ก (หมวด ก) | |
กงฺขํ วิหนติ | ย่อมบรรเทาความสงสัยเสียได้ (จากสมาธิพุทธ หน้า ๕๑) |
กฎุมพี | คนร่ำรวย คนมั่งคั่ง (จากสมาธิพุทธ หน้า ๓๙๕) |
กต | ทำแล้ว (จากทางเอก ภาค ๒ หน้า ๑๖๙) |
กตญาณ | ๑. เกิดทำได้เด็ดขาด (จากคนคืออะไร? หน้า ๑๗๓ , ๑๙๐)
๒. ความรอบรู้ในผลที่เสร็จลงแต่ละครั้งครา (จากถอดรหัสอัตตา อนัตตา นิรัตตา หน้า ๑๕๓) ๓. ความรอบรู้ในผลที่เสร็จลงแต่ละครั้งครา แล้วสมบูรณ์ขึ้นจนมั่นคง มั่นใจเที่ยงแท้เป็นที่สุด (จากอีคิวโลกุตระ หน้า ๒๘๕) ๔. ญาณที่หยั่งรู้ความเสร็จสิ้นสัมบูรณ์แล้วทุกสิ่งอย่าง (จากธรรมที่เป็นพุทธ หน้า ๒๒๘) |
กตัตถะ | ผู้ทำประโยชน์แล้ว (จากธรรมที่เป็นพุทธ หน้า ๒๒๘) |
กถา | คำอธิบาย คำกล่าว (จากทางเอก ภาค ๑ หน้า ๒๒๕) |
กม | ลักษณะความสืบต่อ (จากทางเอก ภาค ๒ หน้า ๓๙) |
กรณ | การกระทำ (จากสมาธิพุทธ หน้า ๓๖๑) |
กรณะ | กิจ , การกระทำ ความประพฤติที่เป็นไปอยู่แต่ด้านนอก เป็นไปได้เฉพาะรูป(วัตถุ) ไม่หยั่งถึงนาม(จิตใจอันเป็นญาณ) เลยเป็นไปกับโลกอันมีเปลือก อันมีแต่โลกียะกับอามิส (จากทางเอกภาค ๑ หน้า ๕๗) |
กรรม | ๑. การกระทำที่ได้ทำมาแล้วเรื่อย ๆ มากมายก่ายกอง สั่งสมไว้จากน้อย ค่อยเพิ่มขึ้นจนเป็นความเคยชิน (จากคนคืออะไร? หน้า ๒๗๓)
๒. การงานที่สักแต่ว่า…การงานที่เป็นการยังกุศลให้ถึงพร้อม (จากทางเอก ภาค ๑ หน้า ๒๑๕) ๓. การงาน การกระทำ (จากทางเอกภาค ๒ หน้า ๖๒๒ ,ภาค ๓ หน้า ๑๖๙) ๔. การกระทำของแต่ละคน (จากสมาธิพุทธ หน้า ๑๖๔) ๕. ทำการงาน (จากสมาธิพุทธ หน้า ๒๒๙) ๖. บทบาท หรืออาการแห่งกิริยาของคนซึ่งเรียกเป็นภาษาไทยว่า การกระทำของคนอันมีได้เพียง ๓ อย่างได้แก กายกรรม – วจีกรรม – มโนกรรม (จากกำไร-ขาดทุนแท้ของอาริยชน / เราคิดอะไร ฉ.๒๖๗) |
กรรมฐาน | ๑. การกระทำตามตำแหน่งของตน หรือระดับของตน
(จากทางเอก ภาค ๑ หน้า ๓๐) ๒. กระทำถูกต้องตามฐานะแห่งตนโดยแท้ โดยจริง (จากทางเอก ภาค ๑ หน้า ๒๒๗) ๓. สภาพฐานะของจิตหรือภูมิซึ่งจะได้ประพฤติ กระทำกับตน (จากทางเอก ภาค ๒ หน้า ๓๗๖) ๔. ฐานสำหรับการประกอบกรรม ประกอบการกระทำ เพื่อขัดเกลา เพื่อละกิเลสบางอย่าง บางประการสู่ความหมดหรือพ้นอิทธิพลชองกิเลสตัวนั้น ๆ ที่ตนเอง ของตนเอง ด้วยตนเอง (จากสมาธิพุทธ หน้า ๔๑๙) ๕. อะไรก็ได้ที่เรายึดเอาสิ่งนั้น อย่างนั้น องค์ประกอบนั้น ๆ วิธีนั้นมาเป็นหลักยึดในการกระทำ เรากำลังจะเจริญเจโตสมถะ หรือภวังคฌาน เราก็ยึดเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง วิธีใดวิธีหนึ่งมาเป็นหลักยึดในการกระทำ (จากคนคืออะไร? หน้า ๓๑๔) ๖. ข้อกำหนดประมาณเอาตามที่ตนตั้งจิต กำหนดเอาเท่าที่จะปฏิบัติพอเหมาะกับตน (จากยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า ๑๐๓) |
กรุณา | ๑. รากศัพท์มาจาก กรณ อันหมายถึงกิจ การผลิตขึ้น การกระทำอันพึงควรทำ หรือมีปกติให้สำเร็จลงเท่านั้น(จากทางเอก ภาค ๒ หน้า ๑๔๔)
๒. ลงมือช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์(จากสมาธิพุทธ หน้า ๓๗๓) |
กรุณาธิคุณ , พระกรุณาธิคุณ | ๑. การได้มีประโยชน์ต่อผู้อื่น ได้เสียสละให้ผู้อื่น ได้ช่วยผู้อื่นให้มีพุทธคุณขึ้นมาสืบเนื่อง ๆ ต่อไป ๆ อีก(จากทางเอก ภาค ๑ หน้า ๖๙)
๒. เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น เป็นผู้-สร้างสรรค์จรรโลง เป็นผู้ได้ให้ เป็นผู้มีค่ามีคุณแก่มนุษย์ แก่โลกแท้(จากทางเอก ภาค ๑ หน้า ๒๑๖) ๓. จิตที่มีคุณลักษณะในการกำจัดอธรรม ซึ่งเป็นคุณธรรมของพระศิวะในตรีมูรติ (จากยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า ๓๕๐) |
กลละ | ๑. รูปจิตที่เริ่มเกิด หรืออัตตาที่เริ่มเกาะตัว หรืออรูปที่ตกตะกอน
(จากทางเอก ภาค ๒ หน้า ๒๘๕) ๒. เชื้อชีวะแรก (จากยอดนิยายของโลกที่ไขความเป็นมนุษย์ หน้า ๒๘๐) |