590203_พุทธศาสนาตามภูมิ-อัมพัฏฐสูตร-ตอน-๓
คลิกที่นี่เพื่อดาวโหลดเสียง
พ่อครูว่า…วันนี้วันพุธที่ 3 ธันวาคม 2559 แรม 11 ค่ำเดือนยี่ปีมะแม เราก็ได้พยายามศึกษากันผู้ตั้งใจศึกษาใส่ใจศึกษา ดี ผู้ไม่ตั้งใจศึกษาไม่ดี เป็น ธรรมดา ขออนุโมทนากับผู้ที่ตั้งใจศึกษา ว.นบ. กลุ่มของคนที่ตั้งใจศึกษาจะลาออกเมื่อไหร่ก็ได้จะเข้ามาเรียนเมื่อไหร่ก็ได้ไม่เสียเงินสักบาท ตอนที่ฟังแล้วรู้สึกคึกคักก็มารวมตัวกัน พอมาถึงวันนี้แล้วก็ชักโรยรา มาบ้างไม่มาบ้างจริงๆแล้วไม่มีสักบั้งเลย หายไป ก็เลยว่าทำไมอาตมาสนุกอยู่คนเดียว ไม่มีธรรมะรส ยิ่งอ่านยิ่งเห็นความลึกซึ้งของพระไตรปิฎกแต่ละคำความที่หยิบขึ้นมาขยายความยิ่งเห็นความลึกซึ้งชัดเจน ดีขึ้นด้วย
เราเข้าใจแล้วว่าเราไม่เอาธรรมะชีวิตนี้ แต่หลายคนก็ไม่เอาใจใส่ อาตมาไม่อยากจะบอกว่าเป็นผู้รู้ที่จะพาพวกคุณบรรลุอรหันต์ได้จริงไม่อยากจะพูด แต่เธอมาเชื่อมั่นว่าเป็นเช่นนั้นจริงแต่พวกเรา ก็โรยราลงอันนี้ก็เข้าใจ จิตของเราบางทีก็เซ็งเบื่อหน่าย แต่ถึงอย่างไรก็ตามการฟังธรรม แม้เราไม่อยากฟังก็ต้องตั้งใจฟัง ฟังด้วยดีย่อมเกิดปัญญา “สุสสูสัง ละภะเต ปุญญัง”
ฟังธรรมด้วยดีย่อมเกิดปัญญาฟังธรรมแล้วได้ปัญญา ได้ความรู้ขึ้นมาอาตมาไม่ได้พูดเอาเองนะ”สุสสูสัง ละภะเต ปัญญัง”ฟังด้วยดีย่อมเกิดปัญญา
เป็นคำตรัสของพระพุทธเจ้าอาตมาไม่เสียหลายเลยถ้าได้ฟังธรรมจากสัตบุรุษเสมอ อาตมาไม่ต้องพูดหรอกว่าอาตมาเป็นสัตบุรุษ จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็แล้วแต่ใคร อาตมาไม่ต้องพูด เปิดตัวจนล่อนจ้อนหมดแล้ว ไม่เหลืออะไรเลย เปิดตัวเองหมดแล้ว
ที่พูดนี้ก็เพื่อเตือนสติ พูดให้รู้สึก ใครได้ฟังจะรู้สึก ถ้าใครไม่ได้ฟังก็น่าสงสาร อาตมา
พูดย้ำซ้ำ เตือนให้ ก็ไม่ได้ยินด้วย ไม่ได้ใส่ใจมาฟังด้วยบางคนไม่ได้มา ไม่ได้ฟัง ก็ยังไปตามฟังรีรัน ก็พอทำเนาแต่บางคนก็ไม่เอาถ่าน ขี้เถาก็ไม่เอา ไม่รู้จะเอาอะไร ถ่านก็ไม่เอา ขี้เถาก็ไม่เอา แล้วมันจะมีไฟหรือ ก็เตือนติงไป พวกเราน่าจะเห็นโอกาสดี อาตมายังมีชีวิต ขยันหมั่นเพียร ขยันอุตสาหะ ที่จะสอนพวกเรา
อาตมาว่า อาตมาไม่ได้ทำเล่นๆทุกคราวที่มีการบรรยายธรรม ตั้งใจพากเพียร ที่จะบรรยายให้ละเอียด ให้ลึกซึ้ง ให้พาคุณบรรลุอรหันต์ เดี๋ยวนี้ให้ได้ แหมแต่มันก็ไม่ได้ มันไม่
เก่ง ไม่รู้จะทำอย่างไร ยังไม่เก่ง ตัวเองยังไม่เก่ง
มันเป็นโอกาสนะอาตมาก็ยังพากเพียรให้พวกเราอยู่ ตั้งใจให้ละเอียดลึกซึ้งพาคุณบรรลุอรหันต์ให้ได้เดี๋ยวนี้เลย แต่ไม่เก่ง พวกปัจฉาฯคงฟังอาตมาจนรำคาญว่า ไม่เก่ง แก้แล้วแก้อีก มันช้ามันไม่ค่อยเร็วถูกต้องคมชัดจบ มันไม่เลย ต้องทวนทำซ้ำซากวนเวียนใช้เวลาไม่เสร็จสักที ก็เลยบ่น แล้วมันก็ไม่เก่งจริงๆ
มาต่อในอัมพัฏฐสูตร …. ถึงตอนที่พระพุทธเจ้าไล่เรียงต้นตระกูลของอัมพัฏฐะ พระพุทธเจ้ารู้ได้ครับยิ่งกว่า อัมพัฏฐะก็เลยพูดไม่ออก เถียงไม่ได้ก็ยอมพระพุทธเจ้าสุดท้ายก็บอกว่า พระพุทธเจ้าสรุปชัดๆในความหมายของกษัตริย์กับพราหมณ์ ซึ่งกษัตริย์กับพราหมณ์จะผลัดกันฉลาด เช่นยุคนี้เป็นต้น พราหมณ์หรือสมณะนักบวชไม่ฉลาดไม่มีภูมิธรรมอาริยะ แต่กษัตริย์มีภูมิธรรมอาริยะ เช่นของไทยนี่แหละ สมณะภิกษุในศาสนาไม่มี ยกเว้นอาตมาไว้นะ ในกระแสหลักไม่มี สู้กษัตริย์พระองค์นี้ไม่ได้ที่ท่านมีพุทธธรรมอาริยะ ไม่ได้พูดข่มแต่พูดสัจจะวิชาการ
“กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ในหมู่ชนผู้รังเกียจด้วยโคตรท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเป็นผู้ ประเสริฐที่สุด ในหมู่เทวดาและมนุษย์” พระพุทธเจ้าท่านว่าถ้าจะพูดถึงเรื่องวิชชาจรณะจะไม่พูดถึงเปลือก แต่เอาเนื้อแท้ของวิชชาจรณะ
คำว่าเทวดากับมนุษย์หมายถึงจิตเจตสิกรูปนิพพาน คือจิต มโน วิญญาณ พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องมนุษย์ชมพูทวีปมนุษย์อุตรกุรุทวีปเทวดาดาวดึงส์ คนที่ไว้ใจคำว่ากายความหมายถึงจิตมโนวิญญาณเขาก็จะไปเห็นกายของเทวดาเป็นรูปร่าง เป็นตัวตนลอยไปลอยมาเหมือนอย่างอาจารย์มั่นบอกว่ามีชั้นสูงเข้าฌานไปสอนเทวดา เทวดาก็ลอยมาจากต่างประเทศ ไม่เห็นไกลอย่างที่พระพุทธเจ้าบอกว่าคือมโนคือวิญญาณคือจิตเป็นความเสื่อมของความรู้ให้ศาสนาพุทธเรื่องของคำว่ากาย กลายเป็นวัตถุดินน้ำไฟลม
เทวดาคือจิต มนุษย์คือจิตสูงจิตเจริญ ชมพูทวีปก็ไปหมายถึงตัวตนเราเขา อยู่ในแคว้นอินเดียว อาตมาบอกว่าชมพูทวีปตอนนี้อยู่ในไทย คนก็หาว่าอวดดีพูดเกินพระพุทธเจ้า คนเข้าใจไม่ได้ ก็ตอนนี้มีชาวอโศกที่เข้าใจเรื่องกาย แล้วเป็นมนุษย์อุตรกุรุทวีปได้ มี สุรภาโว สติมันโต อิธพรหมจริยวาโส
สุรภาโยคือองคาพยพทั้งหมดอาการ ๓๒ แข็งแรง พร้อมสัญญาและใจ มีสติที่เป็นสัมโพชฌงค์รู้จักอาการจิตเจตสิกที่ทำให้เป็นมนุษย์อเวจี มนุสเปโต ก็แก้ไขให้เป็นมนุสโส เป็นมนุษย์อุตรกุรุทวีปได้ ก็แก้เพราะเข้าใจกายเป็นสัมมาทิฏฐิ
ขณะนี้คำว่ากายคำเดียวขวางทางนิพพานในการปฏิบัติธรรมทั้งหมด อาจารย์ที่เก่งในประเทศไทยที่ลงกันว่าเป็นอรหันต์ก็เข้าใจคำว่ากายนี้ไม่ได้ ว่ากายนี้คืออาการของเวทนาสัญญาสังขาร เป็นอาการของกลุ่มของจิต ของสังขารทั้งหลาย แม้แต่กายสังขารคือการปรุงแต่งทั้งนอกและใน กายสังขารก็เน้นที่จิต เวลาปฏิบัติอานาปานติ ทำกายสังขารนี้ให้สงบ ปัสสัมภยังกายสังขารัง ก็ไปเข้าใจว่า กายเป็นภายนอก ก็ไปนั่งสมาธิอย่าให้กระดุกกระดิกเป็นกายสังขารสงบก็ผิดถนัด จะปฏิบัติสติปัฏฐาน รู้กายวิญญัติก็เอาแค่เป็นรูปร่างภายนอกเท่านั้น
อย่างอาตมาแสดงออกนี้เป็นท่าทีลีลานัจจะคีตะวาทิตะ เพื่อ สื่อให้เห็นจิตไม่ใช่ให้รู้แค่ร่างนอก อาตมาจึงไม่สนใจว่าจะเป็นอย่างไรภายนอกนักแต่ให้คุณเข้าใจได้ก็แล้วกัน ทั้งสามสภาพ ภายนอกให้สื่อถึงภายใน ผู้เข้าใจกายวิญญัติแล้วใช้เป็นประโยชน์ แต่ถ้าเข้าใจกว่ากายวิญญัติเป็นแค่ภายนอกเท่านั้นไม่มีนามมาเกี่ยวก็ผิดเลย ทั้งหมดภายนอกคือมีใจเป็นประธาน มโนเป็นประธานทั้งนั้น
ยิ่งคำว่ากายกลิ แปลว่าองค์ประชุมที่ก่อโทษภัยในจิต แต่ไม่รู้จักเพราะไม่เข้าใจคำว่ากาย จะมีมือไม้ขาแข้งเป็นกิเลสได้อย่างไร ก็ไม่ไปอ่านอาการของกายกลิ คือองค์ประชุมที่เป็นโทษในจิตมโนวิญญาณ ทั้งที่ในพจนานุกรมบาลีบอกว่า กายคือกองของเวทนาสัญญาสังขาร แต่เวลาปฏิบัติกายในกายก็ไม่เกี่ยวกับจิตเลย ตัดจิตเลย ก็หมดสิ้นทางเลยที่จะบรรลุธรรม แค่นี้น่ะ เพราะเข้าใจรูปนามผิด กำหนดผิด กำหนดรู้กายที่ควรเข้าถึงจิตแต่ว่าไปกำหนดแค่ภายนอกก็หมด จะทำกายอภิสังขาร เป็นกายสังขารก็ไปพิจารณาให้ร่างกายอยู่นิ่งเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่เท่านั้น จริงว่าข้างนอกต้องสุจริตก่อนแต่เนื้อแท้ต้องหาข้างใน
แม้ที่สุดจิตท่านบริสุทธิ์แล้วแต่อาการข้างนอกมันดูหยาบ แต่จิตอาตมาบริสุทธิ์ แต่ให้จิตเป็นจริงให้ได้ก็แล้วกัน อรหันต์ทุกองค์หยุดจิตไม่ปรุงได้ไม่สังขารต่อ หยุดเฉยวางได้ อรหันต์ทุกข์องค์ต้องทำได้ทำไม่ได้ไม่ใช่อรหันต์ แต่ถ้าหยุดอย่างสมถะกดข่มได้ไม่ใช่อรหันต์ เขาอาจทำเก่งได้ ทั้งเร็วและนานด้วยแต่ไม่ใช่การบรรลุธรรมอย่างฤาษีนี้เก่งทำได้แต่ไม่ใช่อรหันต์ไม่ใช่พลังปัญญาที่ทำให้หยุดระงับทำให้เกิดเนกขัมสิตอุเบกขาเวทนา
เขาทำได้แต่เข้าไปหยุดสะกดจิตหยุดแต่ของพระพุทธเจ้าออกมาเห็นแจ้งทุกอย่างแล้วกิเลสหลุดด้วยไฟฌาน มีพลังปัญญาสลายได้ นี่คือแนวลึก เพราะฉะนั้นพอบอกว่ามนุษย์เทวดาดาวดึงส์ก็ไปคิดถึงเทวดาลอยฟ่อง จะไม่เห็นอาการ ลิงค นิมิต อุเทสเลย เพราะเข้าใจกายไม่ได้ เห็นเทวดาเป็นรูปร่างไม่ใช่เห็นอาการของนามธรรม อาการของจิตที่เจริญ อาการของจิตที่ไม่มีกิเลสก็ไม่ได้อ่านศึกษาตรงนี้ แต่ศึกษาตื้นๆ เพราะเข้าใจไม่หมดไม่ครบ จึงอ่านผิด อ่านกายเข้าไปถึงจิตเจตสิกแท้ๆไม่ได้ เพราะค้างที่กาย ไม่ทะลุคำว่ากาย ไม่เข้าถึงจิต เพราะเข้าใจผิด กายนี่ลึก มีแต่จิตไม่คำนึงถึงร่างภายนอกได้เลย แต่คำว่ากายนี้ จะต้องเรียนจากข้างนอกไปก่อน
ข้างนอกต้องบรรลุก่อนแล้วจะเข้าถึงจิตภายใน เช่นบรรลุกามภพ ก็ไม่ต้องทำอีกในภายนอก มีแต่เข้าหารูป หาอรูป ไม่ใช่รูปร่างแต่เป็นอาการ เข้าใจสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ก็สิ้นทางบรรลุสูงสุด อาจได้ผิวเผินเล็กน้อย ราคะโทสะโมหะบางอย่างระงับได้ ถึงอาสวะบ้างอย่างแต่ไม่ถึงวิโมกข์
วิโมกข์ ๘เขาอธิบายกันหมายถึงนั่งสมาธิไปหมด แต่ที่จริงไม่ได้นั่งหลับตานะ ถ้าเข้าใจว่ากายคือภายนอก ก็สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย ถ้าไปเข้าใจว่ากายที่พระพุทธเจ้าว่าต้องสัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย แล้วคุณเข้าใจกว่ากายคือภายนอก ดังนั้น ฌาน สมาธิคุณต้องสัมผัสภายนอกด้วยสิแต่เขาก็ไปนั่งสมาธิทำวิโมกข์
เราจะรู้ว่าเราเป็นโสดาบันเป็นสกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ได้ก็ต้องอ่านอาการลิงคนิมิตอุเทสได้ ปฏิบัติไปตามลำดับ อ่านพฤติของกาย คือองค์ประชุมออก ถ้าองค์ประชุมภายนอก มีนัจจะคีตะวาทิตะครับ แต่ไม่ทิ้งใจเลย มีใจประกอบเป็นประธานด้วย กำหนดท่าทางลีลาองค์ประกอบดินน้ำไฟลมทั้งหมดมีสุ้มเสียงสำเนียงภาษาครบ เรียกว่ากายวิญญัติ แต่ถ้าเป็นพระบางองค์ขยับแต่ปากก็ได้แต่ว่าส่วนใหญ่ไม่ใช่ จะเรียว่าสื่อให้รู้แต่เสียงกับคำพูดภาษา นั่นคือวจีวิญญัติ คือสื่อจากใจถึงใจ ใจสั่งให้ร่างพูด เพื่อให้เข้าไปรู้ถึงใจไม่ใช่รู้แค่ภาษาสำเนียงมีนัจจะคีตะด้วย เป็นปฏิฆสัมผัสโสให้ไปรู้นาม องค์ประชุมของนามไม่ใช่แค่รูป ใครฟังธรรมอาตมาแล้วเข้าถึงนามธรรมของตนเองได้ก็เจริญ พูดถึงกายทีไรถึงจิตมโนวิญญาณทุกที นั่นถูกตามพระพุทธเจ้าว่าแล้ว ต้องปฏิบัติได้จริงด้วยไม่ใช่ได้แค่ภาษา จะรู้จักเทวดา มาร พรหม ว่าคือเรื่องจิต มโน วิญญาณ
รูปคือสิ่งที่ถูกรู้ เป็นนามกายได้ นามนั้นถือว่าเป็นรูปได้
๓.๘ วิชชาจรณสัมปทา
อัมพัฏฐมาณพทูลถามว่า จรณะเป็นไฉน วิชชาเป็นไฉน? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ในวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยม เขาไม่พูดอ้างชาติอ้างโคตรหรืออ้างมานะว่า ท่านควรแก่เรา หรือท่านไม่ควรแก่เราอาวาหมงคล วิวาหมงคล หรืออาวาหวิวาหมงคล มีในที่ใด ในที่นั้นเขาจึงจะพูดอ้างชาติบ้างอ้างโคตรบ้าง หรืออ้างมานะบ้างว่า ท่านควรแก่เรา หรือท่านไม่ควรแก่เรา ชนเหล่าใดยังเกี่ยวข้องด้วยการอ้างชาติ ยังเกี่ยวข้องด้วยการอ้างโคตร ยังเกี่ยวข้องด้วยการอ้างมานะ หรือยังเกี่ยวข้องด้วยอาวาหวิวาหมงคล ชนเหล่านั้น ชื่อว่ายังห่างไกลจากวิชชาสมบัติ และจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยม การทำให้แจ้งซึ่งวิชชาสมบัติและจรณสมบัติ อันเป็นคุณยอดเยี่ยมย่อมมีได้เพราะละการเกี่ยวข้องด้วยการอ้างชาติ ความเกี่ยวข้องด้วยการอ้างโคตร ความเกี่ยวข้องด้วยการอ้างมานะ และความเกี่ยวข้องด้วยอาวาหวิวาหมงคล
อัมพัฏฐมาณพทูลถามซ้ำว่า จรณะเป็นไฉน วิชชาเป็นไฉนเล่า? พระผู้มีพระภาคตรัสตอบย้ำว่า พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลกเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรมพระตถาคตพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตามทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้เกิดเฉพาะในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้วได้ศรัทธาในพระตถาคต เมื่อได้ศรัทธาแล้ว ย่อมเห็นตระหนักว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ให้บริสุทธิ์ โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมาเขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้วสำรวมระวังในพระปาติโมกข์อยู่ ถึงพร้อมด้วยมารยาทและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อยสมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบด้วยกายกรรมวจีกรรมที่เป็นกุศล มีอาชีพบริสุทธิ์ถึงพร้อมด้วยศีลคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ (ที.สี. ๙/อัมพัฏฐสูตร/๑๖๒-๑๖๓/๙๒-๙๓)
พ่อครูว่าพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ที่อุบัติขึ้นในโลกถือว่าเป็นธัมมสามี คือเจ้าของธรรมะ พระพุทธเจ้าองค์ก่อนก็ปรินิพพานไปแล้ว ปัจจุบันก็มีแต่พระพุทธเจ้าองปัจจุบันเท่านั้น
อาตมายังไม่ใช่เจ้าของธรรมะ อาตมาแสดงแต่วิชชาจรณะ แต่คนไม่มาฟังนี้คือคนมีมานะ แม้คนเล็กคนน้อยก็มีมานะ ไม่ต้องพูดถึงคนใหญ่โตเลย
ฆราวาสคับแคบน้น คือคุณไปหลงแต่ก้อนทองก้อนเพชรก้อนขี้ ไปอยู่แต่ตรงนั้นนั่นคือฆราวาส พวกวงฆราวาสคือพวกอยู่กับก้อนขี้ อยู่กับก้อนเงินก้อนทองก้อนทรัพย์สินนี่แหละ อะไรที่มันเร่ิมมารวมกัน ถ้า๐ กับ ๑ มันมีส่วนสองอยู่ ไม่จับกัน แต่ถ้าจับกันเป็น ๑ ก็คือ ฆ เป็นคณะ
เอารากศัพท์บาลีมาจับให้ฟัง
ฆราวาสคับแคบ คือไปวุ่นวายกับทรัพย์สินเงินทองก้อนกิเลสก็ต้องออกมาบวช เป็นทางโปร่งกว่า ผู้ใดมาสู่ชุมชนอโศกทุกแห่งยินดีต้องรับ ที่นี่เป็นที่บรรพชา แม้คุณไม่มาปลมผม ไม่มาปฏิญาณเป็นนักบวชก็ถือไปตามลำดับ สมาทานไปตามลำดับ ปฏิบัติจริงจังเลยทำให้เกิดวิมุติให้ได้ หลักปฏิบัติคือศีล สมาธิ ปัญญา ทำ ให้วิมุติให้ได้
ที่นี่เป็นทางโปร่ง วนบ.ทั้งหลายคือการบรรพชา คือกำลังเอากิเลสออก ไม่ต้องติดยึดรูปร่างภายนอก ปฏิบัติวิชชาจรณะ คนที่จะไปวุ่นวายทางเคหะ ฆ คือจะบริสุทธิ์ดุจสังขัดส่วนเดียวไม่ได้ มาทางนี้เบาว่างไม่ใช่ทำได้ง่ายๆ ถ้าเป็นรูปธรรมก็มาปลงผมปลงหนวดเลย
มีคุณผึ้ง พิมพ์เพชรรุ้งตัดผมสั้นฉลองปีใหม่เลย ผู้หญิงนี้อิรุงตุงนังเรื่องพวกนี้ สิงโตตัวเมียไม่มีขนมาก มาเป็นคนก็ยังติดยึด ผู้ชายนี่ถ้าไว้ผมก็ดำขลับกว่าผู้หญิงเลย ก็เลยปล่อยให้ผู้หญิงเขารักผมไป
กุศลคือความดีตามสมมุติสัจจะ
กายกับวาจาไม่ใช่บุญ กายกับวาจาคือกุศล ถ้าถึงใจละกิเลสได้เมื่อไหร่จึงเกิดบุญ ถ้าไม่ชำระจิตสันดานตนจากกิเลสไม่ใช่บุญ
และการอยู่กับหมู่มิตรดีสหายดีจึงจะทำความวิเวกได้
พระอุบาลีปรารถนาจะไปอยู่ป่า และราวป่าอันสงัด
พระพุทธองค์ตรัสว่า… ป่าและราวป่าอันสงัดอยู่ลำบาก
ทำความวิเวกได้ยาก ยากที่จะอภิรมย์ในการอยู่ผู้เดียว. ป่าทั้งหลายเห็นจะนำใจของภิกษุผู้ไม่ได้สมาธิไปเสีย
ผู้นั้นจำต้องหวังข้อนี้ คือ จักจมลงหรือจักฟุ้งซ่าน เปรียบเหมือนกระต่ายหรือเสือปลาลงสู่ห้วงน้ำใหญ่ หวังจะเอาอย่างช้างใหญ่สูง ๗ ศอก หรือ ๗ ศอกกึ่ง กระต่ายหรือเสือปลานั้น จำต้องหวังข้อนี้ คือ จักจมลง หรือจักลอยขึ้น !! (พตปฎ. เล่ม ๒๔ ข้อ ๙๙)
อุปสัมบันคือผู้ที่อาตมาว่าไม่ใช่แค่ออกบวช แต่หมายเอาภูมิธรรม แต่ท่านประยุตต์ว่าต้องเป็นผู้บวชเท่านั้นถึงเป็นอุปสัมบัน
จุลศีล ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงในพรหมชาลสูตร มีดังต่อไปนี้
พระสมณโคดม ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางสาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่
พ่อครูว่า อาตมาพาพวกเรามาเลิกกินเนื้อสัตว์จิตหิริโอตตัปปะของคุณจะเกิดจริงๆ เห็นสัตว์ตกโถส้วมก็ยังช่วยมันเลย ดีไม่ดีรีบเอามือจ้วงช่วยเลย แต่ก่อนนี้มีแต่ราดน้ำซ้ำอีก อำมหิตน่าดูเลย พอมาเลิกกินเนื้อสัตว์คุณจะเกิดจิตหิริโอตตัปปะเลย จะเกิดความเอ็นดูกรุณาสัตว์ ผู้เกิดร่วมสังสารวัฏ
พระสมณโคดม ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นคนสะอาดอยู่
พ่อครูว่า ถ้าจะรับก็รับแต่ของที่เขาให้ แม้อดข้าวมาสามเดือน ก็ต้องทำใจถ้าเขาไม่ให้ คือต้องการแต่ของที่เขาให้ ต้องการข้าวมากินเหลือเกิน เขาให้ก็อนุโมทนา ต้องถามอ.ประมวลที่มียายทำข้าวกับแกงปลาดุกมาให้ ก็ต้องการแต่ของที่เขาให้ ถ้าเขาไม่ให้อย่าไปเอาของเขา
พระสมณโคดม ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกลเว้นจากเมถุน ซึ่งเป็นเรื่องของชาวบ้าน
พ่อครูว่า เราก็ทำการเสียสละ แล้วไม่ต้องจดจำเป็นบุญคุณ สิ่งที่เราทำออกไปมีคุณค่าประโยชน์ในตัวแล้วไม่ต้องจำหรอก เพราะสัจจะนั้นบันทึกไว้อยู่แล้ว ทำแล้วเป็นสัจจะของมันเอง เราเสียสละนั่นแหละเราได้ ในหลวงท่านก็ตรัสสั้นๆ ตนพึ่งตนเองรอด แล้วเป็นที่พึ่งของคนอื่นได้เราคือพระเจ้า คือโลกนารถ ก่อนอื่นก็โลกเล็กๆก่อนแล้วค่อยขยายโตขึ้นๆ โลกของชาวอโศกก็เป็นที่พึ่งของสังคมได้ประมาณหนึ่ง เราก็จะพากเพียรทำให้มากกว่านี้ เพื่อเผื่อแผ่เกื้อกูล ไม่ใช่เอาสิ่งที่เราทำได้ไปแลกลาภ เอาเปรียบเอารัด เราก็ให้ได้เท่าที่เราทำได้
พาทำถึงทุกวันนี้ได้และจะทำต่อไป ความประพฤติที่สะอาดให้สูงสุดได้เป็นอรหันต์ ของเราก็เป็นส่ิงนอก (อัตนียา) แต่ถ้าตัวเราก็เนียนเข้ามาหาในเลย (อัตตา)ถ้าเราไม่มีตัวเราของเราก็มีแต่ขันธ์๕ที่เหลือทำประโยชน์แก่คนอื่นไป เราทำเกินกินใช้เพื่อเผื่อแผ่คนอื่นตลอด เราทำได้มากก็เป็นกุศลของเราไป กุศลก็เกิดเองตามจริง อกุศลก็เกิดเองตามจริง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต พึงกล่าวชมอย่างนี้ว่า
พระสมณโคดม ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จพูดคำจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน ควรเชื่อ ไม่พูดลวงโลก.
พ่อครูว่า พวกสื่อสารมวลชนนี้ส่วนใหญ่เป็นพวกที่หาเรื่องให้คนทะเลาะกันจะได้มีข่าวขายข่าวได้อีก
พระสมณโคดม ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียดฟังจากข้างนี้แล้วไม่บอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกกัน หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่บอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกกัน สมานคนที่แตกกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนที่พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนที่พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนที่พร้อมเพรียงกันกล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน.
พ่อครูว่าผู้ที่รู้ว่าควรตำหนิอะไรไม่ควรตำหนิอะไร เป็นผู้มีปัญญาใดๆที่คอยตำหนิ พระพุทธเจ้าว่าคบคนเช่นนี้จะมีแต่ดีถ่ายเดียวไม่มีเลวเลย ยุคนี้อาตมาจำเป็นต้องกระหนาบแล้วกระหนาบอีกไม่ได้โกรธเคืองใครเลย แต่สงสารเขา เลยเกิดเวทนาเขา ให้มาเรียนรู้เวทนาที่หลงทั้งผลักทั้งดูดอยู่นี่ ยุคนี้จึงเป็นยุคที่ยากที่ต้องพูดเรื่องทุจริต พูดอย่างไรก็ถูกเขาเพราะคนผิดมีมาก
ก็เอาแต่คนที่เข้าใจ เห็นว่าเราปรารถนาดีก็จะได้ประโยชน์ อาตมาว่าแสดงอย่างนี้ไม่ได้เข้าใจผิด ทุกวันนี้คนดื้อกิเลสหนาจึงต้องกระแทกให้แรงกระแทกเบาไม่เข้า จำเป็นต้องทำ จะบอกว่าแก้ตัวก็ได้จะทำเช่นนี้ จริงๆแล้วอาตมาเป็นคนสุภาพเรียบร้อยเป็นคนสนุก แม้แต่คำว่ากูมึง ก็ไม่พูด เพื่อนเขาก็พูดแต่อาตมาพูดไม่ได้พูดได้อย่างเก่งก็ข้าเอ็งหรืออั๊ว ลื้อ พูดมึงไม่ได้
อาตมาทำสงบเรียบร้อยเป็น บวชใหม่ๆนั้นทำการสุขุมเรียบร้อยสนุกหลายปีถึงค่อยมาถอดร่างเป็นอย่างนี้ ตอนนี้เป็นกวนอูหน้าแดงถือง้าว ทวน ๘๐ ชั่ง
พระสมณโคดม ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบกล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนโดยมากรักใคร่ ชอบใจ. พ่อครูว่า คนที่พูดกับเพื่อนด้วยจริงใจ ภาษาดูว่าหยาบแต่ใจเขาไม่ได้หยาบ ใจสนิทจริงใจกับเพื่อนจริงๆ บางคนซื่อสัตย์สุจริตรักกันมากแต่พูดคำพวกนี้จนกระทั่งไม่พูดคำพวกนี้ก็ว่าไม่รักกันจริงอีก แล้วเป็นจริงด้วย ถ้าวันใดไม่พูดคำแบบนี้ก็หาว่ากินยาผิดหรือโกรธกันหรืออย่างไร นี่คือการกำหนดยึดถือ ข้อสำคัญคือคำไม่มีโทษ แต่แปลว่าคำเพราะหูคำชวนให้รักถือว่าเป็นแค่นักจีบธรรมดาน่ะ อาตมาทำไมต้องชื่อรัก ทั้งๆที่อาตมาชื่อมงคล สมเด็จองค์แรกของเมืองอุบลฯนี่ตั้งใจ สมเด็จติสโส(อ้วน) จนเป็นระดับสมเด็จเป็นรมต.มหาดไทยของสงฆ์นะ เป็นตนตั้งชื่อให้อาตมา ลุงอาตมาเป็นลูกศิษย์ท่าน อาตมามีนามปากกาว่า รัก พงษ์มงคล อาตมาแต่งเพลงใช้นามปากกาแรกว่ายุบลรัตน์ แล้วค่อยมาใช่ รัก พงษ์มงคล
จบ