ธรรมปัจจเวกขณ์ (6)
23 กุมภาพันธ์ 2519 ณ พุทธสถานแดนอโศก
ผู้ที่มาร่วม ณ ที่นี้ แม้แต่จะเป็นผู้ที่พึ่งจะมาปฏิบัติมาใหม่ ก็จะต้องพยายามเรียนรู้ ฟังคำอธิบายจากภาษา ในเวลาเรียนก็อาจจะสูง ก็พยายามเรียนรู้เบื้องต้นกับพวกรุ่นพี่ๆ รุ่นก่อน ซักถามรายละเอียดต่างๆ อะไรที่ยังไม่เข้าใจ เท่าที่เราเคยรู้มาบ้างหรือยังไม่รู้เลย ก็ถามเอาเลย เราควรจะรู้อะไรก่อน อะไรหลัง ควรจะเอามาพิจารณาอะไรกับตน มาตั้งหลักหรือว่าตั้งศีล ตั้งกรรมฐาน ตั้งข้อบังคับให้แก่ตน เพื่อตนจะได้ปฏิบัติเข้ารูปเข้ารอบ จะได้ลดจะได้ละไปตามหลัก หรือว่าตามศีลหรือตามกฎข้อ ที่เราจะกำหราบตน มันเอาแต่ใจตน มันตามใจตน มันเอาตามใจกิเลสนั่นแหละ มานานแล้วหลายๆอย่าง
เข้ามาอยู่ที่นี่ เรามีการกินการอยู่ การไปการมา การเดินการเหิน การหลับการนอน การมีอิริยาบถต่างๆ เราจะต้องพยายามสังเกตจากรุ่นพี่ เรียนรู้ อะไรเหมาะอะไรควร อะไรทำไมถึงต้องทำอย่างนั้น ทำไมถึงเป็นอย่างนี้ ถามไปเลยอย่าสงสัย ถ้าเห็นว่าไอ้นี่ไม่เข้าใจถาม มีประโยชน์อะไรในการทำอย่างนี้ ถามให้รู้ เพราะบางสิ่งบางอย่างดูแล้ว มันคล้ายๆกับว่า มันทรมาน แล้วมันก็ทรมานนั่นแหละ เราทรมานกิเลส เราทรมานสิ่งที่มันมา เป็นเจ้านายเรานานแล้ว เราจะฆ่าให้มันตาย หรือแม้ในขณะทรมานนั้น เราก็จะได้เห็นความดีดดิ้นของจิต ที่มันเป็นกิเลสนั่นแหละ หรือจิตนั่นแหละมันซ้อนอยู่ด้วยกัน มันดิ้นให้เราเห็นตัวดิ้นนี่แหละ เป็นตัวดิ้นรนตัวทุกข์ เป็นตัวที่ทรมาน เป็นตัวที่ต้องทนยาก ตัวลำบาก เราเห็นดังนั้นคือทุกข์ในอริยสัจ ตัวดิ้นเราจะต้องรู้ทุกข์อริยสัจตัวนี้ มันดีดดิ้นมันเป็นตัณหา มันเป็นกิเลส มันเป็นตัวอยากใคร่ มันเป็นกามะ มันเป็น รต หรือ รช อะไรก็แล้วแต่ ภาษาเรียกเยอะ มันเป็นความใคร่อยาก เป็นความดิ้นรน เป็นความที่อยากได้มาสมใจ เราเห็นแล้ว เราก็จะต้องพยายาม หาวิธีข่มมันให้หยุดดิ้น บี้มันให้ตาย กดมันให้ลืมมัน ทิ้งมัน สลัดมัน ภาษาพูดมีหลายภาษา แต่การกระทำต้องทำให้ได้จริง อย่าให้มันมีอาการนั้นๆ อย่าให้มีอาการทุกข์นั้นอยู่ที่จิตนั่นแหละ ถ้าอธิบายด้วยสมุทัยหรือเหตุ เพราะว่าจิตของเราไปติด จิตของเราไปยึดสมมุติ ไปหลงมาเก่า จึงมาอยากมาใคร่ เขาหลอกมา เขาก่อมา เขาสร้างมา เขาปรุงมา แล้วเราก็ไปยึดเอาตามนั้นมา ตั้งแต่ปางไหนๆก็ไม่รู้ มันไม่รู้ก็มี หรือมันรู้ว่ามันติดเอาปางนี้แหละ เกิดมาชาตินี้ มันก็มารู้ว่า อ๋อเราถูกหลอกมา เมื่อนั่นเมื่อนี่ก็รู้ ถ้ารู้แล้วเราถูกหลอกมา เราไปติดยึดตามมา เราก็มาล้าง นั่นเป็นหลักแห่งการพิจารณา ถ้างั้นตบะธรรม หรือว่าการประพฤติ เพื่อที่จะกดอดข่มทนอยู่ ในความลำบากบ้าง ให้เห็นความลำบากดิ้นขึ้น ตัวเราติดอะไรนั่นเป็นสำคัญ รู้ก่อน อย่างพึ่งไปอดทน หรืออย่าพึ่งไปปฏิบัติตบะธรรม โดยที่สิ่งนั้นๆ เราไม่ได้ติด เราไม่ได้ยึด เราไม่ได้ไปเสพย์อะไร แต่เอามากดข่มทรมานตนเฉยๆ โดยที่เราไม่ทรมาน มันก็ไม่มีผลอะไร เพราะเราไม่ได้ติดสิ่งนั้น ไม่ได้เห็นทุกข์ในสิ่งนั้น ไม่ได้มีทุกข์ในสิ่งนั้น เราว่างๆด้วยซ้ำไป แต่ก็ไปหาเรื่องมาทรมานกาย เป็นอัตตกิลมถานุโยค ก็ไม่เอา จนกว่าเราจะต้องล้างสิ่งที่เราติดจริง นั้นให้หมดเสียก่อน
ทีนี้อยากจะทำให้พละอินทรีย์มากขึ้น จะมีการสูงขึ้นด้วยการอดข่ม หัดอดหัดทนเพิ่มขึ้น เพื่อที่จะรู้ความลึกซึ้งของกาย ของมโน เช่น ฝึกอดข้าวมากขึ้น เป็นต้น หรือว่าเดินเหิน หรือว่าทำอะไรก็ตามแต่ ที่จะมีความเจ็บความอะไรเพิ่มขึ้น ก็เพื่อที่จะให้มันเก่งขึ้น ด้วยอินทรีย์พละแข็งกล้าขึ้น ถ้าสิ่งที่มันเจ็บมันทนมากขึ้นนั้น เราทนได้อยู่ เราก็จะเป็นผู้มีอินทรีย์พละ แข็งกล้าขึ้น มีอิทธิวิธี ถ้าเผื่อว่ามันจะจรมา มันจะไปเจอในอนาคต เราก็จะเป็นผู้ที่อยู่เหนือมันได้ เพราะว่าเราได้รู้แล้ว แล้วก็ปลดทุกข์ได้แล้วด้วย มันแข็งกล้าขนาดนี้ เราก็สามารถสู้ได้โดยไม่หวั่นไหว โดยไม่หมองเศร้า โดยยิ้มแย้มได้อยู่ทีเดียว เราก็อยู่เหนือความทุกข์นั้น นั่นเป็นการที่จะเพิ่มภูมิ เพิ่มอินทรีย์พละ ก็ค่อยหัดไปฝึกปรือไปตามลำดับๆ เบื้องต้นต้องพยายามรู้ เบื้องต้นก็คือ ที่ตนติด ที่ตนมีอยู่จริง ที่ตนไปเที่ยวได้หลงเสพย์ หลงเสวยว่าเป็นสุข หลงติดว่าเป็นความอยากได้ อยากมีอยากเป็นจริงๆ รู้ที่ตนให้ได้หมด แล้วล้างที่ตนให้หมด เอาอันนี้เสียก่อน เป็นส่วนสำคัญ.