630805_พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ สมาธิพุทธอันมีอานิสงส์จากการฟังธรรม
ดาวโหลดเอกสารที่ https://docs.google.com/document/d/1jRUp8Pv8RKLFY3nxKxhTyWR27cSvJpjlTatxEiiN0sA/edit?usp=sharing
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1mNCdptzS65GvCUc45wYZIhzazSqv8ezF/view?usp=sharing
และยูทูปที่ https://youtu.be/LrnYZXGo-eQ
สมณะฟ้าไท…วันนี้เป็นวันพุธที่ 5 สิงหาคม 2563 ราชธานีอโศก วันนี้เราได้เห็นข่าวใหญ่ที่ประเทศเลบานอน มีการระเบิดมีคนตายเป็นร้อยคนบาดเจ็บ 4 พันกว่า อาคารที่ระเบิดมีแอมโมเนียมไนเตรตอยู่ 2750 ตัน ซึ่งมันเป็นส่วนประกอบของปุ๋ยเคมี ทำให้เราเห็นโทษภัยของปุ๋ยเคมี เราก็มาสร้างอาหารไร้สารพิษ จากปุ๋ยอินทรีย์กัน
พ่อครูว่า…เราก็มาเริ่มที่ sms
SMS วันที่ 2 ส.ค. 2563
คำสรรเสริญเป็นของต่ำ คำตำหนิเป็นของสูง
_Wichya Tumnine (วิชญา ตุ้มนาย) : การชื่นชม คำพูดให้กำลังใจ จะทำให้เกิดมิตรเพิ่ม คือเกิดสิ่งดีครับ
พ่อครูว่า…ก็เป็นได้ เป็นเรื่องตื้นๆ แต่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า การชมเป็นเรื่องเลว อาตมา
คำตำหนิ เป็นเรื่องสำคัญ เป็นเรื่องที่จะแก้ไขปรับปรุงตัวเอง มันสำคัญ ความไม่ดีอยู่กับเรา 1 วินาทีมันก็ไม่ดี 1 วินาที มันอยู่กับเรานานเท่าไหร่มันก็ไม่ดีเท่านั้น คนเราควรจะรู้แต่คนเราไม่ค่อยรู้ ต้องมีคนบอกให้ ตำหนิให้ แล้วก็อย่าไปรังเกียจคนตำหนิ การตำหนิเป็นเรื่องเจริญ การชมเชยเป็นเรื่องเสื่อม นี่เป็นเรื่องที่เป็นโลกุตระจริงๆ คำพูดคำตรัสพวกนี้ของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสไว้เป็นเรื่องทวนกระแสมนุษยชาติ ไม่ใช่เรื่องไม่ดีไม่งามแต่เป็นเรื่องประเสริฐเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ ผู้ที่ศึกษาให้ดีๆแล้วก็ทำความเข้าใจได้ดีๆ มันจะเจริญ จะพาให้เราก้าวหน้าได้ดี
พ่อครูว่า…อาตมากล่าวตำหนิ ไม่ได้กล่าววิวาท เป็นแต่เพียงผู้ฟังมีจิตคิดว่าอาตมาก่อเหตุวิวาทขัดแย้ง แต่ไม่ใช่ มันเป็นสัจธรรมเป็นความจริง ที่ว่า เมื่อเรารู้ความจริงธรรมะสิ่งที่ถูกเป็นเช่นนี้ สิ่งที่ผิดเป็นเช่นนี้ แล้วเขาก็มายึดสิ่งที่ผิดกัน ยึดกัน ปฏิบัติแล้วก็เอาจริงเอาจัง พากันผิด ลงนรกกันไป อาตมาก็มันก็ต้องสงสาร เห็นแล้วว่ามันผิด มันทำความไม่ถูกต้องแล้วก็เอาจริงเอาจัง อาตมาก็ต้องช่วย เอาพระไตรปิฎกมาอ้างอิงยืนยัน อ่านให้ฟังก็ไม่ค่อยฟัง จมยึดถือในสิ่งที่ตนติดยึดหลงผิด ถ้าหากมาฟังบ้างก็จะเป็นกุศล เป็นสิ่งที่ดีงามบ้าง อาตมาก็ไม่ได้หวังหรอก แต่ผู้ที่มีการใส่ใจในการศึกษาอันนี้ก็น่าโมทนา
พระไตรปิฎก เล่ม 29 ข้อ 605 (พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า) ก็ความสรรเสริญนั้นเป็นของน้อย ไม่พอเพื่อสงบกิเลส ข้าพระองค์ย่อมกล่าวผลแห่งความวิวาทเป็น 2 อย่าง
บุคคลเห็นโทษแม้นั้นแล้ว เห็นอยู่ซึ่งภูมิแห่งความไม่วิวาทว่า เป็นธรรมชาติเกษม ไม่พึงวิวาท.
[606] คำว่า ก็ความสรรเสริญนั้นเป็นของน้อย ในคำว่า ก็ความสรรเสริญนั้นเป็น
ของน้อย ไม่พอเพื่อสงบกิเลส ความว่า ความสรรเสริญนั้นเป็นส่วนน้อย ต่ำช้า นิดหน่อย
ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความสรรเสริญนั้นเป็นของน้อย. คำว่า ไม่
พอเพื่อสงบกิเลส ความว่า ไม่พอเพื่อยังราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ มารยา ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความเมา ความมัวเมา กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุศลาภิขารทั้งปวง ให้สงบ เข้าไปสงบ ดับ สละคืน ระงับไปทั้งปวง อกุศลาภิสังขารทั้งปวง ให้สงบ เข้าไป สงบ ดับ สละคืน ระงับไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความสรรเสริญนั้นเป็นของน้อย ไม่พอ เพื่อสงบกิเลส.
พ่อครูว่า…เพราะฉะนั้นอาตมาจึงน้อยคำที่จะกล่าวคำสรรเสริญ มีเป็นวาระบ้าง แต่ธรรมดาก็เอาแต่ตำหนิ ที่ต้องตำหนินี้เพราะว่าผิดกันมาก มากจนกระทั่งอาตมาเคยกล่าวไปแล้วว่า มันไม่เหลือแล้วความถูกต้องของศาสนาพุทธ ที่ได้กล่าวไป ก็ต้องขออภัยถ้าอาตมาพูดความจริง คนใดตั้งใจฟังด้วยดีว่าอาตมาอธิบายธรรมะ ไม่ได้อธิบายด้วยความคะนอง ไม่ได้อธิบายด้วยความอวดดี อยากใหญ่ ด้วยกิเลสอะไรต่างๆนานา ไม่มี
อาตมามาอธิบายธรรมะ เพราะต้องการทำความถูกต้อง มาเปิดเผยธรรมะ มารื้อมากอบกู้เอาความถูกต้องของธรรมะพระพุทธเจ้ากลับคืนมา ก็มันผิด พูดเบาๆเพราะว่าสงสารเขามันผิดๆ
เขาหลงติดยึดถืออาจารย์ ติดแล้วเขาได้อะไร เขาหลงในลาภยศสรรเสริญๆ ความยึดถือที่เขาได้เหล่านี้จะได้รับความเคารพนบนอบ คนหลงผิดก็เคารพนบนอบกัน จมลงไปกันทั้งคู่ คนไปหลงเคารพนับถือสิ่งที่ผิดเป็นถูก จนกระทั่งยกย่องผู้ลงนรกเป็นพระอรหันต์อะไรอย่างนี้ มันสุด ไม่รู้จะทำอย่างไรแล้ว มันสุดๆเลย ในศาสนาพุทธด้วยกัน ถ้าเป็นเดียรถีย์ก็แล้วไปเถิด เขาจะผิด เขาจะลงนรก หกคะเมนตีลังกาอะไรก็เป็นเดียรถีย์ เขาไม่รู้ก็แล้วไป ก็ต้องปล่อยวางเขา แต่นี่เราเป็นชาวพุทธด้วยกันลูกพระพุทธเจ้าด้วยกัน มันก็สุดสงสารก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ก็ได้แต่พูดความจริงใจอันนี้ ไม่รู้จะมีคนเห็นจริงในความจริงใจอาตมาแค่นั้นเอง
ขยะวิทยาน่าส่งเสริม
_วิชาญ คำสุข : เทศบาล อบต. ตอนนี้ส่งเสริมการทำธนาคารขยะกันเยอะครับ
พ่อครูว่า…ดีน่าชื่นใจ เรื่องดูแลขยะเป็นเรื่องสำคัญมาก อาตมาจึงเอาเรื่องขยะเป็นหนึ่งในสามอาชีพกู้ชาติ ขยะนี่ ไปจนถึงขยะของอากาศ ทำให้อากาศเสียทำให้บรรยากาศของโลกเสีย มันเป็นขยะ นั่นเป็นขยะทางวัตถุ ขยะทางจิตวิญญาณทำให้คนเสื่อมอย่างแท้จริง ขยะทางจิตวิญญาณ ต้องมาเรียนรู้ว่าอะไรคือขยะทางจิตวิญญาณ
กิเลสนี่ล่ะคือขยะตัวร้าย แล้วมันมีสารพัดนานา ต้องมาเอากิเลสออกเอาขยะออกไปจากจิตให้ได้ เห็นไหมว่ามันเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเผื่อว่าเราเองเราศึกษากันอาตมาว่าขยะเป็นสิ่งที่ดี ที่จะกู้ชาติได้ อาตมาพูดแต่กสิกรรมไร้สารพิษปุ๋ยสะอาด ขยะวิทยา มาศึกษาเรื่องขยะวิทยาปรับปรุงตัวเองปรับปรุงสังคม รับรอง กู้ประเทศได้ แล้วทำอย่างพวกเราทำเราไม่ใช่เก็บขยะแต่เพียงวัตถุเราเก็บทิ้งขยะที่เป็นกิเลสในจิต
พวกเรานี่นะ อาตมานี่ต้องเคารพน้ำใจเลย พวกเรา เคารพน้ำใจจริงๆ ฟังธรรมได้ทุกวัน 30 ถึง 50 ปี ก็ฟัง คนก็ฟังกันทุกวัน อาตมาเทศน์ให้คนฟังกันทุกวัน มีที่ไหนบ้างสังคมไหนบ้าง สำนักธรรมะที่ไหน เขาเทศน์อย่างพวกเรา จนกระทั่งคนข้างนอกเขาพูดว่าพวกนี้มันบ้าฟังธรรม เปิดจอมาเมื่อไหร่ก็เห็นหน้าเก่าๆ ฟังอยู่นั่นแหละ ฟังตั้งแต่หนุ่มๆจนถึงแก่ผมขาว ก็ฟังกัน แล้วไม่ใช่ว่าเราไม่ได้ประโยชน์ แต่เราได้ประโยชน์จริงๆชีวิตของเราทั้งชีวิตแต่ก่อนเราก็หลงโลกโลกีย์ เดี๋ยวนี้ก็มาอยู่กับธรรมะไปจนกว่าจะตาย เราก็รู้ทิศทางความเป็นอยู่ความดำเนินชีวิตจะไปอย่างนี้ ซึ่งมันเป็นเรื่องที่หายาก
แสดงว่าพวกคุณมาฟังธรรมไม่มีจิตที่บอกว่ามันน่ารำคาญมันฝืน คุณจะฝืนได้นานเท่าไหร่ ถ้ามันฝืน นี่แสดงว่ามันไม่ได้ฝืน มันไม่ได้ยากไม่ได้ลำบากในการฟัง แม้มันจะรู้สึกขี้เกียจบ้างนิดหน่อย แต่ก็เราเห็นคุณค่าเราเห็นประโยชน์ มันมีมากกว่าที่เราจะขี้เกียจเราโตกันแล้ว เรามีวุฒิภาวะแล้วไม่ใช่เด็กๆ เพราะฉะนั้นก็จะรู้ความสำคัญในความสำคัญรู้สาระในสาระ ถึงเวลาอันควร และที่สำคัญอาตมาว่า ก็ถ้าผู้ที่จะมาให้ความรู้ทางคนนะแต่เรามันสมควรมาฟังธรรมด้วย มันไม่ใช่จะพบง่ายๆ ถ้าจะว่าไปแล้วชาตินี้ก็ไม่ได้คบแล้วเป็นกุศลนักหนา ขออภัยพูดไปแล้วมันเข้าข้างตัวเองยกย่องตัวเองก็ต้องขออภัย
_Samsumg(ซัมซุง) : ที่ใดวุ่นวาย ถ้าใจเราไม่ไปวุ่นวาย ก็ไม่มีผล
พ่อครูว่า…ดี ทำให้ได้เถอะ แต่ข้อสำคัญคุณอย่าเอาแต่ปัจจัยเหตุผลความนึกคิดที่เป็นโศลกเป็นข้อคิด เป็นปรัชญาเป็นตรรกะเท่านี้ มันไม่พอหรอกจะต้องปฏิบัติธรรมให้เข้าสู่ทฤษฎีพระพุทธเจ้าให้ดี
_จาก ซึ้งพุทธ . ในพรรษานี้ดิฉันได้ตั้งตบะเอาไว้เช่นผู้ปฏิบัติท่านอื่นๆที่หวังทำความเจิญก้าวหน้าให้กับจิตวิญญาณของตนเอง สำหรับตบะดิฉันมีความตั้งใจทำเป็นอย่างดี แต่พลาดไปในช่วงแรก 1ครั้ง เพราะขาดสติ จึงรีบแก้กลับจวบจนกระทั่งถึงวันนี้ก็ร่วม 1 เดือนแล้วที่ดิฉันไม่ล้มเช่นครั้งแรก
ดิฉันตั้งใจจะเข้านอน 3 ทุ่มแล้วตื่นตี 4 ซึ่งพอเหมาะกับสุขภาพของตนเอง
แต่ 3 วันมานี้ตื่นตั้งแต่ตี 1 ครึ่ง ดิฉันถือโอกาสนี้เขียนหัวข้อธรรมที่พ่อท่านสอนและบางครั้งเป็นสิ่งที่ดิฉันได้พบในการทำงานแล้วมันมาตรงกับที่พ่อท่านสอน
อีกวันหนึ่งก็ลุกขึ้นมานั่งฝึกสติตามลมหายใจสลับกับการอ่านหนังสือบ้าง
ส่วนวันนี้ตื่นตี 1 ครึ่งไม่หลับอีกเช่นเคย จึงถือโอกาสจัดห้องหับของตัวเองและอื่นๆ จนได้เวลาอันสมควรก็จะไปทำงานตามหน้าที่
มีอีกสิ่งหนึ่งที่ดิฉันรู้สึกแปลกใจว่า ทำไมดิฉันไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยในการทำงานของตนเอง ทั้งงานในหน้าที่ และนอกหน้าที่ก็ตามหากสิ่งนั้นเป็นประโยชน์กับส่วนรวม มันมีกำลังเหมือนเด็กอายุ 15,16 ยังไงยังงั้นเลย(ทั้งๆปัจจุบันนี้ 70 แล้ว) และสามารถทำงานได้ตามเป้าหมายและเกินคาดด้วยค่ะ
ขอคำแนะนำว่าสิ่งที่กำลังเกิดอยู่กับตัวดิฉันควรจะปรับปรุงอย่างไรหรือไม่ค่ะ
พ่อครูว่า…ดีแล้วแต่ระวังสุขภาพให้ดีอายุเราตั้ง 70 แล้ว มันมีจิตใจมีปีติยินดีในสิ่งที่เราได้ทำ มันเป็นประโยชน์คุณค่า เราก็เลยหลงกับดีๆ มันก็เลยทำให้เราทำจนไม่คำนึงถึงสุขภาพไม่คำนึงถึงสมดุลจนพักไม่พอ เพียรมากเกินพัก ระวังอันนี้ให้ดีเท่านั้นเอง หากแรงดีไม่มีปัญหา พระพุทธเจ้าท่านจะนอนกี่ชั่วโมง คนที่จิตใจดีๆก็นอน 4 ชม. แต่ก็ควรจะมากกว่านั้นหน่อย อายุ 70 แล้ว
_สุดชดา …ที่พ่อครูเคยบอกว่า สถาบันพระมหากษัตริย์คือวิญญาณ
และอีกครั้งหนึ่งพ่อครูเทศน์ว่าเวลาคนจะมาปฏิสนธิมี3ส่วนคือ เชื้อพ่อ, เชื้อแม่และวิญญาณ
ทีนี้ถ้าพระมหากษัตริย์คือวิญญาณแล้วนั้น ประชาชนคือเชื้อพ่อ รัฐบาลคือเชื้อแม่ใช่หรือไม่คะ
พ่อครูว่า…คุณจะไปคิดเปรียบเทียบอะไรขนาดนั้น แม้จะเปรียบเทียบได้ แต่ภาษามันจะเกินไป ศีลอาตมาเคยบอกว่า ศีลเป็นแม่ ปัญญาเป็นพ่อ
สติ กับปัญญา อะไรเป็นพ่ออะไรเป็นแม่ สติ เป็นอธิปไตย ปัญญาเป็นอุตระ
ปัญญานี้เป็นความลึก แหลม คม สติ คือความรู้สึกตัวทั่วพร้อม สติควรเป็นแม่ ปัญญาก็ควรเป็นพ่อ เป็นต้น เราก็จะศึกษาสิ่งเหล่านี้ไปที่เป็นเรื่องของเทวะที่แปลว่า 2
ศาสนาอื่นตีแตกแยก เทวะไม่ออก คำว่าเทวะของเขาเลยกลายเป็นเรื่องตื้น เป็นเรื่องที่ไม่รู้เรื่อง แล้วนอกจากไม่รู้เรื่องแล้วก็หลงด้วย หลงงว่าเทวะนี่คือสภาพจิตวิญญาณที่ใหญ่ยิ่ง ที่ตีไม่แตก แยกแยะไม่ได้ ใครอย่าไปแย้งเป็นหนึ่งเดียว ไม่มีอะไรแตกแยกไปได้ไม่มีอะไรจะวิจัยวิจารณ์ได้ อะไรต่างๆนานา อย่างนี้แหละเป็นเรื่องที่เขาทำให้เขากลายเป็นไม่เป็นไรมาไหน จมอยู่ในจุดเดิม ทั้งๆที่โลกมันเคลื่อนไป มันไม่เที่ยงไม่อยู่ที่เก่า แล้วมีอะไรเกิดในมหาจักรวาลนี้ ทุกอย่างเลย ตั้งแต่ดินน้ำไฟลม จนกระทั่งถึงตัวสัตว์ คน เปลี่ยนแปลง
แต่ก่อนมีสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าไดโนเสาร์ ถ้าหากพระพุทธเจ้าเกิดในยุคที่มีไดโนเสาร์ก็จะมีองค์ประกอบที่มีไดโนเสาร์ แต่ในยุคนี้ มันมีปรมาณู คนคิดปรมาณู พระพุทธเจ้าก็จะสอนว่าอย่าไปใช้ เป็นเรื่องบาปเรื่องเลวร้าย แล้วคำสอนเทวะ จะยุคไหนก็เอาแบบนี้ มันก็คร่ำครึ ไม่ทันสมัย
มาพูดถึงศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นศาสนาแห่งสัจจะ สัจจะคืออะไร อดีต ปัจจุบัน อนาคตอะไรคือสัจจะ …ปัจจุบัน
ขณะปัจจุบันที่มีองค์ประกอบครบพร้อม เราทำกับสิ่งเหล่านี้ในปัจจุบัน คนที่ไปนั่งหลับตามันไม่มีปัจจุบันทางตาหูจมูกลิ้นกาย ตาดีๆ หูดีๆ ก็ไปทำให้มืดบอด
นิมนต์พ่อครูจิบน้ำ
สมณะฟ้าไท…[303] สาวัตถีนิทาน ฯ
ณ กาลครั้งหนึ่ง ท่านพระอานนท์เถระเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาท นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
-
คือ อิริยาบถทั้ง 4 ยืน เดิน นั่ง นอน 2. คือทั้ง 9 ทวาร
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ เธอชอบสารีบุตร
หรือไม่ ฯ
อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่
คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส จะไม่ชอบท่านพระสารีบุตร เพราะท่านเป็น
บัณฑิต มีปัญญามาก เป็นเจ้าปัญญา มีปัญญาชวนให้ร่าเริง มีปัญญาแล่น
มีปัญญาหลักแหลม มีปัญญาแทงตลอด มีความปรารถนาน้อย สันโดษ
เป็นผู้สงัดกาย สงัดใจ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร เป็นผู้เข้าใจพูด
อดทนต่อถ้อยคำ เป็นผู้โจทก์ท้วงคนผิด เป็นผู้ตำหนิคนชั่ว ข้าแต่พระองค์-
*ผู้เจริญ ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คน
มีจิตวิปลาส จะไม่ชอบท่าน ฯ
[304] พ. อย่างนั้นๆ อานนท์ ใครเล่าที่ไม่ใช่คนพาล ไม่ใช่คนมุทะลุ
ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส จะไม่ชอบสารีบุตร เพราะสารีบุตรเป็น
บัณฑิต มีปัญญามาก เป็นเจ้าปัญญา มีปัญญาชวนให้ร่าเริง มีปัญญาแล่น
มีปัญญาหลักแหลม มีปัญญาแทงตลอด มีความปรารถนาน้อย สันโดษ เป็นผู้
สงัดกาย สงัดใจ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร เป็นผู้เข้าใจพูด อดทน
ต่อถ้อยคำ เป็นผู้โจทก์ท้วงคนผิด เป็นผู้ตำหนิคนชั่ว อานนท์ ใครเล่าที่ไม่ใช่คน
พาล ไม่ใช่คนมุทะลุ ไม่ใช่คนงมงาย ไม่ใช่คนมีจิตวิปลาส จะไม่ชอบสารีบุตร ฯ
อานิสงส์ในการฟังธรรม
พ่อครูว่า..พวกคุณที่มานั่งฟังธรรมฟังได้ฟังดีนี่แหละ คนที่เข้าใจว่าการฟังธรรมเป็นของสำคัญ เป็นสิ่งประเสริฐกับชีวิต ชีวิตจะเกิดกี่ชาติ เราไปหลงลาภยศสรรเสริญ อยู่อย่างนั้น คน 7 พันล้านในโลกนี้ เอาแต่ชาวพุทธ เอาแต่ในเมืองไทย 95 เปอร์เซ็นต์ของคนในเมืองไทย ประมาณ 60 ล้านคน เขาก็ไปใส่ใจในมิจฉาทิฏฐิที่เป็นธรรมะ ในสำนักนั้นสำนักนี้อาจารย์นั้นอาจารย์นี้ อธิบายอย่างนั้นอย่างนี้ เขาก็ได้ยึดถือตามที่เขาเองมีสิ่งที่มันต้องกันมันถูกโฉลกกัน ตรงกันกับจิตใจที่เขาได้ยึดถือมา แม้มันจะผิดเขาก็ผิดไปด้วยกันอยู่ สิ่งเหล่านี้มันเป็นเรื่องที่ อธิบายไปยาก
คนที่มีทิฏฐิเป็นโลกีย์อย่างนี้ ภาษาบาลี คือเฉโก ซึ่งคำนี้ความหมายคนไม่เข้าใจกันแล้ว อาตมาไม่ได้ไปดูถูกเขา แต่มันมีบัญญัติภาษามา ศาสนาอื่นไม่มีปัญญา ศาสนาอื่นไม่มีความรู้โลกุตระ ปัญญาเป็นความรู้โลกุตระ
ปัญญา 8 นี้ มีปัญญาที่ต้องได้ยินจากพระพุทธเจ้าจากสัตบุรุษจากผู้อยู่ในฐานะครู คุณไม่ได้ยินได้ฟังจากคนเหล่านี้มาก่อนไม่มีทางเกิดปัญญาเลย อย่างปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 โกณฑัญญะ ภัททิยะ มหานามะ วัปปะ อัสสชิ
โกณฑัญญะเป็นคนแรกที่เกิด อัญญธาตุ เกิดจิต รับอันนี้ได้ เข้าใจเลย ชัดเจน ใช่เลย จิตเปลี่ยนออกจากโลกียภูมิออกมาเลย ไม่ใช่เรื่องเล่นนะ แต่เป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้งมากเลย คนที่จะเข้าใจอย่างพวกคุณที่เข้าใจอย่างนี้ที่อยู่ข้างนอกมีมั้ย.. อาตมาว่าไม่มีหรอก ที่เรียนด็อกเตอร์ ที่เรียนจบเปรียญ 9 กัน
สู่แดนธรรมว่า…หากเขามีความเข้าใจที่ถูกต้องก็จะไม่มาเถียงพ่อครู
พ่อครูว่า..คนที่มีปฏิภาณฟังธรรมะโลกุตระเข้าใจ จะรู้ว่าเข้าใจได้ในสิ่งที่แปลกใหม่ เป็นอัญญธาตุ เป็นความรู้ใหม่แปลกอย่างที่ไม่เคยได้ยิน แต่เข้าใจ แต่ฟังแล้วมันใช่ เกิดจิตอัญญธาตุ พอคนที่ฟังสิ่งที่แปลกใหม่แต่เข้าใจรับได้ นี่แหละคือตัวแรกที่ได้ฟังสิ่งแปลกใหม่ เป็นอานิสงส์ในการฟังธรรม 5 ประการ
แต่ถ้าใครฟังที่อาตมาพูดแล้ว มันแปลกใหม่จริงมันไม่เหมือนที่เคยได้ยินได้ฟังมาจริง แต่ก็บอกว่าพูดไม่เหมือนที่เคยรู้เคยได้ฟัง คุณก็อยู่ในกะลาครอบอย่างเดิม คุณไม่มีปรโตโฆษะ อย่างที่คุณรู้กัน ขออภัย เรารู้ มันโลกียะ มันเก่า แต่มันยังเก่าเอี่ยมอยู่ไง คนก็เลยยอมรับอยู่ มันเก่าแต่คนก็เอามาขัดสีฉวีวรรณก็เลยดูเหมือนใหม่ แต่เก่าเอี่ยม อาตมาว่า เขามีใหม่แล้วจ้า ลุง เขามีใหม่แล้วจ้า ป้า
อานิสงส์ในการฟังธรรม 5 ประการ
-
ผู้ฟังย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง (อัสสุตัง สุณาติ)
-
ย่อมเข้าใจชัดในสิ่งที่ได้ฟังแล้ว (สุตัง ปริโยทเปติ)
-
ย่อมบรรเทาความสงสัยเสียได้ (กังขัง วิหนติ)
-
ย่อมทำความเห็นให้ถูกตรง (ทิฏฐิง อุชุง กโรติ) .
-
จิตของผู้ฟังย่อมเลื่อมใส (จิตตมัสสะ ปสีทติ)
(พตปฎ. เล่ม 22 ข้อ 202)
จะรู้ว่าท่านมาสอนให้เราถอนจากสิ่งที่เคยยึดติด สิ่งที่เราไม่ควรจะไปให้มันมาเป็นนายของเรา ที่เราหลงใหล จะค่อยๆลดละจางคลาย รู้จักสิ่งต่างๆในโลก หากคิดว่ามันน่าได้น่ามีน่าเป็นเท่าไหร่ได้มามันก็จะยึดติด แต่นี่มันเป็นไปเพื่อความ ละหน่ายคลาย
อาตมายิ่งอธิบายก็ทำให้รู้และคลายในสิ่งที่ไม่ควรติดยึด คุณก็ยิ่งเกิดปัญญาโลกุตระเข้าใจมากยิ่งขึ้น บรรเทาความสงสัย พูดคุยก็จะรู้ว่าแต่ก่อนเราเคยโง่เราเคยงง ต่อมาได้ฟังก็หายสงสัย ทิฏฐิอุชุงกโรติ ทิฏฐิก็ตรง ทำความตรงให้แก่ทิฏฐิมากขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อพวกคุณฟังธรรมฟังได้ฟังดีฟังทุกวัน คนเขาแยกแยะไม่ได้ก็จะบอกว่าทำไมพูดซ้ำซากอย่างเก่าอยู่นั่นแหละไม่เห็นไปไหนเลย เข้าไปถึงนอกโลก Star Wars กันแล้ว มีอาวุธประหลาดกันแล้ว แย่งชิงเพชรนินจินดาแย่งดาวคนละดวงกันแล้ว นี่ยังงมงายอยู่ในโลกเก่าๆซ้ำซาก เขาจะรู้สึกยังงั้น นี่คือสัจจะที่อาตมาพยายามอธิบายให้ลึกให้พิสดารให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นจากที่ได้พูดมาแล้วอธิบายมาแล้ว ขยายความมาแล้ว แต่ขยายความมากยิ่งขึ้น ได้อานิสงส์ 5 ประการไหม ใหม่ขึ้น เข้าใจมากขึ้น ได้คลายความสงสัย ทิฏฐิตรงขึ้น ใจยิ่งใสและเลื่อมมากยิ่งขึ้น
บางคนง่วง ถ้าฟังแล้วไม่เข้าใจก็เลยไม่รื่นเริงในธรรมมันไม่ได้รับรส หากมีธรรมรส จะได้อานิสงส์ในการฟังธรรม 5 ประการ ใจมันก็ลดความโง่ทั้ง 5 ข้อนี้ ได้ฟังสิ่งใหม่ แล้วเข้าใจมากขึ้นในสิ่งเก่าก็ลดความโง่ลง บรรเทาความสงสัยลง ทิฐิมันก็ตรงขึ้นมันก็ลดความโง่ ใจมันก็ยิ่งใสสะอาดมากยิ่งขึ้น เป็นลักษณะสภาวะทั้งนั้น ฟังธรรมมีอานิสงส์ในการฟังธรรม ที่ฟังธรรมแล้วไม่จมอยู่แต่ในการฟังแล้วก็ได้แต่ตรรกะแต่ในจิตใจของคนมันเกิดสภาวะพวกนี้สภาวะ 5 อย่างนี้เป็นสภาวะนะ
สู่แดนธรรม..บางสำนักเขาบอกว่าถือว่าฟังธรรมอย่างเดียวก็พอแล้ว ปฏิบัติไม่ต้องทำ เขาก็ถือว่าเขาบรรลุ
พ่อครูว่า..ไม่มีปัญหาบรรลุได้ในการฟังธรรม เขาไม่บรรลุจริงก็เพราะว่าเขาไม่ถึงสัจธรรมจริง แต่ถ้าถึงสัจธรรมจริงการฟังธรรมนี้แหละก็บรรลุธรรมไม่ต้องไปนั่งหลับตาหรอก การปฏิบัติธรรมะพระพุทธเจ้านั้นมีเหตุแห่งการบรรลุธรรมได้ 5 ประการ
-
วิมุติด้วยการฟังธรรม จากศาสดาหรือผู้อยู่ในฐานะครู .
-
วิมุติด้วยการฟังธรรมจากภิกษุแสดงธรรม โดยพิสดาร
-
วิมุติด้วยการฟังการท่องบ่นจากภิกษุเท่าทร่ได้ฟังมา เล่าเรียนมาโดยพิสดาร
-
วิมุติด้วยการตรึกตรองใคร่ครวญธรรมที่ได้เล่าเรียนมาให้เข้าใจ
-
วิมุติด้วยสมาธินิมิต อย่างใดอย่างหนึ่ง เล่าเรียนมา ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดโดยปัญญา
(พตปฎ. เล่ม 22 ข้อ 26)
สมาธิ บาลีคำนี้แปลว่าจิตตั้งมั่น ถึงไม่ได้หมายความว่าไปนั่งสงบหลับตาให้จิตมันสงบ แต่สมาธินี้ยิ่งมีความรู้ ทำไว้ในใจจะมีการไตร่ตรองเหมือนกับการบรรลุธรรม 5 ประการ เกิดธรรมะทรงไว้ด้วยดี ธรรมะก็ยิ่งเจริญ
สู่แดนธรรมว่า…สมาธินิมิตเป็นอย่างนี้ได้ไหม เช่นพวกเรามีความละหน่ายคลายจางจากการกินอาหาร ตั้งต่อไปก็จำนิมิต อย่างนั้นเอาไว้
พ่อครูว่าได้…ธรรมะสมาธิไม่ได้มีลักษณะของความนิ่งทื่อแข็ง ศาสนาพุทธสอนให้มีความคล่องแคล่วว่องไวในจิตต่างๆ เป็นมุทุภูตธาตุ ปาคุญญตา ทั้งกายตาคุญญตา จิตปาคุญญตา ทั้งเวทนาสัญญาสังขารปราดเปรียวคล่องแคล่วว่องไว นี่คือจิตเป็นสมาธิ จิตเป็นสมาธิของพระพุทธเจ้าจึงตรงกันข้ามกับคนที่เข้าใจอย่างมิจฉาทิฏฐิ เป็นเดียรถีย์แบบนั้นมันถอนยาก หยั่งลงในที่หลง เพราะฉะนั้นจึงไม่เกิดสมาธิที่เป็นปัญญา สมาธิไม่มีปัญญาไม่ได้
ตั้งแต่ฌาน บุญ จะมีปัญญาเป็นเครื่องประกอบทั้งนั้นเลย ขาดปัญญาไม่ได้ มีปัญญาแทงตลอดด้วยดีด้วยปัญญา สมาธิ จะต้องเป็นอย่างนั้น ยิ่งไปหยุดคิด ยิ่งหลงแล้วบอกว่าเป็นนิโรธสมาบัติ หยุดนิ่งเท่าไหร่ แบบนั้นมันง่ายแต่มันไม่ถูกมันไม่ใช่ ของพระพุทธเจ้านั่งสมาธิคือ ต้องยิ่งรู้กิเลสในจิตตั้งแต่ตัวหยาบใหญ่ ก็วิจัยให้ออก แล้วฆ่าให้ได้ มันเล็กเท่าไหร่ก็ยิ่งต้องตื่น ต้องมีธาตุรู้ที่มีธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ ให้เจอกิเลส จัดการฆ่ามันอีก จนเหลือน้อยลงเท่าไหร่ก็ยิ่งตื่น ถ้าไม่ตื่นก็ยิ่งไม่เห็นกิเลสตัวเล็กละเอียด มันยิ่งตื่นนะ ศาสนาพระพุทธเจ้าสมาธินี้ยิ่งตื่นรู้ ชาคริยา จนสุดท้ายก็เป็นพุทธะเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ยิ่งเป็นผู้ตื้อ แข็งทื่อ มีแต่แจ่มใสยิ่งขึ้นเบิกบานยิ่งขึ้น มีแต่ตื่นยิ่งขึ้น มีแต่ตื่นรู้ๆๆ สมาธิของพระพุทธเจ้าเป็นเช่นนั้น
สมาธิที่เกิดสมบูรณ์แบบนั้น คือ จิต ทำให้กิเลสหมดไป จิตสะอาด แล้วจึงเป็นจิตตกผลึกลงไป สะสมจิตสะอาด มีมากขึ้นก็มีกองจิตสะอาด ก็มีกลุ่มจิตสะอาดของเรามากขึ้น มากขึ้น มันก็มีประสิทธิภาพรวมตัวกัน เป็นปึกแผ่นของจิตสะอาด สะอาดจากอะไร สะอาดจากอาสวะ สะอาดจากกิเลสหมด ถ้ายังมีอาสวะ จิตจะเป็นสมาธิได้อย่างไร มันต้องให้จิตสะอาดปราศจากกิเลส กิเลสหยาบ กลาง ละเอียดอย่างไรก็แล้วแต่ ต้องให้มันสะอาดแล้วก็ตกลง จนกระทั่งเป็นจิต มาก แน่น มีมากพอ แน่นพอ จึงเรียกว่า สมาธิ หรือ สมาหิโต เป็นกิริยาช่องที่ 3 ของสมาธิ
สมาหิโต เป็นการตั้งมั่นแล้ว เกิดได้อย่างไร เกิดจากการปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตวิมุตติญาณทัสสนะ หรือ ปฏิบัติ ศีล จรณะ 15 อปัณกธรรม 3 แล้วก็เกิดสัทธรรม 7 ฌาน 4 มีปัญญาคือ วิชชา ร่วมกันอยู่ตลอดสาย ในวิชชาจรณสัมปันโน เมื่อทำให้จิตล้างกิเลสได้ ดับอาสวะได้ จิตก็ตกผลึกลง ล้างอาสวะได้ จิตตัวปลายที่กิเลสหมดลงไปเป็นลำดับ คือจิตอุเบกขา มีองค์ธรรม 5
ปริสุทธา บริสุทธิ์ปราศจากกิเลส ทำมากขึ้นก็มีปริมาณและคุณภาพมากยิ่งขึ้น ปริโยทาตา ประสิทธิภาพของจิต มุทุภูตธาตุจิตก็ยิ่งแววไว รู้กิเลสเร็ว ยิ่งทำให้กิเลสออกได้เร็วได้คล่องได้เก่งมากยิ่งขึ้น ทั้งเจโตและปัญญา สองนัยของมุทุภูตธาตุ ก็ยิ่งเก่ง จิตของคุณก็ยังมีความบริสุทธิ์ กรรมการกระทำต่างๆจึงประกอบด้วยอัญญา เรียกว่ากัมมัญญา
การกระทำต่างๆที่ประกอบด้วย อัญญา หรือธาตุโลกุตระ เป็นธาตุปัญญา ธาตุเฉลียวฉลาด ก็กระทำการงานต่างๆได้ดีเพราะจิตมันมีมุทุภูตธาตุ จิตปริสุทธา ปริโยทาตา คม จิตสะอาด
ก็ยิ่งอยู่ในภพภูมิของปภัสสร ยอดเทวดา ปภัสสรากับเทวดา เป็นเทวดาที่ผ่องใสสะอาด นี่พูดเป็นบุคลาธิษฐาน จิตสะอาด ใสสว่างมากยิ่งขึ้น สภาวะมันก็ลึกซึ้งขึ้น คุณฟังธรรมจะเข้าใจว่า ประสิทธิภาพของประภัสรา มันก็คือการรวมความสะอาดของ ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา รวมเป็นประภัสรา ท่านแปลในพระไตรปิฎก ประภัสราว่าผ่องแผ้ว ปริโยทาตา ว่าผุดผ่อง ซึ่งถ้าไม่ขยายความแล้วก็จะคิดว่าเหมือนกัน
ก็เวลาผุดผ่อง มันผ่องก็แค่ผุดขึ้นมา แต่ผ่องแผ้วนี้มันผ่องแล้วมันแผ้ว มันก็สะอาดมากินขึ้นจริงไหมล่ะ เขาก็ใช้คำถูกเหมือนกันผุดของมันก็เริ่ม ผุดขึ้นมา แต่นี่มันผุดผ่อง ยิ่งผ่องมากขึ้นก็เลยยิ่ง แผ้วๆๆ
แล้วทีนี้จิตที่เป็นอุเบกขาฐาน เป็นจิตฐานนิพพาน ต้องสร้างจิตไม่สุขไม่ทุกข์แล้วก็มีคุณสมบัติอย่างนี้ อาตมาว่าไม่มีใครมาพูดหรอกอยู่ในธาตุวิภังคสูตร อยู่ในพระไตรปิฎกเล่ม 14 ข้อ 690 อาตมาเจออันนี้ ที่จริงอาตมาเจอนี้มันไม่ใช่ภาษาบาลีหรอกเ จอในภาษาไทย พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยเจอแล้วท่านแปลว่า บริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อน ควรแก่การงาน ผ่องแผ้ว ท่านแปลบาลี 5 ตัวนี้อย่างนี้
อาตมาก็ไปค้นบาลี ปริสุทธา=บริสุทธิ์ ปริโยทาตา=ผุดผ่อง มุทุ=อ่อน กัมมัญญา=ควรแก่การงาน ปภัสสรา=ผ่องแผ้ว
เขาไปแปล มุทุ ว่า อ่อน แต่ที่จริงสภาวะแล้วมันแข็งแรงมันมีทั้งความเร็วและความแข็งแรง เอาไปประกอบกรรมอะไรมันก็ประกอบด้วย อัญญา ปัญญา เป็นธาตุที่เป็นโลกุตระมันก็เป็นการงานที่ดีการงานที่ประเสริฐการงานที่เหมาะที่ควร มีสัปปุริสธรรม 7 มีมหาปเทส 4 อย่างนี้เป็นต้น มันยิ่งดีใหญ่ แล้วยิ่งทำงานจิตยิ่งเป็นอุเบกขา เป็นฌาน 4 จิตยิ่งปภัสสร ไม่ใช่จิตใจจะยิ่งช้าเฉื่อยและนิ่ง ไม่ใช่ แต่มันยิ่งคล่องแคล่ว กายปาคุญญตา จิตปาคุญญตา
สู่แดนธรรม..มุทุ ในส่วนที่เป็นเหตุก็มี 9 ประการ
จิตตั้งมั่น …เมื่อล้างกิเลส จิตที่สะอาดตกผลึก เป็นจิตตั้งมั่น ต้องสะอาดนะ ถึงเอาไปสะสมใส่เซฟไว้ เป็นจิตตั้งมั่นที่สะอาด เพราะฉะนั้นคุณสมบัตินั้นก็จะยิ่งทำให้เกิดองค์คุณทั้ง 9
ลักษณะ 9 ของ ฌานที่เป็นสมาธิพุทธแท้ มีดังนี้
-
สมาหิเต (จิตเต จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ)
-
ปริสุทเธ (จิตบริสุทธิ์ สุกสกาว ไม่มีอะไรที่จะแอบแฝง)
-
ปริโยทาเต (ผ่องแผ้ว อย่างแข็งแรงอยู่กับผัสสะ)
-
อณังคเณ (ไม่มีกิเลสเครื่องเศร้าหมอง)
-
วิคตูปักกิเลเส (ปราศจากแม้แต่อุปกิเลส )
-
มุทุภูเต (แววไวด้วยจิตหัวอ่อนดัดง่ายแก้ไขไว )
-
กัมมนิเย (ควรแก่การงานอันไม่มีโทษ ไม่มีกิเลส)
-
ฐีเต (จิตถึงความตั้งมั่น )
-
อเนญชัปปัตเต (จิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหว )
ล. 9 ข้อ 131
และจะรู้จักใช้สัปปุริสธรรม 7
๑. ธัมมัญญูตา (รู้จักทุกองค์ประกอบ)
๒. อัตถัญญูตา (รู้จักเนื้อหาเป้าหมาย)
๓. อัตตัญญูตา (รู้จักตนเอง)
๔. มัตตัญญูตา (รู้จักประมาณจัดสรรสัดส่วน)
๕. กาลัญญูตา (รู้จักกาลสมัย)
๖. ปริสัญญูตา (รู้จักหมู่กลุ่มบริษัทอื่น) .
๗. ปุคคลปโรปรัญญูตา (รู้จักบุคคลอื่น)
(พตปฎ. เล่ม ๒๓ ข้อ ๖๕)
มหาปเทส 4
-
สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย
-
สิ่งที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย
๓. สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย
-
สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.