640310_พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ พ่อครูผู้ปราบมารเพื่อยังพุทธศาสนาให้ถึง 5000 ปี
ดาวโหลดเอกสารที่ https://docs.google.com/document/d/1TLO2_gugX5iA_uLGWtSGxG6XXASdIIi8XoRq9GFGLXQ/edit?usp=sharing
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/17RkHwIsyScDiW1dUVd7yQa73CsnPNVsz/view?usp=sharing
และยูทูปที่ https://youtu.be/IOsr9tDzN5M
สมณะฟ้าไทว่า…วันนี้เป็นวันพุธที่ 10 มีนาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก อีกไม่กี่วันก็จะถึงงานปลุกเสกพระแท้ๆของพุทธครั้งที่ 44 วันที่ 4-10 เมษายน 2564 ก็มีญาติธรรมที่อยากจะมางานที่ราชธานีอโศก ทางกรรมการก็คิดขึ้นมาว่า ก็มาได้แต่มีระยะห่างเอาไว้ ให้มาร่วมกิจกรรมได้พอประมาณ ได้มาฟังพ่อครูใกล้ๆ เด็กๆก็อยากรับกลดจากหลวงปู่
อาตมาได้รับทัมป์ไดร้ฟ์จากใครก็ไม่ทราบ
พ่อครูว่า…ก่อนอื่นจะขอชื่นชมก็ชื่นชม จะว่าเห่อก็เห่อ ชื่นชมมากไป ก็ไม่มาก ก็คือ เรื่องของพืชพันธุ์ธัญญาหารเอามากัน(พ่อครูยกข้าวโพดขึ้น) รู้สึก กำลังวังชาจะถดถอยลงทั้งที่ก็ยังฝืน
เรื่องที่คนมาดูแลก็มีแต่พยาบาล ที่เป็นผู้หญิง แล้วก็ดูใกล้ชิด แต่ก่อนมีคนเดียวตอนนี้ก็มี 2 คน 3 คนเพิ่มมากขึ้น จริงๆแล้วอาตมาก็ว่าเป็นเรื่องที่ไม่ใช่เป็นผิดวิสัยอะไร คนอายุมาก และเป็นคนที่คนเคารพนับถือ ก็ต้องการจะช่วยให้ยังชีวิตยืนยาวไป ก็ต้องมีคนที่มีฐานะในสังคมที่มีประโยชน์คุณค่าต่อสังคม ก็มีคนช่วยเข้าไปดูแลใกล้ชิด ใกล้ๆอยู่ประจำ ซึ่งถ้าเป็นฆราวาส กับฆราวาส มันก็ไม่แปลกอะไร แต่ถ้าเป็นสมณะเป็นนักบวชแล้ว คนมาดูแลพยาบาลหรือหมอก็ต้องเป็นฆราวาส เป็นพระมาเป็นหมอเป็นพยาบาลก็มาทำหน้าที่ไม่ได้ ผิดวินัยอย่างนี้เป็นต้น ก็ต้องเป็นฆราวาส มันก็เลยมีความขัดแย้งตรงนี้
ซึ่งถ้าเป็นฆราวาสกับฆราวาส ใครกับใครก็แล้วแต่ ก็ไม่ได้ติดใจอะไร จะเป็นพยาบาลเข้าไปดูแลใกล้ชิดอย่างไรเขาก็ไม่มีปัญหา แต่พอเป็นสมณะก็เกิดประเด็นปัญหาขึ้นมา อาตมาก็ซับซาบ ความรู้สึกความห่วงใยอันนี้ ซึ่งอาตมาก็อยากจะบอกไปทั่วๆ ว่า
พวกเรานี้ ทุกวันนี้ คนชาวพุทธก็ตาม ไม่เข้าใจแล้วว่า อรหันต์คืออะไร อาตมาเป็นพระอรหันต์นะ บอกไปจนกระทั่งบอกจริงใจ ไม่ได้บอกเล่นด้วย ถ้าบอกเล่นก็ปาราชิกไม่เหลือแล้ว ก็สังเกตไปว่าอาตมาเป็นอรหันต์คืออะไร อาตมาประพฤติไป มันจะขัดแย้งกับความเป็นอรหันต์อย่างไรเมื่อไหร่มันจะเห็น ซึ่งก็ยังไม่มีอะไรขัดแย้ง ยังไม่มีอะไรที่จะเป็นเรื่องจับมาเป็นประเด็นอะไรได้ แต่ก็ระวังเอาความเป็นสามัญมาใช้กับอาตมา ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ใช่สามัญ เป็นวิสามัญแล้ว เป็นอรหันต์แล้วก็น่าจะยกไว้ แม้แต่พระพุทธเจ้า ก็มีการสวดสติวินัย ให้พระอรหันต์ ท่านไม่มีสิทธิ์ที่จะผิดวินัยได้แล้ว เป็นเรื่องลึกซึ้งมาก เป็นอรหันต์แล้วจะกังวลทำไมกับเรื่องพวกนี้ เชื่อไหมว่าอาตมาเป็นอรหันต์ อาตมาไม่มีเรื่องกาม แล้วจะมาระแวงอะไร ขนาดพวกเรายังไม่เชื่อ พวกข้างนอกก็คงไม่เชื่อก็ไม่เป็นไร แต่คนข้างในนี่สิ
ก็มีทั้งสมณะ ปัจฉาสมณะอาตมาดูแลใกล้ชิดตลอดเวลา อย่างท่านหนักแน่นเนี่ย ขนาดอาตมาเดินลงบันไดก็ประคอง อาตมาจะไปบอกเดี๋ยวจะหาว่าอาตมาทำเป็นอวดดี ท่านก็จับเสมอ อาตมาก็ว่าไม่ถึงขนาดนั้นนะ มีคนประคอง ไม่ใช่ แต่นี่ท่านก็จับตัวไว้ตลอด ขึ้นลงบันได อาตมาก็ว่าอาตมาไม่ได้ถึงขนาดนั้น ยังไม่ได้ตาลาย ไม่ได้รู้สึกผิดปกติอะไร แต่ก็เจตนาดี เป็นความหวังดี อาตมาก็ไม่ได้ห้ามอะไร ก็ดี อย่างนี้เป็นต้น
แม้แต่เรื่องอาตมาอธิบายไปถึงเรื่องผู้หญิงก็เหมือนกัน
-
อาตมาเป็นอรหันต์
-
อาตมาก็อายุปาเข้าไป 86 – 87 ปีแล้วยังระแวงอะไรกันนักกันหนาหนอ อายุก็ปาเข้าไป 86 – 87 ปีแล้ว เอาเถอะ อายุก็อย่าไปคิดอะไร อายุเดี๋ยวนี้ไว้ใจไม่ได้ แต่อรหันต์ก็น่าจะไว้ใจได้ แต่ก็ไม่ไว้ใจ แล้วก็ไม่เข้าใจว่าอรหันต์จะกังวลอะไรกับเรื่องนี้ แต่อย่างว่าล่ะ โลกวัชชะ มันห้ามยาก ก็เอามาพูด ร้องเรียนมา ยาวเลยทีเดียวว่า ให้ปรับเปลี่ยนได้ไหม
มันขัดแย้งกันตรงที่ว่า อาตมาก็อายุมากขึ้นต้องมีคนดูแลมากขึ้น ซึ่งถ้าเป็นทั้งโลกเขาไม่มีปัญหาเลยใช่ไหม ผู้ที่อยู่ในฐานะบริหาร อยู่ในฐานะทางสังคมพวกนี้ แล้วมีคนที่จะสมัครใจ อย่าว่าแต่สมัครใจ เขาต้องจ้างมาช่วยดูแลด้วย นี่ไม่ได้จ้าง แต่มาด้วยใจ มันก็เป็นธรรมดา ของความเข้าใจ ความเห็น
จริงๆอาตมาก็รู้ลึกๆ อจินไตย ว่า มันเป็นธรรมดาของอาตมา เพราะอาตมามันเป็นคนพิเศษ ที่มายุคนี้แล้ว มันขัดแย้งกับอะไรต่ออะไรของเขาต่างๆนานา เกือบทั้งนั้น อะไรก็ขัดหูขัดตาอยู่ตลอดเวลา เพราะว่ามันไม่เป็นสามัญ ไม่รู้จะเรียกว่าอะไร ไม่รู้จะพูดว่าอะไรดี ก็ค่อยๆติงกัน ปรับไปปรับมา มันก็ต้องเป็นอย่างนี้ไปอยู่อย่างนั้นก็ไม่รู้จะว่าอย่างไร เพราะอาตมาก็ ทั้งความเป็นจริงก็ควรจะเป็น ทั้งสิ่งที่มันมาก มากชนิดที่เรียกว่าไม่ได้จ้างนะ มันไม่ได้วาน มันไม่ได้ไปเรียกร้อง ไม่ได้บังคับ ก็เป็นความสมัครใจ เป็นความเจตนาดี เป็นความปรารถนาดี มีมากกว่านี้ด้วยซ้ำถ้าจะว่าไป ถ้าปล่อยไปจริงๆรับรอง เต็มแน่นหมดเลย กั้นได้ขนาดนี้ อาตมาก็ว่าเก่งแล้วได้เหลือแค่นี้ก็เก่งแล้ว นี่มันก็เป็นเรื่องจริงที่ซับซ้อนอยู่อย่างนี้
เพราะว่ามันไม่เคยเป็นอย่างนี้หรอก คนที่จะมาเป็นอย่างนี้ มันไม่มีคนอย่างอาตมา คนที่จะเกิดภาวะอย่างนี้กัน ก็อาตมาก็ได้พูดแค่นี้ ไม่รู้จะว่าอย่างไร ก็อธิบายกันไป เป็นการศึกษาก็แล้วกัน ก็ดูไป ไม่ใช่ชาวดูไบ กาลเวลาพิสูจน์คน นี่ก็เป็นเรื่องของคน เป็นเรื่องของกาลเวลา ก็พิสูจน์กันไป
อาตมาไม่ได้อ่านคอมเม้นท์ทั้งหมดเพราะยาว ก็คงพอรู้กัน แต่ละคนฟังแล้วก็สำนึกอะไรที่จะแก้ไขได้ก็แก้ไขแต่ละคนก็แล้วกัน
SMS วันที่ 8-9 มี.ค. 2564
อโศกเป็นโรงเรียนเอากิเลสออกจากสันดาน
_สติพล จนพัฒนา : **บางคนเขาบอกว่า..อโศกคือโรงเรียนดัดสันดานครับ.
พ่อครูว่า…จริง ที่นี่เป็นโรงเรียนบุญ บุญคือ สันตานัง ปุนาติ วิโสเทติ
คือ จะต้องชำระกิเลสในสันดาน (ปุนาติ) ให้หมดจด สะอาด วิโสเทติ บุญคือการชำระจิตสันดานให้สะอาดบริสุทธิ์ จนกระทั่งชำระกิเลสจากสันดานเป็นอรหันต์ เรียกว่าสิ้นบุญสิ้นบาป ปุญญปาปปริกขีโณ คือ การชำระบาปในจิตได้หมดสิ้นแล้ว พระอรหันต์จึงไม่ต้องอาศัยบุญเพื่อละบาปอีก จึงเป็นคนหมดบุญสิ้นบุญ นี่ล่ะยิ่งใหญ่มากคำว่า บุญ
อาตมาก็ต้องเขียนอธิบายคำว่าบุญ เพราะว่าคนชาวพุทธเองแท้ๆเข้าใจคำว่าบุญไม่ได้แล้วเข้าใจคำว่าบุญผิดเพี้ยนเป็นคำว่ากุศล มีความหมายเดียวกับคำว่ากุศล ซึ่งมันผิดกันคนละเรื่องเลย เพราะกุศลนั้นเป็นเรื่อง ทำเถอะ ไม่ต้องหยุด แม้แต่พระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสว่า เราไม่สันโดษในกุศล พระพุทธเจ้าก็ตรัสอย่างนี้ ท่านก็ตรัสว่าเราเป็นผู้สิ้นบุญสิ้นบาปแล้ว มีหลักฐานเลย แม้พระอรหันต์บางท่านก็บอก อาตมาเป็นผู้สิ้นบุญสิ้นบาป อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งเข้าใจภาษาคำว่าบุญกันไม่ได้ ก็ไม่รู้ว่าบุญคืออะไร ก็อยากได้บุญกัน คนที่อยากได้บุญคือคนโง่ จำไว้ คนที่ชัดเจนดีแล้วว่าโอ้โห..หมดบุญแล้วสบายแล้ว หมดสิ้นบุญไม่ต้องใช้บุญอีกเลยในชีวิตออกไปเถอะนิรันดร คนนั้นก็คือคนจบกิจเป็นคนเป็นอรหันต์ขึ้นไปเลย ซึ่งยิ่งใหญ่ ความหมายแค่นี้ก็ไม่ได้เข้าใจกันง่าย แต่เข้าใจยากอยู่นะ
เพราะฉะนั้นในเรื่องของคำว่าบุญก็ดี คำว่ากายก็ดี คำว่าสมาธิก็ดี คำว่าฌาน ก็ดี มันเป็นเรื่องที่จะต้องอธิบายกันอีกนาน
ยิ่งคำว่าฌาน คำว่าสมาธิ ก็เรื่องที่เขาทำกัน ปฏิบัติกันยิ่งใหญ่เลยนะ คำว่าฌาน คำว่าสมาธิ แต่มันไม่ใช่ฌาน ไม่ใช่สมาธิของศาสนาพุทธ มันเป็นของทั่วไปเป็นของเดียรถีย์ เป็นของสามัญโลกีย์ มันไม่ใช่เป็นของพระพุทธเจ้า
ฌาน ไม่ได้ปฏิบัติด้วยจรณะ 15 ซึ่งจะทำให้เกิดฌาน เมื่อปฏิบัติศีลปฏิบัติ อปันกปฏิปทา 3 แล้วก็จะเกิดจิตเป็นสัทธรรม 7 ทั้ง 11 องค์ ประกอบเป็นความเจริญของจิตที่เรียกว่า ฌาน 1 2 3 4
เรื่องง่ายๆเลย คัมภีรา (ลึกซึ้ง), ทุททัสสา (เห็นตามได้ยาก), ทุรนุโพธา (บรรลุรู้ตามได้ยาก), สันตา (สงบระงับอย่างสงบพิเศษ แม้จะวุ่นอยู่), ปณีตา (สุขุมประณีตไปตามลำดับ ไม่ข้ามขั้น), อตักกาวจรา (คาดคะเนด้นเดามิได้), นิปุณา (ละเอียดลึกถึงขั้นนิพพาน), ปัณฑิตเวทนียา (รู้แจ้งได้เฉพาะผู้เป็นบัณฑิต บรรลุแท้จริงเท่านั้น) (พตปฎ. เล่ม 9 ข้อ 34)
ก็สุดยอดในเรื่องของศาสนาพุทธ เป็นโรงเรียนที่ดัดสันดาน เป็นโรงเรียนที่รู้จักสัจจะ คำสอนของพระพุทธเจ้าตรง คำว่าบุญ คำว่ากาย คำว่าสมาธิ คำว่าฌาน คำว่าอะไรต่างๆ ที่ระบุบ่งบอกความหมายถึงสภาวะจริงของศาสนาพุทธนี้ จึงต้องศึกษากันอย่างสำคัญจริงๆ
ดีแล้วกลับเป็นชั่วได้เพราะอุปกิเลส
_Masarat Buranajaroenpong (มาศรัต บุรณเจริญพงษ์) : ดิฉันส่งลูกไปเรียนเพราะลูกอยากเรียนคะ ร.ร. สัมมาสิกขาหินผาฟ้าน้ำ ท่านไม่รับเด็กที่โดนพ่อแม่บังคับมาเรียนจ้า
พ่อครูว่า…อาตมาเคยบอกว่าการที่เอาลูกมาเรียน ถ้าลูกไม่ต้องการ ไม่เต็มใจก็อย่าไปบังคับกันมาเลย มันลำบากใจทรมานกัน เพราะที่นี่ไม่เหมือนโลกข้างนอกเขา เป็นเรื่องขัดเกลา ที่บอกว่าเป็นโรงเรียนดัดสันดาน มันหนักยิ่งกว่าคุกอีก นี่หนักยิ่งกว่าคำว่าคุกอีก แต่เป็นคุกของปัญญาชน ที่ผู้สมัครใจจะเข้ามาอยู่ในนี้ เพราะเป็นคุกของปัญญาชน ส่วนคนไม่รู้ก็จะไม่เอา เพราะกลัวว่าสันดานเขาจะดีขึ้น แล้วก็ไม่เข้ามา ถ้าเข้ามาจะถูกดัดสันดาน เขาก็ไม่เอา
พูดแล้วก็น่าสงสารนะ ดีไม่ดีสันดานโลกีย์หนัก สันดาน หมายถึงสั่งสมอาสวะอนุสัย เขาก็สั่งสมกิเลส เป็นภาวะซับซ้อน คัมภีราวภาโส หลงในดี จนดีเลยเถิด ดีแตก จนดีนั้นกลายมาเป็นต่ำแล้วเขาก็ไม่เข้าใจ เขาไม่รู้ว่าดีตกต่ำได้อย่างไร เพราะเขาไม่เข้าใจอุปกิเลสที่ซ้อนทำให้คนยึดดีหลงดี ใช้ดี เป็นอำนาจไปเบ่งข่ม เบ่งข่มนี่ก็เสียแล้ว ใช้ดีเป็นตัวอวดอ้างถือดียกอ้างก็ผิดแล้ว ถ้าดีแล้วไม่ต้องยกดีไปข่มใคร
_ชำนิ จันทสุข : สังฆัง สะระนังคัจฉามิ ในกาลปัจจุบัน หมายถึง องค์กรบุญนิยมทุกๆด้านด้วยใช่ใหมครับ?
พ่อครูว่า…ก็ใช่ เพราะว่าเป็นคำกลางของพระพุทธเจ้า หมายถึงข้าพเจ้าขอถือพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง สังฆัง สะระณังคัจฉามิ ข้าพเจ้าขอยึดถือพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่อาศัยที่จะปรับปรุงตนเองศึกษากันไป คำว่า บุญนิยมทุกๆด้าน ด้านใดบ้าง
ด้านธรรมะนั้นแน่นอน บุญนิยม จะต้องมาทำความเข้าใจคำว่าบุญ แล้วก็ต้องใช้บุญให้เป็น บุญคือการชำระกิเลสจากสันดาน
ทุกด้านเลย ไม่ว่าจะเป็นด้านพาณิชย์ ด้านการงานทางโลก ด้านกิจการต่างๆนานา ทุกประการ ต้องลดกิเลส พูดชัดๆเลยภาษาไทยๆ ต้องทำบุญให้ลดกิเลส ทุกด้านไม่ละเว้นเลย หมดบุญ หมดบาป หมดกิเลส ถึงไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องบุญอีก
_มั่นใจพุทธ บุญเสร็จ : ช่วงที่ดูแลคุณพ่อ-คุณแม่ที่ป่วยรู้สึกดีใจทุกครั้งที่ท่านขับถ่ายได้ แรกๆนึกรังเกียจบ้าง แต่เมื่อนึกถึงว่าท่านก็เคยทำให้เรามาก่อน ขี้ใครก็เหม็นทั้งนั้น ทำให้ความรู้สึกนั้นหายไป บางท่านแนะนำว่าให้สูดเข้าแรงๆ หลังจากนั้นกลิ่นจะเบาบางลง เคยลองวิธีนี้ดูก็ได้ผลระดับหนึ่ง สำคัญที่ใจ ควรยินดีในหน้าที่ของลูกที่มีโอกาสปรนนิบัติท่าน????
พ่อครูว่า…ขี้ใครก็เหม็นทั้งนั้น ขี้แท้ๆนะไม่ใช้ขี้ไคล ขี้ไคลก็ยังเหม็นแล้ว แต่ขี้ใครหมายถึงขี้คนเลย ถ้ากินเนื้อสัตว์มากๆขี้จะเหม็นมากเลย แต่ถ้ากินพืชผักขี้จะไม่เหม็นเหมือนพวกกินเนื้อสัตว์หรอก ต่างกันไกลลิบลับเลย โดยธรรมชาติโปรตีนแบบเนื้อหมักแล้วเหม็น ไม่ได้ไปใส่ความไม่ได้ไปหาเรื่อง คนกินพืชกับคนกินเนื้อสัตว์แม้แต่ตดก็เหม็นต่างกัน ขี้ก็เหม็นต่างกันจริงๆ กลิ่นของกายก็ต่างกัน เหม็นต่างกัน คนกินเนื้อสัตว์กับคนกินพืชผักเหม็นต่างกันหมด เนื้อหอมต่างกัน คนกินพืชผักนี้เนื้อหอม คนกินเนื้อสัตว์เนื้อเหม็นจริง
_คอยใคร : ชอบฟังท่านกล้าจริง คุยสนุกดีครับ
พ่อครูว่า…มีสมณะเรารูปหนึ่งชื่อ สมณะกล้าจริง ตถภาโว อยู่สันติอโศก
_เกษม สันทอง : โดยสมมุติหรือโดยรูปแบบ สิกขมาตุอาจกำหนดด้วยการรักษาศีล ๑๐ ข้อ แต่โดยความเป็นจริงท่านรักษาศีลยิ่งกว่า ๑๐ ข้อ และเป็นที่น่าชื่นชมมากครับ สิกขมาตุหลายท่านแสดงธรรมได้ดีมาก ดีกว่าพระบางรูปในสังกัดมหาเถรสมาคมเสียอีก
พ่อครูว่า…สิกขมาตุเราจริงๆพูดกันแล้ว ในจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล สิกขมาตุเราทำได้ยิ่งกว่าพระภิกษุของเถรสมาคม ไม่ใช่ว่าชี หรือ แม่ทศ (ทศศีลมาตา)
ก็เป็นความจริง พูดไปก็เหมือนกับยกตนข่มท่านอยู่เรื่อยๆ ผู้มองเห็นก็เห็น พวกมองไม่เห็นก็ไม่เป็นไร ไม่มีปัญหาอะไร
สำรวมสังวรในปาติโมกข์และถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร
_ฟ้า เจือศีล : สำรวมสังวรในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร ฆราวาสไม่มีพระปาติโมกข์หรือมีในแบบของฆราวาส กรุณาช่วยอธิบายด้วยค่ะ
พ่อครูว่า…ปาฏิโมกข์ แปลว่า คำสอนของพระพุทธเจ้า มันเป็นคำใช้แทนกันได้กับอนุสาสนีคือ คำสอนของพระพุทธเจ้า แต่เป็นคำสอนที่เป็นหลัก ระบุลงไปว่าสำหรับใครสำหรับอะไร สำหรับกลุ่มไหนอย่างชัดเจนกว่าคำว่า คำสอนทั่วไป อนุสาสนี
พระปาฏิโมกข์เป็นคำสอน ที่ระบุลงไปบ้างว่า นี่สำหรับฆราวาส นี่สำหรับนักบวช แม้ที่สุด ไปเรียกกลุ่มของวินัย 227 ก็เรียกว่าปาติโมกข์ เอาไปใช้ระมัดระวัง ฝึกหัด อย่าให้ละเมิดผิดเพราะว่ามีอาบัติ วินัยมีอาบัติ แต่ว่าศีลไม่มีอาบัติ ศีล เป็นความเจริญของแต่ละบุคคลที่ปฏิบัติด้วยความเข้าใจ
ปฏิบัติ ศีล อปันกปฏิปทา 3 สัทธรรม 7 เกิด ฌาน เกิดวิมุติ มีปัญญา วิชชา 8 อะไรพวกนี้ได้เรื่อยๆไป ก็เจริญขึ้นพัฒนาไปตามลำดับ
ทีนี้คำงแปลของอาจาระ แปลว่า มารยาทอันบุคคลพึงประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ คือ ความประพฤติแปลสั้นๆ จาระหรือจรณะ เป็นคำไวยพจน์ใช้แทนกันได้ จาระ จริยะ คือ ความประพฤติ ความประพฤติที่ดี ความประพฤติไม่ล่วงละเมิดทางกายวาจา
ศีลสังวร หรือมารยาทอันดี คือ ความหมายของอาจาระ
_สู่แดนธรรม…มีเรื่องน่าเป็นห่วงว่า ตอนนี้น้องภูมิ ไปไหน ยังไม่มีใครพาไปส่งที่บ้านเลย (มีคนบอกว่า ไปกับ เอก เต็มบาตร)
พ่อครูว่า…โคจร แปลว่า เที่ยวไป เป็นที่เที่ยวไปแห่งอินทรีย์
โค หมายถึงสัตว์ชนิดหนึ่ง เป็นที่เที่ยวไปแห่งโค แปลว่าอย่างนั้น หรือ ลึกซึ้งเข้าไปหมายถึง โค ว่ายในน้ำ วาริโคจโร หมายถึง ปลาว่ายน้ำ
อินทรีย์ 5 คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
หรืออินทรีย์ หมายถึง กำลัง ยิ่งกว่านั้นอีก อินทรีย์หมายถึง การเที่ยวไปของจิตที่มันเจริญขึ้นไปเที่ยวไปสู่ขั้นสูง เรียกว่าปัญญา ปัญญินทรีย์
เที่ยวไปของจิตสู่ขั้นสูงเรียกว่า สัทธินทรีย์…วิริยินทรีย์ … สตินทรีย์…ปัญญินทรีย์
อินทรีย์เคลื่อนลงต่ำ ก็เคลื่อนสู่ความเสื่อมก็ได้ เคลื่อนไปสู่ความเจริญความสูงก็ได้
ทีนี้ถามมาว่า ความหมายของพระพุทธเจ้าที่ว่า สำรวมสังวรระวังในปาติโมกข์ พร้อมด้วยอาจาระ และโคจร
ก็ปฏิบัติประพฤติสำรวมสังวรระวังในพระปาติโมกข์
สำรวมสังวรระวังอะไร ก็ระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย สังวร ทวาร 5 ข้างนอก ทวารใจอีกทวารภายใน ในคำสอนในพระปาฏิโมกข์ ในสิ่งที่ท่านบอก อันที่ห้าม ว่าอย่าทำ อันที่ให้ก็ทำให้เจริญขึ้น ความหมายอย่างนั้น อธิบายรายละเอียดประมาณนี้
อาตมาพาทำอยู่แล้ว ด้วยความประพฤติโดยคำอธิบายทางพยัญชนะและภาษา ก็ยังรู้สึกข้องใจสงสัยซ้อนในรายละเอียดพวกนี้ อาตมาก็เก่งประมาณนี้
ชาติ กับ ภพ ต่างกันหรือไม่อย่างไร
_ฉลวย : คำว่า ภพ กับ ชาติ โดยยกตัวอย่างเป็นรูปธรรม ว่า เมื่อเช้าเห็นเส้นหมี่ผัดอยู่ในถาดที่ตู้ตักอาหาร
เห็นแล้วก็อดที่่จะตักมารับประทานไม่ได้ ทั้งๆที่ไม่มีส่วนผสมอะไรเลย นอกจากเส้นหมี่ล้วนๆ แล้วก็มีใบคึ่นฉ่ายนิดหน่อย อาหารประเภทเส้นๆ ไม่ว่าจะ เส้นหมี่ ก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ ถ้าเห็นที่ไหนละ รูป รส ฯลฯ จะต้องเข้ามาอยู่ในใจก่อน อย่างนี้เรียกว่าติดภพหรือเปล่าครับ
คำว่า ชาติ มีความหมายต่างกับคำว่า ภพ อย่างไร มาโยงกับกิเลสตรงไหน
พ่อครูว่า…ใช่ๆๆ
คำว่าชาติ ต่างกับคำว่าภพอย่างไร 1 และมาโยงกับกิเลสตรงไหน 2
คำว่าชาติมีความหมายต่างกับคำว่าภพอย่างไร
ภพ คือ แดนเกิด
ชาติ คือ อาการเกิด
ภพคือ แดนเกิด คือสถานที่ แหล่งที่ เป็นภาวะของรูปธรรม
ส่วนชาติ คืออาการของจิต มันเกิด
กามภพ ไปเกิดในกามภพ ก็คือจิตของเรามีกามเข้าไป แสดงพฤติกรรมของกามในจิต จิตเข้าไปได้กาม ไปติดอยู่ปั๊บก็ตกในภพ
อันนั้นมันเป็นเหตุเป็นปัจจัยกัน อย่างที่ปฏิจจสมุปบาทว่า มีภพก็มีชาติเป็นปัจจัย เมื่อมีชาติก็มีภพ เป็นปัจจัยแก่กันและกันระหว่างภพกับชาติ โยงกันตรงไหนก็โยงกัน เกิดอีกอันนึงก็เกิด เป็นแต่เพียงว่าอีกอันหนึ่งเป็นน้ำ อีกอันหนึ่งเป็นกิริยา ภพเป็นนาม ชาติ เป็นกิริยา
มันก็โยงเกี่ยวกันอยู่อย่างนี้ เป็นรูปนามคู่ ก็ดีแล้วล่ะรู้ตัวว่าเห็นเส้นไม่ได้ เป็นคนติดเส้น ดีล่ะ ไม่ไปทำราชการ ถ้าไปทำราชการจะวุ่นวายกับการเล่นเส้นยุ่งเลยนะ
ภพ เขาแปล ในพจนานุกรมว่า ภพ หรือ ภว หรือ ภ กับ ว คำแปล คือ ความมี ความเป็น หรือ ความเจริญ ความเกิด ไปเข้าหาคำว่าชาติ ความเกิด การเกิด การถึง เข้าไปถึงที่ เข้าไปสถิต มันเป็นตัวเป็นยิ่งกว่าชาติ ชาติ กรรมกิริยาที่ตกผลึกเป็นภพ
เช่น กามชาติ เป็นต้น มีอาการของชาติเกิดเป็นกาม เกิดปุ๊บ ก็สั่งสมเป็นภพเป็นกามภพ หรือสังสาระ คือ ความหมุนเวียนอยู่ในสภาพที่มีรูปกับนาม
ภพ ถือ เป็น สัสสตทิฏฐิ แปลใหญ่โตว่าถึงขั้น เป็นโลก เป็นแผ่นดิน ส่วนชาติ เป็นการเกิด ซึ่งเป็นคำกริยา ต่างกันตรงนี้ระหว่างภพกับชาติ ภพคือชาติที่เกิดตกผลึกรวมตัวเป็นก้อนจับกัน ส่วนชาติ คือ กิริยา เป็นปัจจุบันธรรมที่กำลังเกิดอยู่
พยัญชนะเราใช้ส่อให้รู้สภาวะ เราก็เรียนจากพยัญชนะที่บันทึกเป็นภาษาไว้ ไม่ว่าจะเป็นศาสนาไหนก็ตาม ศาสนาเทวนิยมก็เหมือนกัน ศาสนาของพุทธก็เหมือนกัน จะใช้พยัญชนะเป็นเครื่องสื่อในความหมายต่างๆ เพื่อที่จะรู้เรื่องราว รู้รายละเอียดของสิ่งที่หยาบ กลาง ละเอียด เข้าไปจนกระทั่ง นิปปุนา ละเอียดถึงขั้นนิพพาน ละเอียดถึงสภาวะสภาพนิพพานเลย คือยิ่งใหญ่ เป็นนิพพานก็สูงสุด
อาตมาตอนนี้เขียนหนังสืออธิบายถึงสภาพศาสนาสายศรัทธา กับศาสนาสายปัญญา แยกพยัญชนะคำว่าศรัทธา กับพยัญชนะคำว่าปัญญานี้ ให้เข้าใจกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลยเป็นเรื่องยากมากเลย แกนจิตของจิตนิยาม จะมีแกนจิตของมนุษยชาติ 2 สภาพ
แกนหนึ่งเรียกว่า แกนศรัทธา บางทีก็เรียกว่า แกนเจโต
อีกแกนหนึ่งคือ แกนปัญญา
หรือจะเรียกไปให้ลึกซึ้งว่า แกนพุทธ แกนโพธิ รู้ระดับพุทธหรือโพธิ ซึ่งเป็นความรู้ที่แตกต่างไปจากความรู้ ความฉลาดแบบโลกีย์ทั้งหลาย มันเป็นความรู้ เป็นความฉลาดที่เป็นอื่นไปจากคนส่วนใหญ่เลย
คนส่วนใหญ่อยู่ในแกนศรัทธา ส่วนใหญ่เลยทั้งโลก เพราะฉะนั้นศาสดาของทางโลกโลกีย์ก็เป็นแกนศรัทธาทั้งนั้น ไม่มีปัญญาหรอก แต่เขาไม่รู้ว่าปัญญาหมายถึง ความรู้ ความฉลาดที่เป็นโลกุตระ เขาไม่รู้ แต่เขารู้ว่าปัญญานี้มันสูง เป็นความเฉลียวฉลาดที่สูง ก็เลยใช้บัญญัติภาษาคำว่าปัญญาไปใช้เรียกของเขาด้วย ทั้งๆที่ภาษาบาลีเดิมสภาวะที่เขามีคือ เฉโกหรือเฉกา เขาก็เอาปัญญาไปเรียกแทนเสีย ปัญญาก็เลยถูกลดค่า ลดราคาของความเฉลียวฉลาด ซึ่งมันเป็นความเฉลียวฉลาดที่เป็นอุตตริมนุสสธรรม เป็นความฉลาดที่เกินคนโลกๆโลกีย์จะเข้าใจ เกิน
เพราะมันเป็นเรื่องของพุทธวิสัย เป็นวิสัยที่อจินไตย คุณคิดให้หัวแตกเจ็ดเสี่ยง ก็คิดไม่ออกว่ามันคืออะไร พุทธวิสัย
พุทธวิสัย ไม่ต้องไปคบคิดเลย ขบคิดให้ตายก็ไม่ได้ สายศาสนาพุทธ ศาสนิกชนแท้ๆจะมีความรู้ในระดับพุทธะ หรือโพธิ ไม่ง่าย เพราะเป็นพุทธะวิสัย ที่เรียกว่าโลกุตระ อาตมาก็ใช้พยัญชนะระหว่าง โลกียะกับโลกุตระ มันต่างกัน
โลกียะคือ โลกสามัญโลก โลกไหนก็แล้วแต่ เขาก็มีความรู้สมบูรณ์แบบเต็มที่อยู่ในโลกลูกนั่นแหละ แต่โลกุตระมันเป็นความรู้ที่ออกไปนอกโลก ไม่ใช่รู้แคบอยู่ในโลกนั้นเท่านั้น โลกุตระเป็นความรู้ที่ไปรู้นอกโลกอื่นอีก เกินกว่าโลกลูกที่คุณอยู่ คุณออกนอกความรู้ ออกนอกกรอบของความรู้อันนั้นไม่ได้ ไม่ใช่บังคับดูถูกดูแคลน แต่เป็นความจริงอย่างนั้นโดยอาจจะเป็นอย่างนั้น
คนที่สามารถเข้าใจโลกุตรธรรม ความรู้อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมันไม่ใช่ความรู้ที่คุณอยู่ในความรู้ของคุณที่คุณรู้ ดีที่สุดเป็นอัจฉริยะ เป็นศาสดา คุณก็อยู่ในกรอบของโลกีย์เท่านั้น แต่โลกุตระนั้นรู้จักโลกีย์อย่างเต็มที่ ดีที่สุดของโลกีย์ก็รู้ แล้วก็ทำดีที่สุดของโลกีย์ที่ดีที่สุดได้ เกินกว่านั้นอีก เกินกว่าตรงที่ว่า แม้ดีที่สุดก็ไม่ติดไม่ยึด สามารถมีดีที่สุดแล้ว ไม่เอา เลิกเลย โดยสลายจิตตัวเองที่จะต้องไปอยู่กับดีที่สุด วนเวียนอยู่กับดีกับชั่วกับ ชั่วกับดี มีกับไม่มีนิรันดร ไม่เลิกเลย ไม่มีนิรันดร มีก็ไม่มี ไม่มีก็ไม่มี ไม่มีทั้งมีและไม่มี ทั้งไม่มี เกินกว่าที่จะอยู่ไปกับโลกแคบๆที่มีแต่ดีกับชั่ว
ที่นี้ในโลกใหม่ที่ เป็นตัวติดยึด เขาไม่รู้กันเลยก็คือสุขกับทุกข์ อาการสุขอาการทุกข์เป็นอาการของโลกโลกุตระ เขาไม่รู้เขาก็ไม่เคยเข้าใจไม่เคยศึกษาว่า แล้วสุขกับทุกข์มันคืออะไรมันคืออุปาทาน ความสุขกับความทุกข์เป็นเรื่องมายาเป็นเรื่องผีหลอก สุขกับทุกข์เป็นซาตาน ในโลกเทวนิยมไม่รู้จักซาตานเลย ซาตานคือนายของพระเจ้า แต่พระเจ้าหลงตัวเอง ไม่เคยระมัดระวังซาตานที่สิงอยู่กับตัวเองอยู่ตลอดเวลา
พระพุทธเจ้าจึงหันมาสนใจซาตาน ผีมารหรือกิเลส แล้วรู้ความจริงให้ได้ว่ากิเลสคืออะไร สุดท้ายก็มารู้ว่า เอ็งเป็นมายาแท้ๆ เอ็งไม่มีตัวจริง เอ็งไม่มีตัวตน เอ็งเป็นเหตุแห่งทุกข์เอาความสุขมาหลอก แต่แท้จริงมันอันเดียวกันมันแยกกันไม่ออก เพราะฉะนั้นจึงทำลายทั้งสุขและทุกข์ออกไปหมดเลย สูญไปเลย เลิกเลย จึงเห็นชัดเจนว่า สิ่งที่มันเกิดมาเป็นจิตวิญญาณแท้ๆ มันคือสิ่งไม่มีตัวตนอะไรหรอก เมื่อมีอารมณ์มันก็เลยจับไม่ได้ว่า ปัดโธ่เอ๋ย มันไม่อยู่กับร่องกับรอยเรียกว่าไม่เที่ยง มันมีแต่แสวงหาทุกข์ แต่มันถูกมายาหลอกว่ามาหาสุข แล้วสุขในอะไรในโลก โลกมี ลาภยศสรรเสริญแล้วก็ตัวความสุข โดยไม่รู้ว่าสุขคืออะไร
สุขมันไม่มีตัวตนเป็นสุขอัลลิกะ สุขเป็นเรื่องขี้โกหก สุขมันเป็นเรื่องเท็จ เป็นเรื่องไม่มีจริง ซึ่งเป็นความรู้สูงสุดของศาสนาของพระพุทธเจ้า
ขออภัยที่อาตมาจะพูดต่อไปนี้ จะเป็นการอธิบายยกตัวยกตน เข้าไปร่วมกับสภาวะธรรมพวกนี้ อาตมารู้จักความสุขความทุกข์ จนกระทั่งรู้ว่า เรา..โถ.. มัววุ่นวายไปติดในอาการของสุขอาการของทุกข์นี่มันโง่ โง่อย่างชนิดที่เรียกด้วยภาษาไทยว่า โง่ชิบหายเลย โง่อย่างชิบหายวายป่วง ไปงมงายอยู่กับสุขกับทุกข์
เพราะฉะนั้นเมื่อไม่งมงายแล้วจึงจะมาเลิกความสุขความทุกข์ ก็ต้องรู้อาการของจิตของเรา อาการที่มันเป็นสุขคืออาการอย่างไร อาการที่มันเป็นทุกข์เป็นอาการอย่างไร ก็เป็นอาการที่ตรงกันข้ามกัน อ่านอาการนี้ให้ได้ แน่นอนอาการทุกข์คนก็ไม่ชอบก่อน ก็ล้างอาการทุกข์ ให้รู้ถึงเหตุแห่งทุกข์ เมื่อล้างอาการของเหตุแห่งทุกข์หมดไป ก็เหลือแต่อาการของสุขสุข ที่เรียกในภาษาว่า สุขด้วยความว่าง ทำจิตว่างๆ สบายๆ เหมือนอย่างท่านติชนัทฮันท์หรือท่านพุทธทาส ทำจิตอย่าให้มีความไม่สบายใจ เป็นความหมายตื้นๆแล้วก็ทำเอา โดยไม่เข้าใจเหตุของมันที่มาที่ไปของ ตัวตนสภาวะที่มีอาการเข้าไปยึดถือ อุปาทาน เป็นอาการอย่างไร อาการเข้าไปยึด พระพุทธเจ้าก็ใช้ภาษาวนมาหาว่า อย่าไปยึดทำให้จิตมันว่าง แล้วก็ทำได้เท่าที่ตัวเองประมาณ ตัวเองสัญญากำหนดหมายว่า อย่างนี้คือจิตว่างๆ แล้วก็ประมาณว่า มันไม่สุขไม่ทุกข์ มันเป็นอย่างนี้ มันว่างๆ
แล้วก็ตั้งภพตั้งชาติขึ้นมา ภพว่างๆ ภพไม่มีอาการสุข ไม่มีอาการทุกข์ แล้วก็กำหนดสัญญาขึ้นมาใหม่ เป็นนิรมาณกายอันหนึ่ง เป็นองค์ประกอบของรูปนาม ธรรมะ 2 ก็กำหนดได้ สร้างนิรมาณกาย คนที่เข้าใจภาษารู้จักภาษาของกันเรียกว่า สัมโภคกาย ต่างคนก็ต่างมีสัญญาของแต่ละคน ของตนเองก็เป็นส่วนของตนเอง ก็เลยเป็นอาทิสมานกาย เป็นกายที่ต่างคนต่างไม่เห็นของใคร คนนั้นจิตว่าง เขาทำของเขาได้ พูดกันรู้เรื่อง จิตว่างเหมือนกัน แต่คิดว่าของใครก็ของมัน ต่างก็อาทิสมานกาย ไม่เห็นไม่รู้ของใครคนอื่น ก็ได้กาม 3 อย่างนี้ ทั้งนั้นเลย
พระพุทธเจ้าก็ไม่เอาบัญญัติภาษาที่กำหนดด้วยกาย สัญญาอย่างนี้ ท่านก็มาเรียนรู้เหตุเลย ไม่ต้องไปงมงายกับสิ่งเหล่านี้ มาศึกษาเหตุตั้งแต่การเรียนรู้ภาวะ 2 ตั้งแต่มันรู้สึกสุขและทุกข์อย่างหยาบสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับอะไรก็แล้วแต่ ทางทวารทั้ง 6 สัมผัสทางทวารทั้ง 5 ตาหูจมูกลิ้นกายแล้วมาปรุงแต่งเป็นสุขเป็นทุกข์เป็นเรื่องทีละคู่เป็นเทวะ ล้างอย่างหยาบก่อน หมดหยาบล้างอย่างกลาง จนหมดก็ล้างอย่างน้อยต่อ จนมันหมด โดยอ่านสภาวะจากจิตจริงๆเลย โดยที่ไม่ใช่ว่าไปทำให้จิตมันว่าง สร้างภพความว่างๆขึ้นมา มันไม่จบหรอก ให้มาปฏิบัติจริงๆเลยกับสิ่งที่จะปฏิบัติคือ ต้องมีสิ่งสัมผัสเป็นเหตุเป็นปัจจัย สำรวมอินทรีย์ 6 ตาหูจมูกลิ้นกาย แล้วก็ตื่นรู้ให้เต็มทั้งข้างนอกข้างใน กาย วจี มโน มีสติเต็มร้อย เป็นชาคริยาเป็นความตื่น
สติเต็ม100 อยู่ข้างใน ไปนั่งหลับตาทำอยู่ข้างใน ฝันไปเถอะ ไม่มีทางที่จะมาล้มล้างความ หยาบ ของภายนอก ทางกาย ทางวาจา คุณจะเอามีดโกนยิลเลตต์ไปฟันกับมีดอีโต้เขาได้อย่างไร มันตลก คุณจะทำด้ามยิลเลตต์อย่างไรไปสู้กับด้ามอีโต้
คุณมีมีดโกนยิลเลตต์ 1 ล้านชิ้นกับคนมีอีโต้ 1 ล้านชิ้น ใครจะแหลกก่อนกัน มีดโกนยิลเลตต์คมกว่านะ ขวางใส่กันเลย กรีดพร้อมกันก็ได้ ยิลเลตต์ ก็กรีดไม่ติดต่อก็สับ ใครแหลกก่อนกัน ไม่มีทางสู้เลยระหว่างมีดโกนยิลเลตต์กับอีโต้
พวกที่หลงใหลได้ปลื้มกับสิ่งที่เล็กละเอียดเป็นคนมักได้มักเร็วใจเร็วด่วนได้ รู้จักรายละเอียดของต้นกลางปลาย จะเอาง่ายๆเร็วๆด่วนๆ ลัดไปเอาที่สุดเลยไม่รู้ต้นกลางปลาย น่าสงสารมาก นั่งหลับตาแล้วไปทำแต่ในจิต จบๆๆ แหม พวกนี้ไม่รู้จะทำอย่างไร อาตมาก็ใช้หอกเช้า 100 เที่ยง 100 เย็น 100 หมดไม่รู้กี่หอกแล้ว หอกหักหมด
นิมนต์พ่อครูจิบน้ำ
สมณะฟ้าไท…มุทุภูตธาตุ มีทางปัญญาและเจโต
พ่อครูว่า…ทีนี้ขออนุญาต ที่จะพูดพาดพิง ไม่ได้พาดพิงใครหรอก แต่จะพาดพิงตนเอง
อาตมาเกิดมาในชาตินี้มาทำงานศาสนาพุทธ โดยประกาศตนเองว่าเป็นโพธิสัตว์ก็ดี ตนเป็นผู้ที่มากอบกู้ศาสนาพุทธที่หมดเชื้อโลกุตระแล้วก็ดี อาตมาพูดด้วยความไม่ได้คะนอง ความหลง ด้วยความอวดดิบ อวดดีอะไร แต่พูดด้วยความจริงใจ ด้วยสัจจะสาระเนื้อแท้ของความจริง
อาตมาเอาคำหมายเหตุต่างๆที่ตั้งข้อสังเกตอาตมา แล้วก็จดหมายเหตุไว้ เขียนจดหมายมาถาม เขียนมารายงานว่าเขาเข้าใจอย่างนี้ รู้อย่างนี้ ซึ่งเคยอ่านมาแล้ว แต่เอามา
ทบทวนอีกที โดยที่เขาเขียนตั้งมาเป็น Case Study เป็นกรณีการศึกษา
เขายกคำพูดของอาตมาเอามาเป็นหลักฐานสื่อต่อสภาวะง่ายๆ เช่น
อาตมาเคยพูดไปว่า อย่าบอกว่าอาตมาคือพระสารีบุตร เพราะอาตมาเจริญยิ่งกว่านั้น อาตมาก็ได้พูดจริง แล้วอาตมาก็หมายถึงจริงด้วย โดยอาตมาพูดว่า ถ้าอาตมาเป็นพระสารีบุตร องค์ที่เกิดในยุคพระพุทธเจ้าจริง ใครอย่าว่าอาตมาเป็นพระสารีบุตรนะ ถ้าใครมาว่าอาตมาเป็นพระสารีบุตร เท่ากับดูถูกอาตมา อาตมาไม่ใช่พระสารีบุตรในยุคโน้นแล้ว เพราะอาตมาเจริญกว่าพระสารีบุตร ตรงนี้ฟังแล้วจะรู้สึกอย่างไร ขออภัยฟังแล้วอย่าเพิ่งมีโลหิตร้อนพุ่งออกจากปาก ที่ดูเหมือนคุยตัวเองเหลือเกิน เป็นอย่างนั้น เพราะงั้นใครจะว่าอาตมาเป็นพระสารีบุตรหรือไม่ก็ตาม อาตมาไม่ได้ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นพระสารีบุตร ถ้าอาตมาเป็นพระสารีบุตรก็พัฒนาตัวเองผ่านมาตั้ง 2,000 กว่าปี อาตมาจะเป็นพระสารีบุตรเช่นเดิมหรือ อาตมาว่าเสียเวลาจริงๆโง่ดักดาน ถ้ายังเป็นพระสารีบุตร อย่ามาดูถูกอาตมาอย่างนั้น
อาตมาจะเป็นใครก็ตาม คุณฟังธรรมะที่อาตมากล่าว ว่าคืออะไร ศึกษาให้ดีแล้วปฏิบัติตามที่อาตมาพูด แล้วคุณจะรู้ว่าเป็นพระสารีบุตรหรือไม่ ไม่มีปัญหาเลย เอาอันนี้คำพูดคำสอนคำกล่าวที่โพธิรักษ์พูดนี่แหละ ไม่ต้องพระสารีบุตรหรอก ไปยึดมั่นถือมั่นกันไม่เข้าเรื่อง จะเป็นหรือไม่เป็นก็ไม่เห็นประหลาดอะไร เอาปัจจุบันเป็นข้อยืนยัน
พ่อครูผู้ปราบมารเพื่อยังพุทธศาสนาให้ถึง 5000 ปี
ที่อาตมาพูดได้อย่างนี้เพราะอาตมาทำงานมา 50 กว่าปี มีคนที่ ได้ยินได้ฟัง เข้าใจได้รับการศึกษาตามที่อาตมานำพาทำ ตรวจสอบหลักฐานมีพระไตรปิฎกกับพฤติกรรม ที่อาตมาปฏิบัติประพฤติกับพวกเรามาประพฤติตาม สอดคล้องกับหลักฐานพระไตรปิฎกหรือไม่ ไม่มีอะไรจะยืนยันอ้างอิงได้เท่ากับพระไตรปิฎกใช่ไหม พยัญชนะมันอาจจะแปลไม่ตรงกับภาษาบาลีตรงที่เดียว แต่ก็ใช้ได้ดีมากอยู่แล้ว แปลเป็นภาษาไทยขนาดนี้อาตมาก็ต้องขอบคุณมากที่ท่านแปลจากพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีมา สื่อมาให้อ่าน เป็นภาษาไทย 45 เล่มนี้ ก็ขอบคุณอย่างยิ่งแล้ว ใช้ได้ ไม่ต้องดีกว่านี้ ดีขนาดนี้ ปฏิบัติตามให้ถูกต้องให้ดีเต็มที่เถอะ ใครจะเก่งรู้มากกว่านั้นเขาบอกว่าแปลมาผิดๆ จะปล่อยให้ถูกไหมก็เชิญ แต่ขนาดที่แปลไว้แล้วก็เป็นพระอรหันต์ไปตั้งร้อยชั้นแล้ว ปฏิบัติตามเถอะ
เพราะฉะนั้น ใครจะไปยึดถืออย่างไรก็แล้วแต่ อย่ามาบอกว่าอาตมาเป็นพระสารีบุตรอาตมาเจริญกว่านั้น นี่ก็เป็นคำพูดอย่างที่เรียกว่า ฟังแล้วอยากอ้วกแตกหรือน่าหมั่นไส้มากหรือเปล่า หรือฟังแล้วอาจจะบอกว่ากล้าพูดได้อย่างไรอาตมาพูดความจริง
-
อาตมาไม่รู้สึกหิวหรือกระหาย อันนี้ก็เป็นอจินไตย อาตมาพูดความจริงตรงๆพูดชัดเจน อาตมาอ่านอาการ ลิงค นิมิต ของจิตวิญญาณ เป็น
อาการของจิตที่มันเป็นสภาพ มีอาการของสุข มีอาการของทุกข์ มีอาการของชอบอาการไม่ชอบ มีอาการต่างกัน มีความต่างกันเล็กๆน้อย มันมีลิงคะ มันมีความต่างกันของ 2 สภาวะอยู่ในจิต จริงมั้ย
อาตมารู้จักจิต เจตสิก รูป นิพพาน อาตมาว่าจิตของอาตมาเป็นนิพพาน ถูกรู้ด้วยตัวเองด้วยปัญญาอันยิ่ง ปัญญา ญาณ วิชชา รู้อาการว่ามันไม่มีแล้วความต่าง ลิงค ของสองสภาพเทวะ
สภาพที่ต่างกันอยู่มันไม่มี มันมีหนึ่งเดียว จะเรียกด้วยภาษาว่าหิว กระหาย มันไม่มีอาตมาไม่เคยหิวข้าว ไม่เคยหิวน้ำ ไม่เคย ตั้งแต่อาตมาบรรลุธรรม รู้ความจริงต่อเวทนาหมดแล้วอาการผลัก อาการดูด อาการชอบ อาการชัง มีแต่อาการเฉยๆ ซึ่งพูดแล้วก็ยากมันเป็นอจินไตย
อาการอุเบกขา อาการฌาน เป็นเรื่องอจินไตย ที่เข้าใจไม่ได้ง่ายๆหรอก
บุคคลที่อยู่ด้วยกันมีสัจจะหนึ่งเดียวตรงกันคือนิพพาน จะเข้าใจกันว่าจริง ผู้ที่มีความไม่รู้สึกหิวกระหาย เช่นว่าร่างกายควรต้องให้อาหาร มันบกพร่องเกิดอาการ 32 ของร่างกายทำหน้าที่ของมัน มันมีอัตโนมัติ พอมันบกพร่องก็จะสะดุดตรงนั้นตรงนี้ อะไรที่ขาดแล้วแต่สรีระของแต่ละคน อวัยวะส่วนนั้นส่วนนี้ทำงานไม่เต็มที่ของมัน ของใครก็ตามที่สะดุดความไม่เต็มที่สมดุลก่อนก็แสดงอาการ ตับเป็นต้น หัวใจเป็นต้น ปอดเป็นต้น ไตเป็นต้น แม้แต่เรื่องของน้ำเลือดน้ำหนอง ต่างๆนานา มันก็ไม่เต็มเต็ง ไม่เต็มที่ของมัน บกพร่องทางด้านสรีระ ซึ่งก็สัมพันธ์ทางด้านจิต เขาก็เรียนรู้วิชาการทางแพทย์ วิชาการทางวิทยาศาสตร์ ก็พยายามทำให้สมดุลคงที่ มันก็ถูกแล้ว ก็ทำกันไป
ในความจริงที่ไม่รู้สึกหิวกระหายคือจิต แต่ร่างกายมันต้องการ มันโหยหา หรือมันขาด กว่ามันจะรู้สึกโหยหา ถ้าให้อาตมาอดข้าวก็ตั้งหลายวันกว่าจะโหย ทางร่างกาย เพราะจิตเราอยู่เหนืออาการทางสรีระ อย่างนี้เป็นต้น
เพราะฉะนั้นจิตมันเหนือกว่าสรีระ มันจึงไม่ได้รู้สึกหิวกระหายได้ง่าย ต้องอดไปตั้ง10 วัน 20 วัน 30 วันจึงโหย มันก็รู้สึกธรรมดา หากอดแค่ 3 วัน 4 วัน มันก็ไม่มีอะไรมากมาย ไม่มีอาการโหย ไม่ได้เร่งรัดเกินไป ต้องให้ได้ทันที เพราะคนเรามันทนได้
สมณะฟ้าไท…แสดงว่าสรีระของพุทธเจ้าที่ทำทุกรกิริยาเป็นร่างกายที่พิเศษ แสดงว่าพ่อครูก็มีสรีระพิเศษกว่าคนปกติทั่วไปใช่ไหมครับ
พ่อครูว่า…ใช่ เคยกินอาหารวันเว้นวัน ไปบิณฑบาตวันเว้นวัน แต่ว่าชาวบ้านขอร้องว่าจำวันที่ไปบิณฑบาตไม่ได้ ก็เลยเลิกฉันวันเว้นวัน ตอนนั้นทำเป็นเก๋เท่ แต่ฆราวาสเขายุ่ง วันนี้มาเดี๋ยววันนี้ไม่มา ปกติถ้ามาทุกวันสบายดี วันเว้นวันไม่ดีมันยุงยาก
_อาตมาเป็นคนแห้งมาแต่ไหนแต่ไร ก็พูดยาก อาตมาเป็นคนแห้ง ทางสรีระ เขาว่า เยี่ยวเหลืองแล้ว คุณก็อัดน้ำไปเดี๋ยวเยี่ยวก็ใส แต่มันก็จะเหลืองตามปกติของอาตมา แต่เขาว่าต้องกินน้ำ เยี่ยวจึงใส มันละลายออกมา ก็มันสีเหลืองสีเข้มอะไรก็เป็นธรรมดาก็เป็นเรื่องของอาตมา แต่เขาก็บอกว่าต้องใส อาตมาก็เลยจำนนต้องดื่มน้ำไป ดีไม่ดี สุขภาพเราจะดีกว่าเดิมด้วย หากไม่ต้องดื่มน้ำมาก สรีระของอาตมาตั้งแต่หนุ่มจนแก่ อาตมาก็ไม่ประหลาดอะไรเป็นแต่เพียงบางอย่างยากหน่อย คือ อาตมาเข้าใจเจตนาดีตามความรู้ เขาก็ยืนยันความรู้ว่าถูกต้อง ต้องอย่างนี้ ก็เป็นเจตนาดี เขากลัวบกพร่องผิดมาตรฐาน Standard ของเขา ก็เอา ที่จริงมันก็ลำบาก Standard ของอาตมาบ้างเหมือนกัน อาตมาก็จำนนเพราะพอทนได้ก็ไม่มีปัญหา อาตมาดื่มน้ำเพื่อผู้อื่น เป็นคนแห้งมาแต่ไหนแต่ไร
แต่จะให้อาตมาบวม มันคนละเรื่อง อาตมาไม่ใช่คนท้วม อาตมาเป็นคนแห้ง
_อาตมาไม่มีรสอร่อย มีแต่การรับรู้รสตามความเป็นจริง รสอร่อยและไม่อร่อย ถ้าคุณมีอร่อย คุณก็จะมีไม่อร่อย แต่อาตมาไม่มีแล้วอร่อยก็ไม่มี ไม่อร่อยก็ไม่มี รู้ความจริงตามความเป็นจริง รสของอันนี้มันก็เป็นของอันนี้ รสของอันนั้นมันก็เป็นของอันนั้น กลิ่นอันนั้นก็เป็นของอันนั้น รูปของอันนั้นก็เป็นของอันนั้น เสียงมันก็เป็นของอันนั้น 1 1 1 หนึ่งไม่มีสอง
นี่คือสภาพของที่อาตมาศึกษากับพระพุทธเจ้ามาเรียนและปฏิบัติธรรมกับตนเองได้แล้วอาตมาเป็นคนไม่มีรสอร่อย มีแต่รับรู้ความจริงตามความเป็นจริง
_อาตมาเคยถูกรถชนลอยกระเด็น กล้ามเนื้อแตกที่ขา กระดูกไม่แตก เกิดเป็นพังผืดมีรอยบุ๋มที่ขา แต่กล้ามเนื้อข้างในมันช้ำมันแตกมันบวมระบม รักษาตั้งหลายเดือน หายเสร็จแล้วกล้ามเนื้อมันก็จับตัวกันไม่เหมือนเดิมมันก็พิการแล้ว กลายเป็นขาบุ๋ม เนื้อและกล้ามเนื้อประสานกัน แต่ข้างนอกไม่มีแผล นี่ก็แสดงถึงอาการหนังเหนียวจริงๆ แต่ข้างในมันไม่เหนียวเพราะมันแรงมาก ข้างในมันแตก ก็มารักษากันตั้งหลายเดือน
_อาตมารับมอบหน้าที่จากพระสมณโคดม ให้มากอบกู้ศาสนาให้ถึง 5,000 ปี
พ่อครูว่า…อันนี้ยิ่งใหญ่มาก และมันก็จริงจัง มีหลักฐานอยู่ในพระไตรปิฎก มหาจัตตารีสกสูตร ในสัมมาทิฏฐิข้อที่ 10 ยืนยันชัดเจนว่า ผู้ที่จะมากอบกู้สืบทอดศาสนาพุทธในยุคที่มันเสื่อมแล้ว งั้นต้องเป็นผู้ที่มีความจริงมามีสัจธรรม เป็นโพธิสัตว์มากอบกู้
อาตมาว่าอาตมารู้ตัว รู้ความจริงว่าอาตมาเป็นผู้นั้น แล้วอาตมาก็ประกาศตัวเอง แล้วก็พิสูจน์ตัวเอง เอาพระไตรปิฎกมายืนยันตัวเอง พิสูจน์ตัวเอง เพราะอาตมาพูดตรงตามพระไตรปิฎกตั้งแต่โน้นมา เขาเข้าใจไม่ได้เขาไปแปลพระไตรปิฎกผิดเพี้ยนไปเข้าข้างเทวนิยมส่วนมาก
อาตมาก็มาขยายความกลับเป็นอเทวนิยม มาเป็นพุทธ เขาไม่เข้าใจความอเทวนิยมแล้ว จึงยาก เขาไม่ค่อยเข้าใจ คือไม่เข้าใจเสียเลย ไปยึดมั่นถือมั่นในทางเทวนิยม หรือยึดมั่นถือมั่นในพยัญชนะบัญญัติ เข้าไม่ถึงสภาวะ
มาพูดถึงสภาวะ สภาวะแรกของ สังโยชน์ข้อที่ 1 คือ สักกายะ
คุณต้องทำทิฐิ ความเห็น ความรู้ ความเข้าใจ เป็นตัวนำหน้าของปัญญา คุณจะเกิดปัญญาได้จะต้องมีสัมมาทิฏฐิ แล้วคุณจะต้องมีความรู้ในการวิจัยธรรม เรียกว่า ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์
จะมีความรู้ได้ต้องปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 ไปทีละคู่ๆ ด้วยรูปนาม เช่น มรรคองค์ 8 ต้องทำสัมมาทิฏฐิให้ครบ 10 ข้อ ถ้าคุณเข้าใจสัมมาทิฏฐิ 10 ข้อนี้ไม่ได้
ข้อที่ 1 เข้าใจเรื่อง การทำใจในใจ เรื่องการทำทาน ถ้าคุณทำใจในใจไม่เป็น ทานอย่างไรจึงมีผล มีอานิสงส์ หมายถึงมีผลมีอานิสงส์เป็นโลกุตระ แม้แต่การทำทานก็อ่านจิตตัวเองออก แล้วจิตของคุณสาเปกโข หวังจะได้อะไรตอบแทนหรือเปล่า
ถ้าคุณก็ทำใจในใจอยากได้อะไรตอบแทน คุณไม่มีผลไม่มีอานิสงส์ ถ้าหากไปหลงผิดได้สิ่งตอบแทนค่อยๆมีปฏิสัมพันธ์ มีการเกี่ยวข้องกับการตอบแทน เกี่ยวข้องกับภพชาติ ไปมีภพมีชาติ สั่งสมภพชาติ
ล.23 ข.49 ทานสูตร เทวดา 6 อย่าง พรหม 1 อย่าง
อันที่ 1 จาตุมหาราชิกา(ท้าวกุเวร ท้าววิรุฬหก ท้าวธตรฐ ท้าววิรูปักษ์) คือ ทำทานแล้ว
-
ยังมีความหวังให้ทาน สาเปกฺโข(มุ่งหวัง) ทานํ เทติ
-
มีจิตผูกพันในผลให้ทาน ปฏิพทฺธจิตฺโต(ผูกพัน) ทานํ เทติ
-
มุ่งการสั่งสมให้ทาน สนฺนิธิเปกฺโข(สั่งสม) ทานํ เทติ
-
ให้ทานด้วยคิดว่า เราตายไปจักได้เสวยผลทานนี้ ปริภุญฺชิสฺสามีติ(ให้ข้ามภพชาติ) ทานํ เทติ
คุณเข้าใจกันหรือ แล้วมีที่ไหนสอนว่าทานแล้วอย่ามีภพมีชาติ มีไหม ?
ลองตรวจดู สัมมาทิฎฐิ 10 ไล่ไปแต่ละข้อ ตั้งแต่ ทินนัง ยิฎฐัง หุตัง…
อย่างเก่งก็อธิบายไปตามพยัญชนะ หรือไม่ก็ทำตามจารีตประเพณีไป อาตมาพามาทำยังได้เนื้อได้หนังเลย ทำทานให้กิเลสลดได้เป็นหุตัง ข้อที่ 4 คือ
เป็นส่วนแห่งบุญ(ปุญญภาคิยา) ให้ผลวิบากแก่ขันธ์(อุปธิเวปักกา).
-
ทานที่ให้แล้ว มีผล(ให้กิเลสลด) (อัตถิ . ทินนัง) . . . .
-
ยัญพิธี (พิธีการปฏิบัติ) ที่บูชาแล้ว มีผล (อัตถิ ยิฏฐัง)
-
สังเวย(เสวย)ที่บวงสรวงแล้ว มีผล (อัตถิ หุตัง)
-
ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้ว มีแน่ (อัตถิ สุกตทุกกฏานัง กัมมานัง ผลัง วิปาโก) ปฏิบัติแล้วผลของมันเป็นสุขหรือทุกข์ลดกิเลสได้หรือไม่ ผลของวิบากของคุณ ได้ละกิเลสมีมรรคผลหรือไม่ ก็ไม่รู้ทำดีชั่วตื้นๆตามโลก สุกตคือดีแล้ว ทุกฏ คือ ดีหรือไม่ดีไม่รู้จัก สุกต ทุกฏ แปลว่าดีและชั่วก็ไม่ผิด กำปั้นทุบดินแต่มันไม่มีรายละเอียด ดีอยู่แค่ไหน ดีแค่โลกีย ดีชั่วตามจารีตประเพณีตามเทวนิยม แต่ถ้าดีของพระพุทธเจ้ามันขัดเกลากิเลส หมดโศกหมดทุกข์เป็นโลกุตระ ละเอียดไปถึงขนาดนี้ ใครบ้างอธิบายสัมมาทิฏฐิตามที่อาตมาอธิบายและเทียบเคียงกับมิจฉาทิฏฐิ 10 ที่คุณไปยึดถือกันอยู่ ใครบ้างมาอธิบาย อาตมาถึงบอกว่าอาตมาเป็นไก่ตัวพี่ มันเลี่ยงไม่ได้ สัจจะมันไม่มีทางเลี่ยงอะไรได้เลย แต่คนไม่ยอมรับคุณก็เลยหมั่นไส้ คือไม่เชื่อว่าจะมีคนดีในโลกมาเกิด อาตมาก็ว่าน่าสงสารคนเหล่านั้น อาตมาเป็นคนดีมาเกิด คุณไม่เห็นว่าอาตมาเป็นคนดีก็น่าสงสารจริงๆ จะโง่ดักดานไปถึงไหน คนดีมาเกิดให้เห็นทั้งทีแล้วก็พยายามอธิบายสิ่งที่ดีของพุทธเจ้า บอกตัวเองเป็นลูกพระพุทธเจ้ามาสืบทอดธรรมะพระพุทธเจ้า ไม่เชื่อ ก็ไม่รู้จะไปบังคับกันอย่างไรเขาเชื่อตาม Concept ที่เขาบอกว่าพระอรหันต์ พระโพธิสัตว์ พระผู้รู้ต้องเป็นอย่างนี้ เรียบทั้งร้อย มาทำเอะอะมะเทิ่งอย่างโพธิรักษ์ พูดอวดดีด้วย แต่ไม่รู้ว่าคุณอวดโง่ อาตมาอวดดี อวดฉลาด อวดรอบรู้ มาพูดความจริงมีคำจริงคำเดียว เลี่ยงไปกว่านั้นมันก็ไม่ครบ พูดให้ครบ
-
โลกนี้ มี (อัตถิ อยัง โลโก) หมายถึง วนในโลกีย์เดิมๆ . .
-
โลกหน้า มี (อัตถิ ปโร โลโก) หมายถึง โลกโลกุตระ