621118_รายการสำมะปี๋ซี่วิต ปฐมอโศก ครั้งที่ 81
อ่านทั้งหมดที่ หรือดาวโหลดเอกสารที่…https://docs.google.com/document/d/1Lf0q73DmA24xiidvCFJH3TsxDESWVl3b3cupv75HqcE/edit?usp=sharing
ดาวโหลดเสียงที่ https://drive.google.com/open?id=1l3oXR4TODkIxCXsnf0AF2unvvGbInxfv
พ่อครูว่า… วันนี้วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2562 ที่บวรปฐมอโศก อาตมาอยู่ที่ราชธานีอโศกประจำ ตอนนี้ก็ถือว่ามาต่างจังหวัด
_SMS วันที่ 18 พ.ย. 2562 (วิถีอาริยธรรม สันติอโศก)
_กุญแจ เงินทอง : การตำหนิ การชม จะเพิ่มโดยการลดทอนพลังใจ กำลังใจที่เพิ่มได้อย่างไร
พ่อครูว่า…อ่านโจทย์ที่ถามมาแล้วเข้าใจยาก หัวไม่ถึง ช่วยเรียบเรียงคำถามมาใหม่
ไม่เข้าใจประเด็นที่ถามมา
_ใจกลั่น หากว่าเราถูกตำหนิแล้วกำลังใจเราตกลง เราจะเพิ่มกำลังใจได้อย่างไร
พ่อครูว่า…ต้องเข้าใจว่าจะไปให้กำลังใจเราลดทอนลงทำไม คนที่ตำหนิคนนี้จริงๆแล้ว อาตมาว่าเขาต้องมีคน เขามีเจตนาที่ตำหนิมันมี 2 นัย
-
ตำหนิชั้นเดียวเพื่อจะให้คุณหยุดสิ่งที่ตำหนินั้น
แต่คนที่ตำหนิหลายชั้น เพื่อที่จะให้เขาฟังแล้วยิ่งมีกำลังใจ ที่จะพัฒนาตนเอง ให้เขาตรวจตัวเอง หรือเขาจะตรวจสอบตัวเอง เขาให้เกียรติคุณ ถ้าคุณไปตรวจสอบแล้วตรวจสอบอีก คุณก็ได้ จะถูกหรือผิดคุณก็ไปตรวจดู คุณอาจจะผิดหรือคุณอาจจะไม่ผิดไปตรวจสอบอีกที
ตำหนิถ้าเราชัดเจนว่าตอนนี้เพื่อให้เขาแก้ไข กลับตำหนิเพื่อให้ไปพัฒนาไปตรวจสอบให้ดีผิดหรือถูก ถ้าคุณตรวจสอบด้วยความเข้าใจของคุณเองชัดเจนแล้ว เราก็ต้องจบเหมือนกัน คุณก็เห็นอย่างของคุณ เราก็จบเหมือนกันที่ว่า ความเห็นของคุณกับความเห็นของเรามันต่างกันมันคนละอย่างแล้วเราก็จบ
_น้อย จนดี : จะตั้งใจฝึกความจน โดยลดการเอาเปรียบให้น้อยลงไปเรื่อยๆ กราบนมัสการครับ
พ่อครูว่า…ดีแล้วตั้งใจอย่างนี้ก็ดีแล้วเห็นด้วย
_จาก..ลูกหนอนใต้ต้นโพธิ์
กราบนอบน้อมพ่อครูที่เคารพค่ะ..ขอเรียนถามพ่อครูถึงสภาวะปัจจัตตังค่ะ
-
สภาวะปัจจัตตังจะเกิดขึ้นตั้งแต่พระอาริยะระดับไหนขึ้นไปคะ
-
ปัจจัตตัง เป็นปัญญาที่เกิดจากการรู้ตามคำสอนของครูผู้เป็นสัตตบุรุษด้วยใช่มั๊ยคะ
-
สภาวะปัจจัตตัง อุเบกขา นิพพาน มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไรคะ
…..กราบขอบพระคุณพ่อครูอย่างสูงค่ะ
พ่อครูว่า…คำว่าปัจจัตตังคือเรารู้ได้ด้วยตัวเอง คำเต็มคือ ปัจจัตตังเวทิตัพโพวิญญูหิติ ผู้ที่มีธาตุรู้ ปัจจัตตังเวทิตัพโพวิญญูหิติคือการรู้อย่างอาริยะ แต่โดยทั่วไปคำว่าปัจจัตตังหมายถึงตัวเองรู้เอง แต่ของพวกเราเองหมายถึงรู้โลกุตระ หมายถึงต้องปฏิบัติตั้งแต่เริ่มต้น ฟังคำสอน บัญญัติทฤษฎี เมื่อไหร่ผลก็จะรู้ด้วยตัวเองเห็นแต่ตัวเองกายกรรมก็รู้ตรงกันหมดวจีกรรมและมโนกรรม
ปัจจัตตังก็มีตั้งแต่พระอาริยะระดับเริ่มต้นเลย ถ้าจะอธิบายอย่างละเอียด เช่น โกณฑัญญะเริ่มได้ฟังคำสอนพระพุทธเจ้าเมื่อได้ฟังแล้วจิตใจก็เปลี่ยนเลย จิตใจที่เป็นโลกียะเปลี่ยนมาเป็นจิตใจที่รู้ที่เข้าใจ จิตนี้ก็เลยเปลี่ยนมาเป็นโลกุตรจิต
พระพุทธเจ้าก็สามารถรู้จิตใจของโกณฑัญญะ ก็เลยอุทานว่า โกณฑัญญะรู้ได้แล้วหนอ มีจิตธาตุรู้ที่เป็นอัญญธาตุ เป็นจิตอื่นสามัญจากโลกีย์ มาเป็นปัญญาครบพฤติกรรม ปัญญาจึงเป็นพยัญชนะของศาสนาพุทธของพระพุทธเจ้า เป็นคำบาลี ที่พระพุทธเจ้าท่านบัญญัติของท่านขึ้นมาเอง หมายถึงความรู้ที่รู้โลกุตระ เป็นโลกใหม่ เป็นความรู้โลกุตระโดยเฉพาะ แต่มันก็ได้ผิดเพี้ยนไป เพราะคนทั่วไปเอาคำว่าปัญญามาใช้แทนคำว่า เฉโก
ความรู้ที่เกิดจากตาหูจมูกลิ้นกายใจสัมผัสแล้วสามารถรู้ได้อย่างยิ่ง เป็นความฉลาดที่มีอายตนะ คือฉฬายตนะ คือความรู้จริง
ส่วนการปฏิบัติแบบหลับตาปฏิบัติก็ปรุงกันแต่ในจิต สมมุติอะไรต่างๆได้ไปตามเรื่องราวอย่างไรก็ปั้นเอาเองได้ แล้วคุณออกมาพิสูจน์ให้มีสภาวะภายนอกที่ตาสามารถสัมผัสได้ หูกระทบสัมผัสได้เป็นเสียง จมูกสัมผัสได้แต่กลิ่นลิ้นสัมผัสได้แต่รส ภายนอกสัมผัสได้ด้วยกาย ร่วมรู้กันได้คนอื่นก็ร่วมรู้กันได้ด้วย
ถ้าจะเรียกกันว่าความจริงต้องมีทั้งภายนอกและภายใน ภายนอกก็มีตาหูจมูกลิ้นกาย พระอรหันต์ขึ้นไปสัมผัสทางภายนอกแล้วไม่มีกิเลสเลย แต่ท่านก็มีความใคร่อยากจะทำงานนี้ มีกรรมกิริยา ปรารถนาจะทำงานร่วมกับที่สัมผัส ท่านก็ทำงานด้วยความปรารถนาไม่ใช่อยู่เฉยๆไม่คิดไม่อยากไม่มีความประสงค์ไม่มีความปรารถนาไม่มีพลังงานอะไรที่จะทำงานได้เลย อยู่กลางๆเฉยๆ อย่างนี้มันก็ไม่ได้ทำงานอะไร จะทำงานจะต้องมีเจตนารมณ์มีความมุ่งหมายมีพลังงานพุ่งออกไป จะให้เป็นอย่างไร พระอรหันต์พระพุทธเจ้าจะให้เป็นอะไรก็ไม่มีทางให้เป็นสิ่งที่ไม่ดีสิ่งที่ชั่ว จะไม่มีตัวเจตนานี้เลย เพราะฉะนั้นพระอรหันต์ทุกองค์มีความซื่อสัตย์สุจริตในเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าจึงให้ยกสติวินัยแก่พระอรหันต์
เพราะว่าท่านจะไม่มีเจตนาที่จะทำอะไรผิดอะไรเลวร้าย แต่ถ้าอรหันต์ผิดได้ ไม่ได้เจตนาให้ผิดแต่มีภูมิรู้เท่านั้น ก็อย่าไปเอาผิดท่าน อย่าไปถือโทษท่าน เพราะว่า ท่านบริสุทธิ์แต่มีวิบาก วิบากเป็นอันทำ เช่นเราเดินไปเหยียบมดตาย ไม่ได้เจตนาจะไปเหยียบมดตายแต่มดมันตาย เหยียบมันแรงมันตายเลย เราไม่ได้มีเจตนา เราไม่ได้มีบาป ไม่ได้มีอกุศลจิตเลย ไม่มี แต่วิบากมีตรงที่ว่ามดมันจะพยาบาทเราไหม ทำมันตายมันโกรธไหม มันไม่ชอบ ก็ยึดถือ ว่าเอ็งทำข้าตายมันจะจองเวรจองกรรม ถูกตัวหรือเปล่า ถ้ามันรู้ว่าคนนี้มันก็จองเวรทันที ถ้ามันไม่รู้ว่าใครก็ตามไม่ได้ มันก็จองไม่ถูกตัว เรื่องพวกนี้เราเดาเอาไม่ได้
นัยละเอียดของกรรมวิบากนั้นลึกซึ้งอจินไตยอย่าไปคิดเล่นพูดเล่น มันละเอียดมากมายเหลือเกิน
_ทิดวิเชียร…พ่อครูพูดถึงมนายตนะกับธัมมายตนะ ตรงนี้ต่างกับการคุยกับเทวดาอย่างไร
พ่อครูว่า..มนายตนะกับธัมมายตนะ เป็นคู่อายตนะภายใน มน คือใจ ใจเราก็ทำงานมีอายตนะก็คือสัมผัสกัน หากต่างคนต่างอยู่ สภาพธาตุ2 รูปนามไม่ทำอะไรกันเลย อะไรจะปรุงกับอะไรก็ได้ มันของตนเองไม่เกี่ยวกับทวารภายนอกด้วย มันเป็นการปรุงธรรมในธรรม ในจิตอันนั้นที่เรียกศัพท์หนึ่งว่า คุยกับเทวดา
เทวดา หมายถึงจิตอยู่ในธาตุดี จิตของผู้ที่บริสุทธิ์สะอาด จะระลึกถึงความดีก็เพื่อแก้ไข สิ่งที่บกพร่อง สมมุติต่างๆกัน อย่างเช่นอาตมาเขาถือว่ามีกิริยาหยาบ ว่าเขาแรง หลุกหลิก ไม่สงบนิ่ง เขาก็ยึดถือตามสมมุติของเขา เราก็ไม่มีปัญหาอะไร เราคิดว่าทำอย่างนี้เหมาะสมควรมันสะดวก ทำแล้วคิดว่ามันเป็นประโยชน์คุณค่า ปรุงแต่งอย่างนี้ได้ผลเหมาะสมกับผู้รับกับฐานของคนยุคนี้ อาตมามีความจริงใจไม่ได้ปรารถนาร้ายก็เหมือนกับพ่อแม่ด่าลูกหยาบ แต่อาตมาไม่ได้ด่าหยาบๆอย่างโลกเขาหรอก แต่มันแรง ที่คนรู้สึกว่าหยาบเพราะผิดและทุจริต
การกล่าวคำว่าเขาทุจริต ผิด เสียหาย แล้วยิ่งบอกแรงๆ เตือนแรงๆว่าแรงๆ มันก็เลยรู้สึกว่า ตัวมันเองก็แรงร้ายอยู่แล้ว ยิ่งไปหาคำ สำเนียงแรงๆ เลือกใช้เพื่อให้คนอื่นรับรู้และเกิดความรู้ตามที่เราต้องการ คือวาทิตะ ให้คนอื่นได้จะได้ตามประสงค์ก็แล้วแต่
มนายตนะกับธัมมายตนะ หากอาตมาคุยก็คุยกับเทวดา ได้เอามาใช้ ทำได้ทุกที่เมื่อคุณลืมตา จิตมีความสามารถทำได้ ปัญญากับสัญญา
สัญญา ยังไม่ใช่ความจริงปัญญาคือความจริง สัญญาจะได้แต่นึกคิดปรุงอยู่ในภายในไม่ออกมาภายนอก ถ้าออกมาข้างนอกแล้วปรุงแต่งกับข้างนอก โดยมีความรู้ซ้อนเรียกว่าโลกุตระ เราให้คนอื่นได้รับความรู้อันนี้ถึงโลกุตระก็คือปัญญา แต่สัญญาคือการกำหนดหมายทั่วไปไม่ได้อยู่ในข่ายโลกุตระ สัญญาเป็นตัวกำหนดและรู้ทั่วไปใช้กันทั่วไปไม่เว้นแม้แต่สัตว์เดรัจฉาน มันมีสัญชาตญาณของตัวเอง เกิดมามีสัญญะของมันเอง เอาคำว่าญาณมาใส่ เป็นสัญชาตญาณ ก็คือความรู้ที่ติดตัวมาเก่า จากความจำและออกมากำหนดหมาย ความรู้เก่าที่รู้แล้วเป็นญาณคือความรู้อันเก่าเอามาใช้ใหม่ คุณใช้งานได้ของคุณจะไปช่วยทางดีหรือกลางๆ สัตว์เดรัจฉานทุกตัวมีสัญชาตญาณ คนก็มี
แต่อัญญานั้นปรับปรุงขึ้นใหม่ ถ้ารู้ที่เป็นสัญชาตญาณขึ้นมาเพิ่มใหม่ก็เป็นความรู้เพียงเฉโก หรือเฉกะ หรือฉลาด
ฉ นี่ก็แปลว่า 6 แล้ว ฉฬ ก็ 6 แต่ เฉกะ ก็คือ ฉ +เอกะ คือ 6 กับ 1 คือทวาร 6 แต่ของคุณเป็นทวาร 6 ที่ไม่ได้เจริญจาก 1 เพราะ 1 คือธาตุที่ตีไม่แตก แม้คุณจะมี 2 แต่คุณก็เป็น 1 เทวะ แปลว่า 2 เอกะ แปลว่า 1 คุณมี 2 อย่างไรแต่ก็ตีไม่แตกก็คือมี 1 จิตคุณเป็นเทวะแต่ตีไม่แตกแยกแยะไม่ได้ ความเจริญของพระเจ้าก็มีเท่านี้ไม่มีขยายไม่มีเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลงไม่ได้ สามารถที่จะปรับไปตาม กาละอันไม่เที่ยง องค์ประกอบอันไม่เที่ยง เหตุปัจจัยต่างๆไม่ได้คงเดิม ไม่ดีกว่าก็เลวกว่าหรืออาจจะคงเดิมแต่ยาก ส่วนมากจะเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าเปลี่ยนนิดเดียวก็ดูได้ยากมาก
_ทิดวิเชียร..เริ่มแต่โอกกันติ
พ่อครูว่า…ปุถุชนหยั่งลงเป็นโอกกันติของโลกียะ แต่ถ้าเป็นโลกุตระก็แยกกิเลสออกมาทำลายได้ กิเลสคือจิต เหตุที่มันก่อจะเกิดกระทบกับเราแล้วเกิดกิเลสไม่มีฤทธิ์ จิตของเราแข็งแรงควบคุมสิ่งเหล่านั้นได้ จิตเป็นจิตที่สูงเป็นจิตที่เหนือมัน อุตตระ มันทำอะไรเราไม่ได้เลยอย่าง นิจจัง(เที่ยงแท้) ธุวัง (ถาวร) สัสตัง(ยืนนาน) อวิปริณามธัมมัง(ไม่แปรเปลี่ยน) อสังหิรัง(ไม่มีอะไรหักล้างได้) อสังกุปปัง(ไม่กลับกำเริบ)
ปัจจัตตัง ก็คือตั้งแต่พระโสดาบันเป็นต้นไป ต้องได้รับความรู้จักครูสัตบุรุษ
ปัจจัตตัง ท่านเรียกซ้อนว่าปัญญาชนหรือสัตบุรุษ คุณเอาคำสอนมาปฏิบัติจนสำเร็จผล เป็นปัจจัตตัง เวทิตัพโพวิญญูหิติ
ดูในปัญญา 8 ประการ ต้องมีการพบสัตบุรุษก่อน ได้ฟังธรรมเข้าใกล้เงี่ยโสตสดับ…
_สภาวะปัจจัตตัง อุเบกขา นิพพาน เป็นอย่างไร…
ธาตุรู้ปัจจัตตัง ที่ว่าบรรลุของตนรู้ได้ด้วยตนเอง อุเบกขาเป็นจิตบริสุทธิ์ไม่มีกิเลส
-
ปริสุทธา (บริสุทธิ์ปราศจากกิเลสนิวรณ์ ๕) .
-
ปริโยทาตา (ผุดผ่องขาวรอบแข็งแรงแม้ผัสสะกระแทก)
-
มุทุ (รู้แววไว อ่อน-ง่ายต่อการดัดปรับปรุงให้เจริญ) .
-
กัมมัญญา (สละสลวยควรแก่การงาน ไร้อคติ) .
-
ปภัสสรา (จิตผ่องแผ้วแจ่มใสถาวรอยู่ แม้มีผัสสะ)
(ธาตุวิภังคสูตร พตปฎ. เล่ม 14 ข้อ 690)
เป็นฐานนิพพาน คุณวิเศษในจิตของเรา ได้ผลเป็นฐานนิพพาน ก็สั่งสมนิพพานสั่งสมอุเบกขา 5 กระบวนการนี้ ยิ่งขึ้น ความเป็นนิพพานก็เจริญงอกงามถาวรขึ้นเรื่อยๆ
นิมนต์พ่อครูจิบน้ำ
_ใจกลั่น.. เมื่อหลายสิบปีที่แล้ว มีรายการที่นี่ ส.ศิวรักษ์ มา เราเคยถามท่านว่า ให้ท่านให้ขุมทรัพย์ชาวอโศก ท่านก็ว่าชาวอโศกทำงานหนักเกินไป จินตนามัยไม่เกิด ไม่มีเวลามาทำสมาธิ ดิฉันได้เคยพูดคุยว่าเราไม่ได้ตีทิ้งเราก็นั่งสมาธิ แต่ใช้ตรวจสอบ
พ่อครูว่า..สมาธิที่ใช้พยัญชนะว่านั่งสมาธิ คือคุณนั่งทำสมถะ ไม่ใช่ทำสมาธิ ทำให้จิตไม่คิดนึกเฉยนิ่ง แต่สมาธิของพระพุทธเจ้านั้นจิตใจจะยิ่งเร็วไว จิตฐานstatic ก็สงบนิ่ง ยิ่งนิ่งเท่าไหร่ก็ยิ่งเร็วเท่านั้น เป็นลูกข่างนอนวันหรือลูกข่างกินน้ำจั้น
-
ได้พักผ่อนแบบสงบจิต มีอุปการะมาก
-
ศึกษาเพิ่มทักษะในเจโตสมถะ และใช้ตรวจอ่าน ภาวะจิตต่างๆ ในภวังค์
-
เอื้อให้ปฏิบัติเตวิชโช (ทบทวน) ได้อย่างดี .
-
สร้างพลังทางจิต ที่จะนำไปทำฤทธิ์ต่างๆ (แต่ฤทธิ์ในพุทธศาสนา หมายถึง ฤทธิ์ที่ระงับ ดับกิเลส เพื่อไปสู่นิโรธ-วิมุติ-วิโมกข์-นิพพาน)
_ใจกลั่น.. การตัดกิเลสต้องใช้พลังจิตในการตัดกิเลส ถ้าหากไม่มีสมถะเลยเล่นกับปัจจุบันมันไม่ทันจะตัดกิเลสได้อย่างไร
พ่อครูว่า…ลองมาปฏิบัติไปตามลำดับของศีลแต่ละข้อ แล้วจะเกิดบรรลุธรรมอย่างน่าอัศจรรย์ หากว่าคุณไม่มีลำดับแบบแผนทำไม่ได้หรอก มาเรียนให้ดีอย่าออกนอกศีลสมาธิปัญญา แล้วถามอย่างนี้ก็คือเขาทำแบบสมถะไม่ได้รู้จักกิเลสที่เกิดปัจจุบัน
ตอนนี้อาตมาเขียนหนังสือคนจนที่มีแบบเล่ม 2 ถึงตอนกิเลสแก้กับกิเลสปลอม มีกิเลสเก๊ด้วยหรือ เพราะมันหลอกคนที่เขาไม่รู้ นึกว่าเรารู้จักกิเลสแต่มันไม่ใช่ เช่นไปนั่งหลับตาก็นึกว่ามีกิเลสในอดีตอนาคต แต่คุณไม่ได้ล้างเพราะอดีตมันผ่านไปแล้วอนาคตไม่ถึงเลย อดีตเหมือนขี้ออกจากก้นแล้วจะมาขยำขี้อีกทำไม มันแล้วไปแล้ว มันต้องปัจจุบัน ของแท้ของจริงของศาสนาพุทธคือปัจจุบัน อดีต รวมได้ 18 อนาคต ก็ได้ 44 เท่านั้นแหละ ในพรหมชาลสูตรก็ชัดเจน หากไม่มีทิฏฐธรรมนิพพานทิฏฐิ รู้ฌาน 1 2 3 4 ก็รู้ปัจจุบัน ล้างกิเลสกามปัจจุบันให้หมดได้ ก็ได้นิพพานน้อยๆ ฌาน 1 ฌาน 1 2 3 4 ก็เข้าถึงฐานนิพพานอุเบกขาเป็นปัจจุบันหลัดๆ ไม่ใช่ทำในอดีตอนาคต ก็ไปปั้นส่ิงไม่จริง ปั้นอดีตชาติ ว่าตนเองเป็นอะไรโก้เก๋ แต่ใครจะรับรองคุณ คนเดียวจะนึกคิดปั้นอะไรก็ได้ นิรมาณกาย มันไม่มีของจริงไม่มีรูปนามจริงที่จะยืนยันกันได้เป็นนิรมาณกาย ไอ้พวกนี้เป็นพวกเดียวกันสัมโภคกาย รวมทฤษฎีเดียวกันบริโภคร่วมกัน อธิบายกันก็รู้กัน แต่ทุกคนต่างๆอาทิสมานกาย คือไม่เห็นไม่รู้ของใครหรอกใครไม่รู้ด้วยของใคร แต่ละคนของตัวเองทั้งนั้น ไหนว่าเหมือนจะคุยกันรู้เรื่องเลยแต่ก็อุปทานกันไป
แต่ของพุทธทุกคนจับต้องได้ร่วมกัน มุมเหมือนหรือต่างก็รู้ร่วมกันได้ จนจำนนกัน ใครละเอียดกว่าก็จะรู้ เหมือนฝาแฝดที่คนรู้จุ ดต่างกันได้แต่หากไม่เห็นก็ไม่รู้ว่าต่าง แต่หากมีความละเอียดที่เพียงพอก็จะเห็นได้เหมือนกันในความต่าง ตรงนี้มันเหมือนก็จะเห็นร่วมกันว่ามันเหมือนจริงๆ ปรมาณูสองแฝด
_ใจกลั่น สรุปว่า ทำงานไปไม่ผิดศีลดูอารมณ์ตัวเองเอาศีลเป็นหลักไว้ไม่ผิดศีลเก็บแต้มไป แต่ที่พ่อครูบรรยายบาลีไปมากมาย ตนเองรู้สึกว่าบาลีเป็นอลังการให้คนรู้บาลี อ้างอิงยืนยันหลักฐาน พวกเราก็ได้รับรู้ไว้ ก็จะค่อยจำได้แม้ไม่ได้ตั้งใจจำ
พ่อครูว่า..คุณจะปล่อยผ่านได้แต่ก็รู้โดยปริยายว่าพยัญชนะอันนี้หมายถึงอันนี้ หากรู้ทั้งภาษาและสภาวะก็ครบอุภโตภาค หากไม่ใช้ภาษาก็สื่อกันได้ยาก ยิ่งภาษาหลากหลายก็สื่อได้มากขึ้น งอกงามไพบูลย์ด้วยภาษา
_ในทัศนะพ่อครูศาสนาคืออะไร
พ่อครูว่า…ศาสนาคือสิ่งที่เป็นไปเพื่อให้เกิดความร่วมรวมอยู่กันอย่างดีในสังคม สิ่งใดไม่ทำให้เกิดความอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นไม่ใช่ศาสนา
_กฐิน…เราเจอผัสสะ แต่ไม่โวยวายมาก เพราะเป็นเรื่องปกติ นึกถึงพระสายสมถะ ก็เข้าใจ นึกถึงเด็กสัมมาสิกขา เขาเจอผัสสะมากกว่าที่ผู้ใหญ่เจออีก เด็กที่นี่โชคดีกว่าพระป่า แม้ว่าเด็กไม่ผิดก็ต้องผิด
พ่อครูว่า…ปัจจัตตัง อุเบกขา นิพพาน
อุเบกขาเป็นฐานจิตที่ทำได้สำเร็จ คือนิพพาน สั่งสมอุเบกขาได้แข็งแรงก็คือนิพพานยืนหยัดยืนยันไปเรื่อยๆ อุเบกขาหรือนิพพาน เป็นไวยพจน์ใช้แทนกันได้
ฌาน 4 ก็พัฒนาให้ถึง จากฌาน 1 2 3 มา
ฌาน 4 จิตได้อุเบกขาก็คือฐานนิพพาน ฐานไม่สุขไม่ทุกข์ กลางๆ นิพพานคืออาการจิตคุณที่หมดสุขหมดทุกข์ ไม่ใช่เอาดีเอาชั่วมาเป็นตัวตัดสิน แต่เอาสุขเอาทุกข์มาเป็นตัวตัดสินนิพพาน ต้องอ่านจิตเป็นต้องอ่านเวทนา
ดี ชั่ว ไม่ใช่เวทนา ดีชั่วเป็นสมมุติโลกียะ ดีชั่วคือโลกยอมรับหรือไม่ แล้วแต่กลุ่มแต่ละบริบท ยอมรับหรือไม่ แต่สุข-ทุกข์นี้ทุกชาติศาสนาทุกสังคมมีเหมือนกัน แล้วแยกสุข-ทุกข์กับจิตไม่สุขไม่ทุกข์ต่างกันอย่างไร
ความรู้แท้กระทบผัสสะอันนี้เขียวมันก็เขียวแต่คนที่มีกิเลสก็จะมีความชอบหรือไม่ชอบ สุขหรือทุกข์ แต่ถ้าไม่มีกิเลสมันก็เขียวตรงกันหมด เรียกพยัญชนะบอกลักษณะว่าเขียว คุณรู้ว่ามันเขียว แต่คุณต้องรู้ว่ามันชอบหรือไม่ชอบ อาการจิตที่มันชอบหรือไม่ชอบ มันสุขหรือว่ามันทุกข์
ถ้าคุณกลางๆ ก็มีกลางๆสองอย่างอีก กลางๆแบบเคหสิตะเฉยบื่อไม่คิดอะไรก็ไม่ได้เกิดปฏิภาณปัญญาว่าคนเขาถืออย่างไร คุณเคยถืออย่างไร สักวันคุณจะถือไหมชอบหรือไม่ชอบ คุณก็ไม่ได้ศึกษามันว่าอย่างนี้เราได้ไม่สุขไม่ทุกข์กับมันหรือยัง
เช่นคนนี้ถือสมถะหรือถือปัญญา หากไปกับแกนไหน คนกลุ่มไหน เราก็ต้องคุยกับเขาให้รู้เรื่อง หากว่าเขาเลือกสีแดงเราก็ต้องคุยเรื่องสีแดงจะได้คุยกับเขาได้ เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตามอนุโลมกับเขาได้ ออกจากเขาเราก็ไม่เอาได้มันก็อยู่ที่เรา ไม่ทะเลาะกันนี่คือการรักษาความสงบอยู่ในโลก
_เลิกคะนอง..ฝากบอกรายงานป๊ะป๋า ถ้าพระโพธิสัตว์ หยุดกระทืบเท้าเขย่าโลกเหงาจังเลย สายชอบมวยปล้ำ โหด มัน ฮา อาราธนา ท่านออกจากมุมเร็ว ๆ FC สายบู๊ ตั้งตารอ ดู อยู่
_นมัสการพ่อท่านด้วยความเคารพบูชาอย่างสูง
ขอให้พ่อท่านช่วยอธิบายข้อแตกต่างของคำต่อไปนี้ด้วยครับ
-
สติ สัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์โพชฌงค์กับ สติปัฏฐาน 4
-
สติสัมปชัญญะ กับสติปัญญา
-
โมหะ กับ อวิชา
4 .มานะ กับ อัตตา
พ่อครูว่า…สติสัมโพชฌงค์หมายถึงสติที่เป็นโลกุตระ ปฏิบัติสตินี่คือความรู้รอบถ้วนทั้งนอกและในเรียกว่าสติ บางทีเขาก็มีสติแต่เพียงภายในอันนั้นถือว่าไม่ครบสัมโพชฌงค์ สัมโพชฌงค์จะต้องเป็นสติที่รู้ครบพร้อมทั้งนอกและในตื่นทั้งตาหูจมูกลิ้นกายตื่นทั้งใจ หากว่าตื่นแต่ใจตาหูจมูกลิ้นกายปิดไม่รับรู้มันก็ง่าย มันเพียงรูเดียวมิติเดียว แต่ถ้าเติมไปก็มี 6 มิติมันก็ยากกว่า
สติที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้สัมโพชฌงค์ จะต้องรู้รอบถ้วนหมดทั้งนอกและใน มีทั้งรูปและนามมีทั้งกายและเทวะ กายคือรูปนอก ภายนอกภายใน เทวะคือสภาพสองอย่าง รูปและนามก็ได้ รูปคือส่ิงที่ถูกรู้ภายนอก ต้องทำภายนอกเสร็จก่อน กามภพ ไปภายในต่อ รูปภพ อรูปภพ
สติปัฏฐาน 4 เป็นพฤติการณ์ หรือการปฏิบัติของทฤษฎีพระพุทธเจ้า สติปัฏฐาน 4 เป็นภาคปฏิบัติ
สติสัมโพชฌงค์คือสติที่ครบพร้อมตามทฤษฎีของพระพุทธเจ้า
สติปัฏฐาน 4 มีกายเวทนาจิตธรรม ก็ต้องดูว่ากายคืออะไร เวทนาคืออะไร จิตคืออะไรธรรมคืออะไร ก็ปฏิบัติทั้ง 4 อย่างไม่ได้แยกกัน
กายคือรูปนามคือภายนอกภายใน พิจารณากายในกายก็ต้องมีข้างนอก เพราะกายหมายถึงภายในและภายนอกขาดภายนอกไม่ได้ต้องมี 2 แต่เวลาไปปฏิบัติก็เน้นภายในเน้นจิตเจตสิกเน้นจิตมโนวิญญาณ แก้ไขตรงที่จิตมโนวิญญาณ จิตเจตสิกก็ไปจับที่อารมณ์ อารมณ์ก็มีจิตที่เป็นกุศลและอกุศลจิตที่เป็นราคะ โทสะ แล้วทำให้มันไม่มี ราคะโทสะโมหะ จะเป็นจริตไหนก็ตาม เป็นจริตที่เป็นศรัทธาหรือปัญญาก็ตาม
ถ้าไปทางศรัทธา ก็เป็น สังขิตตังจิตตัง เป็นก้อนแข็งแน่นไม่ฟุ้งกระจาย
ถ้าสายปัญญาก็เป็นวิกขิตตังจิตตัง ไปทางฟุ้งซ้านกระจายจับไม่ติด
จะเป็นแค่ไหนก็ตามก็ต้องทำให้เจริญเป็น มหัคคตา ถ้าทำให้เจริญได้มากยิ่งขึ้นมหัคคตะทำได้ทั้งเจริญคุณสมบัติและปริมาณ Quality Quantity ทำได้เจริญขึ้นก็เป็นมหัคตะ ทำไม่ได้ก็อมหัคตะ แล้วก็จะเป็นจิตที่ดีแล้ว กับจิตที่ดีกว่านี้ยังมีอีก สอุตตรจิตกับ อนุตตรังจิตตังคือจิตดีจบแล้วครบ แล้วแยกอีกสองคู่คือ สมาหิตตังจิตตังกับอสมาหิตตจิต กับ วิมุติกับอวิมุติ
วิมุติคือหลุดพ้น จะเอาจิตไปทำงานอย่างไรก็ไม่เสียท่ากิเลสอีกสมบูรณ์ สมบูรณ์ทั้งสมาหิโตกับวิมุติ ถ้าไม่สมบูรณ์ก็อสมาหิโตกับอวิมุติ ครบเจโตปริยญาณ 16
ถ้าครบก็อนุตตรังจิตตังที่แท้ สามเส้า อนุตรจิต สมาหิตจิต กับ วิมุติจิต
สติสัมปชัญญะคือตัวเชื่อมต่อ ธาตุรู้ที่ทำงานต่อติดไปกับสติปัญญา สติปัญญาคือความรู้นั้นสำเร็จผล ที่จากเริ่มรู้โลกุตระจุดแรก อัญญา มาเป็นปัญญา
อัญญะคือธาตุรู้ตัวแรกตัวใหม่ที่ต่างจากโลกียะ เป็นความรู้โลกุตระ เอามาใช้งาน มาเป็น อัญญา มาเป็นปัญญา เป็นความรู้สมบูรณ์แบบของโลกุตระ
เรื่องสติ นี้มีตัวเจริญต่อเนื่องตามลำดับอีกมากมาย
สัมปชัญญะ = ความรู้ตัว ต่อกับการมีสติระลึกรู้
สัมปชานะ = รู้สำนึกตัวในการปฏิบัติสติปัฏฐานอยู่
สัมปาเทติ = เหตุไปสู่การละเลงเพื่อสัมปัชชติ
สัมปัชชติ = ความรู้จากการแยกแยะขจัด
สัมปาเปติ = การสังเคราะห์กันขึ้นอย่าง อวจร
สัมปฏิสังขา = ญาณรู้จักการทบทวนกระทำซ้ำ .
สัมปัชชลติ = เข้าสู่การโหมไหม้ สว่างเรืองรอง
สัมปัตตะ, สัมปันนะ = การเข้าบรรลุผล.(ในรอบนั้น)
สัมปฏิเวธะ = ความรู้ที่รู้แจ้งแทงตลอดในรอบนั้น
ปฏิสาเรสฺสามิ = จักทำให้เขาสำนึก
ปัจจเวกขันตัสสะ = ได้สำนึก)
โมหะ กับอวิชชา
โมหะ คือสับสนเลอะเทอะ วุ่นวาย แต่อวิชชาคือไม่รู้เรื่อง โง่สมบูรณ์แบบ โมหะบางทีอวดรู้ด้วยนะแต่เลอะเทอะ เหมือนคนบ้าพูดเหมือนคนรู้ แต่ปนเปเละเทะ จับเป้าไม่ได้ไม่เที่ยง หลงเลอะ ส่วนอวิชชานั้นโง่ อย่าไปแปลมาก จะเลอะ
วิชชา คือความรู้ของศาสนาพุทธ แต่วิชาคือความรู้ทางโลก ตักกะในตำรา แต่วิชชาคือสุดยอดความรู้
มานะ กับ อัตตา
อัตตา คือตัวตน
มานะ คือจิตถือดี ยึดดี มุ่งหมายทำดีก็มีความอุตสาหะมานะ พอได้ดีแล้วยึดดีก็คือมานะ แล้วยึดยิ่งไปอีกเป็นอติมานะ ต่อจากนั้นคือ ปมาทะ คืออุปกิเลสตัวปลาย
จากมานะ อติมานะ เป็นมทะ แล้วก็ปมาทะ
มีมานะถือดียึดดี ยึดมั่นถือมั่น ก็มั่วเมา คือ มทะ
สุราเมรยมัชชะ มท ปมาทะ ตัวมทะคือเมาละเอียดตัวท้าย พอเมาแล้วประมาท กินเหล้าเมาก็ประมาท แม้เมาในลาภยศสรรเสริญก็ประมาท พอมีมากหน่อยก็ประมาทแล้ว ฉันรวยก็ประมาทได้ ฉันยอดดาราฉันเก่งก็ประมาทได้
มานะ คือส่วนหนึ่งของอัตตา ล้างมานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ ก็หมดอัตตา
หรือล้างตั้งแต่
-
อภิชฌาวิสมโลภะ (เพ่งเล็งอยากได้)
-
พยาปาทะ (ปองร้ายเขา)
-
โกธะ (โกรธ)
-
อุปนาหะ (ผูกโกรธ)
-
มักขะ (ลบหลู่คุณท่าน)
-
ปฬาสะ (ยกตนเทียบเท่า, ตีเสมอท่าน)
-
อิสสายะ (ริษยา ไม่อยากเห็นคนอื่นได้ดี)
-
มัจฉริยะ (ตระหนี่) คือของข้า ยึดของกู ใครอย่าแตะ
-
มายายะ (มารยา, มารยาทเสแสร้ง)
-
สาเฐยยะ (โอ้อวด, การโอ่แสดง)
-
ถัมภะ (หัวดื้อ, เชื่อมั่นหัวตัวเองมาก)
-
สารัมภะ (แข่งดี, เอาชนะคะคาน)
-
มานะ (ถือดี-ยึดดี จนถือสา)
-
อติมานะ (ดูหมิ่นท่าน)
-
มทะ (มัวเมา)
-
ปมาทะ (ประมาทเลินเล่อ)