610714 เทคนิคการปล่อยวางความยึดและอยู่กับปัจจุบัน
14 ก.ค. 2561 ป้าขาว(สีพลบ)กับลูก(พิมพ์บูชา) มาพบพ่อครู
พ่อครู : โอ้ย จะไปว่าไงเล่า ก็คน
คุณป้าขาว : สัปปุริสธรรม นี่ทำยากมากเลยค่ะ
พ่อครู : เอ๊ย คนมันก็แต่ละจริต แต่ละจิตใจ ใครยึดติดยังไง ถือยังไง มันแต่ละคน มันเหมือนกันที่ไหน
คุณป้าขาว : ใช่ แต่เราต้องมองเราไง เราเห็นไง ว่ามันชัด
พ่อครู : ใช่ เรามีหลักเกณฑ์ ตามพระพุทธเจ้าท่านสอน เราเองก็ต้องดูจิต ที่มันทำให้เราทุกข์ มันทำให้เรามีพฤติกรรมอะไรจากอันนี้เป็นเหตุ ให้เรามีพฤติกรรมที่ไม่ดีอะไรๆ มันมีพลังงานกิเลส พลังงานตัวเหตุตัวนี้ คือมันมีอำนาจในตัวเรา คำสอนพระพุทธเจ้าท่านมีให้เลือกตัวนี้แหละ สำคัญแล้วก็จัดการมัน แล้วมันมาทำให้เรามันทุกข์ มันทำให้เกิดผลักดันให้เราต้องออกกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อะไรมันไม่ดี มันเป็นตัวเหตุไม่ดี มันเป็นผีร้าย ก็อย่าให้มันมีอำนาจ อย่าให้มันมีพลังงานขึ้นมากับตัวเรา มีอิทธิพลต่อตัวเรา ก็เท่านั้นเอง ทำได้จนกระทั่งเราไม่เกิดเลย ไม่ว่าจะกระทบยังไง เราก็ไม่เกี่ยงไม่งอน ในแง่นั้นแง่นี้ เชิงนั้น เชิงนี้ วางเฉยกลางได้สบ๊าย สบาย ใครไม่เชื่อก็อย่าเชื่อ
คุณป้าขาว : เนี่ย พิมพ์เขาฟัง เขาบอกเนี่ยฟังแล้วเนี่ยของพุทธมันต้องมีเทคนิคการปฏิบัติที่จะให้ทุกข์ออก ถามว่ามีอะไรบ้าง บอกแต่ละคนก็ของแต่ละคน ใช่ไหมฮะพ่อท่าน มันๆวิธีการที่จะทำ
พ่อครู : ที่เกิดอาการทุกข์นั่นอยู่ที่ใจ ทีนี้พระพุทธเจ้าท่านลึกลงไปอีก ต้องมองเหตุก่อนว่าเราไปยึด ยึดอย่างนั้น ยึดอย่างนี้ เราก็อย่าไปยึดซะมันก็จบ
คุณพิมพ์บูชา : นั่นหละค่ะ ทำยังไงคะพ่อท่าน มีเทคนิคยังไงคะ
พ่อครู : ถ้าไปยึดมันก็ทุกข์ ถึงยึดยังไงมันก็ไม่เที่ยง ยึดยังไงเดี๋ยวมันก็เปลี่ยนไป อย่างน้อยที่สุดในกาละเวลานี้ เรายึดปุ๊บ เดี๋ยวมันก็จะมีเหตุอื่นละ มันก็จะไม่อยู่กับอันนี้อีกแล้ว ก็เปลี่ยนไปแล้ว แล้วเราก็จะไปมัวจิตสั่งสมลงไป เอ้ย ไอ้นี่ไม่ได้นะ แตะปั๊บข้าจะต้องอย่างนี้ แตะปั๊บข้าจะต้องอย่างนี้ แล้วก็ไปอันอื่นก็ไปติดใจอย่างนั้นอีก ไอ้นี่ก็แตะปั๊บข้าอย่างนี้ แตะปั๊บอย่างนี้ ตกลงมันมีเข้ามากมายเข้าแล้วคุณจะทุกข์หนักขนาดไหนอ่ะ
คุณป้าขาว : ก็เมื่อคืน พ่อท่านก็พูดเรื่องการล้างอุปทาน ท่านเคยพูด ก็เพิ่งเข้าใจ
คุณอานิ่ม : อย่างนี้ก็กลายเป็นไม่อยู่กับร่องกับรอยไปเรื่อยๆ
คุณป้าขาว : ไม่ใช่
พ่อครู : คุณจะไปพูดใส่ความ ดูถูกอย่างนั้นก็ได้ ไอ้นี่มันสุดยอดแห่งความเจริญสูงสุด แล้วคุณก็บอกว่าเป็นคนไม่อยู่กับร่องกับรอย เป็นคนไม่ติดใจต่างหาก เป็นคนไม่ยึดมั่นถือมั่น เป็นคนไม่ติดใจ อยู่กับปัจจุบัน เหตุนั้นเหตุนี้โดยเรามี สัปปุริสธรรม 7 เรามีมหาปเทส 4 เพื่อที่จะวินิจฉัยในเหตุปัจจัยทุกปัจจบันที่มันมา มันเกิดอะไรขึ้น แรงเบาอย่างไร มันจะมี เกิดกรรมที่จะต่อไป มันจะมีอะไรเกิดขึ้นไปต่อข้างหน้าๆๆๆ ยังไง ดีหรือไม่ดี ก็พิจารณาเอาอันนี้ แล้วก็จัดการให้มันดีที่สุด ก็จบแล้ว เราจะไปยึดอยู่ว่าจะต้องเป็นตามเราคิด เอาปัจจุบัน สบายที่สุด
คุณป้าขาว : พ่อท่านคะ คืออย่างที่ดิฉันทำมา 8 เดือน จากโจทย์อันนี้ แล้วดิฉันก็เห็นเลยว่า ทุกนาทีอะไรเงี้ย จนเห็นว่า เออ เรารู้จักความไม่เที่ยงของกิเลส อย่างนี้เรายึดไหม พอมันมาเจอโจทย์ อย่างกลับบ้านพอจิตตกมันขึ้นมาละว่า เอ้อ รู้สึกละว่าเหมือนว่าบ้านเงียบ อาการเห็น เศร้าลึกๆ เราก็จากที่เราทำผ่านมาเราก็รู้แล้วว่าเราเคยมีอาการอย่างนี้ หนักกว่านี้อีก ตอนแรกๆ แล้วเราก็รู้ว่าพอผ่านมาๆ พอมีขึ้นเนี่ย เราปรับเลยว่า อ๋อ มันไม่เที่ยง เราเห็นตัวไม่เที่ยงแล้วเนี่ย อันนี้ดิฉันยังไม่แน่ใจว่า ดิฉันเข้าใจแท้ไหม
พ่อครู : คำว่าไม่เที่ยงเนี่ย มันไม่เที่ยง
คุณป้าขาว : คือเราเคยเห็นมันไงคะ
พ่อครู : มันก็เป็นความรู้ชนิดหนึ่ง ว่าไม่เที่ยง เราไปยึดเอาความไม่เที่ยงจะให้มันเป็นอย่างที่มันเป็นอยู่ มันไม่ได้ มันเปลี่ยนไป มันก็เคลื่อนไป แปรรูป แปรเรื่องไป มันก็ไม่เที่ยง เพราะงั้นเราก็ไปยึดไม่ได้ ความหมายมันก็แค่นั้นเอง ถ้าไปยึดอยู่มันก็ทุกข์ ยิ่งไปยึดว่าจะต้อง ต้องเป็นอย่างนี้ ต้องเป็นอย่างนี้ มันก็ยิ่งทุกข์ใหญ่เลย มันจะเป็นไปยังไง มันเคลื่อนไปแล้วอ่ะ
คุณป้าขาว : ใช่
พ่อครู : มันก็เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
คุณป้าขาว : จะบอกวิธี แม่ใช้อย่างนี้เลย พอเห็นแล้วว่า เอ้อ มันก็คือโจทย์เดิม เราก็อ่านอาการ มันไม่หนักอย่างคราวก่อน ดีว่าเราไม่เศร้ามาก เบา เราก็เลย เฮ้อ กิเลส ฉันรู้ว่าเป็นแก ฉันไม่ยอมแกหรอก ออกไปจากฉันนะ มันก็โล่งไปเลย
พ่อครู : ก็ดี ๆ ก็อย่างนั้นก็ดี ทีนี้เมื่อมันโล่งแล้ว มันไม่ต้อง กิเลสตัวนั้นมีอำนาจมีอิทธิพลอะไรกับเราแล้ว เราก็จัดการกับปัจจุบันนี่ไง
คุณป้าขาว : ก็อยู่กับปัจจุบัน
พ่อครู : ปัจจุบัน นี่มันมีอะไรหล่ะ มันมีอะไรมา เราก็เอาสิ่งที่เกิดในปัจจุบันมาวินิจฉัย อ่า อันนั้นมันจะดี
คุณป้าขาว : พ่อท่านสอนไงว่า เออ ตอนนี้ทำอะไรอยู่
พ่อครู : ไม่ใช่เราเป็นคนโง่ ว่า เอ้อ เราเอาแต่ปัจจุบันโดยเราไม่รู้ว่าเราทำอันนี้แล้วมันจะไป สิ่งที่มันเกิดตามมาเป็นอดีตนี่แหละ เป็นผลจากปัจจุบันนี่แหละ แล้วเราก็มารู้ว่า ผลจากปัจจุบันที่เราทำแล้วเป็นอดีต มันเสียหายนะ ไม่ใช่ว่าเราจะโง่ซะจนไม่รู้ว่ามันจะเสียหาย เราก็พอรู้ เพราะฉะนั้น โดยจริงๆแล้วมนุษย์มันไม่อยากจะให้อะไรเสียหายหรอก ใช่ไหม เป็นสามัญสำนึก คนธรรมดาเป็นสามัญ ไม่เช่นนั้นถ้าเรามีความสำนึกกับมันนิดหน่อยเท่านั้น มันก็พยายามต่อแล้ว สำนึกต่อมันนิดหน่อย เพราะโดยสัญชาตญาณมันก็เป็นอย่างนั้นอยู่แล้วสามัญสำนึก ใครอยากให้อะไรเสียหาย ไม่มีใครอยาก เพราะงั้นเราก็เอาพลังงานเข้ามาร่วม มันก็จะน้อยลง ไม่งั้นเรื่องมันจะเยอะ
คุณพิมพ์บูชา : ไม่ค่ะ แต่บางครั้ง แบบว่า พิมพ์ใช้แบบ ไม่คิดมันอ่ะค่ะ พ่อท่าน
คุณป้าขาว : ยกตัวอย่างสิ ที่ยกกับท่านธัมมา
คุณพิมพ์บูชา : คือแบบว่า ไม่คิดมันดีกว่า
พ่อครู : ไม่คิดมันเลย ไม่เกิดการพัฒนา ไม่เกิดการทำงาน ไม่เกิดการก้าวหน้า มันก็กลายเป็นซื่อบื้อๆๆ สมรรถภาพ สมรรถนะอะไรศูนย์หมด แล้วกัน
คุณป้าขาว : อันนี้ถือว่าหนีทุกข์ หนีปัญหา หนีอุปสรรค
พ่อครู : ไม่ใช่หนีอุปสรรคเท่านั้น ตัวเองเนี่ย ถ้ามันเกิดกรรมกิริยาอย่างนั้นเกิดขึ้น เกิดพฤติกรรมอย่างนั้น คนๆนี้ก็ยิ่งจะหมดสมรรถนะ หมดสามารถ หมดการงาน ความชำนิชำนาญ ความเป็นทักษะอะไร คุณยิ่ง down ลง แย่ลงๆๆ หมดเลย
คุณพิมพ์บูชา : ใช่ ก็จริงค่ะท่าน แต่ว่ามันเหมือนใช้พลังงานเยอะมากค่ะ ไม่ได้บอกว่าขี้เกียจนะคะแต่มันเหนื่อยค่ะ ถ้าสมมติเราพยายามไปคิด
พ่อครู : ก็ไม่ได้ให้ทำมากไง ทำมากมันก็เหนื่อย ก็บอกแล้ว
คุณพิมพ์บูชา : พิมพ์คุยกับท่านธัมมา บอกว่า อย่างแบบ เพื่อนร่วมงานค่ะ เราก็รู้ว่าเขาเป็นคนดี ใช่ไหมค่ะท่าน เขาไม่ต้องมีความพยายามมากในการที่จะทำอะไรออกมา แล้วเขาก็ทำสำเร็จ ทำไมเขาง่ายจังเลย เราก็แบบอิจฉาเขา แต่ลึกๆเราก็รู้ว่าอิจฉาไม่ดี แล้วคืออีกอย่างเราไปอิจฉาเขา ทั้งๆที่เราก็รู้ว่าเขาเป็นคนดี เราก็จะรู้สึกแบบแย่ อะไรแบบนี้ค่ะ เราก็เลย จริงๆก็ไม่ได้คิดอะไรมาก
พ่อครู : มันก็ดีแล้ว เรารู้สึกว่าเราแย่ เพราะว่าเราไม่ดีอย่างที่เขาดี มันก็เป็นความสำนึกชนิดหนึ่งนะ
คุณพิมพ์บูชา : ใช่ค่ะ
พ่อครู : ก็ดี เราก็แก้ไขสิ รู้สึกแย่ แล้วเราก็เลยอ่อนแรง ไปตามที่เรารู้สึกแย่ มันก็ไม่เข้าท่า เราก็เข้าใจให้ได้ เราแย่ เราแก้เสีย
คุณพิมพ์บูชา : พิมพ์ก็เลย พิมพ์ก็ไม่รู้ว่าพิมพ์ทำถูกรึเปล่าคะ พิมพ์ก็เลย เอางั้น ถ้าสมมติเขาแบบเก่งจริงๆ เราก็ขอให้เขาช่วยเราอะไรอย่างเนี้ยค่ะ เราก็เลยเปลี่ยนเป็นว่า เออ ลองให้เขามาช่วยเรา แล้วถ้าเขายอมที่จะช่วยเรา เราก็รู้สึกดีกับเขา ถ้าสมมติเราก็ไม่รู้เหมือนกัน ถ้าสมมติเราขอให้เขาช่วยเรา เราแล้ว เขาปฏิเสธ มันจะยิ่ง ความรู้สึกที่มีต่อเขาจะแย่ลงกว่าเดิมหรือเปล่า
คุณป้าขาว : เราต้องอ่าน อ่านเอง แล้วก็ เห็นว่าอันนี้ไม่ดี ทำๆไปแล้วเราจะรู้
ในสวนดาว…ถอดความ
[embedyt] https://www.youtube.com/watch?v=Qls3UzQ6POo[/embedyt]