หนังสือ “เปิดโลก…บุญนิยม” (ตอนจบ)
ธุรกิจบุญนิยม
ธุรกิจบุญนิยม ๔ ระดับ คือ
๑. กำหนดราคาแลกเปลี่ยน สูงกว่าทุนเล็กน้อยและพยายามให้ต่ำกว่าราคาในตลาด เพียงแต่พอเป็นเครื่องอาศัยตามความจำเป็นของชีวิต ซึ่งมีระดับความสันโดษไม่เท่ากัน ไม่เหมือนกัน
๒. กำหนดราคาแลกเปลี่ยน เท่าทุนที่ลงไป พอเป็นเครื่องอาศัยต่อทุนเพื่อทำงานต่อไป
๓. กำหนดราคาแลกเปลี่ยน ต่ำกว่าทุนที่ลงไป โดยอาจจะไม่รวมค่าแรง ค่าเวลาของตนเองและค่าโสหุ้ยต่าง ๆ ค่าวัตถุดิบในการผลิตซึ่งผลิตได้เองหรือเก็บจากธรรมชาติที่ไม่ต้องลงทุนซื้อหา ในส่วนที่กำหนดว่าต่ำกว่าทุนลงไปนี้หรือขาดไปนี้ ผู้นิยมบุญจะถือว่าเป็นกำไรบุญที่ซื้อหาไม่ได้
๔. การ ให้เปล่า ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่ถือว่าเป็นธุรกิจ
จะเป็นไปได้อย่างไร…ในเมื่อขายต่ำกว่าทุน ???
๑. “คนมีคุณ” คนที่มีสมรรถนะ สมมุติตีค่าวันละ ๒๐๐ บาท แต่เขากินใช้เพียงวันละ ๕๐ บาท นอกนั้นเหลือ ๑๕๐ บาท เป็นส่วนเสียสละเข้าส่วนกลาง เป็นต้น ส่วนกลางที่รวมกันจากสมาชิกทั้งหลายดังตัวอย่างนี้ จะเป็นส่วนไปทำให้ “ขายต่ำกว่าทุนได้แน่นอน”
๒. “บุญมีค้ำ” หมายถึง ชุมชนบุญนิยมจะอยู่รวมกันอย่างสังคมพี่น้องหรือสังคมที่มี “สาธารณโภคี” (แบ่งกันกินกันใช้ทั่วถึงกันแบบสาธารณะ) จะช่วยเหลือเกื้อกูลกัน พึ่งเกิด – แก่ – เจ็บ – ตาย กันได้แม้ไม่ใช่ญาติสายโลหิต จึงไม่จำเป็นต้องสะสมเงินทอง เพียงสะสมแต่คุณงามความดี “ขยัน – สร้างสรร – เสียสละ” จริง เป็นต้น ก็มีชีวิตอยู่กับสังคมเป็นสุข
๓. “กิจกรรมมีผลเจริญ” หมายถึง งานเจริญสมบูรณ์ เช่น สวนผลไม้โตเต็มที่ มันก็ออกผลให้เราชนิดที่ต้นทุนจริงน้อย แต่ผลผลิตมาก ขายต่ำกว่าราคาสามัญได้ จึงเท่ากับต่ำกว่าทุนในราคาตลาด หรือกิจการที่เจริญครบวงจรสมบูรณ์ ต้นทุนต่ำแล้ว ก็เท่ากับต่ำกว่าทุนในราคาตลาดเช่นเดียวกัน
นโยบายในการดำเนินงานของบุญนิยม คือ
๑. สร้างคนให้มีคุณ
๒. สะสมบุญให้มีค้ำ
๓. พัฒนากิจกรรมให้มีผลเจริญ
อุดมการณ์ / คติพจน์ชาวบุญนิยม
– ทำงานฟรี
– ปลอดหนี้
– ไม่มีดอกเบี้ย
– เฉลี่ยทรัพย์เข้ากองบุญ
เศรษฐกิจบุญนิยม คนจนรู้จักพอ
เศรษฐกิจทุนนิยม คนรวยไม่รู้จักพอ
พ่อครูสมณะโพธิรักษ์ (โศลกธรรมงานมหาปวารณา ๒๕๔๘)