641006_พุทธศาสนาตามภูมิ บ้านราชฯ แสงอรุณในปัญญาข้อที่ 2 ของปัญญา 8 ประการ
ดาวโหลดเอกสารที่
https://docs.google.com/document/d/1q0sEYgZMbBrNvZuwJKLHcFOcJSpdyk5dMnRa0HhSeEE/edit?usp=sharing
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/188OGH_61TydtqhOoq–rQBOnRd7y8GaO/view?usp=sharing
และดูวิดีโอได้ที่ https://youtu.be/KulxziLJHm0 และ https://fb.watch/8tkJ5iaFr1/
สมณะฟ้าไท… วันนี้วันพุธที่ 6 ตุลาคม 2564 ที่บวรราชธานีอโศก คนที่อยู่อย่างลำบากจะได้อยู่กับความเป็นจริงมากกว่าคนที่อยู่กับความสุขสบาย ตรงกับพุทธพจน์ที่ว่า ตั้งตนบนความลำบากกุศลธรรมเจริญยิ่ง พ่อครูก็พาเราลำบาก เช่นมาอยู่บ้านราชฯ น้ำท่วมแทบทุกปี แต่ทำให้พaวกเราเจริญขึ้น ทำให้พวกเรามีปัญญา เพราะในปัญญาสูตรมีข้อหนึ่งว่า เธอย่อมปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความพร้อมมูลแห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ 6 ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ
พ่อครูว่า… ทำให้ลำบากมากขึ้น ฟังแล้วจะอย่างไร ทำให้มีภูมิต้านทานต่อความลำบากมากขึ้น
SMS วันที่ 4-5 ต.ค. 2564
_ฝน : ทำไมวันนี้พ่อครูเหมือนไม่สบายมากเลย (รายการตุ้มตะลุ่มตุ้มม้ง จันทร์ที่ 4 ตค. 64)
_Me : รู้สึกเป็นห่วงมากค่ะ พ่อครูเหมือน พยุงตัวนั่งไม่ได้เหมือนฝืน body อย่างมากสุดค่ะ
_ไอ้หนุ่ม รถไถ : ขอน้อมกราบนมัสการพ่อท่านด้วยความเคารพอย่างสูงครับ
หากบรรลุธรรมแล้วบอกใครไม่ได้ เป็นประโยคที่ไม่เป็นจริง
_จนให้เป็น แล้วสบาย : ผมได้ยินชาวพุทธสายปฏิบัติพูดกันบ่อยว่าการปฏิบัติธรรมของพุทธเราเป็นเรื่องที่รู้ได้เฉพาะตน บอกคนอื่นไม่ได้ ผมเลยสงสัยว่ามีในคำสอนของพุทธด้วยหรือครับ คำว่ารู้ได้เฉพาะตน ที่ผมเคยได้ยินก็แต่คำว่าสันทิฏโก เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง อะกาโลเป็นสิ่งที่สามารถปฏิบัติจนถึงผลได้ไม่จำกัดกาล เอหิปัสสิโก เป็นสิ่งที่ผู้รู้แจ้งเองท้าทายให้มาพิสูจน์กันได้เท่านั้นเองครับ
พ่อครูว่า…พุทธเรามีสำนวนว่ารู้ได้ด้วยตนเอง ก็คือ ภาษามันไม่ลึกพอถึงสภาวะ สภาวะคือ เจาะเข้าไปลึกถึงตนนี่แหละที่จะเป็นผู้รู้ แต่ประเด็นที่บอกผู้อื่นไม่ได้นี่แหละผิด ยิ่งรู้มันบอกคนอื่นได้ ยิ่งรู้อย่างคลุมเครือก็บอกคนอื่นไม่ได้เพราะไม่รู้ หรือบอกไม่ชัด อย่างพวกสายหลับตา เอาคำพูดของคนไม่รู้มาตู่พวกเรา ก็ชักจะพูดกันไม่รู้เรื่องเท่าไหร่
สู่แดนธรรม… คำว่า เอหิปัสสิโก คือเชิญให้ผู้อื่นมาดูได้
พ่อครูว่า… เอาแต่ละคำแต่ละสภาวะมาพูดมันก็แย้งกันสิ ต้องมาศึกษาคำว่าเจาะลงไปที่ตัวเองให้รู้ โดยพระพุทธเจ้าย้ำว่า เรารู้แล้ว โดยไม่ต้องเชื่อใคร มันรู้ที่ตนเองจริงที่สุดโดยไม่ต้องเชื่อใครเลยมันเชื่อความจริงนี้เลย มันลึกถึงอย่างนั้น ไม่มีภาษาจะพูดแล้ว แล้วบอกคนอื่นไม่ได้นี่มันผิดหมดเลย
ยิ่งไปแปลอย่างอาตมาโดนตู่ว่า ผู้ที่ไปบอกคนอื่นว่าตนเองบรรลุแล้วนั่นคือผู้ไม่บรรลุ นี่คือ เจตนาโค่นเลย มีเจตนาเพื่อหักโค่นหักล้างจริงๆ โดยที่มันน่าจะมีไหวพริบสักนิดนึงว่ามันใช่หรือ มันไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น มันจะออกมาได้อย่างไรหากเป็นผู้รู้แล้วไม่บอกผู้อื่น มีธรรมะพระพุทธเจ้าแล้วไม่บอกคนอื่น หรือผู้ใดบรรลุแล้วบอกผู้อื่นมันก็จะกลายเป็นมีกิเลส เหมือนในโลหิจสูตร อาตมาเคยถูกผู้รู้ในสังคมท้วง อาตมาก็ว่า ท่านน่าจะตรวจสอบให้ดีว่าใช่เป็นคำท้วงที่ไม่จริง
คนก็เลยไม่รู้ว่าใครเป็นพระอรหันต์ เราก็เลยจำเป็นต้องบอกว่าเรานี่แหละคือพระอรหันต์ไม่คลุมเครือไม่มังกุ ไม่เขินไม่เก้อไม่ยาก มันบอกตรงๆพูดจนหมดภาษาแล้ว ด้วยความจริงใจ ไม่มีอะไรแฝงปนเป็นความไม่จริง
สู่แดนธรรม… หากเราคนที่สำเร็จเป็นคนหมดเนื้อหมดตัว เราก็บอกว่าเราเป็นคนที่จนสำเร็จแล เท่ากับไปประกาศว่าเป็นคนจนคือคนไม่จน
พ่อครูว่า… เขาตีความเอาเอง หักล้างเฉยๆ เจตนาจะไม่ให้คำพูดของเราเป็นความจริง หาอะไรมาหักล้างไปดื้อๆ ฟังแล้วก็ตลก คุณจนให้เป็นอย่างติดในพยัญชนะ หมุนไปหมุนมา
_นพพล จรัสวิกรัยกุล : การประกาศว่าตนเอง เป็นอรหันต์เป็นโพธิสัตว์ เป็นพระพุทธเจ้า สำหรับผู้ที่บรรลุธรรมแล้ว ก็เหมือนครูอาจารย์ ประกาศว่าตนเองจบการศึกษาระดับไหนแค่นั้น ไม่ได้รู้สึกว่าอวดโอ่ตัวเองอย่างไรเลย แต่คนที่จิตยังไม่ถึง ยังเมามัวอยู่กับกิเลส และติดอยู่กับคำสอนของคณาจารย์ต่างๆ ที่สอนผิดๆ จึงไม่สามารถคิดรู้สึกได้ว่า การประกาศถึงระดับธรรมชั้นสูง จะไม่อวดโอ่ได้อย่างไร
พ่อครูว่า…เห็นไหม พยัญชนะมันแย้งกันแล้ว
ท่านผู้ที่มีความจริงแล้วพูดความจริงไปหมดเปลือกเป็นความสูงเป็นความเจริญเป็นความประเสริฐจริงๆ ท่านไม่ได้อวดโอ่ แต่ท่านมีสิ่งที่น่าอวดน่าโอ่ จะไม่ให้ท่านอวดท่านโอ่ได้อย่างไร คนที่จะมารับรู้ว่า มีคนเป็นจริงๆนะ เป็นตัวอย่างว่าคนเราเกิดในยุคเดียวกันด้วย ได้ยินได้ฟังจากปากท่านตรงๆ นี่ๆๆ จะไม่ให้ท่านพูดความเป็นจริงมีจริงไม่ได้ ท่านรับรองจริง ถ้ามันไม่จริงท่านก็หน้าแตกเอง เอา ค่อยๆติดตามกันไป
_7630 : สายวัดป่าต้อง..หลวงปู่มั่น สายสวนโมกข์ต้อง..พุทธทาส หมู่บ้านพลัมก็ต้อง..หลวงปู่ติช นัทฮันห..บ้านธัมมะต้องยกให้..อ.สุจินต์ อโศกแน่นอนก็ต้อง..พ่อท่าน เหมือนกับที่พระพุทธเจ้าท่านว่าป่าโคสิงคสาลวันก็งามเพราะ….(คุณแแป้งช่วยเปิดดูให้หน่อย) พ่อท่านจะว่าอย่างไรครับ???/ขอบคุณครับ
สู่แดนธรรม… ขอสรุปให้ฟังว่า พระพุทธเจ้าและสาวกอยู่ที่ป่า โคสิงคสาลวัน พระโมคคัลลานะได้ชวนพระมหากัสสปะไปฟังธรรมะจากพระสารีบุตร ซึ่งท่านอยู่ในฐานะครู พระอานนท์กับพระเรวตะก็ไปฟัง พระอานนท์ถามว่า ป่าโคสิงคสาลวัน งามได้อย่างไร
พระอานนท์ ท่านเป็นพหูสูต ก็บอกว่า ป่านนี้งามได้เพราะมีภิกษุฝ่ายพหูสูต
พระเรวตะ ก็ตอบตามภูมิของท่าน พระอนุรุทธะบอกว่าเป็นพระภิกษุที่มีตาทิพย์ พระมหากัสสปะก็จะบอกว่าเป็นเพราะมีวัตรปฏิบัติทางเคร่ง ส่วนพระมหาโมคคัลลานะจะตอบว่า มีภิกษุ ๒ รูปสนทนาในเชิงอภิธรรมแก่กันและกัน และถามพระสารีบุตร พระสารีบุตรก็จะตอบว่า ท่านมีอำนาจจิตที่จะทำให้ เจโตวสิปปัตโต ยังจิตให้อยู่ในอำนาจของท่านได้
เขาเอาข้ามลัทธิมาเปรียบเทียบเหมือนจะหักล้างพ่อท่านที่พ่อท่านเอาการปฏิบัติพระสายต่างๆมาเปรียบเทียบ แต่ในพระสูตร เป็นการเปรียบเทียบที่อยู่ในสังวาสเดียวกัน แต่ที่คุณคนนี้ยกมา มันข้ามสังวาสกัน ก็ต้องค่อยๆ เข้าใจรายละเอียดของความต่างกัน ค่อยๆศึกษาตามไป
คนไม่มีปัญญาจริงจะไปตัดสินพระอรหันต์ได้อย่างไร
_วันชัย สหมโนธรรม : วันนี้คนฟังธรรม “พ่อท่าน” เกิน ๒๐๐ – ครับ.ทางเฟส
พ่อครูว่า… มันไม่ง่ายที่จะทำให้คนเข้าใจธรรมะโลกุตรธรรมของพระพุทธเจ้า แล้วยุคนี้มันต้องพยายามแล้ว พยายามที่จะเอาธรรมะโลกุตรธรรม ขึ้นมาประกาศ ขึ้นมาสาธยายเผยแพร่ ขึ้นมาเปิดเผยให้คนได้รับรู้ ได้เห็นความจริงว่า โลกยุคนี้มันควรจะต้องมีสิ่งนี้แล้วนะ มันควรจะต้องรับเอาอันนี้เข้าไปใช้ เข้าไปมีในตัวตน และเหมาะสมที่จะต้องพัฒนาอันนี้แล้ว
เพราะว่าธรรมะหรือความรู้ที่มีแต่เดิมมาจนถึงทุกวันนี้ความรู้ทั้งหลายที่สาธยายที่ใช้กันอยู่ มันเก่า มันนานแล้ว มันตกยุคล้าสมัยไปมากแล้ว มันไม่ใหม่ มันไม่มีอะไรใหม่ๆที่เหมาะควรแก่มนุษยชาติที่เอามาใช้ มันใหม่ออกนอกโลกนอกเรื่องที่มันเกิน ฟุ้งเฟ้อเกินไป จนกระทั่งเฟ้อเกิน ซึ่งมันใหม่ก็จริงแต่มันเฟ้อเกิน ที่มันไม่เข้าหาแก่นที่ควรจะเป็น อันนี้ก็ยากที่คนมีปฏิภาณไหวพริบทราบได้ง่ายๆ แต่ก็เริ่มแล้ว
คนในโลกปัจจุบันยุคนี้ นอกจากชาวอโศกที่ชัดเจนและก็ได้รู้จริงๆ และก็ได้เอาชีวิตไปกับทางนี้อย่างสนิทเนียนเลยอย่างจริงใจ ไปอีกเลย กี่ชาติๆก็ชัดเจนแล้วว่าไม่มีถดถอย มันจะมีปัญญามีความรู้ความเฉลียวฉลาดที่เรียกว่าปัญญาของพระพุทธเจ้า มันจะมีธาตุรู้ตัวนี้ ที่รู้อย่าง อื้อหือ ไม่มีอะไรเคลือบแคลงสงสัยหวั่นไหวอะไรอีกเลย ปัญญา
พูดถึงเรื่องปัญญามันหลายเรื่อง จะไล่ลำดับ (พ่อครูไอตัดออกด้วย)
สมณะฟ้าไท… พ่อครูอธิบายปัญญาหลายครั้งแต่ที่จะได้ปัญญาคือ ต้องฟังพ่อครูนี่แหละในยุคสมัยนี้ เขาก็จะบอกว่าหลงอาจารย์ตนเองอีก แต่พระพุทธเจ้ายืนยันว่าต้องอาศัยผู้อยู่ในฐานะครูที่เป็นสัตบุรุษ
สู่แดนธรรม… จากพระสูตร มหาโคสิงคาลกสูตร ที่ว่า พระมหาโมคคัลลานะชวนพระกัสสปะไปฟังธรรมจากพระสารีบุตร ทั้งๆที่พระพุทธเจ้าก็อยู่ แต่ชวนกันไปฟังธรรมพระสารีบุตร ผมก็เลยเห็นว่า พระสารีบุตร คงจะเป็นภิกษุรูปใดรูปหนึ่งที่ตั้งอยู่ในฐานะครู
พ่อครูว่า… ก็เพราะว่าความเป็นโพธิสัตว์ที่มีฐานะแห่งโพธิสัตว์ที่มีความจริงแห่งความรู้ เพราะฉะนั้นพระอรหันต์องค์ต่างๆที่เป็นพระอรหันต์ใหญ่ พระอานนท์ก็ดี พระกัสสปะก็ดี พระโมคคัลลานะก็ดี ใหญ่ๆทั้งนั้น แต่แน่นอนก็ต้องไปฟังสิ่งที่ใหญ่กว่า สิ่งที่ควรจะไปรับซับทราบฟัง
แล้วมันก็จะได้เจริญไพบูลย์ บริบูรณ์งอกงามไพบูลย์ ขึ้นไปมากยิ่งขึ้นจริงๆ
สมณะฟ้าไท… พระสารีบุตรเป็นเสนาบดีแห่งธรรม
พ่อครูว่า… พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าเป็นรองท่าน ในยุคนั้น อย่างนี้เป็นต้น อันนี้เป็นความจริงที่พระอรหันต์ท่านมีปัญญาพอที่จะรู้ความจริงอันนี้ ส่วนคนที่ไม่มีปัญญาพอไม่รู้ความจริงอันนี้ แถมมีอัตตามานะถือดีถือตัว ก็แน่นอนจะไปคิดเหมือนกับพระอรหันต์ที่มีปัญญารู้ดี ซึ่งก็ไม่เหมือนกับคุณที่มีอัตตามานะ มันก็ต้องอย่างแย้งอย่างนั้นอย่างนี้ มันก็ไม่ถูกต้องตามสัจธรรม สัจธรรมของพระสารีบุตรเหนือกว่าท่าน ท่านก็มาฟัง แต่คุณไม่มีปัญญาจริงเหมือนพระอรหันต์เหล่านั้น ก็แน่นอนก็ต้องไม่เหมือนพระอรหันต์จริงๆเหล่านั้น มันเป็นสัจจะ นี่ก็บอกความจริงไม่ได้ไปกดข่ม ไม่ได้ไปว่าดูถูกดูแคลนคุณหรอก ให้มาศึกษาดีๆแล้วจะเข้าใจ
เมื่อละอายเกรงกลัวอย่างแรงกล้า จึงเกิดความรักเคารพอย่างแรงกล้า
_เข้าสู่ ปัญญา อีกแหละ เหมือนซ้ำซากวกวน ไปไหนยังไม่ออกจากข้อที่ 1 ซึ่งมันลึกซึ้งจริงๆ
ปัญญาสูตร เล่ม 23 ข้อ 92
[92] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุ 8 ประการ ปัจจัย 8 ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่ได้ เพื่อความงอกงามไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์ แห่งปัญญาที่ได้แล้ว 8 ประการเป็นไฉน
1.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่งผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ซึ่งเป็นที่เข้าไปตั้งความละอาย ความเกรงกลัว ความรักและความเคารพไว้อย่างแรงกล้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ 1 ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว
พ่อครูว่า… ต้องตั้งใจฟังทำตนให้ต่ำมีความสำนึกมีความละอาย อย่าไปหยิ่งไป 2 อวดดี ที่ต้องละอายเพราะว่าตัวเองแสดงความโง่ไปข่มที่ท่านไม่รู้ แต่ตอนนี้รู้ว่าท่านรู้ว่าเราจริงๆแล้วคุณไม่ละอายหรืออย่างไร แต่ก่อนนี้คุณหลงไปข่มท่านผู้รู้ ข่มดูถูกดูแคลน แต่ตอนนี้รู้ตัวแล้วว่าเราต่างหากเป็นคนนรกที่ไปตู่ท่านที่บนสวรรค์ จะรู้สึกตัวอย่างนี้จะละอายอย่างนี้จริงๆผู้มีความละอายจริงๆจะรู้ความจริงตามความเป็นจริง อย่างที่พูดมาคร่าวๆนี้ โอ้โห ตายเรา แสดงความขี้เท่ออย่างนี้ มันน่าละอายจริงๆ ผู้ที่มีความสำนึกอย่างนี้เป็นผู้ที่มีความเจริญ
แต่ถ้ายังทำหน้าเฉยไม่รู้ไม่ชี้ ไม่ชัดเจน ถ้าคุณรู้ถูกคุณเป็นคนถูก คุณจะไม่ว่าไม่ไปขัดแย้งเลย ดีไม่ดี ถ้าคุณรู้เท่ากัน คุณก็สนับสนุนเลย หรือคุณรู้ยิ่งกว่าก็ยิ่งสนับสนุนเลย เพราะผู้นี้รู้ไม่ใช่น่อย แต่ถ้าคุณไม่รู้และหลงตนว่ารู้แล้วหลงว่าผู้นี้ท่านไม่รู้ นี่ตีลังกาคว่ำไปไม่รู้กี่ชั้นคุณนั่นแหละก็เป็นคนหน้าแตกหมอไม่รับเย็บ
อาตมามองไปก็ไม่อยากจะว่า ไม่อยากชี้ชัด เหมือนกับเราไปข่มหนักข่มหนา ไปดูถูกดูแคลนกันมากมาย มันก็ไม่อยากทำ ไม่ประสงค์จะทำ เพราะมันดูไม่ดี แต่ก็ยิ่งน่าสงสาร ก็เห็นว่าทำไมถึงแกล้งไม่รู้หรือว่ารู้แล้วก็ไม่กล้าเปิดเผยตนเอง เลยแกล้งไม่รู้หรืออย่างไร หรือมันไม่รู้จริงๆ ก็สุดวิสัย จะไปข่มเขาโคขืนให้กินหญ้าไม่ได้ก็ต้องปล่อยไปก่อน
ต้องละอาย ต้องเกรงกลัว ต้องมีความรัก ต้องมีความเคารพ อย่างแรงกล้าด้วย
ฟังแล้วเหมือนไปบังคับ กดข่มหรือหลงตน ยกตนมากมาย แต่มันไม่ใช่ มันเป็นความจริง มันเป็นสัจจะที่พูดไปแล้วมันไม่มีอะไรเหลือที่มันไม่จริงเลย ไม่มีความเหลือไม่จริงเลย มันมีแต่จริงหมด
สู่แดนธรรม… ผมคิดได้ว่า คนที่ไม่แสดงความรักความละอายความเคารพอย่างแรงกล้านั้น เขาอาจคิดว่า พ่อท่านไม่ใช่ครูของเขา เพราะในนี้เขาว่า ผู้ที่ตั้งอยู่ในฐานะครู แต่พ่อท่านไม่อยู่ในฐานะครู เขาก็ปฏิเสธได้
พ่อครูว่า… คุณก็ไปเล่นคำอีก หากไม่ตั้งอยู่ในฐานะครูก็ตั้งเสียสิ คุณจะตั้งหรือไม่ตั้งคนนี้ในฐานะเป็นครู ก็อยู่ที่เขา ถ้าเขาไม่ตั้งเป็นฐานะครูมันก็ไม่มีวันที่ฉันจะคุกเข่าให้
ในปัญญาข้อที่ 1 ที่ไปแปลว่าไปตั้งความละอาย มันไม่ต้องไปตั้งหรอก แต่มันจะเกิดความละอายหยั่งลงไปในจิตตนเองเลย จะเกิดความละอายเองเลย นั่นแหละคือตัวแท้ ตัวสำนึก ตัวที่เปิดสิ่งที่เราปิดมานานออกมาเองเลย ตัวนี้ จะให้คนอื่นบังคับก็ไม่จริงเท่าตนเอง โอ้โห เปิดออกเอง
พูดถึงเรื่องละอายก็เคยอธิบายไปหลายทีแล้วจริงๆ คนที่เปลื้องผ้า เปิดเผยอวัยวะที่น่าปกปิดให้คนดู เขาไม่ละอาย เขาได้ทำมาอย่างหลงตนเองเลยว่า ฉันโชว์ความงามของฉันนะ ว่า ฉันมีของดีน่าโชว์นะ เสร็จแล้วมันกลับกันเลย อื้อหือ ทำไมคุณไม่อายบ้างเลยหรือ เด็กๆที่มันเดียงสามันยังอายเลย แล้วโตไปจนป่านนี้แล้ว หมาเลียก้นไม่ถึงแล้วยังไม่รู้จัก แล้วยังไปหลงผิด
สมณะฟ้าไท… มีพวกเยอะ แต่ก่อนเขาไม่ทำกัน แต่ตอนนี้มีคนทำกันเยอะก็เลยกล้าทำ
พ่อครูว่า… ไม่เยอะ เอามวลจริง คนหน้าด้านอย่างนั้นจะมีสักเท่าไหร่ ขออภัยที่พูดแรง นี่ก็ยกตัวอย่างหยาบๆบ้าง ฉันเดียวกันคล้ายๆกัน ที่มีคนอวดว่าตนเองรู้ คืออวดความไม่รู้แล้วไปลบหลู่คนที่ท่านรู้ ลบหลู่อย่างหยิ่งผยองเลย พอรู้ตัวแล้วก็น่าอายที่ไปว่าท่านผู้รู้ เราไปแสดงขี้เท่อออกมา ความจริงก็น่าสำนึกน่าอายใช่ไหม นี่มันก็เป็นสัจจะ
เพราะฉะนั้นเมื่ออายแล้วจะเกรงกลัวเลย โอ้โห ทีนี้ระวังนะ มันโอ้โห น่าอายขนาดนั้นทำออกไปได้ ทีนี้พอรู้สึกแล้วจะระวังนะ จะเกรงกลัวมีโอตัปปะ เสร็จแล้วก็จะต้องสยบตนเอง จะต้องรักเคารพ รักอย่างยกย่องเชิดชูเลยนะ แล้วก็รู้สึกเคารพ นับถือ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่จริงทั้งนั้นเลย เป็นคุณสมบัติที่วิเศษ ที่เราจะรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ
สมณะฟ้าไท… เกิดความละอายความเกรงกลัวแล้วก็เกิดแสดงความรัก
พ่อครูว่า… ความรักเคารพอย่างแรงกล้า เปโม เปมะ
ปัญญาข้อที่ 2 ต้องถามครูให้รู้ จนกว่าจะชัดเจน
_2.เธออาศัยพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์รูปใดรูปหนึ่ง ผู้ตั้งอยู่ในฐานะครู ซึ่งเป็นที่เข้าไปตั้งความละอาย ความเกรงกลัว ความรัก และความเคารพไว้อย่างแรงกล้านั้นแล้ว เธอเข้าไปหาแล้วไต่ถาม สอบถามเป็นครั้งคราวว่าข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภาษิตนี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งภาษิตนี้เป็นอย่างไร ท่านเหล่านั้นย่อมเปิดเผยข้อที่ยังไม่ได้เปิดเผย ทำให้แจ้งข้อที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง และบรรเทาความสงสัยในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายประการแก่เธอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ 2 ย่อมเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ฯลฯ เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้ว ฯ
พ่อครูว่า… แม้คุณจะได้ยินได้ฟังแล้วมันก็ยังไม่ครบไม่ละเอียดมันยังไม่พอหรอก คุณต้องเข้าไปถามเข้าไปหาเข้าไปซักไซ้ไล่เลียง มุมนั้นเหลี่ยมนี้ มิตินั้นประเด็นนี้ มีอีกไม่รู้กี่นัยยะ ต้องเข้าไปถามแล้วถามอีกไม่ใช่ว่ามันจะสมบูรณ์บริบูรณ์ได้ง่ายๆ ต้องฟังธรรมะให้บริบูรณ์ จึงจะได้รับสัทธรรมที่บริบูรณ์ คบหาแล้วไถ่ถามเสมอ จึงจะเกิดสัทธรรมที่บริบูรณ์ เมื่อได้สัทธรรมบริบูรณ์ จึงจะเกิดศรัทธาที่บริบูรณ์ ถึงจะสามารถมาจัดการใจทำใจของเรา ถึงว่าการทำใจในใจจึงเป็นข้อ 2 ใน รากเค้า ต้นรากของมูลสูตร 10
ข้อที่ 1 มีความยินดี ฉันทะ ข้อที่ 2 มนสิการเป็นการทำใจในใจซึ่งยิ่งใหญ่นะ ท่านผู้รู้ในสังคมศาสนาพุทธ ที่แปล โยนิโสมนสิการ พยายามแปล แค่ โยนิโสมนสิการว่าเป็นการเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ เนื้อแท้ของมันคือการทำใจ ซึ่งไม่ใช่แค่พิจารณา ทำความเข้าใจ ความเฉลียวฉลาด แต่นี่มันเข้าไปทำใจก็ไปแก้ไขที่ใจเลย
การยังไม่เข้าถึงการทำใจในใจคือการเปลี่ยนแปลงใจของเราเลย อันนี้ลึก ไม่ได้เข้าถึงการทำใจในใจท่านยังไม่ถึงจริงๆ นี่ก็พูดไป จะว่าจริงๆแล้วอาตมาก็เจตนาดีก็เกรงใจอยู่ เสมอเลยนะ ที่จริงอาตมารู้ตัวเองเสมอว่าอาตมาเป็นคนด้อยในชาตินี้ เป็นคนไม่ได้มีการศึกษา ไม่ได้อยู่ในสำนัก ไม่ได้มีครูอาจารย์ ไม่ได้มีเครื่องอะไรรับรอง ที่จะเป็นหลักให้เลย ตัวเองต้องแสดงตัวเองอย่าง 100% ว่าตัวเองเป็นผู้มีความจริงมีความรู้ อย่างเพียงพอ หรือแม้ที่สุดบอกว่าตัวเองเป็นไก่ตัวพี่ ที่เจาะกระเปราะออกมาก่อนเพื่อนในยุคนี้ พูดแล้วก็เหมือนกับหลงตัวหลงตนยกตัวเหลือเกิน ซึ่งอาตมาก็ได้แต่พูดความจริง อาตมาบอกแต่ว่าอาตมาพูดความไม่จริงพูดไม่ได้ มันพูดอย่างไร พูดออกมามันก็มีแต่จริง ที่ไม่จริงไม่ได้พูดออกมา ฟังแล้วก็ดูน่าหมั่นไส้คนนี้หลงตัวเองจริงๆ พูดไปก็เท่านั้น อาตมาเคยพูดว่า อาตมามีแต่ความจริง ความไม่จริงของอาตมาไม่มี ก็เลยไม่รู้จะเอาความจริงที่ไหนมาให้ อาตมามีแต่ความจริงในตนเอง
นิมนต์พ่อครูจิบน้ำ
สมณะฟ้าไท…
แสงอรุณในปัญญาข้อที่ 2 ของปัญญา 8 ประการ
พ่อครูว่า… ข้อที่ 2 ก็ยังซ้ำเข้าไปหา เข้าไปถามซักไซ้ไล่เรียงอย่างบุคลิกเดิมในข้อที่ 1 อย่างที่จะต้องละอาย เกรงกลัว เคารพรักอย่างแรงกล้าจริงๆ ต้องเจียมเนื้อเจียมตัวถ่อมเนื้อถ่อมตัวจริงๆ ถ้าเผื่อว่าเราเจียมเนื้อเจียมตัวถ่อมเนื้อถ่อมตัวจริงๆหรือจริงถึงใจ จะรับความรู้ได้อย่างมาก แต่ถ้าเราเข้าไปอย่างชาล้นถ้วย เหมือนกับปิดปากถ้วยเข้าไปรับน้ำ มันจะไปได้อะไร นี่ก็เทียบอุทธาหรณ์ง่ายๆให้ฟัง มันต้องจริงอย่างนั้น แม้สำนึกก็สำนึกจริง แต่ก็อย่างว่า ไปบังคับให้คนสำนึกได้อย่างไร จะให้สำนึกว่าฉันโง่กว่าแกจริงหรือ ผมโง่กว่าท่านจริงๆหรือ
ถ้าเขารู้สึกว่าโง่กว่าจริงๆก็ค่อยยังชั่ว แต่หากว่า ฉันโง่กว่าแกจริงๆเหรอ แต่นี่คงจะยังยาก สำเนียงส่อภาษากิริยาส่อสกุลได้แล้ว
คนที่เข้าใจภาษาแล้วเข้าใจสภาวะ เหมือนอย่างอาตมาสื่อให้ฟัง พ่อจะเชื่อหรือยังว่าอาตมารู้จักภาษาพยัญชนะรู้จักสภาวะของพยัญชนะดีนะ
สรุปแล้วข้อ 2 พระพุทธเจ้าสรุปในอาหารสูตร
-
การคบสัตบุรุษที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ . .
-
การฟังสัทธรรมบริบูรณ์ ย่อมทำศรัทธาให้บริบูรณ์
-
ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมทำมนสิการโดยแยบคายให้บริบูรณ์
หากสามเส้าแรกไม่บริบูรณ์ก็จะทำโยนิโสมนสิการให้บริบูรณ์ไหม
-
การมนสิการโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมทำให้ . . สติสัมปชัญญะบริบูรณ์ ที่จะรู้ทันผัสสะ รู้ทันเวทนา
คำว่า โยนิโสมนสิการ คู่แรก ต้องปรโตโฆษะ จนโยนิโสมนสิการ ถ้าคุณไม่ฟังไม่รับจากผู้อื่น แล้วคุณจะรู้จากผู้อื่นจนคุณสามารถจะโยนิโสมนสิการได้
ในสัมมาทิฏฐิ จะต้องมี ปรโตโฆษะ กับ โยนิโสมนสิการ หากคุณไม่มีคุณเอาแต่รู้ของคุณอย่างเดิม หากคุณทำใจในใจเป็นแล้วคุณก็ไม่ต้องฟังคนอื่นอีก ที่จริงฟังผู้อื่นอีกก็ดีแต่ก็ทำได้แล้วนะ แต่เพราะคุณยังไม่ได้ยังไม่มีโยนิโสมนสิการ ยังทำใจในใจไม่เป็น คือ คุณต้องฟัง ประ คือผู้อื่น แล้วผู้นั้นจะต้องสัมมาทิฏฐิจริง จึงจะเป็นผู้ถ่ายทอดให้คุณทำโยนิโสมนสิการได้ อันนี้จึงไปท้าวความถึง สุริยเปยยาล 7
ต้องมีมิตรดีสหายดี ต้องปฏิบัติศีล มีฉันทะ ต้องรู้อัตตา จึงจะเกิดสัมมาทิฏฐิ แล้วไม่ประมาท จึงจะเริ่มกระบวนการโยนิโสมนสิการเป็นตัวที่ 7 ในแสงอรุณ 7 เพราะฉะนั้นกว่าจะทำโยนิโสมนสิการได้ต้องผ่าน 6 ขั้น ลัดขั้นใดขั้นหนึ่งก็ไม่บริบูรณ์นะ
คุณมีมิตรดีสหายดีแล้วคุณก็ไม่เอาถ่านกับศีล ไม่ได้ปฏิบัติศีลดูเลย คุณจะไม่เห็นความสำคัญของศีล คุณต้องเห็นความสำคัญของศีลปฏิบัติศีลดู ว่า นี่เราประมาทศีล แม้แต่ศีลข้อที่ 1 คุณก็ไม่เคยปฏิบัติจริงๆเลย ศีลข้อที่ 2 ศีลข้อที่ 3 สามเส้านี้ มีคุณสมบัติต้องไปด้วยกันมาด้วยกัน ข้อที่ 3 คือรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส คุณก็ประมาทไม่รู้เรื่องเลย
สัมผัสรูป สัมผัสเสียง สัมผัสกลิ่นอะไรก็แล้ว จากสัตว์ จากบุคคลหรือจากข้าวของ กับพืช นี่อาตมาก็ขยายศีล 3 ข้อนั้นให้ละเอียดละออแล้ว แต่คุณไม่ได้ไปลองปฏิบัติเลย คุณจะไปเกิดความยินดีขึ้น
ทำไมศีลต้องปฏิบัติก่อนความยินดี คุณต้องลองปฏิบัติดูก่อนถึงจะรู้ว่า ศีลมีความสำคัญขนาดนี้เชียวหรือ คุณถึงจะได้รู้ว่า โธ่เอ๋ยตัวเรา เพราะฉะนั้นความยินดีคุณจะไม่เต็มหรอก ถ้าคุณไม่ได้รู้ชัดเจน ปฏิบัติศีลลองดูถึงจะรู้ชัดเจน (พ่อครูเตือนเด็กๆว่า..ฟังดีๆ อย่าซนเล่นมากเห็นไหมอะไรหล่น มาฟังธรรมะดีแล้วเป็นคนดีจริงๆมาฟังธรรมะ แต่โยมว่า เขาบอกว่า ผู้ใหญ่ทำหล่น ก็มีอะไรสนุกๆอยู่ในเหตุปัจจัยร่วมขณะนี้)
ข้อที่ 2 ของปัญญานี้ต้องประมาทไม่ได้ เสร็จแล้วยังไม่ถึงข้อศีลนะ เป็นปัญญาข้อที่ 4
แม้คุณเองเริ่มต้น เห็นความสำคัญของศีลเป็นปัญญาข้อที่ 4 แล้วจะปฏิบัติศีลอย่างเอาจริงเอาจังกับปัญญาจะได้งอกงามไพบูลย์ได้ แต่นี่ยังอยู่ในเบื้องต้นแสงอรุณอยู่เลย แล้วคุณจะเกิดจิตเป็นตัวไข ถึงจะยินดี
คำว่ายินดีเป็นตัวที่ 1 ของมูลสูตรเลย เพราะฉะนั้นคนที่ต่างศาสนาต่างทิฐิ ต่างลัทธิจะเข้ามาสู่พุทธ จิตของคุณมีร้อย คุณมาศึกษาพุทธแล้ว ถ้าจิตของคุณยังเข้ามายินดีในศาสนาพุทธจริงๆ ยังไม่ถึง 50 60% ไม่จ้างไม่เสียเงินฟรี ไม่ได้กินหรอก นี่คือความลึกซึ้ง
คำว่า จิตยินดี ไม่มีใครที่จะไปบังคับไม่มีใครที่จะทำให้ใครได้ คุณยินดีของคุณ คุณพอใจของคุณ โอ้โห มันต้องอย่างนี้ถึงจะใช่ถึงจะเอา ถั่งโถมจิตเข้าไปรับยอมรับเต็มๆ 100% 90% ถ้าจะบอกว่ายินดีมันจะต้องมีความเห็นชัดเจน เห็นใจของเรามีร้อย คุณจะต้องมีอย่างน้อย 90 กว่าขึ้นไป ต้องให้ 90 กว่าขึ้นไป ใช่ไหม ยินดีต้องเป็นอย่างนั้น ถ้าไม่เช่นนั้นไปไม่รอดหรอก ยินดีแค่ 30% 40% 20% ไม่ได้กิน
เห็นความลึกซึ้งมั้ยของคำว่ายินดีในมูลสูตรข้อที่ 1 ไหม แล้วก็อยู่ในข้อต่างๆ แม้แต่อยู่ในอิทธิบาทก็ข้อที่ 1 คือมีฉันทะยินดี อยู่ไหนอะไรอีกหลายอัน เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดความยินดีแล้วคุณก็ตั้งใจศึกษา ถึงจะเริ่มเข้าใจ อัตตา เป็นแสงอรุณข้อที่ 4 ถึงจะเข้าใจ อ๋อ ไม่ได้ง่ายเลยนะ ที่จะเข้าใจอัตตา
อัตตา 3 โอฬาริกอัตตา มโนมยอัตตา อรูปอัตตา ในโปฏฐปาทสูตร ท่านก็ไม่ได้ขยายความมากแต่อาตมาสัมผัสแล้วเรื่องอัตตา 3 เป็นตัวไขว่า คนจะรู้จักอัตตาอย่างไร
คนที่จะเข้าใจ อัตตา 3
-
การยึดครองหรือได้ตัวตนวัตถุภายนอก (โอฬาริกอัตตา ฯ)
-
การยึดครองหรือได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ ปั้นรูปสัญญา ไม่อาศัยวัตถุภายนอกหยาบๆ แล้ว (มโนมยอัตตา ฯ)
-
การยึดครองหรือได้อัตตาที่หารูปมิได้ หรือรูปละเอียดที่ปั้นสำเร็จขึ้นด้วยสัญญา (อรูปอัตตา ปฏิลาโภ)
(โปฏฐปาทสูตร พตปฎ. เล่ม 9 ข้อ 302)
มันมี 3 ข้อนี้ อาตมามีสภาวะของตัวเองที่มีมาแล้วเมื่อสัมผัสพยัญชนะจึงเข้าใจอธิบายได้ พูดความจริงโดยไม่ได้โอ้อวด พูดความจริงให้ฟัง มันเป็นของตนเองมีเองมาเองชัดเจนก็เอามาอธิบาย แม้แต่ โอฬาริกอัตตา เบื้องต้น ใช้อีกภาษาคือกาม
โอฬาริกอัตตาเป็นกามคุณ 5 เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์จริงๆ หากว่าคุณไม่ได้ศึกษา คุณก็จะไม่รู้อย่างเช่นมหาบัว ติดกินหมากเป็นรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสกามคุณ 5 ก็คงนึกว่าฉันไม่ได้มีเมียไม่ได้มีกาม กามมันต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องผู้หญิงผู้ชาย กามคุณ 5 ไม่รู้เรื่อง มหาบัวไม่รู้กามคุณ 5 ตัวเองก็ยังไม่อายเลยยังเฉยๆอวด สิ่งที่ไม่น่าอวด พระอรหันต์กินหมากติดกามคุณ 5 เฉย แล้วก็เจรจาพูดอรหันต์อย่างนั้นอย่างนี้ ขออภัยที่เหมือนล้อเลียน
ซึ่งมันเหมือนเด็กๆที่ไม่เดียงสาหรือเปล่า หรือว่ากลบเกลื่อน อาตมาไม่เชื่อว่าท่านไม่รู้ แต่ท่านน่าจะกลบเกลื่อนมากกว่า อันนี้สิน่ากลัว ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้ที่รู้ว่าสิ่งนั้นไม่จริงแล้วโกหกซ้อนลงไป กลบเกลื่อนว่าจริง คนนี้ ไม่มีความชั่วอะไรที่คนนี้จะทำไม่ได้ โอ้โห อันนี้จริงๆอีกเหมือนกันน่ากลัวจริงๆ สัมปชานมุสาวาท
มาระลึกจริงๆว่าท่านจะไม่รู้จริงๆเหรอ มันมีเหตุปัจจัยอยู่ว่า ท่านเคยคิดเลิก แต่ท่านเลิกไม่ได้ ท่านพยายามเลิกแต่ท่านเลิกไม่ได้ ท่านก็เลยกลบเกลื่อนไปเลย นี่มันมีร่องรอยอันนี้ให้เห็นชัดเจน อาตมาว่าอาตมามีข้อมูลอันนี้จริง แต่ใครจะเห็นว่าผิดก็ว่าไป เหมือนกับอาตมาหาเรื่องถล่มทลายท่านก็ต้องขออภัย ถ้ามันเป็นจริงอย่างที่อาตมาว่า ก็ควรจะต้องตั้งใจฟังธรรมะให้ดีๆ สำหรับผู้ที่…พูดไปก็จะหาว่าไปว่าท่านอีก ที่ยังยอมรับนับถือท่านเป็นครูบาอาจารย์อยู่ ซึ่งหลายๆอันแล้วนะ ที่อาตมาหยิบเอามาเป็นตัวอย่างแล้วพูดซ้ำซาก เพราะมันอยู่ในสมัยร่วมกัน ที่พูดถึงได้ยังมีหลักฐานมีตำนาน มีอะไรที่หยิบมายืนยันได้หยิบเอามายืนยันได้ ซึ่งมันไม่นานเกินไปจนหาหลักฐานไม่ได้ ยกอ้างไม่ได้ แต่นี่ยกอ้างได้ทันสมัย ส่วนผู้อื่นที่อาตมายังไม่อยากยกเลิกอ้างก็เพราะว่า คนเดียวก็ไม่ใช่ง่ายและไม่ใช่น้อยแล้ว ที่ไปยกตัวอย่างครูบาอาจารย์ที่เขาเคารพกันตั้งมากมาย โพธิรักษ์นี้บังอาจไม่ใช่เล่นนะ ขนาดนี้ก็บังอาจมากแล้วก็เอาละ ก็ต้องขออภัยจริงๆ ซึ่งไม่ได้บังอาจอะไรแต่มันจำเป็นที่จะต้องนำสิ่งนี้มายกอ้างมายืนยันความจริงที่มันสัมผัสกันได้อยู่หลัดๆยังไม่นานยังไม่ห่างกันถึงร้อยปี มหาบัวแก่กว่าอาตมากี่ปีนะ (19 ปี)
ต่อแสงอรุณให้หมด
ผู้ที่เข้าใจการเป็นลำดับของพระพุทธเจ้าท่านตรัสเอาไว้เลยว่าความเป็นลำดับของธรรมะพระพุทธเจ้านี้มันน่าอัศจรรย์ ในปหาราทสูตร ที่ท่านยืนยันเอาไว้เลย ว่า ลาดลุ่มเหมือนฝั่งทะเล ไม่ขรุไม่ขระไม่โกรกไม่ชันไม่ไม่กระโดกกระเดก เป็นลำดับที่เนียนละเอียด การเปรียบเทียบพระพุทธเจ้านี้สวยงามไม่ขรุขระเลย เหมือนน้ำซัดหาดทราย ก็ราบเรียบ เนียนเลยนะ น้ำพัดหาดทราย ลาดลุ่มไล่ลำดับไปเลย กว้างลาดเสมอไม่มีอะไรตะปุ่มตะป่ำ มันปรับได้อย่างวิเศษมันน่าอัศจรรย์
ที่เทียบได้ความเป็นลำดับ ในแสงอรุณก็เป็นลำดับที่อาตมาจำธรรมะได้เพราะเป็นลำดับ บัญญัติภาษาก็บอกสภาวะ อาตมาไม่ได้เก่งพยัญชนะแต่มีสภาวะเป็นหลัก พยัญชนะก็ตรงดีมันก็ง่าย
จากอัตตาแล้วมาทิฏฐิ
ทิฏฐิ คือ ความเข้าใจ ความเห็นความรู้ต้องสัมมา เมื่ออัตตาแล้วต้องมีสัมมาทิฏฐิ ที่เป็นประธานสำคัญสุดในมรรคองค์ 8 ตัวทิฏฐิอยู่ในสุริยเปยยาลข้อที่ 5 ยังไม่ถึงตัวที่ 7 โยนิโสมนสิการนะ
สัมมาทิฏฐิสำคัญคือสัมมาทิฏฐิในความเป็นอัตตา หรือสัมมาทิฏฐิ ในการเห็นความสำคัญของศีลหรือในความยินดี เห็นความสำคัญในมิตรดี พระพุทธเจ้า ตรัสว่าเราเป็นมิตรดีของเธอ ภิกษุทั้งหลาย อาตมาก็บอกว่า อาตมาเป็นมิตรดีของท่านทั้งหลายในยุคนี้ ใครจะรับเราเป็นมิตรบ้างหนอ
เสร็จแล้วเมื่อคบมิตรดี ก็จะได้รับพวกนี้จนกระทั่งถึงทิฏฐิสมบูรณ์
ทิฏฐิ 10 ในมรรคมีองค์ 8 สุดยอดเลย เพราะฉะนั้นใครที่ยังไม่มีทิฏฐิ 10 ในสัมมาทิฎฐินี้ คุณก็ปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 เป็นสัมมาทิฏฐิ 10 ไม่ได้ แม้ ข้อที่ 1
พอคุณสัมมาทิฏฐิได้แล้วก็อย่าประมาท มาทำเป็น สีลัพพตปรามาส มาทำเหยาะแหยะเล่นหัวไม่ได้ อย่าประมาทต้องเอาจริง แต่ไม่ต้องซีเรียสต้องทำจริง เอาจริงแต่ซีเรียสเคร่งเดินเป็นซอมบี้เลยไม่ได้ ตาขวางเลย ใครไม่ตรงไม่จริงไม่ได้ อย่าเอาดอกไม้มาประดับ เดี๋ยวบ้าตายเป็นผีกระสือ ก็ให้คนอื่นเขาบ้าง
เพราะฉะนั้นเมื่อสามารถที่จะเข้าใจและไม่ประมาทแล้ว ท่านกันเอาไว้ อย่างไรๆอย่าประมาท แล้วถึงไปจัดการทำใจในใจไปปฏิบัติ
เมื่อทำใจในใจได้ ตัวนี้แหละ ทำใจในใจถึงจะมาเดินเข้าสู่มรรคมีองค์ 8 ยังไม่รับแสงอรุณ 7 มาปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 ยังไม่เห็นพระอาทิตย์ก่อน แล้วจะเห็นแสงอรุณมันเป็นไปไม่ได้ คุณต้องรับแสงอรุณก่อนคุณถึงจะเห็นพระอาทิตย์ นี่ก็เป็นคำเปรียบเทียบของพระพุทธเจ้าสุดยอดเลย เถียงไม่ได้เลย จะเห็นดวงอาทิตย์โดยไม่ต้องเห็นแสงอรุณคุณก็ลัดเอา ตื่นขึ้นมาแล้วลืมตาเห็นพระอาทิตย์เลยไม่ต้องเห็นแสงอรุณ คุณก็สาย ช้าเกินไปแล้วต๋อย มันก็ไม่ได้ เล่นตีกินอย่างนี้ได้อย่างไร ได้ครบแล้วจึงจะมาเริ่มต้นโยนิโสมนสิการ
สัมมาทิฏฐิ 10 ทำทานให้ขาดทุนจึงจะกำไร
คุณก็มาตั้งต้นเป็นสัมมาทิฏฐิ 10 ตั้งแต่เริ่มทาน
-
ทานที่ให้แล้ว มีผล(ให้กิเลสลด) (อัตถิ . ทินนัง)
คุณทำทานหากไม่มีมาทิฏฐิ คุณทำใจในใจไม่เป็น ทำใจในใจแล้วจะเอามากกว่าเก่า คือทำใจในใจไม่เป็น ทานแค่นี้แต่ใจในใจไปขี้โลภมากกว่าเก่า เช่นให้ไป 5 ลงทุนไป 5 จะต้องได้กำไร 1000 หรือกำไรแค่ 10 ก็ผิดแล้ว อย่างนี้เป็นต้น มันไม่ได้สละอะไรออกเลยไม่ได้ลดละจางคลายตัวตนอะไรเลย ทำทาน 5 เออ ถ้าจะเอาคืนก็เอาคืนแค่ 4 ก็ได้ลดละตัวตนไป 1 แต่นี่ไม่ได้ละหน่ายคลาย ไม่ได้ลดละอะไรเลย ทำทานมีแต่เพิ่มเติมตัวตนก็ไปเรื่อย
เพราะฉะนั้นทำทานต้องไปเอาอะไรกลับมาเลยหรือเอามาให้น้อยกว่าที่ให้ไป “คุณต้องทำทานให้ขาดทุน คุณถึงจะกำไร” สับสนไหม? เมื่อรู้เรื่องแล้ว พูดสิริมหามายาอย่างไรก็รู้เรื่อง
-
ยัญพิธี (พิธีการปฏิบัติ) ที่บูชาแล้ว มีผล (อัตถิ ยิฏฐัง)
คุณปฏิบัติศีลเพื่อให้ลดละหน่ายคลาย แต่คุณถือศีลแล้ว ซึ่งมันยากกว่าการทำทาน ปฏิบัติให้ลดกิเลส ปฏิบัติแล้วคุณต้องกิเลสลด ถ้าหากกิเลสไม่ลดก็ผิด ปฏิบัติศีลไม่ได้เกิดเจริญไพบูลย์อะไรเลย
-
สังเวย(เสวย)ที่บวงสรวงแล้ว มีผล (อัตถิ หุตัง) ก็คือทานกับศีล คุณทำแล้วมีมากมีผลหรือไม่ ถ้าทานก็ไม่ได้มีผลอะไร ไม่มีมรรคผลคุณก็มีหุตังเลย
-
ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้ว มีแน่ (อัตถิ สุกตทุกกฏานัง กัมมานัง ผลัง วิปาโก) คือกรรม จะปฏิบัติสุกตหรือทุกฏัง ก็ตาม สุกตะก็ดี ทุกฎตังก็ไม่ดี สุ คือ ดี ถูก ทุคือชั่วผิด หรือ ถ้าเป็นโลกิยะก็ยัง ทุ อยู่นะ ถ้าเป็นโลกุตระก็เป็น สุ
-
โลกนี้ มี (อัตถิ อยัง โลโก) หมายถึง วนในโลกีย์เดิมๆ . .
-
โลกหน้า มี (อัตถิ ปโร โลโก) หมายถึง โลกโลกุตระ .
โลกนี้คือโลกโลกียโลกที่เราเป็นอยู่เก่าแล้ว คุณก็อยู่โลกโลกียะอยู่ก่อน คุณยังไม่มีโลกอื่น คุณยังไม่ได้ข้ามไปโลกอื่น คุณยังออกไปโลกอื่นไม่ได้ คุณยังอยู่ในโลกนี้คือโลกโลกีย์ คุณรู้โลกอื่นออกไปสู่โลกอื่นมี อัญญธาตุ เกิด คุณก็เริ่มออกไปสู่โลกใหม่มี อัญญธาตุ เกิดได้ เริ่มที่อาตมาท้าวความ โกณฑัญญะเป็นคนแรกในยุคพระสมณโคดมที่มี อัญญธาตุ ถึงขั้นออกจากโลกได้ แม้ยังไม่เต็มส่วนก็ตาม แต่เลยขีด 50 เป็น 60 70 เปอร์เซ็นต์ได้ทำงานมีฤทธิ์เพียงพอที่จะเดินไปสู่สุดสู่สูงได้
เพราะฉะนั้นโลกนี้ คือโลกโลกีย์ โลกหน้า(ปรโลก) คือโลกโลกุตระ ถ้ายังเข้าใจว่าโลกหน้าคือตายจากชาตินี้ไปเกิดชาติหน้า แค่นั้นมันยังไม่ไปไหนหรอกวนอยู่ในนี้เป็นภพชาติเดิม มันต้องรู้ลักษณะโลกหน้าคือโลกโลกุตระ ต่างจากโลกโลกียะอย่างไร อยังโลโก ปโรโลโก ประ คือโลกอื่น
-
มารดา มี (อัตถิ มาตา)
-
บิดา มี (อัตถิ ปิตา)
ไม่ใช่ความเป็นแม่ทางรูปร่างร่างกายสรีระ ไม่ใช่ DNA แต่เป็นความเป็นแม่ทางจิตวิญญาณ จิตวิญญาณให้ความเกิดทางจิต เอาละ เป็นอิตถีภาวะ ให้ความเกิด ปิตาเป็นพ่อ ศีลเป็นแม่ ปัญญาเป็นพ่อ เป็นต้น มรรคมีองค์ 8 เป็นแม่โพชฌงค์ 7 เป็นพ่อเป็นต้นอย่างนี้ เป็นคู่ๆไปด้วยกันช่วยกัน
มันต้องมี 2 สภาพช่วยกันทำให้เกิดลูก เรียกว่าโอปปาติกะ
-
สัตว์ที่ผุดเกิดอุปปัติเอง มี (อัตถิ สัตตา โอปปาติกา) เป็นสัตว์ทางจิตวิญญาณเป็นลูกทางจิตวิญญาณ เป็นลูกที่เกิดจากพ่อแม่ทางจิตวิญญาณ แม่ก็ตัวเราเอง พ่อก็ตัวเราเอง เป็นจิตของเรา เป็นปัญญาของเราเองเป็นศีลของเราเองเป็นแม่เป็นพ่อ ปฏิบัติโพชฌงค์ปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 ได้ถูกต้อง
โพชฌงค์ 7 เป็นพ่อ มรรคมีองค์ 8 เป็นแม่ของเราเอง ถูกต้องร่วมกันพรากกันไม่ได้ต้องช่วยกัน แล้วก็เกิดภาวะจิตเจริญออกมา เกิดมาหรือคลอดออกมา เป็นสัตว์โอปปาติกะ
สัตว์โอปปาติกะต้องรู้ สัตตาวาส 9 ต้องกำหนดถูก สัตตาวาส 9
สัตตาวาส 9 กำหนดถูก เป็นสัตว์อยู่ กำหนดถูกต่อเมื่อลืมตา มีวิญญาณตั้งอยู่เรียกว่าวิญญาณฐิติ กระทบตาหูจมูกลิ้นกาย ถ้าคุณไป อสัญญีสัตว์ ดับข้างนอกหมดเลยมีแต่สัญญากำหนดรู้แต่ภายใน เป็นมิจฉาทิฏฐิ สัญญาคนละอย่าง กำหนดสัญญาเอาแต่ภายใน อสัญญีสัตว์ สัตว์ที่จะกำหนดภายนอก คุณไม่มี คุณไม่เอา หลับตามีแต่สัญญาข้างใน แม้คุณจะกำหนดรู้สัญญาข้างในคุณก็จะได้รู้แต่แค่ ฌาน 1-4 ซึ่งเป็น นิรมาณกาย สัมโภคกาย อทิสมานกาย
ไปฌาน 6 7 8 อากาสานัญจายตนะ อากิญจัญยายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็เป็นของปลอมอีก อาตมามีความกระจ่างแต่ยังอธิบายไม่เก่ง พยายามอธิบายแต่ยังไม่ได้ลงลึกให้กระจ่าง
-
สมณพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นผู้ดำเนินชอบ-ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้-โลกหน้า ให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วย ตนเอง ในโลกนี้ มีอยู่ (อัตถิ โลเก สมณพราหมณา สัมมัคคตา สัมมาปฏิปันนา เย อิมัญ จ โลกัง ปรัญ จ โลกัง สยัง อภิญญา สัจฉิกัตวา ปเวเทนตีติ) (พตปฎ. เล่ม 14 ข้อ 257) ข้อที่ 10 สัตบุรุษคืออาตมา