วคุณก็ทำได้
แล้วคุณทำได้ตั้งแต่สิ่งที่ไม่เกี่ยวเกาะ มันก็เป็นอรหันต์มาแล้วอะไรที่มันเกี่ยวเกาะคุณก็ทำออก ทำจิตไม่ให้เกี่ยวเกาะ ให้เห็นว่ามันเป็นธาตุดินน้ำเป็นลม เป็นธาตุพืช เป็นธาตุสัตว์ ที่อยู่ร่วมกันมีประโยชน์ร่วมกันเท่านั้นเอง อย่าไปทำเป็นโทษเป็นภัยแก่กันและกัน โดยเฉพาะสัตว์ อย่าไปทำเป็นโทษเป็นภัย พีชะกับพืช ดินน้ำไปลมมันไม่จองเวรจองกรรม คุณจะทำยังไงกับมัน มันก็ไม่มีเวรมีภัย ไม่มีบาป ไม่จองเวรจองกรรมอะไรกัน
แต่ถ้าเริ่มเป็นสัตว์ขึ้นไป พระพุทธเจ้าสอนว่า มันไม่รู้ มันอวิชชานะ มันก็จองเวรจองกรรม มันยึดถือว่าเป็นเราเป็นของเราอีกสารพัด อธิบายมาจนเมื่อยแล้ว เมื่อยแล้วเมื่อยอีก
_สู่แดนธรรม… คุณกิ่งธรรมถามทิ้งไว้อีกว่า หรือว่าเราจะทำให้เป็นอุตุ ตอนเราตายไปแล้วค่ะ
พ่อครูว่า… นั่นเป็นพระอรหันต์สามารถทำได้ก็ทำ คุณยังไม่เป็นอรหันต์ แม้แต่อยากจะทำก็ทำไม่ได้ ต้องทำได้ตั้งแต่ตอนเป็นๆนี่แหละ เพราะฉะนั้นถามว่าจะทำยังไงคุณก็ต้องทำได้แต่เป็นๆ คุณต้องรู้ว่าทำให้จิตเราเป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม ได้ มันไม่มีความรู้สึก ต้องเรียนรู้อ่านอาการทางจิตและต้องเอาสัญญากำหนดรู้ให้เป็นปัญญาว่าจิตเราสัมผัสพวกนี้ มันก็สัมผัสเหมือนสัมผัส ดิน น้ำ ไฟ ลม หรือแม้แต่สัมผัสพืชก็เหมือน ดิน น้ำ ไฟ ลม สัมผัสคนก็เหมือน ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่เกี่ยวเกาะได้ สัมผัสเพชรนิลจินดา คุณก็เหมือนกันสัมผัสก้อนดินก้อนหินได้
แต่มันก็มีสมมุติของโลก ทองคำเพชรนิลจินดาโลกเขาตีราคาต่างกันกับหินนะ แต่เพชรนิลจินดา หิน มันรู้เรื่องของมันที่ไหนล่ะ คนไปตีค่ามันเองทั้งนั้น
อุปาทายรูป 24 มีอะไร
_ป๋อง ยากเข็ญว่า… อุปาทายรูป เป็นอย่างไรครับ
พ่อครูว่า… เข้าท่านะ อุปาทายรูป 24
อุปาทาย คือ ยึด เข้าไปยึด รูปมี 28 มี 4 อันแรกคือ ดินน้ำไฟลม
ก็มีการคือ มีดินน้ำไฟลมมาปรุงแต่ง ดินน้ำไฟลมก็มีอยู่ในเรา แต่เราแยกได้นะว่าดินน้ำไฟลมจริงๆคือดินน้ำไฟลมจริงๆ แต่จิตนี้ยึดอาศัย เป็นชีวะ
เมื่อยึดเป็นชีวะ คุณก็ต้องมาเรียนรู้ใน อุปาทายรูปมี 24
ก. ปสาทรูป 5
จักขุ (ตา)
โสตะ (หู)
ฆานะ (จมูก)
ชิวหา (ลิ้น)
กายา (กาย)
ข. โคจรรูป, วิสัยรูป 4
รูปะ (รูป)
สัททะ (เสียง)
คันธะ (กลิ่น)
รสะ (รส)
โผฏฐัพพะ (สัมผัส)
(กายกับโผฏฐัพพะ ถือว่าเป็นอันเดียวกัน)
กายนั้นมันต้องมีจิตด้วย เพราะฉะนั้นมันก็เลยเป็น 1 ใน 2 2 ใน 1 เขาก็เลยนับเป็น 1
เพราะฉะนั้นเอา 5 คู่และหักออกอีก 1 รวม 9
ต่อจากนั้นก็เป็นภาวะ 2
-
อิตถัตตภาวะ, อิตถินทรีย์ (ญ)
-
ปุริสสัตตภาวะ, ปุริสสินทรีย์ (ช)
ง. หทยรูป 1 ที่ตั้งการเกิดอาการของรูป มันไม่มีรูปร่างอยู่ในกายเรา มันต้องเกิดจากการสัมผัส ตากระทบรูป หูกระทบเสียง จมูกกระทบกลิ่น ลิ้นกระทบรส โผฏฐัพพะกระทบภายนอก มโนกับธัมมายตนะภายใน หทยรูปก็อยู่ตรงสัมผัสตรงไหนคือตรงนั้น หัวสัมผัส ศอกสัมผัส หทยรูป ก็อยู่ตรงมีชีวะเป็น ชีวิตรูป
จ. ชีวิตรูป1 = 13.ชีวิตินทรีย์ รู้ความมีชีวิตอยู่ของกิเลส
จากนั้นก็เป็นอาหารรูป
ฉ. อาหารรูป1 = 14.กวฬิงการาหารจนถึงวิญญาณาหาร
ช. ปริเฉทรูป1 = 15.อากาสธาตุ=รูปที่กำหนดจะให้ว่าง
ซ. วิญญัติรูป 2 = 16.กายวิญญัติ 17.วจีวิญญัติ ไหวให้รู้
ฌ. วิการรูป = 18.ลหุตา 19.มุทุตา 20.กัมมัญญา
ญ. ลักขณรูป 4 = 21.อุปจยะ ความเกิดอยู่เจริญขึ้นไป
22.สันตติ ความเชื่อมต่อสืบเนื่อง
23.ชรตา เคลื่อนไปสู่ความเสื่อม
24.อนิจจตา เคลื่อนไปเสื่อม>เจริญ
พ่อครูว่า… แม้คุณไม่เกิดไม่ดับ คุณยังมีชีวะอยู่ ต่อจากนั้นก็มีแต่เสื่อมหรือจะเกิด เกิดก็เป็น อปุจยะ ไม่เกิดก็เป็น ชรตา แล้วก็มีอนิจจตาเป็นตัวสุดท้ายเป็นตัวไม่เที่ยง นอกจากคุณเอง คุณจะปฏิบัติจนกระทั่งคุณสามารถเกิด นิยตา ไม่ใช่ นิจตานะ
ตัวสุดท้ายของรูปมันคือคำว่า อนิจตา ผู้ปฏิบัติธรรมบรรลุอรหันต์แล้วทำตัวเที่ยงได้ ตัวเที่ยงนี้ไม่ใช่ นิจจะ แต่เป็นนิยตะ
นิยตะ ตัวเที่ยงของโลกียะ อนิยตะ เป็นตัวเที่ยงของโลกุตระ
การศึกษาที่อาตมาอธิบายนี้มันเยอะมาก สูงมาก ละเอียดมาก มันเป็นใบไม้ทั้งป่า ที่อาตมาเจออะไรก็อธิบายหมด เหมือนอาตมาไปเดินวันนี้ก็เดินไปทางท่ากกเสียว ต้นไม้เยอะ ข้างทาง เราก็รู้ไม่กี่ต้น พอดีหมอแตงไทยเขามาเจอ หมอแตงไทยเขาเป็นแพทย์ เป็นลูกชีวกโกมารภัจ ก็ถามว่าอันนี้ต้นอะไรเขาก็บอก แล้วบอกว่าแก้โรคอะไรด้วยสารพัดรู้
อาตมาเหมือนคนรู้มากในนามธรรมในธรรมะ อธิบายไปเยอะเหมือนแตงไทยอธิบายเรื่องสมุนไพรให้อาตมาฟัง เราก็ผ่านหูเฉยๆไม่รู้เรื่องเพราะมันเยอะแยะ เหมือนอาตมาอธิบายให้พวกคุณฟัง คนไหนรับอันไหนได้ รู้อันไหนได้ เหมือนหมอแตงไทยอธิบายให้อาตมาฟัง อันไหนพอรู้ได้อาตมาก็รู้ มันจำไม่ได้ต้นนั้นหมายความว่าอันนี้ ต้นนี้ใช้รักษาโรคนี้ใช้ชนิดนี้อะไร จำไม่ได้สักอัน หรืออาจจะจำได้สักอันก็ไม่รู้ล่ะ ไม่ได้เจตนาจะจำด้วย แต่เป็นพวกคุณจะพยายามจำ คนไหนจำได้มากก็ดี จำได้เท่าไหร่ก็ว่ากันไป ก็ศึกษาไป นี่ก็อธิบายขนาดนี้ก็แล้วกันมันเยอะแล้ว ค่อยๆศึกษาพยัญชนะบางทีคำเดียวนี้มันเยอะ
SMS วันที่ 5 – 6 ก.ค. 2566
_ตุ๊ก อัศวิน · เริ่มลั่นกลอง..ตีฆ้อง..ร้องป่าว..ประชาสัมพันธ์ งาน ฟรี “คอนเสิรต์ 90 ปี บูชาพ่อครู รัก รักพงษ์” ที่จะจัดขึ้นในปี 2567 ด้วยการนำผลงานเพลงของพ่อครูมาแสดงให้ดังกระหึ่ม กึกก้อง ห้องประชุม ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย!!
พ่อครูว่า… 9 มิถุนายน 2567 เขาจะจัดงาน คอนเสิร์ตครูรัก รักพงษ์ จองกันข้ามปีเลยที่ศูนย์วัฒนธรรม อยู่กับประสาเขาก็มีโลกกับเขาด้วย อาตมาก็มีความโยงใยมาใช้บ้างไม่ได้สร้าง ลาภ ยศ สรรเสริญ โลกียสุข
อาตมาถึงกำชับกำชาว่า งานนี้อย่าให้เป็นงานหาเงินเป็นอันขาด แม้แต่คนจะมาบริจาคห้ามได้เลยว่า นี่งานนี้ ห้ามรับเงินบริจาคเลย เรี่ยไร นั้นเด็ดขาดไม่ได้เรี่ยไรเด็ดขาด แม้แต่คนจะมาบริจาคก็ยังห้ามเลย แม้แต่คุณจะไปขายของขายนั่นขายนี่แฝงก็ไม่เอา แจกฟรี คุณจะเอาอาหารไปแจก คุณจะเอาหนังสือไปแจก คุณจะเอาเทปไปแจกฟรี อย่าไปหาเงินหาทอง อย่าให้ไปเกี่ยวข้องเรื่องเงินทองอาตมากำชับกำชาไปแล้ว
เพราะฉะนั้น จัดงานนี่พวกอาชีพเขาก็ต้องมีค่าตัว ต้องมีเงินไปจ่าย คนพวกนี้ก็ราคาแพงด้วย เราก็ไม่รู้เขาจะเข้าใจพวกเราแค่ไหนเขาคิดเต็มราคาเราก็ต้องให้เขา ถ้าเราต้องการให้เขามาช่วย คนที่ไม่คิดราคา ไม่เอาค่าตัวก็เรื่องของเขา ก็ต้องว่ากันไป มันก็ต้องจ่ายจากกระเป๋าเราแน่ๆ ที่เขาจะจัดกันก็ว่าไป กระดาษชำระหนี้ได้ตามกฎหมายก็ต้องหาให้เขาไป
_ถือว่า..งานประชาสัมพันธ์ เริ่ม ลั่นกลอง ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2566 จากบทความ คุณเปลว สีเงิน ในหัวข้องานเขียน “สวรรค์หรือเหว”? คุณเปลวได้นำเนื้อเพลง “ผู้แพ้” ของพ่อครู มาลง..มีประมาณนี้
🎶….”ฉันทนทานใจกระไรเหลือข่ม..ยิ่งตรมระทมทวี.. ลี้หลบชะตาระอาอ่อนใจ..อยู่ก็อยู่อย่างผู้ปราชัย..ช้ำสุดช้ำในทรวงใน..ทรงกายทรงใจอยู่เอย..แพ้จนรักสิ้นสลาย..ทำลายเราป่น..สุดทนเปรียบเปรย..แพ้ไปทุกสิ่งอกเอ๋ย..ไม่เหลืออะไรเลย..ชะตาเอ๋ย..ช่างเลวทราม”…🎼
(คุณเปลว สีเงิน กรุณาแปลงเพลงต่อ..ดังนี้ค่ะ)
“พิธาเอ๋ย..ช่างเลวทราม” !
อู้ววว์..ว้าววว!!
เป็นการ กล่าวถึงเพลงที่ พ่อครู แต่งได้ อย่างถึงใจ..เจ้าค่ะ
จึงขอกราบขอบพระคุณ คุณเปลว สีเงิน นะโอกาสนี้ นะเจ้าคะ!!
ส่วนงาน ประชาสัมพันธ์ของชาวเรา..เริ่มนับถอยหลัง “คอนเสิร์ต 90 ปี บูชาพ่อครู รัก รักพงษ์ ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2566 ณ ลานหิน สันติอโศก..เวลา 8.00 – 11.00 น
ในงานมีบรรเลงเพลง “ผู้แพ้” ด้วยนะคะ
จึงขอเรียนเชิญชวนให้ทุกๆท่านทั่วสารทิศ เหนือ-ใต้-ออก-ตก มาร่วมงานนี้..นะเจ้าคะ
อาหารมังสวิรัติ ฟรี!! ดนตรีไพเราะ!!
พลาดดดด บ่อ ด้ายย นะเจ้าค่าาา!!
พ่อครูว่า… ก็มีการประชาสัมพันธ์ตามโลกเขาบ้างเดี๋ยวจะไม่ครึกครื้น
_จรรยา ประเสริฐ · เด็กสมัยใหม่ ยากที่เข้ามาอยู่ในวัด เพราะหาเงินก่อน มีอาชีพที่ดีก่อน แล้วมาอยู่วัดทีหลัง สาธุ
พ่อครูว่า… เอาเถอะนะมาให้ได้ก็แล้วกัน กลัวแต่จะสร้างหนี้สร้างหนี้สินมีภาระเยอะ พอเจอหน้าก็บอกว่าภาระมันเยอะ มีนั่นมีนี่ โดยเฉพาะมีหนี้ ไปสร้างหนี้และยิ่งเป็นภาระหนัก ต้องมาแก้ตัวมาไม่ได้ติดนั่นติดนี่ ใครไปทำให้คุณ คุณทำเองทั้งนั้น ก็ว่าไป
พระพุทธเจ้าไม่ได้สรรเสริญการอยู่ป่า
_ทศพล คล้ามอยู่ · เหตุที่ภิกษุอยู่ป่า 6 ประการ 1.ท้อแท้จากสังคม 2.อยู่เพื่อขัดเกลากิเลส 3.ภิกษุผู้เป็นบ้า 4.ป่าเหมาะแก่การหลีกเร้นภาวนา 5.ป่าเป็นที่สงบปราศจากเสียงรบกวน 6.อยู่ตามแบบพระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ
พ่อครูว่า…คำว่า พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ นี่เป็นคำกลางๆ แต่คุณเอามาใช้เหมือนกับว่าการอยู่ป่าเป็นการสรรเสริญของพระพุทธเจ้า
_สู่แดนธรรม… ความจริงแล้วต้องบอกว่าเป็นเพราะคิดว่าพระพุทธเจ้าสรรเสริญ
พ่อครูว่า… พระพุทธเจ้าไม่ได้สรรเสริญการอยู่ป่า อาตมาก็ยังไม่มีคำชัดๆ แต่รู้สึกจะมีที่พระพุทธเจ้าท่าน มีการบริภาษหรือว่าปรามพวกหลงป่าอยู่ป่า แต่ท่านไม่ได้ปรามในการอยู่กับมิตรดีสหายดี สังคม สิ่งแวดล้อมดี อยู่กับโลกธรรมดาชีวิต เพราะการปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้าไม่ต้องหนีเข้าป่า ไม่ต้องไปหลับตา ไม่ต้องหาสถานที่ ปฏิบัติปกติชีวิตสามัญ ปฏิบัติด้วย จรณะ 15 วิชชา 8 ไม่ต้องไปจัดสถานที่ ไม่ต้องไปเต๊ะท่า ไม่ต้องไปหาที่อยู่ ไม่ต้องไปอะไรต่ออะไรเลย เรียนรู้กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรมเท่านั้นแหละ ซึ่งมันก็ไม่ง่ายนะ เข้าใจยาก แต่ว่าปฏิบัติแล้วได้ง่าย แต่ปฏิบัติพวกนั้นมันได้ยาก แล้วมันจะไม่ได้ด้วย แต่ของพระพุทธเจ้านี้ถ้าเข้าใจสัมมาทิฏฐิแล้วมันได้ ได้มากได้น้อยก็ได้ไปเรื่อยๆ ค่อยๆอธิบายไป มันเพี้ยนมันเสื่อมไป นานแล้วมันเสื่อมสนิท อาตมาก็ต้องมารื้อฟื้นอย่างหนัก แต่มันก็ต้องทำเพราะไม่มีทางเลือก
_สื่อฟ้าศิลป์ ภูวนาถ · ฟังเพลงผู้แพ้ฯทำนองใหม่ ญตธ. กองทัพธรรมส่งมาให้เป็นกำลังใจให้คนที่กำลังพ่ายตัวแพ้ใจตนใต้โลกโลกียธรรมฯ ให้ลุกขึ้นมาสู้ต่อด้วยโศลกธรรมพ่อครูฯที่ไม่มีอคติอกุศลกรรมใดๆในโลกจะมาทำลายจิตวิญญาณมวลมนุษยชาติได้ ‘ด้วยโศลกธรรม..ความบริสุทธิ์เท่านั้นที่จะชนะทุกสิ่งทั้งโลกในที่สุด..สาธุ😷👪🙏💂💛🙇💜💂🙏👪😷
พ่อครูว่า…ทำนองนี่ไปแปลง ไม่ได้นะ มันผิดนะ ทำนองเพลงผู้แพ้เอาไปแปลง มันก็ไม่ใช่เพลงผู้แพ้สิ ทำนองโดเรมีฟาซอลลาทีโด มันก็ต้องเป็นอย่างนั้นจะไปเปลี่ยนแปลงทำนองได้ยังไง เพื่อจะมาใช้อาศัยพูดไปเท่านั้นแหละ ก็รู้ว่าเขาไม่เข้าใจเรื่องนี้ดีหรอก เพราะฉะนั้นจึงใช้ภาษาบอกว่าฟังเพลงผู้แพ้ทำนองใหม่ ที่จริงแล้วทำนองใหม่ไม่ได้อันเดิม
_สู่แดนธรรม… น่าจะเป็นเรียบเรียงใหม่นะครับ
พ่อครูว่า… ใช่ เป็นการเรียบเรียงเสียงประสานใหม่เท่านั้นเองเวอร์ชั่นใหม่อย่างนั้นได้ แต่ว่าทำนองใหม่ทำไม่ได้
บุญกับฌานต่างกันอย่างไร ใช้ลดกิเลสอย่างไร
_นาง จับใจ ธนะโภค · น้อมกราบนมัสการพ่อครูฯ ขอกราบเรียนถาม
-
“บุญ” กับ “ฌาณ” จะนำมาใช้ในการปฏิบัติชำระกิเลส และเพ่งเผากิเลส เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไรคะ
-
ที่ผ่านมาดิฉันเข้าใจคำว่า”บุญ” คือการเอาข้าวใส่ปิ่นโตไปถวายวัดค่ะ
พ่อครูว่า…ฌานตัวนี้ ถ้าจะเอาคำว่า ฌาน ต้องสะกดด้วย น.หนู แต่ถ้าจะเอาคำว่า ญาณ ต้องเอาคำว่า ญาณ ณ สะกด
แต่ ฌาณ ก็เลยไม่รู้ว่าจะ ฌานหรือญาณ แต่น่าจะหมายถึง ฌาน
เอาข้าวใส่ปิ่นโตไปถวายวัดที่หน้าวัดหรือหลังวัด มดมันก็กินได้ทั้งหน้าวัดหลังวัด หมามันจะอยู่หน้าวัดมากกว่าหลังวัดกระมัง เอาไปให้ใคร เอาไปให้พระสิ เอาไปถวายพระในวัด ก็แหย่ๆเล่นๆไปงั้น
ถามว่า บุญกับฌาน บุญ เข้าใจกันไม่ได้เลยทุกวันนี้ เป็นมิจฉาทิฏฐิในคำว่าบุญ โดยไปคิดว่าบุญนี่หมายถึงกุศล ซึ่งบุญกับกุศลไม่ใช่อันเดียวกัน กุศลเป็นโลกียะหรือกุศลนี้เป็นสมบัติ แต่บุญนี้เป็นวิบัติ เป็นพลังงาน บุญเป็นพลังงานจิต ทำได้เกิดในปัจจุบันชาติ ในขณะที่คุณปรุงแต่ง มีเหตุปัจจัยครบ และบุญจะต้องเกิดทีหลังฌาน
ฌาน คือพลังงานที่ทำมาจัดการกิเลสตั้งแต่ฌานที่ 1 วิตกวิจาร กำลังเรียนรู้เหตุปัจจัย จนกระทั่งรู้กิเลสทำกิเลสลดได้ทำเป็นฌาน 2 วิตกวิจารก็สำเร็จผลไป ก็เหลือเป็นปิติดีใจที่สามารถทำได้ แล้วทำได้ไปแล้วมันก็เป็นสุขสงบ หมดสุขที่เป็นอุปกิเลสก็เป็นอุเบกขา หรือตอนต้นๆมันยังไม่ถึงอุเบกขาก็เป็นเอกัคคตา เป็นจิตที่เป็นเอก แต่ยิ่งใหญ่ เอก กับ อัคคะ ยิ่งใหญ่
นี่คือสภาวะของพลังงานที่คนปรุงแต่ง จัดการ เป็นอภิสังขารสามารถทำให้ธาตุรู้จิต เจตสิก รูป นิพพาน ทำให้มันจัดการกับกิเลส แล้วก็ทำให้กิเลสลดได้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
ปัญญานี่แหละคือฌาน ฌานคือปัญญา ปัญญาอยู่ที่ไหนฌานอยู่ที่นั่น ฌานไม่มีปัญญาไม่มี แล้วปัญญา ก็เอามาใช้ แต่ปัญญามันใช้มากกว่าฌาน แต่ฌานไม่มีปัญญาไม่ได้ ต้องใช้ปัญญาเพราะปัญญาจะต้องร่วมรู้ และก็วิจัยวิจาร หากิเลส ลดกิเลส ทำให้กิเลสลด ทำให้กิเลสลดได้ก็เรียกว่าฌาน
ฌาน 1 2 3 4 บุญนี่คือการฆ่ากิเลส ฌานจะบอกว่าทำให้กิเลสลดลงบ้างก็ได้ แต่พอถึงคำว่าบุญนี้ บุญฆ่ากิเลสเลย ไม่ใช่แค่ทำให้กิเลสลดเท่านั้น เอ็งต้องตาย
เพราะฉะนั้น บุญมันฆ่ากิเลสตัวไหนได้นี่ โอ้โห.. ตัวนั้นเป็นส่วนแห่งบุญ คำว่า ส่วนแห่งบุญไม่ได้หมายความว่าคุณได้กุศล แต่คุณได้จิตส่วนที่บุญมันทำงานสำเร็จ
เพราะฉะนั้น ส่วนกิเลส เช่น กิเลสภายนอกเป็นกาม คุณลดได้ส่วนหนึ่ง อย่างนี้เป็นต้น ก็เป็นส่วนบุญ ส่วนที่เหลืออีกคุณก็ต้องล้างต่อ ฆ่าต่อ จนกว่าจะหมดสิ้นอาสวะ หมดสิ้นอาสวะแล้วคุณก็เป็นคนไม่มีบุญแล้ว ไม่ต้องใช้บุญแล้ว เลิกบุญจริงๆ ไม่ต้องมีบุญอีกต่อไปบุญไม่ได้สะสมอะไร
เพราะฉะนั้นพระอรหันต์คือคนสิ้นบุญสิ้นบาป ปุญญปาปปริกขีโณ แปลว่า สิ้นบุญสิ้นบาปหมดแล้ว เป็นพระอรหันต์ เป็นพระพุทธเจ้า เป็นคนไม่มีบุญ บาปนั้นไม่มีอยู่แล้วแน่นอน
ความเข้าใจพวกนี้ เดี๋ยวนี้มันไม่มีใครพูด ไม่มีใครรู้จริง อาตมารู้จริงก็เอามาพูดกันให้ฟัง ก็จะได้ฟังสิ่งใหม่ เป็นอานิสงส์แห่งการฟังธรรม เมื่อพวกคุณฟังแล้วเข้าใจมากยิ่งขึ้น ฟังแล้วความสงสัยก็คลายหายไป ทิฏฐิก็ยิ่งตรง จิตใจก็ยิ่งสว่างใส รู้ยิ่งรู้จริงไปเรื่อยๆ อานิสงส์ 5 ประการเต็มเลย นี่เป็นสัจจะ มันเป็นอย่างนั้น
เพราะฉะนั้น คำว่าบุญกับคำว่าฌาน ถามที่ถามมา จะนำมาใช้ในการจัดการกิเลสเพ่งเผากิเลสเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไรคะ
ฟังไปแล้ว บุญกับฌานต่างกันอย่างไร บุญกับญาณต่างกันอย่างไร
ฌาน คือ ตัวลดละกิเลสไปเรื่อยๆถึงฌานที่ 4 ที่สุดถึงที่สุดแห่งการจบกิจจริงๆคือ แม้ที่สุดกิเลสลดลงแล้วก็ไม่ยึดถือเป็นเราเป็นของเรา กิเลสลดแล้วหมด จบแล้วก็จบ ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่ามีเรา มีของเราเลย
ความเป็นบุญจริงๆ ถ้ายึดตัวเองว่ามีเราเป็นของเรา หรือจะเป็นเพชฌฆาตมือสุดท้าย ฌานที่ 4 ฆ่ายังไม่ตาย ต้องฟันอีกทีถึงจะตายถ้าบุญลงมือเด็ดขาดแล้วตายแน่ ตายแน่ มุ่งมาจนเลย ใครรู้จักไหมตายแน่ มุ่งมาจน เขาเปลี่ยนชื่อนี่ดังสนั่นประเทศเลย ขึ้นไปจนกระทั่งถึงรัฐมนตรี แค่จะขอเปลี่ยนชื่อเท่านั้นเรื่องไปถึงรัฐมนตรีเลย ตายแน่ มุ่งมาจน
ทุกวันนี้เขาว่าไปวัดจะได้ไปทำบุญทำกุศลได้สมบัติไปข้ามชาติเลย ซึ่งมันไม่ได้บุญหรอก มันได้แต่กิเลส กิเลสเพิ่มภพเพิ่มชาติเลย ทุกวันนี้ไปวัดไปวาไปตามจารีตประเพณีได้แต่มีกิเลส ได้แต่ภพแต่ชาติ มาทำบุญเสร็จแล้วก็ตรวจน้ำ แล้วมีคำอธิบายคำเสริมให้กิเลสมันหนาขึ้นอีก สำทับเอาไว้ให้เป็น ปฏิพัทจิตโต สันนิธิเปกโข หนักเข้าไปอีก
นี่คือความไม่รู้ อวิชชา มันเสื่อมไปหมดแล้ว เอามาใช้คำก็ผิด มันไม่เป็นเลย จริง ทำทาน มันได้กุศล ถึงคุณจะมิจฉาทิฏฐิมันก็เป็นกุศลเพราะคุณได้สละของคุณมาให้จริงๆ ตั้งแต่วัตถุทาน แต่ธรรมทานหรือจิตของคุณไม่เป็นกุศล จิตของคุณมันเป็นอกุศล มันเป็นบาปมันเป็นภพเป็นชาติ เพราะฉะนั้นสอนกันทุกวันนี้ถึงไม่ค่อยเข้าร่องเข้ารอยกัน อาตมาก็ไม่รู้จะทำยังไง ไปทำความเข้าใจเขาก็ไม่ได้เพราะอาจารย์เขาก็ไม่ฟังอาตมา ฟังด้วยดีย่อมจะได้ปัญญาบ้างก็ไม่รู้ ใครฟังก็ไม่รู้ ผู้รู้ทั้งหลายแหล่ที่เขาเป็นผู้รู้อาตมาก็ไม่รู้จะทำอย่างไร มีผู้ใฝ่รู้จะทำประโยชน์บ้างก็เอา
_สู่แดนธรรม… ฌานต่างกับบุญอย่างไร ผมเข้าใจว่า ฌานทำให้กิเลสมันลดแต่ไม่สิ้นอาสวะ แต่บุญนี่ทำให้สิ้นอาสวะได้ไหมครับ
พ่อครูว่า… ใช่ บุญทำให้เด็ดขาด เป็นพลังงานในระดับหนึ่ง ไม่หายไป ฌาน ดับกิเลสหมดแล้ว ฌานก็ยังเป็นสามัญของชีวิตจริง ฌาน ไม่มีกิเลสแล้วเป็นฌาน 4 ก็เป็นผู้ที่ได้โดยไม่ยาก เป็นผู้ที่ได้ โดยไม่ลำบากในฌานทั้ง 4 ใช้เป็นพลังงานป้องกันกิเลสเข้ามาได้เลย มันเป็นธรรมฤทธิ์เลย ยิ่งฌาน แคล่วคล่อง ทำได้เก่งในฌานทั้ง 4 ก็ยิ่งเป็นธรรมฤทธิ์ชนิดหนึ่งที่กิเลสยิ่งไม่กล้าเข้าใกล้ ใครยิ่งเป็นผู้ที่มี ฌาน เชี่ยวชาญ มีฌานสูงมาก โอ้โห.. กิเลสยิ่งไม่กล้ามารอหน้า ไม่กล้ามาใกล้เลย หรือมาก็เข้าผู้อื่น สำหรับผู้ที่มีฌานอันแข็งแรงแล้ว ไม่เข้า นี่พยายามอธิบายเป็นสภาวะให้ฟัง ซึ่งก็คงเข้าใจไม่ง่าย
_ช่อทิพ หนูทอง · ลูกบอลสีฟ้า แดง เขียว และลูกเล็กอีก 1 ที่วางบนโต๊ะหน้าพ่อครูทุกครั้งที่เทศน์ เรียนถามพ่อครู มันคือลูกอะไร ..ดราก้อนบอล หรือคะ?
พ่อครูว่า…ก็เขาเอาสีมาเขียน คนมืออยู่ไม่สุขเท่านั้นเอง ไม่ได้พิลึกพิลืออะไร เป็นธรรมชาติ ฝีมือของช่างเป็นศิลปิน
_สื่อฟ้าศิลป์ ภูวนาถ · ถ้าจะกราบเรียนถามพ่อครูว่างานพิธีกรรมพุทธศาสนาต่างชาติใดใช้สัตว์ 4 เท้ามาร่วมพิธีมงคลโดยที่สัตว์นั้นไม่ได้รับการกินอยู่หลักสุขาภิบาลสัตว์จนสัตว์นั้นเจ็บป่วยฯ งานมงคลนั้นจะเป็นงานบุญฤางานบาป? แล้วจะเป็นศิริมงคลแก่ผู้ร่วมงานพิธีกรรมทางศาสนาที่มีไม่มีศีล 5 ได้อย่างไร?คนไทยรักษ์ช้างไทย🐘🌍🐘🙏
พ่อครูว่า…คุณก็มีความรู้สึกกับช้างไทย ที่เคยอยู่ในต่างประเทศ ที่จริงอาตมาว่าเขาก็ไม่ได้ทรมานหรอก เขาก็เลี้ยงดูจนกระทั่งอายุยืนยาวป่านนี้ มันก็แก่ สังขารทรุดโทรม โรคภัยก็เข้า อายุมันมาก ดูสิงายาวโง้งเลยอายุมากแล้ว ก็ส่งกลับมา คนไทยก็รับมา ส่งกลับมา พอมาถึงก็แก่แล้วส่งไทยก็ดี ไปรับคืนมาก็ว่ากันไป ก็ดีใช้สิ่งเหล่านี้ถ้าเผื่อว่าเป็นการศึกษาก็ได้เกิดจิตเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เพื่อสัตว์ทั้งปวงอยู่ ก็ดูแลกันไปจนกว่าช้างจะล้ม ช้างตายเขาเรียกช้างล้ม จนกว่ามันจะล้มเอง ก็ว่ากันไป ก็ดูแลกันไป
มันเป็นสัตว์ใหญ่ ตอนนี้ไม่มีไดโนเสาร์แล้ว ช้างเป็นสัตว์บกที่ใหญ่ที่สุด ก็ถือว่าเป็นสัตว์ใหญ่ ประเทศไหนมีก็แบ่งกัน ช้างไทยก็แบบไทยทางเอเชีย มันจะต่างกันที่หู ช้างไทยกับช้างแอฟริกา ช้างทางตะวันตก
โสดาบันเกิดอีกแค่ 7 ชาติจริงไหม
_ช่อทิพ หนูทอง · ญาติธรรมเก่าแก่คนหนึ่งพูดว่า เธอเป็นโสดาบันแล้ว เกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติ ก็ไม่ต้องเกิด..ถามพ่อครูว่า ความเชื่อแบบนี้ จริงไหมคะ?
พ่อครูว่า…มันก็ต้องอธิบายกันนะ ต้องอธิบายกันว่าโสดาบัน 7 ชาติเป็นโสดาบันยังไง เพราะโสดาบันมีทั้ง 7 ชาติ ท่านใช้แปลจากพยัญชนะมาเป็นภาษาไทยง่ายๆว่า
-
เอกพีชี เกิดอริยชาติอีกเพียงส่วนเดียว แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ (พระบาลีไม่มีคำว่าชาติ หรือเป็นการเกิดแบบเป็นตัวๆ เลย)
-
โกลังโกละ (เกิดในสุคติภพอีก 2-6 ส่วนสังโยชน์ก็จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้)
-
สัตตักขัตตุปรมะ (เวียนเกิดในสุคติภพหรืออริยชาติอีกเพียง 7 ส่วนสังโยชน์ ก็จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้) .
(พตปฎ. เล่ม 20 ข้อ 528)
พ่อครูว่า…สัตตักขัตตุปรมะ คือเกือบเต็ม 7 ชาติ โกลังโกละ ระหว่าง 6-2 ส่วนเอกพีชี คือเกิดชาติเดียว
ความเป็นชาติไม่ได้หมายถึงว่าเกิดมาจากท้องพ่อท้องแม่ 1ชาติ 2 ชาติ ไม่ได้หมายถึงชาติอย่างนั้น ชาติอันนี้ถ้าเข้าใจลึกซึ้งมันหมายถึงสังโยชน์ สังโยชน์มี 10
สัตตักฯ เป็นโสดาบันที่ต่ำที่สุดแล้ว เรียกว่าผ่านสังโยชน์ 3 ก็จะเหลืออีก 7 สังโยชน์ เรียกสัตตะโสดาบันต่ำที่สุดก็บรรลุสังโยชน์ 3 ต้องทำให้ได้อีก 7 สังโยชน์ ผู้แปลเขาก็แปลมาแบบนั้นยากเหมือนกัน อาตมาถึงมีคำบอกว่าแล้ว 7 นั่นก็คืออีก 7 สังโยชน์ เป็นสังโยชน์อีก 7 ขั้น ก็เรียนรู้ตั้งแต่
กาม ปฏิฆะ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา
อีก 7 นี่ครบ 7 ก็เรียนรู้จากสังโยชน์ทั้ง 7 ลดลงไปได้เรื่อยๆ ตามลำดับ ลดไปเรื่อยๆ
ส่วนที่เป็น กาม พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจจะ วิจิกิจฉา คือนิวรณ์ทั้ง 5
ส่วน สังโยชน์เบื้องต้นมี 5
-
พ้นสักกายทิฏฐิ (มีญาณรู้ตัวตนกิเลสหยาบว่าไม่ใช่เรา)
-
พ้นวิจิกิจฉา (พ้นความสงสัยในสักกายะกิเลส ฯลฯ) .
-
พ้นสีลัพพตปรามาส (คือ ปฏิบัติไม่ย่อหย่อนในศีลพรต อย่างเอาจริง ไม่ทำแค่ลูบๆ คลำๆ ทำเหยาะๆ แหยะๆ)
-
พ้นกามฉันทะ (ความพอใจด้วยกาม)
-
พ้นพยาปาทะ (ความคิดปองร้ายผู้อื่น)
(พตปฎ. เล่ม 11 ข้อ 284)
ความหมายของโกลังโกละ 2-6 ชาติถึงจะบรรลุ แต่คนนี้สามารถพาร์ทชั้นเลย จาก 6 ชาติไม่ต้อง 6 แล้วจากชาตินี้ชาติเดียวเป็นเอกพีชีเลย เป็นความสามารถพิเศษ หรือเหลืออีก 3 ชาติ แต่ทำเอกพีชีเลยแป๊บเดียวหมดกิเลสก็ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก อาจจะเหลือเชื้อเป็นอนาคามีก็ไม่กลับมาเกิดอีก อยู่ในสุทธาวาส ไม่ต้องกลับมามีเนื้อหนังมังสาอีก เป็นอนาคามีผู้ไม่กลับมาเกิดอีกได้แล้ว แต่จะกลับมาเกิดอีกก็ได้ ตามตั้งจิต
เหมือนอย่างอาตมาก็ไม่ตั้งจิตจะไปอยู่ในสุทธาวาส 5 พระพุทธเจ้าสมณโคดมก็ไม่ไปเกิดในสุทธาวาสทั้ง 5 เสียเวลา เกิดมามีร่างกายดีกว่า
จริง ถ้าเป็นอกนิฏฐคามีก็เร็ว ในอนาคามีภูมิ 5
-
อวิหาสุทธาวาสภูมิ
-
อตัปปาสุทธาวาสภูมิ
-
สุทัสสาสุทธาวาสภูมิ
-
สุทัสสีสุทธาวาสภูมิ
-
อกนิฏฐสุทธาวาสภูมิ