630729_พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ ธรรมบรรยาย อัมพัฏฐสูตร ตอน 12
ดาวโหลดเอกสารที่ https://docs.google.com/document/d/1BPPrGGMTvepjC0gJlU0z_Bm0zhoZYdewtBArouWoFHE/edit?usp=sharing
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1E4cDbrUJmZ0l9JjJL0g686MlynRz2u9y/view?usp=sharing
และยูทูปที่ https://youtu.be/vU9n1RE5le4
สมณะฟ้าไทว่า… วันนี้เป็นวันพุธที่ 29 กรกฎาคม 2563 ที่บวรราชธานีอโศก นายกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกคนนี้เป็นคนที่รับฟังเสียงประชาชน ตอนนี้ก็ตั้งอาจารย์วิชา มหาคุณเป็นประธานในการตรวจสอบคดีบอส อยู่วิทยา
โพลให้ความเชื่อถือพลเอกประยุทธ์ 90% ส่วนความเชื่อถือของตำรวจและอัยการแค่ 10%
พ่อครูว่า…SMS วันที่ 26 ก.ค. 2563 (วิถีอาริยธรรม)
_Tapanee Burakrai (ฐปะนีย์ บุระไกร)· ท่านฟ้าไทเทศน์ถูกมากค่า ถ้าไม่เอากิเลสออกจะไม่พบความเมตตาที่แท้จริงค่า / พ่อท่านถอดพระไตรปิฎกออกมาเป็นคำพูดที่ทำให้ทราบสภาวะที่เกิดขึ้นจริงค่า
อินทรีย์ พละ คือ เช่นไร
_Surapa Limwannasathian (สุรภา ลิ้มวรรณะเสถียร) · อินทรีพละจะเพิ่มขึ้นได้อย่างไรคะ
พ่อครูว่า…คำว่าอินทรีย์ และ พละ แปลว่า อัตราของพลังแรง หรือพลังงาน มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
ก็หมายความว่ากำลังของศรัทธามันมีคุณภาพมีพลังงานทั้งคุณภาพและปริมาณ มันมีสูงขึ้นเท่าใดๆ เรียกว่าอินทรีย์มากเท่านั้น มันมีนัยต่างกัน อินทรีย์คือพลังของทางเหตุ ส่วนพละนั้นเป็นพลังของทางผล กำหนดไว้เข้าใจแล้วก็ อินทรีย์ 5 พละ 5 มี
อินทรีย์ 5 พละ 5 . .
(ธรรมะมีกำลังขึ้นเป็นใหญ่ในจิต เมื่อทำให้เจริญมากๆ ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ)
-
สัทธา (ความเชื่อที่ปักมั่นยิ่งขึ้น เป็นสัทธินทรีย์ ฯ) .
-
วิริยะ (ความเพียรที่มีพลังขึ้น เป็นวิริยินทรีย์ ฯ)
-
สติ (ความระลึกรู้ตัวแววไวขึ้น เป็นสตินทรีย์ ฯ) .
-
สมาธิ (ความมีจิตตั้งมั่นแข็งแรงเป็นฌานยิ่งขึ้น ฯ)
-
ปัญญา (ความรู้จริงในความจริงแห่งธรรม ฯ) . .
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้ ไม่มีแก่ผู้ใดเสียเลยโดยประการทั้งปวง เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นคนภายนอก ตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชน. (พตปฎ. เล่ม 22 ข้อ 13)
เป็นกลุ่มกระบวนการธรรมะที่มีปฏิสัมพันธ์กัน เกื้อกูลกัน ธรรมะพระพุทธเจ้ามีหมวดต่างๆ
หมวด 2 3 4 5 6 ไปจนถึง 108 เรื่องของนามธรรมมนุษยชาติจิตวิญญาณเป็นเรื่องสำคัญลึกซึ้งซับซ้อน ต้องศึกษา ปฏิบัติแล้วจะเห็นจริง ขนาดพวกเราก็มีสภาวะบ้าง ปฏิบัติไปปฏิบัติไปก็ได้สภาวะ แต่จะเอามาพูดเอามาอธิบายให้คนได้ฟังมันชัดเจนให้ละเอียดยังยากเลย ใช่ไหม อาตมาก็ยังก็พอได้นะ อาตมาก็ว่าอาตมาก็เก่งพอสมควรอยู่ในยุคนี้ แต่ก็ยังไม่ง่าย แล้วพวกคุณก็ต้องยากกว่า ยากที่จะขยายความ แต่ผู้ที่มีจริงเป็นจริงแล้วก็ศึกษาก็จะสามารถที่จะเข้าใจ ก็จะเอามาอธิบายได้ร้อยเรียงเอาคำนั้นเอาคำนี้มาร้อยเรียง ระบุสภาวะ ระบุชื่อไปก็จะทำให้พวกเราได้เข้าใจสื่อสารให้รู้กันได้ ก็ศึกษาไป
สู่แดนธรรม… 4 ข้อแรกในจรณะ 15 มีสำรวมอินทรีย์ โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยค ฯ เป็นตัวเพิ่มอินทรีย์ และ พละ ได้มาก
พ่อครูว่า..มีส่วน สำรวมอินทรีย์ โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยค มีส่วนช่วยทั้งนั้นปฏิบัติธรรมพระพุทธเจ้ามีส่วนช่วยกันทั้งนั้น ในโพธิปักขิยธรรม 37 ก็มีอินทรีย์ 5 ข้อ 1 พละ 5 ข้อ 1 ใน 7 หัวข้อของโพธิปักขิยธรรม ซึ่งมีสติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8
ได้เลข 4578 มา มีพวกเราไปเอาทะเบียนรถให้ตรงกับเลข 4 5 7 8 ก็มี เพราะฉะนั้นรถพวกเราจะมี 4578 เยอะ แต่พยัญชนะข้างหน้าจะต่างกัน นี่ไม่ได้ใบ้หวยนะ
_Duangjai Jeab (ดวงใจ เจี๊ยบ) · ติดตามฟังพ่อครูมาเกือบปีแล้วค่ะ_รู้สึกศรัทธายิ่งๆขึ้นและยังใฝ่ฝึกตามค่ะ_จนกระทั่งอยากแนะนำเพื่อนสนิทที่ฝึกธรรมะกับยุวพุทธ_จึงถามไปว่ารู้จักท่านสมณะโพธิรักษ์รึป่าว_เพื่อนตอบกลับมาว่า”รู้จักแบบรู้จักดารา เคยเห็นในทีวี ทำไมรึ?”_เอาไงต่อดีค่ะพ่อครู เพราะข้าพเจ้าไม่มีทักษะด้านนี้เลยค่ะ_ขอคำแนะนำด้วยค่ะ
พ่อครูว่า..ก็อธิบายไป บอกว่าเดี๋ยวนี้ท่านไปบวชเป็นพระไม่รู้จักหรือ แต่เขาก็บอกว่ารู้จักแบบดาราเขาไม่ได้รู้จักกับพระ ฟังน้ำเสียงดูหางเสียงแล้วไม่ค่อยเชื่อน้ำมนต์ในความเป็นพระเป็นเจ้าเท่าไหร่ ก็ไม่เป็นไร ค่อยๆศึกษาไป
_ชายพงไพร บุนิตระกูลพุทธ · กราบนมัสการครับบางวันฟังรู้เรื่องบางวันฟังไม่รู้เรื่องคงไม่มีสภาวะรองรับน่ะครับ
พ่อครูว่า..มันไม่ถึงขีดเข้าใจไม่ได้ ก็ฟังไปเราจะสังเกตถ้าเราฟังไปแต่ก่อนนี้ไม่รู้เรื่องเพราะเราปฏิบัติไปมีสภาวะตอนนี้ฟังรู้เรื่องแล้วเข้าใจดีด้วยแล้วก็ฟังไป มีคำที่ลึกซึ้งสูงขึ้นก็ฟังรู้เรื่องอันนี้ก็มีสภาวะรองรับ
_กรรณิกา หนึ่งน้อย · หนึ่งน้อยค่ะ..พ่อคะลูกมาสร้างบารมีอยู่ในอโศกเพราะในอโศกพี่น้องเราให้ขุมทรัพย์เยอะกว่าข้างนอกหลายร้อยพันเท่า..ลูกต้องใช้ความอดทนหลายร้อยพันเท่าเหมือนกัน..ทำงานก็หนักเหนื่อย..ได้แต่บอกตัวเองว่าเรามาสร้างบารมีค่ะพ่อ..
_POjjy Tamty (พีโอเจเจวาย แทมที่) : อรหันต์เก้เลิกมาออกรายการได้แล้ว
พ่อครูว่า..อาตมาก็มีคนที่ติดตามอยู่ เขาเชื่อว่าเป็นอรหันต์จริงไม่ใช่อรหันต์เก๊ ส่วนคุณจะไม่เชื่อก็มาศึกษาดูสิ ปฏิบัติเบื้องต้นท่ามกลางบั้นปลายอย่างไร ก็ไปลองปฏิบัติดู ถ้าตัดทิ้งไม่รับเลยมันก็แคบไปนะ ที่เรารู้อยู่นั้นมันก็จะแคบ ถ้าเรารับรู้ แม้ว่าทางที่อาตมาทำไม่ถูกต้องคุณก็จะรู้มากยิ่งขึ้นว่า คนคิดได้อย่างนี้ก็มีนะ แบบของคนถูกคุณเชื่อว่าของคุณถูกแบบนี้ไม่ถูก แต่ทำไมเขาอยู่ได้ เขาเป็นไปได้อย่างไร ก็มาศึกษาดูสิเอาพระไตรปิฎกมาตรวจสอบ ดูว่าตรงตามพระไตรปิฎกไหม อย่างที่คุณเชื่อนั้นมันตรง หรืออันนี้มันตรงกว่ากัน เป็นภาษาไทยอ่านเข้าใจกัน
อุเบกขา 5 เกิดจากการทำสมาธิไม่ใช่ทำสมถะ
_ไพฑูรย์ การนั่งเจโต แตกต่างกับนั่งหลับตาทั่วไปอย่างไรครับ
พ่อครูว่า..ถ้าเราใช้ศัพท์ภาษาเรียกว่านั่งเจโต มันจะค่อนไปทางนั่งปฏิบัติธรรมนะ ถ้าบอกว่านั่งหลับตามันเหมือนภาษาธรรมดา ทำไมนั่งหลับตาอยู่อย่างนั้น เขานั่งหลับตาอยู่เฉยๆ เขาอาจจะหลับตาเพราะง่วง หรือเพราะว่าคิดนึกอะไรอยู่ หรือว่าหลับตาปฏิบัติธรรมก็ได้ เตวิชโช อาตมาบอกแล้ว หลับตาปฏิบัติจะไม่ได้รับรู้ภายนอก รับรู้แต่ภายใน ในขณะนั้นเราก็นั่งหลับตาจะมีประโยชน์ 4 ประการ
-
ได้พักผ่อนแบบสงบจิต มีอุปการะมาก
-
ศึกษาเพิ่มทักษะในเจโตสมถะ และใช้ตรวจอ่าน ภาวะจิตต่างๆ ในภวังค์
-
เอื้อให้ปฏิบัติเตวิชโช (ทบทวน) ได้อย่างดี .
-
สร้างพลังทางจิต ที่จะนำไปทำฤทธิ์ต่างๆ (แต่ฤทธิ์ในพุทธศาสนา หมายถึง ฤทธิ์ที่ระงับ ดับกิเลส เพื่อไปสู่นิโรธ-วิมุติ-วิโมกข์-นิพพาน)
ถ้าเขาหลับตาปฏิบัติแต่ไม่เป็นโลกุตระธรรม เป็นโลกียธรรมก็เป็นได้ คำว่าวิปัสสนาญาณ เป็นญาณที่รู้เห็นแจ้งซึ่งไม่ใช่หลับตา สำคัญก็คือ ปัสสะ ภาษามันกำกับคือต้องเป็นการเห็น ลืมตาเห็น ปัสสะ ปัสสี แปลว่า เห็น หูก็ได้ยิน ลิ้นก็ได้รส จมูกได้กลิ่น คือเป็นผู้ตื่นเป็นคนที่มีชาคระ ตื่นภายนอก ตื่นเต็มทั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม พร้อมเลย แล้วก็ศึกษาได้ประโยชน์ได้ธรรมะ จะเป็นข้อหนึ่งที่ปฏิบัติตามวิปัสสนาญาณ รู้รูปนาม จะรู้การพิจารณาเอากิเลสออกตั้งแต่
สักกายทิฏฐิ จนกระทั่งเข้าใจชัดเจน ในสักกายทิฏฐิ เข้าใจความเป็น อัตตา ความเป็นวิญญาณความเป็นเทวะ จนเข้าใจ แล้ว มีหลักเกณฑ์การปฏิบัติเรียกว่า ศีลพรต สังโยชน์ 3
วิปัสสนาญาณ คือรู้จักกาย ชัดเจนในกายของตนเอง สักกายะ แล้วก็มีสภาวะ พร้อม ชัด พ้นวิจิกิจฉา แล้วมีทฤษฎีในการปฏิบัติ ปฏิบัติตนได้ผล ไม่ใช่ว่ารู้ทฤษฎีดีแต่ว่าไม่ได้เอาจริงเอาจังในการปฏิบัติเลย ไม่ได้ผลก็เลยเรียกว่า ปรามาส
สิ่งที่อาตมาอธิบายเหมือนกับให้ตำรวจไปจับโจร เห็นโจรแล้วรู้จักโจรด้วย อยู่ด้วยกันกับโจรด้วย แต่ก็เล่นหัวกับโจร เลี้ยงโจรอยู่นั่นแหละ ไม่จับโจร ไม่จัดการกับโจรให้มันเรียบร้อยสักที อย่างนั้นเป็นต้น ไม่สำเร็จผล
สู่แดนธรรม…พ่อครูเคยบอกว่า ให้ครูสอนเด็กๆที่สอนเด็กๆให้นั่งสมาธิ พ่อครูว่า..ให้เรียกว่าการนั่ง สมถะ
พ่อครูว่า..จะไม่เรียกว่านั่งสมาธิแต่ให้เรียกว่านั่งสมถะ สมาธิของพระพุทธเจ้า ต้องลืมตาเปิดทั้งทวารทั้ง 6 แล้วเกิดกิเลสก็ทำการลดกิเลส ต้องมีพลังงาน ฌาน ฆ่ากิเลสไปเรื่อยๆ กิเลสลดไปส่วนหนึ่ง ก็เรียกว่า ได้ส่วนบุญ
ได้ส่วนบุญไม่ใช่การได้มา แต่เป็นการเสียกิเลสออกไปจากจิตใจเรา เรียกว่าเราได้ผลของบุญมาทำลายกิเลสไปส่วนหนึ่ง พอทำลายไปได้เรื่อยๆก็เป็นผู้เจริญ เป็นเสขบุคคล เป็นบุคคลที่ปฏิบัติถูกต้องแล้ว เป็นอริยะตั้งแต่พระโสดาบัน สกิทาคามี ขึ้นไปเรื่อยๆจนหมดกิเลส หมดอาสวะ จึงเรียกว่าพระอรหันต์ เป็นอเสขบุคคล
เพราะฉะนั้นเมื่อได้จิตสะอาดบริสุทธิ์แล้วจึงจะสะสมลงไป จิตสะอาดบริสุทธิ์ต้องมีการดับอาสวะได้ จิตไม่มีอาสวะ จึงจะเป็นจิตสะอาด ในกิเลสตัวไหนก็แล้วแต่ ต้องรู้ว่า อาสวะของกิเลสตัวนั้นมันไม่เกิดอีกแล้ว ไม่เกิดในจิต จิตก็สะอาด จิตสะอาดมาสะสมเรียกว่า ปริสุทธา สะอาดบริสุทธิ์
เมื่อปฏิบัติไปอีก กิเลสลักษณะนี้แหละ สัมผัสอีกตามชีวิตคนจะสัมผัสสิ่งที่เราปฏิบัติด้วย อย่างศีลข้อที่ 1 ปฏิบัติกับสัตว์ ศีลข้อที่ 2 ปฏิบัติกับพืชกับวัตถุ เมื่อมันเกิดกิเลสเราก็ทำได้ ทำได้ก็สะสมจิตที่สะอาดยิ่งขึ้นด้วยเรียกว่า ปริโยทาตา คือ บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น
มุทุ จิตของเราก็ยิ่งเก่งด้วยธาตุสอง ทั้งเจโตและปัญญา มีทั้งศรัทธาและปัญญา มุทุนี่ เป็นธาตุที่เจริญ มุทุ มาจากรากศัพท์บาลีที่แปลว่า อ่อน อาตมาเลยแปลเป็นไทยว่าจิตหัวอ่อน ไม่ใช่จิตอ่อนแอ คือจิตมันไม่แข็งทื่อดื้อด้าน เป็นจิตที่เร็วไว ปรับได้ง่าย เป็นจิตปาคุญญตา เป็นจิตที่คล่องแคล่วว่องไว เร็วไวขึ้น ทั้งทำให้มันหยุดก็ได้เร็ว ทั้งทำให้มันรู้ก็ได้เร็ว หยุดเป็นทางปัสสัทธิ การหยุดของทางพุทธไม่เรียกว่าสมถะแต่เรียกว่า ปัสสัทธิ
มันจะรู้ในทางปัญญาก็จะรู้ได้เร็ว มีทั้งการหยุดได้เร็วก็มี มันเป็นภาวะ 2 เร็วไวมากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นจึงเอามาใช้ใน กัมมัญญา ในองค์ที่ 4 ของอุเบกขา 5
อัญญา เป็นตัวธาตุรู้โลกุตระกำกับกรรม กำกับการกระทำ คือ การกระทำที่กระทำด้วย ญาณ โลกุตระ ความรู้โลกุตระ มันจึงเป็นการงานที่ดี การงานที่เหมาะสมควรที่สุดแล้ว ไม่มีโทษ เป็นการงานที่ไม่มีโทษ เหมาะสมในบริบทนั้น ในขณะนั้น ในองค์ประกอบนั้น เป็นการงานที่ดี
แม้จะทำงานอย่างไรมีการสัมผัสอย่างไรอีก จิตก็ยิ่งผ่องแผ้ว ผ่องใส ประภัสสร ก็ยิ่งแจ่มใส สว่าง เบิกบานร่าเริง ยิ่งขึ้นยิ่งขึ้น เรียกว่าจิตประภัสสร ไม่เป็นจิตที่หม่นหมอง เป็นจิตที่เป็นเพชร ไม่มีอะไรทำให้หมองได้เลย เป็นเพชรวิเศษ มีแต่ยิ่งใส ยิ่งทำให้รู้แจ้งรู้สว่างดียิ่งขึ้น เรียกว่าประภัสสร นี่คือคุณสมบัติ คุณธรรมของคุณวิเศษ 5 ประการในรายละเอียดของอุเบกขา 5
อธิบายซ้ำไปซ้ำมา
_SMS วันที่ 27 ก.ค. 2563 (โสเหล่โลกุตระออนไลน์)
_ธารร่มธรรม ทำร่มทาน · กราบนมัสการพ่อครูที่เคารพยิ่งค่ะ วันนี้ชัดเจนทั้งภาพและเสียงไม่มีสะดุดเลยค่ะ และเพิ่งสังเกตุเห็นการจัดมุมกล้องด้านสมณะนั่งมองดูภาพกว้างขึ้น ขอบคุณทีมสื่อที่ช่วยให้ได้รับฟังพ่อครูเทศชัดเจนต่อเนื่องจนจบรายการค่ะ
_ Surapa Limwannasathian (สุรภา ลิ้มวรรณเสถียร) · หนูยังมีความเป็นเทวนิยมอยู่มากคะเพราะหลายเหตุการมันเกิดขึ้น มันเป็นจริงทุกครั้งค่ะ ลบเทวนิยมจากกายเราได้อย่างไรคะ / ทำทุกอย่างให้ชิน ไม่ต้องทนกับความลำบากคะ สาธุคะ
พ่อครูว่า..เทวนิยม เช่น เชื่อสิ่งที่มันไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ไม่เป็นเหตุเป็นผล มีแต่ความลึกลับ แต่มันก็ยังได้บ้าง มันก็เลยทำให้ไม่อยากทิ้ง ลบ เทวนิยมจากกายเรา ได้อย่างไร?
อาตมาไม่รู้จะตอบไปอย่างไรดี ก็ปฏิบัติไปแล้วคุณจะเกิดปัญญาโลกุตระ จะเข้าใจเองว่าเทวนิยมก็มีของมัน มันเป็นที่เราเคยเป็นมันก็ยังมีอยู่นะ แต่เราไม่ต้องไปยึดมั่นถือมั่นมัน เพราะว่ามันอธิบายไม่ได้ เทวนิยมอธิบายไม่ได้ จะมีความรู้เหตุผลอย่างชัดเจนเหมือนกับศาสนาพุทธไม่ได้ พระพุทธเจ้าจึงบอกว่าไม่เที่ยงแท้หรอกอย่างนั้นน่ะ ถ้าเหตุและผลมันชัดเจนเที่ยงแท้และทำได้เลย แต่ยังโน้นจะทำก็ทำไม่ได้เพราะไม่รู้เหตุ แต่มันมาถึงเราได้ก็ดีเท่านั้นเอง ก็เลยเป็นเรื่องลึกลับ เพราะฉะนั้นมันได้มา ก็อาศัยมันไปบ้าง แต่ไม่ต้องไปชอบใจ ไม่ต้องไปยึดติดมาก
นิมนต์พ่อครูจิบน้ำ
สมณะฟ้าไท..เขาบอกว่าฟังธรรมะพ่อครูได้ปีหนึ่ง พ่อครูบอกว่านิดเดียวซึ่งก็จริง
พ่อครูว่า…เรามาเข้าสู่ อัมพัฏฐสูตร
อธิบายมาจะถึงแยกให้ฟังว่า อัมพัฏฐมานพ มาคุยกับพุทธเจ้าสรุปลงที่ วิชชาจะระณะสัมปันโน ซึ่งเขาก็เรียนกันมา แต่เมื่อมันเพี้ยน เป็นพราหมณ์ พราหมณ์ก็เป็นพุทธนี่แหละ มันถูกต้องแล้วก็เพี้ยนไปจนหมด จนเหลือแต่เป็นภาษาว่าพราหมณ์ แปลภาษาของเรียกว่าพระเวทหรือความรู้หรือวิชา ยังเป็นรากฐานเดิม บาลีก็เป็นบาลีสันสกฤตก็เป็นสันสกฤตอันเดิม แต่ความเข้าใจสภาวะ มันไม่ใช่แล้วมันผิดเพี้ยนอย่างตรงกันข้ามกันเลย อย่างทุกวันนี้มันกลายเป็นของเดียรถีย์ มันผิดไป สมาธิมันก็ไปหมด กาย บุญ ฌาน อะไรพวกนี้ที่อาตมาหยิบเอามาอธิบายทุกวันนี้ชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ มันไม่ใช่นะ มันคนละเรื่องกัน
กาย เขาก็ไปเข้าใจอย่างนึง บุญก็เข้าใจอีกอย่างหนึ่ง สมาธิก็เข้าใจอีกอย่างนึง หรือแม้แต่ศีลก็เข้าใจว่าปฏิบัติศีลก็ได้แค่ทางกายวาจาภายนอก ศีล ไม่เกี่ยวกับใจอย่างนี้เป็นต้น สัมมาทิฏฐิก็เป็นไปตามที่เขาเห็นชอบเรียกว่าสัมมาทิฏฐิ ซึ่งไม่ใช่หลักเกณฑ์ของสัมมาทิฏฐิ 10 ชัดเจนเลย ถ้าเอามาทำและปฏิบัติตรงก็จะได้ผลตรงตามสัมมาทิฏฐิ 10 อย่างที่ผู้เข้าใจแล้ว อย่างที่อาตมาเอามาอธิบายให้ฟัง
เป็นส่วนแห่งบุญ(ปุญญภาคิยา) ให้ผลวิบากแก่ขันธ์(อุปธิเวปักกา).
-
ทานที่ให้แล้ว มีผล(ให้กิเลสลด) (อัตถิ . ทินนัง) เราทำทานแล้วก็ได้ผล คนนั้นคืออย่างไร ผลคือ ทานแล้วกิเลสลด ไม่ใช่ทำทานแล้วกิเลสเพิ่ม เขาอ่านใจไม่เป็น ข้อแรกแล้วเขาทำทานก็ไม่รู้ใจ ก็ทำใจในใจไม่เป็นมนสิการไม่เป็น เขาทำเหมือนกันนะแต่เขาทำใจให้ยินดีกับสิ่งที่เราได้ความชื่นใจเราได้ว่าเรามีทรัพย์เพิ่มขึ้นดีขึ้น ก็ตั้งขึ้นเป็นคลังสมบัติของเราเอาไว้กินใช้ ตายไปแล้วในชาติต่อไปจะได้ใช้ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้คิดแบบนั้น ไม่ให้ปฏิบัติแบบนั้นไม่ให้ประพฤติแบบนั้น พระพุทธเจ้าท่านสอนอย่าให้หวังภพชาติ ทำทานแล้วก็จะต้องเอาสิ่งที่ทำทานมาแล้วต้องมีผลเป็นของเรา หรือยิ่งได้เอาดอกเบี้ยด้วย เป็นปันผลเพิ่มขึ้นอีก ไม่ให้คิดอย่างนั้น ให้เสียสละไปแล้วก็หายไป จริงๆแล้วโดยสัจจะ ทานไปแล้วไม่ต้องคิดว่าเราจะได้อะไรกลับมาเลย เฉย ปล่อยทิ้งเลย ตัดทิ้งเลย ไม่ไปคิดหวังอะไรได้อะไรอีก ให้ไปแล้วให้มันเป็นหนึ่งเดียว ให้ไม่ใช่จะเอา ให้ แต่มี Boomerang อาจจะโค้งไกลมาก แต่กลับมาแต่ใช้เวลานานมาก มันก็น่าจะออกดอกออกเบี้ยเยอะกว่า นั้นมันก็ยังต้องการ ยังมีตัวตนอย่างนี้เป็นต้น พระพุทธเจ้าท่านไม่ให้ทำอย่างนั้น อย่างน้อยอาตมาอธิบาย ทานสูตร เขาทำทาน นัตถิทินนัง แม้กระทั่งสัมมาทิฏฐิข้อที่ 1 ทำทานแล้วมีแต่เพิ่มกิเลสมีแต่อยากได้มากขึ้นมากขึ้น
แล้วจริงๆมันก็จะมีกุศลเสริมในการให้เหมือนกัน ก็ยิ่งจะหลงติด เราทำทานแล้วจะยิ่งได้มากขึ้นมันก็เลยโอ้โห ทานแล้วยิ่งหวังผลมากขึ้น ยิ่งอาจารย์องค์ไหนบอกว่าทำทานแล้วจะยิ่งได้ผลกลับมา รับรองขึ้นเลย ศรัทธาเลื่อมใสเลยว่าองค์นี้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นองค์ที่ เมตตามหานิยม ลักษณะพวกนี้ก็เลอะเทอะไป
พระพุทธเจ้าท่านตรัสถึงวิชชาและจรณะ แต่อัมพัฏฐะ ไม่รู้เรื่องได้แต่ท่องภาษาไปทางเดียรถีย์ เข้าใจแบบมิจฉาทิฏฐิ มันก็เลยไม่ได้เรื่องอะไร พระพุทธเจ้าบอกว่าไม่ใช่อย่างนั้นไม่ถูก ให้มาทำอย่างนี้สิถึงจะถูก แล้วก็จะได้ผลจริง ให้มาสู่สัมมาทิฏฐิ แต่ยังไม่ได้ให้สัมมาทิฏฐิให้กับ อัมพัฏฐะ ซึ่งเขายังไกลจากสัมมาทิฏฐิ ท่านก็อธิบายย่นย่อเข้าหา สังวรศีล สำรวมอินทรีย์ มีสติสัมปชัญญะ แล้วก็มีสันโดษ 4 ตัวนี้
มีศีลอันเป็นอริยะ มีสำรวมอินทรีย์อันเป็นอริยะ มีสติสัมปชัญญะอันเป็นอริยะ มีสันโดษอันเป็นอริยะ
อธิบายมาตั้งแต่สามัญญผลสูตรแล้ว พระสูตรที่ 2 อธิบายมาแล้ว 4 ข้อนี้ ปฏิบัติศีลแล้วก็ให้สัมพันธ์กับสติปัญญา ลดกิเลสได้เป็นวิมุติ นี่เรียกว่าอาริยะ
สำรวมอินทรีย์คือตาหูจมูกลิ้นกาย ต้องเปิดรับสัมผัส แล้วก็รู้จักสภาวธรรมได้ แยกกิเลสได้ เรียกว่าการสำรวมอินทรีย์ มีสติสัมปชัญญะรู้ดี สัมผัสแล้วก็จับอาการสังขารวิญญาณนามรูปได้ แล้วไปถึงตัวเวทนา
เวทนาเป็นฐานที่ตั้งแห่งกรรมฐาน เป็นฐานที่ตั้งแห่งการปฏิบัติ ซึ่งอาตมาก็ไม่รู้จะย้ำยืนยันอย่างไร ถ้าคุณไม่มีเวทนา ไม่มีฐานที่ตั้ง พระสูตรแรกคือพรหมชาลสูตร พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ ถ้าไม่มีเวทนาไม่มีผัสสะก็ไม่มีฐานแห่งการปฏิบัติ มันจะมีความดิ้นรนแส่หาของกิเลสตัณหา เท่านั้น มันปฏิบัติอะไรไม่ได้หรอก ถ้าไม่มีเวทนาให้อ่าน
ท่านสรุปลงเป็นหัวใจเลยว่า ธรรมทั้งสองเหล่านี้ รวมเป็นอันเดียวกันกับเวทนา โดยส่วนสอง (เทฺว ธมฺมา ทฺวเยน เวทนาย เอกสโมสรณา ภวนฺติ ฯ ) ล.10 ข.60
เป็นหัวใจในการปฏิบัติธรรม ปฏิบัติธรรมโดยมีภาวะ 2 เทวธัมมา เวทนาก็เป็นเวทนา 2 เราต้องรู้ความรู้สึกที่สัมผัสกับอะไรทางตาหูจมูกลิ้นกาย มันเป็นภาวะจริงของความรู้สึก แล้วมีภาวะผีหลอก ภาวะเก๊ เวทนาผีหลอก เวทนาเก๊ เป็นคู่กัน เป็น2 เป็นเทวเยน เวทนายะ ก็เรียนรู้เวทนาที่มันเกิดจากตัณหาอุปทานเรานี้ เมื่อสมใจมันก็ชอบหรือชัง ไม่สมใจก็ชังหรือโกรธ
ก็ต้องรู้ตัวเหตุที่เป็นตัณหาที่ออกมาจากอุปทาน เป็นตัวนิ่ง เมื่อมันเคลื่อนที่ออกมาก็เป็นอาการของตัณหาเป็นตัวเคลื่อนที่ขึ้นมา จับอาการของมันให้ได้ แล้วพิจารณามัน มันเป็นอาการหลอก อาการไม่เที่ยง มันเป็นตัวปลอม มันมา นอกจากเราหลงและอวิชชาเข้าใจผิดว่ามันทำให้เราเป็นอย่างนี้ ติดมันมาหลงมันมารู้สึกว่าเป็นสุข ที่จริงแล้วไม่มีหรอก มันไม่มีตัวสุขตัวทุกข์ แต่มันมีแต่ความรู้สึกเวทนาที่เป็นตัวจริง เห็นก็เห็นอย่างนี้เหมือนกันหมดไม่ว่าใครเห็นเหมือนกัน จะเรียกเป็นภาษาอะไรต่างๆก็แล้วแต่ แต่คนรู้ด้วยสภาวะธรรมก็จะรู้เหมือนกันหมด
เช่น ส้มโอลูกนี้ คุณสัมผัสด้วยตา ก็จะเห็นเหมือนกัน มันมีรูปร่างผิวพรรณสีสันอย่างนี้ ถ้ามันมีกลิ่นก็จะรู้กลิ่นเหมือนกัน สัมผัสรสชาติก็จะเหมือนกัน ที่มันเป็นจริง ไอ้จริงนั้นคือเหมือนกันทุกคน อันนั้นคือเวทนาจริง แต่คุณรู้สึกว่า พอสัมผัสแล้ว มันไม่สวย มันไม่น่าดู รสชาติไม่เข้าท่า กลิ่นไม่ถูกใจหรือว่าถูกใจ กลิ่นดี รสดี สีดี รูปดี ก็แต่ละคนไม่เหมือนกันเลยอันนั้น เป็นเรื่อง เก๊ เวทนาเก๊ เวทนาปลอม เวทนาผีหลอก เราก็เพ่งตัวผีหลอก เอ็งเป็นสองนะ มายา มาหลอกข้านานมาแล้ว ฉะนั้นเราต้องฆ่าผี หรือจอมมายาให้มันหายไป
พอเราเห็นความจริงว่ามันไม่เที่ยงหรอก ตัวนี้มันมาหลอก ถ้าเราไปติดมันก็ได้สุข มันก็คู่กับความทุกข์ เดี๋ยวไม่ได้มันก็จะทุกข์ หรือได้มาไม่สมใจมันก็จะเกิดความทุกข์ ไม่ได้มาก็จะโหยหา เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปเป็นสุขเป็นทุกข์หรอก มันมีก็คือมี มันไม่มีก็คือไม่มี
และกิเลสตัวนี้ พอเราปฏิบัติไปจริงๆแล้ว มันจะไม่เกิดในจิตเรา ถึงขั้นจิต เวทนาเก๊ ไม่เกิด แม้เราสัมผัสส้มโอ จะลูกเดียวหรือกี่ลูกมาสัมผัสก็ไม่เกิดกิเลสเลย ไม่มีความผลักหรือดูด เห็นความจริงตามความเป็นจริง จะเป็นรูปเสียงกลิ่นรสสัมผัสอย่างไรก็เป็นอย่างนี้ ไม่มีอาการของเวทนา 2 เกิดเลยมีเวทนาเดียว เอกสโมสรณา รวมได้เป็นเอกหนึ่งเดียว ไม่เกิดเวทนา 2 ไม่เกิดผีหลอกตัวนี้เลย ก็อยู่ในองค์รวมของ เทวะ
ตากระทบรูปก็เป็นภาวะ 2 จมูกได้กลิ่นก็2 ลิ้นรับรสก็2 ที่แปลในพระไตรปิฎกว่า ธรรมทั้งสองเหล่านี้ รวมเป็นหนึ่งเดียวกันกับเวทนา โดยส่วนสอง (เทฺว ธมฺมา ทฺวเยน เวทนาย เอกสโมสรณา ภวนฺติ ฯ ) ล.10 ข.60
คนที่ศึกษาแต่ภาษาไม่มีสภาวะก็ไปท่องสอบเปรียญ 5 แต่ลักษณะจริงจะเป็นอย่างไร ก็ไม่รู้เรื่องหรอก ไม่เข้าใจสภาวะของแท้
ธรรมทั้งสองเหล่านี้ รวมเป็นอันเดียวกันกับเวทนา โดยส่วนสอง (เทฺว ธมฺมา ทฺวเยน เวทนาย เอกสโมสรณา ภวนฺติ ฯ ) ล.10 ข.60
เขาแปลไม่ผิด แต่มันไม่ได้ขยายความอย่างที่อาตมาขยายความให้เป็นสภาวะอย่างนี้
รวมเป็นอันเดียวกับเวทนา เอกสโมสรณา คำว่า เทวะ สอง จึงเป็นความยิ่งใหญ่ที่สุดเลย ต้องตีแตกแยกทีละคู่จนเหลือ 1 ทำให้รวมเป็นหนึ่งได้สำเร็จ ภวันติ สำเร็จเรียบร้อยแล้วมันก็ยังมีสองอยู่นั่นแหละ ตากับรูป สองในภาวะของโลก ที่เราไม่มีเราก็รู้ ในแบบโลกโลกีย์ แต่คนโลกๆ คนอื่นเขามี เขายังติดอยู่ เขาก็ยังมีรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสที่เป็นเวทนา 2 เวทนาหลอก เขาก็มีอยู่เราก็รู้ เราจะไม่งง กับความมีและความไม่มี ส่วนเราเอง ไม่มีแล้ว แล้วเราก็รู้ว่าเราอยู่กับคนอื่นที่เขามีเวทนาตัวที่ 2 ซึ่งเป็นเวทนาเก๊
แล้วเราสัมผัสกับสิ่งที่เป็นเหตุที่สัมผัสกับตัวเรา กับสิ่งเหล่านี้ในโลก เรายังไม่ตายยังไม่ปรินิพพานเป็นรอปริโยสาน เราก็ต้องมีการสัมผัสอยู่กับโลกกับองค์ประกอบรอบล้อม เราสัมผัสแต่ต้องเกิดเห็น เกิดได้ยิน เกิดได้กลิ่น เกิดได้รับเสียงได้สัมผัสอยู่อย่างนี้ แต่ตัวสำคัญคือ กิเลสหรือเวทนาเก๊มันไม่มีแล้ว มันไม่มีตัวตนจริงๆเลย ยืนยันเมื่อไหร่สัมผัส จะทีเผลอมันก็ไม่เกิดจะรู้ตัวมันก็ไม่เกิด มีสติสัมปชัญญะรู้ แม้ไม่รู้ตัวทีเผลอ ตอนนั้นตอนนี้ก็แข็งแรงตั้งมั่นหมดเลย จิตใจมีลักษณะ นิจจัง(เที่ยงแท้) ธุวัง (ถาวร) สัสตัง(ยืนนาน)
เป็นคุณสมบัติวิเศษที่สำเร็จแล้วเที่ยงแท้มั่นคงแล้ว ไม่เป็นอื่นแล้ว อวิปริณามธัมมัง(ไม่แปรเปลี่ยน) อสังหิรัง(ไม่มีอะไรหักล้างได้) อสังกุปปัง(ไม่กลับกำเริบ)
สิ่งเหล่านี้ค่อยๆศึกษาไป ก็จะรู้สภาวะต่างๆเหล่านี้ได้
มันไม่น่าเบื่อหรอกมันเป็นเรื่องรื่นเริงในธรรม ถ้าเข้าใจในสภาวะดีๆแล้ว แม้ต่อให้คุณเป็นอรหันต์หมดแล้วก็จะฟังได้ เหมือนกับคุณชอบฟังเพลง ชอบฟังเพลงนี้ เมื่อไหร่ฟังมันก็ดี ฟังเมื่อไหร่มันก็เพราะ ไม่มีปัญหาอะไร คนอื่นร้องหรือเราเองร้องมันก็ชอบ มันก็ยินดีอย่างนี้เป็นต้น มันก็เป็นไปได้
เมื่อกี้นี้ได้ขยายความคำว่า ศีล และขยายลงไปถึงเป็นผล มีการสำรวมอินทรีย์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้วทำให้เกิดเพราะมีสติสัมปชัญญะ นำเป็นสติสัมโพชฌงค์ มีธัมมวิจัยแล้วก็พากเพียร แยกแยะ แล้วก็ทำให้เกิดการพิจารณาเห็นด้วยปัญญาอันยิ่ง ก็จะมีพลังงานสูงขึ้น จนกระทั่งเข้าใจ ทำลายพลังงานของกิเลส พลังราคะโทสะโมหะสู้ไม่ได้ มันอ่อนตัวไม่กล้าสู้หน้าเข้ามาใกล้ไม่ได้ ก็ใช้ภาษาอธิบายมันจะเป็นจริงเลย พิสูจน์ได้ กิเลสหมดไม่เข้ามาใกล้รัศมีเลย
มันจะไปเกิดสัมผัสเหตุที่เคยเกิดกิเลส จะสัมผัสในลาภยศสรรเสริญ เงินทองข้าวของรูปเสียงกลิ่นรสสัมผัสต่างๆอะไรก็แล้วแต่ ที่เคยเกิดกิเลส แต่ตอนนี้ไม่มีกิเลส ก็แสดงว่าเมื่อทำได้แล้ว สติแข็งแรง สัมปชัญญะดี ปฏิบัติโยนิโสมนสิการได้ดี สุจริต 3 เกิด วิชชา วิมุติ เกิด นิวรณ์ 5 ก็หายไป
สติก็จะมีความแข็งแรงขึ้น รู้ทั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่ใช่ตื่นรู้แต่ในมโน พอลืมตาก็ไม่รู้เรื่องเลย ถูกหลอกถูกครอบงำไปหมดเลย เหมือนอย่างมหาบัว ไม่รู้เรื่องหรอก เป็นอรหันต์ แต่ติดกินหมากไม่ขาดปาก ก็ยังไม่รู้ว่าตัวเองติดในรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส อย่างอื่นไม่รู้ว่าติดอะไรบ้าง แต่หมากนี้รู้ว่าติด แต่ท่านก็ไม่รู้เรื่อง การสำรวมอินทรีย์ โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยคะ ก็ไม่รู้เรื่อง แล้วไปหลอกคนอื่นว่าหมากพลูไม่ใช่สิ่งเสพติด มันเป็นบาป ไปบิดเบี้ยวคำสอนพระพุทธเจ้า มันเป็นกรรมที่ท่านทำ มันก็เป็นบาปของท่าน อาตมาไม่ได้เป็นคนกำหนดบาปบุญให้ท่าน ท่านทำของท่านเอง แล้วทำให้คนอื่นพลอยหลงผิดไปด้วย คนที่เขาศรัทธา ก็จะไปบอกผิดๆ แสดงผิดๆทำให้ดูจนตาย
ซึ่งขออภัยที่เอาท่านมาเป็นตัวอย่าง ต้องขอบคุณท่านที่เป็นตัวอย่างให้เรา ก็เอามาอธิบาย แต่เราไม่เอาอย่างหรอก
เมื่อสติเป็นอาริยะได้
ตัณหาสูตร
-
การไม่คบสัตบุรุษ เป็นอาหารของ.. การไม่ได้ฟังสัทธรรมที่ถูกต้อง
-
การไม่ได้ฟังสัทธรรม เป็นอาหารของ.. ความไม่มีศรัทธา (หรือศรัทธาผิดๆ)
-
ความไม่มีศรัทธา (ศรัทธาไม่บริบูรณ์) เป็นอาหารของ.. การทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย (กระทำใจไม่เป็น)
-
การกระทำในใจโดยไม่แยบคาย (หรือทำใจไม่เป็น) เป็นอาหารของ.. ความไม่มีสติสัมปชัญญะ .
-
ความไม่มีสติสัมปชัญญะ (หรือทำสติไม่เป็น). .เป็นอาหารของ.. ความไม่สำรวมอินทรีย์
-
การไม่สำรวมอินทรีย์ เป็นอาหารของ.. ทุจริต 3 (กาย,วาจา,ใจ ทุจริต)
-
ทุจริต 3 เป็นอาหารของ.. นิวรณ์ 5
-
นิวรณ์ 5 เป็นอาหารของ.. อวิชชา
-
อวิชชา เป็นอาหารของ ภวตัณหา
(พตปฎ. เล่ม 24 ข้อ 62)
พ่อครูว่า…เมื่อคุณพบสัตบุรุษ
อาหารสู่วิชชา-วิมุติ . . . . .
(อวิชชาสูตร พตปฎ. เล่ม 24 ข้อ 61) .
-
การคบสัตบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ . .
- การฟังสัทธรรมบริบูรณ์ ย่อมทำศรัทธาให้บริบูรณ์
ถ้าคุณตั้งใจฟังให้ดีเอาไปปฏิบัติก็จะเกิดศรัทธา ฟังสัตบุรุษให้บริบูรณ์ท่านพูดว่าอย่างไร แล้วคุณก็จะเอาไปปฏิบัติก็จะเกิดศรัทธาที่บริบูรณ์ได้ฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์
-
ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมทำมนสิการ
- โดยแยบคายให้บริบูรณ์
- การมนสิการโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ . . สติสัมปชัญญะบริบูรณ์ ที่จะรู้ทันผัสสะ รู้ทันเวทนา
- สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ . . ย่อมทำให้ความสำรวมอินทรีย์บริบูรณ์
- ความสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้สุจริต 3 บริบูรณ์ คือ กาย วาจา ใจ เลิกทำการงานทุจริต
- สุจริต 3 ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้สติปัฏฐาน 4 บริบูรณ์
- สติปัฏฐาน 4 ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้โพชฌงค์ 7 บริบูรณ์ .
- โพชฌงค์ 7 ที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้วิชชาและวิมุติ บริบูรณ์ (อวิชชาสูตร พตปฎ. เล่ม 24 ข้อ 61)