150401 จะพึ่งอะไรดี-พ่อท่าน-วัดมหาธาตุ
ดาวโหลดเอกสารที่ https://docs.google.com/document/d/1czqKoNhkPQDuDNGUwSJydNrLvVScI53S/edit?usp=sharing&ouid=101958567431106342434&rtpof=true&sd=true
พ่อท่านเทศนาที่วัดธาตุทอง 15 เมษายน 2515
พ่อท่านว่า… เรามาเริ่มต้น อธิบายความกันหน่อย เรื่องที่คุณพหลตั้งเอาไว้วันนี้ จะพึ่งอะไรดี ที่เราจะบรรยายกัน เป็นชื่อที่ดีที่สุด แล้วก็รู้สึกว่าจะบรรยายกัน ต้องตั้งใจฟังให้มากหน่อย เพราะเหตุว่าถ้าอาตมาจะบรรยายโดยที่เรียกว่า พื้นๆ ธรรมดา มันก็จะไม่เกิดประโยชน์อะไรและมันก็ซ้ำซาก แต่ที่อาตมากำลังจะบรรยายนี้ไม่ใช่เล่นลิ้น แต่ว่าด้วยเป็นถึงความเป็นจริง ไม่ใช่เป็นแต่เพียงภาษาพูดเท่านั้นด้วยนะ
สงสัยว่าจะต้องมีใครมาคอยหมุนซะแล้วมั้ง (เทป) ไอ้นี่มันหนักพอหนักแล้วไม่ค่อยเดิน ไอ้นี่มันไม่ค่อยดีสงสัยจะต้องไปล้างเครื่อง สายพานจะหย่อนหรืออะไรก็แล้วแต่
เรื่องจะพึ่งอะไรดีนี้ ถ้าอาตมาพูดไปเดี๋ยวนี้ บอกว่าจะพึ่งอะไรดีนะ คนจะต้องค้านทันทีเลย ด้วยภาษา ถ้าถามบอกว่าจะพึ่งอะไรดี ถามกันโป้งๆ ขนาดนี้ และโดยเฉพาะนักธรรมะที่ได้เรียนธรรมะแล้วมาพูดธรรมะกันนี่ ถ้าเราจะถามกันเปรี้ยงเลยว่า จะพึ่งอะไรดีอาตมาตอบเรื่องเหมือนกันเลย พึ่งอัตตา เพราะถ้าบอกพึ่งอัตตาเท่านั้นบอกว่าคนข้างนอกพูดแล้วคนทั้งหลายที่เราเรียนธรรมะกันโดยเฉพาะเรียนพุทธศาสนาจะต้องหาว่าอาตมาที่พูดนอกพุทธศาสนา
เพราะพระพุทธเจ้าท่านสอนไม่ให้หลงอัตตา ไม่ยึดถืออัตตา แต่อาตมาบอกจะพึ่งและพึ่งยึดถือมันก็อันเดียวกันนั่นแหละ ที่พึ่งสรณะที่ยึดถือก็สรณะ อันเดียวกันนั่นแหละ คืออัตตานั่นแหละ และอาตมาก็ยืนยันว่าเราจะพึ่งอัตตา นี่ไม่ใช่อาตมาเป็นคนพูด ถ้าอาตมาพูดอย่างนี้แล้วก็หาว่าอาตมานี่พูดเอาเอง เพราะฉะนั้นอาตมาจะต้องขอยกบาลีที่พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสเอาไว้แล้ว และบาลีอันนี้เป็นที่กว้างขวางใครๆ ก็รู้ พูดขึ้นมาก็ อ๋อทันที
พระพุทธเจ้าท่านตรัสเอาไว้ว่า อัตตาหิ อัตโนนาโถ โกหินาโถ ปโรสิยา ชัดไหม ให้พึ่งอัตตา อัตตาหิ อัตโนนาโถ โกหินาโถ ปโรสิยา
นาโถ แปลว่า ที่พึ่ง ที่พึ่งใด ก็อัตตาของเรา อันเป็นส่วนของเรานี่แหละ เป็นที่พึ่งที่ยิ่ง ตัวตนนี่แหละอัตตา ตัวตนของตนนี่แหละ โกหินาโถ ปโรสิยา นอกจากตนแล้วจะพึ่งใครได้ ไม่มี ไม่มีที่พึ่งอื่น นอกเหนืออัตตา หรืออัตตาแปลว่า ตัวกูของกูที่ท่านพุทธทาสว่า หรือตัวตนของตนนี้แหละ เรียกว่าอัตตาแท้ๆ ที่เราพึ่ง พระพุทธเจ้าท่านก็สอนอันนี้ เพราะฉะนั้นทุกคนก็คงจะไม่เถียงแล้ว ก็คงจะชักเอ๊ะอะไรยังไงๆ แล้วนี่ ศาสนานี้กลับไปกลับมาพูดกันยังไง แล้วก็เป็นจริงอย่างนั้นแล้วก็จะเห็นจริงอย่างนั้นมากขึ้น เมื่ออาตมาจะได้อธิบายเรื่อยๆๆๆ แยกแยะออกไปเป็นระดับๆๆ
อาตมาจะแยกแยะออกไปเป็นระดับ ที่จะยืนยันคำว่า ทำไมอาตมาว่าจะต้องพึ่งอัตตา หรือพึ่งตัวตนหรือพึ่งตัวกูของกูซะก่อน ก็เพราะเหตุว่า บาลีบทนี้ยืนยันอย่างหนึ่งว่านอกจากยืนยันแล้ว อาตมาเห็นด้วยและคิดด้วยและถูกต้องด้วยไม่ใช่พระพุทธเจ้าท่านพูดแล้วถูก อาตมาก็เห็นด้วยด้วย เพราะอาตมาไม่ได้เชื่อพระพุทธเจ้าทีเดียว อาตมาเชื่อปัญญาของอาตมาด้วย พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้สอนให้เชื่ออะไรดายไปทั้งหมดเลย ท่านสอนให้จะต้องเป็นผู้ที่เข้าใจ และเป็นผู้ที่จะต้องเชื่ออย่างมีเหตุผล ไม่ใช่เชื่ออย่างงมงาย
เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าบอกว่าแม้แต่คนนี้เป็นครูของเรา ท่านก็อย่าเชื่อ เช่นเดียวกันพระพุทธเจ้าเป็นครูของเราใช่ไหม ก็เท่ากับท่านบอกว่าอย่าเชื่ออาตมานะอย่าเชื่อตถาคตนะ เพราะว่าตถาคตเป็นครูของเราก็เท่ากับว่าอย่าเชื่อตถาคตก็เหมือนกัน แต่จะเชื่อก็ต่อเมื่อเราเองมีเหตุผลเข้าใจลึกซึ้งแทงตลอดถึงเหตุและผลเป็นปัญญาแทงทะลุว่า อ๋อ มันน่าเชื่อถือ และมันเชื่อถือได้ เพราะมันมีความจริงอันแท้จริงอย่างนี้เอง แล้วเราก็เชื่อ นี่เรียกว่าอาตมาเชื่อ อัตตาหิ อัตโน นาโถ โกหินาโถ ปโรสิยา เชื่ออันนี้ไม่ได้เชื่อด้วยปากเปล่า ไม่ได้เชื่อเพราะเป็นคำตรัสของพระพุทธเจ้าเท่านั้นด้วย
และมีเหตุผลใดที่อาตมาเชื่อแล้วจะมาชักจูงให้พวกคุณเชื่อและเห็นตามด้วย แต่ฟังแล้วต้องไปพิสูจน์ถึงเห็นตามและจะเชื่อได้ มีเหตุผลอะไรเพิ่มเติม เหตุผลอันนั้นก็คือว่า ในศาสนาพุทธของเรา เราทุกคนเป็นผู้ที่รู้ดีเป็นผู้ที่เข้าใจดีทีเดียวว่า พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า ผลที่สูงสุดที่เราเองยึดถือ กันทุกวี่ทุกวัน ที่เราใฝ่เอาโดยเฉพาะพุทธศาสนิกชนของเราท่านเรียกผลนั้นว่า อรหัตตผล
อรหัตตผลมาจากภาษาบาลีคำว่า… อาตมาเริ่มเขียนเท่านี้ก็ชักจะอ๋อกันหน่อยแล้วมีอัตตาเข้ามาตัวหนึ่งแล้ว อรหะ วันนี้มาจากบาลีต้นรากศัพท์ว่า อรหะ หรือ อรหัง นี่แหละที่เราเคยสวดกันนี่แหละ ผสมกัน หรือว่าสนธิกันกับคำว่า อัตตา ก็เป็น อรหัตตะ และเราไม่เรียก อรหัตตะ ก็มีตัวต่อกันไปและเราไม่เรียกคำว่า อรหัตตา พอมีตัวต่อไปมีคำว่าผลต่อด้วยบางทีก็เรียกว่า อรหัตตผล หรือ อรหัตตมรรค
ผลสูงสุดที่ทางพุทธศาสนาของเราต้องการและกำลังใฝ่หากันอยู่ พระพุทธศาสนิกชนต้องการก็คือ ผลของอัตตา ที่เราเรียกว่า อัตตาอย่าง อรหะ นี่คือผลที่เราต้องการ แม้แต่อรหัตตมรรคมันก็ยังเป็นทาง สูงสุดไปถึงอรหัตตมรรคเราก็ยังต้องการบอกว่าเป็นของดิบของดีอย่างยิ่ง ทวี อรหัตตผลมันก็ยิ่งสูง ถ้า อรหัตผลสูงขึ้นไปอีกเป็นที่สุด
ถ้าเผื่อว่าอรหัตตผลมันมากๆ เข้ เราสั่งสมอัตตา ที่เรียกว่า อรหะ ให้มากเป็นที่สุด อันตะ แปลว่าที่สุด หรือแปลว่า ปลาย เพราะฉะนั้นเมื่อได้ครบอรหัตตผลรวมยอดให้เป็นที่สุดแห่งที่สุดแล้ว ท่านเรียกคนผู้นั้นว่า บรรลุอรหันต์ ได้สั่งสมผลของความเป็นอัตตาที่เป็นอรหันต์ครบหมดแล้ว ก็เรียกว่า อรหัตตผล เท่ากับเราสั่งสม อัตตานั่นเองใส่เข้าไปเรื่อยๆ
แน่ใจขึ้นไปอีกนิดนึงล่ะนะที่อาตมาตอบว่า จะพึ่งอะไรดีเราก็เพิ่งอัตตานั่นเอง พึ่งตัวตนนั้นเอง หรือพึ่งรูปร่างของสิ่งหนึ่งก็ตามแต่ใครจะไปอย่างนั้นก็ตามแต่ อัตตา คือ ร่างของสิ่งสิ่งหนึ่งที่เรากำลังยึดเข้าไว้หรือสั่งสมเข้าไว้หรือสร้างเข้าไว้
ทีนี้ อัตตาตัวนี้ อาตมาก็ยืนยันด้วยภาษาบาลีว่า อัตตาหิ อัตโน นาโถ โกหิ
นาโถ ปโรสิยา พระพุทธเจ้าท่านก็ยืนยันด้วยบาลีนี้แหละว่า ตนเองนั่นแหละ ตนเองหรือ อัตตานั่นแหละ เป็นที่พึ่งที่ดีที่สุด นอกจากตนหรือนอกจากอัตตานั่นแล้ว นอกจากอัตตาตัวตนของตนนั่นแล้วก็ไม่มีสิ่งอื่นที่จะดีเหนือกว่า หรือไม่ใช่ที่พึ่งที่ดี
ที่นี้เพิ่มขึ้นมาเมื่อเรารู้แล้วว่าอัตตา มันคือ ตัวตน อรหะ คืออะไรล่ะ อัตตา คือตัวตนที่เราสร้างขึ้นมา หรือ เป็นสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกับเราเองเราเรียกว่าอัตตา แปลเป็นภาษาคนก็คือ อัตตาธรรมดา หรือพระพุทธทาส ก็แปลว่า ตัวกูของกู หรือว่าตัวตน การเป็นตัวเป็นตนการยึดถือตัวยึดถือตนนี้แหละ
อรหะนั้น โดยภาษามาแปลเป็นภาษาไทยว่า ความเหมาะสม อรหะ แปลว่า ความเหมาะสม หรือ ความเป็นไปอย่างควร ความเป็นไปอย่างพอเหมาะพอเจาะแล้วแต่ จะขยายความไปอีกได้แยะ อรหะ นี่
คือ ความเป็นไปอย่างเหมาะเจาะ หรือ ความเป็นไปอย่างสมอย่างควรทีเดียวเรียกว่า อรหะ
ทีนี้คำว่า อรหะ คำนี้ภาษามันกลายตัวอรหะ หรืออรหัง แปลว่า หมดกิเลสหรือใครก็คงได้ยินว่าแปลว่า หมดกิเลส ก็จริงอยู่ถ้าผู้รู้กิเลสแล้วท่านก็เป็นไปโดยเหมาะโดยควร โดยไม่จำเป็นต้องให้กิเลสมาเกี่ยวข้อง ก็หมดกิเลสเหมือนกันแล้วท่านก็เป็นอยู่โดยเหมาะโดยควรอย่างนั้น โดยสมควรอย่างนั้น ไม่มีกิเลส สิ่งที่เรียกว่า กิเลสเพราะท่านรู้ซะแล้วว่ากิเลสคืออะไร กิเลสคือตัวทำทุกข์และท่านรู้ซะแล้วว่าทุกข์นั้น มันเกิดด้วยกิเลสัตตะัวขนาดไหนขนาดไหน จะปล่อยให้มันเกิดขนาดไหนมันทุกข์มากทุกข์น้อยขนาดไหน พระอรหันต์ท่านเป็นผู้รู้ แล้วท่านก็ปล่อยให้มันเกิดอย่างไม่เป็นทุกข์ตามควรตามเหมาะที่สุดในโลก อันสมมุติอยู่
หมายความว่า พระอรหันต์ คือผู้ที่ยังไม่ตาย เมื่อยังไม่ตายเราก็จะต้องมีการปรุงแต่ง เราจะต้องมีสังขาร อย่างน้อยที่สุด กายสังขารของเราก็ยังเหลืออยู่ กายสังขารเหลือแล้วเราก็ยังจะต้องมี วจีสังขารที่จะต้องเราจะสร้างขึ้น อริยาบทต่างๆ ก็เป็นสังขาร มโนสังขารก็เป็นสังขาร ที่เราจะปรุงจะแต่งอยู่ในโลกนี้เหมือนกัน
พระอรหันต์จะเป็นผู้รู้เองว่า จะทำกายสังขารให้อยู่อย่างไร ในขณะใด
กาละใด เทศะใด มันจึงจะเป็นสุขที่สุด หรือเป็นประโยชน์ถูกต้องที่สุด แล้วก็สังขารที่จะเป็นวจี คือพูดปรุงแต่งออกมาเป็นภาษาคำพูดออกมา แค่ใดๆ มันจึงจะเป็นประโยชน์ตนประโยชน์ท่านสูงที่สุด ดีที่สุด หรือแม้แต่ที่สุด มโนสังขารขนาดใดที่ท่านจะปรุงแต่งออกมา ได้ประโยชน์สูงที่สุดเกื้อกูลโลก เป็นประโยชน์ท่านประโยชน์ตนดีที่สุด ทุกคนก็คงจะเคยได้ยินมาเรื่องประโยชน์ตนประโยชน์ท่านนี่ พระพุทธเจ้าท่านยืนยันเหลือเกินว่าคนเราเกิดมาแล้วต้องสร้างประโยชน์ตนสร้างประโยชน์ท่านให้บริบูรณ์พร้อม
เพราะฉะนั้น พระอรหันต์เป็นผู้รู้ และท่านจะทำทุกทีไปอย่างนั้น ดังนั้นเราจะต้องเข้าใจคำว่า อรหะ หรือ คำว่าอรหันต์ ให้ดีที่สุดเราจะเข้าใจโดยปาก มันก็เท่านั้นเท่านั้นแหละ มันก็จะได้พอประมาณ แต่เราจะเข้าใจคำว่าอรหะได้ดีที่สุดนั้นไม่ใช่ด้วยปากเท่านั้น มันจะต้องปรุงแต่งให้เกิดที่ตนจริงๆ ให้รู้แจ้งแทงทะลุจริงๆ เลยว่า อ๋อ ความพอดีพอเหมาะพอสมที่ถูก รู้เองโดยตนเองเป็นผู้รู้ผู้เห็น คนอื่นเข้าใจด้วยไม่พอ แต่ถ้าขนาด อรหะ หรือ อรหันต์ด้วยกันจะรู้ด้วยกันพอได้เพราะมันตัวเท่ากันแล้วนี่มันก็เทียบเคียงกันได้ แต่ถ้าผู้นั้นไม่ใช่อรหันต์ด้วยกันนะมันจึงเทียบเคียงกันไม่ได้ไล่กันไม่ถูก ด้วยเหตุนี้เอง
ท่านถึงตรัสไว้ว่า อรหันต์ย่อมรู้อรหันต์ด้วยกัน ไม่มีผิดตรงไหนเลยเพราะมีของเท่ากันมาเทียบเคียงแล้ว เพราะฉะนั้นสบายมาก แต่ถ้าไม่ใช่อรหันต์ด้วยกันแล้ว ก็เทียบเคียงไม่ค่อยลงตัวหรอกว่า อรหันต์นั้นที่เรียกว่า เป็นความพอดี พอเหมาะ พอสมพอควร ก็จึงไม่พอดี ไม่พอเหมาะ พอสมพอควร
ความพอเหมาะพอสมควรนี้ หรือใช้แต่ภาษาเท่านั้น โดยสภาวะอาตมาบอกแล้วว่า เราจะต้องไปสร้างเอาเอง ไปทำเอาเองว่ามันจะพอดีพอเหมาะพอสมควรแต่ละขนาดไหน เราจึงจะเรียกว่า พอเหมาะพอควร จนทิ้งโลกได้ทิ้งสิ่งที่มันปรุงแต่งเป็นโลกียะ ทิ้งเอาไว้ในโลกียะ อะไรเรียกว่าโลกียะ อะไรที่มันปรุงแต่งรวมัตตะัวลงมา เรียกว่ายังติดข้องอยู่ในโลก ไอ้สิ่งเหล่านั้นเราจะต้องไปเรียนรู้โลก เมื่อเรียนรู้โลกแล้ว แล้วเราก็ไม่ติดไม่ข้องในโลกเหล่านี้เราไม่สร้าง ไม่สร้างโลก อรหันต์ไม่สร้างโลก สิ่งใดที่มันจะเป็นโลกไม่สร้างด้วย ไม่เอา ไม่ปรุงไม่แต่งไม่หนักไม่หนาด้วย แต่สิ่งใดที่จะสงเคราะห์โลกก็ยังพอทำบ้าง ฟังให้ดีนะคำนี้ อย่าไปเป็นคนพาซื่อกันเกินไป สิ่งใดที่จะสร้างโลกพระอรหันต์ไม่ทำไม่สร้าง แต่สิ่งใดจะสงเคราะห์โลก หรือ เกื้อกูลโลก พระอรหันต์จะทำบ้าง
แต่ถึงแม้ท่านทำบ้างท่านก็ไม่ยึดไม่ติดด้วย ท่านสักแต่ว่าทำแต่ท่านทำบ้าง ฟังให้ดีนะประโยคนี้มันจะกินตัวเข้าไป ถ้าเข้าใจไม่พอแล้วประเดี๋ยวก็มันจะไปชนกันหมด เพราะฉะนั้นพระอรหันต์จะทำอะไรทุกอย่างจึงใช้วิจารณญาณ หรือ ใช้ความพิจารณาของตนเองเสมอๆ ด้วยปัญญา พิจารณาตนเองเสมอด้วยปัญญาว่า อันนี้เหมาะควรว่าดีไหมจะสงเคราะห์โลกสงเคราะห์ตนได้พอเหมาะพอเจาะไหม เอาล่ะพอดีพอเหมาะท่านก็ทำ ถ้าเผื่อว่ากว่านี้ไหวไหม แหม..กว่านี้ไม่ไหวแล้วไม่ดีมันจะเอนเอียงไปข้างโลกมากไปจนกระทั่งเดี๋ยวเกิดเป็นตัวตนโลกหนักเกินไป ท่านไม่ทำ หรือบางทีก็เป็นทุกข์ให้ตัวเองนั่นแหละมากเกินไป ท่านก็ไม่ทำเหมือนกัน อย่างนี้
ก็มีขนาดอยู่ก็มีขนาดจำนวนมีความหนัก มีความเบาไม่เท่ากันกับพระอรหันต์สมัยพระพุทธเจ้า ไม่เท่ากันหรอก เพราะโลกมันไม่เหมือนกันแล้ว มันหนาแน่นไปด้วยกิเลสก็ไม่เหมือนกัน โลกมันเต็มไปด้วยไอ้โน่นยึดไอ้นี่ดึงก็ไม่เท่ากัน รูปก็ไม่เท่ากันนามก็ไม่เท่ากัน ในสมัยโน้นกับสมัยนี้ รูปที่เป็นสมมุติในโลกก็ไม่เท่ากัน นามที่สมมุติอยู่ในโลกนี้ก็ไม่เท่ากัน
เพราะฉะนั้นพระอรหันต์นั้นจึงยอมอนุโลมัตตะามสมมุติโลกจำนวนไม่เท่ากัน ขนาดไม่เท่ากัน เบาว่างก็ไม่เท่ากันนัก ถ้าพระพุทธเจ้ามาเกิดสมัยนี้ พระพุทธเจ้าก็คงไม่สอนคนเหมือนกัน อาตมาว่านะไม่สอนหรอก มันหนักหนาเหลือเกินนักหนาจริงๆ พุทธเจ้าจะมานั่งสอนว่าอ้าวนั่งอาสนะเดียวแล้วให้บรรลุเหมือนพระยสเหมือนพระปัญจวัคคีย์ไม่ได้หรอก อาตมาว่าไม่สำเร็จหรอก คนสมัยนี้มานั่งสอนอย่างนั้นไม่ได้หรอกไม่ได้จริงๆ อาตมาเชื่ออย่างนั้นเลย
ถนนพระพุทธเจ้าถ้าเกิดสมัยนี้พระพุทธเจ้าไม่สอนหรอก จะกลายเป็นภาพปัจเจกพุทธะไปเลยไม่สอน แต่ทีนี้ต้องใช้อาศัยคนที่เรียกว่าทน ทนแดดทนฝนทนอึดทนไม้ทนปืนทนมีดทนผา ทนทุกอย่างอย่างอาตมานี่ทน ทนเขาว่าศาสัตตะร์กราบยังไงก็ทน ที่จริงก็ไม่ได้ทนหรอกแต่อาศัยภาษาพูดไม่ได้ทนหรอก ไม่ได้เจ็บไม่ได้ปวดอะไรหรอกแต่ว่าต้องทน พูดไปแล้วคนจะว่าอย่างโน้นอย่างนี้ก็ต้องทน แต่แท้จริง อาตมาไ่ม่ได้ทนเขาจะทำมายัง ก็ไม่ได้ทนหรอก เหมือนทนแต่ไม่ได้ทนทีเดียวหรอก
ทุกสิ่งทุกอย่างจะเกิดตาม กาละ เทศะ เกิดไปตามเวลาเท่านั้น
ที่นี้ถ้าเราเองยังไม่ถึงได้เอาอรหัตตผลเราจะพึ่งอัตตาตัวนั้นอย่างไรมันถึงจะแจ่ม ถ้าบอกว่าให้ไปพึ่งอรหัตตผล หรือ อัตตาตรงที่เป็น อรหะ สงสัยไม่ได้พึ่งแล้วอัตตาหิอัตโนนาโถเปล่าเสียแล้ว มันจะไม่พึ่งอัตตาหิอัตโนนาโถแล้วเพราะอัตตาไปเล่นถึงขั้น อรหัง อรหันต์ ไม่ไหว
คนเราก็เลยต้องพยายามถ้าเป็นผู้ที่มีความรู้เป็นผู้ที่อยู่ในวงศาสนาพระพุทธเจ้าท่านก็ให้พึ่ง รองลงมาก็คือ เมื่อพึ่งอรหะไม่ได้ แล้วมาพึ่งอัตตะที่อยู่ในอรหะไม่ได้ ก็ให้พึ่งอัตถะสิฟังให้ดีนะ เมื่ออัตตะตัวนั้น ยังพึ่งไม่ได้ก็ให้พึ่งอัตถะสิ อัตถะตัวนี้หมายถึงว่า แก่นเนื้อหาสาระ หรือสาระหรือพยัญชนะคำสอนของพระพุทธเจ้าเรียกว่าอัตถะ ถ้าพูดให้เต็มก็เรียกว่า อรรถปฏิสัมภิทาญาณ ญาณที่พระพุทธเจ้าท่านได้ถ่ายทอดไว้แล้วเรียกว่า อรรถปฏิสัมภิทาญาณ อัตถะตัวนี้ก็มาจากคำว่าอัตตะนี่เอง ภาษามันแปลงรูปเอามาเรียกใกล้เคียงกันแล้วมันเป็นตัวโตขึ้นมาหน่อยท่านก็เลยใช้คำว่าอัตถะก็คือ แก่นแท้เนื้อหานั่นเอง หรือไอ้ตัวตนเนื้อหาธรรมะนั่นเองแต่ไม่ใช่ตัวตน ไปยึดอยู่ที่ใครแต่เป็นเนื้อหาตัวตนอันนี้อยู่ในสภาวะของ บัญญัติ อยู่ในสภาวะของบัญญัติของสิ่งหนึ่งที่ได้กำหนดขึ้นมาแล้วเรียกมันว่าคำพูดก็ตาม เรียกมันว่าเนื้อหาก็ตามแม้เรียกว่าคำพูดเราก็เรียกว่าอัตถะ แม้เรียกว่าเนื้อหาเราก็เรียกว่าอรรถแก่นสารก็เรียกว่าอัตถะ เป็นอัตถประโยชน์หมายความว่าเป็นประโยชน์ที่เป็นแก่นสารจริงๆ
นี่เราก็พึ่งสิ่งนี้ต่อมา เรียกว่าพึ่งอัตถะซิ เมื่อเราจะพึ่งอัตถะเราก็ศาสนาพุทธเราก็มาเรียนอัตถะของพระพุทธเจ้า มาเรียนภาษาที่พระพุทธเจ้าท่านเทศน์เอาไว้ก็ตาม หรือพระสงฆ์ผู้ที่รู้อัตถะ เนื้อหาสาระของพระพุทธเจ้า จนกระทั่งเราเอาไปประพฤติปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ จนรู้ถึงอทะแท้ๆ รู้ถึงสภาวะตัวจริงๆ ก็เอามาถ่ายทอดอัตถะนั้นออกมาเป็นภาษาก็ตาม ก็เหมือนกัน แล้วเราก็มาพึ่งอัตถะนี้ เป็นชั้นรองลงมา
คำสอนต่างๆ นี้ดังเช่นที่อาตมากำลังพูดอยู่นี้ อธิบายอยู่นี้เรียกว่า อัตถะทั้งสิ้น คือเป็นภาษาเป็นคำพูด และภาษาคำพูดอันนี้ ชักออกมาจากเนื้อหาแก่นแท้หรือแก่นสารของมันแท้ๆ เลยชักออกมา แล้วเอามาโยงใยมาพยายามชี้ให้พวกคุณได้ฟังเพื่อที่จะได้เกิดประโยชน์ในการฟัง เกิดปัญญาในการฟังจึงเรียกว่า สุตมยปัญญา เข้าใจจริงๆ ในการฟังให้ได้แน่นอนมากมาย จนกระทั่งคุณเอาไปคิดทบทวนที่บ้านที่ไหนก็ตามแต่เรียกว่า จินตามยปัญญาอีกทีหนึ่ง คิดทบทวนจนกระทั่งรู้เข้าใจซาบซึ้งว่าอ๋ออรรถนี้หนอ ที่ภาษาที่ได้ฟังมานี้หนอ เป็นภาษาที่มันมีเหตุมีผลจริงๆ เป็นของที่ควรที่จะได้เอามาใช้ เป็นของที่ควรจะได้เอามาอบรมัตตะอนเอามาประพฤติปฏิบัติตามจริงหนอ แล้วเราเองก็จะได้เอาอัตถะนี้ไปประพฤติ
การประพฤติการบำเพ็ญนั้นท่านเรียกว่า พต ก็คืออัตตะอีกนั่นแหละฟังให้ดีไม่ได้หนีจากอัตตะไปไหนเลย พต คือตัว พ กับ อัตตา พ.พาน สนธิกับความว่าอัตตะ หรือ อัตตา แปลว่าการประพฤติหรือการบำเพ็ญหรือการกระทำ
ที่นี้เราจะไปประพฤติหรือบำเพ็ญสิ่งอันนั้นเราก็เอาสิ่งอัตตะที่เราได้มาแล้วจากการฟัง มาคิดทบทวนแล้วก็เอามาบำเพ็ญ เอาไปอบรมัตตะนเรียกว่า ภาวนาก็ได้ภาวนาก็อบรมัตตะนให้เกิดอย่างนั้นอย่างนั้นเรียกว่า ภาวนา หรือเรียกว่าเอาไป พต ก็ได้ หรือเอาไปประพฤติไปบำเพ็ญไปกระทำ
พต อันนี้ก็คือเอาไปทำจริงๆ ให้มันเกิดในตัวในตนจึงเรียกว่า พ+อัตตะ ให้มันเป็นตัวตนเกิดมาที่ตัวที่ตนเรียกว่า พ หรือ พต อัตถะ สิ่งที่ได้มาตอนที่อาตมายกเหล่าเนื้อหาแก่นแท้ที่ได้มาเป็นภาษาที่พูดออกมาก็ตามพระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า ข้อควรเอาไปประพฤติ ได้ยินเป็นภาษามาทบทวนเป็นข้อเป็นหลัก เป็นหลักใจหรือเป็นกฏอันหนึ่ง ที่เราจะเอามาประพฤติตาม นอกจากภาษาที่เรียกว่า อัตถะ นั้นเอามาโน้มน้อมประพฤติแล้วท่านยังเรียกว่า ศีล อีกเหมือนกัน
ฟังให้ดีนะมันคล้องจองกันหมดธรรมะ นี่มันเรื่องเดียวกันหมดท่านเรียกว่าศีลด้วย ศีลนั่นคือ หลักใจศีลนั้นคือข้อควรประพฤติที่เราได้ฟังได้รับมาจากครูหรือได้รับมาจากอาจารย์ ที่ท่านบอกให้ เช่น ท่านว่าปาณาติปาตาเวรมณี อ้าวพยายามประพฤติละเว้นศัตรูอันที่จะทำตนเองไปเบียดเบียนผู้อื่นเสีย เรียกว่าปาณาติปาตาเวรมณี นี่เป็นศีลหรือเป็นอัตถะเป็นภาษาที่ท่านกล่าวออกมาบอกให้เราประพฤติอย่างนี้
ผู้ที่ได้อันนี้ฟังอันนี้มา เรียกว่า ศีลแล้วก็เอาศีลข้อนี้เองมา พต มาประพฤติ ผู้ใดได้ศีลข้อนี้มาแล้ว หรือได้หลักใจอันนี้มาแล้วมาเห็นดีเห็นชอบมาคิดทบทวนว่าเออควรจะเอาศีลข้อนี้มาภาวนา แล้วก็เอามาลงมือภาวนาจริงๆ หรือทำให้มันเกิดที่ตนจริงๆ หรือทำให้มันเกิดอัตตาทำให้เกิดผลเป็นอัตตาตัวตน ขึ้นมากับตนกับตัวจริงๆ จนเรียกว่า พต ผู้นั้นก็จะได้ความจริงจะได้ตัวตนอันแท้จริงขึ้นมาให้ตัวเองเลยทีเดียว มันก็จะเป็นผลเรียกว่า อรหัตตผลแต่ผลขึ้นมาเรื่อยๆ
ผู้ใดมีศีลแล้วก็มี พต มีการบำเพ็ญจริงๆ เกิดผลจริงๆ ผู้นั้นจะได้เอา อรหัตตะ จะได้ผลจะได้เอาอรหัตตผล
แต่ที่นี้ผู้ใดเอาไอ้สิ่งที่ได้มาจริงๆ ที่เขาบอกมาอาจารย์บอกมาครูบอกมา แต่ครูบอกมาอาจารย์บอกมา ทว่า ผู้นั้นประพฤติไม่จริงประพฤติเป็นศีลที่เรียกว่าสักแต่ว่าศีลเฉยๆ ศีลลูบๆ คลำๆ ศีลที่ไม่แท้ศีลที่มีแต่ภาษาศีลที่ไม่มีเนื้อมีตัวไม่มีอัตตาศีลที่ไม่เกิดตัวเกิดตนเลยฟังแต่ภาษาแล้วเอาไปออกแขกออกลิเกอยู่ บางทีก็ไปนั่งฟังพระท่านมาถึงก็ไม่ยังภันเตวิสุงวิสุง รักขนถายะ ที่วัดพระท่านก็ออกลิเกพร้อมเลยขึ้นต้น ปาณาติปาตา เวระมณีสิกขาปะทังสะมาทิยามิ กว่าลิเกบทนี้กว่าจะมีบทร้องบทขับจนกว่าจะจบนะ ผู้ที่ไปขอมายังภันเตก็ตาม พอพระท่านสวดท่านขับร้องออกมาเสร็จแล้ว อุบาสกอุบาสิกาศึกษาทั้งหลายก็บอกว่าปาณาติปาตาเวรมณีสิกขาปะทังสะมาทิยามินี่เรียกว่ารับศีลได้ศีลมา
เสร็จแล้วได้แล้วศีลมาแล้วจะเป็นศีล 5 ศีล 8 ก็ตาม พอได้ไปแล้ว ก็ถือเอาไว้ทีเดียวแบกเอาไว้ทีเดียว แหม ปานาเราก็ถือ อะทินนาเราก็ถือกาเมแล้วก็ถือ มุสาวาทาเวระมณีเราก็ถือ สุราเมระยะมัชชะปะมาก็ถือ บางคนถือไว้ร่าเลยเช้าวันนี้เราทำงานทำบุญวันเกิดนิมนต์พระมาขอศีลแล้วแต่เช้า พอตกบ่ายๆ หน่อยเพื่อนก็บอกว่า เฮ้ย เปิดกาขาวให้ทีสิ ไม่เปิดกาขาวเลย เพื่อนจะเลี้ยงวันเกิดนี่เจ้าภาพก็เปิดกาขาวเข้าให้ เพื่อนก็ดื่มกาขาว บอกว่าพระเจ้าภาพไม่กิน หรือ เจ้าภาพบอกว่ารับศีล เพื่อนก็บอกว่าศีลก็ศีลสิเราก็มาดื่มด้วยกัน เสร็จแล้วก็ดื่มเข้าให้
เสร็จแล้วลิเกบทนั้นก็ผ่านไปผ่านไปเหมือนสายน้ำไหลสุราเมระยะมัชชะปะมา ก็เทลงทะเลเลย ไม่มีเนื้อไม่มีตัวไม่มีตัวมีตนไม่มีการประพฤติไม่มี พต ไม่เกิดตัวเกิดตน พ+อัตตะ ไม่เกิด เรียกว่พระก็ได้ เราจะทำตัวให้เป็นพระก็ได้เราจะทำตนให้เป็นพระไม่เกิด พระอันนี้ไม่เกิดเพราะไม่มีโพไม่มีโพธิ พ. พานนี้สำคัญไม่เป็นพระเพราะไม่มีโพธิ โพธิ คือ ความรู้หรือปัญญา เมื่อไม่มีความรู้ไม่มีปัญญาเพราะตัวเองไม่ได้ปฏิบัติก็จึงไม่ได้เกิดความรู้ไม่ได้เกิดปัญญา
โพธิสัตว์ หรือ โพธิสัตโต หลวงพ่อเณรโพธิสัตโต คำว่าโพธิสัตโตก็มาจากคำว่า โพธิ+สัตตะ สัตตะ คือ ส + อตต
สัตว์โต สัตว์ รากศัพท์มันมาจากคำว่า สัตตะ ถึงแม้ตอนนี้ภาษาบาลี สัตตะก็แปลว่า สัตว์โลกอยู่เหมือนกัน ใครเรียนภาษาบาลีจะรู้แม้แต่คำว่า สัตว ภาษาบาลีก็ยังเรียกว่า สัตตะ มาจาก ส.เสือ บวกอัตตา แปลว่า สัตว์โลก
ถ้าสัตว์โลกโดยตรงแล้วจะอธิบายต่อไปไว้ตอนท้ายๆ ก่อน จะเป็นสัตว์โลกตอนนี้ยังไม่เป็นสัตว์โลกตอนนี้ยังเป็นขั้นอรหัตตะอยู่
โพธิสัตว์คือผู้ที่มีความรู้ผู้ที่จะเป็นโพธิสัตตะได้ต้องเป็นผู้ที่มีอรหัตตะเป็นผู้ที่มีอรหัตตผลให้ตัวเองแล้วรู้ แล้วมีความรู้รู้อัตตา ตัวที่มีความเหมาะสมพอดีแล้วเรียกว่า เป็นผู้ที่มีปัญญาตัวอรหะหรืออรหันต์ หรือ ตัวความพ้นกิเลสรู้จักกิเลส รู้จักความพ้นกิเลสก็นึกว่ารู้จักความเป็นอรหันต์ รู้อรหันต์ ฟังดีๆ นะอาตมาใช้ภาษาที่พวกคุณเคยได้ยินได้ฟังทุกวัน แต่คุณไม่ได้เข้าใจภาษา อาตมากำลังเอาภาษามาคลี่คลายให้ฟัง เพราะฉะนั้นโพธิสัตตะ หรือ โพธิสัตว์นี่เราเรียกศัพท์ทับไปอีกเรียกว่าพระโพธิสัตว์ คือตัวบุคคลผู้หนึ่งที่มีความรู้มีปัญญาเรียกว่า โพธิ แล้วก็เป็นสัตว์โลกเป็นตัวตนจริงๆ เป็นสัตว์โลกจริงๆ
แล้วก็เอา อัตตะ ที่เป็นอรหัง อรหัง หมายความว่าสิ่งที่พ้นกิเลส หรือรู้กิเลสและก็รู้การทำตนให้พ้นกิเลสอย่างที่อธิบายมาแล้ว เพราะฉะนั้นรู้ อรหัตตะตัวนี้ก็เอาอรหัตตะตัวนี้มาอธิบายสู่กันฟัง
ทางมหายานเขานี่ เขาบอกว่าพระโพธิสัตว์นี่ เป็นผู้ที่ไม่บรรลุอรหันต์ก็จริงก็ได้เหมือนกัน เขาจะเป็นผู้ที่มีแต่อรหัตตผลเรื่อยไปแล้วก็เป็นโพธิสัตตะเรื่อยไปเขาจะไม่ยอมเกิดยอมสูญ เขาจะไม่ยอมเป็นอรหันต์ คือเขาจะไม่ยอมมีที่ปลายเขาจะไม่ยอมมีที่สุด อันตะ แปลว่าที่สุดเขาจะไม่ยอมที่สุดเขาจะเกิดๆ ช่วยคนทั้งโลกนี้จนกระทั่งคนสุดท้ายในโลกนี้เหลืออยู่เขาก็จะช่วยคนสุดท้ายนี่ แหม…รู้สึกว่ามีอธิษฐานจิต หรือว่ามีปณิธานสูงเหลือเกินฝ่ายมหายานจะช่วยคนสุดท้ายซะก่อนในโลก ให้พ้นโอฆะสงสาร แล้วตนเองถึงจะช่วยตอนนี้เรียกว่าทางมหายานเขาเอาร้ายกาจถึงขนาดนั้นก็ดีอยู่นะเป็นประเด็นทางที่น่าดูเหมือนกันแต่คิดดูซิมันจะเป็นได้ไหมหรือ มันเป็นไปไม่ได้หรอก มันเป็นแต่เพียงคำพูดอันหนึ่งเท่านั้นเอง ซึ่งเป็นคำยั่วยุ เป็นอุบายโกศลอันหนึ่งยั่วยุให้คน มีความัตตะตั้งใจสูง
การช่วยคนให้พ้นอรหันต์ โดยเอาอรหัตตคุณ หรือเอาอรหัตตผลก็เหมือนกัน อรหัตตคุณ หมายถึงคุณความดีที่รู้ว่าเอารหัสหมายถึงอะไร เป็นเนื้อเป็นตัวเป็นอัตตาขึ้นมาแล้วเอาอรหัตตาคุณ มาเผื่อแผ่มาสอน มันก็ดีผู้ใดมีอรหัตตคุณมีอรหัตตผลแล้ว เอามาแจกจ่าย แต่ถ้าใครเอาเงินเอาทองมาแจกจ่ายเฉยๆ ยังไม่ใช่ชั้นดีหรอก ถ้าใครมีเอาอรหัตคุณเอาอรหัตตผลมาแจกจ่าย เอาอรหัตตคุณเอา
อรหัตตผลอันนั้นเราเรียกว่าตัวธรรมะแท้ๆ ล่ะ
เพราะฉะนั้นถ้าผู้ใดทำทานโดยเอาอรหัตตคุณ หรือ อรหัตตผลมาจากจ่ายคนนั้นเป็นผู้ที่มีการทำทานชั้นสูงสุด ผู้ที่มีอย่างนั้นพระพุทธเจ้าท่านตรัสเอาไว้ ว่าผู้ที่มีธรรมทานผู้นั้นแหละเป็นผู้ที่ชนะโลก เป็นผู้ที่ให้ทานสูงสุดในโลก ที่ท่านเรียกว่า สัพเพทานัง ธัมมะทานังชินาติ ไม่มีทานอันใดที่จะแจกจ่ายหรือการทำให้แก่ผู้อื่นจะได้ผลบุญที่ดีที่สุดสูงที่สุด หรือว่าเป็นการให้ทานที่ชนะเลิศทั้งปวง ทานให้ธรรมทานเป็นธรรที่สูงสุด
ธรรมะอันนั้นคืออะไรที่ดีที่สุดคือ อรหัตตคุณ หรือ อรหัตผล คือความรู้อรหันต์ หรือเอาตัวตนของอรหันต์มาชี้แจงเอาตัวตนของอรหันต์มาแจกจ่าย และอรหังก็คือสภาวะของกิเลส และสภาวะของการฆ่ากิเลสหรือการทำกิเลสให้พ้นไปเรียกว่าอรหัง เราก็ทำอันนี้ให้ได้รู้ให้ได้แล้วจึงเอามาแจกจ่าย
ผู้ใดไม่มีเลยไม่มีอรหัตตคุณในตนเลย ไม่มีเอาอรหัตตผลในตนเลยผู้นั้นจะเอาอรหัตตผลเอาอรหัตตคุณมาแจกจ่ายได้ไหม ได้ไหม ลองคิดดูซิ ไม่ได้เราจะเอามาจากไหนตัวเองไม่มีเลยไปเชือดเฉือนมาจากไหน แต่เอาเถอะเมื่อไม่ได้เมื่อไม่มี ท่านก็มีอยู่ในภาษาท่านจดไว้บ้างก็มีท่านลอกไว้บ้างก็มีท่านจำกันไว้บ้างก็มีเป็นภาษาบอกกล่าวกันในหูในอะไร เป็นอัตถะชั้นรอง เรียกว่า อรรถฎีกาอาจารย์ก็ตาม เรียกว่า อาจารย์ท่านรองเขียนลงมาอีกอะไรพวกนี้ เราก็เชื่อ อรรถฎีกาจารย์ต่อลงมา คำข้อเขียนบอกไว้จดไว้ฎีกา จดบอกฎีกาจดบอกแล้วก็อาจารย์เหล่านั้น ก็เอาคำจดบอกเหล่านี้มากล่าวต่อๆ กันไปก็ได้ประโยชน์เหมือนกัน แต่ว่าประโยชน์มันยังไม่ใช่ตัวแท้ตัวจริงยังไม่ใช่ป้อนออกมาจากตัวเองเลย มีอรหัตตะอยู่ในตัวเลย ไม่ใช่
ถ้าผู้ใดมีอรหัตตะอยู่ในตัวเลยจริงๆ ชักออกมาทีไร มันแน่นหนามันรู้สึกว่ามันลวดลายเลยมันออกฤทธิ์ออกเดช มันมีตัวตนดีจริงๆ ถ้าใครเห็นตัวตนอัตตานี้จะเห็นชัดๆ เลย โอ้โห ตัวตนนี้ปั้นไม่ง่ายนะ คนที่มีอยู่แล้วจริงๆ เมื่อควักออกมามันจะดิ้นพลาดๆ ออกมาเห็นออกปากเลยมันคอมเพล็ดเลยมันเป็นเรื่องเป็นราวเป็นตัวเป็นตนเห็นชัดเจน แต่ถ้าคนที่ไม่ก็พูดแต่ภาษาที่ท่องมา เรียกว่า อรรถฎีกา
จารย์ ว่ามา หรือ อาจารย์ของเราบอก ให้เราท่องไว้อย่างนี้นะแล้วเราก็เอาท่องๆๆบอกตาม
ก็จะได้แค่ภาษาแค่นั้นเราก็ฟังตามๆ กันไปแค่ภาษาท่องๆๆ ภาษาพูด เรียกว่า ญัติ ภาษาบาลีท่านเรียกว่า ญัต ญ กับ อัตตะ ผสมกัน เรียกว่า ญัตตะ พอเวลามาสวดเอามาใส่กิริยาเพิ่มท่านเรียก ญัตติ ตัว ญัตต หรือ ญัตติ คือตัวตนที่เป็นเรื่องราวเป็นที่จะเข้ารูปเป็นขอบข่ายเอามาพูดกัน ภาษาโลกๆ คำว่า ญัตติ หมายถึงหัวข้อ หรือ อัตตาที่มันรองลงมาอีกทีแล้ว อัตตาตัวที่ค่อยๆ เรื้อลงเหลือแค่ภาษาเหลือแค่สิ่งที่ควรจะเอามาตีแผ่กันออกมาอีกที ไม่ใช่อัตตาตัวต้นตอของอรหะแล้วเป็นญัตติเป็นอัตตาตัวที่เรียกว่า เกิดมาหลายชาติแล้วไม่ใช่เป็นตัวต้นตระกูลแล้วมันบางๆ ลงมาแล้ว เป็นญัตตะ หรือ ญัตติ เพราะฉะนั้นจะเอา ญัต ตัวนี้มาสวดให้กัน มันก็แค่มาญัติให้แก่กันนี่ภาษาไทยพูดนะ ภาษาบาลีเขาก็พูด ญัติเหมือนกัน จะนึกว่าเป็นปริยัติก็ได้ นี่อาตมาพูดถึงวิวัฒนาการของภาษา
เพราะฉะนั้นปริยัติก็มาจากตัวเดียวกัน คือ ญัต มาเป็น ปริญัติ ปริยัติ หมายถึง ญัติตัวเดียวยังไม่โก้ต้องปริเลย ปริ หมายถึง เต็มรอบครบเลย ปริ คือคำสอนแท้ๆ เลย เอาปริยัติเลย
ภาษาที่มันยืดยาดออกมาเป็นสมมุติที่เราเองเอามาใช้สภาวะที่มันเกิด เพราะฉะนั้นต้องพยายามัตตะามสภาวะแล้วก็ต้องพยายามัตตะามภาษาที่มันโตมันใหญ่ขึ้นมาด้วย ถ้าเราจะเอาภาษาตัวเก่าอย่าง ย ยักษ์ ยอหญิงมันเพี้ยนขึ้นมามันก็จะซ้ำแซะอยู่เพราะฉะนั้น เขาจึงแยกย้ายจาก ยอ ยักษ์มาหา ญ หญิง ไปเรื่อยๆ เหมือนกัน ปริยัติเราจึงแปลว่าคำสอนโดยตรงและก็จริงคือศีลนั่นเอง ปริยัติคือศีลหรือเนื้อหาคืออัตถะที่เรา ที่พระโพธิสัตว์ท่านเอามาบอกกล่าวเรา พระโพธิสัตว์ท่านเอามาบอกกล่าวเราอันใดอันใด อันนั้นเป็นปริยัติ อันนั้นเป็นอัตถะที่เราจะมาประพฤติมาปฏิบัติเอามา พต เอามาประพฤติบำเพ็ญทั้งหมดทั้งมวล นี่เรียกว่าความคลี่คลายของอัตตามันตัวใหญ่มาตั้งแต่อัตตาที่มันเป็นไปอย่าง อรหัต หรืออรหันต์ อรหัตตคุณ จนกระทั่งตัวใหญ่มาเป็นอัตถะ
โตใหญ่นี่หมายถึงตัวใหญ่อย่างโลกมาเป็นอัตถะะ จนกระทั่งมาเป็นผู้ที่มีอัตถะนั้นจริงๆ คือโพธิสัตว์เอามาถ่ายทอดกัน เพื่อที่จะให้เรา พต ให้เราประพฤติ จนกระทั่งภาษาที่พูดนี้มันจางลงจางลงหรือมันโลกโตขึ้น เป็นโลกมากขึ้นมันเป็น ญต หรือญัตติ มากขึ้นจนเป็นปริยัติก็ตามนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นหลังพระพุทธเจ้าทั้งนั้นมันโตขึ้น มันโตมา ๆ
ที่นี้อาตมาจะต่อให้หมดไอ้อัตตะทั้งหลายที่เราจะพึ่ง เมื่อเราเองเรา พต เราพยายามที่จะ ประพฤติได้เราะจะประพฤติอย่างไรล่ะ
เช่น ท่านสอนว่าปาณาติปาตาเวรมณีแต่อย่าฆ่าสัตว์นะ เป็นอัตถะที่ท่านให้มาหรือเป็น พต ที่ท่านให้มาหรือเป็นปริยัติที่ท่านให้มาซึ่งเราเองเราจะเอามา พต หรือเอามาประพฤติเราก็ต้องประพฤติเอามาทำลงไปจริงๆ ให้มันเกิดผลแก่ตัวเรา อย่าง มัตตะ นี่เป็นอัตตาอีกตัวหนึ่งแล้วมาจากคำว่า มัต บวก อัตตะ
ให้มันเป็น มัตตะ มัตตะ ตัวนี้หมายถึงตามสมควรหรือตามพอดี มัตตะ ตัวนี้ มอ ม้า บวกอัตตา หมายความว่าพอดีพอควรหรือเหมาะสม ต้องกำหนดรู้กำหนดทำให้มันพอดี มัตตะ หรือ มัตตัญญุตา หรือมัตตัญญู แปลว่าทำให้พอดี
ที่นี่มาขึ้น มัตตะ อีกตัวนึงก็คือ มัตตาหรือมัตตะ มัตตะ คือพ คือพอดี มีลักษณะคล้ายอรหะ คือ เป็นตัวอ่อนกว่า
มัตตะ ตัวนี้ก็เป็นอัตตาตัวหนึ่งที่เป็นความเหมาะควรที่เป็นชั้นสำหรับแต่ละบุคคล อย่างบางคนขณะนี้นะ จะให้มาประพฤติอย่างอาตมาทันทีขณะนี้ เงินทองไม่เอาจริงๆ เลยไม่ใช้เงินไม่ใช้ทอง รองเท้าก็ไม่ใส่ มีผ้า 3 ผืน สมบัติอะไรไม่สั่งสม เอาแค่รองเท้าไม่ใส่นี้ก่อน ไม่ไหวเหมือนกัน ก็เรียกว่าไม่ใช่ มัตตะ มัน มัตตะ ไม่ลงแล้วล่ะ หรือให้มาโกนหัวตอนนี้ก็ยังโกนไม่ได้แล้ว ยังไม่ถึงรอบมันยังไม่ถึงขั้นที่จะต้องโกนหัวได้ก็เรียกว่า มัตตะ อันนั้นยังไม่เป็นตัวเป็นตนเหมือนกันยังไม่เป็น อรหะ
ถ้าอาตมาเรียกว่า ถ้าเป็นตัวของอาตมานะ ขณะนี้ถ้าให้อาตมาเป็นอย่างของพวกคุณนี่อาตมาบอกว่า มันแสนจะง่าย มันเป็น มัตตะ มันเป็นชั้นอ่อนมันเป็นชั้นเยาว์ ขณะที่สิ่งที่คนเคร่งๆ อย่างยกตัวอย่างเมื่อกี้ ศีลข้อปาณาติบาตอย่าฆ่าสัตว์นะ พวกคุณก็บอกว่ามันยากแฮะ บางบางทียุงกัดก็ไม่ไหว ต้องตบ งูเข้าบ้านมามันต้องฆ่า ไม่ฆ่าไม่ได้ มันเป็นพิษเป็นโทษเป็นภัยความเหมาะสมของคุณก็ยังยากยังต้องตบยุงเดียวต้องฆ่างู แม้แต่ศีลหรืออัตถะะจะได้รับมาจากพระโพธิสัตว์ใดที่ท่านสอนไว้ว่าอย่าไปฆ่าสัตว์นะ คุณก็ยังทำยากอยู่นั่นเอง เป็น มัตตะ เป็นความเป็นกลางความเหมาะสมความพอดีของคุณคุณทำให้เกิดอัตตาให้ได้ความมัชฌิมาของคุณทำให้เกิดให้ได้
จนกระทั่งเกิดความไม่ได้เดือดร้อนไม่ได้ลำบากอะไรเลย ตอนแรกคุณอาจจะต้องเข้มงวดกวดขันกับคุณมากทีเดียวคุณเคร่งครัดมากทีเดียวไม่พยายามเผลอ ถ้ายุงกัดก็ไม่พยายามัตตะบทันทีให้มันตาย ต้องพยายาม แหมมันยาก งูมาไม่ฆ่านี้ยากเหมือนกัน คุณต้องอ่านใจคุณด้วยและระมัดระวังสัตตะิคุณด้วย
มีเพื่อนอาตมาคนนึงแต่ก่อนเขาเจองูไม่ได้เป็นอันขาดต้องฆ่ากัน เจองูที่ไหนต้องฆ่าดะ รู้สึกว่าเป็นศัตรูกันหมดกับงูนี่มันมีพิษมีภัยเหลือเกินบอกว่าไม่ได้หรอกมันอยู่ร่วมโลกกันไม่ได้ จนกระทั่งเดี๋ยวนี้เขาได้ฟังธรรมมาเรื่อยๆ เขาก็สนใจธรรมะเรื่อยมา จนพยายามที่จะถือศีลให้มันบริสุทธิ์ ซึ่งมันเป็นไปเองแหละเขาเข้าใจธรรมะ เขาก็ถือศีลเขาเองแล้วเขาก็พยายามไม่ฆ่าสัตว์จริงๆ
วันหนึ่งเขาก็เจองูที่บ้านเขา เจองูโอ้โหเขาบอกว่า เขาพยายามมีศีลให้บริสุทธิ์นี่เขากำลังจะประพฤติอัดถาดที่ได้รับมาจากพระโพธิสัตว์บอกไว้ว่าอย่าฆ่าสัตว์นะ เพราะฉะนั้นเขาจะต้องใช้ความพยายามของเขาอย่างที่สุดที่จะทำอัตตา ที่มันเป็น มะ คือ มัตตะให้ได้ จะทำความพอดีให้เกิดแก่ตนให้ได้ให้มันเป็นกลางให้มันไม่เดือดร้อน ให้มันไม่ทุกข์ไม่ทรมาน ให้มันทำทุกอย่างให้มันเป็นทุกข์อย่างไม่สุขไม่ทุกข์ด้วย เขาพอเจอแล้วอารมณ์จิตของตัวแรกของเขาบอกเลยว่า อื้อหือมันอยากจะฆ่าเพราะความเคยชินที่อยากจะฆ่าและนึกเกลียดงูมานาน อยากฆ่าแต่มีสัตตะิ ก็บอกว่า เอ๊ะฆ่าไม่ได้ฆ่าแล้วผิดศีล ลำบากแน่ ขนาดนั้นเขาบอกว่าเขาต้องสงบอกสงบใจไปนานเลย ใจมันเต้นเร้าๆ มันเต้นอยู่ในใจว่ามันอยากจะฆ่า ใครเคยมีสภาวะนั้นอยู่ในตนเองจะเห็นตามเลย เขาบอกว่าต้องสงบอกสงบใจตั้งนานกว่าใจมันจะเป็นกลาง กว่าใจมันจะเป็น มัตตะ กว่าจะทำให้ใจเฉยๆ กับมันได้แม้นาน จนกระทั่งใจเขาสงบเลย บอกว่าไม่ได้หรอก ช่างมัน มันจะยังไงก็ช่างมันพอควรมันไม่ก้าวก่ายจนกระทั่งเข้ามาที่นอนเราก็ใช้ได้ มันอยู่ข้างนอกก็ช่างมันเถอะ
เขาพยายามที่สุด จนกระทั่งเขาเอามาเล่าให้อาตมาฟังว่าเออนี่แหละ เป็น พฤติหรือ พต เป็นการประพฤติบำเพ็ญจริงๆแล้วเขาก็เห็นจิตของเราจริงๆ ว่าแหม มันต้องทน กว่าจิตมันจะสงบลงเป็นกลางได้นานเหมือนกัน แล้วเขาก็ได้ทำจริงๆ ได้ พต จริงๆ หรือได้ประพฤติให้มันเกิดอัตตาตัวนั้นในตนจริงๆ เกิด มัตตะ เกิดความเป็นกลางเกิดความเหมาะสมพอดีๆ เพราะงูตัวนั้น มันก็อยู่ของมัน เราก็อยู่ของเรา เราก็อยู่ของเรา เขาเล่าว่างูตัวนั้นมันก็เชื่องเสียด้วยนะ มันแสดงลอยหน้าลอยตาลอยนวลไม่รีบหนีเสียด้วย คล้ายๆ กับมันยิ่งยั่วยิ่งยุ เดี๋ยวฉันก็เอากระบองล่อให้เสียนี่คล้ายๆ อย่างนั้นยิ่งยั่วยิ่งยุเสียด้วย เพราะแต่ก่อนจะไล่งูกับเขาเจอกันไม่ได้หรอก อย่าว่างูมันจะวิ่งหนีเลยเขาไล่ตามเลย ทุกทีๆ เจองูแล้วมันไม่อยู่รอหน้าหรอก ธรรมดาของเขานะ เขาบอกไม่มีงูตัวไหนอยู่รอหน้า ไม่มี พอเจอปั๊บ มันก็วิ่งปั๊บ เขาก็ตามไปฆ่าทันทีเหมือนกัน แต่ตัวนี้ มันไม่เป็นเหมือนงูตัวอื่นก่อนๆที่เคยเจอมาเลย แหม เรียกว่ายั่วยวนอยู่ด้วยนะ เขาบอกว่าไม่เคยเจอทำไมมันเกิดเชื่องขึ้นมาได้ด้วย ก็บอกว่าไม่เคยเจองูแบบนี้ เจองูตัวอื่นต้องไล่ฆ่าทันทีแต่ตัวนี้มันเชื่องได้
เขาจึงเห็นธรรมะอีกตัว เห็นอะไรรู้ไหม เห็นเมตตาธรรม เพราะใจเขาเกิด มัตตะ ขึ้นมา แต่ก่อนแต่ไรเจองู มีแต่วิ่งหนีแต่เมื่อไม่ฆ่า งูไม่วิ่งหนี เพราะถ้าเราไม่มีจิตจะไปฆ่างูมันก็ไม่กลัว มันก็ไม่วิ่งหนี
เคยเห็นงูตัวหนึ่งมันไล่จิ้งจกมาในศาลา ศาลาที่อาตมากำลังนั่งฉันอาหาร พอไต่ขึ้นมา อาตมาก็เริ่มบอกเลยบอกคนว่างูขึ้นมาแล้วนะ พอได้ยินว่างูชักกระดุกกระดิกแล้ว แต่ไม่เป็นไรเขาอยู่ฝั่งโน้น ส่วนงูมันขึ้นมาศาลาที่อาตมานั่งฉัน เเล้วมีเพื่อนผู้ชายที่เคยบวชมานานเข้าใจธรรมะสูงพอสมควรนั่งอยู่ด้วย อาตมาก็บอกว่านั่งเฉยๆ อยู่เฉยๆ เป็นกลางให้ทำ มัตตะ ให้ทำใจเป็นกลางเฉยๆ บอกว่าอยู่เฉยๆ นะเดี๋ยวงูมันก็เลื้อยขึ้นมาจริงๆ พอเราวางเฉยจริงๆ ใจทำใจ มัตตะ คือ บำเพ็ญ พต ไอ้งูมันก็เลื้อยเฉยขึ้นมาจริงๆ ถ้าเราทำเอะอะรับรองมันไม่ขึ้นมาหรอก เพราะเราไม่เอะอะ มันไม่มีเอฟเฟคทางวิญญาณ จิตมันมีผลสะท้อนมาเลย งูนี่มันรู้ เมื่อไม่มีศัตรูขึ้นมามันก็จะตะกละ ความโลภมันเยอะมันก็ไล่จิ้งจกขึ้นมาเลย คุยกันไปแลกกันมา จิ้งจกปีนขึ้นข้างบนมันก็ไล่ขึ้นข้างบน มันเหมือนกับไม่มีคน มันไล่กันอย่างกลับไม่มีคนเลย ศาลามันผ่านหน้าผ่านตาเฉยเลย ไม่อะไรเลย ยังไม่พอ จิ้งจกกระโดดลงมาข้างล่าง งูก็กระโดดลงมาตาม
ในศาลาสี่เหลี่ยม ถ้ามานั่งอยู่นี่ คนอื่นๆ นั่งอยู่ตรงนี้งูมันก็ลงมาตรงนี้เลย ไต่เข้าไปเลย ตอนแรกไต่เข้ามาหาคุณ ราเชนก่อน คุณราเชนก็นั่งเฉยนิ่ง เราบอกว่านิ่งๆ ตอนนี้จิ้งจกตัวนั้นวิ่งลงไปในจีวร งูตัวนี้ก็เข้าไปจุ๊บๆ อยู่ข้างๆจีวรท่านนั่งอยู่นี่ เขาก็จะไปตามหาจิ้งจกแล้วประเดี๋ยวมันก็ไต่ลงไปข้างศาลาลงไปเลย จิ้งจกตัวนั้นมันวิ่งจากทาง คุณอำนาจมาหาราเชนอีกที จิ้งจกตัวนั้นก็รอดตัวไป แล้วมันก็ไปลงไปเลย อย่างนี้เป็นต้น
นี่แหละคืออำนาจของเมตตาธรรม อำนาจของสิ่งที่เราได้ประพฤติแล้วไม่มีการเบียดเบียนกัน วิญญาณต่อวิญญาณมันสงบ มันไม่มีการที่จะะเข่นฆ่าเขา
เข่นฆ่าเรา แต่ถ้าเรามีอิ๊อะอะไรหน่อย มีผลสะท้อนอะไรขึ้นมาในใจมีค่าลบค่าบวกหมายถึงค่าที่จะฆ่ากันในส่วนใดส่วนหนึ่งขึ้นมาหรือแม้แต่การรังเกียจหรือการกลัวก็ตาม ก็เป็นผลที่จะให้เกิดขึ้นได้ ฉะนั้นในระยะนี้เป็นไปได้อย่างจริงๆ เลย อาตมาเล่า และอยากให้เห็นสภาพนั้นจริงๆ พวกผู้หญิงนั่งอยู่ฝั่งโน้น งูมันก็เปิดเหมือนกัน ทีนี้มันแสดงละครให้ผู้หญิงเหล่านั้นได้ดูได้ด้วย เป็นการแสดงบทบาทของงูกับการแสดง
พต พัตตะ คือให้อัตตาเกิดในตัวเรา คือให้มีสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นอัตตาเป็นรูปร่างของการวางเฉยอย่างพอเหมาะพอเจาะ ไม่เดือดร้อน พอดีพอดีอย่างสมควร ไอ้นั่นหน้าที่ของเขาจะไล่จิ้งจก เขาก็ไล่ไปเขาไม่ได้มากวนอะไรเขาไม่ได้มากินเรา เขาไม่ได้มาทำอะไรกับเราเลย เราก็อยู่เฉยๆ เขาก็อยู่กับหน้าที่ของเขา เขาไม่เฉยหรอกเขาก็ไล่จิ้งจกไปนี่แหละคือสภาวะของ มัตตะ สภาวะ พต บำเพ็ญให้มันเกิดประโยชน์ขึ้นมา นี่อาตมายกศีลข้อแรกขึ้นมาคือศีลข้อปาณาติบาต เราไม่ฆ่ากัน เราไม่เบียดเบียนกัน แล้วคุณธรรมที่มันจะทำให้เกิด มัตตะ ทำอย่างนี้เป็น
กลางอย่างนี้แล้วให้เห็น มันจะเห็นผลกับเราอย่างนี้ ยิ่งเห็นผลอย่างนี้แล้วเพื่อนของอาตมาที่เล่ามาก่อนนั้นก็ดี หรือแม้แต่สภาวะที่อย่างนี้ ที่อาตมามาเล่าให้ฟังก็ดี นี่เป็นอำนาจที่มันจะเกิดผลสูงขึ้นไปเรื่อยๆ จนกระทั่ง
เมื่อเราเห็นผลอย่างนี้ต่อไปเราก็จะไม่กลัวอะไรมันมากมาย งูเราก็ไม่กลัวมันมากมายนี่ หรือสัตว์ที่ร้ายกาจกว่านี้เราก็จะไม่กลัวมันมากมาย ไม่ใช่ว่าเราตั้งหน้าตั้งตาพอเห็นหน้ามันถือว่าเป็นศรัตรูเลยฆ่ามันก่อนเลย ไม่ได้ไม่มีการฆ่ากันหรอก ในโลกนี้ จะเป็นสิงห์เป็นเสือเป็นช้างเป็นม้าเป็นวัวเป็นควายเป็นอะไรก็ตามแต่ ถ้าเราไม่มีผลที่จะไปเป็นศัตรูซึ่งกันและกันหรือเป็นภัยซึ่งกันและกันแล้วนะ
เพราะฉะนั้นผู้ใดถ้าเข้าใจการบำเพ็ญการทำอัตตา หรือ การพึ่งอัตตา สร้างอัตตาขึ้นมาเป็นที่พึ่ง ถ้าใครเข้าใจได้ อัตตาต่างๆ ที่อาตมากำลังพูดถึงนี้ กำลังอยู่ในขั้นสูงนะเพราะกำลังไต่ออกมาถึงขั้นขนาด อรหันต์ อรหะ มาจนกระทั่งมาเป็นมัตตะ นี่มันยังสูงอยู่นะ อีกหน่อยมันจะไต่ลงไปกว่านี้อีกเรื่อยๆ เดียวค่อยว่ากันต่อไปนะ อาตมาจะค่อยๆไต่ออกมา จากอัตตาที่เรามาพึ่งนี่ล่ะ เพราะว่าเราจะพึ่งอะไรดี เราก็ต้องพึ่งอัตตาที่เราก่อเข้าให้ตัวนี่แหล่ะ เพราะผู้ที่สูงแล้วเขาก็จะพึ่งอย่างนี้ลงมาเรื่อยๆ พอเรามาพึ่งมัตตะได้คือความเหมาะสมพอดีพอควรตามหน้าที่ตามเวลากาละของแต่ละสัตว์ แต่ละบุคคลแต่ละสิ่งทุกสิ่งทุกอย่าง เราก็จะพึ่งลงมาเป็นระดับระดับอย่างนั้น เราทำ มัตตะ อันนี้ให้มันสูงขึ้นสูงขึ้น สูงขึ้น ให้มันแก่ขึ้นแก่ขึ้น เรียกว่าให้มันแก่ขึ้นนั่นเองสูงขึ้นหรือแก่ขึ้นหรือกล้ากล้าขึ้นหรือมากขึ้นก็ตาม เราเรียกการกระทำที่สูงนั้นเป็น อัตตา อีกชนิดหนึ่ง ภาษาบาลีท่านเรียกว่า รต
รต คือ ร + ต บวกอัตตา รต แปลว่ามากขึ้นหรือแก่ขึ้นจนกระทั่งหรือว่าภาษา รต นี่ถ้าเรามาใช้คำว่า รัตติ รัตติกาลอย่างนี้หมายความว่าเวลาแก่ก็คือหมายถึงกลางคืน รัตติกาล ใครคงจะเคยได้ยินนะ รต แปลว่าสีแดง เขาก็แปล สีแดงหมายความว่าจัด รัตตะ นี่แปลว่าจัดก็ได้ แก่ก็ได้ ให้มันเต็มรอบให้มันมากขึ้นอย่างนี้ เราเรียกว่า รต
ทำ มัตตะ ให้มันแก่ขึ้นให้มันมากขึ้นหรือให้มันยาว ให้มันติดต่อกันเป็นตัวตนที่โตขึ้นนั่นแหล่ะ รัตตะ เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น รัตตัญญู เคยได้ยินไหม รัตตัญญู ก็คือผู้มีอายุยืนยาวผู้มีเวลายาวนาน แก่ เรียกว่า รัตตัญญู รัตตัญญูคือผู้แก่ ผู้ที่แก่มากเรียกว่า รัตตัญญู ทำทุกอย่างให้มันแก่ขึ้นอย่างนี้คือให้อัตตามันพอกเพิ่มยาวนานยิ่งยวดมากขึ้น เรียกว่า รัตตะ เราทำ มัตตะ ให้เป็นอัตตาที่สูงขึ้นอย่างนี้เรียกว่า รต
ตัว รต นี้ถ้ามันแก่ขึ้นแก่ขึ้นจากเมื่อกี้นี้เราวางเฉยได้ อย่างอาการของยกตัวอย่างว่าปาณาติบาตเราไม่ฆ่าสัตว์จนกระทั่งเราไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อกันแบบไม่ฆ่างูอย่างเมื่อกี้แล้วนี่ เราแก่ขึ้นแก่ขึ้นจนกระทั่งเรามีเมัตตะตาธรรมก็สูง แล้วมีการไม่ถือสาหาความกันเลยไม่เกิดความกลัวซึ่งกันและกันจนเห็นผลจริงๆ ว่า เราเจอเสือเราก็ไม่กลัวเสือ เสือก็ไม่กลัวเราจนกระทั่งต่างคนต่างอยู่ตามหน้าที่ก็ได้ อย่างนั้นเรียกว่า เป็นคุณของอรหัต เป็นคุณของอรหัตหรือผลของอรหัต เป็นความเหมาะสมพอดีที่สูงขึ้นกว่า มัตตะ ขึ้นไปอีกแล้ว เป็นอรหัต เพราะฉะนั้นพระอรหันต์กับเสือไม่ค่อยทำอะไรกัน อรหัตตคุณมันจะเป็นจริงอย่างนี้
อรหันต์ที่มีอรหัตตคุณเป็น รต แก่ขึ้นไปจนอรหันต์มันสูงเป็นอรหันต์แล้วกับผลเสือก็ไม่ทำอะไรกัน เพราะบารมีในศีลขั้นปาณาติบาตไม่รบกวนกัน ไม่เบียดเบียนกันไม่ทำกันเลยต่างคนต่างอยู่ รู้หน้าที่รู้การเป็นอยู่สัตว์โลก ย่อมอยู่กันไปตามสัตว์โลก ผู้ที่อยู่คนนี้โหดร้ายตามที่เขาเรียกว่าโหดร้ายเขาว่าเสือโหดร้าย ที่จริงเสือมันก็โหดร้ายกับเหยื่อของมัน มันไม่ได้โหดร้ายกับทั่วๆ ไป เช่นเดียวกันกับงูมันก็โหดร้ายกับจิ้งจกอย่างที่เล่าเมื่อกี้ มันไม่ได้มาโหดร้ายกับเรา แต่ถ้าเรารักจิ้งจกมากนะเราจะตีงู บอกว่างูตัวนี้ไปโหดร้ายกับจิ้งจก แต่มันไม่ได้โหดร้ายหรอกทุกอย่างมันเป็นหน้าที่เป็นกรรมของมัน เป็นสิ่งที่มันจะกระทำต่อหน้าที่ของมันแต่ละหน้าที่เป็นไปตามวาระ เป็นไปตามกาล เป็นไปตามความสมมุติ ที่มันสมมุติเป็นระยะๆ
เสือมันก็ต้องกินเนื้อสัตว์ เนื้อเก้ง เนื้อกวาง เนื้ออะไรมันก็จับของมันกินของมันไปตามวาระกรรมของมันมันสร้างบาปสร้างบุญของมันด้วยเรื่องของมัน ถ้าเราสร้างวิบากไปร่วมด้วย ไปห้ามเสือไม่ให้กินหมู หมูเขาจะหามเอาคานไปสอดเสือเขาจะต้องกินเนื้อนะ เอาหญ้าให้กินมันก็ไม่กินหรอกเช่น งูมันจะต้องกินเขียดกินกบ เราจะเอาหญ้า ไปให้งูมันกินมันไม่กินหรอก ไม่ใช่เรื่องของมันเป็นกรรมของมันมันจะต้องเกิดมาเป็นงูมันจะต้องมาล่าจิ้งจกมันต้อง ล่ากบล่าเขียดกิน เรื่องของมันเช่นเดียวกันกับคน เราเกิดมาเป็นคนเราก็จะต้องกิน หรือต้องล่า หรือต้องทำสิ่งที่ควรกระทำ
พอมาเป็นอัตตาชนิดที่เป็น สัตตะ คือ ยึดถือเป็นตัวเป็นตน โตรอบมากกว่าพวกพืชแล้วเรียกว่าเป็นสัตว์เป็นอัตตา เรียกว่า สัตตะ เราทำศัพท์ ให้เพี้ยนเป็น สัตว์ จะได้ไม่งง สัตตะ เอาไปใช้เป็น 7 ชาติถ้าครบ 7 ชาติเกิดมา 7 ชาติเรียกว่าเป็นสัตว์ที่ 7 ตระกูลเรียกว่าเป็นตัวเป็นตนแล้ว สิ่งใดก็ตามแต่ ถ้าเราได้พยายามที่จะปลูกฝัง หรือว่าทบชาติ ทบตระกูลของมัน ให้มันยืนยันตระกูลของมันได้ครบถึง 7 รอบ 7 ช่วง 7 Generation ถ้าใครทำได้ถึงขนาดนั้นนะครบ 7 รอบ ท่านถือว่า สิ่งนี้เรียกมันได้ว่าตระกูลแท้ ถ้าใครเรียนถึงเรื่องเกี่ยวกับทาง สัตวศาสตร์ หรือ ทางชีววิทยาก็คงจะเคยได้ยินมาบ้าง แต่อาตมาไม่ได้เรียนทางชีววิทยามันจะตรงหรือเปล่าก็ไม่รู้นะ พูดตามภาษาทางพุทธศาสนา ถ้าตรงกันก็แสดงว่าพุทธศาสนานี้สอนไว้ละเอียดลออ และเป็นการรู้ด้วยญาณตรงกัน
พอครบ 7 ชาติแล้วครบ 7 ช่วงแล้ว อันนั้นจะเป็นของแท้ เพราะฉะนั้นคนที่เกิดมาเป็นสัตว์แล้วจากพืชเพราะฉะนั้นคนที่เกิดมาเป็นสัตว์แล้วจากพืช จากอะไรต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาเป็นอะไรต่ออะไรมาจนเป็นสัตว์เซลล์เดียว หลายๆ สัตว์ต่อกันมาจนเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า สัตว์นี่คือมันต่อกันมาจากดินน้ำลมไฟ จากดินน้ำไฟลมวิวัฒนาการมาจนกระทั่งเป็นพืช อย่างที่เรียกว่าเป็นพืชชั้นต่ำ มาเป็นพืชชั้นสูง จากพืชชั้นสูงมานับรอบแปรรูปมาเป็นสัตว์ได้
อย่างสัตว์ชนิดหนึ่งเขาเอามาให้อาตมากิน เขาบอกว่าจะเอามาให้ไอโอดีน สัตว์ชนิดนั้น เรียกมันว่าสาหร่ายทะเล สาหร่ายทะเลแล้วเขาก็เอามาให้อาตมาฉันวันนึง อาตมาก็ฉันเข้า อาตมาก็บอกว่า เอ้ย สาหร่ายทะเลมันไม่ใช่พืชแท้แล้ว สาหร่ายทะเลมีเจนเนอเรชั่นทบชาติจะเป็นสัตว์ขึ้นมาหลายช่วงแล้ว อาตมากินแค่นั้นกระทบสัมผัสอาตมาบอกว่าไอ้นี่ไม่ใช่พืช เป็นพืชจริงในภาษาคน เรียกว่ามันยังเป็นพืชอยู่ เพราะมันยังไม่ครบ สัตตะ ยังไม่ครบ 7 รอบยังเป็นตัวเป็นตนจะเรียกว่า สัตว์แท้ไม่ได้ ถ้าใครเคยกินสาหร่ายทะเลบ้าง มันเหมือนนะ มันมีคาวนะ
สาหร่ายทะเลมีคาว มีไอโอดีน คือมีโอโซน ธาตุออกซิเจนอยู่ในตัวมันเต็มแล้ว ออกซิเจนมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ พอพืชใดที่มีออกซิเจนมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ พืชนั้นจะกลายตัวกลายสภาพมาเป็นสัตว์มากแล้ว แต่มันยังไม่ร่อนออกจากไอ้ที่ยึดเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นพืชสาหร่ายทะเลนี้อาตมาถึงบอกกินเข้าไปปั๊บ อาตมายืนยันว่าไอ้นี่จะมาเป็นสัตว์แล้ว จะเรียกพืชในภาษาคน ได้ แต่อาตมากิน 2 คำแล้วอาตมาก็ไม่ต่อแล้ว จริงมีไอโอดีนแน่ มีโอโซนมากแน่ ออกซิเจน โอโซน คือแตกตัวมาจากออกซิเจนมาก มันเป็นพ่อเป็นแม่กันมาเกี่ยวโยงกันอยู่ มีธาตุพวกนี้อยู่เยอะจริง ไม่เถียง อาตมาไม่เถียง แต่ว่าถ้าอาตมาจะกินอันนี้มันก็จะใกล้จะเป็นสัตว์แล้วอาตมาเข้าใจอาตมาก็ไม่กินต่ออะไรมากมายล่ะ ที่ฉันอันนี้ เพราะเขายืนยันเป็นพืชแต่อาตมาไม่ได้อธิบายให้ฟังอย่างนั้นหรอก ดีนะคุณกฤษเป็นคนถวายสาหร่ายทะเลอาตมา ไม่มาวันนี้ ถ้ามาจะได้เข้าใจอันนี้ด้วยว่า อาตมายืนยันว่าสาหร่ายทะเลเป็นพืชหรือสัตว์อย่างไร แต่มันยังไม่ครบ 7 Generation ยังไม่ครบ 7 ช่วงเท่านั้นเอง
คนถามว่า…ถัดมาเป็นพวกปลาดาวอะไรพวกนี้
พ่อท่านว่า… คนนี้เรียนชีววิทยามาเข้าใจ คนนี้ให้ความรู้เพิ่มเติมขึ้นมาอีกว่าไอ้พืชตระกูลสาหร่ายทะเล มันวิวัฒนาการต่อจากนั้นมาจะเป็นปลาดาว จริงปลาดาวรูปร่างใกล้เคียงสาหร่ายทะเลจริงๆ แต่อาตมาไม่ได้สัมผัสแบบนั้นแต่สัมผัสกับอายตนะของอาตมา มันบอกเลยว่าไอ้ลื้อ นี่มันเป็นสัตว์แล้วนี่หว่า มันยังไม่ใช่พืชอย่างที่เขาเรียกหรอก แต่มันเป็นสัตว์ที่ปักหลักอยู่กับที่เท่านั้นเอง
ที่นี้อาตมาอธิบายถึง สัตตะ ที่มันเกิด 7 ชาติ 7 ช่วง 7 ระดับ 7 Generation เพราะฉะนั้น ถ้าใครเข้าใจจะเข้าใจต่อได้ สัตตะ เป็นสัตว์ที่แยกตระกูลจากพืชแล้วคือพวกที่ได้พบชีวิตขึ้นมา 7 ช่วงขาดลอย ตัดโคตรภูมิมาเป็นสัตว์เลยแล้วเราก็เรียกอันนี้แยกมาเป็น สัตว์หรือสัตตะ นามบาลีก็เรียกยืนยันเป็นสัตว์เหมือนกันมันก็ออกมา
ทีนี้เมื่อผู้ใด เมื่อผู้ใดได้พยายามที่จะมาหลงมาเห็นว่าตัวเองเป็นสัตว์ มีปัญญาเท่าสัตว์แล้ว สัตว์เหล่านั้นมันก็จะยึดอัตตาตามช่วงของมัน อย่างสัตว์สาหร่ายทะเลมันจะกิน มันก็จะกินอัตตาในช่วงที่เป็นหน้าที่ของมันโดยตรง มันก็จะกินธาตุที่เกี่ยวโยงใกล้เคียงกัน พอมันมาเป็นปลาดาวอย่างที่คุณนี้ว่า เราถือว่าเป็นสัตว์แท้แล้ว ตัดโคตรแล้ว ตัดโคตรภูแล้วออกมาเป็นสัตว์แท้แล้วพอมาเป็นปลาดาวมันก็จะกินอาหารที่ใกล้เคียงกับการเป็นสัตว์มันก็คงจะกินสาหร่ายทะเลนี่แหละ
โยมว่า…มันกินแพลงตอน
พ่อท่านว่า… นั่นก็เป็นสัตว์อีกตระกูลหนึ่งที่มันแยกตัวออกมาอีกอันนึง เอาล่ะเราจะไม่พูดมาก เพราะเราจะไม่ได้มาเรียนวิชาชีววิทยากัน แต่เราจะมาเรียนธรรมะ แต่นั่นแหละ ชีวะ ชีวิตคนเราก็เกิดมาจากชีวิตนี้แหละ เราเรียนชีววิทยาจะเข้าใจอันนี้มาก แต่อาตมาเองไม่ได้ไปรื้อเรื่องพวกนี้มากนักแต่มันรู้ได้ด้วยพุทธศาสตร์จริงๆ ที่อธิบายให้ฟังด้วยเหตุผลเหล่านี้
เพราะฉะนั้น ภาษามันบอกเลย ถึงได้ระลึกเรื่องเก่าๆ ได้เพราะฉะนั้น สัตตะ 7 ตระกูลนี้มันก็ออกมาอย่างนี้ ปลาดาวมันจะกินแพลงตอนบ้าง สาหร่ายทะเลบ้างก็แล้วแต่มันก็จะกินอยู่ในเจนเนอเรชั่นใกล้ๆ ของมัน มันจะกินอยู่ใน Generation หรือ ว่ากินอยู่ในรอบของตระกูลที่มันใกล้ๆ เคียงๆ กัน มันไม่ไปกินเกินขนาดนั้น เป็นหน้าที่ของมัน
เพราะฉะนั้นสัตว์มันก็กินสัตว์ ต้นไม้มันก็กินสิ่งที่เป็นดิน น้ำ ลม ไฟที่มันใกล้เคียงกัน ถ้าต้นไม้ที่มันโตขึ้นไปมากมันก็จะกินประเภทที่เป็นน้ำมากกว่า ต้นไม้บางชนิดไม่ค่อยกินน้ำเท่าไหร่ แต่กินดิน กินลมมาก เพราะฉะนั้นต้นไม้บางชนิดโตขึ้นมาแล้วก็มากินน้ำมากขึ้นอย่างนี้เป็นต้น พอกินน้ำมากบางประเภทโตขึ้นมาเป็น พืชที่มันโตใหญ่ขึ้นมาจนกระทั่งมันจะกลายเป็นสัตว์อีกชั้นหนึ่งแล้วอย่างนี้เป็นต้น นี่ความรู้สึกในตัวมันมากแล้ว จนกระทั่งบางทีนะ ลูกของต้นไม้นี้ออกมาเป็นสัตว์ก็ได้เหมือนกัน ใครเคยเห็นแมงหวี่มันเกิดในมะเดื่อบ้าง ไปแกะเอาเถอะในมะเดื่อนี่ แมงหวี่ในลูกมะเดื่อนะ ในเรื่องชีววิทยาจะอธิบายอย่างไรอาตมาก็ยังไม่อยากจะมาพูดนะว่าแมงหวี่มันเกิดในลูกมะเดื่อ อย่างไร จะค่อยๆเป็นสัตว์ที่ต่อเซลล์ต่อทอดกันออกมาอย่างไร อาตมาไม่รู้นะชีววิทยาอธิบายแมงหวี่กับมะเดื่อออกมาอย่างไรอาตมาไม่รู้
แต่ว่าถ้าสัตว์พืชกับต้นไม้มันก็มีวิวัฒนาการก้าวหน้าอย่างนี้เรื่อยมาแล้วมันก็จะกิน หรือว่ามันก็จะพยายามที่จะกินสิ่งที่มันอยู่ในช่วงใกล้ๆ กัน
ที่นี้สัตว์ที่โตขึ้นโตขึ้นโตขึ้นฉลาดขึ้น มันก็จะกินสัตว์ที่ด้อยกว่า สัตว์ที่โตขึ้นมาเรื่อยก็จะกินสัตว์ กินสัตว์ที่ด้อยกว่าเรื่อย เช่นเดียวกันปลาตัวโตก็กินปลาเล็ก ปลาดาวกินแพลงตอน ปลาโตกินปลาเล็ก ปลา โตขึ้นไปก็กินปลาเล็กต่อลงมาเรื่อยๆ เป็นทอดๆ แบบเดียวกัน
เจ้าคน ที่นี้มาถึงสัตว์คน ต่อขึ้นมาที่นี้มาถึง สัตว์คนต่อขึ้นมา สัตว์ที่เป็นสัตว์ถึงขั้นเป็นคนแล้ว แต่แรกแต่เริ่มมาจริงๆ ตั้งแต่ชั้นโบราณอาการก็เป็นคนโง่ๆ มีขนยาวรุงรังเหมือนลิงก็กินสัตว์เหมือนกัน คนที่พัฒนามาเป็นคนตอนแรกๆ ก็กินสัตว์ กินสัตว์พอกินสัตว์แล้วเสร็จ ตามเชื้อของตัวเอง ที่จริงไม่ได้กินสัตว์มาทีเดียว สัตว์ในโลกนี้มันกินสัตว์กินพืช กินสัตว์กินพืชสลับมาตามระยะนะ ที่จริงแล้วคนในช่วงแรกจริงๆ เกิดมาเป็นคนนั้นน่ะ ไม่กินสัตว์ฟังให้ดีนะ เนี่ยอาตมากำลังเล่าถึงเรื่องดึกดำบรรพ์ยิ่งกว่าดวงดาวที่ค้นพบเรื่องยิ่งกว่าใครค้นพบแล้วนะ สัตว์ที่มาเป็นคนตระกูลแรกที่จะตัดช่วงจาก สัตตะ 7 ช่วงมาเป็นตระกูลคนจริงๆคนตระกูลแรกที่สุดไม่กินสัตว์ เพราะมาจากลิง ฟังให้ดีนะ คนตระกูลสัตว์พอได้ยินคำว่าลิง คุณจะอ๋อ หรือว่าลิงมันไม่กินสัตว์มันกินพืช พิสูจน์ได้จากอะไร
พิสูจน์ได้จากฟันของคน ไม่ใช่เป็นฟันที่สำหรับกินสัตว์ เป็นฟันที่ขบเคี้ยวแค่พืช เหมือนควายเหมือนวัว …ลิง คนมาจากลิง คนก็ตระกูลแรกที่ถ่ายทอดมาจากลิงแล้วก็กินพืชจากลิง คนตระกูลแรกที่ถ่ายทอดเรารับหน้ามาเป็นคน เป็นคนดึกดำบรรพ์ชั้นแรกเลยนะไม่กินสัตว์กินแต่ นี่เป็นต้นตระกูลคนอาตมาขอนับต้นตระกูลคนอันนี้
อีกต่อมาคนนี่มันก็เห็นว่าพืชมันก็กินได้สัตว์ก็กินได้คือ เป็นกิเลสนั่นเอง ก็คนตระกูลต่อมาเป็นคนป่าตระกูลต่อมาก็มากินสัตว์ ใจโหดเหี้ยมขึ้น มากินสัตว์ คนจึงกินสัตว์ตั้งแต่ที่เขายึดถือมาเลยว่าสัตว์พวกนี้มันโง่กว่าเรา เราฆ่ามันกินได้ เนื้อมันก็กินได้ กินแล้วชีวิตเราก็อยู่ได้ด้วยคนตั้งแต่บัดนั้นที่แปรเปลี่ยนจากต้นตระกูลคนชั้นแรกที่สุดนั้น ก็กลายเป็นยึดถือกินสัตว์เรื่อยมา คนต่อมาจึงสั่งสอนกันว่ากินสัตว์นั้นดีกว่า
เพราะอะไร เพราะรสชาติของสัตว์มันสูงกว่ากิเลสกามมันมีก็เลยกินสัตว์เรื่อยไป เพราะฉะนั้นสัตว์ใดที่กินสัตว์แล้วนะจะไม่ค่อยกลับไปกินพืช แต่สัตว์ที่กินพืชไม่กินหรอกสัตว์ สัตว์ที่กินพืชเขาไม่กินหรอกสัตว์ แต่สัตว์ใดที่มันหลงเนื้อจะกินพืชยาก เช่นเดียวกันกับหมานี่ หมาตัวไหนที่ติดเนื้อมากแล้วนะ จ้างเลย เอาข้าวเปล่าๆ เอาพืชไปให้มันกิน มันไม่กินหรอก เพราะว่า เพราะกิเลสใน เนื้อมันสูงกว่า รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ของกามคุณเนื้อมันมีมากกว่าพืช
เพราะฉะนั้นเรื่องกิเลสที่มันสร้างโลก มันสร้างขึ้นมาแบบนี้ หมู หมาต่างๆ มันติดเนื้อสัตว์แล้วมันจึงไม่ติดพืช ถ้าสัตว์ใดเราพยายามป้อนมันให้ดีนะให้กินแต่ผักพืชมากๆ นะ อย่าเอาเนื้อไปล่อมันมากนะ มันจะกินพืชอยู่บ้าง หมานี่ บางตัวเอาพืชไปล่อมันบ้าง มันจะกินมันจะกินพืชบ้าง แล้วมันก็ไม่ตายด้วยนะ ไม่ตายไม่ตายหรอก มันก็จะอิ่มมันก็จะรักษาร่างกายของมันได้เหมือนกัน
เอาล่ะทีนี้เมื่อโลกนี้ สร้างคนขึ้นมาเป็นสัตว์ สัตว์ตระกูลคน คนแรกไม่กินสัตว์
แต่กินพืชอย่างอาตมาว่าแล้ว พอตระกูลคนต่อมา หลงใหลในโลกเห็นว่ากินเนื้อสัตว์มี รูป รส กลิ่น เสียง ดีกว่ากินพืชก็หลงติดกินเนื้อสัตว์แล้วก็เลยสั่งสอนกันเป็นแบบถ่ายทอด กลายเป็นคนอำมหิต คนป่าในรุ่นต่อๆ มาก็เลยขว้างเนื้อขว้างสัตว์กินกัน พืชไม่ค่อยกิน แต่ก็กินบ้างพืชเหมือนกันแต่น้อยกว่า คนป่าแต่ก่อนนี้จึงกินสัตว์มากกว่าพืช ล่าสัตว์กินเป็นส่วนใหญ่ เพราะหลง
จนต่อมาคนฉลาดขึ้น ฉลาดขึ้นจนเข้าใจแล้วว่าล่าสัตว์มันยากแท้ ทำไมคน จะต้องกินแต่สัตว์ หรือ ก็เลยกลับมากินพืช ไปกินพืชกินแป้งบ้างสิ ก็เลยเห็นว่าไม่เสียพลังงานไม่เสีย Energy ไปล่าสัตว์มาก แต่ด้วยกิเลสก็ยังติดเนื้อสัตว์อยู่นั่นเองก็เลยกินทั้งพืชกินทั้งสัตว์มันซะเลยคน ฉลาดมากเอาเปรียบ เพราะฉะนั้นคนป่าในช่วงหนึ่งนี่เขาไม่กินพืชเลย กินแต่สัตว์ จนกระทั่งมันมีปัญญามากขึ้นมันรู้จักเอาตัวรอด ก็เลยกลับจากกินแต่สัตว์มาบอกว่ากินพืชซะบ้างได้ไหม แหมมันต่อสู้กับสัตว์หากินยากเหลือเกินก็เลยมากินพืชบ้าง จึงกลายเป็นกินทั้งสัตว์ และพืชเลยเลือกกินเลยทีนี้ เอาล่ะพืชชนิดไหนที่มันมีเนื้อเนียนๆ มีเนื้อน่ากินนะ ฉันอยากกินอันนั้น ใบอันไหนที่มันมีรสชาติดี ฉันจะเลือกกินใบพืชอันนั้น พืชอันใดมีลูกดีกินลูกมันซะเลย พืชอันไหนมันมีหัวมันดี ก็ขุดหัวมันมากินซะเลยนี่คน ยอดไหม คนมันอย่างนี้
ทั้งๆ ที่พืชที่กินใบได้กินหัวมันก็ได้ กินต้นมันก็ได้ อย่างผักกาดหัวก็กินหัวมันก็ได้กินใบมันก็ได้แต่ไม่กินไปตัดใบทิ้งหัวมันดีกว่า นี่คนมันเก่งซะอย่างนี้ด้วยกิเลสมันเห็นแก่ตัวมากๆ อัตตามันตัวโตมากขึ้น คนนี้ขี้เอาเปรียบขี่เลือก เลือกจริงๆเลือกมากมายกินตะพึดตะพือ เพราะฉะนั้นแม้แต่พืชก็เลือกไอ้ที่แจ่มๆ ยอดๆ ทั้งนั้นเลย พืชชนิดไหนดอกน่ากินที่สุดฉันจะกินแต่ดอก พืชชนิดไหนลูกน่ากินที่สุดฉันจะกินแต่ลูก พืชชนิดไหนเม็ดน่ากินเอามันแต่เม็ดมากินก็มี นี่บางคน พืชบางชนิดเนื้อมันก็ร่อนทิ้งแล้วเอาไปตากทิ้งเอามันแต่เม็ดมากิน นี่แหละคน ยอดเอาเปรียบโลกทั้งหลายเลย
บางทีโค่นมันมาทั้งต้นเลยนะ ปลูกกล้วยทั้งต้น ใบกล้วยก็กินได้หยวกกล้วยก็กินได้ ปลูกกล้วย บางที ทิ้งทั้งต้น หยวก ใบ ทิ้งหมดเอาแต่ลูก คิดดูซิ กว่ามันจะโตมา พอได้ลูกแล้ว คนฉลาดตัดต้นทิ้งเลยเอาแต่ลูกกล้วยมากิน นอกนั้นโยนทิ้งไปนี่คนยอดไหม ไม่ได้เห็นแก่อะไรเลยความเห็นแก่ตัวเป็นแบบนี้ แท้จริงเขาก็เป็นชีวิต แต่ว่าชีวิตเขายังไม่ได้ตัดรอบอย่างที่ว่า เขาเองเขาไม่โอดโอยไม่ได้ เพราะฉะนั้นคนเอาเปรียบถึงขนาดนี้แล้วก็กินอย่างนี้
คนชั้นต่อมา จึงกินทั้งพืชกินทั้งสัตว์แล้วก็กินสัตว์นี่แหละมาก ฆ่ากันเบียดเบียนกันมาก จนกระทั่งยึดถือจะกินพืชต้องกินยอดของพืชอันไหนดีที่สุดเลือกมากิน จะกินสัตว์กินทั่วไปเลยกินปูกินทั้งหมูกินทั้งหมากินทั้งช้างทั้งม้าเกลี้ยงเนื้อเสือสางมีม้ากินเกลี้ยงเลยเนื้องูก็กิน พระพุทธเจ้าท่านถึงได้ห้ามขึ้นมาว่าไอ้คนนี่หนาทำไมอำมหิตนักหนา แต่พระพุทธเจ้าจะห้ามทีเดียวสำหรับคนที่อยู่ในรอบที่เขายังติดเนื้อสัตว์ไม่ให้กินทีเดียวไม่ได้ ท่านถึงห้ามบอกว่า
คนอย่ากินสัตว์เลย 10 ชนิดนี้อย่ากินเลยมันอุบาทก์ เหลือเกินแล้วบอกว่ามันไม่ไหวแล้วนี่มันอำมหิตเหลือเกินเกินขอบเขตเหลือเกินมันเป็นภัยแก่ตัว นี่สำคัญที่สุดเป็นภัยแก่ตัวมาก เพราะฉะนั้นคนอย่าเลยอย่ากินเลยไอ้ที่เป็นภัยทางกายก็คือ
พระพุทธเจ้าท่านห้าม คนอย่ากินเนื้อสัตว์ 10 ชนิด ฟังให้ดีนะ พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ห้ามแต่ละไอ้นั่นนะ ท่านห้ามคนทุกคนนะไม่ได้ห้ามแต่พระนะ เดี๋ยวนี้เข้าใจผิดคิดว่า มังสะ 10 นี้ห้ามแต่เฉพาะพระสำหรับคนกินได้ เปล่าไม่ใช่หรอกท่านห้ามคนทุกคนที่เป็นพุทธศาสนิกชนอยากกินเลยมังสะทั้ง 10 เพราะฉะนั้น เพราะเหตุว่ากินแล้วมันเป็นภัย 1. เป็นภัยทางกาย 2. เป็นภัยทางใจ
-
ถ้าใครกินเนื้อคนแล้วจะเป็นภัยทางกายเพราะคนมันยอดถ้าจะไปฆ่าคน ฆ่าคนมากินได้สักคนสองคนคนอื่นก็จะฆ่าตายประเดี๋ยวก็ติดคุกติดตารางได้ไหมัตตะิดเนื้อคนเข้าไม่ได้ เพราะฉะนั้นเนื้อคนอย่า
-
เนื้อหมีอย่านะ สัตว์ร้ายมันจะตะปบเข้าให้ไปกินเนื้อหมีเนื้ออะไรพวกนี้
-
เนื้อสิงห์อย่า
-
เนื้อเสือเสือโคร่งเสือดาวเสือดำต่างๆ อย่านะนี่ท่านห้ามไว้หมดนี่เป็นภัยทางกายทั้งสิ้น แม้แต่เนื้องูก็เป็นภัยทางกายเพราะงูมันมีพิษเยอะท่านก็ห้ามไว้อีก