640702_พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ อานาปานสติสูตร ตอน 3
ดาวโหลดเอกสารที่
https://docs.google.com/document/d/1Gg4qtuC71DQtinI0e5fkoQiFHg4qoNevribsNDF2a2A/edit?usp=sharing
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1nnjvAax_Ri_JsOmUlRSXEX6PbFDsOUBA/view?usp=sharing
และดูวิดีโอได้ที่ https://youtu.be/RBv9Ns0MhBI
ธรรมะสองของการเอาตัวรอดในภาวะโควิด
_39อภิชาติ โชคสุข : ช่วยไปไล่ประยุทธหน่อยครับบบ เมื่อไรจะเปิดร้าน เหมือนเอาตัวรอดคนเดียวเลย
พ่อครูว่า… คนที่มาจะมีความกล้าเหมือนประยุทธ์หรือเปล่า เพราะว่างานนายกรัฐมนตรีนี้ทำเป็นเล่นไป คนไม่ทำงานเอาแต่คิดจะโกงกิน หารายได้เท่านั้น มันไม่ยากเท่าไหร่หรอก แต่คนเราจะป้องกันความเลวและสร้างสรรสิ่งที่ดีแก่สังคมมนุษยชาติ มันยากกว่ามองอย่างทักษิณมองมุมเดียว ประชาชนสังคมประเทศชาติจะฉิบหายวายป่วงไม่มอง มองแต่ว่ากูจะเอาอย่างเดียว ประชาชนประเทศชาติช่างมัน มองเอาประเด็นเดียว ก็สร้างวิธีโกงกินอย่างที่เขาได้ทำแล้วหาที่สุดไม่ได้ในความเลว แล้วเดี๋ยวนี้ก็ยังไม่หยุด ยังตากหน้าทำหน้าทะเล้น ซึ่งมันน่าจะละอาย หรือหยุดพักรู้สึกตัวแล้วก็ยังไม่หยุด อันนี้เราก็ไปบังคับเขาไม่ได้ ไปทำให้เขาเห็นเองไม่ได้เขาจะต้องเป็นตัวของเขาเอง แล้วพวกลิ่วล้อก็จะมีการยุแหย่ หาทางที่จะ..บางคนก็อาศัยเขามาพินอบพิเทาป้อยอให้ข้อมูลเท็จต่างๆ เขาก็ต้องให้เขาทำอยู่ด้วยเขาต้องอาศัยกันและกัน เรื่องมนุษยชาติในโลก ในยุคนี้อาตมาก็ว่ามีอันนี้แหละ ถ้าหากผ่านทักษิณไปแล้วเขาจะหยุดโดยเขารู้ หรือเขาจะหยุดเพราะเขาตาย แต่ไม่แน่หรอกคนที่จะมาต่อ ก็ไม่มีทางทำเหมือนทักษิณ ต่อให้ร้อยยิ่งลักษณ์ก็ทำไม่ได้ ดูคนอื่นจะอวดดีทั้งนั้น พูดไปก็เท่านั้นค่อยๆเป็นไป เราทำสิ่งที่เห็นควรร่วมมือร่วมใจกันให้มาก สิ่งที่เห็นดีเห็นงามก็ต้องพูดกันรวมตัวเพื่อจะสร้างสรรสิ่งที่เป็นเนื้อแท้ เนื้อจริงให้มีน้ำหนัก ให้มีคุณภาพ Quality และ Quantity มีทั้งคุณภาพและปริมาณ ให้มันมากขึ้น 2 นัยยะสภาวะ 2 คุณภาพและปริมาณ 2 ทุกอย่างสภาพ 2 ยิ่งใหญ่เรียนไปเถอะอาตมาเรียนสรุปหลายทีล่ะ
เทวะหรือสภาพ 2 เนี่ยสุดท้ายจบสุด คนที่มีความรู้ในเรื่องสภาพ 2 จะเห็นความแตกต่างของสภาพ 2 ตั้งแต่หยาบที่สุด ที่เห็นชัดได้ จนกระทั่งใกล้เคียงกันต้องพิจารณาว่าอันไหนควรหรือไม่ควรก็ขึ้นอยู่กับ เวลากาละ เทศะ ฐานะ สถานที่ ต้องรู้จักความเที่ยงของทั้ง 3 อย่างนี้ สถานะของแต่ละบุคคลและแต่ละบริบทของสังคม จะต้องชัดเจน เอา status quo องค์ประกอบที่เป็นสังขารปัจจุบันนั้น เอามาใช้ เราจะรับผิดชอบหน้าที่สังขารกว้างเท่าไหร่ เราก็ต้องรู้ตัวเรา อ้าขาผวาปีกเกินหน้าที่ เกินกว่าสิทธิเรามันก็จะไม่ได้ อย่าไปอวดดีเป็นอันขาด ที่เราอวดเก่งอวดดีโดยไม่มีมัตตัญญุตา ไม่ประมาณตน ไม่ประมาณธรรมะ ไม่ประมาณองค์รวมของสิ่งที่ทำ
สัปปุริสธรรม 7 คือ 1.ธัมมัญญุตา เป็นผู้รู้จักเหตุ 2.อัตถัญญุตา เป็นผู้รู้จักเป้าหมายจุดประสงค์ 3.อัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักตน ตัวเราแค่ไหนแล้ว 4.มัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักประมาณ 5.กาลัญญุตา เป็นผู้รู้จักกาล 6.ปริสัญญุตา เป็นผู้รู้จักชุมชน สิ่งแวดล้อม 7.ปุคคลปโรปรัญญุตา เป็นผู้รู้จักบุคคล
สรุปว่า ก็น่าเห็นใจคุณอภิชาติ อาจเดือดร้อนในหน้าที่การงานตอนนี้ ก็ควรจะช่วยเหลือตัวเองให้พึ่งพาตัวเองได้เช่นปลูกผักคอนโด ทำแบบไร้สารพิษ หลายกระถางซ้อนกันไป เวลารดน้ำก็รดน้ำตั้งแต่ข้างบนมันก็ไหลลงมาข้างล่างทั้งหมดอีก เป็นการประหยัดน้ำด้วย เป็นการทำแบบประโยชน์สูงประหยัดสุด
เอาสองข้างๆละ 20 สายเก็บกินไม่ทันเลย อาตมาว่าคนไม่สิ้นไร้ไม้ตอกหรอก แม้อยู่ในเมืองกรุงก็ทำได้ บ้านเช่าเราก็ทำได้ห้อยลงไป รอบๆบ้านก็ทำได้แต่มันได้ชั้นเดียว ถ้าปลูกผักแบบคอนโดมันได้หลายชั้นหลายอันก็ว่าไป ค่อยๆคิดหาทางออกเอาตัวรอดให้ได้โดยสุจริตตัวอยู่กับกสิกรรมนี่แหละอาตมาว่าไปรอด
_รุ่งศรี แก้วดวงสี : กราบนมัสการทั้งสามท่านค่ะ คิดเหมือนท่านฟ้าไทเลย ว่าพ่อครูนี่แหละ คือคนที่เป็นพ่อ อย่างแท้จริง ธรรมะจัดสรรเมื่อไหร่ จะมาค่ะ เพื่อรับใช้พ่อท่าน ตอนนี้ขัดเกลาตัวเองรอไปก่อนค่ะ
พ่อครูว่า… ยินดีต้อนรับ จะรอ ดีอย่าให้ช้าเกินล่ะ
สำคัญอาหาร 4 ที่ไม่ใช้แค่กวฬิงการาหาร
_หิ่งห้อยริมมูล : ขอกราบเรียนถามพ่อครู เรื่องอาหาร 4 ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า อาหารเป็นหนึ่งในโลก น่าจะหมายถึงกวลิงกฬาหารเป็นหลัก จึงทำให้พวกเราหมกมุ่นอยู่กับ อาหารหยาบคือคำข้าวอย่างเดียว ส่วน ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหารและวิญญาณอาหาร มีความสำคัญมากหรือน้อยต่างกันอย่างไร และทำอย่างไร พวกเราจึงจะได้ชื่อว่า เป็นผู้มีอาหาร 4 ครบบริบูรณ์
พ่อครูว่า… ดี หิ้งห้อยริมมูลเขากระตุกต่อมหลงใหล ให้รู้สึกหน่อยนึง
อาหารมันช่วยสังขาร ร่าง คือสรีระ
กาย มันมีหลายนัยยะมากมุม
ตั้งแต่เริ่มต้น เช่นเป็นสังโยชน์ข้อที่ 1 หรือเริ่มต้นบวช อุปัฌาย์อธิบายกรรมฐาน 5 ให้ฟัง แยกให้ได้เมื่อไหร่เป็นกาย หากไม่มีกายก็หมดสุขหมดทุกข์ ก็บอกว่าเป็นอรหันต์สิ หรือมีกายอย่างมิจฉาทิฐิก็ปฏิบัติธรรมผิด ฝากไว้ก่อนประเด็นพวกนี้
ถ้าคำว่ากายคำเดียวคนเริ่มสัมมาทิฏฐิไม่ได้ สัมมาทิฏฐิตัวปลายคือแยกกายแยกจิตได้สำเร็จเป็นธรรมนิยาม 5 เริ่มต้นคือกายของตนเองนี้มีสภาวะอย่างไรรู้แต่พยัญชนะภาษา ยิ่งไปรู้ว่ากายเป็นหนึ่งเดียวไม่มีจิตร่วมคนนี้ปิดประตูบรรลุธรรม ให้เป็นปราญช์ขนาดไหนก็ปิดประตูบรรลุธรรม เช่นพวกหลับตาปฏิบัติปิดประตูบรรลุธรรม เพราะเขาไม่มีกาย แม้แต่แค่ลมหายใจนิดเดียวก็ขาดไม่ได้ ท่านเน้นให้เห็นว่ามันต้องมีข้างนอก ขาดลมก็ปิดประตูโมฆะเลย จะมีกิเลสกับลมหายใจเข้าออกแค่ไหนเชียว หากว่าตื่นรู้รับรู้ภายนอก จะมีกลิ่นอะไรมากระทบมากมาย ยังมีลิ้นรับรส กายสัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็งอีก คุณก็ไม่ได้เรียนรู้ ของหยาบอย่างนั้น อย่างมหาบัวลืมตาปฏิบัติ ไม่รู้เรื่องเลยว่าตัวเองติดยึด มันเป็นโลกียรส ขาดปากไม่ได้เลยมันก็ยาก ซึ่งคนก็ไม่รู้
คนที่ติงมานี้ดี อาหารที่พอเลี้ยงร่างก็ดี แต่แม้จะพร่องไปหน่อยอายุสั้นลงก็ไม่เป็นไร จะอยู่ยาวไปอะไรกันนักหน้า จะอยู่ไปเพื่อเอาแต่เรื่องนี้ก็ได้ แต่มันมีอะไรมากกว่านั้นให้รู้
กระทบสัมผัสทวาร 5 แล้วเกิดกิเลสอีกอย่างไรในเจตนา ในผัสสาหารมีเวทนา มีสุขกับเหตุปัจจัยอย่างนั้นอย่างนี้ ตามศีลแยกประจำลำดับ ก็ต้องมาเรียงให้เป็นหมวดหมู่ลำดับบ้าง ไม่งั้นก็ติดแต่เรื่องนั้น หมกมุ่นยาวนาน อาจจะเด่นอาจจะเก่งเรื่องนั้น แต่จะทำให้กิเลสตัวเองในระดับ ผัสสะ เจตนา วิญญาณ ไม่รู้กิเลสในประเด็นอื่นๆนั้นเลย
เพราะฉะนั้นก็ยังติดในรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสที่อยาบอยู่ ในเรื่องของกามก็ยังไม่ไปไหนยังมีกามรส ตั้งแต่เรื่องเพศตั้งแต่เรื่องเมถุน ตั้งแต่เรื่องสมสู่ คนต่อคน จนกระทั่งเฉพาะเรื่องรูป รส กลิ่น เสียง อะไรอีก มันก็ไม่ถ้วนทั่วไม่สมบูรณ์ไม่บริบูรณ์สักที เพราะฉะนั้นอย่าไปหมกมุ่นอยู่แค่ประเด็นเดียวหนักไปในทางเดียวมากมายนะ จะต้องเฉลี่ยให้ชัดเจนครบไป ถ้วนทั่ว 5 ทวาร 6 ทวารกับจิต แล้วนอกก่อนถึงจะถึงใน อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งมันก็ไม่ง่าย
อานาปานสติ ตั้งใจจะทวนให้ดีๆอีก
ทั้งสติปัฏฐาน 4 และอานาปานสติต้องลืมตาปฏิบัติ
อานาปานสติคือคู่สำคัญของสติปัฏฐาน 4
1.กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน (กายในกาย) .
(การกำหนดสติพิจารณากาย คือ การรวมประชุมกัน ทั้งกายนอก-ใน ให้รู้เห็นความจริง) กายนอกได้แก่..
ก. อาณาปาณสติ (กำหนดสติรู้ลมหายใจเข้า-ออก)
ข. อิริยาบถ (กำหนดรู้เท่าทันไปกับอิริยาบถ)
ค. สัมปชัญญะ (ทำความรู้สึกตัวในการกระทำทุกอย่าง)
ง. ปฏิกูลมนสิการ (พิจารณากายเป็นของไม่สะอาด)
จ. ธาตุมนสิการ (พิจารณาเห็นกายโดยความเป็นธาตุ)
ฉ. นวสีวถิกา (พิจารณาซากศพในสภาพกระจายไป)
-
เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน . . การตั้งสติกำหนดพิจารณา “เวทนาในเวทนา” (ทั้ง 108 เวทนา) ให้รู้เห็นทุกข์(ที่เป็นทุกขอริยสัจ) ตามความเป็นจริง
-
จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน . การตั้งสติพิจารณาเห็น “จิตในจิต” ให้รู้จิตที่เจริญขึ้นหรือยังข้องตามสัจจะจริง
-
ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณา “ธรรมในธรรม” ให้รู้เห็นจริงตามความจริง ได้แก่ นิวรณ์5, ขันธ์5, อายตนะ6, โพชฌงค์7, อริยสัจ4 .
(พตปฎ. เล่ม 10 ข้อ 273 – 300)
คุณจะต้องมีสติปัฏฐาน 4 หมายถึงต้องมีสติเป็นฐานปฏิบัติในการลืมตา ลืมตาทั้งภายนอกภายในมีชาคริยาตื่น ไม่ใช่สติแข็งแรงอยู่แต่เพียงภายในใจในใจจิตในจิตอยู่ในภวังค์แต่ลืมตามาข้างนอกตื่นมาไม่มีสติเลย ขออภัยยกตัวอย่างเช่นมหาบัวไม่มีสติไม่มีปัญญา เมื่อไม่มีสติปัญญาไม่มีหรอกมีแต่ เฉโก ความรู้รอบโลก สติกับปัญญาเป็นคู่สำคัญไปด้วยกันมาด้วยกันเลือดราชธานีอโศก ไม่ใช่เลือดสุพรรณนะ เป็นอย่างนั้นจริงๆ
เพราะฉะนั้นถ้าเผื่อว่าแยกสติปัฏฐาน 4 กับอานาปานสติ 4 สติปัฏฐาน 4 ต้องทำแบบตื่นลืมตาหมด อานาปานสติก็ต้องมีสภาพตื่นพร้อมทั้งกายกรรมวจีกรรมมโนกรรม ต้องตื่นมาหมดจึงจะเรียกว่าทำสติปัฏฐาน 4 ได้ ก็คือนัยยะตาม 16 ขั้นของอานาปานสตินั่นแหละ
คุณรู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออกสั้นหรือยาวบอกแล้วว่าเป็นประเด็นแห่งความต่าง เป็นลิงค เป็นเพศ เป็นความต่างกันระหว่างสองอย่างเป็นสิริมหามายา เพราะฉะนั้นจากอันนั้นแล้วต้องรู้ให้ชัด
เรียนรู้ความต่าง กายกับจิตก็เป็นคู่ที่เป็นเทวะ คำว่า กายนี่แหละเป็นประเด็นยากเป็นนัยยะหยาบ หมดเลย เพราะฉะนั้นจึงยาก แต่หลับตาปิดประตูเลย แม้คำว่า กายหยาบๆ ก็ไม่มีสัมมาทิฏฐิหลุดพ้นก็ยังไม่ได้เลย เทียบเหมือนกับจะเข้าไปในใจกลางภูเขา ก็ต้องเอารอบนอกภูเขาออกก่อนที่จะเข้าไปสู่ภายในได้ หรือจะกินเนื้อทุเรียนก็ต้องต่อกับข้างนอก โดยไม่ผ่านเปลือกผ่านกระพี้เข้าไปภายในมันจะได้อย่างไร มันเป็นเรื่องผิดธรรมดาผิดธรรมชาติเป็นขั้นเป็นตอนผิดลำดับไม่ใช่เรื่องลึกซึ้ง เป็นเรื่องธรรมดาธรรมดา อย่างนี้เป็นต้น
[๒๘๔] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ เป็นวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้ไม่คุยกัน บริษัทนี้เงียบเสียงคุย ดำรงอยู่ในสารธรรม
อันบริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่ควรแก่การคำนับ ควรแก่การต้อนรับ ควรแก่ทักษิณาทาน ควรแก่การกระทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่างหาที่อื่นยิ่งกว่ามิได้ ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่เขาถวายของน้อย มีผลมาก และถวายของมากมีผลมากยิ่งขึ้น ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัท อันชาวโลกยากที่จะได้พบเห็น ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทอันสมควร
ที่แม้คนผู้เอาเสบียงคล้องบ่าเดินทางไปชมนับเป็นโยชน์ๆ ฯ
พ่อครูว่า… คำว่าเนื้อนาบุญ จะว่าบุญเป็นสิ่งที่งอกเป็นผลประโยชน์ มันก็เป็นประโยชน์แต่มันไม่ได้สะสมผลที่เป็นสิ่งใด จะเป็นประโยชน์ที่การสั่งสมบุญเป็นมือสุดท้ายของเพชฌฆาตที่ฝฆ่ากิเลส
ฌานฆ่ากิเลสมาแล้วเป็นลำดับ แต่บุญนี้ตัดแน่นอนประหารอีกที ประหารสุดท้ายให้มันชัดไปเลยเด็ดขาด คำว่าบุญ มีคำจำกัดความหรือมีนิยามเฉพาะของมัน (พ่อครูไอตัดออกด้วย)
สมณะเดินดินว่า… คำว่าบุญเราใช้ผิดความหมายมานาน ทำให้ไกลจากการตัดกิเลสมาก
พ่อครูว่า… ท่านไม่ให้ศึกษาคำว่าบุญเป็นปฐม จะทำให้ฝึกทำฌานอย่างสัมมาทิฏฐิก่อน ทำแล้วอาสวะบางอย่างสิ้นได้ ส่วนบุญนี้มันถือว่าตัดอนุสัยหมดสิ้นเลย
[๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นอุปปาติกะ เพราะสิ้นสัญโญชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้ง ๕ จะได้ปรินิพพานในโลกนั้นๆ มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดา แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระสกทาคามีเพราะสิ้นสัญโญชน์ ๓ อย่าง และเพราะทำราคะ โทสะ โมหะให้เบาบางมายังโลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุสงฆ์นี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระโสดาบัน เพราะสิ้นสัญโญชน์ ๓ อย่าง มีอันไม่ตกอบายเป็นธรรมดา แน่นอนที่จะได้ตรัสรู้ในเบื้องหน้า แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญสติปัฏฐาน ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
[๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญสัมมัปปธาน ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอิทธิบาท ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
พ่อครูว่า… สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 เป็นห้องประชุมครบ 3 เส้า เป็น ISH หรือรูปนาม กับประธาน เริ่มต้นด้วย อย่างนี้แล้ว
สัมมัปปธาน 4 คือ 1.สังวรปธาน 2.ปหานปธาน 3.ภาวนาปธาน 4.อนุรักขณาปธาน
ก็ไล่ดับกิเลสไปตามลำดับ ได้ก็ดับอาสวะเป็นลำดับขั้น
อิทธิบาทเป็นตัวกำลังเป็นพลังงานเป็นตัวช่วยสำคัญ อิทธิบาทช่วยสติปัฏฐาน 4 กับสัมมัปปธาน 4 คืออิทธิบาท 4 มีพลังงานเพียร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอินทรีย์ ๕ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
พ่อครูว่า… อินทรีย์คือตัวมรรค พละคือตัวผล ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
ศรัทธาคือความเชื่อความรู้ความเห็น ส่วนในวิริยะคือความเพียร
สติ ต้องตื่นเต็ม สติ เป็นตัวกลางของอินทรีย์ 5 พละ 5 จะว่าไปแล้วผลที่ได้จากสติจะเป็นสมาธิและปัญญา ส่วนตัว 2 ข้างหน้าคือศรัทธาและวิริยะ ก็มีนัยยะที่จะต้องเป็นลักษณะของ
เป็นความรู้ความเห็นความเข้าใจความเชื่อ แล้วก็มาปฏิบัติตามความเชื่อ ถ้าเป็นความเชื่อที่สัมมาศรัทธาก็เจริญ ถ้าเป็นความเชื่อที่ไม่เป็นสัมมาก็พาออกนอก
เมื่อเป็นมิจฉาศรัทธา ต้องทำให้ได้ สายสัทธานุสารี ส่วนสายธัมมานุสารีเป็นตระกูลปัญญา แต่ไม่ใช้คำว่า ปัญญานุสารี
โคตรหรือตระกูลคนที่เกิดมา เป็นสองตระกูลระหว่างสายศรัทธากับสายปัญญา ปัญญาเป็นการรู้โดยละเอียดสมบูรณ์ แต่ศรัทธาจะเนิ่นช้า ปฏิภาณมันน้อยกว่าปัญญา ไม่ได้มีใครไปบังคับ แล้วแต่ศรัทธาจะฝึกฝนตนให้เกิดความรวดเร็วเท่าเทียมปัญญาได้ไหมก็ได้ คุณปฏิบัติให้บรรลุเป็นอรหันต์แล้วฝึกโพธิสัตว์นี่แหละแล้วสายศรัทธาจะเป็นสายปัญญาได้ หรือแม้แต่ผู้หญิงเมื่อเป็นอรหันต์แล้วอยากเป็นผู้ชาย ก็พัฒนาเป็นโพธิสัตว์ไปอีก เป็นผู้ชาย
โพชฌงค์7 มรรมีองค์ 8 ในอานาปานสติ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญพละ ๕ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญโพชฌงค์ ๗ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ
พ่อครูว่า… คู่สุดท้ายคือ โพชฌงค์ 7 กับมรรคมีองค์ 8 นี่ต้องไปคู่กัน พระพุทธเจ้าเกิด มรรคมีองค์ 8 โพชฌงค์ 7 จึงเกิด ถ้าในยุคไหนที่ไม่มีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นมาไม่มีพุทธศาสนา โพชฌงค์ก็ไม่เกิด มรรคมีองค์ 8 ก็ไม่เกิด จะเกิดได้ก็ต้องเป็นผู้ที่ได้สืบทอดปัญญา 8 ได้ฟังจากพระโอษฐ์จากสัตบุรุษจากครูผู้สัมมาทิฏฐิ รู้เองไม่ได้
อธิบายครน. หรม. จะหารออกต้องให้ครบ จะเพิ่มคูณอย่างไรก็อย่าเวอร์ ระวังให้น้อยไว้ อย่าคูณเกินเวอร์
เมื่อได้ครบโพชฌงค์ 7 มรรคมีองค์ 8 ก็อยู่ในโพธิปักขิยธรรม 37
-
สติปัฏฐาน 4 สติตรวจสอบจิตให้บริสุทธิ์
-
สัมมัปปธาน 4 ยุทธวิธีเพียรทำลายกิเลส
-
อิทธิบาท 4 ทะยานยันไปสู่ความสำเร็จ
-
อินทรีย์ 5 สั่งสมเป็นกำลังธรรมของจิต
-
พละ 5 ขุมกำลังธรรมะของจิต
-
โพชฌงค์ 7 การก้าวเดิน..สู่การตรัสรู้
-
มรรคมีองค์ 8 ทางเอกเพื่อเดินสู่การตรัสรู้