620901_วิถีอาริยธรรม บ้านราชฯ สามัญผลสูตร ตอน 2
อ่านทั้งหมดที่ หรือดาวโหลดเอกสารที่… https://docs.google.com/document/d/1qJa9y6UQA2fJlg0sCXh3B6Y-hetlnpGswEIIXDNktYM/edit?usp=sharing
ดาวโหลดเสียงที่ https://drive.google.com/open?id=1aau-7tWsqR3tLj8MdxkJN2HNfbBv_A1N
สมณะฟ้าไทว่า… วันนี้วันที่ 1 กันยายน 2562 ที่บวรราชธานีอโศก ตอนนี้บ้านราชฯน้ำก็ใกล้ท่วมมาเรื่อยๆ แต่ที่ขอนแก่นน้ำท่วมเขตเทศบาลอย่างรวดเร็ว แต่เขื่อนที่อยู่ใกล้ๆ กลับน้ำแล้ง
เมื่อวานได้คุยกับคนๆหนึ่ง เขาทำการเล่นเงินต่อเงิน ก็คือพนันชนิดหนึ่ง
พ่อครูว่า…
SMS วันที่ 30 สิงหาคม 2562 (พุทธศาสนาตามภูมิ พ่อครู)
_ปองแสงพุทธ ทองสุขนอก · น้อมกราบนมัสการพ่อครูเจ้าคะ ลูกขอโอกาสเล่าวิบากให้พ่อครูฟัง วันนี้ลูกกินไก่กินหมูเจ้าคะ พ่อครูเจ้าขาผลก็คือทำให้ลูกร้อนไปทั้งตัวเหมือนคนเป็นไข้ร้อนหมดทั้งตัว พ่อครูเจ้าขาลูกคิดถึงปะงามงาน คิดถึงกับข้าวฝีมืออรหันต์ คิดถึงเวลาดี ๆ ที่พวกเรากินข้าวที่ศาลา คิดถึงนมดีน่างาดำ ของแม่เณร (แฮส่วนตัว) หวังทุกคนคงสบาย ลูกก็สุข ๆ ทุกข์ตามปะสา สู้กันต่อน่ะพวกเรา รักและคิดถึงทุกคนเจ้าคะ
_ເກດມະນີ ສຸກສະຫວັນ · ນະມັດສະການພໍ່ທ່ານຢ່າງສູງອີຕົນພໍ່ທ່ານເທດແຈ້ງປານນີ້ຍັງມີຄົນເຂົ້າໃຈຢາາກ(ບໍ່ເຊືອ)ໜ້າເສຍດາຍ
_เกดมณี สุขสวรรค์ นมัสการพ่อท่านอย่างสูง สงสารพ่อท่านเทศน์แจ้งปานนี้ ยังมีคนเข้าใจยาก(บ่เชื่อ) น่าเสียดาย
_อำภา รื่นใจดี · ธรรมะของพระพุทธเจ้าคนที่ฟังด้วยดีจะมีปัญญา แต่ถ้าฟังด้วยจิตขุ่นข้อง ความโง่คงฝังอยู่ในกระโหลกอีกนานแสนนานSMS วันที่ 31 สิงหาคม 2562 (ทบทวนธรรม สมณะ สิกขมาตุ บ้านราช)
_1182ความทุกข์สอนให้แต่ละคนเข้มแข็งในแง่มุมต่างๆ ถ้าความทุกข์ไม่เข้ามาหาก็จะไม่รู้ว่าความสุขที่แท้เป็นอย่างไร? ไม่มีความทุกข์ก็ไม่รู้จักความสุขเพราะความทุกข์พิสูจน์ความเป็นคนอ่อนแอฤาเข้มแข็ง?ธ.สมณะเสียงศีลฯ
พ่อครูว่า…อาการไหวของจิต ทำมือให้ดู แต่ต้องกำหนดรู้อาการเอาเองในใจ แล้วมันมีอาการต่างกัน เพศหรือลิงคต่างกัน อันนี้ทุกข์น้อยหรือทุกข์มากมันไม่ตรงกัน มีความสุขน้อยความสุขมากต่างกัน เราก็ต้องรู้ทุกมุมทุกมิติเลย อ่านเองรู้เอง ชัดเจนในตัวเองทำให้มีนัยของตัวเองไม่มีใครรู้ด้วยเรา เป็นนามธรรม ทำได้จนเกิดอุเบกขาไม่มีแล้ว ว่าง สุญญตา ในขณะว่างก็มี 2 สภาพ 1. สภาพว่าง 2. สภาพธาตุรู้ มันรู้วิญญาณ เพราะฉะนั้นก็รู้ว่า อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ
พยัญชนะใช้คำว่าว่าง พยัญชนะใช้คำว่านิดหนึ่งน้อยหนึ่งก็ไม่มี ว่าง อากาสานัญจายตนะ นิดหนึ่งน้อยหนึ่งก็ไม่มีนั้นเรียกว่าอากิญจัญญายตนะ ใช้พยัญชนะแทนสภาวะเราก็รู้ มันไม่มี มันว่าง แล้วถ้ามันไม่มีแล้วมันมีอีกนิดหนึ่งน้อยหนึ่งหรือไม่ ให้ตรวจดูเนวสัญญานาสัญญายตนะ ดูอากิญจัญญายตนะ รู้พยัญชนะกับสภาวะ
เมื่อกี้นี้ดูอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ก็อธิบายในแง่ของการเป็นเรากับไม่เป็นเรา ยังไม่ลงไปถึงสภาวะพวกนี้ เข้าศึกษาสภาวะธรรมรู้จักรูปฌานหมด แต่เอาคำพูดแค่ว่าว่าง ถ้ามันได้แค่นั้น คำว่าอย่ายึดว่าเป็นเรานี้เป็นพยัญชนะ ไม่เอาแล้ววาง เหมือนกัน หลวงอรรถ วัดมหาธาตุเมื่อก่อนใช้พยัญชนะบอกว่ารู้นิ่งเฉย รู้นิ่งเฉย อย่างนี้เป็นต้น มันต้องลงไปถึงสภาวะถ้าหากลงไปถึงสภาวะแล้วจะไม่มานั่งพูดแต่พยัญชนะ แต่จะพูดพยัญชนะเพื่อให้ลงไปถึงสภาวะไม่ใช่มาหลงแค่พยัญชนะ เน้นพยัญชนะให้ลงไปถึงสภาวะให้ได้ เรารู้ว่าลงไปถึงสภาวะก็จบแล้ว ถ้าไม่ลงไปถึงพยัญชนะมันจะซ้ำซากกับภาษาเก่าพูดจนหูหนวกเลย ไม่ใช่หนวกหูนะ
หนวกหูกับหูหนวก อะไรหนักกว่ากัน แต่นี่พูดจนหูหนวกเลยนะ
_สู่แดนธรรม…ตามที่มีพาดพิงให้ผมไปศึกษาโลหิจสูตรให้ดีๆ โลหิจพราหมณ์ ว่าบรรลุแล้วไม่ควรบอกหรือบอกผู้อื่นไม่ได้ คำว่าไม่บอก ภาษาบาลี ไปเปิดแล้วก็ว่าไม่ประกาศไม่บอกผู้อื่น จึงไม่ใช่ไปตีความยาวไปว่าไม่บอกคือไม่บอกสอน ตามที่เพื่อนคนนี้อ้างมา ฉะนั้นการที่พ่อท่านอธิบายก็ถูกแล้ว หากใครบรรลุแล้วไม่บอกไม่ประกาศไม่ประชาสัมพันธ์ให้คนทราบก็ถือว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ยิ่งอ่านไปครบใจความพระสูตรก็ได้รายละเอียดถึงศาสดา 3 จำพวกที่ควรติ ควรท้วงโดยไม่ผิดต่อธรรม ไม่เป็นบาป
๑. ไม่บรรลุธรรม บอกสอนสาวกเขาก็ไม่ฟัง และสาวกก็ไม่ได้บรรลุธรรมตาม
๒. ไม่บรรลุธรรม สอนสาวกก็เคารพเชื่อฟังดี แต่สาวกก็ไม่ได้บรรลุธรรมตาม
๓. บรรลุธรรมแล้ว บอกสอนสาวกแต่ไม่เชื่อฟัง และสาวกเองก็ไม่ได้บรรลุธรรมตาม
พ่อครูว่า…เหมือนคนตาบอดจูงคนหูหนวกไปดูหนังใบ้
๔. ศาสดาที่ไม่ควรท้วงคือ เป็นผู้บรรลุธรรมแล้ว ย่อมบอกสอนให้สาวกบรรลุธรรมตามได้ พตปฎ. เล่ม ๙ (โลหิจจสูตร)
_สู่แดนธรรม…การที่พ่อครูสอนคนอื่นที่มีอัตตา ไม่อยากให้ไปสอนเขา ก็เหมือนเป็นอุบายสอนด้วยการทรมานคนอื่นนั่นเองครับ การสอนทรมานคนอื่นพระพุทธเจ้าก็ทำ ไม่จำเป็นต้องให้ศรัทธาเสียก่อนแล้วจึงสอน ในพุทธกาลบางคนเป็นเจ้าสำนักเป็นเจ้าทิฏฐิหัวดื้อรั้น พระพุทธเจ้าก็จึงสอนแบบทรมานก่อน คือต้อนจนเขาจนมุม หมดปฏิภาณก้มหน้าซบเซาและคนเหล่านั้นก็จึงคลายจากความยึดถือทิฏฐิ การทรมานสอนคนอื่นมีประโยชน์ “ทรงทรมาน ฝึกพระองค์ก่อนแล้วทรงแสดงธรรมเพื่อทรมานฝึกสอนผู้อื่น” (พ่อครูว่าตามบารมี คนบารมีน้อยก็ฝืนมาก คนบารมีมากก็ฝืนน้อย) พระไตรปิฎกเล่ม 12 ข้อ 402 ทรงฝึกพระองค์แล้วย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อฝึก
_อโศกสัมปวังโก..สืบเนื่องจากรายการพุทธศาสนาตามภูมิเรื่องจรณะ 15 ที่พ่อท่านอธิบายขยายความอยู่ในช่วงนี้ซึ่งเริ่มด้วยศีลสังวรเป็นข้อแรก ตามด้วยอปัณกปฏิปทา 3 จนเจริญขึ้นเป็นสัทธรรม 7 หรือที่เรียกว่า อธิจิต ซึ่งเป็นไวพจน์เดียวกันกับคำว่าสมาธิเพราะท่านได้ให้ความหมายว่าคือจิตตั้งมั่นในการลดกิเลสจนยังผลให้เกิดฌาน 4 ในที่สุด
จากรายละเอียดดังกล่าวโทษที่ถือศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 นั้นก็ผมคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไรต่อการปฏิบัติจรณะ 15 แต่สำหรับพระภิกษุที่เข้าใจผิดและยึดถือว่าวินัย 227 ข้อคือศีลของพระภิกษุนั้นครับ ผมเกิดความสงสัยว่าผู้เข้าใจผิดดังกล่าวจะปฏิบัติจรณะ 15 เกิดผลได้แค่ไหนหรือไม่อย่างไร
อนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ 3 ข้อที่ 2 คือศีลมัย บุญหรือการชำระกิเลสอันสำเร็จด้วยการรักษาศีล ผมอยากทราบว่าผู้ทรงวินัย 227 ข้อ แต่ไม่ได้ศึกษาศีลสัมปทา ประกอบด้วยจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล ซึ่งรวมแล้วมี 43 ข้อนั้น จะมีผลชำระกิเลสได้เหมือนกับการรักษาศีลหรือไม่ และในกิมัตยสูตรที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศรับรองผลว่า ศีลอันเป็นกุศลย่อมยังอรหัตตผลโดยลำดับ 10 ประการนั้น
อานิสงส์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นแก่ผู้ทรงวินัย 227 ข้อที่ไม่ได้ศึกษาศีลสัมปทาได้หรือไม่อย่างไร ขอให้พ่อท่านคลายความให้กระจ่างด้วยครับ
พ่อครูว่า…คนที่ไม่ยอมรับว่าตนเองผิด ยังมีความขัดแย้งอยู่ ยังไม่รู้ตัวตลอดเวลา ก็จะปฏิบัติบรรลุได้อย่างไร
แพ้ได้ด้วย“สัจจะ”คือประชาธิปไตยสูงสุด
(1) “คน”กับ“ประเทศ”ต้อง เป็น“สอง”
“กาย”ขาด“จิต”เข้าครอง ไป่ได้
“ตัณหา”เสพ“สุข”สนอง หลง“รูป- นาม”แฮ
“การปกครองขาดสอง”ไร้- คู่นั้นบรรลัย
(2) พัฒนาไปไม่พร้อม “เทฺวธรรม”
คือ“ประเทศ”มี“จิต”นำ เลิศล้น ครบ“ชาติ-จิต”จึงสำ- คัญคู่ กันเฮย
“ขาดจิต”ชาติไม่พ้น เสื่อมแท้จริงจริง
(3) ยิ่งยึดแค่“เลือกตั้ง” บริหาร
ไร้“กฏมณเฑียรบาล” สืบเชื้อ
ไป่รู้เรื่อง“วิญญาณ” ข้ามชาติ
รู้“ชาติเดียว”แล้วเรื้อ เลิกรู้ไปเลย
(4) ไม่เฉลยความรอบรู้ “วิญญาณ”
ซึ่งวิจิตรพิสดาร สุดล้ำ
แต่“พุทธ”สืบต่อสาน สั่ง วิเศษแล
ปรากฏ“ชาติ”ตอกย้ำ พิสูจน์ได้โดยคน
(5) มีผลเป็น“ชาติห้า” สัมผัส
เกิดปัจจุบันปฏิบัติ อยู่แท้
สืบทอดร่วมกันชัด เชิญติด ตามเทอญ
เคยผิดก็ได้แก้- กลับแล้วสู่สัมมา
(6) “ประชาธิปัตติยะ”ได้ มรรคผล
ทั้งส่วนตน-ชุมชน เกิดแท้ ชีวิตอยู่สงบสน- ใจศึก- ษาเลย
แปลกที่เป็น “ผู้แพ้” แต่ล้วนสุขสราญ
(7) การเมืองการบ้านครบ คุณธรรม
สอง “อธิปไตย”สำ- เร็จพร้อม
เทฺว “โลก-อัตตา”กำ- กับเหมาะ ได้เอย
อยู่“รับใช้”อ่อนน้อม ช่วยผู้คนไป
(8 เพราะ“ใจ”อยู่ในอำนาจได้ ตามพุทธ
“สัจจะ”มีบริสุทธิ์ สำเร็จให้
ปฏิบัติสู่นิรุทธ์ เหนือโลก จริงเฮย
“แพ้”ลด “อัตตา”ได้ สงบด้วย “ปัญญา”
สไมย์ จำปาแพง
1 ก.ย. 2562
[นัยปก “เราคิดอะไร” ฉบับ 351 ประจำเดือนตุลาคม 2562]
พ่อครูว่า..นี่แหละคือแพ้ได้คือสัจจะคือประชาธิปไตยสูงสุด
มีของหนึ่งฟ้า…
หนึ่งฟ้า กราบพ่อครูโปรดพิจารณาค่ะว่า ความเข้าใจเช่นนี้ถูกผิด อย่างไร
“นิพพาน” ในทัศนะของศาสตราจารย์ทางประวัติศาสตร์ผู้ประพันธ์หนังสือขายดี “เซเปียนส์ ประวัติย่อมนุษยชาติ” “Sapiens A Brief History of Humankind”
Yuval Noah Harari เป็นนักประวัติศาสตร์ชาวยิวและเป็นศาสตราจารย์ของคณะประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยฮีบรูแห่งเยรูซาเล็ม เป็นผู้เขียนหนังสือที่ขายดีที่สุดเล่มหนึ่ง(เกินกว่า5ล้านเล่ม)และได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆกว่า50ภาษา คือหนังสือ “Sapiens A Brief History of Humankind” (เซเปียนส์ ประวัติย่อมนุษยชาติ)
หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ที่อ่านสนุกมาก ได้บอกเล่าถึงประวัติความเป็นมาของเผ่าพันธุ์มนุษย์ทุกแง่ทุกมุมรวมทั้งเรื่องความเป็นมาของทุกศาสนาที่สำคัญ
เขาให้ทัศนะเกี่ยวกับพุทธศาสนาโดยเฉพาะเรื่อง”นิพพาน”ได้อย่างน่าสนใจดังนี้
“พระโคตมะค้นพบวิธีการหนึ่งที่จะออกจากวงจรอุบาทว์นี้(ความทุกข์ การเกิดแก่เจ็บตาย) คือไม่ว่าเมื่อใดที่จิตประสบกับเรื่องพึงใจหรือไม่พึงใจก็เพียงแต่เข้าใจสิ่งต่างๆเหล่านี้ตามที่มันเป็น ดังนี้แล้วก็จะไม่เกิดความทุกข์ตามมา หากคุณประสบกับความโศกเศร้าโดยไม่เกิดความอยากที่จะขับไล่ความโศกเศร้านั้นให้หมดไป คุณก็จะรับรู้ถึงความโศกเศร้านั้นแต่ไม่ทุกข์ไปกับมัน เช่นนี้แล้วเราก็อาจจะทนรับความเศร้าโศกได้เป็นอย่างดี หากเราประสบกับความสุขความยินดีแล้วไม่เกิดความอยากให้ความสุขความยินดีนั้นคงอยู่หรือเพิ่มพูน เราก็จะรู้สึกเป็นสุขได้โดยไม่สูญเสียความสงบภายในจิตใจของเราไป
แต่จะทำจิตใจให้ยอมรับสิ่งต่างๆได้โดยไม่เกิดความอยากได้อย่างไร จะยอมรับความเศร้าโศกว่าเป็นความเศร้าโศก ความยินดีว่าเป็นความยินดี ความเจ็บปวดว่าเป็นความเจ็บปวดได้อย่างไร พระโคตมะได้คิดค้นวิธีการทำสมาธิวิปัสสนาขึ้นชุดหนึ่งเพื่อใช้ฝึกจิตให้มองสิ่งต่างๆที่ต้องพบเจออย่างที่เป็นจริงโดยไม่ต้องมีความอยากมาเกี่ยวข้อง การฝึกจิตแบบนี้อาศัยการเพ่งความสนใจไปกับคำถามเช่น เราประสบกับอะไรอยู่ตอนนี้ แทนที่จะถามว่า เราอยากประสบกับอะไร เป็นเรื่องยากที่จะเข้าถึงสภาวะจิตแบบนี้ได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้
พระโคตมะปรับเทคนิคการทำสมาธิวิปัสสนาเหล่านี้ให้กลายเป็นกฎทางจริยธรรมชุดหนึ่งเพื่อให้ง่ายกับคนทั่วไปในการฝึกจิตให้จดจ่อกับเรื่องที่พบพานแต่ไม่นำไปสู่ตัณหาและความฟุ้งซ่าน พระองค์แนะนำสาวกให้ละเว้นการฆ่า การลักขโมยและการผิดลูกผิดเมียผู้อื่น เนื่องจากการทำเช่นนั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะก่อให้เกิดไฟกิเลส เมื่อดับไฟกิเลสจนสิ้นเชิงแล้ว ความอยากก็จะถูกแทนที่ด้วยสภาวะความสงบและความพึงพอใจอย่างสมบูรณ์แบบที่รู้จักกันในชื่อ พระนิพพาน(มีความหมายตามตัวอักษรว่า การดับไฟ) คนที่เข้าถึงพระนิพพานจะได้รับการปลดปล่อยจากความทุกข์ทั้งมวล คนเหล่านี้จะรับรู้ทุกอย่างตามความเป็นจริงอย่างแจ่มชัดที่สุด ปราศจากความคิดฟุ้งซ่านและมายา แม้ว่าพวกเขาจะยังคงต้องประสบกับเรื่องไม่พึงใจและความเจ็บปวด แต่ประสบการณ์พวกนั้นก็ไม่ได้ทำให้พวกเขาเกิดความทุกข์ยากในจิตอีกต่อไป กลายเป็นคนที่ไม่มีกิเลส ไม่มีความทุกข์ยากอีกต่อไป
ตามความเชื่อในศาสนาพุทธ พระโคตมะเองก็เข้าถึงพระนิพพานและปราศจากความทุกข์โดยสิ้นเชิง ด้วยเหตุนี้จึงทรงเป็นที่รู้จักในนามว่า พระพุทธเจ้า ซึ่งมีความหมายว่า ผู้รู้แจ้ง พระพุทธเจ้าทรงใช้เวลาที่เหลืออยู่ในการสั่งสอนสิ่งที่พระองค์ทรงค้นพบให้กับผู้อื่น เพื่อที่ทุกคนจะได้หลุดพ้นจากความทุกข์ คำสอนของพระองค์สรุปรวมลงได้เป็นกฎเพียงข้อเดียวคือความทุกข์เกิดจากกิเลส และวิธีการเดียวที่จะสิ้นทุกข์ได้ก็คือการขจัดกิเลสให้หมดไป และวิธีการเดียวที่จะขจัดกิเลสให้หมดไปก็ด้วยอาศัยการฝึกฝนจิตให้รับรู้ความจริงของโลกในแบบที่มันเป็น”
พ่อครูว่า..พยัญชนะเหล่านี้มันวนเวียนไปมา แยกพยัญชนะกับสภาวะไม่ได้ ผู้ที่แม่นในสภาวะจริงๆก็จะจบ ไม่วน
_อโศกสัมปวังโก..สืบเนื่องจากรายการพุทธศาสนาตามภูมิเรื่องจรณะ 15 ที่พ่อท่านอธิบายขยายความอยู่ในช่วงนี้ซึ่งเริ่มด้วยศีลสังวรเป็นข้อแรก ตามด้วยอปัณกปฏิปทา 3 จนเจริญขึ้นเป็นสัทธรรม 7 หรือที่เรียกว่า อธิจิต ซึ่งเป็นไวพจน์เดียวกันกับคำว่าสมาธิเพราะท่านได้ให้ความหมายว่าคือจิตตั้งมั่นในการลดกิเลสจนยังผลให้เกิดฌาน 4 ในที่สุด
จากรายละเอียดดังกล่าวโทษที่ถือศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 นั้นก็ผมคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไรต่อการปฏิบัติจรณะ 15 แต่สำหรับพระภิกษุที่เข้าใจผิดและยึดถือว่าวินัย 227 ข้อคือศีลของพระภิกษุนั้นครับ(พ่อครูไอ ตัดออกด้วย) ผมเกิดความสงสัยว่าผู้เข้าใจผิดดังกล่าวจะปฏิบัติจรณะ 15 เกิดผลได้แค่ไหนหรือไม่อย่างไร
อนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ 3 ข้อที่ 2 คือศีลมัย (บุญหรือการชำระกิเลสอันสำเร็จด้วยการรักษาศีล) ผมอยากทราบว่าผู้ทรงวินัย 227 ข้อ แต่ไม่ได้ศึกษาศีลสัมปทา ประกอบด้วยจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล ซึ่งรวมแล้วมี 43 ข้อนั้น จะมีผลชำระกิเลสได้เหมือนกับการรักษาศีลหรือไม่ และในกิมัตยสูตรที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศรับรองผลว่า ศีลอันเป็นกุศลย่อมยังอรหัตตผลโดยลำดับ 10 ประการนั้น
อานิสงส์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นแก่ผู้ทรงวินัย 227 ข้อแต่ไม่ได้ศึกษาศีลสัมปทาได้หรือไม่อย่างไร ขอให้พ่อท่านคลายความให้กระจ่างด้วยครับ
พ่อครูว่า…ภิกษุทั้งหลายแหล่ทุกวันนี้ไม่ชัดเจนในคำว่าวินัยกับศีลยังไม่ละเอียดชัดเจน ยังไม่ลึกซึ้งพอ ไปหลงพระวินัย 227 ไปแทนศีลแล้วก็ไม่เข้าใจศีลตามลำดับ
อานิสงส์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นแก่ผู้ทรงวินัย 227 ข้อแต่ไม่ได้ศึกษาศีลสัมปทาได้หรือไม่อย่างไร ..ตอบว่าไม่ได้
วินัย เป็นความผิดแต่ละข้อ ไม่ได้ลำดับ แต่ท่านก็เอาไปเรียงลำดับ หยาบถึงละเอียดวินัย 227 ข้อ หยาบสุด ปาราชิก 4 รองลงมาก็เป็นสังฆาทิเสส 13 จากนั้นเป็นอนิยต 2 มีนิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30 ปาจิตตีย์ 92 แล้วก็มีเสขิยวัตร ต่างๆ เป็นต้น
หยาบแต่ได้ผลละเอียดคือ ศีลข้อ 1 2 3 หยาบ 3 ข้อแต่ได้ผลละเอียดไปตามลำดับ ถ้าเข้าใจละเอียด 3ข้อแล้ว คุณจะไปหาอธิศีลเอง ก็จะได้แต่มันยาก ต้องมีพยัญชนะต่อข้อ 3 4 5 ศีลทั้ง 3 ข้อแรกที่จริงครบแล้วข้อ 4 เป็นวจีข้อ 5 เป็นมโน ความละเอียดที่ขยายเป็นศีลมากขึ้นนั้นสภาพความหยาบก็จะมากขึ้นเช่น
จุลศีล 26 ข้อ
ข้อ 1 ไม่ฆ่าสัตว์ ข้อ 2 ไม่ลักทรัพย์ ข้อ 3 ไม่ประพฤติผิดในกาม ข้อที่ 4 5 6 ต่อไปก็เป็นเรื่องคำพูด ข้อที่ 8 ไปหา พีชะแล้ว ไม่พรากพืชคาม แล้วก็กินหนเดียว อาหารน้อยลงข้อ 9 ข้อ 10 เว้นขาดฟ้อนรำ ข้อ11 ไม่ประดับตกแต่ง
มาฟ้อนรำดูเหมือนละอียด ไม่หยาบ แต่กินลึกละเอียดกว่าการฆ่าสัตว์ เพราะมันไปติด หากไปติดฟ้อนรำเนียนกว่า กินในกินลึกยากกว่า ฆ่าสัตว์ลักทรัพย์ สภาพซับซ้อน ยิ่งเนียนละเอียดแต่ยิ่งหยาบ
มาข้อไม่เลี้ยงสัตว์ก็เนียนแต่ลึกกว่าอีก
รับเงินรับทอง หยาบ แต่ละเอียดกว่านอนกว่านั่งนะ
ดูกรผู้มีอายุ อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.
-
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะวางศาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่
ข้อนี้เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
-
เธอละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
-
เธอละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกลเว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
-
เธอละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
-
เธอละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้นเพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนในหมู่โน้นแตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
-
เธอละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รักจับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมาก รักใคร่ พอใจ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
-
เธอละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถพูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์โดยกาลอันควร แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
-
เธอเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม.
-
เธอฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล.
-
เธอเว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล.
-
เธอเว้นขาดจากการทัดทรงประดับ และตบแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอม และเครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว.
-
เธอเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่.
-
เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน.
-
เธอเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ.
-
เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.โทษหนักกิเลสลึกหยาบกว่ารับธัญญาหาร
-
เธอเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี.
-
เธอเว้นขาดจากการรับทาสีและทาส. สตรีเป็นเรื่องกาม แต่ทาสี ทาสา เป็นเรื่องอัตตา อัตตาลึกกว่ากาม ที่จริงมันต่ำหยาบกว่ารับกุมารี แต่อัตตาใหญ่กว่าเป็นเจ้า
-
เธอเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ. เอานมหรือขนมาใช้
-
เธอเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร. กินเนื้อมันเลย
-
เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา. อันนี้เอาแค่ใช้แรงงาน ที่จริงดูเหมือนเบานะ ไม่ได้กินเนื้อมันด้วย ทำไมอยู่ข้อ 20 ไม่กินนมกินเนื้อมันแล้ว แต่อย่าไปกินแรงมัน ละเอียดลึกซึ้งขึ้นอีก
-
เธอเว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน. ได้นะที่ดินไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่พืชไม่มีบาปไม่มีเวรยิ่งกว่าช้าง โค ม้า และลา
-
เธอเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้. อันนี้ทูตกรรมคือรับจ้าง อย่างน้อยได้ลาภยศสรรเสริญ ก็มี
-
เธอเว้นขาดจากการซื้อการขาย. ซื้อขาย มันเจ๊านะ แม้แต่ของราคาเท่ากันมันก็เจ๊าของราคาไม่เท่ากันแต่ตามแต่ตกลงกัน ช้าง 1ตัวแลกเกลือ1 เม็ด ก็จบได้เพราะตกลงกันแล้ว
ซื้อขายคือการแลกไปแลกมา ของพวกเราคือรับใช้ไม่รับจ้าง ให้ไปแล้วให้แรงงานความรู้ไปแล้วก็จบ ไม่แลกเปลี่ยนไม่สาเปกโข
-
เธอเว้นขาดจากการโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด.
-
เธอเว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง.
-
เธอเว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และกรรโชกแม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
ศีลละเอียดกว่าวินัย …ศีล “ละเว้น”การฆ่าสัตว์ แต่วินัย “จงใจ”ฆ่าสัตว์เป็นปาจิตตีย์
[382] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุทายีเป็นนักยิงธนู1 และท่านไม่ชอบอีกา ท่านจึงยิงอีกาทั้งหลายแล้วตัดหัวมาเสียบหลาวเรียงไว้
ภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่าน ใครฆ่าอีกาเหล่านี้”
ท่านพระอุทายีตอบว่า “ท่านทั้งหลาย กระผมเอง กระผมไม่ชอบอีกา”
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุทายีจึงจงใจปลงชีวิตสัตว์เล่า ฯลฯ” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิท่านพระอุทายีโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรงสอบถามท่านพระอุทายีว่า “อุทายี ทราบว่า เธอจงใจปลงชีวิตสัตว์ จริงหรือ” ท่านพระอุทายีทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า“ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงจงใจปลงชีวิตสัตว์เล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย
ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
[384] คำว่า ก็…ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็…ใดคำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า จงใจ ได้แก่ รู้อยู่ รู้ดีอยู่ จงใจ ฝ่าฝืน ล่วงละเมิด
ที่ชื่อว่า สัตว์มีชีวิต พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงสัตว์ดิรัจฉาน
คำว่า ปลงชีวิต ได้แก่ ตัดทำลายชีวิตินทรีย์ ตัดความสืบต่อ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
พ่อครูว่า….เธอเว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และกรรโชกแม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
การตัด คือทำให้ขาดทำให้สูญ ก็เว้นขาด ไม่ว่าจะ 0 ด้วยการฆ่าจองจำฯ ที่หยาบไปอีกไม่มี ทำเว้นขาดคือไม่ต้องทำอีกมัน 0 แล้วไม่ต้องมี 0 อีก
เหมือนพระพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องอาหาร 4 พระราชาเอานักโทษประหารด้วยหอก เสร็จแล้วนักโทษก็ไม่ตายต้องประหารแล้วประหารอีก
มาตอบของอโศกสัมปวังโก
สรุปแล้ว ผู้ที่ไม่เข้าใจเรื่องศีลกับวินัยว่าต่างกันก็จะยากในการปฏิบัติ
วินัย มีหยาบตั้งแต่ปาราชิก แล้วก็ละเอียดกลับไปกลับมา สลับของสภาวะ 2 เป็นเรื่องยิ่งใหญ่ที่ยากอธิบายให้เข้าใจ ผู้มีปัญญาชัดเจนจะจับไปหมุนกลับไปกลับมายังสิริมหามายาอย่างไรผู้นั้นก็ไม่งง มีมุทุภูตธาตุ กลับไปกลับมาอย่างไรเราก็เข้าใจได้ไม่สับสน
อันนี้เราก็ไม่ได้อยู่ที่พยัญชนะแล้วอยู่ที่จิตต้องถึงขั้นนั้นจริงๆ คุณก็จะจบไม่แย้งเถียง จบสนิทแล้ว
มาต่อ สามัญผลสูตร
อินทรียสังวร
[122] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย?
ดูกรมหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะเธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ภิกษุฟังเสียงด้วยโสต … ดมกลิ่นด้วยฆานะ … ลิ้มรสด้วยชิวหา … ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย…รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย.สติสัมปชัญญะ
พ่อครูว่า..การจะสำรวมใจต้องสำรวมจากนอกไปถึงใน ถึงรูป อรูป พระพุทธเจ้าตรัสถึงเรื่องการปฏิบัติอันเป็นลำดับที่น่าอัศจรรย์ ต้องเป็นลำดับ อย่างหยาบยังไม่ได้เลย ยังไม่รู้ความสูญจากหยาบแท้ๆ แล้วจะมาสูญระดับอรหันต์ก็มีแต่ขี้ฟันเท่านั้น
อภิชฌา คือความจัดจ้านของกิเลสทางโลภ ส่วนโทมนัสมันละเอียดภายใน แต่อภิชฌาคือหยาบภายนอก
ที่เรียกว่าสำรวมอินทรีย์อ่านเป็นอาริยะคือ 1. คุณต้องมีความจริงชัดๆว่าสำรวมอินทรีย์ต้องมีตาหูจมูกลิ้นกายด้วย ทีละทวาร หรือหลายทวารไปด้วยกันก็ได้ คุณก็ได้จริงๆ จึงมาจัดการทวารใน เป็นภวภพ ไม่ใช่กามภพที่เป็นข้างนอก
ตอนจะหลุดพ้นข้างนอกไม่ได้หลับตา พ้นแล้วก็ลืมตา ถูกกระทุ้งกระแทก แต่อาการหยาบภายนอกไม่มี มีแต่อาการภายใน มีหิริโอตตัปปะมากพอ คุณเกรงกลัวต่อ กิริยาน่าเกลียดน่าชัง คุณจะมีปฏิภาณปัญญาว่าอย่างนี้ไม่ทำไม่เอาจะมีปฏิภาณปัญญาไม่ทำอาการหยาบคาย จิตมันไม่มีแรงพอที่จะอดไม่ได้ไปทำภายนอก มันสำรวมได้โดยไม่ยากไม่ลำบาก หมดภายนอกเหลือแต่ภายในไม่ยากหรอก
ฐานของรูปคุณก็ทำได้อีก ต้องรู้อาการจิตที่ทนได้ยากคือทุกข์ มันไม่ต้องทนหรือไม่ทนมันก็ว่าง ไม่ต้องทนเลย แม้นิดแม้น้อยหากมีก็รู้ว่ามีอยู่ แต่ทนไม่ยาก
โดยไม่ต้องทนเลยกับทนได้นิดหน่อย ก็ต้องรู้ได้ด้วยตน ด้วย อาการ ลิงค ความต่างของเครื่องหมาย ที่จะหมดกับเหลือน้อยนี้มันยากจะแยกได้ ต้องพยายามให้ชัด นิดหนึ่งน้อยหนึ่งก็ไม่มีเอาให้ชัด พ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะต้องผัสสะให้เรียนรู้ไปเรื่อยๆไม่ต้องไปแสวงหาหรอก จะมีอยู่ในชีวิต เวลาทำแล้วตกหล่นก็อย่าฮึดฮัด
ทำไปจนรู้ได้จริง จะเกิดญาณปัญญากำหนดรู้จิตตนว่ามันหมดแล้ว พ้นเนวสัญญานาสัญญายตนนะ จะใช่ก็ไม่ใช่จะไม่ใช่ก็ไม่ใช่ ก็ได้ฝึกฝนลดตัวตนต่างๆ จนมันไม่มีแล้ว มีแต่ดับ ไม่เกิดอีก แม้กระทบก็ทำซ้ำ ทุกปัจจุบัน เรียนรู้จบด้วยเวทนา 108 มี 36 36 36 ทุกปัจจุบันคุณก็ได้ฝึกฝนสำรวมสังวรก็ได้ผล
การสำรวมสังวรได้ผลก็เกิดสติสัมปชัญญะแข็งแรงขึ้น
[123] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ? ดูกรมหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแลในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ในการฉันการดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืนการนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แลภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ.สันโดษ
พ่อครูว่า…สติคือพลังงานตื่นรู้ จะรู้สิ่งกระทบสัมผัส คุณก็รู้ๆเห็นแล้วก็อ่านใจด้วย ใจมันจะมีอาการต่างๆนานาจนกระทั่งมันไม่มีตลอด แม้จะมาทีเผลอไม่ได้ตั้งสติเลย คุณก็ไม่มี ไม่เกิดกิเลสเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ ตถตา เป็นเองโดยไม่ต้องสังวรระวังเลย อย่างนี้แหละ
ความรู้สึก อาการโสมนัสโทมนัสอาการชื่นใจ อาการไม่ชอบใจนิดหนึ่งก็ไม่มี คุณก็ต้องรู้ด้วยตนปัจจัตตังเวทิตัพโพวิญญูหิ คำตอบของผลสำเร็จนี้ จึงจะหยุดจึงจะพอ คำว่าพอคำว่าหยุด ยังมีการอนุโลม คุณพอคุณหยุดได้จนกระทั่งคุณแข็งแรง คุณไปตรงกับคนอื่นคุณอนุโลมกับคนอื่นก็จะรู้ซ้อนว่าเราแอบแฝง แลบเลียไปกับเขาไหม เขาเรียกว่าเป็นคนธรรพ์แทรกอยู่ในขนของพญาครุฑ พญาครุฑไปเสพกาม เจ้านี้ก็ไปแอบไปด้วย ลิ้มเลียแอบเอารสอร่อยไปด้วย ยกตัวอย่างเป็นรูปร่าง พญาครุฑเสพกามตัวนี้ก็ไปแอบเสพเศษละอองกาม
คุณก็ต้องอ่านอารมณ์ของคุณเองประเด็นไปฝึกหัดเมื่อเกิดผัสสะจริง ท่านก็ไม่ได้ให้ไปทดสอบความหยาบ ซ้อนอีก เพราะฉะนั้นจึงมีพวกสายที่เสพกามให้เต็มที่แล้วจะรู้เอง พระพุทธเจ้าบอกว่าแบบนั้นไม่ต้องไปทำหรอก ระดับอนาคามีถ้าไม่ไปเสริมมันก็จะชรตาลงไป ถ้ายังเสริมมันก็จะยังไม่เสื่อม แต่ถ้ามีปัญญามันก็จะยิ่งจะสูญเร็ว คุณก็จะต้องทำสูญให้ได้ สุดท้ายก็จบตรงที่ ความสันโดษเป็นอาริยะ
กำหนดมีเพื่อผู้อื่นแต่คุณต้องไม่มี ได้ จะมีแม้น้อยแม้นิดก็ไม่ได้ จะต้องรู้ ไม่ใช่รู้ไม่ใช่ไม่รู้ก็ไม่ใช่ต้องกำหนดรู้ความไม่มีให้ได้
[124] ดูกรมหาบพิตร อย่างไร ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ? ดูกรมหาบพิตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้องเธอจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง ดูกรมหาบพิตร นกมีปีกจะบินไปทางทิศาภาคใดๆก็มีแต่ปีกของตัวเป็นภาระบินไปฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง
ดูกรมหาบพิตร ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ.
พ่อครูว่า… สันตุฏฐิ น้อยที่สุดคือ 0 คุณจะมีธาตุรู้คือตัวคุณกับศูนย์ คุณทำส่วนได้คุณก็จะรู้ว่า0เป็นอย่างไร ศูนย์อันนี้น้อยที่สุดไม่ไป – ไม่ไปบอก ไปน้อยกว่า0 ก็ไม่เอา มากกว่า0 ก็ไม่เอา ตอนนี้ตัวใครตัวมันน้อยเกิน0 ก็ไม่เอา จนกระทั่งคุณสามารถชัดเจน ว่าเรา0 นี่คืออะไร 0 ได้สนิทแข็งแรงมั่นคงตั้งมั่น เพราะฉะนั้นจึงทำให้คุณจะต้องเรียนรู้ว่าเวทนาในเวทนาทุกปัจจุบันคุณต้องลืมให้เป็น0 ทุกปัจจุบันทำความศูนย์ 0 ได้สั่งสมเป็นฐานของอดีต ทำได้ในทุกปัจจุบัน สั่งสมเป็นอดีตที่0 อนาคตจะมาอีกเท่าไหร่ก็ตาม จะมาทางทวารทั้ง 6 เป็นความสุขความทุกข์ความเฉย เป็นมโนปวิจาร 18 ทำเวทนา เคหสิตะ อาการโลกีย์ เราไม่แพ้มันทำให้ 0 ได้ เกิดจิต ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา บริสุทธิ์ได้แข็งแรงรวดเร็วสุดยอด คุณก็จะรู้ตัวจบได้ในตัวเอง
คนที่จะเข้าใจปัจจุบัน 36 แล้วสั่งสมตกผลึกเป็นอดีต 36 อย่างแข็งแรงมั่นคง อดีตกับปัจจุบัน 2 ตัวเป็นคู่หูที่อนาคตมาอย่างไรก็สู้ไม่ได้ ปัจจุบันกับอดีตของข้านี้แข็งแรง อนาคตเข้ามาไม่ถึงรัศมีหรอก เพราะฉะนั้นอนาคต 36 ปัจจุบัน 36 อดีต 36 จึง 0 หมด
ในอวิชชา 8
-
ไม่รู้..ทุกข์ (ทุกฺเข อญฺญาณํ)
-
ไม่รู้..ทุกขสมุทัย (ทุกฺขสมุทเย อญฺญาณํ)
-
ไม่รู้..ทุกขนิโรธ (ทุกฺขนิโรเธ อญฺญาณํ)
-
ไม่รู้..ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (มรรคมีองค์ ๘)
-
ไม่รู้ในส่วนอดีต (ที่ไม่เที่ยง) ปุพพันเต อัญญาณัง
-
ไม่รู้ในส่วนอนาคต (ที่ไม่เที่ยง) อปรันเต อัญญาณัง
-
ไม่รู้ทั้งส่วนอดีต-ส่วนอนาคต (ไม่รู้สิ่งที่เที่ยงแท้เท่ากันหมดแล้ว) (ปุพพันตาปรันเต อัญญาณัง) .
-
ไม่รู้ในธรรมทั้งหลาย ที่อาศัยกันเกิดขึ้นเป็นห่วงโซ่แห่ง การเกิดทุกข์ หรือดับทุกข์ ตามหลักปฏิจจสมุปบาท (หรืออิทัปปัจจยตา)