640222_พ่อครูเทศน์ทำวัตรเช้า งานพุทธาภิเษกฯ ครั้งที่ 45 ออนไลน์
ดาวโหลดเอกสารที่ https://docs.google.com/document/d/19K1tsQbBCYG0Dx3Wuw2GhQpoIolDXSunuI_NKZYb_Z0/edit?usp=sharing
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1ZxOqGGJL2EjgmRhf234brUTQv0MuYUx3/view?usp=sharing
และยูทูปที่ https://youtu.be/RjzZvvK5xPk
สังขารกับการเวียนว่ายตายเกิด
พ่อครูว่า…วันนี้เป็นวันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 ที่บวรราชธานีอโศก วันเวลาก็เปลี่ยนไป เราก็เปลี่ยนไปตามธรรมชาติ จากเด็กจนถึงหนุ่มจากหนุ่มจนถึงแก่ จนกระทั่งถึงวันนี้ก็แก่หลายแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสรู้ว่าเกิดมาจะมีอะไร อย่างไร คือ คนมีจิต แล้วมีปัญญา มีธาตุรู้ที่มันเฉลียวฉลาด มันรู้ เพราะฉะนั้นผู้รู้ที่เป็นศาสดาของแต่ละศาสนา ทุกองค์ก็พยายามที่จะพาผู้คน แต่ละศาสดาก็เห็นว่ามันควรจะดีอย่างนี้ๆก็พากัน สอนแนะนำอธิบาย มีหลักฐานเหตุผลก็เอามาขยายความกันให้เข้าใจว่า มันเป็นอย่างนี้ถูกต้อง อย่างนี้ถึงจะดี อย่างนี้ถึงจะเจริญ
ศาสนาเทวนิยมมีหลายระดับ ระดับหนึ่งก็ตายชาติเดียวแล้วไม่ต่อ ตายชาติเดียวแล้วก็ไปเกิดอยู่กับพระเจ้า จบ ไม่มีอะไรต่อ ไม่มีการขยายผล ขยายความรู้อะไรที่จะต่อจากนั้นเลย ก็ไปจบอยู่ที่พระเจ้า ก็สอนให้ทำดีในขณะเป็นๆๆ ตรงที่ให้ทำดีนี่แหละ ตรงกันหมด ทุกศาสนาตรงกันหมด แล้วก็ต่างกันไปตรงที่ว่า ตายแล้ว พอตายแล้วจะเป็นอย่างไร หลังจากตายแล้วมันจบตรงไหน แล้วมันจะจบการตายแล้วก็เกิด เกิดแล้วก็ตาย ตายแล้วก็เกิด เกิดแล้วก็ตายนี่ ศาสนาเทวนิยมก็ตาม หลายศาสนาเขาก็รู้ว่ามันตายแล้วยังไม่จบนะ ตายแล้วก็เกิด เกิดแล้วก็ตายอยู่อย่างนี้ ไม่มีจบง่ายๆ เพราะฉะนั้นก็จึงมีพระศาสดาหลายศาสนา เห็นว่าตายแล้วก็จะไปเกิด เกิดเท่านั้น เกิดอย่างนั้น เกิดอย่างนี้ มีการเข้าใจแตกต่างกันไป มีตั้ง 10 อย่าง อย่างน้อยท่านก็สรุปออกมา 10 อย่าง อันตคาหิกทิฏฐิ 10
ที่จริงพระพุทธเจ้าท่านเข้าใจมากกว่านั้น ท่านเข้าใจตั้ง 62 ต่างกันตั้ง 62 อันตคาหิกทิฏฐิ 10 ก็ต่างกันอยู่ที่ 10 เอาที่ 10 ก็แล้วกัน 62 มันเยอะไป
ธรรมะจริงๆแล้วเป็นธรรมะที่ไม่ควรตอบ เช่น ใครถามว่าตายแล้ว จะไปยังไง มายังไง จะไปไหน พระพุทธเจ้าท่านว่าเป็นธรรมะที่ไม่ควรตอบ เพราะไม่เป็นสัมมาทิฏฐิเป็นไปโดยส่วนเดียว ไม่เป็นไปเพื่อพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่ายคลายกำหนัด เพื่อความสงบเพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน มันเป็นการรู้แล้วก็ทำอะไรไม่ได้ มันจะไปอย่างใดก็ได้ พระพุทธเจ้าท่านเห็นว่าไม่ควรไปซักไซ้ไล่เลียงเรื่องเหล่านี้ เช่น สุดโต่งไปข้าง เมื่อตายไป มันมีโลก มีอัตตา แล้วมี ชีพ
อันตคาหิกทิฏฐิ 10 (ความเห็นอันถือเอาที่สุด, ความเห็นผิดที่แล่นไปสุดโต่งข้างใดข้างหนึ่ง — the ten erroneous extremist views) คือเห็นว่า
-
โลกเที่ยง (The world is eternal.)
-
โลกไม่เที่ยง (The world is not eternal.)
-
โลกมีที่สุด (The world is finite.)
-
โลกไม่มีที่สุด (The world is infinite.)
-
ชีวะก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น (The soul and the body are identical.)
-
ชีวะก็อย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง (The soul is one thing and the body is another.)
-
ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเป็นอีก (The Tathagata is after death.)
-
ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่เป็นอีก (The Tathagata is not after death.)
-
ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเป็นอีก ก็ใช่ ไม่เป็นอีก ก็ใช่ (The Tathagata both is and is not after death.)
-
ตถาคตเบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเป็นอีก ก็มิใช่ ย่อมไม่เป็นอีก ก็มิใช่ (The Tathagata neither is nor is not after death.)
พ่อครูว่า…ตายไปแล้วไม่มีใครรู้ว่าจะไปที่ไหนอย่างไรได้ พระพุทธเจ้าบอกว่าให้มาเรียนที่จิตวิญญาณตอนเป็นเลย เรียนรู้ตรงที่ว่า อะไรมันพาให้เกิด พาให้ตาย เวียนวนไปไม่รู้จักจบนั่นแหละ คติทั้ง 10 อย่าง มันต่างกันไป เถียงกันไปไม่มีใครตัดสิน มาศึกษาฝึกฝนเลยว่า แล้วเหตุที่มันพาเกิดพาตายอยู่นี่ แล้วจะมีที่ไม่ต้องตายไม่ต้องเกิดไหม จบได้ไหม พระพุทธเจ้าก่อนตรัสรู้ว่า ถ้าดับเหตุ ทุกอย่างก็ดับ ไม่เกิดอีก
แล้วท่านตรัสรู้ว่า โลก คือความวน เกิดแล้วก็ตาย ตายแล้วก็เกิด เกิดแล้วใช้เวลาตั้งอยู่ สั้นยาวแล้วแต่ แล้วก็ตาย เกิดแล้วมาตั้งอยู่ สั้นยาวแล้วก็ตายแล้วแต่เหตุปัจจัย แล้วก็ตาย วนเวียน ก็เลยมารู้ว่า อ๋อ.. ไอ้สิ่งที่วนเวียนอยู่นี่ ถ้าวนเวียนไม่รู้จักจบ เกิดมาแล้ว ก็จะตั้งอยู่ แล้วจะตั้งอยู่อย่างไร ตั้งอยู่ก็ต้องตั้งอยู่ให้มันเป็นสิ่งที่ดี เป็นภาวะที่ดี ตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่อย่างมีกรรมกิริยา เพราะเป็นสัตว์ เป็นมนุษย์คือสัตว์ชนิดหนึ่ง เป็นสัตว์ที่มีปัญญาด้วย สูงกว่าสัตว์ทั้งปวงฉลาดกว่าสัตว์ทั้งปวง รู้ดีกว่าสัตว์ทั้งปวง ก็เป็นอยู่ให้ดี แล้วก็ตายดี ตายดีแล้วก็จะเกิดดี เกิดดีมาก็ยังอยู่ ก็ทำให้ดีไปเรื่อยๆ ก็ดีขึ้นเรื่อยๆ แล้วก็ตายดีขึ้นเรื่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่ง เกิดมาอีกก็ดีขึ้นเรื่อยๆ ดีสูงสุดก็ได้เป็นศาสดา เป็นคนที่เหนือคน สูงสุด สามารถรู้ สามารถมีเหตุมีผล สามารถรู้อะไรมากมาย แล้วก็ปฏิบัติตนได้ตามที่รู้ ก็สอนคนอื่น คนอื่นเห็นด้วย เมื่อเข้าใจเชื่อถือ ก็บอกสอนเขา แนะนำเขา พาเขา เจริญตามแต่ละศาสดาเห็นว่า หรือมีความรู้เห็นว่าอย่างนั้นความรู้อย่างนั้น ก็วนเวียนอยู่ เป็นสภาพที่ไม่จบ ไม่มีจบไม่รู้จะจบ อยู่อย่างดีก็ดีได้ แต่ดีแล้วก็ดีแล้วก็เสื่อม พอตายแล้วก็ลืม ตายแล้วก็ไปรับวิบาก โดยไม่รู้วิบากบาปบุญอะไรมากมาย ไม่รู้จักความเป็นอัตตา ตัวตน เป็นอัตตานี่ เป็นสภาวะของรูปนามชนิดหนึ่ง คู่หนึ่ง มันยึดเป็นตัวเป็นตน ถึงอย่างไรอย่างไรก็เห็นแก่ตัว แม้จะรู้ดีแล้ว รู้กรรมดีอย่างไร ทำดีอย่างไร มันก็เห็นแก่ตัวอยู่นั่นแหละ ทำดีเพื่อตัวเอง มันก็เห็นแก่ตัว มันก็เลยไม่มีการจบได้ เอ๊ เห็นแก่ตัวมันก็กลายเป็นกิเลส สุดท้ายมันได้เปรียบจนกระทั่งคนยอมรับได้สูงสุด ก็เผินก็เผลอ สะสมความเห็นแก่ตัวมากเอาเปรียบเอารัด จนกระทั่งมันก็ตกต่ำอีก เอาเปรียบเอารัดมาก อัตตาก็เสื่อม ตกต่ำอีก ก็หมุนเวียนตกต่ำอยู่อย่างนั้น ไม่รู้จบอย่างนี้แล้วแล้วเล่าๆ
พระพุทธเจ้าก็มาตรัสรู้ อ๋อ.. ที่จริงแล้วมันมีเหตุที่ทำให้กรรมพาเกิดมาเป็น กัมมโยนิ กรรมมันพาเกิดพาเป็น ที่จริงมันมีเหตุที่เราจะทำดี ให้ดีๆๆ แล้วให้ดีนี้คงทน ให้ดีนี้ไม่ตกต่ำอีก ให้ทำดีไม่หลงเหลิง ไม่เผลอตัวได้เก่าลืมใหม่ ได้ใหม่ลืมเก่าๆ ไม่เผลออย่างนั้น จนกระทั่งสามารถที่จะชัดเจนได้ว่า อ๋อ ทำดีให้ถาวรได้ ไม่ทำชั่วเลย ไม่ทำบาปเลย
ตกลงเมื่อไม่ทำบาปเลย ก็ได้ แล้วบาปนี่แหละ มันมีความหมายที่ลึกซึ้งมาก อกุศลคำหนึ่ง กับคำว่าบาป คำหนึ่ง ที่ใช้แทนกันเพราะเขาแยกไม่ออกว่า บาปกับอกุศล แยกกันอย่างไร บาปนี้คู่กับบุญ มันปนกันจนกระทั่งในศาสนาแยกไม่ออก ว่าบาปบุญคู่หนึ่ง กุศลกับอกุศลอีกคู่หนึ่ง
กุศลกับอกุศลเป็นโลกียะ ส่วนบาปบุญเป็นโลกุตระ เป็นของศาสนาพุทธของพระพุทธเจ้า ที่บัญญัติ พระพุทธเจ้าองค์ต้นองค์ไหนไม่รู้ล่ะที่ท่านบัญญัติมา จนกระทั่งยาวนานมาไม่รู้ตั้งกี่ล้านปี พระพุทธเจ้าเกิดไม่รู้กี่องค์ จนมันปนเปกันไปไม่รู้ว่าอะไรมันเป็นอะไร
เพราะฉะนั้นผู้ที่จะสามารถศึกษาตามพระพุทธเจ้าให้ดีแล้วจะแยกสภาวะออกว่า อ๋อ บาปกับอกุศลมันต่างกัน
ชั่วแต่ชั่วไม่ถึงจิต ผู้ศึกษาเรียนรู้กุศล อกุศล ไม่ถึงจิต เรียนรู้หยั่งเข้าไปไม่ถึงจิตแท้ๆจิต เจตสิก รูป นิพพาน ไม่ถึง ไม่เป็นอภิธรรม แยกเจตนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ออกแยกเจตสิกต่างๆ แยกไม่ออก แต่พระพุทธเจ้าท่านแยกรายละเอียดออกไปได้มาก แต่ประเด็นที่จะทำให้รู้ที่จบ อยู่ที่ สุข ทุกข์ อีกคู่หนึ่ง ต่างจากกุศล อกุศล ต่างจากดีและและชั่ว ก็คือ สุขและทุกข์
ซึ่งเป็นเรื่องของอารมณ์ เป็นเรื่องของจิต เป็นเรื่องของความรู้สึก สุข ทุกข์ ดีชั่วนั้น เป็นเรื่องของสมมติสัจจะ ตามคนกลุ่มไหนเขายึดถือกันไป มีคล้ายกันแล้วก็มีต่างกัน มีที่ถือว่าอย่างนี้ดีคล้ายกันก็เยอะ ถือว่าชั่วต่างกันก็เยอะ เป็นสมมุติที่ไม่เที่ยง
แต่สุขทุกข์นี้มันตรงกันหมด เป็นคนรู้สึกสุขรู้สึกทุกข์ แต่อาการหรือความรู้สึก อารมณ์หรือความรู้สึกนี้ พอใจเป็นสุข ไม่พอใจเป็นทุกข์ ตรงกันหมด ไม่ว่าชาติศาสนาไหน ตระกูลไหนตรงกันหมด อันนี้แหละ ดีชั่วไม่ตรงกัน ศาสนาแต่ละศาสนาดีชั่วไม่ตรงกัน แต่สุขทุกข์ตรงกันหมด เป็นความรู้สึกของแต่ละคน ชอบใจก็สุขไม่ชอบใจก็ทุกข์ ไม่ว่าศาสนาไหนคนชาติไหน อันนี้ก็เลยเป็นจุดรวมสูงสุด
ศาสนาเทวนิยมต่างๆมากมายไม่รู้สุขรู้ทุกข์ หรือแม้เรียนบางศาสนารู้สุขทุกข์ แต่เรียนไม่ถึงความเป็นจิตที่ลึกซึ้งจริงๆ จนสามารถรู้จบ รู้ครบ รู้จบ ว่าจิตวิญญาณเมื่อได้อัตภาพมาเป็นจิตวิญญาณแล้ว เราสามารถทำจิตให้ดับเหตุ ดับเหตุที่มันไปยึดสุขยึดทุกข์
สุขทุกข์มันเป็นมายามันไม่ใช่ของจริง สุขทุกข์มันหลอกคน มันเป็นอุปาทาน เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าก็เลยสอนให้เข้าไปอ่านอาการจริงเลย คือ อารมณ์หรือความรู้สึก ที่เรียกด้วยพยัญชนะบาลีว่า เวทนา
ถ้าผู้ที่สามารถจับอารมณ์ จับความรู้สึกได้ แล้วก็เรียนรู้ว่าเรายึด ยึดอย่างนี้ มันควรมี น่าได้น่ามีน่าเป็น อันนี้ไม่น่าได้ ไม่น่ามี ไม่ควรได้ ไม่ควรเป็น เราก็เห็นให้ได้ว่า อ๋อ.. มันไม่ตรงกันตรงนี้เอง ตามอารมณ์ความรู้สึกสังขารปรุงแต่ง อย่างนี้มันปรุงแต่งน่าได้ ชอบเป็นสุข อย่างนี้ไม่น่าได้ไม่ชอบเป็นทุกข์ ก็อยู่ตรงนี้กับเวทนา มันปรุงแต่ง
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ว่า อ๋อ.. ไอ้การปรุงแต่งสังขาร มันปรุงแต่งอย่างหยาบๆต้นๆนี้คือ ปรุงแต่งมาเป็นวิญญาณ พอปรุงแต่งสรุปมาเป็นวิญญาณ เป็นธาตุรู้ เสพวิญญาณ ยึดวิญญาณ นี่หยาบๆ
แล้วเราจะรู้จักวิญญาณได้อย่างไร พระพุทธเจ้าก็บอกว่ามันต้องมี 2 สภาพมาปรุงแต่งกันขึ้นไป สิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง ตั้งแต่หยาบ มหาภูตรูป ดินน้ำไฟลม นอกนั้นเป็นรูปอีก อุปาทายรูป ที่ท่านก็มาแยก ว่าอ๋อ.. อุปาทายรูป มีอีกตั้ง 24 อาการ นี่เป็นความรู้ยิ่งของพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า แยกไปถึงขนาดนั้น
พระพุทธเจ้าก็เอาสิ่งเหล่านี้มาสอน มาสอน ท่านแยกรูปแยกนามว่า อ๋อ.. มันต้องรู้สภาพทั้งหมดมี 28 เป็นสิ่งที่จะต้องถูกรู้ แล้วก็ตัวเรานี่แหละตัวธาตุจิต ธาตุวิญญาณ ธาตุรู้ของเรา มันก็ต้องเข้าไปรู้ เข้าไปสัมผัส มันจะเกิดสามเส้า
ตัวปัญญา ตัวอัตตาจริงๆ จะค่อยๆเรียนรู้แล้วเกิดเป็นปัญญา ปัญญาอยู่ในอัตตาของแต่ละคน ที่ต้องมีธาตุจิต เจตสิก เรียกว่า ปัญญา เรียกว่า ความรู้ ก็จะไปรู้ 2 ธาตุ ปรุงแต่งกันอยู่ในตัวเรา ตั้งแต่หยาบภายนอก ดินน้ำไฟลม แท่งก้อน ตัวตนบุคคลเราเขา ซึ่งเป็นส่วนนอกเลย ไม่อยู่ในร่างกายเรา จนกระทั่งติดกับร่างกายเรา ข้างนอกคนละสัดส่วน ดินน้ำไฟลม ข้าวของตัวตนบุคคล สัตว์พืชอะไรต่างๆ มันต่างหาก
ส่วนในตัวเราปรุงแต่งกันเสร็จแล้วเป็นอาการ 32 ท่านก็บอกว่าแล้วอาการ 32 ส่วนไหนมันจะเหมือนไอ้ข้างนอก
-
เหมือนดินน้ำไฟลม
-
เหมือนพืช
-
เหมือนสัตว์ทั้งหลาย
แล้วมันต่างกันไหม? มันสังขารกันอยู่ด้วยพลังงาน ดินน้ำไฟลมก็สังขารปรุงแต่งกันอยู่ ปรุงแต่งเป็นดินน้ำลมไฟ แยกแค่ 4 ธาตุ แล้วปรุงแต่งกันเป็นพืช เป็นชีวะ แล้วมีชีวะต่างกัน
แล้วชีวะ เป็นสัตว์ ต่างกันอีก สัตว์ก็ต่างกับพืชเป็น ชีวะเหมือนกัน ที่มีชีวะกับไม่มีชีวะนี้ต่างกันแน่ แต่ชีวะด้วยกันก็ต่างกันอีก ท่านก็ศึกษาความจริงที่มันต่างกันเรียกว่า ลิงค หรือเพศ เป็น 2 สภาพเปรียบเทียบกันว่ามันต่างกันอย่างไร
แล้วไอ้ความต่างนี้ถ้ามันร่วมกัน ปรุงแต่งกัน ให้เกิดประโยชน์ ให้เกิดคุณค่า ตั้งแต่มีดินน้ำไฟลม จนกระทั่งมาเป็นพืชมาเป็นสัตว์มันก็ต่างกันไปเรื่อยๆ ปรุงแต่งเนียนๆๆ ละเอียดขึ้นไป จนกระทั่งสามารถที่จะแยกได้ว่า ไอ้จิต หรือว่าตัวธาตุรู้ มันรู้ละเอียดไปเรื่อยๆตั้งแต่ดินน้ำไฟลมมาเป็นพืช มาเป็นสัตว์ สัตว์ก็มีความต่าง จากการปรุงแต่ง แต่ละคนๆ สัตว์มันเรียนรู้ไม่ได้ สัตว์เดรัจฉานมาเป็นคน คนในระดับที่อเวไนยสัตว์มันก็เรียนรู้ไม่ได้ ไม่มีภูมิรู้เพียงพอที่จะศึกษา บารมียังไม่พอ เขาก็เรียนรู้ได้ พัฒนาได้ทางระดับเทวนิยม เรียนรู้ดีเรียนรู้ชั่ว
จนพระพุทธเจ้ามาเรียนรู้ต่ออีก ต่อจากดีและชั่วแล้ว มันยึดสุขยึดทุกข์ มันยึดความรู้สึกซึ่งมันแตกต่างกันเป็นของที่เขาไม่เรียน เขาก็เลยหลงแต่สุข ทำดีเป็นสุข ทำชั่วเป็นทุกข์ปนเปกันไป พระพุทธเจ้าก็บอกว่าทำดีเป็นทุกข์ก็มี ทำชั่วเป็นสุขก็มี ใช่ไหม มันไม่ใช่นะ ทำดีเป็นสุขทำชั่วเป็นทุกข์ มันไม่ใช่นะ ก็คนมันทำดีเป็นทุกข์ ทำชั่วเป็นสุขก็มี จริงๆทำดีก็ควรเป็นสุข ทำชั่วก็ควรจะเป็นทุกข์ มันก็ควรนะ แต่มันหลบหลีกได้ ก็ทำ เอาให้จริง พระพุทธเจ้าก็ต้องศึกษาให้จริง
นิพพานเป็นอย่างไร
แล้วที่ว่า “ดี” มันเที่ยงไหม?.. ยึดถือก็ไม่เที่ยง ตัวมันเองมันก็ไม่เที่ยง ดีเดี๋ยวมันก็เปลี่ยนเป็นไม่ดี ทำดีได้เกิดมาใหม่กำลังวังชาแข็งแรงทำได้เต็มที่ พอชักต่อมากำลังมันไม่ได้แล้ว หรือมันยังไม่แข็งแรงเป็นเด็กยังไม่เดียงสาอยู่ก็ทำดีให้เต็มที่ไม่ได้อีก มันไม่เที่ยงสักอย่าง แล้วอย่างไรมันจะเที่ยง มีอะไรเที่ยง เราเรียนมาจนป่านนี้ อะไรเที่ยงเอ่ย …นิพพาน
นิพพานเป็นอย่างไร?
-
ไม่สุขไม่ทุกข์ ใครจะตอบต่างจากนี้
-
หมดกิเลส มีอีกไหม
-
ไม่ยึดมั่นถือมั่น
-
หมดบุญ
ทีนี้ไอ้ที่พูดมานั่นแหละ มันเกิดจากตัวกำหนดรู้ทั้งนั้นเลย เกิดจากตัวธาตุจิตของเรา ตัวกำหนดรู้ของเราเรียกว่าสัญญา มันเป็นเจตสิกหนึ่งมันทำหน้าที่นี้ กำหนดรู้ว่าดีชั่วก็อย่างหนึ่ง สุขทุกข์ก็อย่างหนึ่ง กิเลสก็อย่างหนึ่ง เที่ยงไม่เที่ยงก็อย่างหนึ่ง อีกอันหนึ่งก็คือหมดบุญ เออ.. อันนี้ หมดบุญ
ทีนี้หมดบุญแล้ว จริงๆแล้วโดยสัจจะที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ หมดบุญแล้วก็หมดจบเลย เพราะว่าบุญมันไม่มี 2 มันมีแต่ 1 บาปมันก็บาป ลักษณะคนไม่รู้บาปมันรวมทั้งอกุศลรวมทั้งกิเลส ทีนี้ ของพระพุทธเจ้าตรัสรู้กิเลสด้วย รวมทั้งกุศลและอกุศลบาปหรืออกุศลด้วย ก็ไม่ทำอกุศล แล้วก็ล้างกิเลสด้วย เมื่อล้างกิเลสหมด บาปก็หมด แต่กุศล อกุศล อกุศลหมดได้เหมือนกัน แต่มันไม่หมดกุศล มันก็ไม่จบ ก็มีแต่กุศล ทำแต่ดีๆๆๆ แล้วมันก็ไม่เที่ยง จะดีอย่างไรอย่างไร มันก็จะต้องตั้งอยู่กับไตรลักษณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ตั้งอยู่นานเท่าไหร่ก็ตาม มันก็ต้องถึงวาระเสื่อมได้ ไม่มีอะไรเที่ยง
ตั้งแต่ดินน้ำไฟลม จนกระทั่งมาถึงพืชมาถึงสัตว์ ไม่มีอะไรเที่ยง ทุกอย่างเปลี่ยนสภาพหมดทุกอย่าง ไม่มีอะไรคงทนไม่มีอะไรเที่ยง เปลี่ยนสภาพทุกอย่าง เพราะฉะนั้นเราก็จะต้องแปรปรวนไป อารมณ์อาการจิตแปรปรวนไปกับความเปลี่ยนแปลง จนกระทั่งมีคนพยายามจับ ศาสดาพยายามหาที่ที่ไม่แปรปรวนไม่เปลี่ยนแปลงมีความเที่ยงเกิดมาแล้วก็เป็นชีวะที่เที่ยง ทำให้ความสุขนี้เที่ยง แล้วเขาก็ไม่รู้ว่าสุขเที่ยง เขาก็เอาว่าดีที่สุดนั่นแหละ จะเป็นพระเจ้าเที่ยง และผู้ที่เที่ยงที่สุดคือพระเจ้าเป็นเจ้าของความดี เที่ยง ก็ได้แค่นั้น ทางด้านเทวนิยม ศึกษาแล้วได้แค่นั้น
พระพุทธเจ้าก็มาศึกษาอีก จนกระทั่งรู้ว่า อ๋อ มันไม่เที่ยงหรอกไม่มีอะไรเที่ยง และสามารถรู้จักสังขาร รู้จักการปรุงกันอยู่เป็นสภาพ 2 พยัญชนะของบาลีว่า เทวฺ เขาจะเรียก เดวะ หรือดะเว ก็ว่าไป
จนกระทั่งพระพุทธเจ้าท่านสามารถที่จะรู้ว่า 2 อย่างนี่แหละ สภาพ 2 สภาวะ เทวฺธัมมาเมื่อเขาไม่รู้ 2 อย่างเขาก็ว่าเที่ยง ปรุงแต่งอย่างเก่งที่สุดเป็นพระเจ้าสูงสุด ดีสุด แล้วเขาก็ถือว่าเที่ยง เพราะเขาไม่รู้จักต่อไปกว่านั้นแล้ว ยาวนานไปกว่านั้นหรือว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปอีกเขาไม่รู้แล้ว พระพุทธเจ้าก็มาเรียนรู้ 2 อะไรกันหนอ อ๋อ.. 2 นี่แหละปรุงแต่งกันอยู่ แล้วก็มีธาตุรู้เรียกว่าวิญญาณ สังขาร วิญญาณ ก็ต้องมาแยก 2 นี้ออกให้ได้ ต้องรู้อันหนึ่ง ตัวเราเป็นธาตุรู้ คือตัวอัตตาหรืออาตมัน รู้อีกอันหนึ่งให้ได้แยกให้ได้ เรียกว่า นามรูป
ตั้งแต่กระทบสัมผัส กับอีกสิ่งหนึ่งก็สัมผัสข้างนอกด้วย สัมผัสภูเขา สัมผัสแม่น้ำ สัมผัสท้องฟ้า สัมผัสกับดินน้ำไฟลม สัมผัสกับตัวตนบุคคลเราเขา สัมผัสกับสัตว์โลก สัมผัสกับทุกอย่าง สัมผัสแล้วก็เกิดธาตุรู้
ธาตุรู้ตัวนี้แหละตัวแรกที่สุดเลย เรียกว่า เวทนา ปรุงแต่งกันเสร็จเรียกว่า วิญญาณ ปรุงแต่งกันอยู่เรียกว่าสังขาร ธาตุรู้ตัวนี้ เวทนา ท่านก็เจาะไปที่เวทนา ตัวนี้เป็น 2 แน่นอน มันต้องสังขารต้องปรุงแต่งกระทบกันอยู่ ก็ดูตั้งแต่การกระทบ กระทบแล้วมันเกิดเวทนาก็จับเวทนาได้ ก็เรียนรู้หมดเลยในร่างกายเรามันมีตาหูจมูกลิ้นกายกับใจ เป็นตัวรู้เป็นธาตุรู้ นอกนั้นก็เป็นทวารอื่นตาหูจมูกลิ้นกาย จะให้เกิดความรู้เรียนรู้อันนี้
กระทบสัมผัสต่างๆมันเป็นอย่างไร มันเป็น 2 ที่สังขารกันเป็นอย่างไร อ๋อ.. มาเป็นเวทนาอย่างนี้ เสร็จแล้วพอมันเป็นเวทนาอย่างนี้ แล้วไอ้เวทนาชอบใจมันก็สุข ไม่ชอบใจมันก็ทุกข์ มันมีอะไรเป็นเหตุให้ชอบใจ มีอะไรเป็นเหตุให้ไม่ชอบใจ อ๋อ.. มีอีกตัวนึง ตัวนี้แหละตัวดี เรียกมันว่าตัณหา ชื่อเอ็งว่า ตัณหา ก็แล้วกัน เอ็งทำให้ข้าหลงว่าสุขว่าทุกข์ พระพุทธเจ้าถึงบอกว่า มาร ตัวมายานี้เป็นตัวหลอก เราหักเรือนยอดของเธอได้แล้ว สร้างเคหะเรือนยอดที่ตั้ง ที่มนุษย์ไปยึดถือว่าเป็นตัวเป็นตน เราหักเรือนยอดหมดยอดของความเป็นเรือนหักหมดสลายไม่เหลือ หักได้แล้ว ท่านตรัสรู้ก็ใช้สำนวนนี้ แทนที่จะใช้สำนวนว่า เราถอนรากถอนโคนเธอได้แล้ว ใช้หักยอดเรือนเลย
ก็คือตัวตัณหาตัวร้ายตัวนี้ ตัณหาตกตะกอนสั่งสมลงเรียกว่าเป็นอุปาทาน ก็เกิดภพเกิดชาติ ไปวนเวียน ที่ไล่มาคือ ปฏิจจสมุปบาทที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อ๋อ.. อย่างนี้เอง เสร็จแล้วมันก็หมุนเวียนอยู่กับการเกิดการตาย เกิดมาเป็นชาติ แล้วก็ชรา แล้วก็ตาย มรณะ เกิดมาแล้วก็ตาย เสร็จแล้วก็จมอยู่ในอารมณ์
อารมณ์นี้ ที่จริงเป็นอารมณ์ลำบาก โศกปริเทวะ ทุกขโทมนัส อุปายาส เป็นความลำบากทุกคำเลย มันเป็นเรื่อง.. ไอ้ความลำบากนี้คือ
1 มันเป็นเรื่องไม่เที่ยง มันลำบากเพราะให้สภาพนั้นอยู่อย่างเที่ยงไม่ได้ รักษาให้เที่ยงไม่ได้ เปลี่ยนแปลงไป ยิ่งไปยึดมั่นถือมั่นว่าจะต้องเอาอย่างนี้ อย่าไป
เปลี่ยนๆ ยิ่งทุกข์หนักโง่หนักเข้าไปอีก เพราะทุกอย่างต้องเปลี่ยนไม่มีอะไรเที่ยง มันยิ่งหนักเข้าไปใหญ่เลย โอ้.. คนเราที่แท้มันไม่รู้ความจริง ถ้ามีเกิดมันต้องมีเปลี่ยนแปลง มีเกิดมันต้องมีความไม่เที่ยง
เพราะฉะนั้นจะต้องรู้ตัว อย่าให้มันพาเกิด ตัวไหนมันพาเกิด อ๋อ.. ไอ้ตัวสำคัญ ตัวที่ต้องการจะสุข ต้องการที่จะเที่ยง
ต้องการที่จะสุข ก็เป็นเรื่องวิปลาส ต้องการที่จะเที่ยง ก็เป็นเรื่องวิปลาส
ที่จริงมันไม่มีตัวตน ก็หลงว่ามันมี
อ๋อ.. เท่านี้เอง
-
ถือว่ามันเที่ยง
-
ถือว่ามันเป็นสุข
-
ถือว่ามันมีตัวตน
ถ้าเรายังมีสภาพ 3 นี้อยู่ โง่ อยู่ตลอดกาล ไม่น่ามี ไม่น่าได้ ไม่น่าเป็น เลย
มันก็จะรู้ว่าไม่น่ามีไม่น่าได้ไม่น่าเป็นนะ มันอยากได้ความเที่ยงความสุขความเป็นตัวตน ชะนีโง่ กระเทยเขาเรียกกัน ไม่เรียกผู้หญิงไม่ได้ผู้ชายเรียกว่าชะนีโง่ ไอ้โง่ อีโง่ มันโง่จริงๆหนอเรา มันน่าได้น่ามีน่าเป็น สิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง สิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน สิ่งที่ไม่ใช่สุขว่าทุกข์ โง่ มันไม่น่าได้ทั้งนั้น มันจะถือเอาไม่ได้ด้วย ยึดตอนเที่ยงก็ไม่ได้ ยึดความเป็นตัวตนก็ไม่ได้ ยึดความเป็นสุขก็ไม่ได้
ดีชั่วเป็นสมมุติ สุขทุกข์เป็นปรมัตถ์
ผู้เป็นเทวนิยมไม่ศึกษาความละเอียดละออพวกนี้ ก็หลงว่าเที่ยง พระเจ้าเที่ยง พระเจ้านี่แหละสุข พระเจ้าเป็นเจ้าของความสุข พระเจ้านี่แหละคือตัวตนที่แท้จริง อัตตา อาตมัน ปรมาตมันเลย เป็นตัวตนที่ยิ่งใหญ่เลย ปรม กับ อัตตา จำนนอยู่ตรงนี้
พระพุทธเจ้าก็เลยไปกว่านั้นว่า อ๋อ.. อ้าวก็เลยมีประเด็นว่า
-
ถ้ามี ถ้ายังอยู่ ถ้ายังเป็นชีพ เป็นชีวิต เป็นอัตตา เป็นสัตว์โลกอยู่ ก็ต้องเป็นสัตว์โลกที่ดี เป็นชีวิตที่ดี เป็นสัตว์โลกที่ดี เป็นตัวตนอัตตาที่ดี
ดี ดีคืออะไร ดี คือ สมมุติตามสังคมแต่ละกลุ่มๆ คล้ายกันตรงกัน ไม่คล้ายกันไม่ตรงกัน ได้ทั้งนั้น ก็เป็นไปตามนั้น ใครเขาจะยึดถือตั้งสมมุติว่าอันนี้ดี เราก็เข้าใจ ถ้าอยู่ด้วยกันแล้วก็ต้องเข้าใจว่าเป็นอย่างนี้นะ อยู่ด้วยกันเขาอย่างนี้นะ ก็ต้องทำตาม พยายามอนุโลมไปตามกัน เพราะสมมุติมันไม่จริงมันไม่เที่ยง สมมุติกันไปได้ยึดถือกันไปได้ก็เอาอย่างนี้แหละดี เอาหัวเดินต่างตีนดีนะก็เดิน คุณเดินได้เราก็ต้องเดินได้ เอาหัวเดินได้เราก็ต้องเดินได้ ไอ้อย่างที่คุณว่าอร่อยเราก็อร่อยกับเขาได้ แต่จริงๆเราก็กลางๆ อนุโลมเป็นไปกับเขาเฉยๆ ที่จริงเราไม่อร่อยหรอก มันก็เป็นความจริงตามความเป็นจริง
เช่นว่า อันนี้เขียว แหม..ลูกมะเขือเทศนี้มันงามผ่องใส สีสวยน่ากัด อร่อย เอ้า อร่อยก็อร่อย แต่แท้ ๆ มะเขือเทศมันก็มีกลิ่นมีรส มันมีสัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็งอย่างนั้น สัมผัสแล้วมันก็ทุกคนสัมผัสเดียวกัน ถ้าจะว่าแล้วความรู้สึกเดียวกันหมด แต่ยึดต่างกัน ไอ้เรียกต่างกันยิ่งมากมาย แต่สัมผัสแล้ว มันก็อันเดียวกัน ก็สัมผัสอันนั้นกับธาตุจิตที่สัมผัส จิตของใครก็รู้สึกอย่างนั้น ตรงกันหมดแหละ แต่ไม่รู้จักตรงกัน เราก็รู้ว่าไม่ตรงกัน จะไปยึดให้คนมันยึดตรงกันมันไม่ได้หรอก มันจะต่างกันนิดนึง ต่างกันมาก ต่างกันจนกระทั่ง อันนี้ชอบ อันนี้ไม่ชอบ อันนี้อร่อยไม่อร่อยเลย มันก็เรื่องของคนต่างคนต่างยึดถือ ก็เป็นอันว่า อันนี้เราก็ไปจัดการอะไรไม่ได้ใครไปยึดถืออะไรก็แล้วแต่
แต่ความจริงสัมผัสอะไรมันก็คืออันนั้นหนึ่งเดียว ตรงนี้แหละสำคัญ รู้ความจริงตามความเป็นจริงเรียกว่า ปัญญา ชัดเจนในความจริงตามความเป็นจริง นี่ภาษาไทยเรียกว่า เอาภาษาฝรั่งบอกว่าเป็นพลาสติกเอามาเป็นกระบอก OK อันนี้คือพืช อันนี้คือกระดาษเอามาใช้งาน อย่างนี้เรียกว่าปฏิทิน ก็ OK อะไรเป็นอะไรก็มีความชัดเจน ว่าสิ่งนั้นคือสิ่งนั้น แล้วเราก็ใช้ประโยชน์ได้หรือถ้าเป็นโทษก็อย่าไปสร้างมันขึ้นมา เช่นปืนผาหน้าไม้ ลูกระเบิดอะไรอย่างนี้ มันเป็นโทษนะ ไม่ใช่เป็นคุณ มันไปบำเรอความอยากใหญ่ ความจะข่มเหงรังแกปราบปรามทำร้ายผู้อื่น
เพราะฉะนั้นผู้ที่คิดสร้างอาวุธ ยังเป็นคนที่โหดร้าย ยังเป็นคนที่ไม่มีความรู้แม้แต่ความเป็นสัตว์ สัตว์คือเพื่อนเกิดแก่เจ็บตาย ต้องเอ็นดูกัน ปรานีกัน แล้วก็หวังประโยชน์เพื่อกันและกันให้ได้ แทนที่จะมาฆ่ากัน มาทำร้ายกัน มาเอาเปรียบกัน ไม่ต้อง
เพราะผู้ที่ไม่รู้จักกรรมวิบาก ไม่รู้จักการเกิดการตาย การเวียนเกิดเวียนตาย แล้วมีเหตุมีปัจจัย ของกรรมของวิบาก ปรุงแต่งกันอยู่ ท่านก็รู้ว่า อ๋อ.. จิตวิญญาณนี้มันลึกซึ้งละเอียดมันยึดถือยึดติดอะไรมาปรุงแต่งกัน แยกเป็นดีกับชั่ว แยกเป็นเกิดกับดับ อ้อ.. ดีชั่ว เป็นสมมติในโลก แต่ เกิดดับ นี้เป็นเรื่องใหญ่มาก ถ้าทำอย่างนี้ก็เกิดอยู่ ถ้าทำอย่างนี้ก็ดับ ดับได้นานจนกระทั่งลืม แต่ไม่ดับเหตุให้ดับตลอดกาล พระพุทธเจ้าตรัสรู้อันนี้ อ๋อ.. ดับเหตุที่มันดับตลอดกาลเลย ท่านก็แยกเทวะนี้ออกได้เลย ดับเหตุที่ไม่ให้เกิด
พระอรหันต์เป็นผู้มีความรู้เรื่องอาหารดีกว่าคนโลกีย์
จากเกิดมาเป็นจิต เหตุที่ทำให้เกิดมาเป็นจิต จึงมีทุกข์มีสุข เหตุเกิดให้ไม่เป็นจิต ดับเหตุที่เป็นจิตได้ อ๋อ.. เป็นชีวะที่ไม่สุขไม่ทุกข์ เป็นชีวะที่เป็นแต่คุณไม่เป็นโทษ แต่ตัวโทษมันก็เป็นอยู่บ้างสำหรับคนไม่รู้ เช่นพืชที่มันมีปรุงแต่งกันด้วยธาตุที่มันแรงร้าย เรียกว่า เป็นพิษ มันก็มี
และดินน้ำไฟลมพืชพันธุ์ธัญญาหารถึงสัตว์ มันอาศัยซึ่งกันและกัน เอามาปรุงแต่งกันเรียกว่ากิน เรียกว่าดูดเอาธาตุมาปรุงแต่งสังขาร ดินน้ำไฟลมมันก็ดูดเอามาได้ประมาณนึง เป็นพืชก็เอามารวมตัวกันสังขารได้ประมาณนึง เป็นสัตว์ก็ได้ประมาณหนึ่งอย่างหนึ่ง ก็รู้ว่าจะทำสังขารให้อยู่ในฐานะที่ดีที่สุดให้ได้
ก็แยกจิตแยกพืช แยกอุตุดินน้ำไฟลม เมื่อมันเกิดมาแล้ว มันก็จะต้องอยู่ ก็อยู่ให้ดีที่สุด อยู่ให้สุขที่สุด หรืออยู่ให้สงบที่สุด
พระพุทธเจ้าก็หาเหตุพวกนี้ที่มันโง่ มันทำให้ไม่รู้สุขไม่รู้ทุกข์ จนกระทั่งรู้ว่า อ๋อ.. ไอ้สุขทุกข์นี้ มันไม่มีจริงหรอก เราไปยึดมันเอง ให้มันสมดุลเท่านั้นแหละ ปรุงแต่งกันอยู่อย่างสมดุลพอดี ซึ่งไม่เหมือนกันไม่เท่ากันแต่ละผู้แต่ละคน ตั้งแต่สัตว์จนกระทั่งพืชก็ไม่เหมือนกัน จนกระทั่งถึงดินน้ำไฟลมก็ไม่เหมือนกันไม่เท่ากัน
ดินก็ตาม ดินน้ำไฟลม มหาภูตรูปก็ตาม มันไม่เรียนรู้ เป็นพืชมันก็ไม่เรียนรู้ แม้จะมาเป็นสัตว์ คนในระดับที่ไม่ใช่เวไนยสัตว์ มันเรียนรู้ไม่ได้ โดยเฉพาะเรียนรู้เลยไปถึงขั้นโลกุตระ ต้องเป็นสัตว์ที่ใฝ่ใจศึกษา สามารถที่จะรู้ได้ถึงขั้นสูงสุดว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ท่านสรุปลงว่าไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง สรุปลงเป็นคำเดียวว่า ไม่เที่ยง เปลี่ยนไปต่างๆกันไปได้
เพราะฉะนั้นจะเปลี่ยนจนกระทั่งรู้ว่ามันปรุงแต่งกันอยู่อย่างไร ตั้งแต่อุตุมันปรุงแต่งกันอย่างไร เป็นพืชมันปรุงแต่งกันอยู่อย่างไร ปรุงแต่งกันขนาดนี้มันมีสิ่งที่เป็นธาตุรู้ อ๋อ.. พืชมันมีธาตุรู้ที่ยังไม่สามารถรู้เวทนา ความรู้มันจะเป็นสังขารที่ยังไม่มีวิญญาณครอง ยังไม่มีเวทนาครอง ยังไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่มีวิญญาณครอง ไม่มีบาปไม่มีบุญ ไม่มีธาตุรู้ที่วิเศษถึงขั้นรู้บาปบุญได้
แม้มาเป็นสัตว์แล้ว ก็ยังไม่รู้บาปบุญ สัตว์ประเภทที่ศาสดายังไม่สามารถที่จะรู้ถึงขั้นพระพุทธเจ้า ก็รู้แต่ว่า ดีและชั่ว กุศลกับอกุศล บุญ บาป ยังไม่รู้ เขาก็เอาภาษาคำว่าบุญและบาปไปใช้เหมือนกับใช้คำว่ากุศล อกุศล
เพราะฉะนั้นผู้ที่จะมีความฉลาดพอ เห็นความแตกต่างของคำว่า กุศลกับอกุศล กับเห็นความต่างของคำว่า บาปกับบุญ ได้
บาปบุญเป็นความสามารถที่รู้เหตุ ที่ให้เกิดบาปให้เกิดอกุศล แล้วสามารถดับเหตุ กำจัดเหตุที่ให้ทำชั่วด้วย จนไม่มีเหตุให้ทำชั่วมีแต่ทำแต่ดีได้ จนกระทั่งถึงเหตุทำให้เกิดเวทนาทุกข์เวทนาสุข ก็สามารถเรียนรู้ความจริงถึงขั้นรู้เหตุที่ทำให้โง่ หลงในอารมณ์สุขอารมณ์ทุกข์นี่เอง ก็เลิกดับเหตุนได้ ก็จบเทวะ ดับเหตุนั้นได้ก็เหลือแต่แค่ว่าไม่สุขไม่ทุกข์
เพราะสุขทุกข์มันเป็นอุปาทาน มันเป็นความยึดอย่างโง่ๆ แล้วมันก็มาเกิดตัวตนบทบาทว่า อย่างนี้น่าได้ น่ามี น่าเป็นอย่างนี้ เมื่อได้มาก็เป็นสุขไม่ได้มาก็เป็นทุกข์ อ๋อ.. ไอ้ตัวนี้สำคัญ น่าได้ น่ามี น่าเป็น นี่ สำคัญ
สำคัญเพราะอะไร เพราะโง่ จึงไปมีตัวน่าได้ น่ามี น่าเป็น และไม่น่าได้ ไม่น่ามี ไม่น่าเป็น เสร็จแล้วเมื่อน่าได้ก็เอามาได้มันก็สุข จะให้มันเที่ยง จะให้มันเป็นตัวตนที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นวิปลาส 4 เป็นความกำหนดผิด วิปลาสคือความกำหนดผิด ความไม่รู้ความจริงตามความเป็นจริง พระพุทธเจ้าท่านจึงสรุปได้ว่า สิ่งเหล่านี้มันควบคุมไม่ได้ มันไม่เที่ยงแล้วมันก็ไม่ใช่สุขทุกข์ มันเป็นอารมณ์ที่เราตั้งแล้วก็ยึดถือว่าอย่างนั้นเป็นสุขเป็นทุกข์
และจริงๆแล้ว มันไม่มีตัวไม่มีตน เป็นเรื่องของการมาปรุงแต่งกันอยู่ เราก็จำนน เราเกิดมามีชีวะแล้ว มันต้องมี 2 มีธาตุรู้กับอีกอันนึง ก็มาเรียนรู้ความรู้สึก อย่าไปยึดมั่นถือมั่นเลย
อะไรที่มันเกิดมันปรุงแต่งกันขึ้นมา มันก็เป็นเช่นนั้นอย่างนั้นๆ ตามที่มันเป็น รู้ความจริงตามความเป็นจริง แล้วก็รู้ว่าอะไรควร ควรอาศัย ควรเป็นอยู่ ควรได้ควรมีควรเป็น ตามพอสมควร
สรีระของเรามันจัดการปรุงแต่งเก่งที่สุด อย่าไปเก่งกว่ามันเลย มันปรุงแต่งเก่งที่สุด คนอวดดี อันนี้กินเข้าไปแล้วน้ำตาลจะมาก อันนี้กินเข้าไปแล้ววิตามินตัวนั้นจะมาก ตัวนี้จะเกิน อวดดีที่สุด เพราะฉะนั้นเรากินเข้าไปเถอะ แล้วมันจัดการแยกเองจัดการเอง ถ้าตัวไหนมันมากเกินไปมันก็จะแสดงออก ไม่สบายแล้วนะ ไม่สมดุลแล้วนะ คุณก็แก้ไข หมอก็เรียนมาแค่นี้
เราก็สามารถมีชีวิตมาแล้วเราก็รู้ว่าเราควรกินอะไรพอสมควร มากหน่อยน้อยหน่อยไม่เป็นไรมันจัดการของมันเอง แล้วไอ้ที่ให้ร่างกายมันจัดการเอง มันเก่ง ถ้าไม่ให้จัดการเอง เราไปจัดการให้มันมันก็เสื่อม เสื่อมสมรรถภาพ อย่างอาตมานี้เสื่อมลงไปทุกที ตอนนี้ผอมแห้ง เพราะคนอวดเก่งกว่าสรีระ สอดรู้สอดเห็นสรีระ อาตมาจะพูดตรงนี้วันนี้ว่า อย่ามาจู้จี้กับอาตมามากนัก คุณจะมาเก่งกว่า สรีระอาตมาได้อย่างไร สรีระอาตมาเป็นสรีระพิเศษไม่เหมือนใคร คุณเอามาตรฐานสามัญมาวัดอาตมา เห็นไหมล่ะ
ทุกวันนี้อาตมาแรงน้อย ก็พูดให้รู้ว่าหยุดได้แล้ว เคยบอกแล้วว่าปล่อยให้อาตมาอิสระ ก็ไม่ยอมให้อาตมาอิสระ คุมอาตมาอยู่นั่นแหละ ทั้งหมอทั้งพยาบาล
อาตมารู้ว่าอาตมาจะกินอย่างไร อยู่อย่างไร อาตมารู้ ทุกวันนี้มันอยู่ได้เพราะอาตมาประคองการออกกำลังกาย การทรงตัวให้อยู่ได้ ส่วนอาหารนั้นอาตมาแย่เลยทุกวันนี้
ทุกวันนี้รู้ไหมว่าอาตมาร่างกายต้องการอะไร ไม่รู้ได้เก่งเท่าสรีระของอาตมาเอง คุณอย่ามาอวดเก่งกว่าสรีระของอาตมา ใครก็เก่งกว่า สรีระของตัวเองไม่ได้ ที่นี้อาตมาพอรู้สรีระของตัวเอง พระพุทธเจ้าลองตัวเองจนกระทั่งไม่กินอะไร จนกระทั่งผอมคิดว่าจะล้มแล้ว แต่อาตมาไม่ต้องถึงขนาดนั้นเพราะอาตมายังมีวิบาก ส่วนพระพุทธเจ้าท่านกระทำตัวเองให้ลองทุกอย่าง อาตมาต้องให้คนอื่นมาลอง ลองมาถึงตรงนี้ก็บอกความจริงให้ฟัง เพราะฉะนั้นคุณจะเอาอะไรมาให้อาตมากิน สรีระมันจะเลือกเอง คือปฏิภาณของอาตมา จะรู้ว่าเลือกอะไรควรกินมากกินน้อย ถ้ามันไม่สมดุลมันก็จะฟ้องเอง
สู่แดนธรรม…สมัยก่อนบวช ก็บอกแม่ครัวว่า เอาผักแยกมาก็กินได้สบาย
พ่อครูว่า…กินแต่ผักก็เอาผักมาไม่ต้องเอาอะไรมามากอย่างนี้เป็นต้น นี่ก็จะทำมาทำแกงทำผัดอะไรก็เอามา ทุกวันนี้ก็มีมาเพิ่มเติม มี มีมี่(ป้าดินงาม) แกงลาวมาให้ทุกวัน อาตมาก็ลืมรสแกงลาวไป
สู่แดนธรรม…พ่อท่านมีชีวิตให้ผู้อื่นเขาเลี้ยงดูว่าท่านจะไปบอกเขาอย่างไร
พ่อครูว่า…ก็พูดไปอย่างนี้เขาจะหยุดไม่หยุดก็แล้วแต่ คืออาตมาไม่บังคับใคร อาตมาก็เคารพเจตนาดี เขาก็เจตนาดีแล้วเจตนาจะให้ดีตามความรู้ของเขา แต่ความรู้ของเขากับความรู้ของสังขารอาตมา อาตมาว่าเขาไม่รู้เก่งกว่าสังขารของตัวเองหรอก เนาะ
อาตมาก็พูดหลายทีแล้ว สังขารของอาตมาหรือร่างกายของอาตมา มันไม่ได้Normal Standard เท่าคนทั่วไป มันไม่ต้องไปโด๊ปน้ำมากขนาดนั้น ไม่ต้องกินอาหารขนาดนั้นขนาดนี้หรอก อย่างนี้เป็นต้น ก็พูดไปแล้วนี่เป็นการให้ความรู้กับพวกเราด้วย
อาตมาเทศน์ไม่ดื่มน้ำเลยก็ได้ เป็นแต่เพียงเติมให้มันมันก็ช่วยนิดหน่อย แต่ความจริงแล้วสังขารของอาตมามันเป็นไปได้มันไม่ยากไม่ลำบาก คำว่าไม่ยากไม่ลำบากนี่ก็คือการปรุงแต่ง ธาตุไฟ เรียกว่า ฌาน ปรุงแต่งธาตุไฟ โดยไม่ยากไม่ลำบาก
แม้แต่สรีระร่างกายดินน้ำไฟลมปรุงแต่งขึ้นไปเป็นชีวะ มันก็ใช้ธาตุไฟเป็นหลัก จิตวิญญาณก็ใช้ธาตุไฟเป็นหลัก ทางจิตวิญญาณใช้ธาตุไฟเป็นหลักเรียกว่าฌาน ทางด้านร่างกายก็เรียกว่าไฟ เรียกว่าเตโชธาตุ ก็จัดการกับสรีระร่างวัตถุ ส่วนฌานก็จัดการกับจิตวิญญาณ
เพราะฉะนั้นผู้ใดสามารถรู้ธาตุไฟที่เป็นเตโช ก็คือ หมอพวกโภชนาการ พวกพยาบาลพวกนี้ก็รู้ ธาตุไฟที่เป็นเตโช ส่วนผู้ที่รู้ทางจิตก็รู้ว่าเป็นธาตุไฟที่เป็นฌาน
ฌาน จัดการกับจิตวิญญาณที่เป็นประธานสิ่งทั้งปวง รู้ทั้งเตโช รู้ทั้งฌาน รู้ทั้ง ธาตุที่ไปจัดการปรุงแต่ง เตโช ฌาน เปลี่ยนแปลงอะไรได้ ในธาตุกายกับธาตุจิตได้ดี ก็หน้าที่ของมันจะว่าดีก็ได้ดี ไม่ดีก็ไม่ดี ได้ทั้งหมด จัดการดีก็ได้จัดการไม่ดีก็ได้เรียกว่าฉลาดหรือไม่ฉลาด
อาตมาก็พูดๆมา ตั้งแต่ต้นจนถึงขณะนี้ ชั่วโมงกว่าแล้ว เหลืออีก 21 นาที พูดเรื่องนี้เรื่องเดียวมาตลอด เพื่อให้รู้ว่าชีวิตของคนมันอยู่กับสังขารการปรุงแต่ง
ถ้าเราสามารถรู้สังขารการปรุงแต่ง
-
ปรุงแต่งทั้งด้านดินน้ำไฟลม
-
ปรุงแต่งทางด้านจิตวิญญาณ