ก.พ.52020ศาสนา630205_พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ ลำดับการฝึกฝนของสายศรัทธากับสายปัญญา อ่านทั้งหมดที่ หรือดาวน์โหลดเอกสารที่… https://docs.google.com/document/d/1G0GkVCh_1arBUdfciDzrIZcNxsp4aTuook0pJN5pbMA/edit?usp=sharing ดาวโหลดเสียงที่ https://drive.google.com/open?id=1tgaKdo0UC90XdbN4UeceWea3hf8NubU7 สมณะฟ้าไทว่า.. วันนี้วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 ที่บวรราชธานีอโศก อีก 3 วันก็มาเข้างานพุทธาภิเษกฯครั้งที่ 44 มาถือศีล 8 กัน ไปที่ถือศีล 5 ก็มาถือศีล 8 ลดละกามคุณ 5 มากินข้าวมื้อเดียว มาเป็นคนเล็กคนน้อยให้คนเขาใช้เราได้ พ่อครูว่า… _SMS วันที่ 3 ก.พ. 2563 (สำมะปี๋ซี๊วิต พ่อครู : บ้านราช) _สมณะคิดถูก : ผมเข้าใจว่าความทุกข์ที่เกิดจากความสุขหรือความทุกขที่เกิดจากความทุกข์นั้นแหละที่พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนวัวไม่มีหนัง ไม่มีภูมิคุ้มกันตัวเอง เจอผัสสะที่ทำให้สุขก็สุขตาม เจอผัสสะให้ทุกข์ก็ทุกข์ตาม เพราะไม่รู้เท่าทันเวทนา ว่าเวทนามันไม่ใช่ตัวตน มันเป็นแค่เพียงความรู้สึก เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป พ่อครูว่า…ถูกต้องแล้วเพราะเวทนามันไม่ใช่ตัวตนมันเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป จริงๆแล้วก็แค่สัมผัสแล้วเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป มันไม่มีการปรุงแต่ง เป็นบวกเป็นลบ เป็นภพเป็นชาติอยู่ ผู้ที่ยังมีภพมีชาติ เป็นตัวเป็นตน ก็แน่นอนก็ยังเป็นสุขเป็นทุกข์ _นายสันติ จรูญวิทยากร : กราบนมัสการหลวงปู่ครับ ขออาราธนาให้หลวงปู่ช่วยอธิบาย “นาม ๕” ว่าเป็นอย่างไรบ้างน่ะครับผม กราบขอบพระคุณครับ. พ่อครูว่า…ลูกชายคุณกำจร จรูญวิทยากร … ก็อธิบายบ้าง ถ้าไม่รู้นาม 5 รูป 28 เอามาเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติ คุณก็จะไม่ได้รู้สภาวะธรรมที่ละเอียดละออ สมบูรณ์แบบจริงๆ อาตมาก็พยายามอธิบายวนเวียนซ้ำซาก ผู้ที่มีธรรมรส ไม่เบื่อหรอก ฟังแล้วยิ่งจะเข้าใจซาบซึ้ง อธิบายแล้วจะ จับมุมเหลี่ยม มิติของสภาวะที่มีมากมายไม่รู้กี่ร้อยกี่พันเหลี่ยม เหมือนเดิม แต่ฟังมุมใหม่ๆๆ ฟังให้ดี สุสูสังลภเตปัญญัง อานิสงส์แห่งการฟังธรรม 5 ประการ ได้ฟังสิ่งที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน ก็ได้ฟังอันนี้ใหม่ ขึ้น ความเข้าใจก็ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทิฏฐิของเราก็ตรงมากยิ่งขึ้น ทิฏฐิงอุชุงกโรติ ความสงสัยคลางแคลงวิจิกิจฉาก็หมดลงๆๆ จิตใจก็เลื่อมใส สว่าง ยิ่งเจริญขึ้นสว่างโล่งโปร่ง ทีนี้ นาม 5 ที่สันติเขาถามมานี่ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นาม 5 นี่แหละ พระไตรปิฎกเล่ม 16 ข้อ 14 สภาวะ 5 นี้แหละเวทนาสัญญาเจตนา เป็นนามธรรมตัวแท้ที่จะต้องเรียนรู้โดยมีสัญญาเป็นตัวกำหนดเข้าไปทำการเลย ตั้งแต่การกำหนดรู้ สำคัญมั่นหมายในสิ่งที่มันเป็นอย่างนั้นกำหนดสิ่งที่เป็นตัวการปฏิบัติ สัญญา อ่านเวทนา พออ่านเวทนาได้แล้วเจาะเวทนา ในเวทนาจะมีตัณหา มีผัสสะแล้วมีเวทนามีตัณหา ตามปฏิจจสมุปบาท ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ตัณหาเป็นตัวเคลื่อนที่เป็น Dynamic ส่วนอุปาทานเป็นกิเลสตัวคงที่ static เท่านั้นเอง อ่านตัวนิ่งอ่านยาก อ่านตัวตัณหาทำลายตัณหาก็หมดอุปาทานไปด้วย มันจะหมด มันจะเข้าใจไปเรื่อยๆ ไม่ใช่เป็นตัวปฏิบัติจะเป็นตัวผลของการปฏิบัติ ตัดตัณหาได้อุปาทานก็ลดลงๆๆ สามตัวนี้ จะเป็นตัวที่จะเข้าไปทำงาน เวทนาสัญญาเจตนา ซึ่งเราจะต้อง ผัสสะ นี่เป็นตัวที่บ่งบอกชัดเจนเลย ปฏิบัติธรรมไม่มีผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาไม่มีให้อ่าน สัญญากำหนดเวทนาไม่ได้ ไม่ได้เรียนเวทนา เราจะไปเจาะหาเจตนาที่เป็น กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตามลำดับไม่ได้ ต้องดับกามตัณหาก่อน หมดกามตัณหาก็เหนือกาม สัมผัสกามแล้วก็เฉยๆไม่มี กิเลสกามไม่เกิด เหลือภายใน รูปราคะ อรูปราคะ ก็ตามไปรู้ รูปนี้ทำให้หมดกิเลสในรูป เหลืออรูปก็กำจัดอรูปอีกที พอกำจัดอรูปหมดภพชาติ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ภพ 3 ก็หมดสิ้น เป็นภพที่อาศัยเป็นภพที่ไม่มีภพ เป็นวิภวภพ ก็เหลือตัณหาเป็นวิภวตัณหา เป็นตัณหาที่หมดภพสามแล้ว เป็นตัณหาที่ทำงานเป็นประโยชน์ ตัณหาที่ไม่มีตัวตน ก็เอาพลังงานที่เป็นตัวปรารถนาต้องการ เป็นตัวที่ต้องการทำเพื่อผู้อื่นอย่างไม่มีตัวตน ไม่ได้เสพให้แก่ตัวตนไม่ได้บำเรอกิเลสตัวตนเลย เพราะฉะนั้นคุณจะทำการมนสิการ ในนาม 5 จะทำใจในใจ ที่พูดที่อธิบายนี้คุณจะต้องทำมันอยู่ในใจของคุณ หากคนไม่มีปัญญารู้จักอาการ หทยรูป มันไม่มีตำแหน่งที่อยู่ แต่มันอยู่ในตัวตนเรานี่แหละไม่นอกจากกายยาววาหนาคืบกว้างศอกพร้อมสัญญาและใจอยู่ในนี้ในคูหาสยัง หากไม่มีอาการมันก็ดูยาก แต่ถ้ามันมีอาการก็ดูง่ายกว่า จับอาการได้รู้หทยรูป แล้วคุณก็ตีแตกแยกแยะให้ได้ แยกทีละคู่ พอผัสสะแล้วเกิดเวทนา แยกเวทนานี่แยกได้ 108 เวทนา 2 คือสภาพเคหสิตเวทนากับเนกขัมสิตเวทนา นี่คือคู่สำคัญ ตั้งแต่กายิกเวทนากับเจตสิกเวทนา แยกเป็นเวทนา 3 สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ แล้ว สุขทุกข์และไม่สุขไม่ทุกข์ มันมีรสชาติน้ำหนักความเข้มข้นความมากความน้อย เรียกว่าเวทนา 5 มี สุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส ทุกข์ สุข คือหยาบภายนอก หากหมดสุขทุกข์ภายนอก ก็เหลือภายในเป็นโสมนัสโทมนัส เหลือเป็นอินทรีย์ กำลังของมันเฉยๆกลางๆ ตัวฐานนิพพาน อุเบกขา คุณก็อ่านสุข ทุกข์หมดเป็นอุเบกขา ที่มีนี้มาทาง 6 ทวาร ตา หูจมูก ลิ้น กาย ใจ 6 ทวารก็เกิดความสุขความทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์ก็ได้ ก็เป็น เวทนา 18 ทางโลกีย์ เคหสิตเวทนาก็ 18 แต่สะสมใส่อาสวะอนุสัย ก็เขาไม่รู้เขาเสพแล้วก็ติดยึดสั่งสมใส่คลังแห่งอนุสัย อาสวะ ใส่คลังโลกียสมบัติ ก็ยิ่งหน้ามืดไปเรื่อยๆเพราะกิเลสมันยิ่งหนาไปเรื่อยๆ เวทนายิ่งจัดจ้านไปนานเท่านาน แต่ในโลกุตระ มันยิ่งจางคลาย สุข ลดลง ทุกข์น้อยลง โทมนัสน้อยลง โสมนัสน้อยลง อุเบกขาก็ยิ่งจริงๆ ยิ่งละเอียด มันเป็นตัวเล็กที่สุดอย่างไร เล็กๆๆๆๆ จึงได้ใช้พยัญชนะบอกว่า ปริสุทธา ปริโยทาตา เป็นตัวเคลื่อน มุทุ เป็นตัวกลาง ทั้งเร็วทางปัญญา ทางเจโต คล่องยิ่งเร็ว กัมมัญญา กับปภัสสราเป็นตัวเคลื่อน ความเป็นสมาธิของพระพุทธเจ้าจึงเป็นจิตที่เร็วคล่องแคล่ว สว่าง ทำงานได้มากด้วย กัมมัญญาได้ดีได้เหมาะควรลงตัว ประเสริฐมากยิ่งขึ้น จิตก็ยิ่งปริโยทาตา ประภัสสร ก็ยิ่งบริสุทธิ์สุดๆๆ ประภัสสร มากขึ้นก็สะสม ความบริสุทธิ์ ให้ยิ่งสะอาดบริสุทธิ์ มุทุก็ยิ่งคล่องแคล่วว่องไว เป็นกายปาคุญญตา เน้นภายนอกก็คล่องแคล่ว จิตปาคุญญตาก็คล่องแคล่วในจิต อย่างนี้เป็นต้น นี่คือธรรมะของพระพุทธเจ้า ดีนะที่มีหลักฐานพยัญชนะมีบาลีอธิบายซึ่งหลายตัว พจนานุกรมบาลีท่านไม่ได้แปลอย่างที่อาตมาแปล ตรงเสียทีเดียว แต่คล้ายๆ มุทุ เขาแปลว่าจิตอ่อน ฟังแล้วอ่อนใจ ที่จริงไม่ได้อย่างนั้น มันยิ่งเร็วหัวอ่อนปรับไว คุณก็ฟังความ 2 ข้าง ของอาตมากับของคนอื่น คุณจะช่วยอะไรก็ไม่มีการบังคับเป็นอิสรเสรีภาพ มุทุนี่เร็ว แต่ทางโน้นมู่ทู่ ไม่มุทุ นี่มุทุเร็วนะ ใช้พยัญชนะซ้อน แต่เข้าใจสภาวะใช่ไหมที่อาตมาพูด แต่อย่าไปติดยึดภาษาบัญญัติมาก แต่ไม่ใช่มีหลักฐานอ้างอิงยืนยันอาตมาพูดอย่างมีหลักฐานอ้างอิงยืนยัน สรุปที่สันติเขาถามมา นี่คือ นาม 5 เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ ติดตามให้ดี _นิมนต์จิบน้ำ ส.ฟ้าไท พ่อครูว่า..มาเข้าเรื่องของ บุคคล 7 สัทธานุสารีเป็นบุคคลสายศรัทธา ปัญญานุสารี เป็นบุคคลสายปัญญา ก็มี 2 สายเป็นสัจจะมาแต่ไหนแต่ไร แกนศรัทธากับแกนปัญญา ทีนี้แกนศรัทธานี้แหละ แกนศรัทธา จะเห็นได้ว่าแกนศรัทธา (พ่อครูไอ ตัดออกด้วย) แกนศรัทธาช้า แกนปัญญาเร็ว เร็วกว่ากันเยอะเลย ลองดูตาม pattern แกนศรัทธาต้องเติมปัญญามาทางธัมมานุสารี เติมสัมมาทิฏฐิมาเรื่อยๆ ก็ได้ปัญญาสัมมาทิฏฐิที่สูงขึ้น แม้แต่สายศรัทธาหากไม่มาได้ปัญญาจะวนอยู่ที่ศรัทธาวิมุติ อยู่อย่างนั้นนานแสนนานนานแสนนานเลย ศรัทธา แล้วคุณก็หลงว่ามีวิมุตินะ ไปถามอาจารย์มั่น มหาบัว ไปถามสายที่นั่งหลับตาบอกว่ามีศรัทธาวิมุติ เขาสงบสบาย แต่เมื่อลืมตาขึ้นมาเหมือนวัวไม่มีหนัง เหมือนคนที่จะวิ่งลงนรก เหมือนคนเอาไปฆ่าด้วยหอกร้อยเล่ม เช้ากลางวันเย็นก็ยังไม่ตายนั่งหลับตา บื้ออยู่นั่นล่ะ ไม่เปลี่ยนแปลง เขามีสัทธาวิมุติ ๆ จนกว่าจะได้ปัญญาทางสายปัญญา ก็จะได้ปัญญามากขึ้นเรื่อยๆ แม้ที่สุดได้สัทธาวิมุติ ไม่ติดแล้วก็คลายก็ไปได้ทางธัมมานุสารี หากคุณเป็นสัทธานุสารี แล้วพยายามได้ปัญญาจากธัมมานุสารี ไม่ไปติดใจในสัทธาวิมุติจะเร็ว แต่หากติดในสัทธาวิมุติก็จะวนอยู่ในวงวน สัทธานุสารีกับสัทธาวิมุติอีกนานนนนนน แต่ถ้าคุณเกิดปัญญามากขึ้น คุณก็จะเจริญขึ้นเป็นธัมมานุสารี จะมีปัญญา ธัมมานุสารีท่านไม่ใช้คำว่าปัญญานุสารี เพราะเกรงใจศรัทธา ให้ใช้ภาษากลางๆว่า ธัมมะ จริงๆโลกุตระคือปุญญา จะมีปุญญธาตุที่สามารถเผากิเลส ฌานโลกุตระไม่ใช่ฌานโลกีย์ ฌานโลกีย์มีแต่เพ่งกิเลสกดๆๆหนาหนักแน่นตีแตกแยกขึ้นยิ่งจมนานยิ่งตีแตกยาก ตื่นเสียทีๆ แดดออกแล้วฟ้าก็งามดุจเปลวทองไม่เกิน 10 นาที เลื่อนขึ้นไป จากธัมมานุสารี ก็เคลื่อนมาที่ ทิฏฐิปัตตะ แปลว่าบรรลุสัมมามรรค เป็นความเจริญขึ้นมาเรื่อยๆ พอทิฏฐิปัตตะแล้ว ถ้าเป็นสายปัญญา ธัมมานุสารีเริ่มต้นเลยไม่ใช่เริ่มที่สัทธานุสารี พอมาเต็มธัมมานุสารีก็เป็นทิฏฐิปัตตะ แล้วตรงไปหาปัญญาวิมุติเลย แล้วก็ไปอุภโตภาควิมุติเลย ปัญญาวิมุติก็เป็นอรหันต์แล้วไม่ต้องผ่านกายสักขี เพราะมีการแยกเขตชัดเจนตั้งแต่ต้น มีพ้นสักกายทิฏฐิ รู้คำว่ากายได้ชัดเจน ที่ภิกษุบวชใหม่ท่านก็ให้อุปัชฌาย์สอนกรรมฐาน 5 ให้ จะพิจารณาแยกกายแยกจิตจากผมก็ได้จากขนก็ได้ จากเล็บก็ได้ จากฟันก็ได้ จากหนังก็ได้ มันเป็นภายนอก เป็นอาการ 32 ภายนอก แล้วแต่ถนัด แต่อาตมาถนัดอธิบายเล็บ จะแยกที่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนังก็ได้ แต่เล็บเห็นได้ง่าย แยกว่า เมื่อไหร่มันเป็นกาย เมื่อไหร่มันเป็นจิต หากแยกไม่สัมมาทิฏฐิ ก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่มันจะพ้นทุกข์ กายที่เป็นพีชธาตุ ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เป็นชีวะเท่านั้น บางทีก็ไม่เรียกว่ากายของพีชะ โดยพยัญชนะว่ามีกาย แต่มันมีที่ติดกับตัวเราเหมือนเป็นกาย แต่ไม่มีความรู้สึกสุขทุกข์ไม่เจ็บไม่ปวด ไม่มีเวทนา ส่วนที่ไม่มีเวทนาเจ็บก็ไม่มีปวดก็ไม่มี ชอบก็ไม่มีชังก็ไม่มี ทุกข์ไม่มีสุขไม่มี ตัวนี้แหละเป็น พีชธาตุ ซึ่งเป็นชีวะ ให้อาหารเลี้ยงมันก็อยู่ไปได้ หากเล็บถ้าออกจากร่างกายเท่านั้นแหละไม่ใช่ตัวเราแล้ว คนติดยึดก็ยังบอกว่าเป็นกายของข้า ของกูๆๆ ยังยึดอยู่เป็นของตน มันไม่ใช่แล้ว เพราะฉะนั้นตัวที่ไม่มีเวทนาอ่านเวทนาไม่รู้สึกสุขหรือทุกข์เป็นชีวะก็ตาม ติดอยู่ที่ร่างกายเราก็ตาม ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น อ่านสิของตัวเองกระทบสัมผัสเมื่อไหร่ก็อ่าน อันนี้ไม่ใช่กาย มันไม่ทุกข์ไม่สุขมันคือกาย พีชะพืชพันธุ์ธัญญาหารไม่ทุกข์ไม่สุขอะไร ไม่มีผกไม่มีดูด มันดูดเอาแต่เลี้ยงร่างกายมัน มันไม่เป็นโทษภัยกับคนอื่น มีแต่ตัวตน แล้วใครจะมาทำมันก็ยอมอย่างเดียว พืชพีชธาตุ คุณสมบัติของ พีชธาตุ พระพุทธเจ้าก็เอามาใช้ทำจิตของเราให้เป็นพีชะ เเเเในเป็นๆนี่ เอาไว้อาศัย พระอรหันต์ก็อาศัย ความเป็นพีชะ เพราะยังไม่ได้สลายร่างกาย หากสลาย อาการ 32 ก็แยกเป็นอุตุ ดินน้ำไฟลม ไม่มีธาตุจิตเหลือ จะมีเศษพีชะเหลือนิดหน่อยไม่รวมตัวกันอีกได้ เป็นการสลายไปเลย เมื่อปรินิพพานเป็นปริโยสาน สิ้นรอบสุดท้ายของพระอรหันต์ที่จะตาย 0 หรือพระปัจเจกพระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าที่จะตาย 0 อรหันต์รู้แล้วทำได้ อรหันต์ทุกองค์ ปรินิพพานเป็นปริโยสานได้ จะเป็นพระอรหันต์ นิพพานได้ ถ้าผู้ที่ยังไม่ถึงขั้นอรหันต์ ก็จะเป็นได้แค่อาสวะบางอย่างสิ้น มาดูอาสวะบางอย่างสิ้น ในพระไตรปิฎกจะมีที่เล่ม 36 กับเล่ม 13 อาตมาอธิบายจากสภาวะของตัวเอง ใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็เลือกเอา ผู้ที่สัทธานุสารีกับธัมมานุสารี ก็เป็นวง แต่วงของสัทธานุสารีกับสัทธาวิมุติก็จะวงวนอีกนานแสนนาน มีตัวอย่างที่เป็นพระป่าอาจารย์มั่นหรือมหาบัวหรือแม้แต่ธัมมชโย เป็นสายนั่งหลับตาทุกสาย สายธัมมชโยกับอาจารย์มั่นต่างกันตรงที่ ธัมมชโยนั้นเป็น อภัสราพรหม ส่วนทางอาจารย์มั่นเป็นสุภกิณหพรหม คืออยู่ในที่มืด กิณหาแปลว่ามืดดำ แต่หลงมืดดำว่าดี อาภัสราหลงสว่างว่าดีก็จะบอกว่าให้ใสๆๆ เป็นตัวอย่างให้อธิบายก็ต้องขอบคุณเขา แต่อย่าไปเอาอย่างนะ ต้องเข้าใจให้ได้ มันหลงทางไม่บรรลุ แล้วมันทำลายศาสนาด้วยเป็นบาปด้วย ผู้ที่คนมีปัญญาก็จะเข้าใจไปเรื่อยๆเป็นธาตุละเอียดของปัญญาที่เป็นโลกุตระปัญญา ได้ปัญญามาก็จะเพิ่มเป็น ธัมมานุสารีไปเรื่อยๆ จากสัทธานุสารี หรือสัทธาวิมุติ เริ่มมีปัญญาพอมาเป็นธัมมานุสารี เต็มตัว แม้เต็มตัว สายศรัทธาก็จะช้าอยู่นั่นเอง แม้จะมาเข้าสู่สายธัมมานุสารีก็ไม่เหมือนปัญญาแท้ ธัมมานุสารี จะตรงทางทิฏฐิปัตตะ จะเจริญหาปัญญาวิมุติ วิ่งหาอุภโตภาควิมุติจบเลย # สายปัญญา ผ่าน 3-4 ขั้นตอน ถึงอุภโตภาควิมุติ จาก 2 ไป 4 ไป 6 แต่บางท่านอาจแวะไป 5 ก่อนแล้วค่อยไป 6 # สายเจโต ต้องผ่านทั้ง 6 ขั้นตอน จาก 1 ไป 3 มา 2 ไป 4 ไป 5 ไป 6 และมาช้าที่จะต้องแช่ย้ำในจิตตัวเองอีก คือ 1,3 ,5 สู่แดนธรรม… หรือว่าขั้นที่ 2 จะแวะมา 5 ก็ได้ไหม? พ่อครูว่า…ได้ เพราะรู้จักกายมาแต่ต้น สักกายทิฏฐิ มีทิฏฐิเต็มแล้ว แต่สายสัทธาสายเจโตไม่รู้เรื่อง มรรคมีองค์ 8 ปฏิบัติสามสังโยชน์แรกก็แยกกายไม่ได้ แยกสักกายทิฏฐิก็โมเม กายก็ไปเข้าใจว่าร่างกาย ร่างดินน้ำไฟลม ผิด กาย คือ จิต หนักกว่าดินน้ำไฟลม แต่ต้องอาศัยดินน้ำไฟลม เท่านั้น แต่ทางโน้นแยกกายคือดินน้ำไฟลมไปเลย ในคุหัฏฐกสุตตนิทเทส สายสัทธาที่มิจฉาทิฏฐิก็ว่า กายวิเวกก็เอาร่างกายออกป่า ก็ข้องในถ้ำ ออกให้ตายก็ไม่เข้าหาจิต จิตวิเวกก็จะนั่งหลับตาสมาธิอีก เข้าป่านี่ผิดไปแล้วนะ ไม่มีผัสสะไม่มีกามคุณ 5 จมสะกดจิตเข้าไปอีกไม่มีภายนอก จิตวิเวก ก็นั่งเหมือนมี ฌาน 1 2 3 4 บรรลุโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ แต่ไม่มีภายนอก ไปตีหัวเข้าบ้านคือไม่มีภายนอกก็เจ๊ง คุณต้องมีภายนอกจะเป็นโสดาบันถึงพระอรหันต์ก็ต้องมีภายนอกทิ้งจากภายนอกไม่ได้ มันซ้อนอยู่อย่างนี้ เข้าไปในป่าก็ไม่รู้จักกามคุณ 5 ไม่ปฏิบัติกับตาหูจมูกลิ้นกายก็ไม่เอาอ่าว แล้วจะไปบรรลุได้ยังไง อาตมาถึงซาบซึ้งจริงๆที่พระพุทธเจ้าบอก คนเอ๋ย ให้เอาไปฆ่าด้วยหอกร้อยเล่มเช้ากลางวันเย็นก็ไม่ตาย นั่งทำความผิดเป็นโจรปล้นศาสนาพระพุทธเจ้า พากันลงนรก พาลูกศิษย์ลูกหาไปอยู่ สู่แดนธรรมว่า..จากข้อ 4 ทิฏฐิปัตตะมาหา 5 ทำไมทิฏฐิปัตตะต้องไปหายกายสักขีด้วย พ่อครูว่า..สายศรัทธาจะไปหากายสักขีในนี้จะมีบุคคลอยู่ 2 คนชื่อว่าซาบซึ้งกับสมณะผืนฟ้า สมณะผืนฟ้าสายเจโต ส่วนสมณะ ซาบซึ้งจะสายปัญญา สมณะผืนฟ้า ทิฏฐิปัตตะก็จะไปกายสักขีได้ส่วนท่านซาบซึ้งจะไม่ไปกายสักขีจะไปหา ปัญญาวิมุติแล้วไปอุภโตภาควิมุติเลย _สู่แดนธรรมว่า…ในกลุ่มพวกเราก็มีสายเจโตของปัญญาแล้วสายปัญญาของเจโต ผมสังเกตว่าพวกเราไม่ใช่ปัญญาหมดมีเจโตด้วย สายเจโตก็มีปัญญาด้วย พ่อครูว่า..ต้องมีทั้งสองอย่างเอาอย่างเดียวก็เอียง เหมือนกับกระดานหก ถ้าหนักข้างเดียวก็ไม่หมุนไม่สิ้นรอบ หากไม่มีอาตมาอธิบายต่อ ศาสนาของพระสมณโคดมไปไม่ถึง 500 หรอกแต่ต้องมีโพธิสัตว์มาอย่างนี้มาศึกษามันเป็นสัจจะ ท่านได้มอบหมายแล้วอาตมาจึงเป็น สยังอภิญญา ที่ในสัมมาทิฏฐิข้อที่ 10 สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นผู้ดำเนินชอบ-ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้-โลกหน้า ให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วย ตนเอง ในโลกนี้ มีอยู่ (อัตถิ โลเก สมณพราหมณา สัมมัคคตา สัมมาปฏิปันนา เย อิมัญ จ โลกัง ปรัญ จ โลกัง สยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปเวเทนตีติ) หากผู้นี้เป็นสยังอภิญญา จะอธิบาย สัมมาทิฏฐิข้อที่ 1-9 ให้คุณเข้าใจและเอาไปปฏิบัติได้ ตั้งแต่เรื่องของทาน ทุกวันนี้การทานของเขามนสิการทำใจในใจไม่เป็น ทานแล้วก็ยังมีสาเปกโข ยังมีไอ้หวัง จะมีความหวังจะได้ภพชาติวิมาน ต้องทานไม่ให้มีอาการของสาเปกโขเลย หากไม่รู้ก็สั่งสมสาเปกโข แล้วสั่งสมภพชาติ เป็นปฏิพัทจิตโต ยังไม่พอ สั่งสมเป็นสันนิธิเปกโข ทานไม่พอก็สั่งสมเป็น ปริภุญชิตสามีติ ตายแล้วได้เสวยสมบัติที่มาในชาติหน้า ก็ยิ่งเป็นภพชาติมากขึ้น ที่จริงแล้วมันไม่มีตัวตนตั้งแต่ ไม่มีสาเปกโข ทำใจในใจตัดให้ได้ ตัดได้ก็สบาย แต่ตัดไม่ได้ ก็สั่งสมไปเรื่อย อาตมาถึงบอกว่าผู้จะหลงวิมาน สวรรค์ 6 ชั้นขี้หมาทั้งนั้นเลย สำหรับผู้ที่ยังอวิชชา หลงติดสวรรค์ 6 ชั้นนี้ ฟังถ้าเข้าใจแล้วอย่าไปสร้างสวรรค์วิมาน เพราะสวรรค์ก็ภพนรกก็ภพ ศาสนาพุทธดับสวรรค์และนรกดับภพหมดสภาพคู่หมดเทวะ หมดสวรรค์นรก เทวะคือสัตว์นรกสัตว์ ซาตานกับพระเจ้าเป็นอย่างเดียวกัน เหมือนเหรียญ 2 ด้านเราก็ทำลายเหรียญเลยไม่ให้มีเหรียญ 2 ด้าน คุณจะเลือกเอาเหรียญด้านใดด้านหนึ่งเหมือนกระดาษมี 2 หน้าจะเอาหน้าใดหน้าหนึ่งไม่ได้ มันต้องไปด้วยกันมาด้วยกันแยกไม่ออก ถ้าไปศรัทธา จะเสียเวลา สัทธานุสารีกับสัทธาวิมุติก็ต้องมีปัญญาจริง มีปัญญาก็เลิกวนได้ จะต้องมี อัญญธาตุ มีธาตุเฉลียวฉลาด รู้โลกรู้อัตตา รู้ธรรมะ รู้สัจจะตามลำดับ พอได้ธัมมานุสารี ก็เป็นแกน อย่าไปเที่ยวอยากเป็น ต้องพยายามมากขึ้น แต่มันเป็นแกนของเราแล้วจงจำนน ใครเป็นสายศรัทธาแล้วจำนนเถอะ ทำไปก็จะถึงที่สุดได้เหมือนกัน ยิ่งปล่อยวางได้ก็จะยิ่งเป็นปัญญาได้ดี หากไม่ปล่อยวางมีแต่ศรัทธาก็จะยิ่งหนักขึ้นมันจะยิ่งช้าขึ้น ก็ปล่อยศรัทธาไปเถอะ ช่างหัวมันเถอะเราพยายามเป็นสายปัญญา มาธัมมานุสารี มีปัญญามากขึ้นก็จะยิ่ง ทิฏฐิปัตตะ หากไปแวะสั่งสมกายเป็นกายสักขี มั่นคงหนักแน่นมากยิ่งขึ้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้ในรายละเอียดว่าต้องสัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย แต่ทีนี้ ท่านผู้ที่ไม่มีสภาวะก็จะไปแปลพยัญชนะ นเหวโข แปล น แปลว่าไม่ เหว แปลว่าอันนั้นของแท้ โข แปลว่า ซ้ำ ผ่านมาแล้ว ย้ำ ยืนยันแล้ว แต่ท่านไม่เข้าใจสภาวะอันนี้ เพิ่งเห็นว่าท่านไม่เข้าใจสภาวะที่แท้จริง เหวโข แปลว่าความแท้จริงแต่ถ้าไม่มีความจริงอันนี้ เราก็มาย้ำความจริงอันนี้ จึงต้องกล่าวต้องย้ำ ผู้ที่เป็นสายปัญญาจริงของเขาตรงแล้ว นเหวโข ถึงไม่ต้องกล่าวต้องย้ำต้องพูดถึงอันนี้อีก จึงบอกว่าไม่ต้องสัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย พูดไปตามบัญญัติ แต่มันมีอยู่แล้วไม่ต้องไปพูดของท่าน ท่านก็ทำได้เร็วเป็นอุภโตภาควิมุติเลย แต่ผู้ศรัทธาก็แวะไปสั่งสมเป็นกายสักขีพยายามให้เต็ม จึงเป็นปัญญาวิมุติ มาเต็มปัญญาอีกที จึงจะอุภโตภาควิมุติ ผู้ที่ปัญญาวิมุติ คือผู้ที่สิ้นอาสวะแล้ว ยังไงจะไม่มาเกิดอีกเลย ได้เลย จะไปอยู่ที่ไหนก็ไม่มีทุกข์แล้ว ก็จะค่อยๆเจือจาง dilute ไปตามธรรมชาติ สูญเอง จะสลายอาสวะกับอนุสัยไปเอง แต่ผู้เป็นสายปัญญาแท้จะแยกแยะอนุสัยกับอาสวะออก อันนี้จะไม่มีใครมาอธิบายให้คุณฟังหรอกถ้าไม่ใช่อาตมา เชื่อว่าองค์เดียว คนเดียวที่สามารถแยกแยะอนุสัยกับอาสวะได้ สม.กล้าข้ามฝัน… พ่อครูว่า..คำว่า กาย เป็นตัวสำคัญมาก ก่อนถึงกายพูดถึงสมาธิก่อน คำว่า สมาธิ เขาไปออกป่านั่งหลับตาสมาธิมันมีเป็นแกนของโลกเลย ฝ่ายเทวนิยมจะอยู่อย่างนั้น ไม่มีความเฉลียวฉลาดมีปัญญา จะไม่มีปัญญาได้ง่ายๆ ปัญญาต้องเริ่มมีอัญญธาตุ เป็นธาตุที่แยกออกจากตระกูลของโลกียะเลย โลกียะ นี่คือโลกทั้งโลกเลย แต่เทวะหมายถึงจิตสองแยกแยะตีแตก แยกเทวะได้ แยกเทวะได้ก็ต้องแยกกายแยกจิตเป็น 2 กายคือนามรูป รูปนาม เป็นสอง หรือภายนอกกับภายใน เทวะ แปลว่า 2 หรือทวิ แปลว่า 2 2 ที่อธิบายเป็นสภาวะก็คือนามรูป เทวะก็มีนามรูป หากใครจมอยู่กับเทวะ ตีแตกแยกแยะอาการของเทวะไม่ได้ แยกวิญญาณของเทวะไม่ได้ ไม่มีนามรูปคนนี้โมฆะเลย วิญญาณไม่รู้นามรูปก็เลิกเลย ในอาหาร 4 วิญญาณาหาร ผู้ที่สามารถรู้จักวิญญาณ ก็ต้องแยกนามรูปได้ แยกนามรูปได้เป็นอันรู้หมด จะศึกษาได้เลย ศึกษากามฉันทะศึกษาเวทนา เวทนาที่มีกามภพ รูปภพ อรูปภพก็ทำได้ หรือมาที่เจตนาที่มีกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ที่เวทนากับเจตนา มีคำซ้ำคำซ้อนกันอยู่ เวทนา ต้องเรียนรู้ กามภพ รูปภพ อรูปภพ อรูปนี้เป็นวัตถุ เป็นสิ่งที่ถูกรู้ละเอียดกว่ารูป ส่วนเจตนานั้นเป็นนาม กามตัณหา กามภพ รูปภพ อรูปภพ กามตัณหา ภวตัณหา เหมือนกัน 2 ตัวแล้ว พอพ้น กามภพ รูปภพ อรูปภพ ส่วนเจตนานั้น กามตัณหา ภวตัณหา หมดกามตัณหา ภวตัณหาคือรูปภพ อรูปภพ ล้างรูปภพ ล้างอรูปภพหมด ก็หมดภพ 3 หมดแล้วก็เป็นวิภวภพ เป็นตัณหาอุดมการณ์เป็นตัญหาที่หมดภพชาติหมดอัตตา ก็มีแต่ความอยากความประสงค์ความต้องการเหมือนอย่างอาตมา ประสงค์ต้องการยังไม่ยอมตาย ยังอยากอธิบาย จนกระทั่งเขาบอกว่าอยากอวดเป็นพระอรหันต์อยากอวดเป็นพระโพธิสัตว์ อาตมาไม่ได้ไป ระริกระรี้อะไร ไม่ได้ไปอยาก พูดด้วยพยัญชนะ แต่จิตของเราไม่ใช่ ไม่มี อาตมาบอกอวด แต่ไม่มีจิตสาเฐยจิต ไม่ใช่อยากอวดโอ่ อาตมาพูดไปแล้วถ้าโกหกก็ได้บาป ได้นรกอเวจีของตัวเองจะทำไปทำไม อาตมารู้ก็จะไม่ทำ แล้วอาตมาก็ไม่ทำได้แล้วด้วย หากอาตมาไม่รู้อาตมาก็ทำหรือแม้แต่หลงเข้าใจผิดก็ต้องทำมันก็เป็นเรื่องของอาตมาก็สมน้ำหน้า ตัวเองไม่รู้แล้วบอกว่ารู้แล้วก็ทำไปเรื่อยๆ ไม่รู้แล้วก็หลงว่ารู้ ไม่ถูกแล้วเราก็หลงว่าเราถูก ใครจะไปช่วยได้ก็ตัวเองทั้งนั้น ดันทุรัง อาตมาก็ต้องตรวจสอบความละเอียดพวกนี้ว่าเราอย่าเผลอไปนะ เผลอไปตัวเองก็ยิ่งตายลูกเดียว แล้วหนักหนาเข้าจะเลอะเทอะ จะเห็นได้ ดูต่อไปในอนาคตว่าอาตมาจะเลอะหรือไม่หรือจะยิ่งแหลมคมขึ้น แต่มันจะมีลืม อายุมากขึ้นก็จะลืม แต่ลืมกับเลอะไม่ใช่อันเดียวกันนะ อาตมาไม่เลอะ แต่แน่นอนลืมได้สัญญาไม่เที่ยง แต่เลอะสัญญาวิปริต วิปลาส วิปลาส เป็นชั่วคราว แต่วิปริตถาวรเลย นัยละเอียดของพยัญชนะที่สื่อให้รู้สภาวะ มาเข้าสู่บุคคล 7 อ่านจากพยัญชนะ พระไตรปิฎก เล่ม 13 ข้อ 230 พระไตรปิฎก เล่ม 36 ข้อ สัทธานุสารี [46] สัทธินทรีย์ของบุคคลใดผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล(มรรค) มีประมาณยิ่ง อบรมอริยมรรคมีสัทธาเป็นเครื่องนำมา มีสัทธาเป็นประธานให้เกิดขึ้น อนึ่งผู้นั้นมีแต่เพียงความเชื่อความรักในพระตถาคต บุคคลนี้เรียกว่า สัทธานุสารีบุคคล ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ชื่อว่าสัทธานุสารี ผู้ตั้งอยู่แล้วในผล ชื่อว่าสัทธาวิมุต พ่อครูว่า…สายนี้ 7 ขั้นจึงจบ ถึงอุภโตภาควิมุติ ธัมมานุสารี [45] ปัญญินทรีย์ของบุคคลใด ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลมีประมาณยิ่ง บุคคลนั้นย่อมอบรมซึ่งอริยมรรคอันมีปัญญาเป็นเครื่องนำมา มีปัญญาเป็นประธานให้เกิดขึ้น พินิจธรรมของตถาคตด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ธัมมานุสารี บุคคลผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ชื่อว่าธัมมานุสารี บุคคลผู้ตั้งอยู่แล้วในผล ชื่อว่าทิฏฐิปัตตะ พ่อครูว่า…สายนี้ 4 ขั้นจึงจบ ถึงอุภโตภาควิมุติ อาตมาไม่ได้ไปข่ม แต่มันเป็นการอธิบายของอาตมาเป็นสายปัญญา พออธิบายไปเขาก็มาเพ่งอาตมา การเพ่งคือการจองเวร อาตมาก็โดนจองกฐิน ได้ฤกษ์งามยามดีเมื่อไหร่ก็ถูกทอด ลงกระทะเลย อาจารย์มั่นนี้ UNESCOรับรอง อาตมาก็ดีใจอุ่นใจว่าเขาเริ่มเข้าใจพุทธศาสนาได้ เห็นความสำคัญเป็นบุคคลสำคัญของโลกเลย อาตมาไม่ได้ไปริษยาอาจารย์มั่น ท่านประยุทธ์ปยุตโตตอนนั้นเป็นพระธรรมปิฎกก็เป็นคนไทยคนแรกที่รับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพยูเนสโก ปี 2537 สิกขมาตุกล้าข้ามฝันว่า ท่านเหล่านั้นเขามีกายสักขีที่คนยอมรับ แต่พ่อท่านมีแต่นามธรรมเขารับได้ยาก พ่อครูว่า…กายนี้ยากที่จะเข้าใจได้ กายวิญญัติ วจีวิญญัติอาตมาย้อนแย้งกับเขา ของท่านเรียบร้อยมาก โพธิรักษ์อย่างกับลิง สมณะฟ้าไทว่า…กายสักขีได้แต่รูปร่าง แต่ของพ่อครูมีผลต่อสังคมเยอะ พ่อครูว่า…ในสังคมก็ยังไม่เยอะหรอก มีกลุ่มที่เป็นมวลแน่น มี สาธารณโภคี เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม ลาภธัมมิกา ศีลสามัญตา ทิฏฐิสามัญตา มีวรรณะ 9 เลี้ยงง่าย (สุภระ) บำรุงง่าย, ปรับให้เจริญได้ง่าย (สุโปสะ) มักน้อย, กล้าจน (อัปปิจฉะ) ใจพอ สันโดษ (สันตุฏฐิ) ขัดเกลากิเลส (สัลเลขะ) เพ่งทำลายกิเลส มีศีลสูงอยู่ปกติ (ธูตะ, ธุดงค์) มีอาการน่าเลื่อมใส (ปาสาทิกะ) ไม่สะสม ไม่กักเก็บออม (อปจยะ) ตรงข้าม อวรรณะ9 ขยันเสมอ, ระดมความเพียร (วิริยารัมภะ) สิกขมาตุกล้าข้ามฝัน… วรรณะ 9 ของสายศรัทธากับสายปัญญาต่างกันอย่างไร พ่อครุว่า…สายศรัทธาไม่ค่อยเข้าใจวรรณะ 9 หรอกสายศรัทธา อปจยะ ไม่สะสมได้มากกว่าสายปัญญา อย่างอาตมานี้ ทางสายพวกเชน มักน้อยยิ่งกว่าเราไม่ใส่เสื้อผ้าเลย เขาพอสันโดษยิ่งกว่าเราอีก แม้แต่ขัดเกลานี่สิ พวกเราขัดเกลาจังเลยนอกใน ขัดจัง ขัดหนัก สัลเลขธรรม เรารู้รายละเอียดของศีลมากกว่า เป็นระดับเป็นชั้นเป็นตอนดีกว่า ปาสาธิโก อันนี้สลับไปสลับมาเขาจะเห็นอาการน่าเลื่อมใสอย่างโน้นต้นง่ายๆสงบสภาพเรียบร้อยไม่ว่าใคร ทางนี้วิจัยวิจารณ์ด่าแหลก ด่าแรง ไม่บันยะบันยัง ปาสาทิโก อันโน้นดู น่าเลื่อมใสกว่าทางเรา แต่สมัยเมื่อ 40-50 ปีที่แล้ว ใครเจอพระโพธิรักษ์ เอาภาพนั้นมาไว้ พวกเรารู้จักพักรู้จักเพียร ให้พอเหมาะ ควรพัก พัก ควรเพียร เพียร เราไม่พักอยู่ (อัปปติฏฐัง) เท่ากับยังเพียรต่อไป เราไม่เพียรอยู่ (อนายูหัง) เท่ากับพักหรือไม่ต่ออายุอิทธิบาท เราเป็นผู้ข้ามโอฆสงสารได้แล้ว (โอฆมตรินติ) เมื่อใดเรายังพักอยู่ (สันติฏฺฐามิ) เมื่อนั้นเรายังจมอยู่โดยแท้ เมื่อใดเรายังเพียรอยู่ (อายูหามิ) เมื่อนั้นเรายังลอยอยู่โดยแท้ เราไม่พัก เราไม่เพียร ข้ามโอฆะได้แล้วอย่างนี้แล ฯ (พตปฎ. เล่ม 15 ข้อ 2) วันนี้วันพุธ ยัง วันศุกร์จะได้ขยายเพิ่มเติมอีก สมณะฟ้าไทสรุปจบ Category: ศาสนาBy Samanasandin5 กุมภาพันธ์ 2020Tags: พุทธศาสนาตามภูมิวิถีอาริยธรรม Author: Samanasandin https://boonniyom.net Post navigationPreviousPrevious post:630203_รายการสำมะปี๋ซี่วิต บ้านราชฯ ครั้งที่ 88NextNext post:630208_พ่อครูเทศน์เปิดงานพุทธาภิเษก #44 บ้านราช ปัญญาพาพ้นมิจฉาชีพ 5Related Posts150401 จะพึ่งอะไรดี-พ่อท่าน-วัดมหาธาตุ28 พฤษภาคม 2024141026 จูฬสุญญตสูตร ตอนที่ 2-พ่อท่าน-วัดธาตุทอง7 พฤษภาคม 2024141026 จูฬสุญญตสูตร ตอนที่ 1-พ่อท่าน-วัดธาตุทอง4 พฤษภาคม 2024670224 พ่อครูเทศน์เวียนธรรมมาฆบูชา งานพุทธาภิเษกฯ ครั้งที่ 48 ราชธานีอโศก24 กุมภาพันธ์ 2024670126 ตอบปัญหาเพื่อละอวิชชา 8 พุทธศาสนาตามภูมิ ราชธานีอโศก26 มกราคม 2024670117 ปฏิจจสมุปบาท ตอน 4 พุทธศาสนาตามภูมิ ราชธานีอโศก17 มกราคม 2024