640426_พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ วิธีจบนิยาม 5 จบนิยายของตนอย่างนิรันดร
ดาวโหลดเอกสารที่ https://docs.google.com/document/d/13Lhx_ES_-ZDXOY7eRgwS9dfUIdCdghwPB2cJVCAx-Dg/edit?usp=sharing
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1_yw7Mhfs_Ynj_v3LeSIIgoz2j_YQ_vK2/view?usp=sharing
และดูวิดีโอได้ที่ https://www.facebook.com/300138787516163/videos/165953872079708
พ่อครูว่า…วันนี้วันจันทร์ที่ 26 เมษายน 2564 ที่บวรราชธานีอโศก มีคนอยากให้ทวน จักร 4
จักร 4 ปัญญาวุฒิ 4 ที่จะนำไปสู่ความเจริญ
จักร ก็คือ การผันหมุน การเดินการเดินบทของการปฏิบัติธรรมนั้นแหละ การเดินบทของการเคลื่อนธรรมะ ซึ่งปัญญาวุฒิ กับ จักร 4 รายการที่พบสัตบุรุษได้ฟังสัจธรรม ส่วนจักร 4 ยึดเอาสถานที่
จักร 4 (ดุจล้อรถนำไปสู่ความเจริญ)
-
ปฏิรูปเทสวาสะ (การอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม) .
-
สัปปุริสูปัสสยะ (การคบหาสัตบุรุษ) .
-
อัตตสัมมาปณิธิ (การตั้งตนไว้ชอบธรรม)
-
ปุพเพกตปุญญตา (ความเป็นผู้มีบุญอันได้กระทำแล้วในปางก่อน ไว้เป็นที่พึ่งอาศัย)
(พตปฎ. เล่ม 21 ข้อ 31)
และปัญญาวุฒิ 4
-
สัปปุริสสังเสวะ (รู้จักคบบัณฑิต คบหาสัตบุรุษ)
-
สัทธัมมัสสวนะ (ฟังสัทธรรม)
-
โยนิโสมนสิการ (กระทำลงในใจโดยแยบคาย)
-
ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม)
(พตปฎ. เล่ม 21 ข้อ 248)
จักร 4 ท่านใช้คำว่าอัตตสัมมาปณิธิ
สัมมา คือ ถูกต้อง ปณิธิ คือการตั้ง ท่านก็แปลว่า การตั้งตนให้เป็นสัมมา เราก็พอเข้าใจได้คือทำตัวเราเองให้เป็นผู้ที่มีสัมมา ตั้งอะไร การตั้งลง หยั่งลง ที่จิตของตน อัตตะ ทำจิตของตนให้สัมมา แล้วสั่งสมลงเป็นตน ในความหมาย สามเส้า อัตต สัมมา ปณิธิ เป็นตัวกระบวนการเสร็จแล้วก็ทำงาน จริงๆตัวทำจริงๆก็คือสัมมา
ทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิสัมมา สังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาสติสัมมาวายามะ ให้เกิดตั้งลงคือสมาธิ เป็นสัมมาสมาธิ
จิตตั้งลง จนตั้งมั่น จิตแข็งแรง โดยความเป็นสัมมา ก็กลายเป็นว่า คำว่า อัตตะ หรือ อัตตา เป็นพยัญชนะที่ยืนยันว่าเรามีสภาพอัตภาพของเราอยู่ ส่วนความไปยึดอัตตาเป็นเรา ยึดอัตนียาเป็นเรา ยึดตัวเป็นเรา ยึดตัวเป็นของเรา อันนั้นลึกซึ้ง ละเอียดขึ้นไปอีกที แต่จริงๆแล้วคนเรายังไม่ตาย ยังไม่ปรินิพพานเป็นปริโยสานไป มันก็ยังมีอัตตาเหลืออยู่แน่นอน
คนเรามันก็อย่างที่ว่าไม่มีแล้วก็ยังเหลือความมี เพราะเรายังไม่ปรินิพพานเป็นปริโยสานมันก็ยังมีความมี แต่มันมีสิ่งที่เราได้พัฒนาได้ขัดเราได้กระทำให้เป็นสิ่งที่มี รวมแล้วก็คือจิตเจตสิก คือ เวทนา สัญญา สังขาร มันต้องทำทั้งกายวาจาใจ อาชีพ เหตุปัจจัยที่เกียวกับเราปรุงแต่งกันทั้งหมด เราต้องเรียนรู้สิ่งประกอบทั้งหมด ลึกซึ่งละเอียดละออมากมาย จะอยู่กับคนนั้นเรากลุ่มนี้ (เน็ตหลุดไปนิดนึง)
อยู่กันอย่างนักเศรษฐกิจที่เขาให้เฉลี่ยทรัพยากรกัน เขาก็ไปมัวแต่เฉลี่ยกัน ไม่มาเอาที่ให้คนแต่ละคน อยากไปมากๆแย่งกันรวยแข่งกันรวย แล้วไปกักตุนแล้วก็ไปชมเชยคนรวยยกย่องคนรวย ยกย่องคนจ่ายมากมายแต่ไม่ทำงาน มีแต่ความคิดเฉโก ฉลาดเอาเปรียบเอารัดกอบโกยมาให้แก่ตนอะไรพวกนี้
ผู้ที่ทำตนให้ อัตตสัมมาปณิธิ คือ คนที่ปฏิบัติธรรมจิตให้จิตมันตั้งลงไปแล้วก็เป็นตนที่ดี ยังเป็นอัตภาพ ยังเป็นมนุษย์ที่จะเวียนตายเวียนเกิดอีกกี่ชาติก็ตาม มีหลักประกันตรงหยุดทำบาปทั้งปวงอย่างชัดเจน กรรมที่มีมีแต่กุศล แล้วก็รับใช้หรือ ทำประโยชน์เพื่อคนอื่นเพราะมันเป็นความจริงที่ตัวเองไม่เห็นแก่ตัว ตัวเองก็กินใช้แค่น้อยเลี้ยงง่าย ไม่สะสม จนกระทั่งกลายเป็นคนที่ขยันหมั่นเพียรสร้างสรรค์ เป็นแต่คนมีประโยชน์ พหุชนหิตายะ(เพื่อหมู่มวลมหาชนเป็นอันมาก) พหุชนสุขายะ(เพื่อความสุขของหมู่มวลมหาชนเป็นอันมาก) โลกานุกัมปายะ(รับใช้โลก ช่วยโลก) เป็นคนประเสริฐจริง
เพราะฉะนั้นคนนี้ได้ปฏิบัติมา ปุพเพกตปุญญตา เป็นคนปฏิบัติมาแล้วมีผลสำเร็จ มี กตญาณ คือมีผลสำเร็จเสร็จแล้ว สั่งสมลง ตั้งแต่กี่ชาติมา ปุพเพ โดยรู้จักบุญ โดยได้จัดการโดยบุญ สร้างพลังงานให้เกิดบุญ กำจัดตัวมารร้ายตัวเหตุโง่ที่ทำให้เป็นคนฉลาดแกมโกง เป็นคนที่เอาเปรียบเอารัด เป็นคนขี้โลภ เป็นคนที่เป็นพิษภัยต่อผู้อื่น ต่อสังคม ต่อโลกมากๆเป็นคนรวยเป็นคนมีแต่มหัปปจฉะ เป็นคนขี้เกียจ กุสีตะ โกสัชชะ เป็นคนมีอวรรณะ 6
-
เลี้ยงยาก (ทุพภระ)
-
บำรุงยาก (ทุปโปสะ)
-
มักมาก (มหัปปิจฉะ)
-
ไม่รู้จักพอ (อสันตุฏฐิ)
-
เกียจคร้าน (โกสัชชะ)
-
คลุกคลีหมู่คณะ(คลุกกองกิเลส) (สังคณิกา)
(พตปฎ. เล่ม 1 ข้อ 20) ตรงข้ามกับ วรรณะ 9
คณะผู้ที่ยังไม่บรรลุธรรมยังไม่เจริญ มีกองกิเลสหนาเยอะแยะ คนมักมากเฟ้อ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยฟุ่มเฟือย ไปคบคนอย่างนี้มันก็มีแต่ตกต่ำ ต้องรู้จักหมู่คนที่เป็นบัณฑิตกลุ่มคนพาล เราก็จะต้องชัดเจน แล้วก็จะต้องมาอยู่กับหมู่บัณฑิตไม่ใช่ไปอยู่กับหมู่พาล ไม่ใช่ไม่คลุกคลีกับใครอยู่เดียวไม่คลุกคลีกับคณะ จะมี 2 คน 3 คนก็เป็นคณะไม่ได้ต้องไปอยู่เดี่ยวเดี๋ยวจะได้เป็นอรหันต์ งั้นก็เป็นมิจฉาทิฐิออกนอกลู่นอกทางไปหมด ทั้งๆที่มันขัดแย้งกันที่ว่ามีมิตรดี สหายดี สังคมสิ่งแวดล้อมดี ที่เป็นทั้งหมดทั้งสิ้นของพรหมจรรย์ ท่านสรุปถึงขนาดนั้น ก็ยังตะแบงไปหาอยู่คนเดียวๆๆ โง่ไม่เสร็จจริงๆ
สู่แดนธรรม…ความหมายของบุญเก่า พ่อท่านหมายถึง อวรรณะ 6 นี้ ต้องมาเป็นคนอย่างนี้
พ่อครูว่า…เป็นคนที่ต้องรู้จักคำว่าบุญและปฏิบัติบุญสำเร็จมา กต คือสำเร็จแล้ว มันเป็นความหมายชัดเจนชี้ชัดตรงที่ บุญ กับ กต คือ ปุญ ที่ได้ทำสำเร็จแล้ว แล้วสั่งสมมาแต่ปางก่อน บุพเพ ก็ชัดเจนอยู่แล้ว 3 คำนี้
สู่แดนธรรม…ที่คนเข้าใจกันผิดคือ เกิดมาต้องมีบุญที่เต็มไปด้วยลาภยศสรรเสริญ
พ่อครูว่า…ไปอธิบายปุพเพกตปุญญตา เอาไปอธิบายเป็นความมี แต่เราอธิบายเป็นความหมด ความไม่มี ปุพเพกตปุญญตาคือ ไม่มีของคนที่ทำได้แล้ว แต่เขาไปอธิบายเป็นความมี ความสะสม แต่เราอธิบายเป็นความหมดความไม่สะสม ความเกลี้ยง สัมมาทิฏฐิกับมิจฉาทิฏฐิต่างกันอย่างนี้ มันผิดก็ไปคนละทาง เดินกันคนละ 180 องศา
ความหมายทุกวันนี้ที่พูดแม้แต่ความเป็น 2 ที่ต่างกันนี่ต่างกันทั้งนั้น ฌานก็ต่างกัน สมาธิก็ต่างกัน ศีลก็ต่างกัน ไปปฏิบัติฌาน สมาธิ ก็ต่างกัน หนักเข้า การปฏิบัติรูปนาม กายก็เห็นต่างกันอีก รูปนาม ก็พอเข้าใจ รูป อันหนึ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ นาม อีกอันนึงเป็นจิตวิญญาณเป็นธาตุรู้
พอไปเป็นกาย รูปนาม ซึ่งมีภายนอกภายใน ซึ่งคำว่า กาย มีความหมายมากมายหลากหลายในยะเยอะแยะมากมาย อาตมาอธิบายหลากหลายจนบางคนก็ว่า ไปคิดให้หลากหลายมากมายได้อย่างไร อรรถกถาก็ไม่ได้ว่าไว้
ถ้าไม่เข้าใจการแยกกายให้ดีๆ มันไม่มีทั้งเบื้องต้นและไม่มีทั้งตอนปลาย ต้นและปลายมันผิดออกนอกทางไปหมด คำว่ากาย สำคัญมากในการปฏิบัติธรรม ซึ่งอาตมาก็ยังรู้สึกว่าตัวเองไม่ค่อยเก่งเท่าไหร่ อธิบายไปก็ยังวนๆ ยังไม่ตีแยก จนกระทั่งจับมั่นคั้นตาย จับคอตีเข่าเปรี้ยงเดียวสลบหรือตายเลย มันไม่
ต้องศึกษา จะเข้าใจกาย จะทำจิตในจิตได้ ความสัมพันธ์กระบวนการของโพธิปักขิยธรรม กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม สภาพ 2 ทั้งนั้น คำว่าใน นี่นะ
กายในกายก็ 2 เวทนาในเวทนาก็ 2 ทีละคู่ๆ จิตในจิต เจโตปริยญาณ 16 ก็อธิบายทีละคู่ ธรรมะ 2 ก็อธิบายทีละคู่ ความดีความชั่ว เป็นโลกีย์ ความสุขความทุกข์ เป็นโลกุตระ บุญบาป เป็นโลกุตระ เป็นต้น
แล้วก็มาปฏิบัติ การปฏิบัติจะต้องปฏิบัติที่กายกับเวทนา โดยเฉพาะกายคือ บอกสภาวะของสภาพสอง สภาพนอก สภาพใน สภาพหยาบ สภาพละเอียด สภาพที่ต่างกัน แต่คุณจะต้องไปปฏิบัติที่เวทนา ตัวความรู้สึกที่ละคู่ๆ อาตมาถึงบอกว่าหัวใจของศาสนาพุทธอยู่ที่พระไตรปิฎกเล่ม 10 ข้อ 60 ธรรมทั้งสองเหล่านี้ รวมเป็นอันเดียวกันกับเวทนา โดยส่วนสอง (เทฺว ธมฺมา ทฺวเยน เวทนาย เอกสโมสรณา ภวนฺติ ฯ ) ล.10 ข.60
ทำความเป็นเทวะได้สูญ ไม่ติดยึดในเทวะ แต่เราสามารถจัดการเทวะ สภาพ 2 นี้ให้เป็นอะไรก็ได้ สภาพ 2 ที่เป็นจิตนิยามปรุงแต่งกันอยู่เป็น 2 เป็นรูปนาม สภาพ 2 ที่เป็นพีชนิยาม ก็สามารถทำให้เป็น พีชนิยามได้จริงๆเลย สภาพ 2 ของพีชนิยาม ก็เป็นการปรุงแต่งสังขารของวัตถุที่เอามาปรุงแต่งมาเป็นตัวเองของพืชพันธุ์ธัญญาหาร แล้วมันก็ไม่มีเวทนาไม่มีวิญญาณ เราก็รู้แล้วก็ทำใจในใจโยนิโสมนสิการเรา ให้เป็นอย่างนี้ เกิดความรู้สึกอย่างนี้ เวทนาอย่างที่มันเป็นพีชะ มันไม่สุขไม่ทุกข์ มันไม่มีคู่ 2 ไม่มีก่อบาปก่อบุญ มันมีแต่ตัวเองของมัน ทำแต่ตัวเอง ใครมารังแกถูกรังแก ไม่สู้ รักษาตัวรอดป้องกันตัวเองอย่างเดียว รักษาตัวรอดได้ก็ได้ รักษาตัวรอดไม่ได้ก็ตาย เสื่อม ตาย ก็แค่นั้น มันจึงไม่สร้างภัยสร้างพิษให้แก่ใคร
ฉะนั้นทำจิตเจตสิกให้เป็น พีชะ มันจึงเป็นพลังงานธาตุรู้ที่ปลอดภัย ไม่ก่อเวรก่อภัย ไม่ก่อวิบากอะไรที่จะต้องอยู่ในวัฏฏสงสารอีก เป็นประโยชน์ตนประโยชน์ท่านครบบริบูรณ์อยู่ในนี้
จนสามารถแยก พีชะ ให้เป็นอุตุได้อีก ก็ยิ่งไม่เป็นชีวะเลย เป็นดินน้ำไฟลมไปได้จริงๆ ชัดเจน ตัวเองศึกษาฝึกฝนตั้งแต่เป็นๆ ที่เราไปยุ่งเกี่ยวกับโลก ไปวนอยู่กับ ไปเป็น ไปมี ไปเกิด ไปได้ อย่างที่เขาเป็นกัน อยู่ในองค์ประกอบนั้น เหตุปัจจัยนั้น ในโลกที่เป็นโลกต่ำๆโลกหยาบๆ โลกที่จะร่ำรวยเป็นต้น มันก็ต้องไปหาวิธีการแย่งเขาอย่างสุจริต ไปแย่งเขาอย่างทุจริตมันก็เลวๆๆ แล้วจะให้ได้มากด้วย มันก็ก่อกรรมก่อเวร จะเอาไปทำไมตายไปแล้วก็ 0 ถ้าชัดเจนตายแล้วเราจะปรินิพพาน สูญเป็นดินน้ำไฟลมไปเลย แล้วจะเอาไปทำไม ก่อเวรภัยกก่อข้าศึก ก่อศัตรูผู้ที่จะต้องเวียนว่ายตายเกิด ทั้งดูดทั้งผลัก ทั้งรักทั้งชังอยู่ตลอด
ผู้ที่มีปัญญาปฏิภาณฉลาดอย่างนี้แล้ว ก็ไม่เป็นสร้างอย่างนั้น มาทำปรินิพพานให้สมบูรณ์ ทำจิตให้เป็นพีชะได้ มนสิการทำจิตเราให้เป็นพีชะ อุตุได้ ชัดเจนตั้งแต่ตอนเราเป็นๆจนชัดเจนสมบูรณ์ ตายแล้วไม่มีเศษเหลือที่จะต้องมาวนเวียนกันอีกนะ มีวิมุติญาณทัสนะ ตรวจสอบแล้วตรวจสอบอีก เตวิชโช อย่าว่าแต่เตวิชโชเลย ตรวจสอบด้วยเจโตปริยญาณ ตรวจสอบทุกอย่าง ทั้งภาคปฏิบัติ จรณะ 15 วิชชา 8 ตรวจสอบไปจนกระทั่งขยายเป็นโพธิปักขิยธรรม 37 กายคืออย่างไร คู่กายในกาย คู่เวทนาในเวทนา คู่จิตในจิต คู่ธรรมในธรรม
จิตในจิตเป็นมาตรวัด ส่วนธรรมในธรรมเป็นการแยกโลกุตระกับโลกีย์ เราทำแต่ดี ไม่ทำชั่ว เสร็จจบ เสร็จแล้วโลกุตระไม่สุขไม่ทุกข์ สุขทุกข์มันยังเป็นคู่หูที่หลอกมนุษยชาติเป็นมายากล เป็นนักมายา เราไม่เอาแล้วสุขทุกข์ อารมณ์อย่างนี้เวทนาในเวทนา
ก็มาเรียนที่เวทนาสุขทุกข์นี่แหละที่เป็นโลกีย์ มันก็หลง เพราะฉะนั้นเทวนิยมไปหลงสุขเป็นสุขนิยมเลย เพราะเขาไม่ได้แยก เขาไม่ได้เรียนเขาติดสุขเลย แล้วสุขเขาก็ไม่รู้สุขโลกีย์ เขาติดอยู่ในสุขโลกีย์ มันก็บานทะโร่เป็นปากกรวย ไม่รู้จักจบจักพอ
ปัญญาวุฒิ ที่ท่านให้มาทำใจในใจแล้วแบ่งธรรมะ แยกธรรมะ ธรรมะดีชั่วที่เป็นโลกีย์เราจบมั่นคงแข็งแรงแล้ว สัพพปาปัสสอกรณัง กุสลัสสูปสัมปาท ไม่ทำชั่วแล้วทำแต่ดีเด็ดขาด จิตสะอาดจากโลกีย์นี้แล้ว เป็นโลกุตระ ก็คือปราบกิเลสเลย ตัวเหตุใหญ่ ปราบด้วยบุญ ปราบด้วยฌาน เป็นพลังงานไฟ เป็นพลังงาน อุณหธาตุ สลายพลังงานทุกอย่างเลย อุตุก็เป็นพลังงาน พีชะเป็นพลังงานจิตก็เป็นพลังงาน
แล้วสามารถสร้างพลังงานบุญไปเผาพลังงานที่มันจับตัวได้เก่ง คือพลังงานของ ราคะ โทสะ โมหะ พลังงานจิตที่มันโง่มันต้องเสพสุขเสพทุกข์ อยู่ที่ราคะโทสะโมหะ นี่ จนสามารถทำพลังงานนี้เก่ง สลายพลังงานพวก ราคะ โทสะ โมหะ ได้หมด จนกระทั่งค่อยๆทำมาเป็นพีชะ
แล้วก็สร้างพลังงาน ขยายพลังงาน กระจายพลังงานสังขาร พีชะ ยังเป็นสังขาร ยังเป็นสัญญากำหนดรู้ มันก็ต้องเรียนรู้สังขาร เป็นวิชชา รู้จักสังขาร เป็นวิญญาณหรือไม่ใช่วิญญาณ ถ้ายังเป็นวิญญาณอยู่ มันก็ไปเป็น สัตว์ ถ้าทำแค่ไม่เป็นวิญญาณ มันเป็นแค่สัญญาและสังขารปรุงแต่งกันเป็นแค่ พีชะ แค่พืช ไม่สุขไม่ทุกข์ ไม่มีเวรมีภัยต่อ ไม่ก่อวิบากอะไรอีก ก็อาศัยฐานนี้เป็นฐานสำคัญ สร้างความจบ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ หรือทำอัตตสัมมาปณิธิ ก็ทำตัวเราให้หยั่งลงตั้งลงให้ถูกสัมมา ซึ่งพระพุทธเจ้าท่านสอนสัมมาไว้หมด เยอะแยะ สัมมา
ตั้งแต่สัมมาหยาบคือสัมมาของมรรค 8 สัมมาละเอียดลงไปคือสัมมาทิฏฐิ 10 นอกนั้นก็สัมมาอาชีวะ 5 สัมมากัมมันตะ 3 สัมมาวาจา 4 สัมมาสังกัปปะ 3 มีสัมมาสติ สัมมาวายามะด้วย
ทำให้ถูก สติที่ถูกต้องกับสติที่ไม่ถูกต้อง สัมมากับมิจฉา ความพยายามที่ถูกต้องกับความพยายามที่ไม่ถูกต้อง พยายามสร้างโลกีย์ ไปในทิศทางที่ไม่รู้จักจบ ก็พยายามที่จะละหน่ายคลายจบ
สติ โจรใหญ่มันตั้งสติแม่น ไม่มีสติก็ยิงคนไม่ถูกหรอก มันก็ต้องมีสติทั้งนั้นแหละ แต่เป็นมิจฉาสติ แต่นี่ต้องเป็นสัมมาสติ ทางกายวาจาใจครบสติเต็มตื่นเต็มร้อย สติก็คือร้อยที่ทำงานเต็มที่ เสร็จแล้วสัมมาสติกับสัมมาวายามะ เป็นพลังงานช่วยการปฏิบัติ เสริมการปฏิบัติ ท่านใช้คำว่าห้อมล้อมช่วยสัมมาทิฏฐิ 10 แล้วก็ไปปฏิบัติให้สัมมาอาชีวะ 5 ให้หมดมิจฉา 5 กัมมันตะ 3 ให้หมดมิจฉา 5 วจี 4 ให้หมดมิจฉาวาจา 4
สังกัปปะ 3 มีกามกับพยาบาทกับวิหิงสา กามพยาบาทคือภพนอก แล้วรูปภพ อรูปภพอีกทีละคู่ หมดอีก กามกับพยาบาทคือผลักกับดูด รูปก็มีผลักกับดูด ต้องทำข้างนอกปอกเปลือกออกก่อนจึงจะทำไปถึงกระพี้ถึงข้างใน จึงจะได้จริง แต่นี่ไปนั่งหลับตาบอกว่าจะทำข้างใน แต่เปลือกมันยังหุ้มอยู่เลยให้มันระเบิดออกมาเหมือนกับระเบิดปรมาณู ตลก อันนั้นมันไม่จริง พลังงานระเบิดปรมาณูมันเป็นอุตุมันไม่รู้อะไร แต่นี่มันมีชีวะ ถ้ารู้เป็นขั้นเป็นตอนต่างกันกับพลังงานจากวัตถุ วัตถุมันไม่รู้ตัว มีแต่สะสมความเป็นนิวเคลียสมากๆ จนกระทั่งมันเป่ง ใครรู้จักจุดตายของเจ้านี่ จิ้มไปก็เกิดการระเบิด ก็เอาพลังงานนี้มาใช้เป็นส่วนไป เขาก็ศึกษาอาศัยซึ่งมันก็ง่ายกว่าพลังงานทางจิต
พระพุทธเจ้าถึงมาศึกษาพลังงานทางจิต และสอนเรื่องเหตุและควบคุมพลังงานที่มันทำร้ายทำลายกัน ด้วยการเอาพลังงานปรมาณู พลังงานวัตถุ พลังงานของอุตุ มาทำร้ายกัน ก็ควบคุมอีกที
ปุพเพกตปุญญตา คือ ทุกคนสั่งสมวิบาก สั่งสมกรรมของตนเองให้มันบรรลุ สั่งสมโดยการให้รู้สัมมาทิฏฐิ และมีสัมมาปฏิบัติ สัมมาปฏิเวธให้เกิดผลจริง ชาติแล้วชาติเล่า จนสั่งสมไปในตน แล้วก็มามีจริง สิ่งที่จะทำจริงๆก็คือ ปุญญะ ที่เป็นตัวจบของพลังงานทำลายพลังงานประหาร ประหารกิเลสอย่างเดียว กิเลสหยาบ กลาง ละเอียด นี่แหละอย่างเดียว
ซึ่งเป็นสภาพที่มันทรงอยู่เรียกว่า อุปธิ อุปะคือมันยังเกิดอยู่ ส่วน ธิ ซึ่งก็กิเลสนี่แหละเป็นตัวสำคัญที่มันจะอยู่กับรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์
อุปธิ พระพุทธเจ้าถึงแยกไว้ 3 กิเลส ขันธ์ อภิสังขาร
อภิสังขารคือ ความสามารถในการที่จะจัดการสิ่งที่มันปรุงแต่งกันอยู่ ตั้งแต่ปรุงแต่งเป็นจิตนิยาม พีชนิยาม จนกระทั่งปรุงแต่งเป็นพลังงานอุตุ อุตุแล้วมันก็ไม่มาวนเวียนอีก ก็เป็นพลังงานดินน้ำไฟลม ไปกว่าจะมาจับตัวเป็นพืชตามธรรมชาติหรือเป็นสัตว์อีก อีกนานแสนนาน ก็วนเวียนอยู่ในความรู้เหล่านี้แหละ ถ้าใครจัดการทำจิตให้มันเป็นอุตุได้เลยก็จบ จะวนเวียนสั่งสมเป็น อุตุ ตามธรรมชาติให้มาเกิดเป็นพีชะ จากพีชะ กว่าจะสั่งสมตนเองไปเป็นสัตว์หรือจิตนิยาม มันนับชาติไม่ถ้วนเลย มันก็วนเวียนในนี้ไม่เลิก
ผู้มีปัญญาทำให้จิตไม่จับตัวกันอีก ไปเป็นธาตุอุตุนิยามไปเลย เสร็จสิ้นนิรันดร เพราะฉะนั้นผู้ที่ปรินิพพานเป็นปริโยสานของพระพุทธเจ้า จึงหมดภาษา จึงหมดความเป็นความมี ที่มันจะมาเกิดเป็นอัตภาพที่เรียกว่าจิตนิยามกันอีก เพราะกว่าที่มันจะกลับมาเป็นพลังงานอุตุ ไปเป็นความร้อน แสง เสียง แม่เหล็ก ไฟฟ้า ที่วิทยาศาสตร์เขาเอามาใช้กัน พลังงานต่างๆเหล่านี้จะถูกใช้วนเวียนไปอยู่ในวัฏสงสารนี้ ถ้าไม่มีตัวจิต ตัวที่เป็นอุปาทานก็เป็นอัตภาพ มีตัวกูๆๆ พีชนิยามมันเกาะกันแล้ว มันก็เกาะกันพอสมควร แต่มันยังไม่ยึดตัวกูทีเดียว ยึดหลวมๆไม่เหมือนจิตนิยาม จิตนิยามยึดเต็มไม่ยอมแตกไม่ยอมแยก แล้วเหนียวแข็งแน่น พีชะยังไม่เหนียวไม่แข็งไม่แน่นเท่า
ผู้ที่รู้จักสภาพความจริงทั้งหลายของธรรมนิยามทั้ง 5 ทำได้ด้วยกรรม ความรู้ ธรรมะทรงไว้และรู้ ธรรมะคือการทรงไว้ แล้วรู้ ทรงไว้คือ static รู้ก็คือ dynamic เป็นคู่ 2 ธาตุ บวกกับลบ แล้วแยกแยะโดยมีธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ แยกแยะถูกผิดดีชั่วทีละคู่ เลือกเอาแชมป์ๆ ก็ได้แขมป์ที่ยอดสุดเป็นอรหันต์ ยอดสุดเป็นศาสดา ยอดสุดแห่งการทำลายตัวเอง ทำลายอัตภาพตัวเองให้สิ้นซาก เป็นอุตุนิยาม เป็นพลังงานของดิน น้ำ ไฟ ลมไป ถือว่าจบตรงนี้
นี่ก็ขยายความพลังงานวนเวียนให้รู้ โดยธรรมะนิยาม 5 อุตุ พีช จิต กรรม ธรรม
กรรม คือตัวปฏิบัติ ตัวกระทำ คือพฤติ อย่างสำคัญที่คุณจะทำ ทำให้สำเร็จตามที่คุณรู้ ธรรมะคือตัวรู้และตัวทรงสภาพไว้ “มี” กับ “รู้” ความจริงกับความรู้ ความจริงภาษาใช้ก็ถือว่าเป็นความมี มีตัวตนและมีสภาพ สลายตัวตนหรือสลายสภาพ ให้ไม่มี ให้ไม่มีตัวตน ไม่มีสภาพนั้นอีก
ธรรมะคือ จะให้อยู่ หรือจะให้แยก เทวธัมมะ มันเป็นสภาพ 2 ก็ต้องเรียก เทวธัมมา ก็ต้องรู้จักแยกและรู้จักรวม ในตราบที่เรายังอาศัยมันรวมอยู่ ก็อาศัยมันอย่างสักแต่ว่ามี สักแต่ว่าอาศัย พลังงาน ส กับ ย
ส กับ ย คือ พลังงานตัวอักษรของเศษวรรค ย พลังงานตัวแรกเลยของเศษวรรค มาจับตัวกันเข้า ก็เรียกพลังงานจับตัว ชื่อว่าพลังงานแม่เหล็ก จับตัวกัน
อย อะ คือสภาพเกิด อ คือ 0 นะ เอามาเริ่มต้น อะคือตัวต้นของสระ ย คือตัวต้นของเศษวรรค อย คือพลังงานแม่เหล็กตัวแรกเลย อย ยั่วก็พัวก็พัน ในโคลงโลกนิติ
อย มีพลังงานแม่เหล็ก อย ยั่วก็พัวก็พัน มันมีพลังงานอะไรดูดดึงกันเข้าไป ภาษาไทยมาอธิบาย พระพุทธเจ้าส่งเสริมให้เอาภาษาถิ่น ภาษาที่อธิบายกันเข้าใจมาอธิบาย
ก็คงพอ ที่จะอธิบายจักร 4 พอแล้ว ปัญญาวุฒิ 4 ก็พอ
วิธีจบนิยาม 5 จบนิยายของตนอย่างนิรันดร
ทีนี้นิยาม 5
ถ้าคนที่เรียนรู้ธรรมะพระพุทธเจ้าไม่เข้าใจนิยาม 5 นี้ ทำนิพพานไม่ได้
นิพพานเป็นก็คือพีชะ นิพพานตายก็คืออุตุ นิพพานเป็นคือ นิพพานแล้ว จิตเราไม่สุขไม่ทุกข์แล้ว ไม่ทำบาปอีกแล้ว เป็นคนดีๆๆ คุณจะยังไม่แยกธาตุตัวเองเป็นอุตุ เป็นดินน้ำไฟลม คุณจะเกิดอีกกี่ชาติก็อีกเป็นล้านชาติมันก็ไม่เป็นปัญหา ไม่เป็นโทษเป็นแต่ประโยชน์ จึงเป็นหลักประกันสูงสุดเลยในความรู้และความจริงอันนี้ คุณจะอยู่อย่างพีชะ ก็อยู่ไปเลยเพราะคุณไม่ทำสิ่งที่เป็นพิษภัยกับใคร มันเป็นตัวเอง รักษาตัวรอดเป็นยอดเดี่ยว ใครมาทำลายจนไม่เต็มเต็งสักวันก็เสริมหรือสักวันพัฒนาจาก พีชะ ก็ไปเป็นสัตว์เดรัจฉานสัตว์เซลล์เดียว เป็นพัฒนาการของธรรมชาติ ธรรมดา
ยิ่งได้รับคำสอนจากผู้รู้ก็จะพัฒนาการก้าวหน้าได้เร็ว เพราะมีวิธีการ มีทฤษฎี มีแบบอย่างที่สอนให้มีระเบียบ ที่เป็นลำดับอย่างน่าอัศจรรย์ อันนี้แหละลึกซึ้ง ลัดไปลัดมาๆ นี่ช้า เป็นระเบียบอย่างละเอียดลึกซึ้งเป็นลำดับไปอย่างเรียงแถว อันนี้มันจบในตัวๆ ไม่ต้องวกวนทำซ้ำเก็บละเอียดไม่ต้อ มันทำทีเดียวจบเลย ถ้าวกวนไปมามันจะช้าเสียเวลา
พวกวิตกจริตจึงวนเวียนซ้ำซากกว่าจะจบ 80 อสงไขย ศรัทธาก็ยังยาวนาน ไม่มีปัญญารู้ละเอียดลออ ถ้ามีปัญญารู้ละเอียดลออก็เร็วที่สุด ไม่ใช่พระพุทธเจ้ามาชมเชยตัวเอง แต่มันเป็นสัจธรรม แม้เราจะเป็นตระกูลศรัทธา เราก็ต้องมาใช้ตระกูลปัญญา จนกระทั่งคุณจะเปลี่ยนตระกูลจากศรัทธามาเป็นปัญญาก็ได้ เปลี่ยนได้แต่นานหน่อย ถ้าอยากเปลี่ยนก็เปลี่ยน คุณก็เอาที่เปลี่ยนตะกูลก่อนจะจบปรินิพพานเป็นปริโยสาน แต่คุณจะไม่เปลี่ยนตระกูลคุณเป็นศรัทธาตระกูล คุณก็ปรินิพพานได้มันก็จบเหมือนกัน หรือเป็นผู้หญิง อยากจะเปลี่ยนตระกูลมาเป็นผู้ชายก็ได้ แต่ถ้าคุณไม่เปลี่ยนก็ปรินิพพานปริโยสานได้ อย่างนี้เป็นต้น ก็ไม่ใช่เรื่องประหลาดอะไร แต่โพธิสัตว์นี้ต้องเรียนรู้หมด เป็นผู้หญิง เป็นผู้ชาย เป็นพีชะ เป็นสัตว์ เป็นจิตเรียนหมด โพธิสัตว์เรียนรู้ครบรอบหมดจึงจะมาบอกคนอื่นได้ครบ ที่พูดนี้เป็นโพธิสัตว์จริงไม่ได้เอาคำคนอื่นมาพูด เอาความรู้ของตัวเองเอามาอธิบาย อาตมาจะอธิบายโดยไม่มีอะไรมาอธิบายมันก็เละเทะ เลอะเทอะ คนฟังก็จะรู้เองว่าเป็นการสับสนวนเวียนวุ่นวาย แต่นี้มันเป็นระบบมันเป็นระเบียบ หมุนรอบเชิงซ้อนที่ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ที่พูดนี่ไม่อยากชมตัวเอง พูดไปเดี๋ยวกลายเป็นชมตัวเองมากไป
พระพุทธเจ้าสรุปลงที่กรรม
-
กัมมสัทธา (เชื่อกรรมเป็นเหตุ)
-
วิปากสัทธา (เชื่อผลวิบากของกรรม) &
-
กัมมัสสกตาสัทธา (เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็น สมบัติแท้ของตน กรรมเป็นพระเจ้าบันดาลแท้)
-
ตถาคตโพธิสัทธา (เชื่อความตรัสรู้ของตถาคต)