660405 พ่อครูเทศน์ภาคค่ำ นำปฏิญาณศีล 8 งานปลุกเสกฯ#45 ราชธานีอโศก
ดาวโหลดเอกสารที่ https://docs.google.com/document/d/1nMmIndtg9LlJs6YVOuD3SsPysK0aKnRk/edit?usp=sharing&ouid=101958567431106342434&rtpof=true&sd=true
ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1v3KQ0fbI6KJWQCEMljoPTq0y5p6UU053/view?usp=share_link
ดูวิดีโอได้ที่
และ https://www.facebook.com/300138787516163/videos/605050361521839
พ่อครูว่า…วันนี้วันพุธที่ 5 เมษายน 2566 ที่บวรราชธานีอโศก
อาตมาจะพาปฏิญาณศีล 8 ในงานปลุกเสกพระแท้ๆของพุทธ ครั้งที่ 45
คำกล่าวนำปฏิญาณอุโบสถศีล
[พากล่าวคำ นโมตัสสะ ภควโต ฯ ๓ จบ ก่อน]
ณ บัดนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอตั้งจิตปฏิญาณ ในงานปลุกเสกพระแท้ๆของพุทธ ครั้งที่ 45 นี้ ข้าพเจ้าทั้งหลาย จะขอบำเพ็ญธรรม ประพฤติตน อยู่ในศีล ๘ อันได้แก่
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี จะตั้งใจประพฤติ เว้นขาดการฆ่าสัตว์ เว้นขาดความโหดร้ายรุนแรง เว้นขาดการเบียดเบียนใดๆ จะพยายามสร้างเมตตาธรรม
๒. อทินนาทานา เวรมณี จะตั้งใจประพฤติ เว้นขาดการขโมย เว้นขาดการเอาของผู้อื่น ด้วยเชิงเอาเปรียบ ด้วยการโกง จะพยายามสร้างสัมมาอาชีพ ขยันสร้างสรร เสียสละ ละเลิกความโลภ ละเลิกความเห็นแก่ตัว
๓. อพรหมจริยา เวรมณี จะตั้งใจประพฤติ เว้นขาดเรื่องเมถุนธรรม เว้นขาดเรื่องกามคุณ จะเป็นผู้ละเลิกราคะ จะเป็นผู้กำหนดรู้เท่าทันในกาม
๔. มุสาวาทา เวรมณี จะตั้งใจประพฤติ เว้นขาดการพูดปด เว้นขาดการพูดหยาบ เว้นขาดการพูดส่อเสียด เว้นขาดการพูดเพ้อเจ้อ จะพยายามพูดเป็นสารัตถะเป็นธรรม
๕. สุราเมรย มัชชะ ปมาทัฏฐานา เวรมณี จะตั้งใจประพฤติ เว้นขาดการเสพติดมัวเมา มีอบายมุขทั้งหลายเป็นต้น มีกามต่อมา มีโลกธรรม ๘ อีก และจะเว้นขาดการยึดภวอัตตภาพทั้งปวง
๖. วิกาลโภชนา เวรมณี จะตั้งใจประพฤติ เว้นขาดจากอาหารและเครื่องใช้ ที่ควรเว้นควรเลิก จะกินจะใช้ตามที่กำหนด จะเป็นผู้พยายามเป็นผู้มักน้อยและสันโดษ
๗. นัจจะคีตะ วาทิตะ วิสูกะทัสนา มาลาคันธะ วิเลปนะ ธารณะ มัณฑนะ วิภูสนฐานา เวรมณี จะตั้งใจประพฤติ เว้นขาดจากท่าทางอันไม่สมควร คำพูดที่มีเสียงสำเนียงอันไม่สมควร เช่น ฟ้อนรำ ดนตรี เป็นต้น เว้นขาดจากดอกไม้ของหอม เครื่องตกแต่งพอกทา เครื่องประดับประดาประดิษฐ์ประดอย เว้นขาดจากฐานะแห่งการแต่งงามประดิษฐ์ประดอย
๘. อุจจาสยนะ มหาสยนา เวรมณี จะตั้งใจประพฤติ เว้นขาดจากที่นั่งที่นอนใหญ่ เว้นขาดจากการรับของใหญ่ เว้นขาดจากการสะสมของใหญ่ ที่สุดเว้นขาดการหลงติดความใหญ่
ศีลทั้งหลายเหล่านี้ หากข้าพเจ้าทั้งหลาย ไม่ตั้งใจประพฤติ ข้าพเจ้าทั้งหลายย่อมไม่เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายย่อมไม่ได้ผล ถ้าหากข้าพเจ้าทั้งหลายตั้งใจประพฤติ ก็ย่อมได้ ตามธรรมสมควรแก่ธรรม
ดังนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลาย จักตั้งใจศึกษาฝึกฝน พากเพียรบำเพ็ญ ตามที่หมู่คณะ ได้นำพาช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกันด้วยดี ให้สุดความสามารถ
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอตั้งใจปฏิญญาณไว้ ณ โอกาสนี้ …ดังนี้ สาธุ สาธุ สาธุ
รู้จักกายกันให้ดีๆชัดๆ 9 ประเด็น ตอนที่ 1
พ่อครูว่า… เราก็มาเริ่มต้น วันนี้วันพุธที่ 5 เมษายน 2566 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีเถาะ
คำว่า ปลุกเสกก็ดี คำว่าพุทธาภิเษกก็ดี คำว่าพุทธาภิเษกเป็นภาษาวิชาการ คืออภิเษกให้เป็นพุทธ มาเป็นภาษาไทยก็คือปลุกเสก เราก็ใช้คำว่าปลุกเสกที่ใช้ภาษาไทยต่อว่า ปลุกเสกพระแท้ๆของพุทธ ก็หมายความว่าเราจะปลุกเสกคนนี่แหละ ไม่ใช่ไปปลุกเสกอีหินดินปูน แม้แต่จะเป็นทองคำโลหะราคาแพง แก้วราคาแพง ดินข้างส้วมเอามาปั้นเป็นพระพุทธรูปอะไรก็ตาม แล้วก็มาเข้าพิธีปลุกเสกตามแบบเทวนิยม แล้วเราไม่ใช้ เราทำงานปลุกเสกอย่างนั้น เพราะปลุกเสกอย่างนั้นมันเป็นเดรัจฉานวิชาเป็นไสยศาสตร์ เป็นเรื่องนอกรีตศาสนาพุทธ เมื่อเอามาทำในศาสนาพุทธก็เลยทำให้ศาสนาพุทธกลายเป็นเทวนิยมกลายเป็นไสยศาสตร์ กลายเป็นเดรัจฉานวิชาไป
เพราะฉะนั้นภิกษุที่ไปทำสิ่งเหล่านี้ก็อาบัติหรือผิด นอกพระธรรม นอกวินัย ทำให้ศาสนาพุทธผิดเพี้ยนไป เสื่อม เพราะฉะนั้นที่หลงผิดมันเสื่อมจริงๆ และภิกษุก็ได้มาทำอย่างนี้จริงๆหรือคนไทยชาวพุทธได้พากันหลงผิดตามกันไปนานมาแล้ว อาตมาต้องมาพูดตรงๆ พูดอย่างไม่ไว้หน้า พูดอย่างให้เข้าใจเลยว่า
อย่ามาทำอย่างนี้เลยมันไปไม่รอด เราไม่ต้องไปพึ่งหรอกไอ้เรื่องลมๆแล้งๆอย่างนั้น มันเป็นอุปาทาน ที่อาตมาก็พยายามอธิบายอุปาทาน มันเป็นเรื่องจิตวิญญาณที่ลึกซึ้งซับซ้อนหลายชั้น ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง
พอได้ผลมาก็พอใจ ไม่ได้ผลก็เอาใหม่ ถือว่าเรายังไม่เข้าใจ เข้าไม่ถึงอะไรก็แล้วแต่ พวกที่ยึดติดอย่างงมงายหลงใหลก็พยายามพากันทำไป เสียเวลา อาตมานี้พาลัดตรงเข้าสู่เป้าหมายอันถูกต้องไม่ต้องไปเดินวนเวียนอยู่ในแดนกันดารในทางเขาวงกตอะไร เดินตรง เข้าสู่ธรรมะของพระพุทธเจ้าในเส้นทางตรง ตามที่พระพุทธเจ้าได้พูดมา 50 กว่าปีแล้ว
เพราะฉะนั้นก็มาเริ่มต้นกันอีก เริ่มต้นกันแล้วก็เริ่มต้นกันอีก
ที่อาตมาใช้คำว่าเริ่มต้นก็คือ การศึกษาของพระพุทธเจ้านั้น เรียกโดยศัพท์ย่อๆว่าก็รู้กันทั่วว่า ทาน ศีล ภาวนา ก็ได้ แต่มีนัยยะสำคัญที่ต่างกันกับคำว่า ศีล สมาธิ ปัญญา กับ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
ทาน นั่นก็คือการปฏิบัติชนิดหนึ่ง ปฏิบัติแล้วในสัมมาทิฏฐิ 10 พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ข้อที่ 1 ทินนัง คือทานที่ให้แล้ว ทานที่สำเร็จแล้วมันมีอานิสงส์ไหม ผลทานเรียก อัตถิทินนัง หรือนัตถิทินนัง
นัตถิทินนัง แปลว่าทานที่ไม่มีผล อัตถิทินนังคือทานที่มีผล
คนก็ยังเข้าใจยากอยู่ว่าไอ้ผลนั้นมันคือยังไง เขาก็เข้าใจได้แค่ว่าทานไม่มีผล ก็คือทานแล้วไม่ได้อะไร
ที่จริง การทาน นั้นแม้แต่จะทานด้วยกิเลส ทานด้วยความไม่ชอบใจ ต้องจำเป็นจำใจต้องให้ ของเราให้เขาไป มันก็เป็นกุศล ผู้ที่ได้ให้ก็เป็นเจ้าหนี้ ผู้ที่รับไปก็เป็นลูกหนี้ ก็เป็นผลอยู่อย่างนั้นแหละ
แต่ที่คำว่าเป็นผลหรือไม่เป็นผลนี่ มันต้องสัมมาทิฏฐิหรือมิจฉาทิฏฐิตรงนี้มันเป็นเงื่อนไขที่ชัดเจนกำกับไว้เลยว่า ถ้าสัมมาทิฏฐิแล้วทานต้องเป็นโลกุตระ แต่ถ้ามิจฉาทิฏฐิแล้วทานจะไม่เป็นโลกุตระเป็นโลกียะธรรมดา ได้กุศล แล้วถ้าทานอย่างไม่เต็มใจก็ยังมีผล ได้ผล แต่มันยังไม่บริบูรณ์เท่านั้นเอง มันยังมีนัยยะสำคัญที่มันขัดแย้งกันอยู่ต่าง ๆมันก็เกิดวิบากซับซ้อนเพราะจิตใจผู้ให้ผู้รับนั้นไม่สมบูรณ์แบบทั้งคู่
หรือถ้าข้างหนึ่งเต็มใจ อีกข้างหนึ่งไม่เต็มใจมันก็ไม่สมบูรณ์ทั้งคู่ แต่ถ้าชัดเจน ผู้ทำทานที่ชัดเจนเป็นโลกุตระแล้ว ทานแล้วต้องรู้จักการทำใจในใจ
คำนี้ยิ่งใหญ่ เป็นต้นแรกต้นราก หรือมูลกาของการปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้าในมูลสูตร 10
-
ฉันทะ เป็นมูล เป็นข้อแรกเป็นมูลกา เป็นราก
-
มีมนสิการ เป็นแดนเกิด
ข้อแรกมีฉันทะมีจิตยินดี มีปฏิภาณปัญญาเข้าใจแล้วว่า อย่างนี้แหละผลอย่างนี้แล้วจะประพฤติอย่างไร ยิ่งเข้าใจได้อีกว่า อ๋อ..ประพฤติอย่างนี้แล้วจะได้ผลอย่างนี้ อ๋อ..ใช่เลย ยิ่งชัดเจนทั้งเหตุทั้งผลอย่างนี้เป็นต้น ก็ยิ่งเต็มรอบในฉันทะ ในความยินดีแล้วก็มาปฏิบัติให้มนสิการนี้เป็นโยนิโสมนสิการ คือการทำใจในใจของเราเอง ใจไม่มีใครมาทำใจในใจให้เราได้ เราต้องทำใจในใจของเราเองเท่านั้น ไม่มีใครยิ่งใหญ่กว่าใจของเรา เราเป็นเจ้าของใจเราเป็นประธานใจของเราเอง ไม่มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีอะไรมาละลาบละล้วงยิ่งใหญ่ไปกว่าใจของเราเอง
เพราะฉะนั้นตั้งใจดีๆฝึกเลย ฟังให้ดีๆที่อาตมาอธิบายนี้ จงตั้งใจปฏิบัติตามที่พยายามอธิบาย คำสอนของพระพุทธเจ้าก็มีอยู่ พยายามขยายความทั้งสั้นทั้งยาว ทั้งอย่างอุเทส ทั้งอย่างนิเทศ อธิบายกัน แจกแจงกันอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นฟังได้เข้าใจดีแล้วปฏิบัติไปตามลำดับ ต้องตามลำดับดีๆ อย่าเที่ยวไปตะกละตะกลาม
อย่าไปเห็นว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ตื้นๆนะ หลับตาเข้าไปแล้ว ปฏิบัติ ให้เกิดปัญญาให้เกิดวิมุติเลย ศีล สมาธิ มันก็ได้เองอะไรอย่างนี้ นี่พวกนี้ไม่ได้เรื่องเลย ปฏิบัติไปสูญเปล่า
เพราะมรรคผลทุกอย่างจะต้องครบด้วยองค์ 3 ทั้งหมดเลย มีเหตุมีผล แล้วก็มีตัวจิตตัวประธานตัวเราเองนี่แหละจัดการปฏิบัติเหตุกับผลนี้ให้สมบูรณ์แบบ เกิดเป็นอภิสังขาร เป็นผลที่ ทีได้ปรุง ได้สังขารได้จัดการได้ปรับ ได้ทำให้มันเกิดมรรคเกิดผลอย่างแท้จริง ขยายความก็เป็นจรณะ 15 วิชชา 8 ซึ่งมีครบทั้ง ศีล อปัณณกปฏิปทา 3 แล้วก็จะค่อยๆเกิด สัทธรรม 7 อาการของสัทธรรม 7 นี่ก็สำคัญมาก ก็อธิบายไปหลายทีแล้ว
ปฏิบัติไปก็จะเกิดสั่งสมเป็นสมาธิ สั่งสมเป็นปัญญา ไปตามขั้นตอนของ ฌาน 1 2 3 4 แล้วก็ครบสูตร ฌานตัวสุดท้ายก็สำเร็จเป็น อุภโตภาควิมุติ ก็หมายความว่าทั้ง 2 ส่วน อุภโตแปลว่า สอง ภาคแปลว่าส่วน 2 ส่วนคือทั้งเจโตและปัญญา หรือทั้งศรัทธาและปัญญา
ก็จะเกิดการวิมุติ เกิดการหลุดพ้น ทำให้จิตสะอาด และปัญญาก็รู้ว่าเราได้ปฏิบัติมาอย่างสัมมาทิฏฐิถูกต้องบริบูรณ์ ครบ เป็นสุดท้าย
เพราะฉะนั้น ถ้าผู้ใดยังปฏิบัติไม่มีศีลเป็นหลัก ก็ไม่เป็นลำดับ เช่น ไปหลับตาปฏิบัติ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับศีลตั้งแต่ข้อ 1 มีสัมผัสเป็นปัจจัย คุณลืมตาเกี่ยวข้องโดยเฉพาะสัตว์คือมนุษย์นี่แหละ ที่อยู่ร่วมกัน เกี่ยวข้องกัน
ส่วนสัตว์เดรัจฉานนั้นไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับเขา เขาก็อยู่ของเขาตามยถากรรมตามวิบากของเขา เขาก็จะพัฒนาตัวเองไปตามยถากรรมของเขา เราไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับเขา เพราะวิบากกรรมที่เราตั้งแต่มีอวิชชาไม่รู้ เราก็จะต้องไปเป็นวิบากเกี่ยวข้องกับสัตว์ทั้งหลายมาแล้ว ยังมีอีกตั้งเยอะ แม้แต่ทั้งสัตว์ แม้แต่ทั้งตัวมนุษย์ ที่เกิดอยู่ร่วมยุคก็ตาม ยังไม่ได้เกิดร่วมยุคก็ตาม ยังมีอีกตั้งเยอะ
เพราะฉะนั้นมันจะมากเกินไปแล้ว ต้องตัดเสียบ้าง สัตว์เดรัจฉานก็ปล่อยเขาไป ไม่ต้องไปยุ่งไปเกี่ยวอะไรกันเลย จนกระทั่งอาตมาพามาทำ อย่าว่าแต่ไปเกี่ยวข้องต้องเอามาเลี้ยงมาดู ต้องเอามาใช้งาน คนอวดเก่งเอามาฝึกหัดให้มันทำอย่างนู้นอย่างนี้ ทำได้ฝึกให้มันเป็น มันก็ทำได้อย่างนั้นแหละ อย่างเก่งก็อาศัยใช้แรงงานของมันมา เพื่อที่จะเลี้ยงตนเองบ้าง ก็เป็นวิบากเป็นหนี้ เป็นหนี้แก่กันและกันไปอยู่ในตัว
แม้เราจะทำเป็นกุศลที่ดียังไงๆๆ มันก็ชดใช้กันไป วนเวียนกันอยู่นั่นแหละ นาน เสียเวลาซับซ้อน เพราะฉะนั้นเราตัดประเด็นเรื่องเกี่ยวกับสัตว์ ปฏิบัติกับคนด้วยกันนี่ เหลือพอ มากพอ ที่จะเป็นอรหันต์ คือทำให้กิเลสหมดได้ สัตว์มันก็ยั่วยวนให้กิเลสเราเกิดไม่ได้เก่งเท่ากับคนหรอก สัตว์ใดก็ตาม ไม่มีสัตว์ใด เดรัจฉานใดที่จะยั่วให้เราเกิดกิเลสได้เก่ง หยาบ กลาง ละเอียด ได้เก่งเท่าคนด้วยกัน แค่นี้ก็จบรอบเป็นอรหันต์ได้แล้ว
เพราะฉะนั้นเรื่องสัตว์จึงเป็นอันตัดหมดเลย ไม่ให้เหลือวิบาก อย่างอาตมาเป็นโพธิสัตว์ระดับ 7 รู้ดีถึงได้เอาเรื่องลึกเลย มาถึงขั้นไม่อนุโลมสำหรับผู้ที่จะเข้ามาอยู่ในหมู่กลุ่มจะปฏิบัติกันนี่ เราก็เป็นหลักเกณฑ์เลยว่า
1.ศีล 5 ก็ต้องสมบูรณ์ ต้องปฏิบัติให้ได้ เพราะเป็นพื้นฐาน
เบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เอาไม่กินเนื้อสัตว์เลย อย่างที่เราทำมาตั้งแต่ต้นจนกระทั่งถึงเดี๋ยวนี้ จะบอกว่าเข้มก็เข้ม เพราะอาตมาต้องการอรหันต์ ถ้าไม่เช่นนั้น ชาตินี้มันก็ไม่ได้เป็นอรหันต์ง่าย
อีกอันก็คืออบายมุขที่ไปเสพไปติดอยู่ในเรื่องต่ำไปวนเวียนอยู่ในโลกที่ชั้นแรกแล้ว ชั้นต้นแล้ว ถ้าอย่างนั้นยังไม่ได้ก็แย่แล้ว
เพราะฉะนั้นพวกเราเรื่องอบายมุขกับข้างนอกนี้จะชัดเจน ห่างเยอะ เพราะฉะนั้นแม้แต่เรื่องของกามคุณ 5 ก็เยอะ จนกระทั่งอาตมาได้พูดไปแล้ว ว่าสังคมชุมชน ที่เป็นชุมชนของชาวอโศกเป็นสมาชิกในชุมชน จึงเป็นคนที่มีภูมิธรรมถึงขั้นอนาคามีขึ้นไป แม้ยังไม่บริบูรณ์ ยังไม่สมบูรณ์แบบ กายวาจาก็เป็นอนาคามี ถูกบังคับอยู่ในตัว บังคับด้วยกฎเกณฑ์ บังคับในเพื่อนฝูงหมู่กลุ่ม
จิตเราอาจจะยังมีกิเลส ยังมีเศษของกามอยู่บ้างในศีล 5 ก็ค่อยๆเป็นไป พวกเราก็ค่อยๆรู้กัน คนนี้ศีล 5 คนนี้ศีล 8 คนนี้ศีล 10 คนนี้ ศีล จุลศีลเพิ่มขึ้นตามลำดับตั้ง 43 ข้อ ค่อยๆไล่ไป มันไม่ต้องถึงจุลศีลหมดทั้ง 43 ข้อหรอก ปฏิบัติไป 10 ข้อ 20 ข้อ 10 กว่าข้อไปก็บรรลุอรหันต์ได้ก่อนแล้วก่อนที่จะหมดจุลศีล เพราะฉะนั้นยิ่งจุลศีลครบ ก็แน่นอน คุณทำได้ดีได้มรรคได้ผลตามจุลศีล แน่นอน ได้เป็นอรหันต์แน่นอน
อาตมาสรุปย่นย่อแม้แต่ในศีล 3 ข้อ ขยายมา สรุปอย่างหยาบแต่มันหมายถึงมีแนวลึกอยู่ในตัวโดยปริยาย
ศีลข้อ 1 เกี่ยวกับสัตว์
ศีลข้อ 2 เกี่ยวกับพฤติกรรมของเราที่เกี่ยวกับเรื่องข้าวของ วัตถุจนกระทั่งมาถึงพืช พวกนี้พวกสัตว์และพืชนี้ พืชมันไม่มีจิตวิญญาณ พืชมันแม้จะมีชีวะ มันก็ไม่มีจิตวิญญาณ อันนี้ก็เป็นนัยยะที่ลึกซึ้ง
ที่เดี๋ยวนี้ศาสนาพุทธมันเสื่อม เสื่อมจนเข้าใจไม่ได้ในธรรมนิยาม 5 ที่จะรู้จักอาการของพลังงาน พลังงานระดับอุตุนิยาม ตัดกรอบแค่ไหน พลังงานขนาดพีชะ ตัดกรอบแค่ไหน พลังงานระดับจิตนิยามก็เป็นพลังงานระดับสัตว์เต็มๆตั้งแต่สัตว์เซลล์เดียว จนถึงสัตว์มนุษย์ จนกระทั่งจิตวิญญาณของพระพุทธเจ้านั่นแหละ เจริญสุด ซึ่งเจริญได้ด้วยการประพฤติ มีการกระทำเรียกว่า กรรม มีการสั่งสมลง ทรงไว้ หรือว่า ธรรม ธรรมะ การกระทำคือกรรม กรรมกับธรรมะ 2 อันนี้ ก็เป็นตัวเหตุและรูปนาม หรือตัว 2 ตัวคู่ที่จะต้องปฏิบัติ เทวฺ ผู้ที่ปฏิบัติธรรมคือกรรม คือสภาพของกิริยาอาการ ธรรมะคือสิ่งที่สะสมแล้วก็ตกผลึก เป็นกองทุนสะสมธรรมะ ให้มันสมบูรณ์แบบไปเรื่อยๆ
เพราะฉะนั้นในความซับซ้อนลึกซึ้งพวกนี้ คำว่า กาย เป็นทั้งคำต้นในศาสนาพุทธ เป็นทั้งคำในขั้นต่อมา ขั้นปฏิบัติต่อมา ถ้าแบ่ง 3 อย่างก็เป็นต้น กลาง ปลาย มีทั้ง 3 ระดับสำหรับ กาย ไม่ขาด
หรือจะไม่มีกาย หมายความว่าอะไร จิตไม่มีกายแล้ว จิตมีแต่อาการหรือกิริยา หรือลักษณะ เหลือแค่อาการของพีชะ เราก็อาศัยพีชะ ทำให้มันเป็นอุตุเลยก็อาศัยได้ เราก็ต้องอาศัยทั้งอุตุและพีชะอาศัยทางจิต
อุตุนิยาม ก็ต้องเข้าใจนิยามของมันว่าอุตุขนาดไหน ทำความเข้าใจคำจำกัดความว่า มันคืออย่างนี้อย่างนี้คืออุตุ คือดินน้ำไฟลมคือสิ่งที่เป็นวัตถุ เป็นสสาร หรือจะเป็นพลังงานก็เป็นพลังงานทางสสารวัตถุ ไม่มีชีวะเข้าไปเกี่ยวข้อง นั่นคือกรอบของอุตุ
กรอบของ พีชะ คือมีพลังงานความเป็นชีวิตแล้ว เพราะฉะนั้นขั้นเป็นชีวิตนี้ เราก็อาศัยขั้นนี้ได้ เพราะในขณะที่จิตของเราทำให้มันลดระดับความติดยึด ความเป็นอาการ ความเป็นกิริยา ความเป็นพลังงานในระดับที่มันเป็นจิตนี่ เกี่ยวข้องกับอะไรก็แล้วแต่ เกี่ยวข้องกับสัตว์ เกี่ยวข้องกับพืช เกี่ยวข้องกับคน คนนี้คือจิตวิญญาณแล้ว สัตว์พืชคน
คุณก็สามารถทำจิตของเราสัมผัสเกี่ยวข้องกัน ทำงานร่วมกัน ไม่ให้เกิดอาการ 1.ทำได้ไม่เป็น กาย ในระดับที่ไม่เป็นกายอย่างสนิท จึงคืออุตุ มันไม่มีกายแล้ว ไม่ถือว่ามีกายแล้ว แต่มันยังมีชีวะเกี่ยวเนื่องอยู่กับเรา ถ้าอยู่ภายนอกก็มี แต่ไม่มีทุกข์มีสุขแล้ว ถ้าเป็นภายนอกเกี่ยวข้อง เช่น ผมยังยาวออกไป เออ.. ผมก็เป็นชีวะอยู่กับตัวเราอยู่แต่มันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ไม่มีบาปไม่มีบุญ นี่แหละจะเป็นฐานที่คุณจะบรรลุ บรรลุอาริยะ บรรลุโสดา สกิทา อนาคา อรหันต์ได้ก็ต้องรู้อันนี้
รู้ มนสิการ เราทำใจในใจของเราให้มันสังขารปรุงแต่งกันอยู่ แค่ ความเป็นพืชหรือให้มันเป็นอุตุได้เลย ถ้าเป็นอุตุได้เลยก็เท่ากับตัดความเป็นกาย กายะ ขาดออกไปจากตัวเรา ไม่ฟื้นขึ้นมาอีก ถ้าทำจิตของเราให้สำเร็จถึงขั้นว่า จิตหรือเจตสิก แยกไปเป็นเจตสิก เช่น เวทนาเจตสิก แล้วเราก็ใช้สัญญากำหนดรู้ แล้วมันจะต้องทำการเกี่ยวข้องปรุงแต่งกันอยู่ เพราะมันยังมีการรู้กัน (พ่อครูไอตัดออกด้วย) เราก็อาศัยกันเราจะไม่อาศัยดินน้ำไฟลมก็ไม่ได้ จะไม่อาศัยพืชก็ไม่ได้ จะไม่อาศัยสัตว์
สัตว์ พูดไปแล้ว เขาอยู่ตามยถากรรมของเขา เราไม่เกี่ยวข้อง เอาแต่แค่เกี่ยวข้องกับคน มีวิบากแก่กันและกันมากมาย เราก็มาทำให้เป็นวิบากกุศล จนกระทั่งถึงอโหสิกรรม กรรมที่ไม่เป็นกุศลไม่เป็นบาปไม่เป็นบุญอะไรต่อกันและกัน เขายังไม่อโหสิหรอกแต่เราอโหสิเขาก่อน เราไม่ไปปรุงแต่งไม่ไปติดใจอะไรกับเขา แต่เราทำก่อนเราได้ก่อน คุณจะทำอยู่ คุณจะยึดอยู่ก็เรื่องของคุณ
แต่เราเอง แม้ว่าเราอโหสิกรรมแล้ว อโหสิกรรมคือไม่ทั้งผูกพันทำร้ายตอบแทนแก้แค้นกัน ไม่ทั้งผูกพันที่จะรัก ทั้งรักทั้งชังทั้งผลักทั้งดูดนี่ อาการทั้งสองอย่างนี้เป็นอาการเทวะคู่ใหญ่คู่สำคัญ เราก็ไม่มีจิต คิดว่าเราเป็นกลางๆ
ถ้าจะร่วมกันด้วยกรรมกิริยาก็ทำด้วยประโยชน์เกื้อกูลกันช่วยเหลือกันส่งเสริมกันเท่านั้น ไม่มีกิเลสข้างเคียงที่จะมาเกิด เพราะฉะนั้นผู้ใดเข้าใจจริงๆแล้วรู้จักกิเลสมันเกิดอย่าง หยาบ กลาง ละเอียด หรือมันมีน้อยลงได้จนกระทั่งเหลือน้อยมาก คุณก็จะรู้ได้ด้วยตน ปัจจัตตัง รู้ได้ด้วยตน อ่าน จิตเจตสิก รูป
รูป คือสิ่งที่ถูกรู้ เราก็จะต้องรู้กายหรือสภาพที่เป็น 2 สรุปสั้นคือต้องรู้กายกับสัญญา สัญญาคือเจตสิกที่จะทำงานหนักตั้งแต่ต้น จนกระทั่งสุดท้าย สัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาตั้งแต่ตัวต้นเลยตั้งแต่อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป
คุณจะต้องเอาสัญญาเป็นตัวกำหนดแล้วรู้ไปทั้งหมดเลย เป็นตัวทำงาน เจตสิกใหญ่มีสัญญา เวทนา สังขาร
คุณก็เอาสัญญาเป็นตัวตั้ง คนที่ยังไม่เข้าใจว่าสัญญาคืออะไร ทำงานอย่างไร มันทำหน้าที่อย่างไร มันมี 2 สภาพสัญญา
-
ความจำ ทำได้แล้วหรือไม่ได้ก็ตาม มิจฉาทิฏฐิหรือสัมมาทิฏฐิก็ตาม คุณก็ต้องทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ทำให้มันได้ผล ได้แล้วก็ตกผลึกสั่งสมลงเรียกว่าความจำหรือว่าเป็นคลังแห่งตัวอัตตา มันก็มีอยู่ในฐานของตัวเรา จิตของเรา ฐานะ ฐานตั้งอยู่ตรงนั้น
เราก็ทำให้มันเกิดผลสมบูรณ์ที่สุดไม่มีกิเลส แล้วเป็นการรู้ ไม่มีก็คือ เจโต จิตสะอาดรู้ก็คือปัญญาสมบูรณ์แบบด้วยเจโตและปัญญา
เจโต สะอาดจากกิเลส ปัญญา ก็รู้ว่ากิเลสคืออะไรแล้วได้ทำถูกต้องตามเหตุปัจจัยตามทฤษฎีที่สัมมาทิฏฐิหมดแล้ว ไม่มีแล้วกิเลสบรรลุแล้วหลุดพ้นแล้ว
แม้หลุดพ้นแล้วชีวิตเราก็ยังมีอยู่ ไม่ได้หมายความว่าชีวิตนี้ยิ่งไม่สำรอก กิเลสยิ่งหมดก็ยิ่งแข็งทื่อไม่ค่อยเอาเรื่องอะไร ไม่รู้จักสัมผัส ไม่รู้จักเวทนา ไม่ เวทนาก็ยิ่งชัดเจน เวทนาก็ยิ่งใสสะอาด ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขเวทนา อย่างน้อย ก็เข้าใจละเอียดถึงทุกข์ถึงสุข
แม้จะเป็นลักษณะของกุศล อกุศล เป็นดีเป็นชั่ว อันนี้เป็นโลกียะ รู้ก่อน แล้วทำได้ ทำได้สำเร็จแล้วเราก็ต้องอาศัยดีหรือกุศล ต้องอาศัยอันนี้จนกว่าจะปรินิพพานเป็นปริโยสาน มันถึงจะเลิกกัน
เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าแท้ๆ จบบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้วก็ยังไม่ได้พอหรอก ไม่สันโดษหรอกในกุศล กุศลมีอีกเท่าไหร่ก็ได้อาศัยดีขึ้นเท่านั้น ยิ่งกุศลดีกุศลวิเศษ กุศลประเสริฐเยี่ยมยอดขึ้นเท่าไหร่มันก็ยิ่งได้อาศัย ซึ่งมันเป็น อจินไตย
อจินไตย ของกรรมวิบาก มันอธิบายยากมากมันจะเป็นผลของวิบาก วิบากคือผลของกรรม มันจะออกฤทธิ์ออกเดชให้เราอาศัย
ยกตัวอย่างง่ายๆ อาตมาเคยยกตัวอย่างมามาก หลายทีแล้ว มันเป็นเหมือนพลังงานไร้สภาพ ไม่เห็น ไม่มีรูปร่าง ไม่มีตัวตน ไม่มีสภาพตัวตน แต่มีฤทธิ์
มีฤทธิ์ทั้งสิ่งที่คนเคารพนับถือบูชา มีฤทธิ์ทั้งคนมาทำร้ายปองร้าย ได้ยากขึ้นๆ จนไม่ได้ ทำไม่ได้ ฟัง 2 ประเด็นนี้ง่ายๆ
อาตมาคงมีศัพท์ ศัพท์บาลี แต่มันยังนึกไม่ออก 2 คำนี้ ลักษณะ 2 ลักษณะนี้ น่าจะมีแต่อาตมายังนึกไม่ออก
แต่คุณสมบัติหรือโทษสมบัติ โทษก็คือไม่เอา คุณสมบัติก็คือมีไว้ มันเป็นลักษณะโลกียะ มันต้องอาศัยโลกีย์คือความมี มีก็ต้องมีสิ่งที่ดี สิ่งที่ประเสริฐ สิ่งที่มนุษย์พึงได้พึงมีพึงเป็น ใช้สำหรับ ฐานอาศัย จนกว่าจะปรินิพพานเป็นปริโยสาน ถึงจะแตกสลาย แยก ล้มเลิกกุศลธรรม ธรรมคือสิ่งที่ทรงอยู่ เลิก ไม่ต้องมีกรรมอีกแล้ว เพราะเราแตกแยกตายแล้ว ตาย กายแตกก็หมดกรรมไม่ต้องทำอะไร ธรรมะ สิ่งที่ทรงไว้รวมกันอยู่ เป็นของคุณ เป็นอัตตา
อ ต ต นี่แหละ คืออัตตา ไม่ลงลึกไปขยาย อ กับ ต ต เคยขยายแล้ว แล้วพ้นจากนี้ จะอธิบายเรื่องเศรษฐกิจ อาตมาก็อธิบายแยกพยัญชนะพวกนี้อยู่ ตอนนี้ขอผ่านไปก่อน จะเน้นเรื่องกายให้เข้าใจดีๆ ในช่วงงานปลุกเสกนี้ ให้เข้าใจชัดๆเพราะมันสำคัญ
ตั้งแต่ต้น พ้น สักกายทิฏฐิ เป็นเบื้องต้นเลยทุกคน ถ้าไม่เข้าใจ 1. ตัวตน 2. ความเป็นกาย เรียกว่า สักกะ คือ ตัวตน ตัวเรา
ส กับ ก อันเกี่ยวกับตัวเรา สักกะ แล้ว ในความเป็นสักกะนี้ ก็มีลักษณะ 2 คือ กาย ลักษณะ 2 ตั้งแต่เริ่มต้น ใช้ศัพท์ซ้ำเลยว่า คือ กายกับจิต กาย เป็นลักษณะ 2 มีอะไรบ้าง ก็คือ ตัวหนึ่งคือกาย อีกตัวหนึ่งคือจิต ขยายจาก 2 จากคำว่า กายกับจิตแล้ว ออกมาก็คือ ตัวหนึ่งเป็นภายนอก ตัวหนึ่งเป็นภายใน กายภายนอก กับ กายภายใน
กายภายใน ยังไม่เรียกว่า เวทนา กายในกาย เพราะจะต้องมาเรียนรู้มีสติปัฏฐาน 4 ก็จะต้องเรียนรู้กาย พิจารณาตามกายภายในเข้าไปหาในๆๆๆๆเข้าไปเรื่อยๆ ในจากกายก็เข้าหาเวทนา ในจากเวทนาก็เข้าไปหาจิต ในจากจิตก็คือคุณจะต้องรู้การกระทำเรียกว่ากรรม
เมื่อทำสำเร็จเสร็จ ก็สั่งสมลงเป็น ธรรมะ กาย เวทนา จิต ธรรม
เมื่อทำได้สำเร็จตามหลักธรรมพระพุทธเจ้า ก็เป็นโลกุตระธรรม หรือเป็นธรรมของอาริยชน อาริยะบุคคลแบบพุทธ ไม่ใช่ศัพท์คำว่าอริยะ อารยะ เขาก็แปลว่า คนเจริญ คนประเสริฐ ซึ่งทางภาษาอังกฤษก็มีแค่คำว่า ศิวิไลซ์ คือ คนเจริญ แต่เขาไม่มีโลกุตระ ไม่มีแบ่งแยกละเอียดลออ อย่างที่เราทำเพราะว่าเทวนิยมเขาไม่มี เขาไม่ได้มีการเรียนรู้เรื่องกรรม เรื่องวิบาก เรื่องจิตเจตสิกต่างๆเขาไม่ได้เรียนรู้ เพราะฉะนั้นเขาก็ไม่มีวันที่จะมาเข้าใจ เข้าใจโดยปริยายไปอย่างนั้นแหละ โดยเขาเรียนจิตวิทยาหรือจิตศาสตร์เขาก็เรียนพื้นๆไปอย่างนั้น เทวนิยม จะมาลึกซึ้งแบบพระพุทธเจ้า มาแยกจิตเจตสิกต่างๆอย่างที่เราเรียนกันนี้ แม้แต่รูปก็ต้องมีตั้ง 28 เกี่ยวข้องกับจิตทั้งนั้นเลยนะรูป 28 แม้แต่มหาภูตรูป 4 ซึ่งก็ไม่เกี่ยวกับเราตั้งแต่ดินน้ำไฟลม
แม้แต่เราทำให้จิตเราเป็นดิน น้ำ ไฟ ลมก็ไม่เคยเกี่ยวกับจิต แต่เราต้องอาศัยมันอยู่ ก็ต้องรู้ว่ามีดิน น้ำ ไฟ มันมาปรุงแต่งเป็นอุตุดินน้ำไฟลม ปรุงแต่งเป็นพืชให้เรากินเราใช้ไป อาศัยไป ในชีวิตมันก็มีดินน้ำ แม้แต่ในจิตของเราจะไม่มีดินน้ำไฟลมในจิตเดี่ยวๆ แต่เราก็ต้องอาศัยกันและกันกับพืชกับอุตุอยู่ มันฉีกขาดแยกขาดกันไม่ออกกันอย่างเด็ดขาด
เราสามารถที่จะแยกอุตุคือดินน้ำไฟลมจากร่างกายของเราส่วนที่ไม่จำเป็นแล้ว หมดทุกข์หมดสุข หมดบาป หมดบุญ ไม่ต้องอาศัยมันอะไรนักหนาเลย เช่น ผม ขน เล็บ ฟันในส่วนที่มันไม่จำเป็น แต่ฟันนี่จะใช้อาศัยมันมากกว่าผม ผมนี่โกนสั้นได้เลย เล็บก็ตัดสั้นได้เลย ขน บางทีมันก็อาศัยคลุคลุมกันหนาว อย่างสัตว์หลายชนิด ที่ในเมืองหนาวจะขนยาว อาศัยมันบ้าง
เพราะฉะนั้น ในส่วนที่เป็นผมก็ตัดไว้สั้นๆไว้ก็พอแล้ว จะพออาศัยกันร้อน แทนที่จะเอาผ้าคลุม คุณก็มีผมกันไว้ ก็กันร้อนได้ยิ่งกว่าพวกสมณะโกนโล้นเลย ไปเจอแดดเผา พวกคุณก็ค่อยยังชั่วมีผมกัน
มาเข้าสู่ประเด็นหลักๆเลย กาย พระพุทธเจ้าท่านสอนเราไปตามลำดับ
ประเด็นที่ 1 อาตมาแยกไว้ ซึ่งมีถึง 9 ประเด็นใครจะโน้ตไว้ก่อนก็ได้ อาตมาค่อยๆอธิบายไปในงานปลุกเสกนี้ จะพยายามอธิบายให้ครบ 9 ประเด็น
-
สักกายทิฏฐิ
-
ธรรมะนิยาม 5
-
สติปัฏฐาน 4
-
สัตตาวาส 9
-
วิญญาณฐิติ 7
-
วิโมกข์ 8
-
สัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย
-
บุคคล 7
-
อรหันต์ ที่ทำกายแตกตาย ด้วยการแยกกายแยกจิตของตน เป็นดินน้ำไฟลมสำเร็จสุดท้าย คือ ปริโยสาน นี่คือ 9 หลัก
9 หลักนี้มีกาย เพราะฉะนั้นคำว่า มีกาย คำนี้ถ้ามิจฉาทิฏฐิตั้งแต่ต้นคำว่ามีกาย โดยเข้าใจกาย 1.เข้าใจผิด 2.มิจฉาทิฏฐิเลย ไม่เกี่ยวเลย ไม่ยุ่งเลยกับคำว่ากาย หลับตาเข้าไปสู่ข้างใน ทั้งๆที่เขาก็เข้าใจอยู่แล้วว่ากายนี้มันคือข้างนอก พวกหลับตาปฏิบัติธรรมเขารู้นะว่ากายนี้มันคือข้างนอก ใช่ไหม
คุณจะเข้าใจถูกว่ากายข้างนอกนี้ คือกายที่ยังไม่ขาดไปจากสรีระคุณนะ สรีระของคุณมีเล็บ มีผมยาวออกมา แต่ไอ้ผมยาวๆส่วนยาวมันไม่ใช่กายแล้วนะ เล็บที่มันยาวออกมาเกินกว่าตรงนี้เกินกว่าประสาทแต่มันยังเป็นชีวะ มันก็ยาวไป มันก็ไม่มีความเป็นกายแล้ว เพราะมันไม่มีจิตเข้ามาร่วม ผมที่ยาวออกไปแล้วมันก็ไม่มีจิตเข้ามาร่วม
ถ้าภาษาวิชาการก็บอกว่ามันไม่ใช่ตัวเราของเราแล้ว ผมที่ยาวออกไปส่วนที่มันไม่รับรู้สึกแล้วไม่มีบาปไม่มีบุญ ไม่มีสุขไม่มีทุกข์มัน ไม่ใช่ตัวเราของเราแล้ว ง่ายๆตั้งแต่คุณยังเป็นๆอยู่นี่ มันยังติดอยู่ในตัวเรา มันก็ไม่ใช่เราของเรา เพราะฉะนั้นตัดออกไปเลยก็ยิ่งไม่ใช่เราไม่ใช่ของเราใหญ่เลย แต่ถ้าคุณยังติดยึดอยู่จิตนี้ มันเป็นเราของเราอยู่ที่เป็นของฉันนะตัดออกไปฉันจะเป็นจะตายนะตัดผมของฉัน ฉันเลี้ยงมาตั้งนาน ไอ้คนรักเล็บไว้เล็บอย่างพวกฤาษี ถ้าเล็บขาดเล็บหักออกไป หรือแม้แต่ผู้หญิงไว้เล็บเสียยาวอย่างนี้ สวยประดิดประดอย มันขาดมันหักออกไปก็จะเป็นจะตาย จนกระทั่งคนก็เลยต้องสร้างเล็บปลอมมาให้ ทีนี้ไม่แคร์แล้ว ฉันทำเล็บปลอมก็ได้ คนฉลาดหาเงินก็หลอกเอาไปยึดติดว่านี่ตัวกูของกู กูไม่มีเล็บ ก็จะต้องให้มีเล็บ ก็จะต้องติดยึดให้เป็นตัวกูของกูอะไรอยู่ อย่างนี้เป็นต้น
นัยยะอื่น ผมกับเล็บ ขน ฟัน หนัง หนังกับผิวหนัง มันยิ่งละเอียดมันยึดว่าเป็นผิวหนังของเรา ผิวหนังที่ต้องละเอียดเนียนนะ แต่ก็รู้เหมือนกันว่าไม่เอาขี้ไคล เอาขี้ไคลออกมันก็จะยิ่งบาง ขี้ไคลมันก็กันอะไรอย่างอื่นได้ก็เอามันออก ดีไม่ดีเอาโซดาไฟมาทำสบู่ถูให้มันลอกมันบาง เสร็จแล้วก็ไปซื้อครีมอะไรมาทาอีกใหม่ เสริมเข้าไปใหม่ให้หนาอีก มันจะบ้าหนักไปถึงขนาดไหน จากไม่เอาแต่ก็จะเอา แล้วก็ไปบอกว่าขี้ไคลมันน่ารังเกียจ มันก็น่ารังเกียจถ้ามันจับตัวมันก็จะมีแบคทีเรียอะไรเหม็น ก็เอาแต่พอช่วยคลุมไว้พอสมควร
กาย ตัวแรก สักกายทิฏฐิ สักกะ ตัวเรา กาย คือสภาวะคู่
อย่ามิจฉาทิฐิ ก็คือ ต้องทำสัมมาทิฏฐิให้ชัดเจนว่า เมื่อไหร่มันยังชื่อว่าเป็นกาย เมื่อไหร่มันไม่ชื่อว่าเป็นกายแล้ว จะเข้าใจว่า 1.ตัวเรา สักกะ 2. ต้องมีกาย ต้องมีทั้งภายนอกและภายในเสมอ
สติต้องมีความรับรู้ทั้งภายนอกและภายใน ในขณะที่คุณเห็นภายนอก ตากระทบรูปเห็นรูป หูก็ได้ยินเสียง จมูกก็กระทบกลิ่น ลิ้นก็กระทบรสได้รส โผฏฐัพพะ เสียดสี เย็นร้อนอ่อนแข็ง กระทบ
คุณก็สามารถรู้อยู่นั่นแหละจึงเรียกว่า มีกาย มีสัมผัส ถ้าคุณไม่มีสัมผัส ไม่รับรู้ข้างนอกเลย คุณก็ขาดกายเป็นคนพิการ เป็นคนมี 1 เดียวไม่มี 2 เป็นคนพิการ
คนต้องมี 2 ต้องมีวิญญาณ ต้องมีนามรูป นี่คุณไปมีอย่างเดียว คุณมี แต่นามรูปคุณไม่เอาเลย ไม่ได้ หรือคุณเอาแต่รูป คุณไม่เอานามเลย คนนี้ยิ่งบ้าใหญ่เลย ทำตัวให้แข็ง เป็นท่อนเป็นแท่ง เป็นพรหมลูกฟักที่นั่งหลับตาไม่รับรู้ ดับสัญญาไม่รับรู้ คุณก็ทำสำเร็จได้ ก็เป็นลัทธิเดียรถีย์ชนิดนึง ก็ทำให้ไม่รับรู้ได้ชำนาญได้เก่งก็เป็น อาฬารดาบส อุทกดาบส จิตของคุณก็จะชำนาญมนสิการแบบไม่ได้คุณก็ได้อาศัยไป ออกมาจากฌาน ยิ่งคุณไม่ได้เรียนรู้พิจารณาตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่ได้พิจารณาเวทนาเลยอย่างที่ศาสนาพุทธสอน คุณก็เข้าไปอยู่ในนั้นตลอดกาลนาน
อย่างสายหลับตาทำ สายพระป่านี้ยังมอมเมาน้อย สายธัมมชโย มอมเมาทั้งภายในทั้งภายนอก สะกดจิตไว้ภายใน แล้วก็หมดความเป็นตัวเองเลย ถูกครอบงำ ถูกผู้ที่สะกดจิตครอบงำหลอกไว้หมดเลย หลอกได้ทุกอย่าง หลอกได้โง่สนิท พวกที่หลอก หลอกอย่างทั้งตื่นทั้งหลับ 2 ภพเลย
หลับก็หลอกว่ามี ตื่นก็หลอกว่ามี แล้วก็หลอกซ้อนว่า คุณจะมีบุญ บุญมาก คุณมีเงินเอามาถวาย ปิดบัญชีเลย คุณจะได้บุญมาก คนที่หลอกได้สนิท ปิดบัญชีมาจริงๆ แต่แน่นอนคนที่ปิดบัญชีแล้ว มีเงินมันสามารถก็ต้องหาใหม่ หาจนได้ ส่วนคนที่โง่หนัก หลงว่าจะเป็นอย่างนั้นมาปิดบัญชี เสร็จแล้วก็ไปหาใหม่มันก็ยากจนต้องลำบากลำบน ก็ต้องเลิกนับถือ ถ้าไม่เลิกนับถือ คุณก็ฆ่าตัวตาย เพราะสุดท้ายคุณก็ทนไม่ได้ คุณก็ต้องทรมานมากจะต้องหามาถวายๆ โอ้โห..อำมหิตจริงๆ ธัมมชโย
เพราะฉะนั้นลักษณะนั้นยิ่งบาปกว่าพระป่าที่หลับตา วิบากบาปเยอะมาก จะตกนรกหมกไหม้กันอีกไม่รู้กี่ชาติต่อกี่ชาติอย่างธัมมชโย
อาตมาไม่อยากแตะต้อง เพราะมันเกินไปแล้ว อย่างน้อยเขาเป็นสมีมา 2 ตัวปาราชิก 2 ตัว อวดอุตริมนุสธรรมตัวหนึ่งกับทุจริตหลอกเรื่องวัตถุเงินทอง ชัดๆว่าเขาทำจริงเลย มีหลักฐาน มีเหตุการณ์ มีทุกอย่างครบ ว่าเขาเองเขาเป็นปาราชิก เป็นสมีในชาตินี้แล้ว เอาล่ะ สมี คนปาราชิกจะตกต่ำขนาดไหน อาตมาก็เคยอธิบายแล้ว ควรจะปฏิบัติกับสมีอย่างไร แต่เดี๋ยวนี้มันเสื่อมจนกระทั่งคลุกคลีกับสมี แม้แต่สมีในเถรสมาคมก็อนุโลมกันแล้วก็ไม่เข้าใจสภาพชัด เขาก็คลุกคลีเน่าในหมักหมม หมักดองอยู่ด้วยกันไป ซึ่งอาตมาถึงอยู่ด้วยกับเขาไม่ได้ ถึงแยกออกมามีพวกเรา ก็ปล่อยไปอันโน้น
เพิ่งจะพูดไปถึง สักกายทิฏฐิ ทีนี้เน้นเข้ามาหา ธรรมนิยาม 5
สักกะ ตัวเรา กาย มีสภาพ 2 มีนอกมีใน มีสภาพคู่ เป็นเทวะ แปลว่าสอง เทวะเป็นภาษาที่เรียกทุกสิ่งทุกอย่างทั้งหมดเลย ตั้งแต่ต้นจนจบก็คือต้องเป็นภาวะ 2 แม้จะพลิกมาเรียกภายนอกภายใน กายนอกกายใน เวทนานอกเวทนาใน เวทนานอกก็คือโยงออกมาจากกาย จิตในจิตนอก จิตก็ต้องโยงมาจากกาย มาจากเวทนา มันมีจิต แล้วคุณก็ทำในลักษณะ ทั้งกายหรือภายนอก ทั้งภายในเข้ามา ในกายแล้วเข้ามาหาเวทนา เวทนาเราก็ไม่ได้เรียกว่าเวทนานอกทีเดียว แต่มันโยงมาจากกาย มันมาจากนอกมันเชื่อมกันอยู่ไม่ได้ขาดจากกัน มันเป็นเรียกว่าภาษาหยาบๆว่า อิทัปจยตาหรือปัจจยาการ มันเนื่องกันมา หรือจะเรียกอย่างละเอียดว่า อายตนะ มันมารวมกันอยู่ใน ตนะ มันรวมกัน 2 ชิ้น แล้วก็ทำเป็นประโยชน์เรียกว่า อายะ ทำให้มันเป็นผล เป็นส่วนที่ได้ เป็นส่วนที่เจริญให้ได้
ถ้าโง่มันก็เข้าใจสิ่งเสื่อมเป็นสิ่งเจริญ ถ้าโง่คุณก็ทำสิ่งเสื่อมให้แก่ตน ถ้าคุณไม่โง่ คุณสัมมาทิฏฐิ คุณก็ทำสิ่งที่เจริญให้แก่ตน ทำอายตนะให้เจริญได้
เพราะฉะนั้นเราเข้าใจ สักกะคือ ตัวเราเองนี่แหละ มันเกี่ยวกับตัวเราไม่มีอื่น ทำที่ตัวเรา แล้วก็ทำขยายไป สักกะ แล้วก็กาย
ขอลงไปลึกนิดหนึ่ง พยัญชนะคำว่า สะ กับ กะ
สะ แปลว่าความเกี่ยวกับความเกี่ยวข้อง
กะ คือพยัญชนะตัวแรกของพยัญชนะทั้งหมด
จนกระทั่งถึงเศษวรรค ย ร ล ว ส ตัว ส เป็นตัวที่ 5
ตัวที่ 5 คือตัวที่อยู่เป็นกลางของ 9 แบ่ง 2 ข้างเป็น 4 4 ส ตัวที่ 5 คือ ส เป็นเศษส่วนที่พลังงานกำลังจะพัฒนาขึ้นไปหรือที่จะทำให้เสื่อมหรือเจริญ ก็คือตัวกลาง ย ร ล ว ส ห ฬ อํ
อํ เป็นวัฏฏะ เป็นวงวน เป็น cyclic เป็นตัวรวมที่ปรุงแต่งกันอยู่ แล้วผู้ที่ไม่ได้เรียนรู้ก็แยกไม่ออก แม้กระทั่ง 2 3 จนกระทั่งเกิดเป็น cyclic order เมื่อเกิดเป็น 3 แล้วก็จะเป็นปฏิกิริยาสมบูรณ์ ถ้ายังมี 2 มันก็เป็นแค่เส้นตรง เมื่อเป็น 3 มันก็จะหมุนวน
สิ่งเหล่านี้เป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรมที่ละเอียดมาก แต่เราต้องเรียน ถ้าไม่เรียนก็ไม่ง่าย แม้คุณจะไม่รู้ละเอียดเหมือนอย่างอาตมาอธิบาย คุณรู้ได้เป็นขั้นตอนเป็นขั้นๆ คุณก็บรรลุอรหันต์ไปตามลำดับ หรือเป็นอรหัตผลไปตามลำดับ
เพราะฉะนั้นในขั้นต่อมาที่พูดถึงธรรมนิยาม 5 นั้น คุณต้องแยกกายแยกจิตให้ได้ ถ้าแยกกายแยกจิตไม่ชัด เมื่อใดเป็นกาย เมื่อใดเป็นจิต
เมื่อไม่เป็นกายแล้ว นั่นแหละเป็นความสำเร็จ ที่หมดทุกข์หมดสุข หมดบาปหมดบุญ ไม่เป็นกายแล้ว ถ้ายังเป็นกายอยู่ ยังเป็นสุขเป็นทุกข์ ยังเป็นบาปเป็นบุญ ดีชั่ว ยังไม่ต้องไปพูดถึง มันมีแน่ มันเป็นโลกียะ แต่นี่โลกุตระ บาป บุญ หรือสุข ทุกข์ เป็นโลกุตระ
บาปบุญของโลกิยะเขาอธิบายแบบของเขา แต่นี่เราอธิบายบาปบุญแบบโลกุตระ
ฉะนั้นถ้าเผื่อเข้าใจอันนี้แล้ว เราจึงจะแยกกายแยกจิตได้ถูกต้อง ได้จริง
3 ตัว อุตุ พีชะ จิต
เพราะฉะนั้นอาการของจิตที่เกี่ยวข้องกับทุกสิ่งภายนอก มาถึงขั้นต้องมีผัสสะ ยังไม่มีผัสสะเราเอื้อมเอาจิตมาเป็นของเรา คุณก็โง่หนักแล้ว มันอยู่กับเราต่อเนื่องกับตัวเรา แล้วมันเป็นลักษณะแค่ ชีพ แค่ชีวะ แต่มันเป็นพีชะแล้ว ในธรรมชาติของพีชะ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง มีส่วน
ถ้าเรียนรู้ผมขนเล็บฟันหนัง คุณเรียนรู้ได้เลยตั้งแต่หยาบ ตั้งแต่ผมยาวไป ส่วนไหนมันไม่ใช่กายของเราแล้ว มันไม่ทุกข์ไม่สุขแล้ว ไม่เป็นกายไม่ทุกข์ไม่สุข ไม่บาปไม่บุญแล้ว คุณจะอาศัยมันบ้างก็อาศัยไป เช่น เราอาศัยดินน้ำไฟลม ดินน้ำไฟลมมันไม่มีบาปไม่มีบุญอะไรกับเรา แม้แต่ที่สุดคุณอาศัย พีชะ พืช มันก็ไม่บาปไม่บุญอะไรแล้วกับเรา ก็อาศัยกันไป
ผม ขน เล็บ ฟัน หนังของเราก็มีลักษณะ เมื่อใดมันเป็นกาย เมื่อใดมันไม่เป็นกาย เมื่อใด ส่วนไหนที่เราจะต้องอาศัย ส่วนไหนที่ไม่ต้องอาศัยแล้วหรืออาศัยบ้าง หรือต้องอาศัย ใช้คำว่า ต้อง หรือต้องอาศัยมัน ไม่อาศัยมัน มันไม่สมบูรณ์แล้ว มันบกพร่องแล้วเราต้องอาศัยอย่างนี้อย่างนี้เป็นต้น คุณก็ต้องกำหนดรู้เข้าใจได้ เพราะฉะนั้นคุณจะมีกาย มีจิตที่บริบูรณ์ ร่วมกัน อาศัยกันและกันเป็นธาตุ 2
ถ้าพลิกไปเรียกภาษาว่า กายคือรูป จิตคือนาม คุณก็ต้องมีรูปนามปรุงแต่งกันอยู่เรียกเต็มๆว่า วิญญาณ ก็อาศัยไป วิญญาณก็เป็นธาตุรู้ที่ต่างกับรูป
รูป เวทนา สัญญา สังขาร แล้วก็วิญญาณ คุณก็มีรูป มีวิญญาณอาศัยเป็น 2 สภาพ รูปกับวิญญาณก็เป็นนามรูป 2 อย่าง ที่มีตัวจักรกล 3 อย่างคือ เวทนา สัญญา สังขาร
พระพุทธเจ้าแจกให้เรียนรูป 28 กับนาม 5
นาม 5 คือ
-
เวทนา
-
สัญญา
-
เจตนา
-
ผัสสะ
-
มนสิการ