ก.ค.232018คอลัมนิสต์ชาวอโศกนสพ.เราคิดอะไรสื่อสารเราคิดอะไร/ลูกอโศกฯ ฟ้าสาง “จนได้ ถ้าใจเราเพียงพอ” ถ้าพูดถึง “ความจน” เชื่อว่าคงเป็นสิ่งที่ทุกคนอยากหลีกหนี ไม่อยากพบเจอ ไม่อยากไปสู่จุดนี้ ไม่อยากเกิดมา “จน” ซึ่งมันก็คงดูไม่แปลกในสังคมทุนนิยมในปัจจุบัน เพราะค่านิยมในสังคมทุนนิยม ปลูกฝังให้เราเทิดทูน บูชา “เงินทอง” เป็นประดุจดั่งพระเจ้า เงินจะดลบัลดาลได้ทุกสิ่ง เงินจะให้ความสุขเราได้ทุกอย่าง หรือแม้กระทั่งเงินสามารถทำให้เราอยู่เหนือกว่าคนอื่นๆ จนค่าราคาของความเป็นมนุษย์ไม่เท่ากัน เพราะเงินที่มีไม่เท่ากัน จนเหมือนอยู่กันคนละโลก แต่ในโลกของบุญนิยม หลวงปู่สมณะโพธิรักษ์สอนให้เรา “มุ่งมาจน” เดินตามรอยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ท่านเป็นถึงลูกกษัตริย์ที่แสนร่ำรวยเหนือใคร แต่ท่านก็สละสิ่งเหล่านั้น เพื่อมาเป็น “คนจน” ให้ชาวพุทธได้ประจักษ์ว่า หนทางแห่งพระนิพพานมิใช่การแสวงหาความสุขนอกตัว มิใช่ความหลง การติดเสพรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส แต่ทว่าเป็นการสละซึ่งความสุขจอมปลอมเหล่านั้น มาสู่ความสุขที่แท้จริงของชีวิต นั่นคือการไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่หลงติด ไม่เพิ่มพูนกิเลสตัณหา อุปาทานให้จิตวิญญาณ และมุ่งเพียร ลด ละ เลิกสิ่งที่หลงติด ยิ่งปฏิบัติได้มากเท่าใดๆจิตก็เป็นอิสระจากกิเลสได้มากขึ้นเท่านั้นๆ ในการจัดค่ายเพื่อพัฒนาเยาวชนของชาวอโศก ซึ่งชาวบวรภูผาฟ้าน้ำได้รับหน้าที่เป็นผู้จัดค่ายนั้น จึงได้มีแนวทางที่จะปลูกฝัง “ความจน” หรือ “ความพอเพียง” ความพอใจในสิ่งที่ตนมีให้กับเยาวชนของเรา เพื่อที่จะให้เยาวชนเหล่านี้ได้มีความรู้ ความเข้าใจถึงสาระสัจจะที่แท้จริงของชีวิต ว่าไม่ต้องมีมากก็ได้ ไม่ต้องมีอะไรสมบูรณ์พร้อมก็ได้ มีเท่านี้ พอมี พอกิน และมีความสามารถที่จะพึ่งพาตนเองได้ จนท้ายที่สุดเป็นที่พึ่งให้กับผู้อื่นได้ ก็ถือว่าเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่งของชีวิตแล้ว ค่าย สร้าง “คนจน” สุขสำราญเบิกบานใจ ในการเตรียมงานพุทธาภิเษก สุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ ๔๒ ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ณ บวรปฐมอโศก จังหวัดนครปฐม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ของชาวอโศก เทอมการศึกษาที่ ๒ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๐ จึงได้มีเป้าหมายของการจัดค่าย เพื่อให้นักเรียนได้มาพัฒนาคุณธรรมในตน ฝึกลดละการเอาแต่ใจตนเอง และเสริมสร้างสัมมาทิฏฐิในหมู่มวลมิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี และเพื่อเตรียมงานพุทธาภิเษก สุดยอดปาฏิหาริย์ ครั้งที่ ๔๒ ซึ่งถือเป็นงานที่สำคัญของชาวอโศก ฉันได้รับมอบหมายให้เป็น “ผู้ประสานงานค่าย” ครั้งแรก ซึ่งโดยปกติแล้วฉันจะได้รับหน้าที่ในการเป็นฝ่ายบูรณาการ แต่ค่ายนี้ไม่มีการบูรณาการจึงได้มาฝึกงานในหน้าที่อื่นๆ ซึ่งก็ถือเป็นโอกาสอันดีที่ฉันจะได้เรียนรู้ และได้ประสบการณ์ในการทำงานเพิ่มขึ้น ภายใต้การแนะนำของพี่ๆ และทีมงานที่คอยช่วยกันทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ โดยในค่ายนี้จะมีการจัดค่ายในรูปแบบคล้ายๆค่าย “ยุวพุทธทายาท” คือ น้องๆนักเรียนแต่ละกลุ่มจะได้พักอยู่ตามบ้านในชุมชน โดยมีคุรุ พี่เลี้ยงคอยดูแล หนึ่งกลุ่มก็จะอยู่ด้วยกันในบ้านหนึ่งหลัง และจะต้องฝึกฝนการอยู่ร่วมกัน การช่วยเหลือกัน และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ การดูแลรักษาความสะอาดในบ้าน รวมไปถึงการฝึกทำอาหารกินเอง น้องๆจะได้ฝึกการพึ่งตนเอง จนเป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้ ได้เรียนรู้การก่อไฟแบบสามเส้า หาฟืนเองตามธรรมชาติ การหาวัตถุดิบทำอาหารเองจากสวนต่างๆ หรือผักที่มีในชุมชน ด้วยความคิดสร้างสรรที่จะปรุงเป็นอาหารไร้สารพิษเลี้ยงตัวเองและคุรุในกลุ่ม ตลอดจนได้ถวายท่านสมณะ สิกขมาตุประจำกลุ่ม ที่ท่านจะได้รับนิมนต์ไปตามบ้าน เสมือนงานขึ้นบ้านใหม่เลยทีเดียว และในคืนสุดท้ายของค่ายยังมีกิจกรรมรอบกองไฟ ที่จะให้น้องๆได้มาประกวดอาหารจากความคิดสร้างสรร ที่แต่ละกลุ่มสามารถสรรหาวัตถุดิบในท้องถิ่นที่มี มาปรุงเป็นอาหารที่แปลกใหม่ และรสชาติดีได้อย่างน่าประทับใจหลายกลุ่มเลยทีเดียว รวมไปถึงกิจกรรมการแสดงสะท้อนคุณธรรม ถึงอานิสงส์ของการรักษาศีล ๕ ซึ่งน้องๆก็สามารถแสดงออกได้อย่างมีความสามัคคี และเข้าใจถึงอานิสงส์ของการรักษาศีลแต่ละข้อได้ชัดเจนยิ่งขึ้น การที่เราจะมาเป็นคนจนที่เบิกบานใจได้ ต้องเริ่มตนที่การพึ่งตนเองให้ได้ก่อน ฝึกลดละความอยาก รู้จักพอเพียง พอใจในความเรียบง่าย ธรรมดาๆ ไม่ต้องหรูหรา ไม่ต้องมีสิ่งบำรุงบำเรอกิเลสมาก แต่เราจะยิ่งมีความสุขแท้ที่มากมาย ได้เห็นน้องๆมีความสุขกับการเป็นคนจนมหัศจรรย์ได้แบบนี้ คุรุ อาๆ พี่ๆก็ดีใจที่เราสร้างคนจนที่สุขสำราญเบิกบานใจได้สำเร็จแม้จะเพียงช่วงเวลาสั้นๆก็ตาม [embedyt] https://www.youtube.com/watch?v=T9m5JVjjBgs[/embedyt] Categories: คอลัมนิสต์ชาวอโศก, นสพ.เราคิดอะไร, สื่อสารBy Faklairung23 กรกฎาคม 2018 Author: Faklairung Post navigationPreviousPrevious post:610723_พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ ตอบปัญหาให้มีสภาวะอันพ้นตรรกะNextNext post:ลูกกตัญญูที่ดี ควรเป็นอย่างไรRelated Postsหนังสือ e-book ทางเอก ภาค ๓ “สัมมาสัมพุทธสาวก”(ผู้เขียน) โดย พ่อครูสมณะโพธิรักษ์11 มีนาคม 2025หนังสือ e-book ทางเอกภาค ๒ โดย พ่อครูสมณะโพธิรักษ์11 มีนาคม 2025หนังสือ e-book ทางเอกภาค ๑ โดย พ่อครูสมณะโพธิรักษ์11 มีนาคม 2025หนังสือ e-book ทางเอก ภาค ๓ “สัมมาสัมพุทธสาวก”(ผู้เขียน) โดย พ่อครูสมณะโพธิรรักษ์9 มีนาคม 2025ฉบับที่ ๕๗๗ (๕๙๙) นสพ.ข่าวอโศก รวมปักษ์ มกราคม ๒๕๖๘14 กุมภาพันธ์ 2025ฉบับที่ ๕๗๖(๕๙๘) นสพ.ข่าวอโศกรวมปักษ์ เดือน ธันวาคม ๖๗30 ธันวาคม 2024