โครงการร่วมมือพัฒนาชุมชนส่งเสริมกสิกรรมปลอดสารพิษผลิตเป็นสินค้า (รูปแบบ2+3)
วันที่ 8-10 พ.ค.2561 คุณลุงอำนาจ หมายยอดกลาง จากศูนย์กสิกรรมธรรมชาติไร้สารพิษ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ วังน้ำเขียวและคณะพร้อมกับทีมงานบุญนิยมทีวี รวม 12 คน ได้เดินทางข้ามแม่น้ำโขง ไปที่เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก ประเทศลาว เพื่อไปทำข่าวเกี่ยวกับโครงการร่วมมือพัฒนาชุมชนส่งเสริมกสิกรรมปลอดสารพิษผลิตเป็นเป็นสินค้า (รูปแบบ2+3) ซึ่งทราบมาว่า บริษัทสีโคดบูน มีการส่งเสริมสนับสนุนให้พี่น้องเกษตรกรชาวลาว ได้ลด ละ เลิก การทำเกษตรแบบเคมี หันมาทำเกษตรแบบอินทรีย์ ซึ่งภาษาทางนี้เรียกว่า”เกษตรสะอาด” ด้วยแนวความคิด คืออยากให้ปชช.หลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ให้ลูกหลานเฮาที่ฮำเฮียนจบมา มีเวียกเฮ็ดงานทำ บ่ให้ไปขายแฮงงานยุต่างบ้านหรือถิ่นอื่น ความหวังอยู่ด้วยเกษตรอินทรีย์หรือเกษตรยืนยง บ่มีความเสี่ยง จะทำให้ครอบครัวอบอุ่น อีกอย่างทิศชี้นำหรือนโยบายของรัฐบาลลาวก็ได้ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ต้องการให้ประเทศลาวมีเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากบ้านเฮามีความอุดมสมบูรณ์มีทรัพยากร เหมาะกับการทำการเกษตร ลาวต้องเป็นแหล่งผลิตกสิกรรม ที่ดินทางลาวยังมีหลาย ประเทศของเฮากว้างใหญ่ แต่เฮามีประชากร 6 ล้านปายคน (กว่าคน) บริษัทสีโคดจึงอยากมาเฮ็ด ให้ปชช.เซาทุกข์ยาก บ่รวยดอก ขอให้ยืนยงและพอเพียง
ในด้านวิชาการ ได้เริ่มต้นด้วยการสร้างศูนย์เรียนรู้ ให้เกษตรกรได้มาศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการๆทำอินทรีย์ทั้งหมด และจุดเปลี่ยนที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดของพี่น้องเกษตรกรได้หันมาทำเกษตรยืนยงคือเรื่องสุขภาพ
โครงการนี้สอดคล้องกับรูปแบบ 2+3 อันเป็นนโยบายของรัฐ ลาว เป็นรูปแบบที่รัฐต้องการมากที่สุดเพราะประชาชนมีส่วนร่วม 2 หมายถึง ประชาชน : เนื้อที่กับแรงงาน 3 หมายถึง บริษัท : ทุน วิชาการ การตลาด
“กะหล่ำปลี โลละ 1 บาท 50 สตางค์” นี่เป็นคำยืนยันจาก สหายบัวลัย ขันติวง เกษตรกรปลูกกะหล่ำปลีชาวลาว เพิ่นเป็นประธานสหกรณ์ท่งชัยพัฒนา บ.หนองสูง อ.ปากซอง แขวงจำปาสัก ประเทศลาว เพิ่นบอกว่า “ส่งออกให้แม่ค้าคนไทยไม่ต่ำกว่า 150 ตันต่อวัน แต่ได้ราคาแค่โลละ 1 บาท 50 สตางค์ ต้นทุนอยู่ที่ 3 บาท 50 สตางค์” ล่ะกะปลูกตั้ง 3 เดือน ตอนนี้เพิ่นพร้อมจะหันมาปลูกผักแบบอินทรีย์ ขอให้มีตลาดกับองค์ความฮู้ “ว๊าตั้งแต่ ขอให้เฮาอยู่รอด ผู้ประกอบการอยู่ได้ พวกเฮาต้องเฮ็ด เฮาทุกข์ยาก ยากจน” พืชผักที่เพิ่นปลูกมีหลายอย่าง เช่น กะหล่ำปลี ขิง หมากเผ็ด(พริก) หมากเขือ หมากเซ่อเว่อ(ฟักแม้ว) “ต้องมีสัญญา ให้ชาวสวนอยู่ได้ มันต้องมีแนวคิด มีหลักการ มีวิธีการ เชื่อมโยง คนปลูก คนจัดการ สู่ผู้บริโภาค มีประกันราคา มีเงินสนับสนุน ว๊าตั้งแต่ ขอให้เฮาแยู่รอด ผู้ประกอบการอยู่ได้ พวกเฮาต้องเฮ็ด เฮาทุกข์ยาก ยากจน” เป็นคำเว่าของ สหายบัวลัย ขันติวง เกษตรกรปลูกกะหล่ำปลีชาวลาว
เบื้องต้นโครงการนำร่อง 6 แขวง เช่นจำปาสัก (ปากซอง)สาละวัน เซกอง คำม่วน นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงสาละวัน มีเมืองสาละวันกับเมืองเหล่างาม ซึ่งการขับเคลื่อนที่สำคัญคือองค์ความรู้ภาควิชาการเป็นกสิกรรมธรรมชาติกรรมไร้สารพิษ สรุปคือ ตอนนี้ทางกลุ่ม เพิ่นมีความพร้อมที่จะเฮ็ดเกษตรสะอาด แต่เพิ่นยังต้องการองค์ความฮู้ วิธีการเฮ็ด วิธีการปลูก การปรุงดิน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งทางคุณลุงอำนาจ หมายยอดกลาง ก็จะส่งเสริมสนับสนุนในส่วนนี้เพื่อให้พี่น้อง ปชช.คนลาว ได้มีสุขภาพแข็งแรง มีครอบครัวอบอุ่นล่ะกะมีรายได้ที่ดีนำ
ชมวิดีโอ HD