610930_วิถีอาริยธรรม ศีรษะอโศก วรรณะ 9 และ อวรรณะ 9 อันสุดลึกซึ้ง
อ่านทั้งหมดที่ หรือดาวโหลดเอกสารที่… https://docs.google.com/document/d/1L7p3cAqL8IR_skkUdx6VGvqBgAk_-2amS6wFIinNcXE/edit?usp=sharing
ดาวโหลดเสียงที่.. https://drive.google.com/open?id=1Kuu_U0y_ctdrsT8xY0fzfRQxFamCehth
สมณะฟ้าไทว่า…วันนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน 2561 ที่บวรศีรษะอโศก วันนี้เรามาจัดรายการที่อาคารปัจจัยชีวี เป็นงาน 42 ปีศีรษะอโศก รำลึกบรรพชน – แพทย์แผนไทย ยุค 4.0 เลข 4 หมายถึงอะไรนะ คงจะหมายถึงพระอรหันต์ เพราะอรหันต์หมายถึงเลข 4
4.อรหันต์โพธิสัตว์ 5.อนุโพธิสัตว์ 6.อนิยตโพธิสัตว์ 7.นิยตโพธิสัตว์ 8.มหาโพธิสัตว์ 9.พระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เราเป็นคนดีต้องมาอยู่ร่วมกันถึงมีฤทธิ์ จึงมีผลสูง ที่บ้านราชฯมีเกษตกรมาอบรม ก็บอกว่าที่นี่อุดมสมบูรณ์มาก เราอยู่ร่วมกันมีหลักของศาสนาอยู่แล้วว่า ต้องมีความระลึกถึงกัน มีความรักกัน เคารพกัน เกื้อกูลกัน ไม่ทะเลาะวิวาทกัน เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ถามเกษตรกรว่าอยู่ที่นี่ 5 วันเห็นคนทะเลาะกันไหม ก็ไม่เห็นมี ชาวอโศกจึงมีความเป็นปึกแผ่น แต่พ่อครูก็ต้องอยู่ต่อเพราะพวกเรายังเป็นอิฐมวลเบาอยู่ยังไม่แข็งแรงมากพอ พ่อครูจึงต้องอยู่เพื่อพัฒนาพวกเราต่อ
พ่อครูว่า…อาตมานำพาสิ่งที่ทำด้วยความจริงใจมั่นใจที่สุดเลย ว่าอาตมาไม่มีเศษเสี้ยวอะไรของสิ่งที่หลอกลวง สิ่งที่มาโป้ปดมดเท็จ มาหาผลประโยชน์ใส่ตนเอง ไม่มีเลย มีสิ่งที่วนเวียนมาหาอาตมาก็เพื่อที่จะวนออก ไปสู่คนอื่นยิ่งขึ้นเรียกว่านาบุญ นอกหน่วยเป็นหมื่นพันแสนออกไปให้คนอื่นเรื่อยๆเป็นนาบุญที่เจริญที่อุดมสมบูรณ์เป็นเช่นนั้น ตัวเองไม่ได้ยักอะไรเอาไว้เลย
มาเข้าสู่เนื้อแท้ของสัจธรรมพระพุทธเจ้า
ธรรมะ 2 มีส่วนตัวกับส่วนรวม พระพุทธเจ้าสอนให้เราเป็นคนชั้นสูงเรียกว่ามีวรรณะ ส่วน อวรรณะ นี้คือคนชั้นต่ำ
อวรรณะ อวรรณะ 6(คนไม่รู้จักพอเพียง คือ คนให้โทษแก่สังคม)
-
เลี้ยงยาก (ทุพภระ)
-
บำรุงยาก (ทุปโปสะ)
-
มักมาก (มหัปปิจฉะ)
-
ไม่รู้จักพอ (อสันตุฏฐิ)
-
เกียจคร้าน (โกสัชชะ) หรือกุสีตะ
-
คลุกคลีหมู่คณะ(คลุกกองกิเลส) (สังคณิกา)
(พตปฎ. เล่ม 1 ข้อ 20) ตรงข้ามกับ วรรณะ 9
สังคณิกา ท่านแปลว่าไม่คลุกคลีกันเป็นหมู่คณะ อาตมาเห็นแย้งว่า ศาสนาพุทธเจ้าต้องอยู่รวมกันเป็นปึกแผ่นเป็นกลุ่มหมู่ที่ยิ่งใหญ่ด้วย นัยยะสำคัญคือ มันมีคณะคนพาลกับคณะบัณฑิต ต้องแยกกันตรงนี้ อเสวนาจพาลานัง ปัณฑิตาจเสวนา ต้องคบคุ้นผนึกแน่นหมู่บัณฑิตให้มาก ส่วนพาลชนมากเราก็ต้องหนีให้ห่างหลายโยชน์ ส่วนพาลชนที่ไม่มากก็ค่อยๆพัฒนาเขาให้เป็นบัณฑิตให้ได้ ต่อไป
อวรรณะคือพวกวรรณะต่ำ
ทุภโร เลี้ยงยาก สุภโร เลี้ยงง่าย ทุโปสะ คือพัฒนาว่านอนสอนยาก ถ้าสุโปสะ คือพัฒนาสอนให้เจริญง่าย ทุโปสะคือพวกรวยไม่จบรวยไม่สิ้นสุดเป็นพาลชน
อสันตุฏฐิ คือไม่สันโดษ ใจไม่รู้จักพอตะกละมากขึ้นเรื่อยๆสะสมกอบโกยไม่สิ้นไม่หยุด
กุสีตะหรือโกสัชชะ คือขี้เกียจหนักมากขึ้นเรื่อยๆไม่เอาถ่านไม่ทำกรรมการทำงาน
สังคณิกา มันต้องชัดเจน ในนัยยะสำคัญว่า ไม่ใช่ไม่รวมหมู่คณะ อสังคณิกา ส่วนสังคณิกา รวมหมู่รวมคณะถือว่าอวรรณะ รวมหมู่กลุ่มก้อนเป็นเรื่องไม่ดี มีนัยยะแยกว่าต้องรวมหมู่บัณฑิตให้แน่นให้มากใหญ่จึงจะทำประโยชน์ได้มาก
อสังคณิกา จึงมีนัยยะ 2 อย่างว่ารวมหรือไม่รวม ในโลกนี้มีธรรมะ 2 จะมีส่วนที่ผิดกับส่วนที่ถูกอยู่ตลอดกาลเลย ถ้ายังมีอยู่นี้จะต้องมีธรรมะ 2 อันหนึ่งถูกอันหนึ่งผิดอันหนึ่งดีอันนึงไม่ดี กลับกันไปกลับกันมาเปลี่ยนกันไปเปลี่ยนกันมาเจริญขึ้นเป็นแบบก้นหอย เป็นวงวนที่พัฒนาขึ้น ไปซ้ายไปขวาสลับกัน แต่ว่ามันเป็นการเจริญขึ้น สังเคราะห์สังขารขึ้นเป็นคนใหม่ อธิบายซ้ำซาก เบื่อไม่ได้ อาตมาเบื่อแล้วคนไม่เจริญต่อ ต้องไม่เบื่อ โพธิสัตว์นี่เบื่อไม่ลงหรอก ในเรื่องที่จะพัฒนาอะไรให้เจริญต่อไป โพธิสัตว์เจริญสูงสุดจนกระทั่งสุดท้ายจบกิจเป็นพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งก็จบแล้ว มันยังไม่เป็นไม่ถึงขั้นนั้นก็พัฒนาต่อไป
มาแยกเฉพาะตัวกับส่วนรวม เป็นธรรมะ 2 เราจะต้องมีตัวเราส่วนตัวกับหมู่กลุ่ม ก็ต้องอยู่ด้วยกันแยกกันไม่ได้ ตัวเราต้องรวมกับหมู่กลุ่ม หมู่กลุ่มก็ต้องมีเรา One For all All for one
เอโกปิ หุตฺวา พหุธา โหติ, พหุธาปิ หุตฺวา เอโก โหติ
หนึ่งจึงเป็นเรา รวมเราเขาเข้าเป็นหนึ่ง
ที่พระพุทธเจ้าสรุปสุดยอดคือมีวรรณะ 9 และวรรณะ 9 นี้ เราก็ต้องมีกลุ่มหมู่สังคมชุมชนขาดไม่ได้ แล้วก็ต้องมีสมบัติส่วนกลาง อุปโภคบริโภค เครื่องกินเครื่องใช้ส่วนกลางเป็นสาธารณะโภคี และกินใช้ส่วนกลางร่วมกันอย่างเช่นชาวอโศกทำอย่างมีปัญญาเข้าใจเป็นเรื่องเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ ของโลก เศรษฐกิจบทไหนก็สู้เศรษฐกิจสาธารณโภคีไม่ได้ สูงสุด ของประชาธิปไตยของคอมมิวนิสต์ ของเผด็จการก็ตาม สู้อันนี้ไม่ได้
สาธารณโภคีจะต้องมีคุณสมบัติเป็นสาราณียธรรม 6 เป็นตัวบ่งชี้ จะมีสาราณียธรรม 6 ได้ คนที่มาร่วมต้องมีจิต 7 ตัว คือพุทธพจน์ 7 สาราณียะ ปิยกรณะ คุรุกรณะ สังคหะ อวิวาทะ สามัคคียะ เอกีภาวะ
สาราณียะคือ ไม่ใช่นึกถึงแต่ตัวเอง แต่นึกถึงคนอื่นด้วย ไม่ใช่ว่านึกถึงคนอื่นจนสุดท้ายเหลือเพียงเราสองคน อธิบายแจกแจงความรัก 10 มิติ เหลือเพียงพ่อแม่ลูกก็ดีขึ้นนิดนึง นอกนั้นกูไม่เอากูไม่เกี่ยวกูจะแย่งชิงเอามาเป็นของเท่านี้แหละ โลกนี้มีแต่เราสามคน โลกนี้มีแต่เราสองคน ลูกมันยังไม่เอาเลย เอาลูกไปทิ้งถังผง กลางถนน ดีไม่ดีฆ่าทิ้งเลย พวกนี้มันเกินสัตว์เดรัจฉาน สัตว์เดรัจฉานเป็นร้อยเป็นพันเป็นหมื่นเป็นแสนเป็นล้านชนิดมันก็ไม่ฆ่าลูก แต่นี่คนอะไรวะ
ความรักสูงขึ้นไปในระดับมิติที่ 4 มีการเผยแผ่ให้สู่ผู้อื่น เป็นญาติโกโยติกา
-
กามนิยม (เมถุนนิยม)
-
พันธุนิยม (ปิตปุตตาฯ)
-
ญาตินิยม (โคตรนิยม)
-
สังคมนิยม (ชุมชนนิยม)
-
ชาตินิยม (รัฐนิยม)
-
สากลนิยม (จักรวาลฯ)
-
เทวนิยม (ปรมาตมันฯ) เป็นพุทธเบื้องต้น
-
อาริยนิยม (อเทวนิยม) เป็นพุทธเบื้องกลาง
-
นิพพานนิยม (อรหันตฯ) เป็นพุทธเบื้องสูง
-
พุทธภูมินิยม (หรือ.. โพธิสัตวภูมินิยม)
นี่คือสัจธรรมสภาวธรรมที่เราต้องเรียนรู้
พุทธพจน์ 7 สำหรับส่วนรวมจิตจะต้องเห็นแก่คนอื่นไปเรื่อยๆกว้างขึ้นจนเกิดความรักที่เจริญขึ้นเป็นมิติที่ 2 3 4 5 6 7 8 9 10 ถึง 10 ก็สมบูรณ์แบบแล้ว
ปิยกรณะ ก็รักกัน เป็นความรักที่เจริญขึ้นเป็นประโยชน์คุณค่าตามความรักมิติที่ 10
ครุกรณะ จะต้องรู้จักการเคารพคารวะกันเป็นเรื่องธรรมดาธรรมชาติในโลก หากไม่มีไม่รู้จักขั้นตอนศักดิ์ศรีไม่ได้ ต้องรู้จักสมมติสัจจะโลกนี้ มีการเคารพโดยสมมุติ เคารพด้วยหลักเกณฑ์ เคารพด้วยวัยวุฒิ เคารพด้วยคุณธรรม เคารพด้วยความมีคุณค่าประโยชน์ เคารพด้วยการเป็นอริยบุคคลเป็นต้น หากว่าถือดีไม่เคารพคารวะใคร ก็จะบ้า มันใหญ่คนเดียว ไม่รู้ตัวหรอกคนพวกนี้
สังคหะ อันนี้ยิ่งใหญ่ คือการเกื้อกูลช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเป็นผู้ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น เป็นคุณสมบัติคุณวิเศษอันยิ่งใหญ่ ถึงขั้นให้ๆๆ หากว่าให้อย่างไม่มีปัญญาก็จะเสียหายได้ เกิดความสูญเสียเกิดความเสียหายได้อีก
อวิวาทะ ไม่ทะเลาะวิวาทกัน จะมีอะไรนิดหน่อยก็พอเป็นไป อย่างสังคมชาวอโศกทุกวันนี้กล้าพูดได้เลย มีคุณสมบัติที่สูง อยู่กันอย่างไม่ต้องวิวาทกัน ตำรวจไม่ต้องใช้เลย ใช้ก็ตอนจราจรมันแน่นมาช่วยจราจร นอกนั้นในคนเหล่านี้เขาไม่มีการทะเลาะกันไม่วิวาทกัน ไม่เกิดเรื่องอะไรถึงขนาดที่ต้องใช้ตำรวจมาจัดการ นอกจากคนอื่นคณะอื่นที่อื่นเขามารวนเรามาเกเร เบียดเบียนทำร้ายเรา ก็ต้องอาศัยตำรวจมาจัดการบ้างซึ่งก็จะไม่มีมาก เพราะมีพลังงานซับซ้อนเป็นอจินไตย คือว่าพวกนี้ดีจนกระทั่งคนชั่วไม่กล้ามาทำอะไรมันมีบารมีมันมีราศีรังสี เป็นพลังงานกั้นไว้เป็นบัฟเฟอร์กั้นไว้ เป็นอจินไตยเป็นเรื่องที่คิดไม่ออกแต่เป็นเรื่องจริง คนมารวนก็แพ้ภัยตัว หนักเข้าก็เลิกไป อยู่ที่นี่ก็เจอถึงขั้นมาเผาร้านขายของเรา ร้านหนึ่งน้ำใจ ถูกไฟเผา เราก็สร้างมาใหม่อีก ถ้าไม่ไปเทียบกับคาร์ฟูร์ โลตัสเขา ร้านหนึ่งน้ำใจเราก็ไม่เล็กนะ ถ้ามีฝ้าและมี LED ส่องสว่างหน่อย ที่นี่ 77 นะ ไม่ใช่ 7 11 นี่ 77 เข้มข้นกว่า ทิ้งไว้ไม่พูดต่อละ
ไม่วิวาทกันอยู่กันอย่างสามัคคีซึ่งมีความขัดแย้งอันพอเหมาะ จะมีการขัดเกลากันเพื่อให้มีการตรวจสอบสิ่งที่ดีที่สุดถูกที่สุด ไม่ใช่ปล่อยปละละเลย หยวนๆ แต่ต้องตรวจสอบกันให้ดีจึงเรียกว่ามีการขัดแย้งอันพอเหมาะจะเกิดความสามัคคีเป็นกลุ่มหมู่ที่แน่นเหนียวสะอาดขัดเกลาเสมอตรวจสอบเสมอ อันที่ดีที่สุดไม่ต้องไปสอบ แล้วตกผลึกเกาะกลุ่มกันแน่นเป็นเอกภาพ เอกีภาวะ แน่นเหนียวทนทานคงมั่นดีเยี่ยมเป็นแก่นแกน สาระทุกอย่าง เป็น แก่น core เป็น essence เป็นตัวตั้งของพลังงานบวกเสมอ
ถ้ามีสามเส้ามีบวก ลบ และมีปฏิกิริยาของพลังงาน ต้องมีประธานเป็นตัวจัดการสร้างสรร พีชะก็ไม่รู้เท่าไหร่แต่มาเป็นจิตนิยามก็จะมีตัวรู้มากกว่า ไปจัดการกรรมได้
สาราณียธรรม 6 พุทธพจน์ 7 เป็นธรรมะ 2 ที่เป็นส่วนรวม
ส่วนตัวนั้นเป็นวรรณะ 9 จะต่างกับ อวรรณะ เสมอ เทียบได้
ตัวหยาบในอวรรณะ คือทุภโร ทุโปสะ และมหัปปิจฉะ หยาบ รู้ได้ง่าย เลี้ยงยากไปยากนั่งยากนอนยากกินยากอะไรก็ยากไปหมดเลย คนตายแล้วคนนี้ ทุภโร
ทุโปสะ จะสอนจะแนะนำให้สร้างสรรให้ดีขึ้น ก็ลำบากยิ่งกว่าเข็นภูเขาขึ้นครก มันไม่ไหวหรอก ไม่กระดิกเลย หากเข็นครกขึ้นเขายังกระดิกบ้าง ไปสีควายให้ซอฟัง ซอก็ฟังไม่รู้เรื่อง ควายจะเตะเอา มันรำคาญไปสีมันอยู่ได้ เป็นการอธิบายโดยอาศัยภาษาบัญญัติ พวกเรามีสภาวะก็จะเข้าใจ
เราศึกษาก็จะได้ประโยชน์ที่เราได้ของจริงเป็นมนุษย์อยู่ในโลกที่มีประโยชน์คุณค่าดีกว่าเป็นมนุษย์ที่เป็นโทษภัยในโลกก็เจริญขึ้น ๆๆ
เมื่อเป็นผู้ที่ไม่สะสมไม่มากๆรู้จักพอแล้วก็น้อยลงรู้จักพอแล้วก็น้อยลงเรียกว่า อสันตุฏฐิ คือไม่รู้จักพอ ตะกละตะกรามไปเรื่อยๆไม่สิ้นสุดเป็นพาลชน เป็นพวกไม่เจริญเรียกว่าอวรรณะ ต้องน้อยลงก็พอ จนเหลือ 0 ก็พอ หากไม่มีในตัวเองเลยก็ต้องอยู่กับหมู่กลุ่มอยู่กับของส่วนกลางที่กินใช้ร่วมกัน อยู่คนเดียวโดดเดียวไม่ได้
สรุปแล้วธรรมะพุทธเจ้าไม่ใช่ธรรมบทเดียว ต้องอยู่กับหมู่ครบครันมีจิตวิญญาณประเสริฐสูงสุดที่จะอยู่กับหมู่กลุ่มอย่างเป็นผู้มีประโยชน์ต่อผู้อื่น ไม่ได้เบียดเบียนไม่ได้ไปทำให้คนอื่นเขาลำบาก ไม่เป็นหนี้ในตัวเอง ตลอดแต่ละชาติๆไม่มีหนี้เลยมีแต่กำไร มีแต่ส่วนที่ตัวเองเป็นนายทุน แต่เป็นนายทุนทางโลกุตระไม่ใช่นายทุนทางโลกียะ นายทุนที่ไม่เอาดอกเบี้ยอะไรเลยนายทุนคือผู้ที่มีมากแต่ให้เสมอ ไหลให้คนอื่นเขาซะ
เช่นเดียวกับปิระมิด ปิระมิดอโศกคือ ปิรามิดที่ยอดอยู่ล่างแต่ฐานอยู่บน มันมีความแข็งแรงคงทนตั้งมั่นมีการไหลจากข้างบนลงล่างเสมอ ส่วนปิระมิดของทุนนิยมนั้นรวยกระจุกจนกระจายดูดเข้าไปหาตัวเอง แทนที่จะกระจายดูดเอามาให้แก่ตัวเองเข้าไปหายอด เดี๋ยวนี้การเมืองเขาก็กำลังเรื่องการดูด ใช้ศัพท์ว่าดูด แต่ที่จริงเป็นการแย่งชิงด้วยเล่ห์เหลี่ยมด้วยอำนาจก็เป็นเรื่องของโลกเราก็ดูอย่างไม่มีปัญหาอะไร
ตอนนี้สังคมการเมืองทางโลกเขากำลังศึกษาและกำลังเรียนรู้ อะไรควรไม่ควรก็จะดีขึ้นดีขึ้น ยังไม่ถึงเวลาของเรา เรายังมีพลังงานไม่พอ มวลก็ไม่พอความเข้าใจเชื่อถือก็ไม่พอ รออีกสักประเดี๋ยวนักการเมืองสักวันหนึ่ง พรรคของชาวอโศกจะแสดงตัว ตอนนี้ต้องพรรคอย่างไรก็ไม่มีปัญหาแต่เรามีพรรคอย่างแท้จริงคือพรรคราษฎร คนเข้ามาอย่างสมัครใจเอง มีอิสระเสรีภาพเห็นดีเห็นชอบเองไม่ต้องเขียนใบสมัครสมัครได้เลย แล้วอยู่ให้ได้นะตามหลักเกณฑ์ที่หมู่มวลเขาเป็น แล้วพัฒนาเข้าไปให้เจริญให้ได้เหมือนผู้เจริญในชาวอโศก เจริญสูงสุดแล้วก็ช่วยหมู่กลุ่ม แล้วจะเป็นพลังงาน อาตมามีภาษาสามคำ
-
บริหาร 2. อธิปไตย 3. อภิบาล
คำว่าบริหาร เป็นสภาพกลางๆ มีการบริหารจัดการทำให้มันเกิดความสมดุลเกิดความเป็นไปอย่างดี ผู้บริหารต้องทำให้เกิดความสมดุลให้เกิดความเป็นไปอย่างดีอย่างราบรื่น งดงาม สันติ สงบอย่างเรียบร้อย
หากบริหารมากไปเรียกว่าอธิปไตย มันมีพลังแรงไป ไม่เหมาะสมไม่พอดี
ถ้าบริหารอย่างอภิบาล อันนี้สูงสุด คือปกครองดูแล อภิ + ปาละ ช่วยเหลือเลี้ยงดู ทำให้เป็นหมู่มวลที่สงบเรียบร้อยมีอยู่มีกินขัดแย้งกันพอเหมาะไม่ขัดแย้งกันเลย
ตัวอภิบาล จะเป็นตัวตัดสินว่าเป็นประชาธิปไตยถูกต้องหรือเปล่า ถ้าหากยังใช้อธิปไตยยังเป็นอำนาจอยู่ก็ยังไม่เป็นประชาธิปไตย เป็นนักบริหารที่ยังไม่เข้าใจความต่างระหว่างอธิปไตยกับอภิบาล ยังไม่เข้าใจว่าพลังงานระดับไหนเรียกว่าอธิปไตยหรืออภิบาล ถ้าแรงเกินไปเรียกว่าอภิบาลถ้าได้สัดส่วนพอดีเรียกว่าอภิบาล ผู้บริหารที่เข้าใจอธิปไตยกับอภิบาลได้ แล้วจัดสรรให้ดีก็เป็นผู้บริหารที่ยอดเยี่ยม
อย่างในหลวงรัชกาลที่ 9 เป็นผู้ที่ทรงอภิบาลประชาชนได้ดีงดงามที่สุด นักการเมืองหน้าเก่าที่เคยมีมาเป็นพวกบ้าอธิปไตย และไม่มีความรู้เรื่องอธิปไตย อภิบาลไม่เป็น ได้ชื่อว่าเป็นนักบริหารแต่เป็นนักบริหารที่ไม่ดี ในอนาคตพยัญชนะคำว่าอภิบาลจะได้รับการศึกษาแล้วเอาไปฝึกฝนให้ตัวเองเป็นนักประชาธิปไตยที่ยิ่งใหญ่ รัฐศาสตร์จะมาศึกษา สามเส้านี้ เราเป็นนักบริหารก็ต้องจัดสรรให้เกิดอภิบาลให้พอดีเราเป็นนักอธิปไตยที่แรงเกินไปก็ต้องเอามาภิบาลให้ดี
มาขยายลักษณะธรรมะ 2 ที่เป็นส่วนรวมกับส่วนตัว ส่วนตัวปฏิบัติให้มีวรรณะ 9 อย่างบริบูรณ์ เงื่อนไขของวรรณะ 9 คือจะต้องอยู่กับหมู่ ตัวเราเองมีคุณสมบัติ
วรรณะ 9 เลี้ยงง่าย (สุภระ) บำรุงง่าย, ปรับให้เจริญได้ง่าย (สุโปสะ) มักน้อย, กล้าจน (อัปปิจฉะ) ใจพอ สันโดษ (สันตุฏฐิ) ขัดเกลากิเลส (สัลเลขะ) เพ่งทำลายกิเลส มีศีลสูงอยู่ปกติ (ธูตะ, ธุดงค์) มีอาการน่าเลื่อมใส (ปาสาทิกะ) ไม่สะสม ไม่กักเก็บออม (อปจยะ) ตรงข้าม อวรรณะ9 ขยันเสมอ, ระดมความเพียร (วิริยารัมภะ)
ขัดเกลากายวาจาจิตให้ดีขึ้น มีหลักเกณฑ์ปฏิบัติเรียกว่าศีล เป็นอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาเกิดผลเป็นอธิวิมุตเป็นวิมุตติญาณทัสสนะ แล้วก็มาเริ่มต้นเป็นอธิศีล เจริญเป็นอธิจิต อธิปัญญา มาเป็นอธิวิมุติ ไปอีก หมุนรอบเชิงซ้อนไปอีก สูงขึ้นๆไปเรื่อยๆ นี่คือความเจริญของศีลคนไม่มีศีลเป็นหลักนั้นเละเทะ จะให้เกิดความเจริญอันน่าอัศจรรย์เป็นลำดับนั้นไม่ได้เลย
ต้องปฏิบัติศีลให้เป็นลำดับรู้การสังเคราะห์สังขารสูงสุดเป็นอภิสังขาร มีศีลเป็นขีดขั้นไปเรื่อยๆ เมื่อเจริญขึ้นก็จะได้ตัวที่ 7 มีอาการที่น่าเลื่อมใสศรัทธา เรียกว่าอาการที่น่าเลื่อมใส เป็นคนที่น่าบูชาเคารพนับถือเป็นตัวอย่างที่ดี แล้วเราก็ทำตามไป มาเป็นตัวสุดท้ายคือไม่สะสมกับยอดขยัน
อาตมาภาคภูมิใจว่าชาตินี้เกิดมาไม่สะสมอะไรเป็นของตัวเองเลย ทำงานมาเกือบ 50 ปีแล้วทางศาสนา ก็ไม่สะสม พิสูจน์ได้ว่าเป็นเรื่องจริงยิ่งให้ไปยิ่งได้มายิ่งเป็นผู้ไม่เอายิ่งได้ไม่เอายิ่งได้ ถ้าหากบารมีไม่ถึงไม่เอาอย่างไม่เข้าทางก็เสียผล แต่อยู่กับหมู่กลุ่มนี้ เราไม่เอาเลยเราก็ไม่ตาย อยู่กับพวกสาธารณโภคีเขาไม่ปล่อยให้ตายหรอก ตายได้ แต่ไม่ปล่อยให้เกินไป จะต้องมีน้ำใจเมตตากรุณาอุเบกขาอย่างแท้จริง
มนุษย์เจริญสูงสุดด้วยการมีวรรณะ 9 คือไม่สะสมกับยอดขยัน วิริยารัมภะคือขยันเสมอ รู้เวลาควรพักหรือควรเพียร
เราไม่พักอยู่ (อัปปติฏฐัง) เท่ากับยังเพียรต่อไป
เราไม่เพียรอยู่ (อนายูหัง) เท่ากับพักหรือไม่ต่ออายุอิทธิบาท
เราเป็นผู้ข้ามโอฆสงสารได้แล้ว (โอฆมตรินติ)
เมื่อใดเรายังพักอยู่ (สันติฏฺฐามิ) เมื่อนั้นเรายังจมอยู่โดยแท้
เมื่อใดเรายังเพียรอยู่ (อายูหามิ) เมื่อนั้นเรายังลอยอยู่โดยแท้
เราไม่พัก เราไม่เพียร ข้ามโอฆะได้แล้วอย่างนี้แล ฯ
(พตปฎ. เล่ม 15 ข้อ 2)
ภาษาซ้อน ไม่คือมี มีคือไม่ เป็นสุดยอด สิริมหามายา ทั้งดีทั้งใหญ่ เป็นภาษาที่เรียกสภาวะขั้นสุดท้าย สิริมหามายาเข้าใจได้ยาก แม้แต่พระมารดาของพุทธเจ้าก็ชื่อว่าสิริมหามายา ชื่อดีกว่านี้ก็ไม่เอาเอาชื่อมายาแต่มันเป็นจริง แต่เป็นมายาที่ดีที่ใหญ่ สิริ ดี มหาแปลว่ายิ่งใหญ่ จริง แปลว่าแม่ผู้สุดยอด
แม่นี้หมายถึงธรรมะไม่ได้หมายถึงตัวตนบุคคลเราเขาที่คลอดลูกออกมา หรือว่าเป็นแม่แบบที่มีใครออกมา หรือการเกิดอื่นอื่น เป็นแม่ทางจิตวิญญาณ (พ่อครูไอ ตัดออกด้วย)
สมณะฟ้าไทว่า…พ่อครูอธิบายวรรณะ 9 ให้ฟัง
อบรมเกษตรกร เขาบอกว่ามาอยู่ที่เรากินง่ายมาก เราเอาหัวปลีไปทอดให้เขากินเขาก็บอกว่าไม่เคยกินมาก่อนเลย ชาวอโศกเป็นผู้ที่บำรุงพัฒนาให้เจริญง่าย และยังเป็นคนที่มักน้อยอีก เอาไว้แก่ตัวเองน้อย บ้านแต่ละบ้านก็จน ส่วนกลางก็มากขึ้นมากขึ้น ส่วนกลางก็จะมีมาก ส่วนตัวก็จะมีน้อยไม่ได้มากขึ้น ศีลเคร่งคือเราสามารถลดกิเลสได้มากขึ้น ทำงานไปก็สลายตัวตนได้ไม่ยึดมั่นถือมั่น จะให้ก็ได้ไม่ให้ก็ได้ เอาก็ได้ไม่เอาก็ได้ ให้ทำก็ทำไม่ให้ทำก็ไม่ให้ทำ พร้อมที่จะสลายตัวเอง อาตมาว่าเป็นสังคมที่น่าอยู่ที่สุด และเป็นคนที่ไม่สะสมให้แล้วยอดขยัน ใครหนอจะขยันเท่าที่เราเป็น ขยันอย่างไม่ธรรมดา เขาบอกว่าคนที่นี่ทำงานขยันทำอะไรก็สำเร็จ คนจึงเห็นเป็นอัศจรรย์ในสิ่งที่พวกเราทำ แต่ว่าบอกว่าดี แต่จะมาอยู่ไหมไม่มา
พ่อครูว่า…ไม่ต้องเร่งรีบ มาเถอะมาอย่าช้าอยู่ไหนรีบมาคว้ามีดพร้าและจอบเสียม
อาตมาใช้ศิลปะในการทำงาน แต่สงสารพวกบ้าศิลปะ อาตมาเรียนจบทางศิลปะมา ไม่ได้จบด็อกเตอร์สถาบันศิลปะอะไรมา ปริญญาตรีทางศิลปะยังไม่ได้เลย ได้แค่ขั้นปวส. เลยอาชีวะแค่สองปี ไม่ได้ต่อปริญญาแต่อาตมาว่า อาตมารู้จักศิลปะดี รู้จักศิลปะโลกุตระเป็นมงคลอันอุดมสุดยอดเหนือกว่าด๊อกเตอร์ต่างๆที่เขายิ่งใหญ่กัน เขามีชื่อเสียงอะไรต่างๆนานา ดร.หลอกคน เอาเงินเข้ากระเป๋า เอาเงินมาได้แล้วก็ทำเป็นบริจาคซับซ้อน สร้างตัวเองให้ดูมีความ เขื่อง เท่ แต่ตัวตนยังไม่หมดมีตัวใหญ่เลย ศิลปินนี่แหละตัวตนเบ้งที่สุด
สมณะฟ้าไทว่า..มีพวกศิลปิน มาแสดง เอาสีราดตัวเด็ก แล้วให้เด็กกลิ้งไปมาบนพื้น ตัวเองก็ทำด้วยแล้วถามว่าเป็นศิลปะอะไรเขาก็บอกว่ามันเป็นเรื่อง Abstract
พ่อครูว่า…เป็นการตีกินไปหมดเลย อะไรก็ Abstract เป็นนามธรรม อาตมาก็อยู่ในวงการศิลปินศิลปะมาก่อน จนถึงวันนี้ก็ยังมาใช้ศิลปะเป็นโลกุตระ จนกระทั่งนักศิลปินแห่งชาติบอกว่าศิลปะมันมีโลกุตระด้วยหรือ อุทาน คือ เขายังไม่รู้เรื่องหรอก ยิ่งทางต่างประเทศเทวนิยม เลิกเลย ทางยุโรป ไม่ได้เรียนรู้ธรรมะพุทธเจ้า ขนาดศิลปินทางชาวพุทธก็ยังไม่รู้เรื่อง แล้วก็พยายามเอาศาสนาพุทธไปอธิบายงานศิลปะด้วยนะมันซับซ้อนมาก ดีไม่ดีอธิบายเนื้อหาสาระของศาสนาแต่เอาไปขายหากินแพงๆเท่ๆ
ศีกษาเป็นคนมีวรรณะ 9ได้แล้วแต่จะอยู่คนเดียวไม่ได้จะต้องเกี่ยวกับหมู่กลุ่มเป็นมิติสหายดีสังคมสิ่งแวดล้อมดีอยู่กันอย่างสมบูรณ์ จะขยายผลขึ้นไปเรื่อยๆเป็นตัวอย่างของโลกเป็นต้นแบบของโลกจะเป็นได้จริง ยืนยันเลยไม่ใช่พยากรณ์เป็นความเชื่อมั่นเลย จะเป็นต้นแบบที่ดีที่สุดให้แก่สังคมโลกเขาได้ ในชาวอโศกที่จะเป็นตัวอย่างนี้จะลำบากลำบนหนักหนาสาหัสอย่างไรก็ต้องช่วยกันแล้วมันจะเบาขึ้นๆ ซ้อน เบาขึ้นเรื่อยๆ เป็นความซับซ้อนที่สุดยอด อาตมาถึงบอกว่ามันยังจะเหนื่อยเหนื่อยก็ไม่มีปัญหา คนที่มีปัญญาแล้วก็หมดปัญหา คนที่มีปัญหาคือคนที่ไม่มีปัญญา แต่พอมีปัญญาแล้วก็จะเห็นเป็นเรื่องสามัญที่แก้ได้ไม่มีปัญหา คนที่มีปัญญาแล้วจะไม่ลำบากใจมันอาจจะลำบากกายบ้างแต่ก็ช่วยกันไป แล้วมันจะมีบารมี เดินทางกายเรื่องทางรูปธรรมก็จะไม่หนักหนาสาหัสเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
อาตมาชีวิตชาตินี้ความรุนแรงเจ็บปวดหนักหนาสาหัสไม่มาถึงมีบารมีขันธ์แล้ว ที่พูดนี้ไม่ได้ท้าทาย แต่มันเป็นอย่างนั้น ยกตัวอย่างอย่างเป็นรูปธรรม
สันติอโศกเคยถูกพวกฝั่งตรงข้ามมาปองร้ายมาวางระเบิดครั้งหนึ่ง ยังมีหลักฐานเก็บเอาไว้เป็นตัวอย่างเป็นอนุสรณ์อยู่ที่หน้า บ้านสุขภาพ ที่นั่งแตกไปเลย นอกน้นก็มีคนยิงปืนเข้ามาสองครั้งยิงแล้วปืนไม่ออก ก็เลยวิ่งกลับไปเลย
พวกนี้ไม่มีบารมีเท่าไหร่แล้วมาทำร้ายใครไม่ทำร้ายมาทำร้ายโพธิสัตว์มันก็จะมีวิบาก ไม่ได้ลงโทษเขาจะมีวิบากกรรมทำของเขาเอง จากนั้นก็ไม่มีอะไรมา ก็มาเจอแก๊สน้ำตา ในระดับสังคมใหญ่เลย ก็สูงสุดมีแค่นี้ แก๊สน้ำตาก็แสบตาน่าดู ที่จริงแสบไม่น่าดูหรอก แต่สำนวน
ผู้ที่สามารถทำตัวเองมีวรรณะ 9 จะอยู่กับหมู่กลุ่มเรียกว่าส่วนรวม ส่วนรวมค่าจัดส่งสุดไปมีวรรณะ คือ มีพุทธพจน์ 7
พุทธพจน์ 7 สาราณียะ ปิยกรณะ คุรุกรณะ สังคหะ อวิวาทะ สามัคคียะ เอกีภาวะ คือ 7 ลักษณะชั้นสูงของจิต ระลึกถึงผู้อื่นไม่ใช่ระลึกถึงแต่ตัวเอง ไม่เห็นแก่ตัวเลยมี สาราณียะ
มีความรักที่เกิดการช่วยเหลือไม่ได้รักในทางกาม หรืออัตตา เป็นความรักที่หมดธรรมะ 2 คือหมด กาม หมดอัตตา เป็นความรักต่างๆเป็นความรักที่สูง
มีความเคารพนับถือในสมมติสัจจะ เชิงชั้นต่างๆ
มีลักษณะเด่นคือสังคหะเป็นผู้ให้เป็นผู้เสียสละ เป็นผู้ที่ไม่เห็นแก่ตัว เห็นแต่แก่ผู้อื่นเหน็ดเหนื่อยหนักหนา เป็นผู้ที่มีประโยชน์ต่อผู้อื่นถ่ายเดียว โดยที่ตัวเองไม่ค่อยระมัดระวังตัวเองเลย คนอื่นจะเข้ามาดูแล กลายเป็นตัวเองมีคนอื่นคอยประคบประหงม อุปการะดูแลจัดการ คนอื่นเขาจัดการชีวิตเราให้เลยอยู่อย่างนี้กินอย่างนี้นอนอย่างนี้ขี้อย่างนี้เยี่ยวอย่างนี้ไปอย่างนี้มาอย่างนี้ แล้วก็ต้องรู้ว่าคนที่เข้ามาทำอย่างนี้พอจะมีภูมิสูงพอที่จะมาจัดการกับชีวิตเรา จะมาเป็นเจ้าเป็นนายชีวิตเรา เราก็ต้องมีปฏิภาณรู้ว่าคนนี้ จะให้เป็นเจ้าชีวิตเรา จะให้ตามใจไม่ได้ แต่เขาจะรู้ความพอเหมาะพอดีแล้วก็มาช่วยอุปถัมภ์ค้ำชูเหน็ดเหนื่อยหนักหนาดูแล ตื่นก่อนนอนทีหลังอะไรต่างๆนานา เหมือนกับผู้รับใช้ เหมือนกับที่พุทธเจ้าท่านตรัสกับพระเจ้าอชาตศัตรู ว่าผู้ที่เคยอยู่เคยรับใช้พระองค์ แต่เขามาเข้ารีตพระพุทธเจ้าแล้วจะเอาคืนไหม พระเจ้าอชาตศัตรูก็บอกว่าไม่เอาคืนหรอกต้องยกให้พุทธเจ้าไปเลยเพราะเขาเป็นคนเจริญจะเอาเขาไว้ทำไม ให้เขาพัฒนาขึ้นไปแล้วไปช่วยคนอื่นได้อีกเยอะแยะนี่คือความเจริญ
ผู้ที่ฟังแล้วไม่สงสัยมีตัวจบก็ดี ผู้ที่ยังสงสัยอยู่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรให้ศึกษาต่อ
คนที่มีแต่การให้นี่แหละไม่เห็นแก่ตัวเห็นแต่แก่ผู้อื่นนี่แหละ เป็นตัวหลักของส่วนตัวที่อยู่ในสังคม สังคหะ
ทำไมทะเลาะวิวาทกับใคร อวิวาทะ อยู่กันอย่างกลมเกลียว เมื่อมันจบไม่ได้เราจึงต้องเป็นผู้เสียสละผู้ที่ยอมแพ้ เป็นผู้ที่ยอมให้คนเข้าใจผิดได้ ก็ไม่ได้อยากให้เขาเข้าใจผิด ให้เขาเข้าใจถูก แต่สุดยอดแล้วเขาเข้าใจถูกไม่ได้ เขาก็ยังจะเข้าใจผิดอยู่นั่นแหละ เราก็ต้องจำนน คุณจะเข้าใจผิด ตัวคุณก็ยึดถือของคุณก็แล้วกัน เราก็จำนน สุดท้ายเราก็ต้องยอมแพ้อย่างนี้เป็นต้น มันเป็นสัจจะอย่างนั้นจริงๆไม่ได้แกล้งพูด อย่างอาตมาต้องยอมให้ เถรสมาคมเขาเข้าใจผิด ไม่ยอมไม่ได้เพราะเขาใหญ่เขาจะเอาเราตาย จะขับไล่ออกจากประเทศก็ได้ถ้าไปถึงขั้นของชาติ จะต้องเนรเทศให้ออกจากประเทศอยู่ในประเทศไม่ได้ก็ถึงขั้นนั้น แม้ที่สุดจะสั่งประหารชีวิตก็เป็นได้ถึงขนาดนั้นเลย ตามกฎเกณฑ์ของสังคม เราก็ไม่เอาอย่างนั้นไม่ให้เขาทำบาปขนาดนั้น เขาก็รับวิบากไป
เอกีภาวะ เป็นความเป็นปึกแผ่น อย่างเช่นชาวอโศกนี้มีความเป็นปึกแผ่นแน่น อสังหิรัง ใครตีแตกยาก ทำลายอโศกยาก และพวกอโศกก็แน่นอนไม่กลับกำเริบ ผู้แน่นอนแล้วอสังกุปปัง อวิปาตธรรม ไม่มีเปลี่ยนแปลงเป็นอันอื่นเลย อยู่อย่างนี้แหละ นิจจัง(เที่ยงแท้) ธุวัง (ถาวร) สัสตัง(ยืนนาน) อวิปริณามธัมมัง(ไม่แปรเปลี่ยน) อสังหิรัง(ไม่มีอะไรหักล้างได้) อสังกุปปัง(ไม่กลับกำเริบ) “นิจจัง-ธุวัง-สัสสตัง-อวิปริณามธัมมัง-อสังหิรัง-อสังกุปปัง”
คำสอนเหล่านี้อธิบายเป็นทางบวกก็ได้ ทางลบก็ได้เป็นสิริมหามายา หากว่าเรามีปัจจัตตังเป็นของตัวเองแล้วจะฟังเข้าใจง่าย ยิ่งมีสูงส่งขึ้นไปเป็นปัจจัตตังเป็นปัจเจก จนมากขึ้นเป็น สยังอภิญญามีภูมิรู้ของตนที่มากพอจะพึ่งพาตนเองไม่ต้องพึ่งพาคนอื่นแล้ว ก็จะสะสมภูมิรู้สูงสุดขึ้นเป็นปัจเจกสัมพุทธะ จนเป็นปัจเจกสัมมาสัมพุทธะเท่ากับพระพุทธเจ้ามีสัพพัญญูเท่ากับพระพุทธเจ้าแต่ท่านไม่ประกาศศาสนาเป็นของตนเอง แล้วทำก็ปรินิพพานเป็นปริโยสานไปโดยอิสระเสรีภาพของท่านจบ
เพราะฉะนั้นสูงสุดแห่งสัพพัญญู หรือระดับที่ 9 สูงสุดก็อยู่ที่ สัมมาสัมพุทธะเป็นพระพุทธเจ้าซึ่งประกาศตนอยู่ในโลก หรือไม่ประกาศตนแต่มีภูมิเท่ากัน เป็นอิสระเสรีภาพสุดยอดเป็นเรื่องของท่านท่านจะไม่สอนใครท่านจะไม่ประกาศศาสนา ท่านจะสลายอัตภาพของท่าน มันก็เป็นเรื่องของท่าน ใครจะไปยุ่งกับท่านอย่าไปแส่ อย่าส.ใส่เกือก เป็นอิสระเสรีภาพที่สุดยอดเลย เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แท้ๆแต่ไม่ยอมเป็น เป็นได้แต่ไม่ยอมให้คนในโลกรู้เลย ไม่ใช่เดาแต่เป็นสภาวะจริงที่อธิบายให้ฟัง อาตมายังเป็นไม่ได้แต่รู้นำไปแล้วได้
อาตมายืนยันว่าที่พูดนี้มันไม่มีความลับ มันไม่มีความโกงไม่มีความหลอก มีแต่เรื่องจริงมีแต่เรื่องที่เป็นสัจจะ มีความจริงใจไม่ได้เพื่อมาหาตัวตนหาหมู่คณะตัวเอง ไม่ใช่ อาตมาจะพยายามพูดที่จะใช้เล่ห์เหลี่ยม เพื่อให้เหมาะสมและตัวตนได้ก็จะทำได้ แต่มันเป็นวิบากและไม่สะอาดบริสุทธิ์อาตมาจึงไม่ทำ ไม่สะอาดบริสุทธิ์และเป็นวิบากต่อไปอีกอาตมาจะเป็นพุทธเจ้าไม่ได้อีกต่อไป เรื่องอะไรจะไปสร้างเป็นวิบากที่เป็นอกุศลกรรมให้ตนซวย ไม่เข้าท่า อาตมาเลิกโง่แล้วก็ไม่ทำ ใครอยากจะทำก็แล้วแต่ อาตมาจะทำต่อไปจนถึงพระพุทธเจ้าแล้วก็คอยดู ลีลาอาตมาว่ายียวนขนาดไหน อาตมายียวนไม่น้อยกว่าบิ๊กตู่นะ แต่มันเป็นเรื่องที่ในยุคนี้ต้องใช้มันเป็นศิลปะ มันมีอะไรชวนให้คนมาสนใจ แต่ไม่ร้ายนะ ชวนไปในทางดี
มันซ้อนแล้วชวนไปทำอย่างนี้มันน่าเอาอย่างหรือเปล่า ลึกๆชั้นสูงแล้วอาตมาอย่างอาตมาไม่น่าเอาอย่าง อย่างลุงตู่ก็ไม่น่าเอาอย่างเพราะมันยังไม่สะอาดไม่ดีมันมีความนิ่มนวลได้กว่านั้น แต่ต้องทำขนาดนี้ก็เอาขนาดนี้ก่อน มันซับซ้อนอีก แต่ต้องทำเพราะส่วนตัวมันยังไม่ได้ หากไม่เสียสละตัวเองบ้างมันจะไปช่วยคนอื่นได้อย่างไร ก็ต้องเสียสละส่วนน้อยเพื่อส่วนใหญ่ นี่คือความหมายว่าพระพุทธศาสนาต้องสละส่วนน้อยเพื่อเป็นประโยชน์ส่วนใหญ่ แล้วส่วนน้อยหรือส่วนที่เสียนี้อย่าให้ไปคนอื่นเขาเสีย เรารับเสียเองแต่มันได้ประโยชน์มาก เราก็เสียแต่ส่วนน้อยก็คุ้มกัน สละได้คุ้มประโยชน์ได้มากเราก็ยอมเสีย สุดท้ายเราก็เป็นผู้ที่เสียสละ คุณเสียนี่คือคุณได้นะพวกเราฟังแล้วไม่มีปัญหา
อย่างที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 บอกว่าเราเสียนี่แหละคือเราได้ นักเศรษฐศาสตร์ก็จะบอกว่าไม่ใช่ ก็ต้องพูดทวนให้เขาฟังอีก ฟังแล้วเขาก็บอกว่าไม่ใช่ สุดท้ายก็ต้องบอกว่าเป็นอย่างนั้นผู้เสียนี่แหละคือผู้ที่ได้ อธิบายอย่างนั้นก็จบ อาตมาจึงต้องมาพาทำให้จริง
ในหลวงท่านทำตนเองเสียสละให้ดูเฉพาะตัวท่าน คนก็เข้าใจว่านี่คือเสียสละ อาตมามาทำให้ประชาชนให้มวลเป็นผู้แสดงความเสียสละให้แก่คน ส่วนตัวอาตมาจะต้องรับ ว่าอาตมาจะต้องถูกเขาว่าเป็นคนเห็นแก่ตัว แต่คนจะเห็นว่าประชากรราษฎรประชาชนมวลส่วนใหญ่ ต่างหากเป็นผู้เสียสละไม่ใช่อาตมาเป็นผู้เสียสละ อาต มาก็ต้องยอม …ไม่งงไม่สับสนนะ
สมณะฟ้าไทว่า เสียสละแต่ไม่เอา แต่ให้ผู้อื่นได้
พ่อครูว่า… มันเป็นเรื่องของลีลาศิลปินที่เข้าใจโลกุตระต้องศึกษาให้เข้าใจและทำได้ ทำได้แล้วเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้อีกจึงเป็นผู้สูงสุดในทุกเหลี่ยมมุมทุกมิติ ทุกท่า ด้วยบริสุทธิ์ใจด้วยปรารถนาดี แม้ว่าจะเหน็ดเหนื่อยหนักหนาอย่างไรก็ต้องทำต้องพากเพียรไป
วันนี้มาถึงที่นี่รู้สึกว่าที่นี่จะมีพลเมืองที่สนใจศึกษามากกว่าราชธานีอโศก อาตมาก็ไม่ได้ริษยาไม่ได้งงอะไร เพราะว่าที่นี่คือหัว ราชธานีไม่ใช่หัวนะ
ศีรษะแปลว่าหัวแล้ว หัวต้องทำไปก่อน ผู้ฉลาดเอาหัวไปก่อน โทษที่เอาตีนเดินนำและหัวไปข้างหลังเป็นพวกที่ไม่เข้าท่า ถูกลากไป พวกที่เอาหัวไปนำก่อนคือพวกนำ พวกลากเอาตีนนำไปก่อน
มันเป็นสัจจะที่อธิบายขยายความได้ เราศึกษาให้ดีจะรู้รูปธรรมนามธรรม มันอยู่ด้วยกันซับซ้อนใช้ร่วมงานกันไปตลอดเวลา ที่อาตมาพาทำ เป็นสัจธรรมที่มันใจว่าต้องให้มนุษย์ในโลก ในยุคที่อาตมาจะต้องวนเวียนเกิดอีก เป็นโพธิสัตว์จะต้องทำให้จบ ยังไม่ท้อ อาตมายัง เป็นนิยต มหาโพธิสัตว์ จะเลิกเมื่อไหร่ก็ได้สลายอัตตาตัวเองให้เป็นอุตุนิยามไม่ต้องจับตัวไปอีกก็ได้ อาตมาทำได้แล้วแต่ยังไม่ยอมทำตัวเองให้ 0 ยังจะศึกษาทำประโยชน์จนเป็นสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง ไม่ใช่แค่ปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้า เจตนาจะเป็นถึงสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง ขึ้นทำเนียบไว้ในโลกเลย จะได้ชื่ออะไรตอนนั้นก็ไม่รู้ล่ะ ตอนนี้ได้ชื่อว่าโพธิรักษ์ ตอนนั้นองค์ใดองค์หนึ่งขึ้นทำเนียบไปเลย อัตภาพของอาตมาเป็นพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งในโลก ไม่เอาแค่ปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้สัพพัญญูแล้ว แต่ไม่ประกาศศาสนา ปรินิพพาน 0 ไปอย่างนั้นไม่เอา จะประกาศจะขึ้นทำเนียบ จะไปตอนโน้นก็ยังไม่แน่นะอาตมาอาจจะรีไทร์ไปตอนเป็นสัมมาสัมพุทธะ จะประกาศศาสนาอีกก็อาจจะไม่ทำ ก็เป็นไปได้เป็นเรื่องอนิจจตา ในลักษณะ 4 ตัวสุดท้าย อนิจจตา ตัดสินด้วยตัวปัจจุบัน ปัจจุบันจะเป็นตัวที่ชัดเจนที่สุดเพื่อตัดสิน เมื่อถึงอนิจจตาแล้วจะต่อหรือไม่ต่อไปที่สันตติ
สามเส้า สันตติ ชรตา อนิจจตา หรือสามเส้าของอุปจยะ สันตติหรือ ชรตา จะเอาชรตาหรืออนิจจตาก็ตัดสินเอาเอง
สมณะฟ้าไทว่า…ถึงตอนนั้นพ่อครูสั่งสมไปมากได้แล้วก็คงจะไม่เปลี่ยนแปลง จิตตั้งไว้แรง
พ่อครูว่า..ตอนนั้นก็สามารถตัดได้ ตั้งไว้แล้วแต่จะตัดก็ได้ เป็นเรื่องของท่าน อย่าไปเสือใส่รองเท้า สุดยอดจริงๆธรรมะพุทธเจ้าเป็นเรื่องอิสระเสรีภาพ เรื่องอย่างนี้ไม่น่าโง่ก็โง่ได้ที่นี้จำไว้อย่าไปโง่ทีหลังอีกเอาให้ทัน รู้ให้ทัน เป็นโพธิสัตว์สนุก เรียนรู้ไปได้ อาตมาเป็นตัวจริงที่จะมาสืบทอดศาสนาพระพุทธเจ้าสมณโคดมให้ถึง 5000 ปีให้ได้ ถ้าไม่ถึง 5,000 ไม่เอา ไม่ยอม ถ้ายังไม่ถึง 5,000 ปีจะตายแล้วก็ต้องเกิดมาอีก เพราะอาตมาไม่ทำชั่วแล้วไม่สร้างวิบากชั่วแล้วมีแต่สร้างวิบากดี ๆๆๆ แล้วจะไปกลัวอะไรเกิดมาชาติหน้าก็หล่อกว่าดีกว่าเก่าๆดีกว่าเก่าง่ายกว่าเก่าและพวกคุณก็จะมาช่วยมากขึ้นกว่าเก่าแข็งแรงขึ้นกว่าเก่าและมันจะเสื่อมก็ไม่รับรองด้วย ตัวใครตัวมัน มันตกไปโดยสัจจะมันมาไม่ได้ อยากมาก็มาไม่ได้เพราะว่าวิบากของคุณทำให้ตกนรกไป อย่าไปทำอุตริไม่ดีก็แล้วกัน
สาราณียธรรม
เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม ลาภธัมมิกา ศีลสามัญตา ทิฏฐิสามัญตา
ชาวอโศกเรามีสาราณียธรรมจริง เมตตากายกรรม ใครเจ็บป่วยก็ช่วยเลยถึงช่วยกันดูแลอย่างพอเหมาะพอสม ผู้ที่มีกายกรรมที่เมตตา ชาวอโศกก็มีอย่างเห็นได้ชัด ไม่ทะเลาะวิวาทมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน องค์รวมสงบได้ดี พูดก็เมตตากันมโนก็มีใจเมตตาจริง
เมตตา ทางมโน เห็นคนอื่นเป็นทุกข์ก็อยากให้เขาพ้นทุกข์ เห็นคนอื่นเป็นสุขก็ไม่อยากให้เขาติดในสุข ช่วยให้เขาออกจากความสุขขี้หลอก ให้มาเป็นสุขอย่างวูปสโมสุข สุขอย่างโลกุตระจนกระทั่งสูงสุดไม่สุขไม่ทุกข์เลย ก็ทำไปตามฐานะบารมีว่าจะช่วยแค่ไหนอย่างไร หากว่ามันเกินกว่าจะลากจูงก็พอก่อน มันมีคนให้ช่วยทุกระดับงานมีให้ทำทุกเวลา
ผู้ที่อยู่กับหมู่กลุ่มมีสาธารณโภคีในข้อที่ 4 ของสาราณียธรรม 6 มีอยู่ร่วมกันกินร่วมกันใช้ของกลางและมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบกองกลาง แม้แต่ที่สุดบริหารและรับใช้ และก็รับใช้กันอย่างอภิบาล ไม่รับใช้อย่างอธิปไตย ที่จะไปใช้อำนาจบาตรใหญ่
อธิบายสามเส้าใหม่ อธิปไตย อภิบาล บริหาร
บริหารคือเป็นเจ้าหน้าที่ต้องรับผิดชอบ แล้วบริหารอยากให้เป็นอธิปไตยหรืออภิบาล
อภิบาลหมายถึงว่าดูแลปกครองช่วยเหลืออย่างดีมากเลย
มี sms เขียนมา sms ของพวกเราที่ยาวยืดมีสองเจ้า แต่ยังไม่อยากเอามาแทรก ของพวกเราเอง อาตมาก็เลยยังไม่อยากจะเอามาแทรกตรงนี้เพราะว่าบรรยายสภาวะของตัวเองลึก อาตมากำลังบรรยายอย่างเบื้องต้นมาหากลาง ก็ยังไม่อยากลงไปลึกถึง 2 คนนี้มันจะกินเวลา ก็มีใบทวงมา ว่าทำไมไม่พูดถึงก็ตอบเจตนาของอาตมาอย่างนี้
ผู้ที่สามารถทำสาราณียธรรม 6 สาธารณโภคีเราจะต้องกินอยู่อย่างบริหารร่วมกันร่วมกันกินร่วมกันใช้แล้วอาศัยสิ่งเหล่านี้พัฒนาตนเองขัดเกลาตนเอง ทำประโยชน์ให้แก่ตัวเองให้เป็นผู้ที่เจริญ โดยมี ศีลสามัญตา ทำทิฏฐิสามัญตา ในส่วนตัวเรา สามัญญตา ไม่-ว่าศีลของเราเสมอสมานกับเพื่อน ศีล 5 เสมอสมานกับศีล 5 ศีล 10 เสมอกับศีล 10 แต่เราก็ต้องรู้ว่าศีล 5 นี้มีศีล 8 สูงกว่า ศีล 10 สูงกว่า มีศีลโอวาทปาฏิโมกข์สูงกว่า ศีลถึงขั้นธรรมมนูญ จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีลสูงกว่าเรา เราก็ต้องรู้ฐานะบุคคล อยู่กับท่านให้ได้เคารพกัน อยู่กันอย่าง คุรุกรณะ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันตามฐานะ แบบอย่างไรก็ไม่สับสน ผู้ใหญ่จะช่วยผู้น้อยอย่างนี้ผู้น้อยจะช่วยผู้ใหญ่อย่างนี้อย่างไร ผู้น้อยควรจะยกเก้าอี้ให้ผู้ใหญ่นั่งเป็นต้นชัดเจนมันต้องรู้หน้าที่ เข้าใจกันแล้วจะไม่มีปัญหาอะไรคืออะไรอะไรควรอะไรไม่ควร จบสุดท้ายพระพุทธเจ้าจึงสอนที่เราอยู่ที่ว่าควรหรือไม่ควร ในปัจจุบันนั้น มหาปเทส 4 เอาปัจจุบันนั้น ไม่อาศัยพุทธเจ้าก็ต้องอาศัยตัวเองรับผิดชอบเอา ผิดก็เป็นวิบากของตัวเอง ถูกก็เป็นวิบากของตัวเอง อันนี้สุดท้ายและเป็นอิสระเสรีภาพตัวใครตัวมันแล้ว อย่างนี้เป็นต้น
ศีลสามัญตา เป็นหลักเกณฑ์ที่พระเจ้าท่านตรัสไว้แล้ว หรือจะมีในแต่ละลำดับแต่ละยุคสมัย มีตราขึ้นมาใช้อย่างเหมาะควรถูกต้องก็ต้องอาศัยในแต่ละยุคสมัย อาจจะมีเหตุปัจจัยที่มีความยึดถือต่างกันในแต่ละยุคสมัย อย่างของพวกเรานี้ยึดถือว่าอย่าไปแก้ของพุทธเจ้าเด็ดขาด ส่วนของมหายานนั้นถือว่าแก้ได้ เถรวาทถือว่าอย่าแก้เลย พวกเราอยู่ในฝ่ายเถรวาทยึดถือเอาไว้ พวกมหายานไม่มีที่สิ้นสุด แต่พวกเถรวาทนั้นมีแก่นแท้ มีที่สิ้นสุดได้ มหายานเขาก็เข้าใจและยอมรับ แต่ว่าเขาไม่เอาแบบนี้เขาจะเอาแบบมหายาน เขาต้องการแบบมาก แต่เถรวาทนั้นไม่ต้องการแบบมากต้องการของแท้ของจริง แม้น้อยเราก็ไม่มีปัญหาเราจะเอาหมูน้อยที่เป็นแก่น เราเข้าใจในหมู่มากนั้นเราจะมากอีกเท่าไหร่ก็ได้ แต่หนักไม่เอามันเสียเวลายาวนานจบเร็วเป็นพระอรหันต์เลยดีกว่าอย่าว่าแต่จะเสียเวลาให้ไปเสวยเสพอยู่ในสุทธาวาส 5 ก็ไม่เอา ไม่ไปเสียเวลาพระสมณโคดมเป็นหลักสูตรที่ลัดคัดสั้นที่สุด concise ที่สุด
ศีลที่ซับซ้อนลึกซึ้ง ศีลแต่ละลำดับมีส่วนที่จะอนุโลมปฏิโลมส่วนที่ได้แท้ๆแล้วไม่ต้องทำอีกมีแต่สั่งสมให้แข็งแรงมั่นคง ตั้งมั่นมันก็มีเป็นสัจธรรมเป็นสภาวะธรรมที่เชื่อมโยงเพราะฉะนั้นความมีศีล เป็นลำดับมีสภาวะมีผลสำเร็จเป็นลำดับอย่างน่าอัศจรรย์จึงไม่ใช่เรื่องเล่น
อาตมาพยายามอธิบายย้อนไปย้อนมาศีลข้อที่ 1 2 3 จนเดี๋ยวนี้ก็ยังเอามาอธิบายอีก
ศีลข้อที่ 1 เกี่ยวกับสัตว์เกี่ยวกับคน ดิ้นด๊อกแด๊กได้ ศีลข้อที่ 2 เกี่ยวกับข้าวของวัตถุไม่ดิ้นด๊อกแด๊ก ศีลข้อที่ 3 เกี่ยวกับตาหูจมูกลิ้นกายใจ เกี่ยวกับสัตว์มันก็ต้องมีวิบากมากกว่า เกี่ยวกับของที่เป็นพืชนั้นไม่มีวิบากอะไร ยิ่งเป็นวัตถุยิ่งจะไม่มีวิบากเลย เพราะฉะนั้นเราจะเลือกเอาอันไหนถ้าคุณอยากต่อวิบากก็ต่อไปสิแต่ถ้าคุณไม่อยากมีวิบากเกี่ยวกับสัตว์ก็ปล่อยเขาไปอาตมาจึงไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับสัตว์ใดๆมันจะยุ่งก็เป็นวิบากของมัน เราก็ยุ่งเกี่ยวกับแค่ของมันไม่มีวิบากแค่นี้ก็เหลือแหล่แล้ว ชีวิตมีทั้งสองนะมีทั้งอุตุนิยามและพีชนิยาม ส่วนสัตว์ด้านในมีตัวเดียวแต่มันยุ่งยาก อาตมาว่าอาตมาไม่โง่ไปยุ่งวุ่นวายเกี่ยวกับ 3 ยิ่งเป็นสัตว์เซลล์เดียวสัตว์เดรัจฉานมันผูกพยาบาทมันรักมันไม่รู้เรื่องนะ มันหนักนะมันรักก็รักหนักมันผูกพยาบาทก็ผูกแน่นนะ เพราะมันยังไม่รู้เรื่องการปลดปล่อยอะไรเลย มันเกิดมาเป็นชีวแล้วมันไม่รู้ตัวหรอก ว่ามันจะถูกมันมีแต่จะเอาตัวเองให้หนาขึ้นแน่นขึ้นใหญ่ขึ้น ชอบใจอย่างนี้ก็มากขึ้นมากขึ้น กว่าจะเป็นเวไนยสัตว์ กว่าจะเป็นสัตว์ที่สอนได้นี้ นาน เป็นเวไนยสัตว์แล้วซ้อนได้แล้วก็ยังมีลำดับขั้นอีกเยอะแยะซับซ้อน
เพราะฉะนั้นศึกษาให้ดีและเราจะรู้ลำดับ จนถึงขั้นทำได้อย่างถูกสัดส่วน ได้มีข้อกำหนด ศีลกับทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นความรู้เป็นหลักเกณฑ์เป็นผู้ที่เอาตัวนามธรรม ศีลสามัญญตาเป็นการเอาวัตถุเป็นหลัก ทิฏฐิสามัญญตาเป็นเอานามธรรมเป็นหลัก แล้วจัดสรรกับนามธรรมตัวนี้ทิฏฐิสามัญญตา
ทิฏฐิสามัญญตาจึงเป็นตัวซับซ้อนทิฏฐิสามัญญตานี้อยู่ในอุปาทาน 4 เรียกว่าทิฏฐุปาทาน
-
กามุปาทาน (ถือมั่นติดยึดในกามภพ บำเรอรูปรสฯ) .
-
ทิฏฐุปาทาน (ถือมั่นติดยึดในทิฏฐิ เช่น เห็นว่าผีมีตัวตน)
-
สีลัพพตุปาทาน (ถือมั่นติดยึดในศีลและวัตรปฏิบัติธรรม)
-
อัตตวาทุปาทาน (ถือมั่นเข้าใจในอัตตาหรืออาตมันได้แค่ วาทะ แต่ไม่เคยรู้เห็นอัตตาตัวปรมาตมันจริงๆนั้นเลย) . . .