นาม วิชชาจรณะ
คำว่า “นาม” อาตมานิยามคำว่า นาม นี้ให้ฟัง เพื่อความเข้าใจแล้วเอามาใช้ศึกษา
“นาม” หมายความถึง สิ่งที่ไม่ใช่รูป คือจิต อยู่ในตระกูลจิตนิยาม
จิตนิยามเป็น“นาม” แม้แต่พีชนิยามก็ยังไม่ได้เรียกพลังงานของพืชว่า “นาม” เรียกได้แค่อรูป ที่เป็นชีวะ ไตร่ตรองพิจารณาการใช้พยัญชนะกับสภาวะให้ดีๆ พีชะเป็นชีวะแล้ว แต่ยังไม่ถงขั้นจิต ซึ่งจิตก็คือชีวะแท้ๆ
เพราะฉะนั้นพลังงานของพืชเป็นแค่“อรูป” ไม่ใช่“นาม”
แม้อรูปก็ยังมีที่เป็นอุตุ และยังมีอรูปที่เป็นพีชะ อรูปมีแม้แต่ในความเป็นจิตอีกนะ
และความเป็น “ชีพ”หรือ“ชีวะ” นั้นยังแยกเป็น 2 อย่าง
คำว่า “ชีพ”หรือ“ชีวะ” แยกเป็น 2 คือ พีชนิยามกับจิตนิยาม
พืชนั้นยังไม่มีธาตุรู้บริบูรณ์ คือธาตุรู้ยังไม่บริบูรณ์ด้วยขันธ์ 5 เหมือนจิต พืชมีแค่ขันธ์ 3 คือ รูปขันธ์ สัญญาขันธ์และสังขารขันธ์ เท่านี้ี่คือพีชนิยาม พืชยังไม่มีเวทนาขันธ์ ยังไม่มีวิญญาณขันธ์แน่นอน จึงยังไม่มีกรรมวิบาก พืชชื่อว่าทำกรรมไม่เป็นอันทำให้เกิดเป็นวิบากที่สืบต่อจองกรรมจองเวรในวัฏฏะไปนานเท่านาน เหมือนจิตที่มีกรรมวิบากสืบต่อจองเวรกรรมกันข้ามชาติได้ไปนานนับไม่ถ้วน นานถึงขั้นนิรันดรกันทีเดียว
พืชยังไม่มีิวิญญาณสืบต่อชาติข้ามชาติไปได้ พืชสืบต่อ DNA ของอรูปเท่านั้น ซึ่งเมื่อความเป็นพืชนั้นๆหมดพลังงานที่จะหมุนวนชีวะต่อไป พืชก็จบสิ้น DNA ที่เป็นแค่พีชนิยาม พืชจึงยังไม่มีพลังงานแห่งอัตตาข้ามชาติยังจองเวรจองกรรมกันไม่ได้ รักโกรธกันไม่เป็น ที่สำคัญยิ่งคือ ยังไม่มีสุข-ไม่มีทุกข์ ที่พุทธศึกษาเป็นโลกุตระ
นี่คือ นามกับอรูปของพืช ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ อรูปของพืชกับของอุตุจึงไม่จองเวรกรรมกันเลย
ถ้านักปฏิบัติธรรมไม่สามารถรู้จักรู้้แจ้งรู้จริงความจริง“ธรรมนิยาม ๕”นี้ ก็แยกความเป็นกาย-เป็นจิตไม่ได้
เพราะจะแยกนาม-แยกรูปไม่ได้ แยกเทฺวะไม่ได้ แยกกายไม่ได้นั่นเอง ก็ไม่มีทางจะบรรลุนิพพาน
นาม อีกลักษณะหนึ่ง
นาม = ในภาษาไวยากรณ์ หมายถึง ชื่อเรียก หรือคำเรียกที่เป็นชื่อของสิ่งที่เป็นจิตนิยาม ซึ่งนักภาษาหรือนัก
ไวยากรณ์หมายถึงบัญญัติหรือพยัญชนะ โดยเผลอไปว่า นามนั้นเป็นแค่“รูปรูป” ทั้งๆที่นามเป็น“กาย”แท้ๆ คือเป็นทั้ง“รูป”ทั้ง“นาม”เสมอ
และ นาม ในความเป็นกาย (กาย นั้นต้องมีความเป็น 2 เสมอ เช่น“เทฺว ธรรมา” หรือรูปกับนาม)
นาม อยู่ในความเป็นกาย หรือเทฺว ซึ่งหมายเอา“วิญญาณ”หรือ“มโน”หรือ“จิต”เป็นหลัก
กายก็มี 2 เสมอ เทฺว ก็มี 2 เสมอ ผู้โมหะว่า“เทฺว”เป็น ๑ เดียว จึงเป็นลัทธิ“เทฺวนิยม”อยู่ เพราะยังไม่ชัดเจนคือรู้ไม่ทันในความเป็น“สิริมหามายา” ที่สลับไปสลับมาของ“ภาวะ ๒” จึงสับสนในความเป็น“กายกับจิต”
คนที่ปฏิบัติธรรมเข้าใจคำว่า“กาย”เป็นแต่เพียงภายนอกไม่มีภายในนั้นมิจฉาทิฏฐิแท้ จะต้องเข้าใจว่ามีภายนอก
กับภายในเสมอ ต้องมี“๒”ภาวะเสมอ จึงจะเรียกว่า กาย กายจะต้องมีความเป็นจิตร่วมด้วยเสมอ
และ“กาย”กับ“จิต” ก็สามารถอธิบายได้ว่า เมื่อได้ตัดขาดความเป็น“กาย”เมื่อใดเป็น“จิตธาตุ” เมื่อใดเป็นแค่“พีชธาตุ” เมื่อใดเป็น“อุตุธาตุ”แล้ว จึงจะเป็นผู้รู้จักรู้แจ้งรู้จริง“ธรรมนิยาม ๕”
ผู้แยกกายแยกจิตได้ จะแยก เทวฺ คือ ความเป็น 2 ได้ หรือแยกธรรมนิยาม 5 ได้ จึงสามารถแยก “สังขารรูป” หรือ “สังขารจิต” ได้ว่า “สังขารรูป” นั้นเป็นการปรุงแต่งของ “อุตุธาตุ กับ อุตุธาตุ” หรืออย่างเก่งก็แค่ “อุตุธาตุ กับ พีชธาตุ”เท่านั้น ยังไม่ถึงขั้นการปรุงแต่ง “อุตุธาตุ กับ จิตธาตุ” หรือ “พีชธาตุ กับ จิตธาตุ”
เพราะฉะนั้นการแยกกายแยกจิตที่เป็นมูลกรรมฐาน ๕ ของภิกษุที่มาบวชทุกองค์ อุปัชฌาย์จะให้กรรมฐาน ๕ นี้ไปทำความเข้าใจ ต้องพิจารณาเรียนรู้“แยกกาย-แยกจิต”ให้ชัด ว่าอย่างไรแยกออกเป็นอุตุนิยาม อย่างไรเป็นพีชนิยาม อย่างไรเป็นจิตนิยาม เข้าใจนิยามทั้ง 3 อย่างนี้ให้ได้ จึงจะไปปฏิบัติ กรรมนิยามและธรรมนิยามสำเร็จถึงที่สุดนิพพานได้
ถ้าเข้าใจนิยาม 3 นี้ไม่ชัดเจนถ่องแท้ ตัดขาดความเป็นอุตุ ตัดขาดความเป็นพีชะ ตัดขาดความเป็นจิตไม่ได้ คุณไม่มีทางจะบรรลุอรหันต์ เพราะจะปฏิบัติกรรมให้เป็นธรรมะไม่สัมมาทิฏฐิ ก็ไม่สามารถบรรลุอรหันต์แน่นอน รายละเอียดของพวกนี้ไม่ใช่ง่ายๆ
อรหันต์เก๊ที่หลับตาปฏิบัติ พูดชัดแล้วว่า หลับตาปฏิบัตินั้นเป็นโมฆะในความเป็นนิพพาน
การหลับตาปฏิบัติโดยไม่ชัดเจนอย่างที่อาตมาพูด แต่ถ้าคุณจะหลับตาอย่างสัมมาทิฏฐิก็เป็นอุปการะ หลับตานั้นมี ทำได้ถ้าสัมมาทิฏฐิ โดยชัดเจนว่า
1) ทำเพื่อพักผ่อน
2) ทำเพื่อศึกษาจิตเจตสิกในภพภูมิของสัญญา
3) ทำเตวิชโช ตรวจสอบลงบัญชี บุพเพนิวาสานุสติญาณ-จุตูปปาตญาณ-อาสวักขยญาณ
4) ทำเอาไปเล่นฤทธิ์เดชเป็นอาเทสนาปาฏิหาริย์ อิทธิปาฏิหาริย์ อย่างนี้ของพุทธตีทิ้ง ไม่สนใจ ผู้สนใจอยู่คือ คนนอกรีตศาสนาพุทธ
ทุกวันนี้อาตมาก็ยังใช้“หลับตา”ก็ตามอย่างสัมมาทิฏฐินี้อยู่ เป็นอุปการะมาก ทุกวันนี้ก็ยังใช้ หลับตา พิจารณาไตร่ตรองตรวจสอบ หรือตัดทวารดับไป ไม่ได้สงสัยลังเลอะไร เฉพาะอย่างยิ่งไม่ได้หลงผิดติดยึด
สรุปตอนนี้ นามธรรมกับอรูปต่างกันอย่างไร หรือนามธรรมในโลกที่ศึกษาทางไวยากรณ์ นามนั่นหมายถึงพยัญชนะ แต่แท้จริงด้วยสัจจะแล้ว นาม หมายถึงสภาวะ นามไม่ได้หมายถึงพยัญชนะแค่“อธิวจนสัมผัสโส”แต่ต้องมี“ปฏิฆสัมผัสโส”ด้วยเสมอ
หากจะบัญญัติ“รูปกาย”ก็ต้องมี“อธิวจนสัมผัสโส” และถ้าจะบัญญัติ“นามกาย”ก็ต้องมี“ปฏิิฆสัมผัสโส”จึงจะสามารถยืนยัน“ความจริงหรือสัจธรรม”แก่กันและกันสำเร็จ
“รูปกาย”หรือ“นามกาย”นั้นเป็น“กาย”ต้องมี“๒”แยกกันไม่ได้
ตัวนี้แหละเป็นภาษาของสิริมหามายา ผู้ที่ยึดติดอยู่แต่พยัญชนะอย่างเช่นเป็นสายเปรียญ 9 ด็อกเตอร์การศึกษาเต็มหัวหมด เอาไวยากรณ์ วจีวิภาค-วากยสัมพันธ์มา ไม่ตามสภาวะที่อาตมาอธิบาย พวกนี้จบเห่ ยึดถือพยัญชนะ ยึดถือภาษา คำว่านามก็กลายเป็นชื่อเป็นพยัญชนะเป็นภาษาบัญญัติไปหมด เข้าไม่ถึงสภาวะ น่าสงสาร หลายคนมีความรู้ทางภาษาเขามีเยอะแต่ใช้ให้เป็นสภาวะไม่ได้ ก็เลยสับสนระหว่างสภาวะกับพยัญชนะ
อธิบายคำว่ากาย คำว่าบุญ คำว่าสมาธิ สับสนไปหมด สมาธิก็กลายเป็นนั่งหลับตา กายก็เป็นเรื่องภายนอกเพียงวัตถุ หรือเทวฺ หรือแม้แต่คำว่านาม คำว่ารูป ก็แยกกันไม่ชัดเจน เพราะแยก“กายกับจิต”ใน“กรรมฐาน ๕”ไม่ได้ แค่ไหนเป็นอุตุ-แค่ไหนเป็นพีชะ-แค่ไหนเป็นจิต แยกไม่ถูกต้อง จึงปฏิบัติกรรม-ปฏิบัติธรรมไม่มีผล
เพราะจะแยกแม้แต่สังขารธรรมกับสังขารจิต หรือสังขารโลก ไม่สัมมาทิฏฐิ
สังขารธรรมหมายถึงอะไรที่รวมกันอยู่มีบริบทและเน้นเข้ามาหาจิต สังขารจิตหมายถึงเจาะเข้าไปถึงอาการของจิตเป็นสภาวธรรม คำว่าสภาวะธรรมนั้นเป็นดีเป็นชั่วก็ได้ เป็นโลกุตระเป็นโลกียะก็ได้ ส่วนสังขารโลกหมายถึงร่วมกันไปสู่ภายนอกมากขึ้นใหญ่ขึ้น
อาตมาได้สาธยายเข้าไปถึงจิต และกำลังจะแยกตีแตกไปถึงความเป็นธาตุ
ธาตุนั้นเน้นเข้าไปหาความเป็นหนึ่ง จึงเป็นเอกกว่าธรรม
ธรรมนั้นขยายออกไปหาความเป็นสองหรือทุกสิ่งทุกอย่างคือธรรมะ
คำว่าธาตุ ตัวไหนเอาคำว่า ธาตุ มาเรียกเพราะฉะนั้นตัวนั้นเรียกแยกเฉพาะตัวนั้น แต่มันก็เป็นสภาวะ 2 ได้หรือเป็นเท่าไหร่ก็ได้ จนกระทั่งถึงนับไม่ถ้วน
ถ้าเทวะสอง คุณต้องเรียนรู้ความเป็น 2 แยกแยะให้ได้ทีละ 2 หรือทีละคู่ แยกนาม-รูป แยกกาย-จิต แยกดี-ชั่ว แยกมาก-น้อย หรือคู่อื่นๆทั้งนั้นๆได้หมด โดยเฉพาะแยกโลกียะ-โลกุตระ แยกลึกลับ-เปิดเผยสัมผัส ได้
เรื่องธาตุกับธรรม สังขารรูปกับสังขารจิต ก็ต่างกัน
สังขารรูป เป็นการปรุงแต่งระหว่างอุตุธาตุกับอุตุธาตุ เป็นการปรุงแต่งอย่างหนึ่งสังขารรูป เช่น ไฟฟ้าแสงสีเสียงแม่เหล็กความร้อน ก็ปรุงแต่งกันอยู่ พวกนี้เป็นพลังงานที่เป็นอุตุธาตุทั้งนั้น ปรุงแต่งกัน
หรือ อุตุธาตุกับพีชธาตุปรุงแต่งกัน ยังไม่ถึงขั้นที่เป็นอุตุธาตุปรุงแต่งกับจิตธาตุ
จิตธาตุมันก็จะมีพีชธาตุอยู่ในนั้นด้วย เพราะว่าจิตธาตุนั้น มีทั้งอุตุธาตุ มีทั้งพีชธาตุ และมีทั้งจิตธาตุ
พระอรหันต์จึงสามารถทำให้จิตเป็นพีชธาตุได้ แล้วอาศัย ไม่เอาจิตที่ไปสังขารโลก ตัดตั้งแต่โลกอบาย โลกกาม โลกรูปโลก อรูปโลกก็ตัดได้ จึงสามารถดบความเป็นโลก-เป็นธรรม-เป็นธาตุได้เฉพาะตน
อาตมาเขียนไว้อธิบายคำว่านาม ขยายความสิ่งเหล่านี้ มันก็มีประโยชน์ รู้ชัดขึ้น ไม่ได้ลงลึกไปจนกระทั่งขยายซ้ำอีกว่า แล้วเมื่อไหร่มันจะเป็นอุตุธาตุ เมื่อไหร่เป็นพีชธาตุ จิตธาตุ แล้ว จึงจะไปปฏิบัติกรรมนิยาม-ธรรมนิยามได้ จึงจะทำกรรมสำเร็จ บรรลุธรรมสัมบูรณ์
ถ้าแยกธาตุ อุตุธาตุ พีชธาตุ จิตธาตุ ให้ขาดกันไม่ได้ ก็ไม่สามารถแยกจิตตัวเองให้เป็นอุตุได้ พระอรหันต์ที่เขาบอกว่าตายแล้วไม่เกิดอีก อย่างเช่น มหาบัวบอกว่าเป็นชาติสุดท้าย ที่จริงมหาบัวตายไปแล้วจากชีวิตชาตินี้จะเกิดหรือยัง จะไปตกอยู่สวรรค์หรือนรกเท่านั้น ซึ่งยังเกิดอยู่แน่ ไม่เป็นชาติสุดท้ายดังที่มหาบัวหลงผิดตัวเอง
อยู่นั้นแน่นอน เกิดมาเป็นอะไรก็ยังไม่รู้ หรือยังทรมานทุรกรรมยังไม่มาเกิดอย่างไรก็ยังไม่รู้ได้ อาตมาก็ไม่มีความเก่งเท่าพระพุทธเจ้าที่จะรู้ว่ามหาบัวจะไปที่ไหน เพราะท่านต้องไปตามวิบากอยู่แน่
สรุปแล้วอาตมาไม่ได้รังเกียจมหาบัว ไม่ได้ไปข่ม แต่พูดสัจธรรมว่าอย่าไปหลงผิด อย่าไปเข้าใจอรหันต์เก๊ว่าเป็นอรหันต์จริง สายที่หลับตาอาตมาก็บอกว่าโมฆะทั้งหมด แต่อาตมาก็พูดนะ เคยพูดแล้ว แต่ละท่านมีบารมีไหม มีโลกุตรจิตไหม บางท่านก็มี แต่อาตมาหยั่งรู้จิตท่านไม่ได้ บางท่านก็ไม่มี
แต่แม้ท่านมี ท่านก็ไปหลงทางโน้นหนัก ชาตินี้ปางนี้มันก็ซ้ำเติมให้ท่านสั่งสมวิบากไปอีกก็ท่านทำเอง แม้ท่านจะมีโลกุตรธรรมอยู่บ้างท่านก็ถูกโลกครอบงำหนักโงเงยขึ้นมาไม่ได้ ก็ไปเสียเวลา ดีไม่ดีไปรับทุกข์ทรมานอีกไปเป็นหนี้เขาอย่างนั้นอย่างนี้ ก็ต้องไปใช้หนี้ ทรมานทรกรรม ชาตินี้ไม่เป็นชาติหน้าก็ต้องไปทรมานทรกรรม ทรมานนี้ไม่ใช่ทุกกรกิริยา นะ
ทุกกรกิริยาคือกิริยาที่ไม่พาให้บรรลุธรรมศาสนาพุทธ ไม่พาให้เป็นอรหันต์ ไม่พาให้บรรลุโลกุตรธรรม
ส่วนผู้ที่จะไปทรมานตัวเอง เจ็บปวดเกินสามัญนั้น จะไปทำทำไม
ก็เอาแต่แค่ที่พอทนได้ มีตบะ มีศีล ที่พระพุทธเจ้ากำหนดไว้ก็พอแล้ว อย่าไปทรมานเกินนั้น
อาตมาไม่กลัวใครนะ กลัวคนที่เก่งกว่าพระพุทธเจ้าคนเดียว ดีอย่างไรก็ไม่กลัว แต่คนเก่งกว่าพระพุทธเจ้ากลัว
สิ่งที่เขียนไว้อีก หรือสาธยายแล้วๆเล่าๆอันคือ ฌาน 4 ในจรณะ 15
ฌาน 4 อยู่ใน“จรณะ ๑๕ วิชชา๘” ที่เป็นพุทธคุณ ๑ ใน ๙ คือ“วิชชาจรณสัมปันโน”ของพระพุทธเจ้าทีเดียว และเน้น “ปัญญา-ญาณ-วิชชา” ว่าเป็นยาดำ ต้องรู้-เห็น ด้วย “สัมผัส-สังวร-พิจารณา-รู้แจ้งรู้จริง-ตัดสิน” มาตลอดการปฏิบัติด้วย “จรณะ-ฌาน-วิชชา” มาตลอดสายตาม “ปฏิจจสมุปบาท” เป็นเหตุ-ปัจจัย …
จรณะ15 ต่อเนื่องกันมีเหตุปัจจัย มีศีลเป็นตัวตั้ง แล้วจะเกิดพัฒนาการของจิต ศีลเป็นตัวตั้งแล้วเกิดพัฒนาการของจิต ตั้งแต่วิธีปฏิบัติที่ไม่ผิด 3 อย่าง สำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 ถ้าคุณดันทุรังสำรวมอินทรีย์เดียวมันก็นอกรีตแล้วเพราะคนทุกคนธรรมดามีตั้ง 6 ทวาร แล้วมันจะไปสมบูรณ์ได้อย่างไร ต้องสำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 บางคนบอกว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้บอกเลข 6 แต่แล้วมันมี 6 ไหมล่ะทวารทั้ง 6 สัมผัส 6 แม้แต่ตัณหา 6 ท่านก็สอน อย่างนี้เป็นต้น ผัสสะ 6 ก็มี ขาดผัสสะ 6 ไม่ได้ ฟังดีๆ ไม่ได้รังเกียจแต่สงสารที่เขาไปจมอยู่อย่างผิดๆนั้นเสียเวลา
จรณะ จะมีตลอดไปตั้งแต่ศีล ต้องมี “ปัญญา-ญาณ-วิชชา” ว่าเป็น “ยาดำ” ต้องรู้-เห็น ด้วย “สัมผัส-สังวร-พิจารณา-รู้แจ้งรู้จริง-ตัดสิน” มาตลอดการปฏิบัติ ด้วย “จรณะ-ฌาน-วิชชา”
ปัญญา เป็นตัวตั้งของโลกุตระในศาสนาพุทธ สองเจริญขึ้นก็คือญาณ สามก็คือวิชชา
สามเส้านี้คือธาตุรู้ของโลกุตระ จะเป็นยาดำแทรกอยู่ ต้องรู้ต้องเห็นด้วยกับผัสสะอย่างแจ้งจริง มีสัมผัสแล้วตรวจธาตุรู้ตัวปัญญาเข้าจะไปเป็นยาดำเข้าไปรู้มีการปฏิบัติสังวรก็จะมียาดำแทรกอยู่
สังวรและพิจารณาก็ต้องมีธาตุรู้ปัญญา-ญาณ-วิชชาแทรกอยู่ทั้งนั้น จะรู้จักรู้แจ้งรู้จริง ตัดสิน มียาดำพวกนี้ มีตัวปัญญา,ญาณ,วิชชาแทรกอยู่ทางนั้นแทรกมาตลอดการปฏิบัติเลย ด้วย สามเส้าอีก
“จรณะ-ฌาน-วิชชา” มันจะร่วมด้วยอยู่ในการปฏิบัติที่จะต้องมีทั้งจรณะ ฌาน วิชชา มาด้วยกันตลอดสายตามปฏิจจสมุปบาท เป็นสายอนุโลม-สายปฏิโลม 11 หรือ 12 ที่นับกัน
ก็เป็นเหตุเป็นปัจจัย อนุโลม-ปฏิโลม หมายความว่าย้อนกลับบ้าง ไปตามบ้าง เกิดผลเจริญพัฒนาก้าวหน้าไป จนมันเกิดเป็น“วิชชา 8” เป็นกระบวนการสมบูรณ์เลย มันก็จะมียาดำจนเกิดวิชชา 8
ยาดำคือ “ปัญญา-ญาณ-วิชชา” เป็นยาดำแท้ แทรกใน “จรณะ-ฌาน-วิชชา”
อนุโลม-ปฏิโลม เกิดผลเจริญพัฒนาก้าวหน้า มี เป็นกระบวนการสมบูรณ์ ตั้งแต่ต้น “วิปัสสนาญาณ-มโน
มยิทธิ-อิทธิวิธญาณ-โสตทิพย์-เจโตปริยญาณ 16” และได้ทบทวนตรวจสอบสรุปผลด้วย “เตวิชโช” บริบูรณ์
อาตมาแสดงธรรม มาตลอดนาน จะ 50 ปี ด้วยฐานที่เป็นจริงมีจริงของตนเอง แสดงในวงการศาสนาพุทธ ในยุคนี้ ยุคครึ่งพุทธกัปของสมณโคดม ฟังชัดเจนนะ กัปปะ
พุทธศาสนาเป็นพุทธกัป ของสมณะโคดม แต่พุทธกัปของพระพุทธเจ้าองค์อื่นท่านก็มีวาระไม่เท่ากันกี่หมื่นกี่แสนปีก็เป็นเรื่องของท่าน แต่เราไม่พูดอันนั้น เราพูดของพระสมณโคดม ก็จะเข้าใจว่าเป็นบารมีของแต่ละองค์ แต่ไม่ได้หมายความว่าบารมีพระพุทธเจ้าแต่ละองค์ไม่เท่ากัน เท่ากัน แต่เหตุปัจจัยองค์ประกอบมันต่างกัน อย่างเช่นยุคพระสมณโคดมนี่ คนโง่ทางธรรมลงไปตั้งเท่าไหร่แล้ว แต่ฉลาดปราดเปรื่องทางโลกนะ มันจะใกล้กลียุคอยู่แล้ว ก็ต้องช่วยคนได้น้อยสิ แต่คนที่ฉลาดทางธรรมมาก มาฆบูชาตั้ง 3 ครั้ง 5 ครั้งก็แล้วแต่พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ ของสมณโคดมมีมาฆบูชาเพียงครั้งเดียวอะไรอย่างนี้ แล้วมีพระอรหันต์แค่1,250 แค่นั้น พระพุทธเจ้าบางองค์มีเป็นล้านองค์ เราไปเทียบให้รู้แต่ไม่ใช่เทียบเท่าในความเท่า พระพุทธเจ้าทุกองค์ความรู้ความสามารถเท่ากัน ทุกองค์ แต่มาประกาศต่างกันตรงที่องค์ประกอบของศาสนาในแต่ละยุคนั้นต่างกัน พุทธกัปของพระสมณโคดมมีอายุประมาณ 5,000 ปี
ก่อนอาตมามาเกิดในชาตินี้ พอพูดเป็นนัยว่า ชาตินี้-ชาติก่อนละก้อสนใจๆ ชอบ ชอบนะนิทานแบบนี้ (ฮา..)
ศาสนาพุทธซึ่งเป็นสังขารธรรม อย่างหนึ่งในสังขารทั้งหลาย เป็นสังขารธรรมของจิตนิยาม มันได้เกิดขึ้น แล้วเจริญขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็เสื่อมไป เป็นกฎของไตรลักษณ์ที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป กว่าจะมาถึง 2,500 ปี“การเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-เสื่อมไป”ของความเป็นศาสนาพุทธมันเกิดมาหลายรอบแล้ว ศาสนาพุทธของพระสมณโคดมนี่แหละเกิดขึ้นตั้งอยู่เสื่อมไปหลายรอบแล้ว
แม้แต่ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์ชีพอยู่มันก็มีคนปฏิบัติการทำความเสื่อมอยู่แท้ๆ เช่นพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทำให้เสื่อม พระเทวทัตทำให้เสื่อม ทำให้เสื่อมลงไป และคนก็ไปหลงติดเป็นลูกศิษย์พระเทวทัตทุกวันนี้ก็มี ลูกศิษย์พระภิกษุฉัพพัคคีย์ก็มี เกิดมากลุ่มแล้วกลุ่มเล่าพวกคณะพวกนี้ ของพระพุทธเจ้ามีตัวอย่างน้อย ถ้าเป็นองค์อื่นก็จะมีตัวอย่างเยอะกว่านี้ อันนี้ตัวอย่างเดียวก็เข้าใจง่าย หลายตัวอย่าง ก็อาจจะสับสน
สรุปแล้วกว่าจะมาถึง 2,500 กว่าปีมันเกิดขึ้นตั้งอยู่เสื่อมไปมาตั้งหลายรอบแล้ว แล้วก็กอบกู้กันมาตั้งหลายรอบแล้ว
ผู้ที่กอบกู้อย่างที่พวกเรามีตำนานอย่างชัดเจน แค่ศาสนาพุทธเกิดมาและผ่านไปแค่ 200-300 ปีประมาณนั้น ก็ผิดเพี้ยน พากันเลอะเทอะจนกระทั่งพระเจ้าอโศกมหาราชต้องมาสะสาง เห็นไหม
แล้วบอกได้ว่า พระเจ้าอโศกมหาราชก็คือ พระเถระของพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งเกิดมา พระเจ้าอโศกมหาราชก็คือ เถระองค์หนึ่งนี่เองของพระสาวกสำคัญของพระพุทธเจ้านั่นแหละ เกิดมาจัดการกอบกู้มาครั้งหนึ่งแล้ว มันจึงเหลือศาสนาพุทธเข้ามาถึงเมืองไทย โดยลูกของพระเจ้าอโศกมหาราช ที่ส่งมาหยั่งลงในไทย
200-300 ปีของศาสนาพุทธก็เปื้อนแล้ว เห็นมั้ยความเกิดขึ้นตั้งอยู่เสื่อมไปศาสนาพุทธ
ยิ่งมาถึง 2,500 กว่าปีแล้วมันหลายรอบแล้ว อาตมาก็ยังระลึกชาติไม่ได้หลายรอบ ถึงระลึกได้ก็ไม่พูด ขนาดนี้ก็ยังแอบมีลิเกกันแล้วไม่ต้องไปติดใจเรื่องเหล่านั้น
เรื่องของการเกิดขึ้นตั้งอยู่เสื่อมไปอันเป็นกฎไตรลักษณ์มันยังมีซับซ้อนอีกเยอะ
มาในยุคนี้อาตมาต้องมาทดสอบตัวเองเป็นโพธิสัตว์ปางที่ 7 หนัก เพราะว่าศาสนามันยืนยาวมาเกิน 2,500 ปีแล้ว มันก็ต้องเสื่อมหนักกินลึกซับซ้อนลวงลับละเอียดยากที่จะแยกแยะออกมาสาธยายให้หมดได้ อาตมาพยายามเก่ง ไม่พยายามอมภูมิเลย พยายามแยกแยะ ขยายภูมิจนคนหมั่นไส้แล้ว พยายามที่สุดแล้วไม่ได้ออมมือ ก็ยังได้แค่นี้แหละ ซึ่งมันยากสุดๆเลย
ที่มันยากเพราะว่าผู้ที่มีอยู่นั้นเต็มไปด้วยโมหะและอุปาทาน แต่ถึงอย่างไรอาตมาก็ขอยืนยันว่า ศาสนาพุทธนั้น เป็นศาสนาแห่งความจริง ฟังความนี้ พยัญชนะนี้
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งความจริง
ซึ่งเป็นความจริงของปรมัตถสัจจะ อันยืนยันด้วยปรมัตถธรรม
ปรมัตถสัจจะคือตัวความจริง ปรมัตถธรรมคืออาการของความทรงไว้
สัจจะกับธรรมะนี้ เอาแค่นี้ก่อน สัจจะคือเน้นความจริงเป็นความจริง ยิ่งแยกเป็น ส จ จ
หรือธัมมะ แยกเป็น ธ ม ม ก็ยังต่างกัน คำว่าสัจจะกับธรรมะ
สัจจะคือความจริงๆ ส่วนธรรมะนั้นบางทีเขาก็แปลว่าความดีความจริงเป็นองค์รวม ถ้าเป็นสัจจะก็เป็น static ถ้าเป็นธรรมะก็เป็น Dynamic
ขอยืนยันว่าอาตมารู้จักรู้แจ้งรู้จริงในความเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะนามธรรม
รูปธรรมนั้นง่ายเพราะมันนิ่ง ส่วนนามธรรมนั้นละเอียดลงไปมันรู้ยากกว่า โดยเฉพาะไปแยกแยะรูปธรรมนามธรรม ในธรรมนิยาม 5
อุตุนิยามยังไม่มีนาม แม้พลังงานพีชะก็ไม่เรียกว่านาม ใครแยกรูปแยกนามแค่นี้ไม่ออก พีชนิยามเป็นอรูป ไม่เป็นนาม ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขไม่มีกรรมวิบาก
ผู้ที่สามารถแยกแยะชัดเจนไปถึงธรรมนิยาม 5 อุตุนิยาม พีชนิยาม จิตนิยาม กรรมนิยาม ธรรมนิยาม
ก็จะสามารถแยกจิตแยกกายออกจากกันได้ แยกแยะรูปกับนามออกจากกันได้
แยกแยะความจริงของสารพัดทั้งหมดได้ ไม่เช่นนั้น เมื่อจะตายคุณจะแยกธาตุจิตของคุณให้เป็นอุตุนิยามสูญสลายธาตุจิตไปเป็นอุตุ มันจึงจะไม่กลับมารวมตัวเป็นชีวะอีก คุณก็ทำไม่ได้
เห็นมั้ยว่า มันมีความจริงของความเป็น“ธาตุ”อยู่จริงลึกซึ้งยิ่งนัก กว่าจะเป็นอรหันต์ได้จริง
การเป็นอรหันต์ง่ายไหม? แต่สู้ไหม.. (เสียงขานรับว่า) สู้ ดังสนั่น
ไม่ง่ายแต่สู้ โอ้…
ทำไมสู้ล่ะ…1) มันสมควรได้ และ 2) มันได้มาบ้างแล้ว เห็นชัดเจนว่ามันสมควรได้และมันก็ได้มาแม้จะน้อยก็ตาม ก็ชัดเจน ยิ่งคนไหนที่แน่ใจว่า เราโสดาบันผ่าน สกิทาฯ หรือบางคนสกิทาฯเราก็ผ่าน แต่อย่าเพิ่งไปสรุปง่ายๆ มีหลายคนที่พวกเรานึกว่าเราเป็นอรหันต์แล้ว แต่นี่ยังไม่ใช่ เลยดีนะ ที่ไม่ขายหน้าแสดงออก
คนที่ซื่อสัตย์กับความจริงมันดี เพราะฉะนั้นคำว่าความจริงคำนี้มันลึกซึ้งที่สุดเลย สมมุติสัจจะก็เป็นความจริง ปรมัตถสัจจะก็เป็นความจริง ซึ่งต้องใช้ให้ถูกกาละ เทศะ ฐานะ
ปรมัตถ์คือเนื้อแท้ที่มันที่สุด สมมุติออกมาข้างนอก ปรมัตถ์เข้าไปข้างใน ก็ไปหาจิตเจตสิกรูปนิพพาน ส่วนสมมติก็เข้ามาหาโลกเข้ามาหาจักรวาล เข้ามาหาวัตถุต่างๆ หรือองค์ประกอบของลีลาต่างๆนานา ก็ต้องชัดเจนในสภาวะพวกนี้
อาตมาขยายความไปก็คงจะพอเข้าใจว่าอาตมาไม่ได้ดูถูกมหาบัว ไม่ได้“ดูถูก”พวกนั่งหลับตา แต่สงสารเขา ถึงได้พยายามบอกความจริง ตำหนิติเตียนอย่างกระหน่ำกันให้รู้ว่าผิดหนักอยู่นะ เลิกกันเสียที ก็เพราะสงสาร ประสงค์จะให้เข้าใจ เห็นจริงว่า มันผิด เลิกเถอะ “หลับตา”ปฏิบัติอย่างนั้นอาตมาทำมาแล้ว ทำมาอย่าหนักหนาสาหัสด้วย ไม่ใช่อาตมาไม่รู้จัก“ภูมิธรรม”แบบหลับตาปฏิบัติ
อาตมารู้ทั้ง ๒ ทาง ทั้งทางผิด กับทางถูก จึงสามารถยืนยันได้ว่า อะไรผิด-อะไรถูก ไม่ใช่โมเม ไม่ใช่เดาเอา ไม่ใช่ยังไม่รู้จริง เพราะรู้จริงจึง“ดูถูก-พูดถูก-ยืนยันถูก”อยู่ย้ำๆซ้ำๆนี่ไง ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรเลย
แต่พวกหลงยึดหลับตาปฏิบัตินั่นแหละ ไม่ฉลาดกันสักที ดันทุรังงมงายกันอยู่ เพราะอคติกับตัวอาตมา รู้ไม่ได้ว่า อาตมาเป็นผู้รู้ความถูกต้องตัวจริง อาตมาก็บอกแล้วบอกอีกว่าอาตมาคือ“สยัง อภิญญา”ที่เป็นสัมมัคตา สัมมาปฏิปันนา ผู้เกิดมาในยุคนี้ที่จะนำเอา“สัมมาทิฏฐิ ๑๐”ของพระพุทธเจ้าออกสาธยายขยายความประกาศให้ชาวพุทธรู้ตามได้อย่าง“สัจฉิ กัตตวา” คือรู้แจ้งตามอย่างกระจะกระจ่างแล้วทีเดียว
แต่ที่แท้ก็เพราะพวกเขาไม่มี“ความฉลาด”ที่เรียกว่า“ปัญญา”ตัวจริงกันแล้ว ความฉลาดมันเหลือแต่“เฉโก”ที่เป็นโลกียภูมิ มันยังไม่เกิด“อัญญธาตุ”ในจิตวิญญาณกัน มันจึงยากยิ่งอยู่อย่างนี้ ตามความเป็นจริง อาตมาก็เข้าใจเห็นจริงตามความเป็นจริงนี้อยู่แท้ อาตมาไม่ได้“ดูผิด” อาตมา“เห็นความถูก”นี้อยู่จริงๆ
ซึ่งไม่ได้“ดูถูก”แต่เห็นอย่างรู้จักรู้แจ้งรู้จริงว่า พากันไปหลง“ผิด”ว่า“ถูก” จึงขอยืนยันว่า“ดูไม่ผิด” ก็คือ “ดูถูก”นั่นเอง คือ“ถูก”ความจริง มันจึง“เห็น”ความจริงต่างหาก ว่า“ผิด’ว่า“ถูก” ว่าอะไรคืออะไร? ส่วนไหนคือส่วนไหน? ที่“ถูก”แท้
ผู้ที่รู้“ความผิด”ของผู้ผิดแล้วใจดำไม่บอก“ความผิด”ให้คนผิดรู้ตัวนั้นเป็นคนผิด เป็นคนไม่ช่วยคน มันคือ
ความไม่ดี อาตมาจึงต้องบอก“ความผิด”ให้คนผิดรู้ตัว แม้เขาจะไม่ยอมรับผิด ก็พยายามให้เขาเข้าใจความจริง แม้เขาจะไม่ชอบใจ ก็ต้องทำ เพราะอาตมาไม่ได้“ทำงาน”เพื่อให้ใครมาชอบใจ มายกย่องอะไร อาตมาทำงานที่เป็นผู้“ยืนยันความจริงในธรรมของพระพุทธเจ้า”
เมื่อเห็น“ความผิดไป”จากความถูกของพระพุทธเจ้า อาตมาก็ต้องช่วยแก้ไข ต้องตำหนิสิ่งผิด ยกย่องสิ่งถูก
แต่การยกย่องสิ่งถูกนั้น มันไม่มีให้ยกย่อง ถ้ายกย่องในขณะนี้มันก็มีแต่ในพวกชาวอโศก ก็ยิ่งกลายเป็นยกย่องตนเอง เขาก็ยิ่งหลงผิดซ้ำเติมเข้าไปอีก ว่า มันยกย่องแต่ตัวมันเอง แล้วตำหนิแต่ผู้อื่น
นี่คือ ความจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่อาตมาก็ต้องจำนน ทำอยู่อย่างซ้ำซาก น่าเบื่อ แต่มันก็ต้องทำ ไม่ได้จำใจทำ แต่มันต้องพากเพียรใจอุตสาหะกำลังกายเข้าไปทุกส่วน“ทำ”ให้เต็มความพยายาม ช่วย“คนผิด”ที่เขาไม่รู้ตัว หรือรู้แล้วแต่ยังดื้อด้านยึดมั่นถือมั่นอยู่ด้วยอัตตามานะนั่นแหละ ไม่ช่วยก็ไม่ได้
เพราะคนผิดที่ทำความผิดอยู่มันเป็นโทษเป็นภัยต่อตนเอง ทั้งต่อสังคม ต่อผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา ต้องแก้ไขไห้ได้ ไม่เช่นนั้นมันก็ปล่อยให้คนในโลกเสื่อม โลกต่ำลง เพราะคนตกต่ำ คนเลวอยู่ต่อไปอยู่ โลกก็แย่ลงๆ
ส่วนผู้รู้“ความถูก”ของคนถูกนั้น ไม่บอก“ความถูก”ให้คนถูกเขารู้ ก็ไม่เป็นคนผิด จะว่าเป็นคนไม่ช่วยคนก็ไม่ได้ และจะว่ามันคือไม่ดี ก็ไม่ได้ แต่ถ้าบอกหรือช่วยยืนยันเขาว่าเขาดีและให้ดียิ่งขึ้นๆ อย่าให้คนดีเหลิงก็แล้วกัน ก็คือไม่เสียหาย
และที่สำคัญยิ่งยวดคือ เรื่องความดีของคนดีนี้มันไม่เป็นความจำเป็นที่จะต้องรีบเตือนเขาในสังคมยิ่งกว่า การรีบเตือนหรือให้สัญญาณคนผิดนั้นเป็นความจำเป็นยิ่งยวด มันจำเป็นมากกว่าสำคัญกว่ายิ่งๆจริงๆ
คนที่เอาธุระกับการบอกคนผิดให้รู้ตัวว่าผิด มันเป็นการทำผิดอย่างไร? แค่ไหน? ด้วยความจริงใจ และให้เลิกทำความผิดนั้นๆเสีย เป็นคนทำเพื่อสังคมอย่างยิ่ง ทำเพื่อโลกอย่างยิ่งต่างหาก
ส่วนคนที่ไม่เอาธุระกับการบอกคนผิดให้รู้ตัวว่าผิดเลย ปล่อยให้เขาทำผิดปู้ยี่ปู้ยำตนเองและสังคมอยู่ คือคนใจดำ ถึงขั้นอำมหิตเชียวนะ
ข้อสำคัญก็คือ คนผู้นั้นเขาไม่มีความรู้จริงใน“ความผิด-ความถูก”ของโลกุตรธรรมพระพุทธเจ้าอย่างมั่นใจแท้
อย่างชัดเจนชัดใจในสัจจะโลกุตระจริง ต้องชัดในสัจจะจริงๆ
อย่าไปว่า“คนไม่ผิด”ว่าเขาผิดทีเดียว ต้องรู้แจ้งรู้จริงว่าคนผิดนั้นผิดจริง ผิดอะไร? ผิดอย่างไร? แก้ไขอย่างไร? ด้วยใจเมตตาปรารถนาดี ซึ่งอาตมาก็ขอยืนยันว่าอาตมาทำอย่างนี้อยู่จริง ส่วนใครจะเชื่อหรือไม่ มันบังับกันให้เชื่อไม่ได้ อาตมามีแต่ควจรองที่บริสุทธิ์ใจเท่านั้น
จึงต้องบอกคนผิดให้ถูกตัวและยืนยันความผิดนั้นๆว่าอย่างไร? ให้ชัดเจนชัดแจ้งด้วย ไม่งั้นมันใจดำต่อเขา
งานนี้เป็นงานสำคัญของสังคมยิ่งๆ คนผู้ไม่เอาธุระเรื่องนี้จึงควรเข้าใจคนชนิดนี้ให้ได้ว่า เขาทำงานเพื่อสังคมจริงๆนะ และผู้จะทำด้วยความจริงที่มี และตั้งใจทำอย่างบริสุทธิ์ใจตั้งใจจริงๆนั้นมันหายากด้วย
มันเสแสร้งแกล้งทำกันไม่ได้ ถ้าไม่รู้จริง มันทำไม่ได้นานหรอก เดี๋ยวขี้เท่อก็โผล่ออกมาให้เห็น เพราะมันจะนำ“ความถูก-ความผิด”มาแจกแจง มายืนยันไม่ได้ ไม่นานความจริงก็จะประจักษ์ออกมาเอง ผู้ที่รู้ยิ่งจริงกว่าก็จะออกมาตำหนิ ล้มล้างเองแหละ
แต่ถ้าตำหนิ“ถูก” ด่าว่า“ถูก” มันก็ตำหนิไปได้เรื่อยๆ ถึงขั้นด่าว่ากันไปได้ คนจะจำนนต่อ“ความจริง” ผู้รู้ก็ค้านไม่ได้ ผู้ไม่รู้ยิ่งจำจำนนต่อ“ความผิด”ของตนในที่สุด คอยดูกันต่อไป คอยพิสูจน์สัจจะนี้กันเถิด
อาตมาตำหนิตักเตือนทั้งฆราวาส และนักบวช ถือเป็นงานประจำชีวิตทีเดียว เพราะเป็นงานดีที่สุดของความเป็นคน แม้แต่พระพุทธเจ้าเป็นกษัตริย์แท้ๆ ยังออกมาทำงานชี้ถูก-ชี้ผิดให้มวลมนุษยโลก แทนทำงานปกครองบริหารประเทศของพระองค์ โดยพระองค์ไม่ไยดีการบริหารบ้านเมืองเลยของพระองค์เลย ทิ้งฐานะตำแหน่งอันยิ่งใหญ่ที่มนุษย์ในโลกฆ่าแกงแย่งชิงกัน มาเอาธุระชี้ถูก-ชี้ผิดอย่างเป็นสัจจะ เห็นมั้ยล่ะ?
อาตมาตำหนิทั้งฆราวาส ทั้งนักบวช เช่น ฆราวาสก็ตำหนิทักษิณเป็นต้น ทักษิณนั้นก็ไม่ต้องพูดอะไรมากหรอก เพราะทางโลกเขาเอาภาระกันอยู่แล้ว ยิ่งกว่านักบวช ที่ไม่ค่อยเอาภาระกันเท่าไหร่ ซึ่งมันก็เพราะนักบวชเองไม่มีปัญญารู้จักรู้แจ้งรู้จริงใน“ความถูก-ความผิด”โลกุตระจริงนั่นเอง จึงไม่มี“ความอาจหาญแกล้วกล้า(อาสโภ)”ที่จะว่า หรือตำหนิผู้ผิดได้ ถ้ารู้จักรู้แจ้งรู้จริงใน“ความถูก-ความผิด”โลกุตระจริงผู้นั้นจะไม่ดูดายเด็ดขาด เพราะมันสำคัญยิ่งกว่าความถูก-ความผิดของ“โลกียะ”อย่างสำคัญยิ่งๆ
อาตมาตำหนิ และสาธยายความหมาย เนื้อหา ของธรรมะต่างๆมาจะ ๕๐ ปีแล้ว ก็มากมายหลากหลายอยู่นะ แต่ผู้มีภูมิรู้ในโลกยุคนี้ มันมีไม่พอ จึงไม่เห็นสำคัญ และไม่ส่งเสริมอาตมา ซึ่งความจริงในเรื่องนี้อาตมาก็รู้ดีอยู่
ซึ่ง“ความผิด”เรื่องหลักๆใหญ่ยิ่งที่ไปหลงผิดกันอย่างหนักก็คือ ไปหลง“หลับตา”ปฏิบัตินี่แหละ
“หลับตา”ปฏิบัติมันเป็นความผิดทั้งหมด เพราะ“หลับตา”ปฏิบัติมันไม่มี“ปัจจุบัน” มันมีแต่“อดีตกับอนาคต”
เพราะ“ความจริง”ที่จริงที่สุดคือ“ปัจจุบัน” ส่วน“อดีตกับอนาคต”นั้น มันเป็นเรื่อง“นอกกาละ”
“อดีต”ก็ผ่านกาละเลยไปแล้ว “อนาคต”ก็ยังมาไม่ถึง ดังนั้นการไปหลงปฏิบัติกับ“อดีตหรืออนาคต”แยู่มันก็เป็นการเพ้อฝันงมงายอยู่เท่านั้น ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ทรงตรัสบอกแล้วว่า มันมีแค่“อดีต ๑๘”และ“อนาคต ๔๔” เท่านั้น อยากเรียนรู้บ้างก็เรีบยนเอาจากอดีต ๑๘ อนาคต ๔๔ ซึ่งมันก็ไม่ง่าย เพราะมันไม่เป็น“ภาวะที่สัมผัสอยู่หลัดๆในปัจจุบัน”นำมารู้จักรู้แจ้งรู้จริง มันเป็นส่วนที่“นอกกาละ” ต้องศึกษาจาก“ปัจจุบัน”เท่านั้นที่เป็น“ในกาละ” เป็น“ทิฏฐธรรม”หรือ“ทิฏฐกาล” คือ“ปัจจุบันชาติ” อันเป็น“ความเกิดอยู่ในบัดเดี๋ยวนี้โต้งๆหลัดๆ”แท้ จริงที่สุดกว่า“อดีต”หรือ“อนาคต”จริงๆ
ศาสนาของพระพุทธเจ้าจึงไม่ไปมัวเสียเวลาโง่ๆงมงายอยู่กับ“อดีต-อนาคต” ซึ่งก็คือศาสนาของเดียรถีย์เก่าก่อนหรือแม้ปัจจุบันนี้ ที่ยังไม่เลิกโง่ จึงงมๆคลำๆอยู่กับ“อดีต-อนาคต”ที่พากัน“หลับตา”คลำกันอยู่นี้ไง
“หลับตา”ไม่ใช่“ปัจจุบัน”มันไม่อยู่กับ“ความจริง”
“ความจริง”ที่คนทุกคนที่มี“ทวาร ๖”บริบูรณ์จึงจะร่วมกันยืนยันลงมติกันได้ มีมติร่วมกันได้ว่า“จริง”
แต่“หลับตา”ไปอยู่ในภพของตนเองคนเดียวมันอยู่กับ“ความจำ”กับ“ความคิดทั้งเก่าทั้งใหม่”ที่มันเพ้อเจ้อ ฟุ้งซ่าน เอาอะไรมายืนยัน“สัมผัสร่วมกัน”โต้งๆ หลัดๆโทนโท่ที่ทีตาหูจมูกลิ้นกายภายนอก อันมี“ใจ”ภายในร่วมรู้กันกับผู้อื่นครบครันอยู่ทั้งหมดทั้งสิ้นไม่ขาดตกบกพร่อง ไม่ได้
ถ้าเข้าใจความเป็น“อดีต-อนาคต”และ“ปัจจุบัน”ว่าอะไรเป็น“ความจริง”อย่างไรกันแท้ๆได้ ก็จะพูดกันต่อไปรู้เรื่องกันได้ดี แต่ถ้ายังขืนเอาแต่งมอยู่กับ“อดีต-อนาคต”อยู่ไม่ยอมรับว่า“ปัจจุบันชาติ”เท่านั้นที่เป็น“ทิฏฐกาล”ที่จะปฏิบัติเป็น“ทิฏฐธรรม”อันจะพาบรรลุถึงที่สุดกันได้ นอก“ปัจจุบัน”เป็นไปไม่ได้ ก็คงต้องปล่อยผู้ที่หลงยึดเอาแต่จะงมโข่งอยู่แต่กับ“อดีต ๑๘-อนาคต ๔๔”กันไปตามที่ชอบๆแล้วกัน
“หลับตา”ปฏิบัติมีมากวิธี มากแง่ มากเชิง สาธยายกันไม่หมด
มีทั้งแบบมืด ทั้งแบบสว่าง คือหลง“อาภัสราภูมิ” หรือหลง“ว่าเป็น“สุภกิณหาภูมิ”
แม้แต่นักบวชที่นั่งหลับตา อย่างธัมมชโยเล่นทั้งทางสว่างและทางมืด อาภัสราและสุภกิณหา ทั้ง ๒ โง่
อาตมาเคยอธิบายแล้วว่า ผู้ที่หมดอุปาทานหลับตาไปก็จะมืดไม่เห็นแสงอะไร หลับตาอยู่ในที่มืดจริงๆนอนหลับ
ไปมันก็ไม่มีแสงอะไรไปกระทบมันก็มืด แต่ถ้าใครยังเห็นแสง เห็นสีอย่างไรก็เป็นอุปาทานทั้งนั้น คนที่สนิทแล้ว ไม่ต้องไปนั่งหลับตาสะกดจิตแล้วถึงจะสนิท ไม่ต้องหรอก ใช้สามัญนี่แหละลืมตาปฏิบัติ คุณจะไม่มีอุปาทานอะไร หลับตาคุณก็ดับมืดเฉยๆ ถ้าจิตใจคุณนิ่งคุณหยุดก็ไม่เห็นจะปรุงอะไร แต่ถ้ามีเรื่องจะรู้คุณก็มีบารมี ตามรูปของคุณเองถ้าคุณฟุ้งขึ้นมาแล้วคุณทำให้หลับไม่ได้ ก็ตัวใครตัวมันนะ ต้องดูตัวคุณเอง
อาตมายืนยันหลักฐานอ้างอิงตามพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐนี่แหละ แม้แต่ฉบับเดียวนี้อาตมาก็ขอรับรองว่าคุณศึกษาตามพระไตรปิฎกฉบับนี้คุณเป็นอรหันต์ได้ ขอยืนยันเป็นโพธิสัตว์ได้ด้วยอย่าว่าแต่เป็นพระอรหันต์ ทั้งๆที่พระไตรปิฎกเล่มนี้ไม่ได้ให้ความสำคัญกับความเป็นพระโพธิสัตว์เลย พระไตรปิฎกฉบับนี้ไม่มีความรู้เรื่องพระโพธิสัตว์ขอยืนยัน บอกได้เลย ผ่านคำว่าโพธิสัตว์ก็ไปอย่างนั้น ไม่ได้ขยายความคำว่าโพธิสัตว์ เพราะท่านตั้งพระทัยสอนเฉพาะเรื่องความเป็นอรหันต์เท่านั้น และยิ่งพระมหากัสสปะผู้เป็นเถรวาทะ ๑๐๐ % เป็นหัวหน้ารวบรวมพระไตรปิฎกฉบับนี้ด้วย ก็ยิ่งเป็นการเน้นเฉพาะ“อรหันต์” ส่วนเรื่องของ“โพธิสัตว์”ไม่ได้รวบรวมไว้ด้วยเลย ขอให้ทำความชัดเจนในประเด็นนี้ดีๆเถิด ว่า เถรวาทะนั้น เรื่องโพธิสัตว์มีน้อยอย่างยิ่ง แทบไม่มีเลย
และพระพุทธเจ้าสมณโคดมก็ทรงยืนยันแล้วว่า“เราสอนเธอเพียงใบไม้กำมือเดียว” ท่านไม่ได้สอนใบไม้ทั้งป่า ท่านก็ยืนยันของท่านแล้ว สั่งสอนใบไม้กำมือเดียวเสร็จแล้วก็เสด็จไปดีแล้ว พระชนม์ 80 ปี
ท่านเป็นตัวอย่างของผู้มักน้อย ซึ่งยุคนี้เป็นยุคที่จะต้องถ่วงดุลด้วย“ความมักน้อย”อย่างหนักนาสาหัสมาก เพราะกิเลสคนยุคนี้มันหนาหนักสุดๆ คำสอนของพระพุทธเจ้าสมณโคดมจึงต้านค้านแย้ง“ความมักมาก”เต็มที่ ไม่ส่งเสริมให้คน“มักมาก” เพราะพระองค์ทรงรู้ยิ่งว่า ยุคกาลของพระองค์เป็นขั้นปลายของภัทกัปป์แล้ว ศาสนาพุทธในภัทกัปป์นี้มีแต่จะหรี่หายไปกับกลียุค นี่ก็ใกล้จะถึงกลียุคจริงๆกันแล้ว พุทธศาสนาของพระสมณโคดมยาวยืนต่อไปอีกถึง พ.ศ. ๔,๐๐๐ ขึ้นไป ก็เข้ากลียุคกันล่ะ พ.ศ. ๑,๐๐๐ ปีสุดท้ายสังคมจะเลวร้ายยิ่งกว่านี้อีกหลายเท่านักกว่านัก ใครที่มีวิบากจะต้องเกิดในกลียุคก็จงรับรู้ถึงทุกข์แสนสาหัสที่ว่านี้ไว้เถิด นี่ไม่ใช่อาตมาพยากรณ์ ไม่ใช่การไปบันดาลให้เกิด แต่สัจจะของสัจจะต้องเป็นเช่นที่ว่านี้ด้วยตัวมันเอง ตามเหตุปัจจัยของกาลที่เป็น“กลียุค” มันจะต้องเป็นเช่นนั้น ความจริงมันหนีความจริงไปไม่ได้ มันต้องเป็นเช่นนั้นตามกาละแห่งความเป็นจริงแท้ๆ ผู้ยังมี“ตน”อยู่ใน“กาล”นั้นแม้บรรลุเป็นอรหันต์แล้ว ก็ยังอาศัย“กุศล”ไปกับความเป็นชีพ
ดังนั้น คนจึงทำหน้าที่ศึกษาจัดการ“ทำกรรม”ของตนเองให้สั่งสม“กุศล”ให้แก่ความเป็นชีพ เพราะเมื่อใครจะ “กำจัดกิเลสของตน”ได้้หมดสิ้นแล้ว แต่ยังอยู่ใน“กาล” ก็สามารถ“หลุดพ้นทุกข์”จาก“กลียุค”นั้น แม้เราจะต้องเกิดร่วมไปใน“กลียุค”ที่เลวร้ายนั้นก็ไม่มีวิบากทุกข์“เวทนา(ความรู้สึก)ไม่ร่วมคลุกคลีละเลงกับความร้ายสาหัส”นั้นๆกับโลกเขา ตามบารมีของตน ที่มีจริง นี่อาตมาพูดตามความมีจริงของตนเองที่เป็นจริงสู่ฟังนะ!
“กรรมเป็นของของตน”จึงสำคัญมาก จะเป็น“บุญ”ก็ด้วย“กรรม” จะเป็น“กุศล”ก็ด้วย“กรรม” คนจะสร้างแต่“กรรมดี”หรือต้อง“กำจัดกิเลส”ให้มันหมดๆไปได้จริงๆก็ด้วย“กรรม” เราจะสามารถ“อยู่เหนือ”องค์ประกอบของโลกแม้ใน“ยุคกัปป์ที่เลวร้าย”ใดๆอย่างมีภูมิคุ้มกันจริงๆได้จริง
คนนี่แหละเป็นผู้คัดสรรและสร้างสรรค์“กรรม”ของตนให้เกิดความสมดุลอยู่ในโลก ไม่ใช่ God(พระเจ้า)เด็ดขาด
ขอยืนยัน และความจริงมันก็พิสูจน์ความจริงนี้อยู่ในโลกที่คนทั้งหลายในโลกล้วนรู้จักรู้แจ้งรู้จริงกันได้
ถ้าหากยุคใดในประเทศชาติ“คน”มันน้อยแล้ว กลายเป็นว่ามีแต่คนแก่ เด็กรุ่นหลังเกิดมาก็น้อย มันก็ต้องรีบระดมให้คนแต่งงานเยอะๆ จะได้เกิดคนเพิ่มขึ้นมา มันก็เป็นธรรมดาธรรมชาติของโลกที่เขาจำเป็น ไม่อย่างนั้นประเทศเขาก็แย่ พลเมืองเขาก็น้อยลงไม่พอที่จะร่วมเป็นมวลสร้างสรรค์ในสังคมนั้นๆในกาลยุคนั้น อะไรต่ออะไรก็ไม่พอ สังคมคนมันก็ทุกข์ มันขาดแคลนมันก็ต้องสร้างเสริมส่วนที่ขาดความสมดุลเป็นองค์ประกอบให้ได้สัดส่วนพอดี สมดุล จึงจะเป็นไปดี อย่างนี้เป็นต้น
แม้แต่เรื่องของ“ใจในใจ”หากเกิดความไม่สมดุลขึ้นในใจ คนผู้นั้นก็ทุกข์ ก็ต้องจัดการบำบัดทุกข์ของตนตามประสา ผู้ที่จัดการได้แค่โลกียะ ก็ทำ“สมดุล”แบบโลกียะ จึงเกิด“ผล”เป็นโทษเป็นภัยออกมากระทบผู้อื่นในโลก ส่วนผู้ที่จัดการได้ถึงขั้นโลกุตระ ก้ทำ“สมดุล”แบบโลกุตระ ก็จะเกิด“ผล”ไม้เป็นโทษเป็นภัยออกมากระทบผู้อื่นในโลกได้เท่าที่มี“ภูมิธรรม”ตามลำดับโสดาบัน-สกทาคามี-อนาคามีก็จะเหลือโทษภัยอยู่น้อยลงๆตามลำดับ จนกว่าจะบรรลุอรหันต์โน่นแหละจึงจะหมดโทษหมดภัยในโลก
ซึ่งล้วนเป็นเรื่องของ“กรรม”ของ“วิบาก”ทั้งนั้น เรื่อง“กรรม”เรื่อง“วิบาก”จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งใหญ่กว่า God หรือพระเจ้า เพราะคนทุกคนถ้าเรียนรู้ตามทฤษฎีของพระพุทธเจ้าแล้วจะสามารถจัดการ“กรรม”ของตนได้ เกินกว่าพระเจ้าจะควบคุมบงการ โดยพระเจ้า หรือ God ไม่มีสิทธิ์ใน“อัตตาหรืออาตมัน”ของเราเลย เพราะเราเองสามารถทำ“อัตตาหรืออาตมัน”ของตนเองให้“สูญสิ้นไปจากพระเจ้า จาก God ได้จริงถึงขั้น“ปรินิพพานเป็นปริโยสาน” นั่นคือ “ดับอัตตาหรือาตมันของตนเอง”ให้สูญสิ้นไปจากอำนาจของพระเจ้า เป็น“อุตุธาตุ”ไปเลย โดยพระเจ้าจะยึดเอา“อัตตาหรืออาตมัน”ของเราไปเป็นของท่านนิรันดรไม่ได้เลย
เพราะ“เราทำอัตตาหรืออาตมัน”ของเราให้หมดความเป็น“อัตตาหรืออาตมัน”จาก“พระเจ้า”ไปได้จริงๆ
พ้นความเป็น“อัตตานิรันดร”ที่จะอยู่กับพระเจ้าไปอย่างสิ้นทราก ชนิดที่เกิินกว่า“พระเจ้า”จะมามี“อำนาจ” มากกว่าคนที่เป็น“ตัวเขาเองหรือตัวเราเอง”ทำกับ“ตัวเอง” โดยคนผู้นี้ไม่แคร์“พระเจ้า”แม้แต่น้อย
“ตัวเอง”จึงยิ่งใหญ่กว่า“พระเจ้า”ด้วยประการฉะนี้
ลัทธิหรือศาสนาที่ชัดเจนยิ่งสัมมาทิฏฐิในความเป็นพระเจ้า ก็จะไม่มี“พระเจ้า”ในหัวใจ จึงไม่กลัวพระเจ้า ไม่เกรงพระเจ้าเลยแม้แต่น้อย จะเป็นตัวของตัวเองเต็มตัว ที่ตนเองนั่นแหละที่มี“กรรมเป็นของตน-ตนเป็นทายาทของกรรม-กรรมของตนพาเกิดพาเป็นไปเอง-กรามเป็นเผ่าพันธุ์-กรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
จึงกลัว“ตัวเอง” เกรง“ตนเอง”จะทำ“กรรมเอง” แล้ว“ตนเองก็จะเป็นไปตามกรรมนั้นๆของตนเอง”
ไม่มี“พระเจ้า God”ใดมายิ่งใหญ่กว่า“กรรม”ของตนเองเป็นอันขาด
ลัทธิหรือศาสนาที่ชัดเจนยิ่งสัมมาทิฏฐิในความเป็นพระเจ้า ก็จะไม่มี“พระเจ้า”ในหัวใจ จึงไม่กลัวพระเจ้า ไม่เกรงพระเจ้าเลยแม้แต่น้อย จะกลัว“กรรม”เกรง“กรรม”ของตนเอง จะเป็นตัวของตัวเองเต็มตัว ที่ตนเองนั่นแหละที่มี“กรรมเป็นของตน-ตนเป็นทายาทของกรรม-กรรมของตนพาเกิดพาเป็นไปเอง-กรามเป็นเผ่าพันธุ์-กรรมเป็นที่พึ่งอาศัย จึงอยู่กับ“กรรม” จัดการกับ“กรรม”ของตน ให้ตนเป็นผู้“อยู่เหนือ”การจัดการ“กรรม” ของตนเองเป็นที่สุด กระทั่งสามารถ‘ทำมโนกรรม”ของตนให้เป็น“อุตุธาตุ”เป็นที่สุดได้สำเร็จจริง สูญสิ้นไปจากกาล หรือจากโลก จากจักรวาลใดๆ เป็น“สูญ”ไปจริงๆ
เอาล่ะ ..เรื่องกรรมวิบากที่เป็นอจินไตยนี้ ก็ขอเอาแค่นี้ไม่ขยายความมากกว่านี้แล้ว
สรุปเข้าที่เป้าหมายอาตมาทำงานมาจะ 50 ปีแล้ว ได้มรรคได้ผลขนาดนี้ที่อาตมาเปิดเผยไปมากแล้วว่าในพวกเรามีพระอรหันต์ จะเป็นอรหันต์แต่ละชั้นขั้นไหนๆก็แล้วแต่ บางท่านก็เป็นโพธิสัตว์ในพวกเรานี้เป็นโพธิสัตว์พยายามบำเพ็ญอยู่ แต่มันยังไม่ขึ้นเต็มก็ไม่เป็นไร ไม่ต้องไปอยากรู้หรอก ถึงขีดถึงเขตมันมีเหตุปัจจัยเพียงพอ เหตุปัจจัยมันครบ ภูมิธรรมภูมิปัญญาของคุณก็สามารถรับรู้ได้ด้วยไปเองแหละ รู้ในสิ่งที่มันครบครันคุณก็ตัดสินได้ จะมีปฏิภาณปัญญาตัดสินเข้าใจแล้วมันก็จะแม่นไปตามลำดับ ขอให้พยายามเรียนรู้ความเป็น“ลำดับ”ตามไตรสิกขา“ศีล-สมาธิ-ปัญญา”กันให้ได้อย่างสัมมาทิฏฐิกันเถิด
อย่าปฏิบัติโดยไม่มี“ศีล”เป็นหลักในการปฏิบัติเป็นอันขาด มันจะไม่ใช่“ไตรสิกขา”ของศาสนาพุทธ
ศาสนาพุทธต้องเจริญด้วย“อธิศีล-อธิจิต-อธิปัญญา”จึงจะก่อให้เกิด“วิมุตติ”
ศาสนาพุทธไม่ใช่ไป“หลับตา”ปฏิบัติโดยไม่มี“ศีล”เป็นตัวกำหนด“อธิจิต-อธิปัญญา-อธิมุติ”เป็นอันขาด
[อธิบายขยายความพลวัตของ“ศีล-สมาธิ-ปัญญา”แทรกไว้ตรงนี้ให้กระจ่างๆขึ้นอีก]
มีคนท้วงว่า อาตมาไปมัวท้วงว่าพวกหลับตาเขาทำไม? แล้วแนะนำให้อาตมามาอธิบายอริยสัจ ๔ นั่นเถิด ไปเสียเวลาท้วงเขาอยู่ทำไม?
อาตมาก็ขอขอบคุณด้วยความเห็นที่ปรารถนาดี แต่อาตมาต้องพูดเรื่อง“หลับตา”ก่อน ให้คนเข้าใจว่า ถ้าคนไปงมอยู่กับการปฏิบัติว่าจะต้อง“หลับตา”นั้นมันถูกต้อง มันไม่มีวันจะเรียนรู้“อริยสัจ ๔”ได้เลย มันต้องหยุด “หลับตา”ให้ได้ก่อน จึงจะมาเรียน“อริยสัจ ๔” ถ้าไม่พูด ไม่ท้วงให้หยุด เขาก็เอาแต่“หลับตา”ปฏิบัติ ไม่หยุดกันแล้วปล่อยให้เขาหลงผิด“หลับตา”ไป งมงายไปอยู่่อย่างนั้นตลอดไป อาตมาก็ว่ามันไม่ถูกนะ มันใจดำด้วย
พอเข้าใจมั้ยว่า อาตมาต้องจัดการกับคนที่“หลับตา”นี่ก่อน เชื่อมั้ยล่ะว่าทุกวันนี้คนไทยเชืื่อสนิทใจกันแล้วว่าการปฏิบัติธรรมที่จะบรรลุผลนิพพานกันนั้นต้อง“ทำสมาธิหลับตา” ซึ่งมันมีมากเกือบจะทั้งประเทศมั้ง!
มันจึงต้องช่วย“ปลุก”ตรงนี้กันก่อน ขนาดอาตมาพูดท้วงเรื่องนี้ให้รู้ ให้เข้าใจ ให้ตื่นจากที่หลงมืดงมงายอยู่กับการ“หลับตานี้มา จะ ๕๐ ปีแล้ว มันยังกระเตื้องกันแค่นี้อยู่เลย มันติดยึดกันหนักหนาสาหัสจริงๆ จึงต้องขุด ให้ถึง ต้องตีให้แตกแยกแยะกันให้กระจะกระจ่าง ทั้งซ้ำซาก ทั้งละเอียดลออ อ้างอิงหลักฐาน ยืนยันความผิดกันให้รู้จักรู็แจ้งร้จริง“ความถูก”กันให้ได้ ไม่เช่นนั้นสอนไปพูดไปก็ไม่มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มากแน่นอน
ผู้ที่เขาไม่หลับตา เขาก็ไม่หลงผิด เมื่อผู้หลงผิดหยุดหลับตาแล้ว เราก็พูด“อริยสัจ ๔”ไปทีเดียวได้เลย มันก็มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ตามทีพระพุทธเจ้าพาทำไง!
อาตมาเริ่มต้นด้วยคำว่า“นาม” ความเป็น“นาม” แล้วจึงขยายความไปถึง“รูป” ซึ่งผู้ศึกษาพุทธธรรม ต้องรู้จักรู้แจ้งรู้จริงการปฏิบัติตาม“รูป”กับ“นาม”ให้เป็น ให้ได้ ไม่เช่นนั้นก็ไม่ใช่ศาสนาพุทธ
“รูป”คือ “รูป ๒๘” และ“นาม”คือ “นาม ๕” และก็“นาม ๕”นี้แหละที่ยืนยันอยู่ชัดๆ ว่า ต้องมี“ผัสสะ” ผู้ปฏิบัติจะขาด“ผัสสะ”ไม่ได้ ถ้าขาดก็ไม่ครบ‘นาม ๕”คือขาด“มนสิการ” เพราะไม่มี“ผัสสะ”เป็น“เหตุ”ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน“มูลสูตร ๑๐”(พระไตรปิฎก เล่ม ๒๔ ข้อ ๕๘) ไม่มี“สมุทัย”คือ“ปผัสสะ”เป็น“เหตุ”ก็ไม่มี“เวทนา”เป็นปัจจัยที่จะทำการปฏิบัติคือ“มนสิการ”เด็ดขาด แน่นอน
“นาม”ที่เป็น“เวทนา”นี้แหละคือ “กรรมฐาน”เดียวของศาสนาพุทธ ที่ผู้ปฏิบัติจะสามารถตีแตกแยกแยะ “เวทนา”ที่เป็น“มโนปวิจาร ๑๘” อันจะต้องรู้จักรู้แจ้งรู้จริงใน“เคหาสิตเวทนา ๑๘” กับ ‘เนกขัมมสิตเวทนา ๑๘”ชนิดที่“สัมผัส”สภาวะกันจริงๆ แยก“นาม”แยก“รูป”หรือตีแตกแยกแยะความเป็น“เทฺว” สามารถทำให้สำเร็จใน“ธรรมนิยาม ๕”ได้บริิบูรณ์ จึงจะบรรลุความเป็น“อรหันต์”ได้แท้จริง
ผู้ศึกษาปฏิบัติไม่รู้จักรู้แจ้งรู้จริง““อุตุนิยาม-พีชนิยาม-จิตนิยาม-กรรมนิยาม-ธรรมนิยาม”และสามารถปฏิบัติ“ทำใจในใจ”ให้เข้าสู่ความเป็น“ธรรมนิยาม ๕”นี้ได้ตามทฤษฎีของพระพุทธเจ้า ผู้นั้นก็โมฆะในศาสนาพุทธแน่ยิ่งกว่าแน่
“นาม”ของศาสนาพุทธจึงไม่ได้หมายเอาแค่เป็น“ชื่อเรียก”ตามที่ศึกษามาในไวยากรณ์กันเท่านั้น
“นาม”นี้แหละที่หมายถึง“กาย” ได้แก่“จิต-มโน-วิญญาณ”ที่จะต้องศึกษากันตรงนี้ ให้ครบ“จิต-เจตสิก-รูป-นิพพาน”กันทีเดียว จึงจะชื่อว่า“พุทธศาสนา”ทั้งหมด.
[๑๓ ส.ค. ๒๕๖๒]