621109_พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า งานมหาปวารณา ครั้งที่ 37 ปี 2562
อ่านทั้งหมดที่ หรือดาวโหลดเอกสารที่…https://docs.google.com/document/d/1AkcndvPqh4hXBGvtYLJ9Lu2nLBh1Z0dUGzvyge2r3A4/edit?usp=sharing
ดาวโหลดเสียงที่ https://drive.google.com/open?id=1tC27Jdzyh71sq0XDI3_5a_yPb3uEUy_j
พ่อครูว่า…วันนี้วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2562 ที่บวรราชธานีอโศก เมื่อวานค้างเรื่องการเมืองยังไม่จบทีเดียว เอาบทความของคุณศิริอัญญามาอ่าน อ่านไปก็วิจัยด้วยเลยยังไม่จบ
อีกอันหนึ่งเรื่องสุขภาพของคนที่ทำปริญญาเอก ของลูกอโศก จะให้อาตมาขยายความ เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพที่จะนำเอาธรรมะเข้าไปยืนยัน ว่าสุขภาพจะดีได้ด้วยธรรมะ ที่จะให้มีสุขภาพดีชีวิตยืนยาวได้เป็นยาอายุวัฒนะที่แท้
ต่อของคุณสิริอัญญาจากวานนี้
แต่ตาอินกับตานานั้นถึงแม้จะถูกตาอยู่เอาพุงปลาไปแล้วก็ยังดีที่ยังได้หัวปลาและหางปลาไปกินกันบ้าง ต่างกันอย่างลิบลับกับการถือว่าสถานการณ์ก่อนการยึดอำนาจเป็นการทำความผิดของคนทั้งสองฝ่าย ดังนั้นจึงมีการดำเนินคดีโดยไม่จำแนกผิดถูกกับผู้คนทั้งสองฝ่าย และถือเป็นอาชญากรรมร้ายแรงทั้งสองฝ่าย จึงไม่มีการริเริ่มทางความคิดใดๆ ที่จะนิรโทษแก่กันในเรื่องนี้
ดังนั้นทั้งพวกตาอินและพวกตานาจึงต้องชดใช้ความเสียหายทั้งทางแพ่งและต้องติดคุกติดตะรางในทางอาญา อย่างน้อยที่สุดก็ติดชนักต้องไปแก้ต่างในทางคดีต่อเนื่องมาหลายปีเต็มทีแล้ว เป็นอันจบสิ้นความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานใดๆ อีกต่อไป นี่คือผลของการต่อสู้ด้วยความเสียสละเพื่อรักษาประโยชน์ของบ้านเมือง ซึ่งจะเป็นแบบอย่างความเสียหายในภายภาคหน้า
ครั้นมาถึงช่วงเลือกตั้งความจริงจึงประจักษ์แก่คนทั้งหลายว่าทั้งรัฐธรรมนูญก็ดี และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญก็ดี ตลอดจนกลไกต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหลายก็ดี ได้ถูกจัดวางไว้อย่างแยบยลเพื่อให้เป็นไปตามสิ่งที่เรียกว่ายุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมีการสืบทอดต่อยอดอำนาจเดิมไปตามท่วงทำนองแห่งยุทธศาสตร์ชาตินั้น
มาถึงวันนี้ก็เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าประเทศไทยจะต้องถูกขับเคลื่อนให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งถึงวันนี้จะมีใครสักกี่คนที่เคยได้อ่านหรือทราบว่ายุทธศาสตร์ชาติเป็นอย่างไร แต่ก็ต้องก้าวไปในทิศทางนี้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้
ดังนั้นเมื่อจะต้องเดินหน้าไปตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ก็ต้องจัดวางหมากบนกระดานการเมืองให้สอดคล้องกันด้วย จึงเป็นที่แน่นอนว่าพรรคฝ่ายค้านคือตัวอุปสรรคใหญ่ที่จะทำให้การเดินหน้าไปสู่ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ไม่ราบรื่น ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่มีคนออกมาแย้มให้เห็นว่าอาจจะมีการดำเนินการขอยุบพรรคฝ่ายค้านหลายพรรค
และแน่นอนว่าพรรคอนาคตใหม่คือพรรคที่ถูกมองว่าเป็นอันตรายร้ายแรงที่สุด เพราะเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับเยาวชนคนรุ่นใหม่ร่วม 8 ล้านคน ที่อาจจะเพิ่มจำนวนเป็น 10 ล้านคนในการเลือกตั้งครั้งหน้า ดังนั้นพรรคนี้จึงต้องตกเป็นเป้าหมายที่จะต้องถูกทำลายล้างก่อน ดังนั้น จึงไม่ต้องแปลกใจถ้าหากจะมีสารพัดองค์กรสารพัดตัวคนที่เข้าร่วมด้วยช่วยกันทำลายล้างพรรคนี้ให้มลายหายสูญไป
และจากนั้นพรรคฝ่ายค้านอื่นๆ ก็ต้องอ่อนแอลงโดยลำดับ ไม่ว่ามาตรการใดๆ และในที่สุดก็อาจถูกยุบพรรคไปทั้งหมด
แต่ทว่าการเมืองนั้นไม่ใช่มีอยู่แค่พรรคการเมือง แต่ยังมีประชาชนที่ยังมีความรู้สึกทุกข์สุข มีความรักชาติ มีความหวงแหนบ้านเมืองอยู่อีกเป็นจำนวนมาก และคนส่วนใหญ่ก็มีน้ำใจเป็นธรรม ต้องการธรรมให้บังเกิดขึ้นในบ้านเมือง เพราะหวังและเชื่อว่าธรรมนั้นจะเป็นบ่อเกิดประโยชน์สุขของมหาชนชาวไทย
ดังนั้นต่อให้พรรคการเมืองฝ่ายค้านทั้งหมดถูกยุบไป แต่ตราบใดที่ยังมีประชาชนชาวไทยอยู่ ตราบนั้นความเรียกร้องต้องการให้บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุขและปกครองโดยธรรมก็ย่อมจะไม่มีวันสิ้นสูญไป และเพราะเหตุนี้การต่อสู้ของประชาชนจึงยังคงดำรงอยู่จนกว่าบ้านเมืองจะเข้าสู่ยุคศิวิไลซ์ที่เป็นธรรมาธิปไตยเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยามโดยแท้
พ่อครูว่า..ธรรมาธิปไตย คือ ความสมดุล ดำเนินไปอย่างหมุนรอบเชิงซ้อนของพลวัต มันจะหมุนไปอย่างสันติราบรื่นเรียบร้อยง่ายงาม cyclic order แต่ในความสมดุลหรือในความเคลื่อนไหว ไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆเลยที่จะไม่มีทศนิยม ถ้าจบทศนิยมไม่มีเลย 00 แล้วไม่มีทศนิยมเติมเพิ่มผลักดันให้เคลื่อนที่มันก็จะมีแต่ชรตา หากจะให้ไปต่อต้องมีตัวกระตุก หากไม่มีอะไรกระตุกเลยก็เข้าสู่ชรตา จะให้เจริญอยู่จะต้องมีตัวค้าน โดยธรรมชาติพอสมควรมากไปก็วุ่นวาย มันก็ต้องมีหมาเห่าใบตองแห้งบ้างเพื่อเป็นตัวกระตุ้น
ในรูป 28 ลักขณรูป 4 อันสุดท้ายที่จะลงตัวก็จะเหลืออีก 4 อุปจยะ สันตติ ชรตา อนิจจตา
อุปจยะคือตัวเกิด สันตติคือตัวเชื่อมต่อตัวกลาง ถ้าไม่ต่อก็จะสู่ความเสื่อมเป็น ชรตา ตบท้ายด้วยอนิจจตา อยู่ที่ดุลพินิจของเจ้าของที่เป็นจิตนิยาม จะเคลื่อนไปสู่ความเจริญหรือความเสื่อม ก็อยู่ที่ตัวประธาน
ผู้ที่เป็นอมตะบุคคลจะต้องการให้เจริญขึ้นไม่ได้ต้องการให้เสื่อมลงไป หรือแม้ที่สุดต้องการเกิดหรือต้องการตาย พระอรหันต์สามารถทำความตายของตัวเองไม่จบให้ต่อเนื่องได้ หรือจะให้จบเป็นปรินิพพานเป็นปริโยสานได้ อย่างสนิท
เพราะฉะนั้น สังคมประเทศจะเรียกสภาวะพฤติกรรมอย่างหนึ่งว่าการเมือง ก็เป็นมนุษย์ที่มีความเห็นเดียวกัน เสมอสมานในเรื่องทิฐิ แล้วก็ปฏิบัติ มันก็เป็นไปตามพลังหมู่ อยู่ใต้อำนาจของหมู่ประชาชนที่เห็นสอดคล้องเสมอสมาน กำลังส่วนที่มากก็จะขับเคลื่อนไปได้ กำลังที่น้อยก็สู้ไม่ได้
แต่โดยสัจจะแล้วพลังที่มากก็จะไม่ข่มพลังที่น้อย ก็จะมีความคืบหน้าช่วยเหลือกันเพราะจะไม่ให้มีความเห็นต่างมันไม่ได้ มันต้องมีความเห็นต่าง และก็จะต้องมีความ
ต่างมีภาวะสองเป็นบวกเป็นลบ ที่พลังงานบวกลบนี่แหละเป็นสุดท้ายของอุตุนิยาม พีชนิยาม จิตนิยาม เป็นพลังงานอยู่ในโลก ทำงานของมันตามปกติตั้งแต่นิวเคลียส มันก็มีพลังงานบวกลบ 2 อย่างทำงานร่วมกันสังเคราะห์กันอยู่ แต่ว่าพลังงานอุตุนิยาม มันไม่เป็นตัวเอง มันไม่มีประธาน มันมีแต่แรงภายนอกเป็นตัวขับเคลื่อน ให้มันเป็นไป จนกระทั่งถึง พีชะ ก็จะมีประธาน แต่มันทำตัวของมันเอง ต้องเป็นจิตนิยาม จึงสามารถควบคุมตัวเอง จิตนิยามที่เกเรก็จะทำร้ายคนอื่น จิตนิยามที่พัฒนาแล้วก็จะไม่เบียดเบียนทำร้ายคนอื่น
อยากจะฝาก เรื่องสุดท้ายเรื่องปัญญาที่อาตมาเอามาจากพระไตรปิฎกเล่ม 23 เอามาให้พวกเราเป็นเรื่องของปัญญา 8 ประการ
สุขภาพดีด้วยโพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8
_ก่อนอื่นขอตอบของคุณลูกอโศก
กราบนมัสการพ่อครูด้วยความเคารพเป็นอย่างสูง
ในการรักษาสุขภาพแบบองค์รวมในปัจจุบัน องค์การอนามัยโลกมีทัศนะว่า ต้องบูรณาการความสัมพันธ์ของกาย-จิต-สังคม-จิตวิญญาณ
งานวิจัยของ หมอโกมาตย์ บอกว่าต้องใช้หลักมรรคองค์ ๘
ส่วนงานวิจัยของจุฬาราชวิทยาลัย ที่ศึกษาจากพระไตรปิฎก ต้องใช้หลักโพชฌงค์ ๗ ในการรักษา
จึงใคร่ขออาราธนาให้พ่อครู กรุณาเทศน์ให้ความกระจ่างชัดถึงความสัมพันธ์ของแนวคิดของคนในสังคมที่พยายามชี้ให้เห็นถึงการบูรณาการวิธีการรักษาสุขภาพแบบองค์รวมที่ดีสุดคือ ต้องเข้าใจความสัมพันธ์ของกาย-จิต-วิญญาณ และสังคม ที่ต้องเอาคำสอนของพระพุทธเจ้าในหลักมรรคองค์ ๘ และโพชฌงค์ ๗ มาใช้
จากงานวิจัยที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ดิฉันเชื่อว่าผู้อ้างเองก็ยังไม่กระจ่างชัดในหมวดธรรมนั้นๆ แต่มีความเชื่อมั่นว่าพุทธศาสนาช่วยได้แน่นอน แล้วก็พยายามอธิบายตามภพตามภูมิของตนเอง
โดยความเข้าใจส่วนตัว ดิฉันเข้าใจว่าพ่อครูสรุปรวมไว้ใน ๘ อ.แล้ว แต่ในที่นี้อยากให้อธิบายในรูปแบบที่เป็นความสัมพันธ์กับหมวดธรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องให้ชัดๆ เพื่อจะได้นำไปใช้ในงานวิจัยที่เกี่ยวกับสุขภาพได้ ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับนักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา และหน่วยงานองค์กรที่สนใจเรื่องสุขภาพแบบองค์รวมได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะ”ดิฉัน” ซึ่งกำลังทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพแบบองค์รวมค่ะ
กราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ
ลูกอโศก
พ่อครูว่า…ทบทวนหลัก 8 อ. มี อิทธิบาท-อารมณ์-อาหาร-ออกกำลังกาย- เอนกาย -เอาพิษออก-อาชีพ
ทำอะไรก็ตามหากขาดอิทธิบาทก็ไม่สำเร็จ อิทธิบาทเป็นตัวตั้ง มีฉันทะ-วิริยะ-จิตตะ-วิมังสา ศาสนาพุทธถ้าไม่มีตัวยินดีที่จริง คือมีใจยินดี หากว่ายินดีเกินไป อุพเพงคาปีติก็มากไป ต้องยินดีพอสมควร แล้วตัวที่สำคัญคือตัวอารมณ์ตัวกลางใหญ่ประธาน เป็นความรู้สึกหรือว่าเวทนาเป็นประธานหลัก
เป็นกรรมฐาน ต้องปฏิบัติให้สำเร็จลงไปตรงความรู้สึก พระพุทธเจ้าแบ่งกระบวนการความรู้สึกออกเป็นร้อยแปดอย่าง อันนี้เป็นหลักธรรมของศาสนาพุทธด้วย นอกนั้นเขาก็เดินดูตามศาสนาพุทธ
อาชีพทำให้ชีวิตหรืออายุยืนหรือสั้นได้ อาชีพที่อายุสั้นก็มี เช่น อาสาที่จะระเบิดพลีชีพ ก็มีคนที่มีความคิดความเห็นแบบนี้ ก็ทำ ทำเพื่อพระเจ้าทำเพื่อคนที่เราจะต้องเสียสละให้ หรือทำเพื่ออะไรก็แล้วแต่
ของพระพุทธเจ้านั้นใช้ทั้งโพชฌงค์ 7 และมรรคมีองค์ 8 ควบคู่กัน
โพชฌงค์ 7 กับมรรคมีองค์ 8 เป็น เทวะ เป็นธรรมะ 2 คู่ที่แยกกันไม่ได้ โพชฌงค์ 7 ขาดมรรคมีองค์ 8 ก็ไม่ค่อยดีหรอก มรรคมีองค์ 8 เดี่ยวๆ ไม่มีโพชฌงค์ 7 ก็ไม่ได้
แต่ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้าอุบัติ มรรคมีองค์ 8 ไม่เกิด และโพชฌงค์ 7 ก็ไม่เกิด เพราะว่าพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมรรคมีองค์ 8 โพชฌงค์ 7 จึงเกิดขึ้น มรรคมีองค์ 8 และโพชฌงค์ 7 ที่เป็นองค์รวมก็คือโพธิปักขิยธรรม 37
โพชฌงค์ 7 และมรรคมีองค์ 8 อย่าแยกกัน
เข้าใจแต่ละหน่วยของโพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8 แล้วมีปฏิสัมพัทธ์กันอย่างไร และมีองค์รวมร่วมกัน
-
สติสัมโพชฌงค์ . . –> สติปัฏฐาน 4
-
ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ . –> สัมมัปปธาน 4
-
วิริยสัมโพชฌงค์ –> อิทธิบาท 4
-
ปีติสัมโพชฌงค์ –> อินทรีย์ 5
-
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ –> พละ 5
-
สมาธิสัมโพชฌงค์ . –> โพชฌงค์ 7
-
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ . –> มรรคมีองค์ 8
ล้วนอาศัยวิเวก วิราคะ นิโรธ อันน้อมนำไปเพื่อความปลดปล่อย (วิเวกนิสสิตัง วิราคนิสสิตัง นิโรธนิสสิตัง โวสสัคคปริณามิง)
สตินี้ แบ่งแยกเป็น สติปุถุชน สติกั
สติของปุถุชน เขาจะไปปล้นจี้ก็ต้องมีสติเต็มทำตามแผนที่เขาวางไว้ หากสติเบลอจะทำสำเร็จได้อย่างไร สติของปุถุชนก็มีเต็มที่ได้แต่มีคุณภาพแค่ปุถุชน
สติกัลยาณชน ปรารถนาดีทำดีให้ดีที่สุด ตามที่เขามุ่งหมาย แต่มันเป็นแค่โลกีย์ วนเวียนเกิดดับ ไม่มีปรินิพพาน มีแต่นิรันดร ศาสนาพุทธยืนยันว่าไม่จริง คุณสามารถทำให้มันอยู่ได้นานด้วยวิธีการของแต่ละศาสนา ให้เป็นอยู่ได้นานๆได้ หมดพลังงานแล้วก็มีวิบาก หมดพลังกดข่มไว้ก็วิบากตามมา ไปตามวิบากอีกวนเวียนไม่รู้จักจบสิ้นจึงเรียกว่านิรันดรชนิดไม่จบสิ้น
สติอาริยะชน เป็นสติของอาริยชน
สติสัมโพชฌงค์ เป็นความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ทีนี้ตัวสำคัญก็คือต้องมีธัมมวิจัย คนที่นั่งหลับตาปฏิบัติไม่มีธัมมวิจัยไม่มีการวิจัยวิจารอะไร หยุดวิจัยหยุดนึกคิดปรุงแต่งหยุดนิ่ง แล้วไปอธิบายกันว่าจะเกิดปัญญาโผล่ขึ้นมาเอง ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้มันจะต้องมีธัมมวิจัยอย่างสัมมาทิฏฐิ ยังมีสัมมาปฏิบัติ มีการสัมผัสสัมพันธ์กับภายนอกได้ผลวิจัยออกมาบวกลบคูณหาร Solution ออกมาแล้วมันถึงจะมีผลลัพธ์ที่สุดออกมาสำเร็จอย่างนั้น ถ้าไม่มีธัมมวิจัยก็ไม่มีการสังเคราะห์สังขาร บวกลบคูณหารเป็นผลสำเร็จออกมาไม่ได้
จากนั้นจึงจะมีวิริยะพลังงานที่จะต้องพากเพียร และมีตัวยินดีคือปีติเสริมหนุน จึงจะเกิดผลเป็นปิติปัสสัทธิ แล้วจึงสั่งสมลงเป็นสมาธิ สะอาดจบสิ้นหมดอนุสัย ปริสุทธา มีการสัมพันธ์กับอะไรต่ออะไรอีก ก็ทำให้สำเร็จเป็นความสะอาด สะอาดบริสุทธิ์จริง สมาธิคือจิตที่สะอาดบริสุทธิ์จริงๆตกผลึกรวมกัน เป็นจิตตั้งมั่น
คำว่าสมาธิของศาสนาพุทธจึงไม่ใช่แบบลัทธิทั่วไป ทำการสะกดจิต ทำฌานทำสมาธิก็ไปสะกดจิต จิตสงบแต่ไม่ได้รู้ว่าสงบจากอะไร
สมาธิ ในกระบวนการจรณะ 15 วิชชา 8 เป็นวิชชาจะระณะสัมปันโน เป็นพุทธคุณของพระพุทธเจ้า ทำให้จิตมีอุเบกขา ที่มีเนื้อหาคือ ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา
จิตสะอาดปราศจากกิเลสอย่างนิจจัง(เที่ยงแท้) ธุวัง (ถาวร) สัสตัง(ยืนนาน) อวิปริณามธัมมัง(ไม่แปรเปลี่ยน) อสังหิรัง(ไม่มีอะไรหักล้างได้) อสังกุปปัง(ไม่กลับกำเริบ)
ในคำว่าสมาธิ ถ้าจะแยกว่ามีอะไร แยกทำเป็นกระบวนการก็จะมี ปัสสัทธิสมาธิอุเบกขา
ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา มีแกนของความบริสุทธิ์ ทำงานอยู่อย่างมุทุ สภาวะอาการของจิตที่เคลื่อนไหวได้อย่าง ลหุ เบาเร็ว ได้ทั้งเร็วไวปราดเปรียวคล่องแคล่วทำงาน มีความวิเศษมาก สงบนิ่งสะอาดเรียบร้อย ไม่มีด่างพร้อย ไม่ตกหล่น ยิ่งเก่งก็ยิ่งตกหล่นน้อยยิ่งบริบูรณ์สัมบูรณ์มากขึ้นเรื่อยๆ
จึงทำการงานได้อย่างดีเหมาะควรทุกทีๆ เพราะผ่านคุณสมบัติที่ได้กลั่นกรองวิธีทำสำเร็จ ทำเสร็จแล้วจะต้อง ปภัสสร ก็บริสุทธิ์อันนี้
ตกลงองค์รวมต้องมีทั้งโพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8 โดยไม่แยกกัน งานวิจัยของ หมอโกมาตย์ บอกว่าต้องใช้หลักมรรคองค์ 8
ส่วนงานวิจัยของจุฬาราชวิทยาลัย ที่ศึกษาจากพระไตรปิฎก ต้องใช้หลักโพชฌงค์ 8 ในการรักษา ของเราก็เอามารวมกันเลย
โดยมีสติสัมโพชฌงค์ รู้ตัวทั่วพร้อมเป็นตัวตื่นจริงๆ มีความรู้ตัวทั้งภายนอกภายในตื่นจริงๆ ไม่ใช่ตื่นแต่ภายใน จะต้องตื่นทั้งภายนอกและภายในที่เป็นกาย กายนั้นมี 2 เสมอทั้งภายนอกและภายในมีรูปกับนาม หรือเทวะ และก็มีการวิจัยธรรมะ มีพฤติกรรมของการวิจัยวิจาร จิตวิญญาณมีความสามารถในการวิจัย
วิจัย เรียกอีกพยัญชนะว่าเป็นวิตกวิจาร
วิตก จิตที่ดำริขึ้นมา วิจารคือพฤติกรรม เอามาแยกแยก โดย จาระ วิจัยคือแยกแยะพฤติของตนเอง
ปุถุชน ตักกะ ดำริมาก็ไม่ได้แยกแยะ มันมาทั้งกระบวนกิเลสพร้อม
แต่ผู้รู้จะต้องแยกกิเลสออกจากตัวจริงให้ได้ แยกได้แล้วปหานกิเลสมีพฤติของกิเลสอย่างไร จาระ อย่างไร แล้วกำจัดมันให้สิ้น วิ
เมื่อกำจัดได้สำเร็จ ก็เป็นจิตสะอาดบริบูรณ์ได้
ในมรรคองค์ 8 สัมมาทิฏฐิ เป็นประธาน ปฏิบัติในขณะทำการงานอาชีพทำกรรมกริยาทุกอย่าง กัมมันตะ ทั้งในขณะพูดทั้งในขณะคิด ในขณะเป็นกระบวนการความนึกคิดกระบวนการที่พระพุทธเจ้า แจกไว้ในสังกัปปะ 7
แล้วก็มีตักกะก่อน ดำริ แล้วมีวิตักกะคือจัดการตักกะ ให้สำเร็จ วิ พฤติของมันแยกกิเลสออกมาให้ได้แล้วฆ่ากิเลส ก็เป็นสัมมาสังกัปปะ เป็นผลสำเร็จของการนึกคิด ไม่ใช่จิตไม่นึกคิดอะไร ที่เขาไปสอนกันในสายเจโตสายเทวนิยม สายนั่งหลับตาสะกดจิตไม่นึกไม่คิดและปัญญาจะโผล่ขึ้นมา อันนั้นเป็นคนละเรื่องของศาสนาพุทธ 180 องศาเลย
ของพระพุทธเจ้าจะต้องวิตกวิจัยวิจารอย่างยิ่ง ไม่ใช่โผล่ขึ้นมาลอยๆอย่างนั้น เลยไม่ได้คิดเรื่องอะไรเลย มันมีแต่สัญญาในเรื่องความคิด
ในปัญญา 6 พระไตรปิฎกเล่ม 24 ข้อ 258 มหาจัตตารีสกสูตร
ปัญญาจะมีพลังงานที่สูงขึ้นเป็นปัญญินทรีย์ มีพลังงานก้าวหน้าแข็งแรงขึ้นจนจบที่สุดเรียกว่าปัญญาพละ เป็นอินทรีย์พละสูงสุด
จะจบได้ ต้องเกิดจากกระบวนการอีก 3 อย่าง ธัมวิจัยสัมโพชฌงค์ สัมมาทิฏฐิ มัคคังคะ มีวายามะ สติ เป็นตัวช่วย สัมมาทิฏฐิเป็นประธาน สัมมาวายามะสัมมาสติเหมือนกับหวังเฉาหม่าฮั่น
พยายามก็คือเพียรกระทำ แล้วก็มีสติประกอบเป็นตัวสำคัญ จะตื่นรู้ทั้งภายนอกภายในทั้งอารมณ์ รู้ตัวทั่วพร้อมทุกอย่าง เอามาอย่าให้ตกอย่าให้หล่นรวมมาให้ครบ ทำอย่างไรก็ทำตามสัมมาทิฎฐิ ก็ทำตามทิฏฐินั้นให้สำเร็จผลออกไป
ตลอดเวลาที่กระทำจะต้องอ่านต้องวิจัยตรวจสอบเสมอจึงเรียกว่ามีธัมวิจัยอยู่ตลอดจึงเป็นองค์สำคัญ ในสัมมาทิฏฐิ องค์ 3 แรก
-
-
การปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 ก็มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา งสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ทำให้ถูกต้องตามสัมมาทิฏฐิ 10
-
ในกระบวนการที่กล่าวไปคร่าวๆ คุณทำที่อารมณ์ที่เวทนา
หลักปฏิบัติที่ถูกต้องมีอารมณ์หรือเวทนาเป็นตัวกรรมฐาน จะเกิดผลปฏิสัมพันธ์เป็นจิตเจตสิกรูปนิพพาน ซ้อนเป็นธรรมะ 2 ธรรมะ 3 ในเวทนา 108
(แบ่งเป็น 2 เวทนา ได้แก่..)
-
-เวทนาที่มีกายเป็นเหตุ (กายิกเวทนา อาศัยมหาภูตรูป+นาม)
-
-เวทนาที่มีใจเป็นเหตุ (เจตสิกเวทนา อาศัยนามรูป).
แยกเป็น 3 เวทนา ได้แก่..
-
สุขเวทนา
-
ทุกขเวทนา . .
-
อทุกขมสุขเวทนา (ไม่สุขไม่ทุกข์ อุเบกขา).
(รู้กำลังของเวทนาทั้ง 5 ได้แก่)
-
สุขินทรีย์
-
ทุกขินทรีย์
-
โสมนัสสินทรีย์
-
โทมนัสสินทรีย์
-
อุเบกขินทรีย์
เราทำอาการจิตให้ตรงกับที่นิยามไว้ ให้สำเร็จให้มันเฉย หมดทุกข์หมดสุข โสมนัสก็หมดโทมนัสก็หมด กลาง ถือเป็นตัวจบ ก็ทำเวทนา 3 นี้ทางทวาร 6
(แยกเป็น 6 เวทนา ได้แก่)
-
จักขุสัมผัสสชาเวทนา ความรู้สึกจากประสาทตา
-
โสตสัมผัสสชาเวทนา ความรู้สึกจากประสาทหู
-
ฆานสัมผัสสชาเวทนา ความรู้สึกจากประสาทจมูก
-
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ความรู้สึกจากประสาทลิ้น
-
กายสัมผัสสชาเวทนา ความรู้สึกจากประสาทกาย
-
มโนสัมผัสสชาเวทนา ความรู้สึกจากใจปรุงแต่งเอง
ได้แก่ มโนปวิจาร 18 (คือ เวทนา 3 ร่วมกับอายตนะ 6)
-
สุขเวทนาแบบโสมนัสสูปวิจาร (6 ทวาร+โสมนัส)
-
ทุกขเวทนาแบบโทมนัสสูปวิจาร (6 ทวาร+โทมนัส)
-
เฉยๆ ที่เป็นอุเบกขูปวิจาร (6 ทวาร+อุเบกขา)
ทางโลกียะทำวิธีการสะกดจิต สายหลับตา หรือลืมตาสะกดจิตก็ได้ สายท่านพุทธทาสลืมตาสะกดจิต แต่สายอาจารย์มั่นหลับตาสะกดจิต ก็ทำสำเร็จ ไม่ใช่อาจารย์ใหญ่เหล่านี้เท่านั้นแต่ก่อนเขาก็ทำกันมา เป็นโลกีย์ที่ยังไม่สมบูรณ์ไม่ถึงนิพพานยังไม่สูญทำมาแต่ไหนแต่ไร ส่วนของพระพุทธเจ้านั้น มีสูตรของพระพุทธเจ้าองค์เดียวที่ทำได้สำเร็จ
สุดท้ายสรุปลงที่ทำให้สงบอย่างปัสสัทธิ
ปัสสัทธิก็คือปหาน 5
1.วิกขัมภนปหาน (ละด้วยการข่มใจ-ใช้เจโตนำหน้า) .
2.ตทังคปหาน (ละได้เป็นครั้งคราว-ใช้ปัญญาอบรมจิต) .
3.สมุจเฉทปหาน (ละด้วยการตัดขาด สลัดออกได้เก่ง) .
4.ปฏิปัสสัทธิปหาน (ละด้วยการสงบระงับ ทวนไปมา) .
5.นิสสรณปหาน (สลัดออกได้เองทันที เก่งจนเป็นปกติ)
(พตปฎ. เล่ม 31 ข้อ 65)
วิกขัมภนปหาน ก็เป็นการกดข่มไว้ ปุถุชนคนทั่วไปก็ทำกันด้วยมารยาท ถ้าหากปล่อยกิเลสออกไปหมดก็เข้าคุกอยู่ตลอดเวลาแหละ มันเป็นไปไม่ได้มันจะต้องมีตัวช่วยนี้อยู่เสมอ มันเป็นอุปการะขาดไม่ได้ เป็นผู้อุปการะ อยู่เสมอ
ทำได้สำเร็จเด็ดขาดเป็น สมุจเฉท ทำซ้ำทำทวน เหตุปัจจัยใหม่ก็ทำใหม่ตามทฤษฎีนี้ เป็นปฏิปัสสัทธิ
จนกระทั่งสมบูรณ์แบบเป็นสมาธิเป็นจิตตั้งมั่น ได้อย่างถาวรเป็นอัตโนมัติ คุณทำอะไรนั้นทำจริงอยู่ที่ปัจจุบัน มโนปวิจาร 18 เราทำโลกียะให้เป็นโลกุตระ เป็นเนกขัมมะ 18 หลุดพ้นจากโลกียะ ทำเสร็จได้ผลเก่งก็ทำอย่างเก่งๆนี้แหละทุกปัจจุบัน 36
ครบ 108 เวทนา โดยกาละทั้งสาม ได้แก่ . . .
-
เวทนามโนปวิจาร ที่เป็นอดีตทั้ง 36 ก็สูญแล้ว
-
เวทนามโนปวิจาร ที่เป็นปัจจุบัน 36 ก็สูญอยู่
-
เวทนามโนปวิจาร ที่เป็นอนาคต 36 ก็สูญอีก .
(ปัญจกังคสูตร พตปฎ. เล่ม 18 ข้อ 412-424)
ทำได้อย่างไร้เทียมทานเลย จะมาอีกไม้ไหนมาก็ทำได้อย่างไร้เทียมทาน จนฝีมือไม่มีใครที่จะมาล้มล้างได้ อสังหิรัง เด็ดขาด อย่างนี้ถือเป็นจบ จิตทำได้อย่างนี้แหละ สภาพที่ทำแล้วกลับไปทำอีกก็เป็นสภาพหมุนรอบเชิงซ้อนทำทุกปัจจุบัน 36 สั่งสมเป็นอดีต 36 ทำ 000 สำเร็จ เรียบร้อย 0 ทุกปัจจุบัน 000
ในอวิชชา 8 ส่วนอดีตส่วนอนาคต และส่วนทั้งอดีตและอนาคต
อวิชชา 8 คือ
-
ความไม่รู้ในทุกข์ (ทุกเข อัญญาณัง)
-
ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย (ทุกขสมุทเย อัญญาณัง)
-
ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ (ทุกขนิโรเธ อัญญาณัง)
-
ความไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
-
ความไม่รู้ในส่วนอดีต (ปุพพันเต อัญญาณัง)
-
ความไม่รู้ในส่วนอนาคต (อปรันเต อัญญาณัง)
-
ความไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและส่วนอนาคต (ปุพพันตาปรันเต)
-
ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรม ว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัย ธรรมนี้จึงเกิดขึ้น
สำหรับพระอรหันต์ก็มีการทำกุศลเพิ่มตลอดเวลา ก็ไม่เที่ยงในส่วนนี้ อนาคตแม้จะไม่เที่ยงแต่ฝีมือของพระอรหันต์ที่จบสำเร็จจริง ก็มีกิเลส 0 ได้ตลอด อดีตอนาคตไม่เที่ยงแต่มาถึงปัจจุบันพระอรหันต์ ผ่าน 0 หมด อนาคตจะมารูปไหน เก่งยอดไม่เก่งยอดขนาดไหน อรหันต์ทำให้ 0 ได้หมด
อันที่ 7 ในวิชชา 8 จึงเป็นความเที่ยงคือ 0 เพราะเข้าใจอันที่แปดอย่างสำเร็จบริบูรณ์หมดอวิชชา หมดภพชาติ
ถ้าพระพุทธเจ้าไม่อุบัตินอกจากโพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8 ไม่เกิดแล้วปฏิจจสมุปบาทก็ไม่เกิดอีก ปฏิจจสมุปบาทจึงเป็นตัวหลักในอวิชชาทั้ง 8 นี้ ต้องรู้อย่างสมบูรณ์แบบ
กระบวนการ 108 อดีต 36 ปัจจุบัน 36 อนาคต 36 รวมเป็น 108
นี่คือกระบวนการ 108 ที่ยิ่งใหญ่ของศาสนาพุทธอย่างสำคัญ แล้วจะทำให้เกิดพลังงานจิตนิยามที่แข็งแรงปราดเปรียวสดใส สุขภาพก็ดีแข็งแรงอยู่ตลอดเวลา
นี่คือสรุป คุณลูกอโศก ก็ขอสรุปไว้เท่านี้ บันทึกไว้แล้วก็ไปสรุปให้ดีอันไหนขาดก็ต่อเติมให้ดี
_พระพุทธเจ้ายังสอนเรื่องอาหาร 4 ที่สอดคล้องกับสุขภาพองค์รวม 4 อย่าง ตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้
-
กวฬิงการาหาร คือ สุขภาพกาย
-
ผัสสาหาร คือ สุขภาพจิต
-
มโนสัญเจตนาหาร ตรวจสุขภาพสังคม
-
วิญญาณาหารคือสุขภาพทางจิตวิญญาณ
พ่อครูไอ ตัดออกด้วย
นิมนต์พ่อครูจิบน้ำ
ปัญญาสูตร
ในปัญญาสูตร เล่ม 23 ข้อ 92
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุ 8 ประการ ปัจจัย 8 ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความงอกงามไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว 8 ประการเป็นไฉน
1 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ซึ่งเป็นที่เข้าไปตั้งความละอาย ความเกรงกลัว ความรักและความเคารพไว้อย่างแรงกล้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ 1 ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
2 เธออาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่ง ผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ซึ่งเป็นที่เข้าไปตั้งความละอาย ความเกรงกลัว ความรัก และความเคารพไว้อย่างแรงกล้านั้นแล้ว เธอเข้าไปหาแล้วไต่ถาม สอบถามเป็นครั้งคราว ว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภาษิตนี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งภาษิตนี้เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นย่อมเปิดเผยข้อที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้แจ้งข้อที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง และบรรเทาความสงสัยในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายประการแก่เธอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ 2 ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ
-
เธอฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมยังความสงบ 2 อย่าง คือ ความสงบกายและความสงบจิตให้ถึงพร้อม ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ 3 ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ
-
เธอเป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรมีปรกติเห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ 4 ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯเธอเป็นพหูสูต ทรงจำสุตะ สั่งสมสุตะ(พหูสูตไม่ใช่แค่จำได้มากแต่เพราะว่ามีปัญญาแท้แล้วเข้าใจแล้ว พวกจำได้มากรู้มากเรียนมากก็เป็นปทปรมบุคคลได้ สอนคนก็มากแต่ไม่ได้บรรลุ เป็นบัวใต้ตมบัวใต้ตึก สอนคนอื่นให้บรรลุก็มี น่าสงสารเป็นบัวใต้ตึก)
5.เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมากทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ 5 ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ
-
เธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความพร้อมมูลแห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ 6 ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ
-
อนึ่ง เธอเข้าประชุมสงฆ์ ไม่พูดเรื่องต่างๆ ไม่พูดเรื่องไม่เป็นประโยชน์ ย่อมแสดงธรรมเองบ้าง ย่อมเชื้อเชิญผู้อื่นให้แสดงบ้าง ย่อมไม่ดูหมิ่นการนิ่งอย่างพระอริยเจ้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ 7 ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ
พ่อครูว่า…พระอาริยะบางรูปไม่ถนัดพูดก็มี บางรูปก็ถนัดพูดมี ถ้าหากถามท่านท่านก็ตอบได้เท่าที่ท่านตอบได้ อย่างพระอัสสชิเป็นต้น
-
อนึ่ง เธอพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมในอุปาทานขันธ์ 5 ว่า รูปเป็นดังนี้