670105 ปฏิจจสมุปบาท ตอน 3 พุทธศาสนาตามภูมิ ราชธานีอโศก ดาวโหลดเอกสารที่ https://docs.google.com/document/d/1uq2Rxl4bq_poFuZgo_rZvT2TseiunyST/edit?usp=sharing&ouid=101958567431106342434&rtpof=true&sd=true ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/189wpqO9qj8MlawXkD1mFqMT05O3hNzu3/view?usp=sharing และ ดูวิดีโอได้ที่ https://www.facebook.com/100078722032092/videos/876694967790207 และ มีซับ สมณะฟ้าไท… วันนี้วันศุกร์ที่ 5 มกราคม 2567 แรม 9 ค่ำเดือนอ้ายปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก ปีใหม่ก็ผ่านไปเราก็ได้เสียสละทั้งแรงกายแรงเงินแรงวัตถุทั้งวัตถุและสิ่งของเต็มที่ แต่คนโลกีย์เขาไปเคาท์ดาวน์นั่งกินเบียร์ กินเสร็จแล้วหลังเที่ยงคืนก็ไปนอนอะไรอย่างนี้ กินกี่คนบอกว่า 2 คนสามีภรรยา พวกเราทำงานดึกดื่นเสียสละแต่ทางโลกีย์เขาก็ไปกินเหล้ากินยา ส่งเสริมตัวเองให้มีอบายมุขมากยิ่งขึ้น ของเรามาเสียสละทุ่มเททุกอย่างเพื่อมวลมนุษยชาติอย่างเต็มที่แล้วก็ผ่านพ้นไปแล้วก็ทำสิ่งใหม่เพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ แม้ตอนนี้ประเทศชาติจะมีงบประมาณรัฐบาลจะเพิ่มหนี้สินเพราะจะกู้มากขึ้นเรื่อยๆเราต้องใช้หนี้ไปอีกหลายปีถ้างบประมาณนี้ผ่าน รัฐบาลทำหน้าที่เพิ่มหนี้สินให้แก่ประชาชนมากยิ่งขึ้น จาก 6.7 แสนล้านเขาจะเพิ่มเป็น 7 แสนล้านหรือเปล่าจะกู้เพิ่มอีก ซึ่งคนเราถ้าไม่ลดละกิเลส ก็จะทำความฉิบหายให้แก่คนได้มากมายมหาศาล แต่ถ้าคนปฏิบัติธรรมมีโลกุตระก็มีแต่จะสร้างสรรค์เสียสละเพิ่มขึ้นเรื่อยๆลดละกิเลสยิ่งขึ้นช่วยมนุษยชาติยิ่งขึ้น พลังงานโลกีย์มันไปอย่างรวดเร็ว ของเรากว่าจะเสียสละได้กว่าจะหาเงินมาได้พ่อครูใช้สำนวนว่ารีดเลือดจากปู เรากินน้อยใช้น้อยอยู่แล้ว ปกติขายของเราก็ขายขาดทุนอยู่แล้วโดยธรรมชาติ อยากจะทำเพื่อมนุษยชาติให้พ้นภัยจากโลกีย์ให้ได้ มีพ่อครูเป็นผู้นำที่จะปลดปล่อยให้ชีวิตมีอิสระเสรี แต่คนเราก็มักจะเป็นทาสที่ปล่อยไม่ไป ทั้งที่รัชกาลที่ 5 ได้เลิกทาสไปแล้ว วันนี้เราก็จะได้มาฟังพ่อครูเพื่อปลดปล่อยตัวเองให้หลุดจากความเป็นทาสของกิเลสให้ได้ พ่อครูว่า… เริ่มต้นเอาที่ SMS ก่อน SMS วันที่ 2 – 4 มกราคม 2567 อวิชชา 8 มืด 8 ด้านในข้อ 6-7-8 _ตุ๊ก อัศวิน . ขอโอกาสเจ้าค่ะ อวิชชา ๘ = มืด ๘ ด้าน ข้อ ๗ ที่ว่า ไม่รู้จักทั้งอดีตและอนาคต จักกล่าวได้ไหมว่า คือ ไม่รู้จักปัจจุบัน นั้นแล ได้ไหมเจ้าคะ น้อมกราบขอบพระคุณยิ่ง..เจ้าค่ะ พ่อครูว่า… ได้ไหม … ได้ และหมายความเป็นนัยยะ ในอวิชชา 8 ส่วนอดีตข้อหนึ่ง เป็นข้อ 5 ส่วนอนาคตอีกข้อหนึ่งเป็นข้อ 6 ข้อที่ 7 ทั้งส่วนอดีตและส่วนอนาคต อาตมาเคยตั้งข้อสังเกตข้อที่ 5 และข้อที่ 6 ก็กล่าวถึงทั้งอดีตและอนาคตมาแล้ว และกล่าวทำไมอีกในข้อที่ 7 เพราะฉะนั้นมันต้องมีนัยยะที่แตกต่างจาก 2 ข้อนั้นมาแน่ เพราะว่าในข้อ 7 ทั้งอดีตทั้งอนาคต ก็ซ้ำกันอยู่อดีตกับอนาคต เพราะฉะนั้นนัยยะจากอดีตและอนาคตก็ต้องแตกต่างจากอดีตข้อ 5 และอนาคตข้อ 6 ใช่ไหมก็ต้องต่างกันแน่ ท่านถึงเห็นว่าเป็นอวิชชาอีกข้อหนึ่ง เพราะฉะนั้นอวิชชานัยยะสำคัญของข้อ 7 อดีตเฉพาะอดีต มันก็คือลักษณะธรรมชนิดหนึ่ง คืออดีต อดีตก็คือไม่ใช่ปัจจุบันเพราะฉะนั้นอดีตคือผ่านปัจจุบันไปแล้ว และไม่ใช่อนาคตเพราะยังไม่มาถึง นี่คำจำกัดความของอดีตแล้ว เพราะฉะนั้นธรรมะในส่วนของข้อ 6 ส่วนอนาคต มันก็ไม่ใช่อดีต และมันก็ไม่ใช่ปัจจุบัน เพราะมันเป็นอนาคต ใช่ไหม เพราะฉะนั้นยิ่งส่วนอนาคตนั้นยิ่งจะไม่เป็นอะไรไม่เป็นตัวเป็นตนเลย เป็นอนาคต เพราะฉะนั้นธรรมะในข้อ 6 โดยส่วนอนาคต จึงเป็นธรรมะที่อย่าไปฟุ้งซ่านกับมันเลยเรายังไม่รู้เลยว่ามันจะมาเมื่อไหร่ที่จะมาถึงปัจจุบันกับเรา เพราะฉะนั้นเราจึงอยู่กับปัจจุบันให้ดีที่สุด ฉะนั้น ถ้าผู้ใดทำที่นี่ ทำ ณ ปัจจุบัน ส่วนอดีตก็เกิดเหตุส่วนอนาคตก็ดีทำใจในใจ อย่าไปฟุ้งซ่านกับอนาคตเลย ส่วนอดีตนั้นเราต้องรู้ว่าเราผ่านปัจจุบันไปเป็นอดีตแล้ว เรามีคุณธรรมเรามีสมรรถนะเรามีความสามารถขนาดไหนที่เราทำสิ่งที่อนาคตมันมาถึงปัจจุบันทุกปัจจุบันก็จัดการให้เป็นอดีต เราได้จัดการเราได้ทำได้เรามีสมรรถนะเราสามารถทำได้สำเร็จแค่ไหน เพราะฉะนั้นในอันที่ข้อ 7 ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็แสดงว่ามันผ่านปัจจุบันมาแล้ว เมื่อผ่านปัจจุบันมาแล้วก็นั่นแหละ ส่วนอดีตส่วนอนาคตคุณบรรลุธรรม ทำสำเร็จ ทำทั้งส่วนปัจจุบันทุกปัจจุบัน ทำให้เป็น 0 ได้ อนาคตยังไม่มาถึง แต่มาเถอะ ถ้ามาหนัก เออเราไม่ 0 เว้ย ถ้ามาขนาดนี้ 0 ยิ่งมาเลยจะมาหนักขนาดไหน อนาคตเอ๋ย มาขนาดไหนมาเจอะปัจจุบัน เสร็จ 0 ได้หมด นี่คือหมายถึงทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตอันที่ 3 เป็นตัว Subject บริบูรณ์ได้สำคัญ ชัดเจนไหม พูดไปอีกเดี๋ยวฟันเฝือสับสน อธิบายผ่านไปแล้ว มันมีนัยยะสำคัญที่ต่างกัน อย่างนี้ สรุปง่ายๆ ข้อที่ 7 ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตเป็นผลสำเร็จ ทำ 0 ได้สมบูรณ์แบบ นั่นคือผู้อวิชชามาถึงข้อ 7 นี้แล้วสมบูรณ์แบบ เป็นอรหันต์แล้ว หมดอวิชชาแล้ว อาสวะก็หมด เพราะฉะนั้นที่เราจะศึกษาทั้งหมดก็คือข้อ 8 ปฏิจจสมุปบาท คืออวิชชาทั้งพวง อวิชชาสวะ อวิชชา ตั้งแต่กิเลสกาม กิเลสรูป อรูป อาสวะของคุณอย่างเต็มบ้อง หรือคุณ ได้ปฏิบัติมีบารมีลดมาได้บ้างแล้วเท่าไหร่ ก็ตัวใครตัวมันก็ตามจิตของใครของมัน อย่างพวกเรานี่ได้ผ่านการปฏิบัติมาเป็นชาติๆมาถึงชาตินี้ ฟังธรรมะระดับอภิธรรมที่อาตมาอธิบายขนาดนี้ได้รื่นเริงในธรรมด้วย ปฏิบัติธรรมรื่นเริงไหม ..รื่นเริง คนยิ่งปฏิบัติธรรมรื่นเริงในธรรมนี้สังเกตตัวเองเถอะ ถ้ามันไม่อยากฟังธรรมแล้ว มันเบื่อแล้ว คนนี้เริ่มตกแล้ว โดยเฉพาะมีผู้แสดงธรรมตั้งใจทำ เพื่อนฝูงที่มาร่วมกันทำ โอ้โหทำไมเขายังรื่นเริงในธรรม เขายังอยากมากัน เราไม่อยากมาแสดงว่าเราตกไหม เราตกหมู่แล้ว เราแย่กว่าหมู่แล้ว ตำหนิจนทำให้คนเสียขวัญถือว่าทำผิดข้อ ปาณะ หรือไม่ _สว่างแสง ขวัญดาว . น้อมกราบนมัสการพ่อครูด้วยความเคารพอย่างสูงสุดค่ะ พ่อครูคะ ลูกขอกราบเรียนถาม หากมีคนทำผิดแล้วเราไปตำหนิเขา ว่ากล่าวเขา แล้วเขามีอาการเสียขวัญมาก อย่างนี้เราจะทำผิดข้อ “ปาณะ” ไหมคะ น้อมกราบนมัสการพ่อครูสุดเศียรสุดเกล้าค่ะ พ่อครูว่า… ประเด็นที่เสียขวัญมากไปว่ากล่าวกัน ดีแล้วล่ะแปลว่าเราไปตำหนิถือว่ามีข้อบกพร่องเราก็ตำหนิกันเป็นผู้ที่ช่วยกันแนะนำกัน ที่นี้มันมีประเด็นว่าแล้วเขามีอาการเสียขวัญมาก อย่างนี้เราทำผิดข้อ ปาณะ หรือไม่ โอ้โหละเอียดจังเลย ปาณะ หรือจิตวิญญาณความรู้สึกฐานะของจิตเจตสิกต่างๆอาตมาไล่ระดับให้ฟังแล้วตั้งแต่ มหาภูตรูปมา เร่ิมมาเป็น อหิจฺฉตฺตโก เป็นเห็ดจากเห็ดมาเป็นภูตคาม พีชคาม แล้วจึงเป็นเจตภูต ร่องรอยของชีวะถือว่าเป็นชีวะและตั้งแต่ พืช เจตภูตจึงเรียกว่าเป็นผีเป็นพลังงานล่องลอยออกจากที่แล้ว ส่วนแรกมันก็กลับดิน แล้วอันนี้มันลอยออกมาแล้ว เจตภูตแล้วมาเป็นปาณะ ปาณะ เรียกว่าถึงขั้นจะมีชีวะขั้นมีลมหายใจเข้าออก ปาณะ ส่วนเจตภูต ยังไม่เป็นลมหายใจเข้าออกอะไร พอเป็นปาณะ มันเหมือนจะมีชีวิตมีส่วนลมหายใจผ่านที่เป็นชีวะธาตุรู้มาแล้ว กระทั่งผ่าน ปาณะมาเป็นเจตสิก แล้วมาเป็นสัตตะแล้วมาเป็นจิตวิญญาณ รายละเอียดให้ฟังพวกเราจะเข้าใจพยัญชนะพวกนี้ที่แทนสภาวะที่ละเอียดของชีววิทยาทางจิต ต้องใช้คำว่าทางจิตนะไม่ใช่ชีววิทยาทางรูปธรรมทางวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ ถามว่า ทำผิด ปาณะไหม มันก็จะว่าผิดก็ว่าผิด ทำให้เขาเสียขวัญคำว่าเสียขวัญจะขนาดไหน _สู่แดนธรรม… จิตตกจนอยากจะออกจากวัดเลย พ่อครูว่า… ก็พยายามรู้กันดีระมัดระวังกันขนาดนี้ดี ยอมรับข้อจำกัดได้ ชีวิตก็เป็นไท ไขประตูสู่โลก _กราบถามพ่อท่านด้วยความเคารพอย่างสูง 6 ปีที่ฤาษีสิทธัตถะเรียนฝึกทรมานแบบเชน ทรมานเองหนักขึ้น want to be, to have ที่จะชนะทุกข์นั้น พอเป็นลมเฉียดตาย จึง get ได้ว่าทุกข์กาย(ไตรลักษณ์)ชนะหาได้ไม่ พ่อครูว่า… พวกเราได้เรียนรู้คำว่ากายมาแล้วมันเกี่ยวกับภายนอกด้วย แน่นอนภาษาไทยหรือคนมิจฉาทิฐิจะเข้าใจกายว่าเป็นเฉพาะร่าง หรือ สรีระ คือ บอดี้ข้างนอกของคน อันนั้นมิจฉาทิฏฐิ _ถ้าชนะได้ย่อมไม่เป็นลม การวาง – อุเบกขา ก็ผุดขึ้น – to be เนี่ยะ “กุญแจ” คล้าย “ยอมรับข้อจำกัดได้ ชีวิตก็เป็นไท” คำไอน์สไตน์ พ่อครูว่า… โอ้โหคมคายมากจะต้องมานั่งพิจารณานะ จำกัดอะไรจำกัดว่า หนึ่งคนผู้นี้เขาเข้าใจอย่างนี้ เราก็เข้าใจอย่างนี้ ถ้าเราไม่เข้าใจที่เขาเข้าใจ ต้องให้เขาเข้าใจอย่างนี้ตอนพูดกันคุยกัน เราก็ไม่เข้าใจที่เขาเข้าใจ ก็รู้ข้อจำกัดของตนเองแล้ว เพราะเราไม่เข้าใจว่ะ เออ ก็ต้องวาง ยอมรับข้อจำกัดได้ หรือ เราเข้าใจอันนี้แล้วพยายามจะให้เขาเข้าใจ เขาก็ไม่เข้าใจ เราก็ต้องปล่อยวางเราก็ต้องรับข้อจำกัดได้ พูดอย่างนั้นเขาก็ไม่รู้เรื่อง เราไปพูดกับเด็ก ปัดโธ่..เด็กมันมีข้อจำกัด พูดยังไงเด็กมันก็ไม่รู้ข้อจำกัดนั้น เช่นเดียวกันกับเทวนิยมเราจะไปพูดโลกุตระให้เขาฟัง เขามีข้อจำกัด ยังไงก็ไม่ได้ หรือ อาตมาแสดงธรรมออกไปแสดงกายวาจาใจออกไป คนที่ฟังเขารู้เขามีข้อจำกัดฟังอาตมาไม่ได้ ฟังไม่ได้ฟังไม่เข้าใจฟังไม่รู้เรื่อง หรือเขายึดของเขาเลยว่า ต้องอย่างนี้ไม่ผิดไปจากที่เขาเข้าใจ ถ้าผิดไปจากที่เขาเข้าใจอันนี้ผิด เป็นข้อจำกัดของเขาเราก็ต้องรู้ว่าเขามีข้อจำกัดเท่านี้ เราจะทำยังไง เราจะแสดงโดยไม่ทะเลาะกัน เรานานาสังวาสได้ แต่ถ้าเขานานาสังวาสเราไม่ได้ เขาก็ต้องพยายามจัดการเรา จนกว่าเขาจะนานาสังวาสได้ หรือไม่นานาสังวาสแล้ว เอ็งไม่ใช่พุทธ ข้าคือพุทธ เป็นนิกายไปเลยจบ ฉะนั้นคนที่เขาเข้าใจอาตมาว่าไม่ใช่พุทธ อันนี้คือนิกายเป็นอนันตริยกรรม อนันตริยกรรมหมายความว่าอะไร หมายความว่าหนัก ถ้าอาตมาถูกต้อง เขาไม่รับเลยเป็นไง ถ้าอาตมาสัมมาทิฏฐิเขาไม่รับเลยก็ปิดประตูตลอดชีวิต เขาก็มีกรรมเวร อนันตริยกรรมของเขา คือเขาก็ไม่มีทางที่จะเจริญได้เลย ถ้าอาตมาผิด เขาถูก ก็แล้วไป ใช่ไหม เออดีเนาะ _ส่วนวันที่นั่งใต้ต้นโพธิ์ (ตรัสรู้ – ตรัสสิ่งที่รู้)”ไขประตูชีวิตโลก” ผมเข้าใจถูกไหมครับ กราบพ่อท่านสอนให้ความกระจ่างแก่ผมด้วย ขขอบพระคุณครับ จาก… FB ธรรมดา งามพงศ์ 5 ม.ค.67 พ่อครูว่า… ที่วันที่นั่งใต้ต้นโพธิ์อาตมาก็เคยอธิบาย พูดอธิบายความไว้หลายครั้งหลายคราวแล้วว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้ปฏิบัติธรรม นั่งใต้ต้นโพธิ์ไม่ใช่การปฏิบัติธรรม ยิ่งไปเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าท่านไปนั่งใต้ต้นโพธิ์แล้วก็เข้าสมาธิ ก็ได้เข้าอยู่นะ เข้าสมาธิ จะบอกว่าเข้าไประลึกได้ เข้าไประลึกได้ในวันนั้น ขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ที่ท่านนั่งใต้ต้นโพธิ์วันที่ท่านจะรู้รอบทั้งหมดว่า ท่านคือพระพุทธเจ้ามีสัมมาสัมโพธิญาณมาแล้ว พร้อมมาแล้ว มีสัมมาสัมโพธิญาณมาแล้ว เพราะพระพุทธเจ้า 6 ปีที่อยู่นั้นพอวันสุดท้าย พอวันที่นั่งใต้ต้นโพธิ์ 15 ค่ำเดือน 6 ได้ระลึกชาติตั้งแต่ยามแรก ยามสอง ยามสาม ก็ชัดเจนหมดทุกอย่างเลยว่า อ๋อ…ท่านเป็นผู้ที่มีสัมมาสัมโพธิญาณอย่างนี้อย่างนี้ก็ของท่านนั่นแหละเท่าที่ระลึกได้ การระลึกความรู้ขึ้นมา มันก็ไม่ได้ทันทีหรอก ได้แล้วท่านยังไปทบทวนระลึกอีก 49 วันต่อจากนั้น จึงขึ้นมาอีกไม่ใช่น้อย แล้วก็จึงเริ่มต้นเปิดเผย เริ่มต้นสอน เริ่มต้นอธิบาย เพราะฉะนั้นในธรรมะของพระพุทธเจ้านั้น จึงมีวิบากหรือว่ามีผลที่สะสม เป็นกรรมวิบาก สัมมาสัมโพธิญาณเป็นกรรมวิบากที่พระพุทธเจ้าสั่งสมมาเอง สั่งสมมาตั้งแต่เป็นโพธิสัตว์ เหมือนอย่างอาตมาแล้วก็สั่งสมมา เราถ้าบรรลุอรหันต์ระดับที่ 1 โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์ ก็เห็นว่ามันน่าเรียนต่อ น่าศึกษาต่อยังไม่ ปรินิพพานเป็นปริโยสาน นิยามความเป็นอรหันต์ข้อที่ 1 คือ สามารถที่จะตายแล้วสามารถทำตนเองให้เป็นดินน้ำไฟลงไปได้ นิยามข้อ 1 ในความเป็นการจบกิจ หรือเป็นความบรรลุอรหันต์ของพระพุทธเจ้า ที่จริงอีกหลายข้อ ข้อต้นข้อสำคัญคือพ้นทุกข์ ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ รู้ความจริงจบกิจทำให้พ้นทุกข์ได้นั่นคือ ข้อที่ 1 และอีกต่อมา แม้ยังไม่ตายท่านก็ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ หมดสุข หมดทุกข์ได้สิ้น คนไม่มีสุขทุกข์ นี่เป็นนิยามหรือว่าเป็นเครื่องชี้บ่งความเป็นอรหันต์ขั้นที่ 1 เพราะฉะนั้นคนที่จะรู้ว่าตัวเองไม่สุขไม่ทุกข์คุณต้องมีปัญญาหรือมีญาณหยั่งรู้กำหนดมีสัญญา ปัญญากำหนดรู้เวทนาในเวทนาของคุณได้จริงเลยว่า คุณไม่มีสุข ไม่มีทุกข์นี่ และมีเครื่องชี้บ่งเลยว่า ความไม่สุขไม่ทุกข์นั้นไม่ใช่ไปนั่งสะกดจิตหรือทำแบบเดียรถีย์ แต่ต้องไม่สุขไม่ทุกข์เพราะคุณหมดกิเลส กิเลสสาสวะ จิตสะอาด กิเลสหมดเป็นอุเบกขา ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา คุณจึงได้ชื่อว่าเป็นอรหันต์ไม่ใช่ไปนั่งหลับตาสะกดจิตแล้วไม่รู้จักอุเบกขาไม่รู้จักเนกขัมมสิตอุเบกขา รู้จัก มโนปวิจาร 18 ทั้งเนกขัมมะและเคหสิตตะ คุณไม่ได้ทำให้เป็นอุเบกขาจนเป็น อเนญชา คุณไม่ได้ทำอย่างนี้คุณก็ไม่เที่ยงแท้ ไม่ถาวร ไม่เด็ดขาด ถ้าคุณทำได้เด็ดขาด คุณจะเข้าใจอย่างที่อาตมาพูด ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เป็นภาษาบาลีทั้งพยัญชนะสภาวะมีในนี้หมด เพราะฉะนั้นผู้ที่สามารถเรียนรู้ธรรมะของพระพุทธเจ้าจริง พูดถึงสภาวธรรมต่างๆเอาพยัญชนะบาลีมาพูดเป็นแบบไทยๆ แปลไปแปลมา แปลมาแปลไป เราเป็นคนไทยก็แปลอย่างไทยๆภาษาไม่จำกัด ภาษาไม่จำกัด สามารถจะพูดมุมนี้ประเด็นนี้นัยนี้เหลี่ยมนี้สู่กันฟังได้รอบถ้วนเลย เพราะมีสภาวะเป็นหลักแล้ว พยัญชนะมันไม่มีปัญหาอะไร แต่คนที่ติดยึดพวกพยัญชนะโดยเฉพาะยิ่งไม่มีสภาวะ โอ้โห คนนี้ยาก ยิ่งไปเจอเอาคนบรรลุธรรมแล้ว เป็นปฏิสัมภิทาญาณพูดรอบเลย กลิ้งเลยนะทุกมุม คนที่ไม่ค่อยรู้นี่จะบอกว่าไอ้นี่เอาอะไรมาพูดกันว่ะ อั๊วะไม่รู้เลย มันก็เป็นธรรมดานะ _สู่แดนธรรม… ส่วนมากคนเขาคิดว่า พระอรหันต์จะต้องพูดภาษาของพระพุทธเจ้าเท่านั้น จริงๆแล้วพูดอะไรก็ได้ พ่อครูว่า… พูดภาษาพระพุทธเจ้าเราก็พูดแล้วก็ขยายความจากภาษาพระพุทธเจ้าไป ไม่ใช่พูดไปดุ่ยๆอะไรหรอก มันมีสภาวธรรมที่ตรงกันกับพระพุทธเจ้าที่ตรงกันกับเราก็มี สมัยนี้มีภาษาสมัยใหม่ก็มี ดีนะอาตมาไม่อธิบายภาษาสมัยใหม่แบบพวกวัยรุ่นหรือศัพท์แสลงๆอะไรอีก พูดอะไรก็ไม่รู้ อาตมาไม่เอาพวกนั้นมาพูดมากด้วย ขนาดนั้นบางทียังแหลมๆเอาของเขามาเล่นนิดๆหน่อยๆ _สู่แดนธรรม… พ่อท่านกำลังอธิบายค้างเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า พูดต่อไหมครับ พ่อครูว่า… ความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้น เอาภาษาก่อนแปลภาษาก่อน 1.คำว่าตรัส 2.คำว่ารู้ คำว่า รู้เป็นของพระพุทธเจ้า ที่พระพุทธเจ้าทรงรู้หรือได้บรรลุธรรมได้รู้จบรู้ถ้วนรู้เป็นสัมมาสัมโพธิญาณ ญาณคือความรู้ รู้สัมมาสัมโพธิมาแล้ว แล้วเอาความรู้นั้นนั้นๆแหละมาตรัส เรียกรวมความก็ว่า คำตรัสรู้หรือความตรัสรู้ ถ้ามาเรียกโดยคำว่า คำ ก็เรียกว่าตรัสรู้ เน้นที่ตรัสคำ ถ้าไปหมายความถึงความตรัสรู้ ก็ไปเน้นที่ รู้ ความก็ไปเน้นที่รู้ คำก็มาเน้นที่คำตรัส เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะมาตรัสหรือมาพูดหรือมาอธิบายมาขยายความมาประกาศ พระพุทธเจ้าท่านมีของท่าน เรียกว่า ความตรัสรู้ เป็นของพระองค์เอง ที่เรียกว่าเป็นของพระองค์เองนั้นก็คือ สิ่งนั้นได้ติดเข้าไปในจิตวิญญาณ ฝังลึกเข้าไปจนกระทั่งติดจิตวิญญาณตนเอง เช่น อาตมาเริ่มเป็น สยังอภิญญา อาตมาเริ่มมีธรรมะที่เป็นโลกุตรธรรมติดตัวเองมาแล้ว เท่าบารมีของอาตมาติดมาแล้ว ข้ามชาติตามข้ามชาติจากชาติไหนๆมาก็ตาม มันก็มีโลกุตรธรรมอันเป็นสัมมาทิฏฐินั้นมาแล้ว ไม่ต้องมีอาจารย์ไม่ต้องมีคนสอนเป็นของตนเอง สยังเองตนเอง เป็นอภิญญาเป็นความรู้ของพระพุทธเจ้านี่แหละ ของพุทธศาสนานี่แหละมาแล้ว แล้วก็นำมาพูด พระพุทธเจ้าก็ใช้ราชาศัพท์ว่า ตรัส อาตมาก็คือเอามาพูดอาตมายังใช้ราชาศัพท์ไม่ได้ เขาไม่ยอมหรอก อาตมาก็ไม่ได้เป็นปัญหาอะไรไม่ยอมอาตมาก็พูด ก็คือลักษณะแสดงออกทางวาจาก็พูด อาตมาก็พูดแล้วรู้ ไม่ใช่ตรัสรู้ อาตมาพูด-ดะ-รู้ หรือ กล่าว ว่า รู้ _สู่แดนธรรม… ผมจำได้ว่าพ่อท่านแปลตรัสรู้ว่า ที่พระพุทธเจ้าบอกว่ารู้ด้วยพระองค์เองจริงๆแล้วท่านรู้คำตรัสจากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนที่ตรัสเอาไว้ พ่อครูว่า… ก็ถูกต้องสิ แล้วถูกต้องมาด้วย แล้วถ่ายทอดมาเต็มสภาพของพระพุทธเจ้าเต็มสภาพ อย่างของอาตมาเรียกว่าเต็มสภาพยังไม่ได้ ยังไม่ถึงขั้นโน้นแต่ก็มากพอ ในยุคนี้ก็ถือว่า มากแล้วนะอาตมาก็มีมาก อาตมาไม่ได้ออมมือ ก็เคยพูด ไม่ได้ออมมือ ไม่ได้ปิดบัง ไม่ได้อำพรางความรู้ของตัวเองไว เปิดมาจนบางทีพวกคุณก็รับไม่ถึงหรือรับไม่ไหวหรือรับไม่ค่อยได้ มันละเอียดมากอย่างนี้เป็นต้น แต่ค่อยๆรู้ไปเรื่อยๆใช่ไหมค่อยๆเข้าใจเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้น ก็จะขอขยายความไปถึง เกิดมาเป็นคน ซึ่งพูดแล้วพูดอีกอาตมาก็ไม่รู้จะพูดยังไง เกิดมาเป็นคนแล้วพอมาถึงวาระ นี่อย่างอาตมานี่ ก็รู้ว่าไอ้เกิดมาเป็นคนแล้วจะเกิดมาทำไม จนกระทั่งเขียนหนังสือขยายความเลยว่า คนเกิดมาทำไม คนคืออะไรทำไมสำคัญนัก เขียนจนกระทั่งเกิดมาทำไมก็พูด อาตมาเคยพูดแล้วจำได้ไหมเกิดมาทำไม เกิดมาทำตนให้บรรลุอรหันต์ เกิดมาทำตนให้บรรลุสัจธรรมสุดยอด อรหันต์ถือว่าเป็นเขตจบของคนคนใดคนหนึ่ง ที่สามารถศึกษาความรู้ ที่เป็นยอดแห่งความเป็นคน เป็นยอดแล้วในคน คุณจะไปศึกษาวิชาอะไรเป็นวิชาหาเลี้ยงชีพทั้งนั้น ไม่ใช่วิชายิ่งใหญ่ เหมือนวิชานี้ วิชานี้หาเลี้ยงชีพด้วยเป็นสัมมาอาชีพ และเป็นวิชาที่ยิ่งใหญ่ด้วย เพราะฉะนั้นผู้รู้อย่างนี้แล้วเข้าใจแล้วว่าวิชาเลี้ยงชีพมันเป็นวิชาที่รองๆ แต่วิชาที่จะจบกิจให้ได้อันนี้มันยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะฉะนั้นคนที่เข้าใจชัดเจนแล้วจะรู้ว่า ปัดโธ่เอ๋ย แค่เลี้ยงชีพมาอยู่ที่นี่ก็เลี้ยงชีพได้ก็พวกนี้ ขี้เกียจขี้เกียจหน่อยยังอยู่ได้เลย ยังไม่เป็นไร รับรองว่าชีวิตไม่ขาดอาหาร ไม่ลำบากอะไร มาอยู่ได้ เพราะฉะนั้นจึงทิ้งอาชีพที่เคยทำทั้งนั้นมาเลยไร้สาระเอาชีวิตมาให้ทางนี้ ทางนี้แหละชีวิตที่จะรู้จักจิตความรู้หรือวิชาจบกิจได้ วันเวลาของเราก็เท่านี้ (พ่อครูไอตัดออกด้วย) สมณะฟ้าไท… คือ ที่สำคัญก็คือมาเรียนรู้กับพ่อครูที่เราจะบรรลุธรรมได้ ในชาตินี้ ไปเรียนกับใครก็คงบรรลุธรรมยาก ต้องมาเรียนกับพ่อครูเพราะท่านมีรายละเอียดมากทั้งลึกทั้งกว้างอธิบายได้เกือบทุกมุม ที่เราทำให้เราสามารถกระจ่างแจ้งลดละได้ ถ้าเราไม่ได้บำเพ็ญขนาดนี้เราก็พูดในมุมเดียวแต่พ่อครูเอามุมเราออกได้ เพราะท่านเป็นโพธิสัตว์ใหญ่ย่อมรู้จักเรียนรู้สัตว์โลกที่จะสามารถบรรลุธรรมได้ ยังไม่เป็นโพธิสัตว์ใหญ่พอเอาไม่กระจ่างเอาไม่ได้ โพธิสัตว์ใหญ่จะรู้จริตพอเทศน์ปังก็จะบรรลุเลย เหมือนพระพุทธเจ้ารู้เลยว่าใครจะบรรลุ พ่อครูก็เรียนรู้ตามที่จะทำให้คนบรรลุธรรมไป พ่อครูว่า… ทีนี้คุณ FB ธรรมดา งามพงศ์ มีประเด็นว่าไขประตูชีวิตโลก ตอนพระพุทธเจ้าตรัสรู้สิ่งที่ตรัสรู้ เป็นภูมิธรรมหรือเป็นสัพพัญญูของพระพุทธเจ้าแล้ว คือสิ่งที่ไขประตูชีวิตโลก เขาใช้สำนวนว่างั้น คือสิ่งที่ไขประตูชีวิตโลก มันก็ได้นะ เป็นความรู้ที่ไขประตูชีวิตโลก คนที่ยังไม่เข้าใจโลก ก็จมอยู่ในโลก กระชับเข้ามาให้ชัดว่าโลกคือโลกียะ ก็คือคนสามัญธรรมดาในโลกโลกก็จะจมอยู่ในโลกียะของโลก โดยเฉพาะตัวมายาใหญ่คือพระเจ้า ขออภัยที่อาตมาพูดถูก พระเจ้าคือมายาใหญ่คือเจ้าของสุข แล้วครอบงำโลกอยู่ก็คือไอ้ตัวสุขนี่แหละ คนไม่รู้จักสุขและไม่กล้าดับสุข ไม่กล้าเป็นคนไม่มีสุข พระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ว่าสิริมหามายาที่แท้ตัวทุกข์ ที่แท้มันเป็นตัวทุกข์ ให้มันเอาหน้าความสุขมาหลอก จนกระทั่งมีเจ้าของสุขยิ่งใหญ่เรียกว่าพระเจ้า อยากได้สุขต้องขอจากพระเจ้า พระเจ้าประทานสุข ถ้าทุกข์เพราะพระประสงค์ของพระเจ้านั่นแหละ ถ้าใครทุกข์ก็จะบอกว่าเพราะพระประสงค์ของพระเจ้าลงโทษ เพราะฉะนั้นจะต้องอ้อนวอนจะต้องเอาใจพระเจ้าปะเหลาะพระเจ้าระลึกถึงพระเจ้า จริงๆลึกซึ้งก็คือว่าระลึกถึงพระเจ้าระลึกถึงอะไรก็คือระลึกถึงคำสอนของพระเจ้า แล้วเอาคำสอนมาปฏิบัติให้ เอามาปฏิบัติให้สูงสุดคือเป็นผู้ที่สุขอย่างไม่ทุกข์เลย แต่ความจริงแล้วความสุขที่ไม่ทุกข์เลยนั้นไม่มี ไม่มี พระเจ้าก็ไม่รู้ว่าความสุขมันไม่มี ความทุกข์ไม่มี เท่ากับพระเจ้าว่าไม่รู้ในตัวพระเจ้าเองนั้นมีซาตาน พระเจ้าไม่รู้ ซาตานก็คือในตัวเอง เพราะฉะนั้นในความรู้อันนี้ พระพุทธเจ้าตีแตกหมดเลย จนรู้ว่า คนมาหลงสุขหลงทุกข์นี่เอง จึงเรียนรู้ว่าอาการสุขทุกข์อยู่ที่ไหน อาการสุขทุกข์อยู่ที่ไหน ? เฉพาะให้ชัดเลยว่าอยู่ที่ไหน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ? อยู่ในเวทนา รู้รายละเอียดของวิญญาณเจตสิกต่างๆ แยกอาการของจิตออก เวทนานั้นมีธาตุจิตหรือธาตุเจตสิกแบบหนึ่ง สัญญามีลักษณะหน้าที่อย่างหนึ่ง สังขารมีหน้าที่อีกอย่างหนึ่ง นี่เป็นนักวิทยาศาสตร์ทางจิตของพระพุทธเจ้าสุดยอดอย่างนี้ ฉะนั้นผู้ที่รู้อาการกิริยาของเวทนา รู้อาการกิริยาของสัญญา รู้อาการกิริยาของสังขาร คนที่อวิชชาไม่รู้สังขาร แน่นอนย่อมไม่รู้จักเวทนา ย่อมไม่รู้จักสัญญา เพราะฉะนั้นเมื่อใช้สัญญารู้จักหน้าที่ของสัญญาเราก็ใช้สัญญาเป็น เอามากำหนดรู้อาการกิริยาของเวทนา นี่อาตมากำลังเจาะลึกลงไปที่ปฏิจจสมุปบาท จิตเริ่มมีวิชาก็เริ่มเป็นจิตที่รู้จัก ความรู้ที่เป็นปัญญาหรือความเฉลียวฉลาดครบ ฉฬายตนะ ฉลาด ซึ่งอาตมาก็เคยยืนยันว่าภาษาไทยคำว่าฉลาดมันกร่อนมาจากคำ ฉฬายตนะ ที่แปลมาจากคำว่า ฉ คือ 6 กับอายตนะหรือ สฬายตนะ มีอายตนะเชื่อมต่อระหว่างรูปกับนาม ตากระทบรูป หูกระทบเสียง จมูกกระทบกลิ่น ลิ้นกระทบรส โผฏฐัพพะกระทบภายนอก มโนกับธัมมายตนะภายใน 5 คู่ภายนอก อีกคู่หนึ่งเป็นภายในทำ 5 คู่ภายนอกหมดแล้วก็เหลืออีกคู่หนึ่งภายในก็จบกิจ เพราะฉะนั้นผู้ที่สามารถทำหน้าที่ของสัญญาได้ เจตสิกของคุณคุณจัดการเลย คุณใช้สัญญาของคุณไปกำหนดรู้ทางตาไปกระทบก็กำหนดรู้ ทางหูก็กำหนด อะไรทั้งนั้นก็กำหนดก็รู้ คุณก็สามารถจะรู้กิเลสที่เกิดทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ถ้าไปนั่งหลับตาทีเดียว อย่างที่สายหลับตาเขาทำ อาตมาว่ามันน่าจะเข้าใจได้มันไม่ยาก ไปทำความรู้ในรูเดียวทิ้งอีก 5 รูใหญ่ เพราะคนที่รู้ทางตากระทบรูปและลดกิเลสได้ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่รู้ในจิตวิญญาณที่อยู่ข้างใน คุณรู้ครบด้วยทั้งนอกทั้งในด้วย มันก็ทำให้กิเลสหมดทั้งนอกทั้งใน ตาหมดกิเลสหูหมด กิเลสจมูกหมดกิเลสลิ้นหมด กิเลสกายสัมผัสหมดกิเลส ภายในจะรู้ได้ไหม รู้ แต่ไปทำเฉพาะภายในสะกดอยู่ที่เดียวจะรู้พวกนี้ไหมข้างนอกอีก 5 ก็ไม่รู้ โง่ หลับตา โง่นิรันดร อาตมาพูดแรงนะจะไปกระทบพวกหลับตาให้ตื่นสักที มีคำสอนของพระพุทธเจ้าจรณะ 15 วิชชา 8 มาเรียนรู้มาปฏิบัติ อปัณณกปฏิปทา 3 ให้บรรลุสัจธรรม 7 แล้วเกิดฌานลืมตา ไม่ใช่ไปงมงายกับเดียรถีย์ที่มันหลอกเป็นผีหรือซาตานมันหลอกมานานแล้วว่าให้ไปหลับตาหลับตาไปทำความลึกลับไม่เคยรู้ ไม่รู้หมดไม่รู้กว้างไม่รู้มีกายสัมผัส เพราะฉะนั้นเทวนิยมนี้ คำสอนของพระเจ้าไม่ได้มีสัมผัสกาย สัมผัสกายของพระเจ้าก็ไม่ได้ ลึกลับไปหมดมันก็เหมือนกันกับพวกหลับตาด้วยกัน มันไม่ได้บริบูรณ์ มันไม่ได้ครบถ้วน มันไม่ได้สมบูรณ์แบบอะไรเลย ขออภัยที่อาตมาพูดสัจธรรมแรงชัดเน้น ไม่ได้ไปว่าใครหรอกแม้จะว่าโง่ ก็ไม่ได้ว่านะก็เพราะคุณโง่จริง อาตมาไม่ได้ไปดูถูก ไม่ได้ไปข่มอะไร คุณโง่จริงไหม คนที่รับหรือคนที่รู้ว่าตัวเองโง่นั้นคนนั้นเริ่มฉลาด ถ้าคนใดที่ยังไม่รู้จุดโง่ของตัวเองนะไม่มีทางฉลาด แล้วคิดว่าตัวเองฉลาด ตัวเองรู้ถูกด้วยนะ ถ้าอย่างนั้นโง่ดักดานเลย เพราะฉะนั้นจิตคนหรือว่าปัญญาปฏิภาณที่จะรู้ว่า เฮ้ย เราโง่อยู่ตั้งนานด้วย จริงๆแล้วโง่เลยนะนั่นน่ะ ไอ้ที่เราโง่คือเราไม่รู้ ไม่รู้คือโง่นั่นแหละ เราเพิ่งรู้ว่าที่ถูกเป็นอย่างนี้ผิดไป อย่างนี้โพธิรักษ์ถูกหรือตายๆๆ กูนึกว่ากูถูก นึกว่าโพธิรักษ์ผิดตายๆๆ คนนี้แหละ เจริญเถอะเจริญเถอะ อาตมาทำงานมาจนป่านนี้อายุ 90 แล้วมันยังไม่รู้สึกว่ามันได้เท่าไหร่เลย มันน่าจะได้มากกว่านี้ มันน่าจะได้ผลมากกว่านี้นะ มันก็นะ เอาไม่เป็นไร ปฏิจจสมุปบาท โดยพ่อครูสมณะโพธิรักษ์ ตอน 3 อธิบายปฏิจจสมุปบาทที่ได้ร่างไว้แล้ว อธิบายต่อ ปัญญาอาตมาเคยเน้นแล้วพยัญชนะคำว่า ปัญญามันเป็นภาษาของศาสนาพุทธ แต่ศาสนาเทวนิยมเขาเอาไปใช้ หรือแม้แต่มิจฉาทิฏฐิ พุทธที่เป็นมิจฉาทิฏฐิก็เอาปัญญาไปใช้แทน เฉโก หมด พวกเราพอเข้าใจกันได้แล้วนะพยัญชนะคำ เฉโก กับปัญญามันเป็นความรู้ที่ต่างกัน เฉโก มันเป็นโลกียะมันอยู่ในกรอบ มันยังไม่ออกมามีหน่วยความรู้อื่นมี อัญญธาตุ ยังไม่ออกมาเลยอย่างเทวนิยม 100% หรือชาวพุทธก็ตามที่ยังมิจฉาทิฎิ 100% ก็จะไม่เข้าใจแยกไม่ออก เพราะฉะนั้นผู้ที่มีความรู้ของศาสนาพุทธที่ชื่อว่าปัญญานี่ สูงถึงขั้นรู้จัก รู้แจ้ง รู้จริงใน “อวิชชาสวะ 8” อันได้แก่ คนผู้ที่มี“ความรู้”เป็น“ปัญญา”ที่เป็น“ความรู้”ของศาสนาพุทธ สูงถึงขั้นรู้จักรู้แจ้งรู้จริงใน“อวิชชาสวะ 8”อันได้แก่ (1) ไม่รู้ทุกข์ (ทุกเข อัญญาณัง) (2) ไม่รู้เหตุให้เกิดทุกข์ (ทุกขสมุทเย อัญญาณัง) (3) ไม่รู้ความดับทุกข์ (ทุกขนิโรเธ อัญญาณัง) (4) ไม่รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ (ทุกขนิโรธคามินิยา ปฏิปทายะ อัญญาณัง) (5) ไม่รู้ในส่วนอดีต (ปุพพันเต อัญญาณัง) (6) ไม่รู้ในส่วนอนาคต (อปรันเต อัญญาณัง) (7) ไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและอนาคต(ปุพพันตาปรันเต อัญญาณัง) (8) ไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาท ว่า สิ่งทั้งหลายอาศัยกันและกันเกิดขึ้น (อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปปันเนสุ ธัมเมสุ อัญญาณัง) ถ้ารู้จักสิ่งที่อาศัยกันเกิดแล้วรู้ว่า มันจะดับได้ไง ก็ใช้พยัญชนะว่าเกิดนี่คือชาติ ก็ดับชาติสิ นี่เราใช้พยัญชนะก่อนนะ สภาวะธรรมค่อยรู้แล้วค่อยๆขยายความไป แล้วศึกษาปฏิบัติจนกระทั่งสามารถบรรลุหลุดพ้นหมดสิ้น“อวิชชาสวะ 8”นี้ได้บริบูรณ์สมบูรณ์ ด้วย“ปัญญา”คือ ความรู้ที่เป็น“โพธิสัตวภูมิ”จึงจะรู้จักรู้แจ้งรู้จริงไปตามลำดับถึงที่สุด“รู้จบ”สุดแห่งที่สุดได้ โพธิคือความรู้แบบพระพุทธเจ้าตั้งแต่โสดาบันความรู้โพธิระดับหนึ่ง สกิทาคามี ความรู้โพธิที่ระดับ 2 อนาคามี ความรู้โพธิระดับ 3 อรหันต์ ความรู้โพธิระดับ 4 มีความรู้ในระดับโพธิสัตว์อีก อรหันต์ในระดับอนุโพธิสัตว์ อนิยตโพธิสัตว์ นิยตโพธิสัตว์ มหาโพธิสัตว์ จนถึงอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า [พระไตรปิฎก เล่ม34 “อาสวโคจฉกะ” ข้อ 712] เพราะฉะนั้นความเสื่อมของชาวพุทธ ศาสนาพุทธในยุคนี้ไม่รู้แม้กระทั่งอรหันต์มีหลายระดับ เช่นอาตมาบอกว่า อาตมาเป็น สยังอภิญญา อาตมารู้มา อาตมามีความรู้เอง ชาตินี้ไม่มีอาจารย์อาตมามีความรู้เอง อ๋อ..มันเป็นของพระพุทธเจ้า คนนี้ว่าอาตมานี้ก็แสดงว่าคุณแยกอรหันต์หลายระดับไม่ออก อาตมาไม่เคยบอกว่าอาตมาเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อาตมาเป็นแค่อรหันต์นิยตโพธิสัตว์ก็บอกฐานะของตัวชัดเจนอาตมาไม่ได้เบลอไม่ได้เลอะเทอะว่า โมเมว่าอาตมาเป็นโพธิสัตว์ระดับ 7 คนก็ไม่เข้าใจ จนถึงมาทุกวันนี้อาตมาขยายความพวกเราเข้าใจคนข้างนอกเริ่มเข้าใจด้วย ถ้าคนติดตามดีๆไม่มีอคติตั้งใจฟังด้วยดี สุสูสังลภเตปัญญัง จะได้เข้าใจ เพราะฉะนั้นปัญญาหรือเป็นความรู้ที่เป็นโพธิสัตวภูมิ จึงรู้จักรู้แจ้งรู้จริง ไปตามลำดับ ถึงที่สุดก็รู้จบสุดถึงที่สุดได้ สุดแห่งที่สุดขนาดไหนล่ะ ก็เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าล่ะ เพราะฉะนั้นในลำดับต่างๆที่เป็นอาสวะ อวิชชาสวะ 8 ก็มีสรุปอริยสัจ 4 และ 4 ข้อนี้เป็นกิจต้องทำให้สำเร็จ ส่วนอดีต ส่วนอนาคต ทั้งส่วนอดีตส่วนอนาคตอีก 3 ก็ เป็น กาล เป็นกาละ 4 ข้อต้นเป็นกิจที่ต้องทำให้สำเร็จ อีก 3 ข้อเป็น กาละ ข้อปฏิจสมุปบาทก็คือรู้กรรมทั้งหลาย คุณต้องกระทำกรรมที่ดับชาติด้วยตัวเอง คนผู้ไม่สามารถ“หลุดพ้นหมดสิ้นอาสวะ”ได้ครบ “อวิชชาสวะ 8”ได้นั้นก็เพราะไม่รู้“กรรม” ไม่รู้“กิจ” ไม่รู้ “กาล”นี่เอง จึงต้องเรียนรู้“กรรม”กันอย่างสำคัญ”เป็นอันดับแรก เพราะ“กรรม”นี้เองคือ GOD หรือ“จิตวิญญาณ“ที่เป็น“พระเจ้า”ที่เป็น“ตัวตนของตน”แท้จริง เพราะฉะนั้นผู้ใดทำกรรมรู้กรรมทำกรรมได้มากเท่าไหร่ก็เป็น GODใหญ่มากเท่านั้น เป็นพระเจ้าที่เป็นตัวตนของ GOD นี่คืออัตตาคือตัวตนของตน กรรมก็เป็นของตน กรรมก็คืออัตตา แต่คุณมีปัญญาคุณรู้กรรม คุณจึงจัดการกับอัตตาของคุณได้ ใช่ไหม และเรียนรู้“กิจ”ที่จะต้องศึกษาปฏิบัติไปให้“จบกิจ”ไปตามขั้นตามตอน ตั้งแต่“กิจ”ขั้น“ละชั่ว-ทำดี”ให้“เที่ยงแท้”ถึงขั้น“นิยตะ” ที่เป็นแบบ“โลุตรธรรม”ของ“อาริยชน“ ที่ต้องมี “ญาณ 3” ได้แก่ “สัจจญาณ-กิจจญาณ-กตญาณ” นิจจัง มีนัยยะว่าเที่ยงแล้วไม่เที่ยงแท้ เพราะพระเจ้าไม่รู้ว่าตัวเองไม่เที่ยงเพราะไม่มีรายละเอียดพอ ไม่รู้จักกาล ไม่รู้จักกรรม แม้แต่จิตตัวเองก็ไม่รู้ตัวเองจริงๆ คนชาวพุทธจบกิจขั้นต้นจึงทำดี สัพพปาปัสอกรณัง(ไม่ทำบาปทั้งปวง) กุสลสูปสัมปทา(ทำกุศลให้ถึงพร้อม) แม้แต่จะเรียกว่ากุศล ก็ทำอย่างเที่ยง กุศลอย่างเที่ยงไม่ทำอกุศลอีก ไม่ทำบาป ได้เที่ยงนิยตะ แบบโลกุตรธรรม ของอารยชนมีอารยชนของโลกุตระของผู้แทนที่ ต้องมี“ญาณ 3”จึงจะยืนยัน“ความจริง”สัมบูรณ์ “สัจจะ“คือ “ความจริง”ที่ครบทั้ง“สมมุติสัจจะ”ของชาวโลกียะ ทั้ง“ปรมัตถสัจจะ”ของชาวโลกุตระ ทั้ง 2 แบบ ต่อจากนั้นก็คือ หน้าที่ที่จะต้องศึกษาปฏิบัติ“กิจ” ขั้น“ดับทุกข์-ดับสุข” ซึ่งชาวโลกียะไม่มี มีแต่ในชาวโลกุตระ ชาวโลกียะเขาไม่ดับ“สุข” เพราะเขาไม่มี“นิพพาน” เขาจะเผินแค่ดับทุกข์แต่ไม่ดับสุข เพราะฉะนั้นคนไม่ดับสุขไม่ใช่ชาวโลกุตระ ผู้ที่ไม่ได้ดับสุข คุณก็จะยังมีทุกข์เหลือ หรือความสุขของคุณนั้นก็คือสวรรค์ 6 ชั้น ชั้นแรกคุณต้องแย่งเขาให้ได้ เป็นจตุมหาราช แย่งเข่นฆ่าแย่งชิง คุณจะมีศัตรู คุณจะเป็นนักรบ คุณจะเป็นนักแย่งนักฆ่า ทำชิบหายวายป่วงก็แล้วแต่ เพราะไม่เข้าใจว่าเทวดานี่ก็คือความโง่ ทั้ง 6 ชั้น ผู้ที่พ้นแล้วมีวิชชาแล้ว มีปัญญาแล้วไม่มี สวรรค์ไม่มี นรกไม่มี หมดนรกหมดสวรรค์ ไม่ได้งมงายจะต้องเป็นจตุมหาราชนี่แหละสวรรค์ชั้นแรกนะ เพราะฉะนั้นพวกโง่ๆทั้งหลายสวรรค์ชั้นแรกแย่งสุขทั้งนั้น ตั้งแต่ทักษิณมาแย่งสุขมาทั้งนั้น จนกระทั่งมาถึงระดับที่ วันนี้ฆ่าแกงกันอยู่ อย่างพวกไม่รู้ทางต่างประเทศเทวนิยม ฆ่าแกงกันเป็นเบือเลย นึกว่าได้พื้นที่แผ่นดิน นึกว่าได้ทรัพย์สิน นึกว่าได้เกียรติยศ นึกว่าได้อะไรต่ออะไรเป็นความยิ่งใหญ่ทั้งนั้น แล้วเขาเอาจริงเอาจังนะ แย่งสวรรค์ เป็นจตุมหาราช ไม่จบ คือเป็นนักฆ่าทั้ง 4 ทิศ จตุ นักฆ่านักรบ กูจะเอาให้หมดทั้ง 4 ทิศ แล้วเขาหลงว่านี่คือสวรรค์ มีในคนไหมเอ่ย..มี รบอย่างหยาบ ฆ่าอย่างหยาบ แย่งอย่างหยาบ จนกระทั่งละเอียดค่อยๆซับซ้อนลึกซึ้งขึ้น อย่างทักษิณเป็นตัวอย่าง ซับซ้อนยิ่งใหญ่เลยนะ ไม่ได้ใช้อาวุธหรอก ไม่น่าเรียกว่าใช้ปฏิภาณปัญญา แต่เป็นความฉลาดทางอาชญากร อาชญากรรม เขาจะบอกว่านั่นแหละคือ อาตมาเคยถามว่าให้พวกคุณเป็นอย่างทักษิณเอาไหม พวกคุณไม่เอาทำไมไม่เอา สวรรค์ชั้น 14 นะทำไมไม่เอา สวรรค์ชั้น 14 นะ เพราะคุณรู้จักสวรรค์แล้วสวรรค์ลวง แล้วเขาก็ลวงตัวเองและลวงมนุษยชาติด้วย มีมนุษย์อยากได้อย่างเขานะ ไม่ต้องพูดถึงลิ่วล้อนั้นมีเยอะอยากได้อย่างเขา แต่หลายคนก็รู้ว่าตัวเองไม่บังอาจทำได้อย่างเขา ขอเป็นลิ่วล้อแค่นั้นก็พอ นี่ก็มีเยอะคน ฟังดีๆนะอาตมากำลังขยายความขี้เท่อของคนหลงสวรรค์ พอแย่งได้ คุณก็ชื่นใจนึกว่าเป็นสวรรค์ อีกชื่อภาษาว่า ดาวดึงส์ สวรรค์ชั้นที่ 2 ดาวดึงส์ หรือ ตาวติงสา ถ้ามาเป็นภาษาไทยดิบๆสดๆแล้วเรียบร้อยบวชเสร็จเป็นภาษาไทยก็เรียกว่า ดาวดึงส์ แปลว่า 33 คือ วิมานเลอะเทอะ วิมานลอย วิมานโม้ วิมานปั้นเอาเอง เพราะธรรมดาคนมีอาการ 32 เท่านั้นที่คุณจะมี แต่นี่คุณไปมีไอ้สิ่งที่ไม่มีที่ไหนก็ไม่มี คุณสมมติขึ้นมาเป็นอาการที่ 33 ลมๆแล้งๆเพ้อๆฝันๆ สุขก็คือเพ้อๆฝันๆแดนเพ้อๆ แดนเลอะๆเทอะๆ แดนที่ไม่มี คุณสมมุติ คุณอุปาทาน คุณยึด คุณติด คุณมี คุณเป็นเอาสิ่งที่ไม่มีตัวตนมาเป็นตัวตน แล้วจริงๆที่คุณว่าสุขนะดาวดึงส์สวรรค์สุข ที่แท้มันทุกข์มันวิปลาสทั้งไม่มีตัวตน ทั้งวิปลาสที่เป็นทุกข์แท้ๆแต่คุณหลงว่าสุข มันไม่ใช่ตัวตนคุณก็ยึดว่ามันมีมันเป็นตัวเป็นตน ไม่ใช่สิ่งที่น่าได้น่ามีน่าเป็น วิปลาสพร้อม 4 อย่างเลย คนที่มีดาวดึงส์คือคนวิปลาส 4 บริบูรณ์ ฟังดีๆนะความมีหรือความไม่มีที่อาตมาพูดถึงสภาวธรรมที่ลึกซึ้งละเอียด ไม่ง่ายนะที่จะไปรู้จักว่า โอ้โหจริงๆดาวดึงส์นั้นมันไม่มีหรอก ไม่มี ไอ้ที่มีอยู่คือคุณยังโง่อยู่ เพราะฉะนั้นเมื่อได้สวรรค์นี้ ติดสวรรค์นี้คุณก็อยากให้ได้สวรรค์นี้ของคุณไปตลอดทุกยาม ยามต้น ยามกลาง ยามปลายก็เป็น สวรรค์ชั้นยามะ ยามา ก็อยากให้มีสวรรค์อย่างนี้แหละอยู่ไม่พราก ไม่จาก ไม่ไปไหนมีตลอดทั้งยามต้น ยามกลาง ยามปลาย ทุกอย่างติดต่อเนื่อง ยามะ แปลว่ามีตลอดไป ต่อเนื่องไป ยามะ อย่างคุณพยายาม ก็คือ ให้ยามมันเป็น ให้มันเกิดอย่างนั้นต่อเนื่องไป เป็นสวรรค์ที่ไม่ขาดไม่มี ภาษาพยัญชนะจะใช้คำว่า นิรันดรไม่มีช่วงระหว่างที่จะขาดเลย ต่อเนื่องไม่มีช่วงระหว่างที่จะขาดเลยนิรันดร ยามะ จะต้องเป็นสวรรค์นิรันดร เป็นสวรรค์ต่อเนื่องไม่ขาดสาย _สมณะฟ้าไท… ตามท่านประยุทธ์ ปยุตโตท่านแปลว่า ยามา แปลว่าแดนที่อยู่แห่งเทพผู้ปราศจากทุกข์ มีท้าวสุยามเป็นผู้ปกครอง พ่อครูว่า… ก็สอนเป็นพยัญชนะไป เป็นตัวเป็นตนท้าวสุยามะ สุ แปลว่าดี แปลว่ารู้ แปลว่าฉลาด เพราะฉะนั้นคนฉลาดก็รู้แล้วว่าไปเฝ้ายามอยู่ที่นั่นหรือไม่เฝ้า คนไม่รู้จักสุ ก็คือทุ คุณก็หลงเป็นสุขเป็นทุกข์คุณก็เฝ้าอยู่ ยามะ อยู่อย่างนั้นคุณก็เป็นยาม สุขด้วยนึกว่าเป็นสวรรค์ สวรรค์ชั้น 3 จตุ แล้วก็ดาวดึงส์ แล้วก็ยามะ อาตมาไม่กล้าบัญญัติอย่างนั้น แต่ท่านบัญญัติอย่างนั้นก็แสดงถึงความมีตัวตน แต่จริงคนที่ไม่รู้เขาจะเป็นอย่างนั้น ท่านอาจจะหลุดพ้นตรงนี้ก็ได้ถ้าท่านเป็นอารยะหรือเป็นอรหันต์ แต่คนอ่านจะเข้าใจผิด ถ้าไปพูดส่งเสริมก็ส่งเสริมให้เขามีอันนี้ ถ้าคุณพูดลบหอันนี้ก็แสดงว่าคุณไม่มีอันนี้ (พ่อครูไอตัดออกด้วย) สมณะฟ้าไท…เพราะฉะนั้น แดนที่ 4 ท่านแปลว่าแดนที่อยู่แห่งเทพที่อิ่มเอิบมีท้าวสันดุสิตเป็นจอมเทพ ถือกันว่าเป็นที่อุบัติของโพธิสัตว์ในพระชาติสุดท้ายก่อนที่จะเป็นพระพุทธเจ้า ที่อุบัติของพระพุทธมารดา พ่อครูว่า… เป็นพยัญชนะไม่มีปัญหาอาตมาเข้าใจสภาวะดีพูดอย่างนั้น ก็เป็นผู้ที่ทำให้เกิด ในปฏิจจสมุปบาทอาตมาก็กำลังแจงถึงสิริมหามายา สิทธัตถะอะไรอยู่เป็นผู้ทำให้เกิดเป็นมารดาเป็นแม่ ไม่ต้องไปเอาตัวตนบุคคลเราเขา ที่เป็นตัวตน ที่เป็นพระมารดาของพระพุทธเจ้า หรือตัวตนพระพุทธเจ้าแต่เอาธรรมะ (พ่อครูไอตัดออกด้วย) สมณะฟ้าไท… พ่อครูอธิบายธรรมาธิษฐาน ซึ่งถ้าเราไม่ได้ฟังพ่อครูก็คงหลงตามเขา ท่านบอกว่าได้พบอารมณ์ที่มันเลิศโลกที่มีแต่ความสุขเทวโลก พ่อครูว่า… นั่นแหละท่านก็สรรเสริญสวรรค์อยู่ อาตมาตีสวรรค์ทิ้งอยู่นี่ ผู้ที่ยังหลงว่าสวรรค์มันมียังเป็นอยากได้ ท่านยังมีสรรเสริญสวรรค์ อาตมาก็ต้องบอกให้พวกเราเข้าใจจะไปหลงสรรเสริญทำไมต้องเข้าใจว่าจิตที่เราไปสร้างอุปาทาน ไปยึดถือว่า มันเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ สวรรค์นรก คุณอยู่กับปัจจุบัน คุณไม่มีสวรรค์ ไม่มีนรก แม้ปัจจุบันมันก็มีสวรรค์หลอก นรกหลอก คุณทำความเข้าใจสวรรค์นรกตรงนี้ให้ได้คือสุขทุกข์เท่านั้นเองแล้วไม่มีสุขไม่มีทุกข์ คุณจะมีปัจจุบันที่ไม่มีสุขไม่มีทุกข์แล้วจบกิจเลย แล้วคุณทำให้ได้นะ จิตของคุณไม่สุขไม่ทุกข์เลย คุณเป็นพระอรหันต์ทันที ง่ายจะตายพระอรหันต์ คุณทำปัจจุบันให้ไม่สุขไม่ทุกข์ได้จริงๆด้วย เวทนาคุณ อ่านให้ออกสิแล้วก็ทำให้ได้ซิ อาตมาไม่ได้พูดเล่นนะนี่ ทำได้จริงแล้วคุณก็ต่อเนื่องเลยไปไม่ขาดสายเลย นิรันดร ถ้าคุณไม่ขาดสาย ไม่มีทิ้งช่วงที่จะไประหว่างที่มีความสุขความทุกข์แทรก..ไม่มี นิรันดรเลย คุณก็เป็นอรหันต์เดี๋ยวนี้ นี่อาตมาไม่ได้พูดภาษาเล่นๆนะ เป็นสภาวะจริงอาตมาพูดจากจิตใจที่อาตมามีอย่างนี้ พูดอย่างนี้ ใครก็ไม่รู้ใจของอาตมาก็แล้วจะไป ใครรู้ใจอาตมา อาตมาเป็นอย่างนี้จริงๆ เพราะฉะนั้นชาวโลกีย์เขาไม่ดับสุข ไม่ดับทุกข์ เรายังไม่เข้าใจว่าดับสุขดับทุกข์คือนิพพานแม้แต่ศาสนาพุทธในเมืองไทยก็ยังเอาสุขเสพสุขกันโอ้โหแย่งกัน พวกเรานี่ฟังธรรมได้ดีนะ เขายังไม่ประสีประสาในเรื่อง“สุข”นี้กันเลย เขาจะหาว่า“บ้า” ด้วยซ้ำ ที่มา“ดับสุข”กัน คนทั้งหลายมีแต่คนจะสะสม“สุข”ให้ยิ่งๆขึ้นจัดจ้านขึ้น ไป“ดับสุข”มันทำไม? บ้ากันหรือเปล่า? เพราะเขายังหลงติด“สุข”กันสนิทเนียนจริงๆ ชาวโลกุตระจึงจะมี“ปัญญา”รู้ว่า “สุข-ทุกข์”เป็นมายา “สุข-ทุกข์”เป็น“อุปาทาน” เป็นความ“ติดยึด”ทาง จิตวิญญาณ ซึ่ง“พลังงานทางจิต”เป็น“ชีวะ”แล้วเริ่มมีภาวะตั้งแต่ขั้น“เจตสิก”ขึ้นไป สู่“จิต” สู่“วิญญาณ”เต็มสภาพ อาตมาไล่มาแล้ว ตั้งแต่ มหาภูต อหิจฉัตตก ภูตคาม พีชคาม เจตภูต เจตสิก ปาณะ สัตตะ พ่อครูขยายจากอปัณณกสูตร 13/115 แล้วก็เคลื่อนไหวออกมาเป็น“ตัณหา”ทำหน้าที่ตั้ง แต่หยาบสุดคือ “กามตัณหา” ถ้าคนผู้อวิชชาที่“ไม่รู้”เรื่อง“กาม”ก็จะ“ใคร่อยาก”ดึง ดูดแย่งชิงมาให้ตน“เสพสุข” หรือ‘ใคร่อยาก”ผลักดันออกไป ถึงขั้นทำลายทำร้ายฆ่าแกงกันทีเดียว ด้วย“ความไม่รู้(อวิชชา)” เช่นมหาบัว กินหมากกินพลูไม่ละอายเลยแสดงการเสพกามทางทวาร 5 เทวนิยมนั้นไม่ต้องคิดเลยว่าเขาจะตัดสุขไหม ดับสุขไหม เขาปิดประตูที่จะเรียนรู้ มีชาวพุทธที่สัมมาทิฏฐิที่จะเรียนรู้ ชาวพุทธที่มิจฉาทิฏฐิก็จะไม่ใส่ใจ ไม่เรียนรู้ ไปดับหลับตาไม่รู้เรื่อง น่าสงสาร อาตมาสงสารพูดทุกทีสงสาร มันอย่างงั้น มันจะไปรู้ได้อย่างไร มันเปิดตารู้สึกสุขทุกข์ที่เวทนา ไปดับไปกดข่มอยู่ในโน้น ไม่รู้จะพูดยังไงหนอ มันโง่ระดับโง่ทริปเปิ้ลโง่ “ความไม่รู้”นี้ศัพท์บาลีว่า “อวิชชา” ซึ่งใน“วิญญาณ” ของสัตวโลก จะสะสมใส่จิตวิญญาณของตนโดย“ความไม่รู้” นั่นแหละ จนกว่าจะได้พบ“ศาสนาพุทธ” ได้พบ“คนชาวพุทธ” ได้ฟังธรรมขั้น“โลกุตระ”จากผู้รู้ที่“สัมมาทิฏฐิ” หรือจาก“สัตตบุรุษ” ยิ่งได้ฟังจากพระพุทธเจ้าก็ยิ่งโชคดีสุดยอด สมณะฟ้าไท… สรุปจบ “อวิชชา”จะตกผลึกสะสมอยู่ใน“อาสวะ” “อาสวะ”คือ กิเลสที่นอนเนื่องในจิตฝังสันดานอยู่ จึงต้องชำระละล้าง“กิเลส”ออกไปจากจิตให้หมดสิ้น“อาสวะ” จะได้หมด“โ่ง่”งมงาย หายซมซาน อยู่กับ“สุข” “กิจ”ยิ่งใหญ่สำคัญในความเป็นคนคือ สิ่งนี้ “อวิชชา”ซึ่งเป็น“ความไม่รู้”ที่พระพุทธเจ้าทรงแยก แยะไว้ คือ (๑)ไม่รู้ทุกข์ (๒)ไม่รู้เหตุให้เกิดทุกข์ (๓)ไม่รู้ ความดับทุกข์ (๔)ไม่รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ (๕)ไม่รู้ในส่วนอดีต (๖)ไม่รู้ในส่วนอนาคต (๗)ไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและอนาคต (๘)ไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาท ว่า สิ่งทั้งหลายอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ถ้า“ดับเหตุให้เกิดทุกข์”ไปหมดสิ้น“อวิชชาสวะ ๘”ได้ก็ถือว่า “จบกิจ”แล้วสำหรับเรื่อง“โง่”งมงายสำหรับมนุษย์ “อวิชชาสวะ ๘”นั้นแบ่งออกเป็น ก.“กิจ” คือ “อาริยสัจ ๔” ได้แก่ (๑)ไม่รู้ทุกข์ (๒)ไม่รู้เหตุให้เกิดทุกข์ (๓)ไม่รู้ความดับทุกข์ (๔)ไม่รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ก.“กาล” คือ “ภาวะของวาระเวลา” ได้แก่ (๕)ไม่รู้ในส่วนอดีต (๖)ไม่รู้ในส่วนอนาคต (๗)ไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและอนาคต ก.“กรรม” คือ “(๘)ไม่รู้ใน“ปฏิจจสมุปบาท” ว่า สิ่งทั้งหลายอาศัยกันและกันเกิดขึ้น คนที่มี“อวิชชาสวะ ๘”ก็คือ “คนผู้ไม่รู้ ๘ อย่าง”นี้ ก.“กรรม”นั้นคือ “การกระทำ”ที่คนแต่ละคนมี“เป็น ของตนเอง” คนทุกคนที่“กระทำ“อะไรตั้งแต่ทาง“กาย”และ ทาง“วาจา” โดยเฉพาะทาง“ใจ” ที่เป็น“กายกรรม-วจีกรรม-มโนกรรม” ทำแล้วก็สะสมเป็น“วิบาก”ตกเป็นมรดกของตน “กายกรรม”นั้น ไม่ใช่“การกระทำตนฝึกฝนตนให้มีกำลัง”แค่ทำให้“ร่างหรือสรีระ”แข็งแรงเท่านั้น แต่หมายถึงการปฏิบัติตนฝึกฝนตนให้มี“กาย”มี“จิต”ที่ลดละกิเลสออกไปจิตกระทั่ง“กิเลส”หมดสิ้น ครบครันทั้ง“กิจ” ้ง“กาล” ทั้ง“กรรม”จนบริบูรณ์หมดสิ้น“อวิชชาสวะ๘” ส่วนการทำตนให้มีกำลังนั้นบาลีคือ “กายถามะ” หรือ“กายพละ” แต่“กายกรรม”นี้พิเศษวิเศษกว่านั้น เพราะชาวพุทธทุกวันนี้“มิจฉาทิฏฐิ”ในคำว่า “กาย” ไปจริงๆ เสื่อมกันไปหนักมาก จึงเข้าใจความหมายคำว่า “กาย”ผิดสารสัจจะไป จนเละเทะ เลอะเทอะ เช่น แม้แต่คำว่า “กาย” ก็มิจฉาทิฏฐิกันไปสนิทสนม แล้ว เข้าใจว่า “กาย”มีแค่“สรีระ(ร่างเฉพาะภายนอก)” หรือคำว่า “บุญ” ยิ่งสับสนไปเข้าใจว่า เป็นแค่“กุศล”กันจริงๆจังๆกันไปหมด หรือคำอื่นๆ “ฌาน”ก็ดี “สมาธิ”ก็ดี “สมาบัติ”ก็ตาม “สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย”ก็ดี มันไม่ใช่ปัญญาที่สัมมาทิฏฐิ เข้าใจผิด แตกต่างกัน เห็นตรงข้ามกัน หันหลังให้กัน แล้วต่างคนต่างเดินของตนไป ตามความเชื่อถือของตนๆ นั่นคือ ต่างคนต่างสื่อกัน ต่างก็กำหนดรู้กันไปคนละทิศ คนละทาง คนละอย่าง คนละความถูกต้องกันแล้ว เพราะมี“กายต่างกัน สัญญาต่างกัน”ไปสารพัด ดังนั้น “อวิชชาสวะ ๘”จึงมิจฉาทิฏฐิกันสมบูรณ์แบบ เริ่มตั้งแต่“อวิชชาสวะ ๔ ข้อต้น” ได้แก่ ไม่รู้“ทุกข์” ไม่รู้“สมุทัย” ไม่รู้“นิโรธ” ไม่รู้“มรรค” มันก็ยังมี“อวิชชา” จึงไม่หมดสิ้น“อาสวะ”กันได้สักที แม้จะสามารถทำให้“อาสวะ”บางส่วนสิ้นไปได้ ก็ไม่“จบกิจ”ชนิดที่เป็น“นิยตะ”หรือนิรันดรเด็ดขาด เพราะ “อาสวะ”ที่เหลือมันจะพาวนเวียนกลับมามีกิเลสอีกจนได้ ใน“ชาติ”ที่ยังไม่สามารถ“ดับเหตุ”ไม่ให้มี“ชาติ”ต่อไปสำเร็จ ยิ่งเป็นชาวเทฺวนิยมที่“ความรู้”ยังเป็น“ปัญญา”ไม่ได้ ยังมีแต่“ความรู้”ที่เป็น“เฉโก”เท่านั้น ก็ยิ่งไม่ต้องพูดถึงเลย แม้แต่ชาวพุทธที่“หลับตา”ปฏิบัติก็ไม่สามารถจะ พูดเรื่อง“อาสวะ”หรือ“อวิชชา”กันถูกเรื่องถูกสภาวะกันได้ เพราะยังพูดถึง“กิเลส”ก็ดี ถึง“อาสวะ”ก็ดี ยังไม่ตรงกันเป็น“สัมมาทิฏฐิ” มันยังมี“มิจฉาทิฏฐิ”ต่างกันไปได้สารพัด จนกว่าจะเป็น“ผู้มี“สัมมาทิฏฐิ”เริ่มต้นในคำว่า “กาย” และ“สัญญา”กันก่อน จึงจะปฏิบัติมีมรรคผลใน“อาริยสัจ ๔” บรรลุ“สัมมามรรค-สัมมาผล”ได้สำเร็จ นั่นคือ คนผู้นั้นต้องมี“สัมมาทิฏฐิ”ในความเป็น “กาย”กับความเป็น“สัญญา”ถูกต้องถ่องแท้จริง ถ้าใครไม่พ้น“มิจฉาทิฏฐิ”ในความเป็น“กาย”ได้ก่อนอื่น และยังไม่สามารถรู้จักรู้แจ้งรู้จริงการแยก“กาย”แยก “จิต“ ใน“ธรรมนิยาม ๕” โดยอาศัย“ผม”เป็นเครื่องใช้พิจารณาหรือใช้“ขน“หรือใช้“เล็บ”หรือใช้“ฟัน”หรือใช้“หนัง” อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเครื่องแยกแยะพิจารณา ก็ปฏิบัติธรรมให้สิ้น“อาสวะ”ด้วยการศึกษาจาก“อาริยสัจ ๔”ไม่ได้ เช่น การแยก“กาย”แยก“จิต”โดยอาศัย“เล็บ”เป็นต้น พิจารณา เราก็จะจับ“ความรู้สึก”คือ“เวทนา”ที่เล็บของเราได้ ว่า “เล็บ”ส่วนที่ยังมี“ชีวะ”และมีประสาทรับรู้ต่อเนื่องอยู่นั้น คือ ส่วนที่ยังมี“กาย” ถ้ากระทบก็“รู้สึก”ได้ ถ้ากระแทกแรง”ถึงขีดหนึ่งก็จะ“รู้สึกเจ็บ”กันเลย ถ้า“เล็บ”ส่วนที่ยังมี“ชีวะ”อยู่นั้นแหละ แต่มันไม่มีประสาทรับรู้ต่อเนื่องแล้ว คือ ส่วนที่มันยาวพ้นเนื้อออกไปยิ่งมา ก็ยิ่งจะพิจารณาได้ง่าย ว่า แม้จะกระทบกระแทกมันก็“ไม่รู้สึก”หรือไม่“เจ็บปวด”แต่อย่างใด เพราะเล็บส่วนนั้น ไม่เป็น“กาย”แล้ว จึงไม่มี“เวทนา” นี่คือ ภาวะที่นับว่า “ความไม่มีกาย”ของ“เล็บ” แต่เล็บส่วนนั้นมันยังมี“ชีวะ”อยู่นะ ยังไม่ตาย ยังไม่ได้ขาดออกไปจากร่าง “เล็บ”ส่วนนั้นยังเจริญด้วยอาหารอยู่ ผู้ปฏิบัติเรียนรู้จาก“เล็บ”นี้เป็นต้น จึงสามารถแยก “กาย”แยก“จิต” โดยการอ่านความรู้สึก“เวทนาในเวทนา”นี้เองสำเร็จได้ ก็จะรู้จักรู้แจ้งรู้จริงว่า ภาวะใดเป็น“กาย” และภาวะใดที่ไม่ใช่“กาย”แล้วในความเป็น“เล็บ”นั้น คือแม้ส่วนนั้นจะมี“สัมผัส”กระทบกระแทกอยู่ ส่วนนั้นก็มี“ความรู้สึก”อยู่นะ แต่“ไม่รู้สึกเจ็บใดปวดใด”หรือ“ไม่มีทุกข์-ไม่มีสุข”ใดแล้ว ไม่มี“กรรมวิบาก” “กรรม”ส่วนนี้“พ้น“สุข-พ้นทุกข์” ไม่รักไม่ชัง ก็ไม่“ผูกเวรจองกรรม”ใดๆ จึงเป็น“กรรม”ที่ไม่มี“วิบาก” เพียงภาวะที่ไม่มี“กาย”นั้น ภาวะนี้ไม่มี“เวทนา”แล้ว จึงเรียกภาวะฉะนี้ของเล็บว่า มีฐานะเป็น“พืช” เพียง แต่นับว่า เป็นภาวะไม่มี“กาย” เพราะไม่มี“เวทนา”ในระดับของ“ความไม่รู้สึกสุข-ทุกข์”เท่านั้น ศัพท์คือ“อทุกขมสุข” ถ้าเราตัดหรือทำส่วนของเล็บที่เป็น“พืช”นี้ขาดออกไปจาก“ร่าง”ของเรา ส่วนที่ขาดออกไปจากร่างของเราก็กลายเป็น“อุตุ” ซึ่ง“เล็บ”ส่วนที่เป็น“พืช”แล้วก่อนที่เราจะตัดมันออก เราเรียกว่า “ร่างกาย”ของเราไม่ได้แล้วนะ! เพราะมันเป็น“พืช”แล้ว ไม่มี“กาย”แล้ว จึงเป็นเพียง“ร่าง”เท่านั้น เมื่อ“เล็บ”ส่วนที่ถูกตัดขาดออกไปจาก“ร่าง” “เล็บ” ส่วนที่ขาดออกไปแล้วนั้นก็เป็น“อุตุ” เพราะไม่มี“ชีวะ”แล้ว กลายเป็น“มหาภูต”เป็นดินน้ำไฟลมไปแล้ว ฉะนี้คือ “ความรู้”ที่เราต้องรู้ให้“สัมมาทิฏฐิ”จึงจะสามารถมี“ปัญญา”รู้ได้ว่า เมื่อใดใน“เวทนา”หรือ“ความรู้สึก”ของเราจะเป็น“กาย”และเป็น“จิต” หรือไม่เป็น“กาย” แล้ว แต่มี“จิต”เป็น“ชีวะ”รู้จักรู้แจ้งรู้จริงเต็มสภาพอยู่ ทว่าเรารู้ว่า เมื่อใดมีความเป็น“กาย” เมื่อใดไม่มีความเป็น“กาย” ความเป็น“กาย”จึงสำคัญมากที่จะทำให้เรา“พ้นความรู้สึก“สุข-ทุกข์”หรือยัง“ไม่พ้นความรู้สึกสุข-ทุกข์” ความเป็น“อรหันต์”ถือว่า “จบกิจ”ตรงที่สามารถทำ “กายในกาย-เวทนาในเวทนา*จิตในจิต-ธรรมในธรรม”ของเราเป็น“เนกขัมมสิตอุเบกขาเวทนา”สำเร็จเสร็จ“กิจ”ได้แล้วจริง เพราะ“จิตในจิต”ของเราได้หมดสิ้น“กิเลสาสวะ”เด็ดขาด พระพุทธเจ้าจึงทรงให้“พระอุปฌาย์”เมื่อบวช“สัทธิ วิหาริก”เสร็จเป็นภิกษุขึ้นมาแล้ว ก็ให้“อุปัชฌายะ”สอน“มูลกรรมฐาน ๕”คือ “ผมหรือขนหรือเล็บหรือฟันหรือหนัง” อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ทั้งนั้น ใช้เรียนรู้การแยก“กาย”แยก“จิต” โดยเฉพาะแยก“เวทนาในเวทนา” ละเอียดถึง“เวทนา ๑๐๘” ก็จะสามารถรู้จักรู้แจ้งรู้จริงว่า “ภาวะที่ไม่มีกาย”นั้นคือ เรา“ไม่มีเวทนา”หรือไม่มี“ความรู้สึกสุข-ทุกข์”ตามจุดหมายสำคัญยิ่งใหญ่ของศาสนาพุทธ เพราะสามารถเรียนรู้ฝึกฝนปฏิบัติกระทั่งบรรลุตาม “ธรรมนิยาม ๕”ที่เป็น“ความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า” นั่นคือ เป็น“ผู้พ้นทุกขอาริยสัจ” โดย“ทำจิตในจิต” ของตนให้อยู่ในภาวะ“พีชนิยาม”คือ อยู่ในภาวะ“พืช”ได้ขณะที่มี“ชีวะ”อยู่ มี“กาย”ภายนอก“สัมผัส”สัมพันกับโลกภายนอกอยู่ปกติสามัญ แต่ไม่มี“เวทนาที่เป็นสุขเป็นทุกข์” ดังนั้น ภาวะนี้ก็คือ ผู้มีจิต“ไม่สุข-ไม่ทุกข์”ที่“สัมมาทิฏฐิ” ซึ่งมันไม่ใช่“ไม่สุข-ไม่ทุกข์”ที่“มิจฉาทิฏฐิ”ตามวิธีแบบเดียรถีย์ คือ ไปหลง“หลับตา”ปฏิบัติกันงมงายอยู่ พระอรหันต์คือ ผู้“ทำจิตในจิต”อย่าง“สัมมาทิฏฐิ” ปฏิบัติ“เวทนา ๑๐๘” กระทั่งบรรลุภาวะนี้ได้แล้ว คือทำ “เนกขัมมสิตอุเบกขาเวทนา”เป็นผลสำเร็จเด็ดขาด “จิต”จึงได้“อาศัย”ความไม่สุข-ไม่ทุกข์ และ“ไม่สุข- ไม่ทุกข์”เพราะได้ปฏิบัติกำจัดจาก“จิต”จนกระทั่ง“จิต”สะอาด จากกิเลส บรรลุเป็น“อุเบกขา ๕”คือ “ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสรา” (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ “ธาตุวิภังคสูตร” ข้อ ๖๙๐) ซึ่งแตกต่างจากแบหลับตา“มิจฉาทิฏฐิ” “เวทนา ๑๐๘”นี้จึงขี้บ่งยืนยันให้เห็นกันชัดเจนยิ่ง ว่า ผู้“หลับตา”ปฏิบัตินั้น เป็น“มิจฉาทิฏฐิ”แท้จริง เพราะ“หลับตา”ปฏิบัติ มันปฎิบัติ“เวทนา ๑๐๘”ไม่ได้ มันไม่มี“ทวาร ๖”ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ ที่จะเรียนรู้“มโน ปวิจาร ๑๘” ที่มีทั้งที่เป็น“เคหสิตเวทนา ๑๘” และมีทั้งที่เป็น“เนกขัมมสิตเวทนา ๑๘” แต่“หลับตา”ปฏิบัตินั้น “แม้แค่“เวทนา”ที่เกิดจากมี“ผัสสะ”เป็น“ปัจจัย ก็ยังไม่มีเลย แค่ประเด็นนี้ “การหลับตา”ปฏิบัติก็“มิจฉาทิฏฐิ”กันแล้ว ชาวพุทธทั้งหลายพิจารณากันดีๆเถิด “หลับตา”ปฏิบัติมันไม่สามารถจะ“แยกกาย-แยกจิต” หรือไม่สามารถรู้จักรู้แจ้งรู้จริง“กายในกาย-เวทนาในเวทนา-จิตในจิต-ธรรมในธรรม”ได้เลย มันต้องมี“กาย-เวทนา-จิต-ธรรม”ครบทั้ง ๔ ภาวะมันจึงจะสามารถปฏิบัติธรรมแบบพุทธบรรลุ“สัมมาผล”ได้ จึงจะสามารถมี“ปัญญา” รู้จักรู้แจ้งรู้จริงใน“ธรรมนิยาม ๕” ที่แยกความเป็น“อุตุนิยาม-พีชนิยาม-จิตนิยาม-กรรมนิยาม-ธรรมนิยาม”ได้ครบครันบริบูรณ์ “ปัญญา”จึงจะสามารถรู้จักรู้แจ้งรู้จริงรู้จบภาวะใด ของ“กาย”ของ“เวทนา”ของ“จิต”ของ“ธรรม”ได้สุดลึกลงไปจัดการถึง“ราก(มูลกา)”กันทีเดียว ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน“มูลสูตร ๑๐”(พระไตรปิฎก เล้ม ๒๔ ข้อ ๕๘) เมื่อมี“การทำจิตในจิต(มนสิการ)”ที่เป็น“แดนเกิด (สัมภวะ)”สัมมาทิฏฐิกันจริงได้ เราก็สามารถทำ“ความเกิด”ของ “จิตในจิต”ของตนได้ และทำ“การตาย”ของ“จิตในจิต”ได้แท้ นั่นคือ ทำ“การตาย”ให้แก่จิตและทำ“การเกิด”ให้แก่ “จิต”ได้เป็นส่วนๆได้อย่างพิเศษวิเศษจริงๆ เช่น เราทำภาวะใดของ“จิต”เราให้“ไม่มีชีวะ”ได้ ส่วนนั้นก็คือ “อุตุนิยาม” คือ ภาวะ“ไม่มีชีวะ” หรือ“ตาย” หริอเราทำภาวะใดของ“จิต”ให้“มีชีวะระดับพืช”ได้ ส่วนนั้นก็คือ “พีชนิยาม” คือ ภาวะ“มีชีวะ” แต่ไม่มี“เวทนา” หรือเราทำภาวะใดของ“จิต”ให้“มีชีวะเจริญขึ้นๆ” เป็น“อาริยบุคคล”ได้แต่ละระดับ ส่วนนั้นก็“เกิด” ซึ่งมี“การตาย-การเกิด”ของ“จิตในจิต”เท่านั้น ไม่ใช่“การตาย-การเกิด”ของ“ชีวิตทั้งหมด ชนิดที่ “สิ้นลมหายใจ”ไป จึงเป็น“การตาย-การเกิด”ของ“ชีววิทยาทางจิต” ที่ทรงค้นพบโดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความยังมี“ชีวะ”อยู่ แ่ต่เราแยก“กาย”แยก“จิต”ได้ตามที่สาธยายมานี้จึงเป็น“สุดยอด“วิชชา” และสุดยอดจริงๆที่ทำได้ทั้ง“ทำเวทนาในเวทนา-ทำจิตในจิต”ของตน ให้เป็นไปได้ถึงขั้น“เกิด”ขั้น“ตาย”สำเร็จแน่แท้ ซึ่งแน่นอนว่า “ไม่มีจิต”กับ“ไม่มีเวทนา” ย่อมแตกต่างกันอย่างมี“ความจริง”ที่เป็นนัยสำคัญขั้น“สิริมหามายา”ยอดยิ่ง เพราะเรา“ทำจิตในจิตของเราเองให้มี“การเกิด”เอง ให้แก่ตนเองเป็น“สิทธัตถะ”ได้สำเร็จในตัวเองของบุคคลแต่ละคนได้แท้ คำว่า “สิริมหามายา”จึงหมายถึง ความเป็น“ผู้ให้กำเนิด”ซึ่งในที่นี้ขณะนี้นั้น เป็น“การกำเนิดทางจิต”โดยตรงโดยเฉพาะของ“แม่”ที่อยู่ใน“ข้อ ๗ ใน“สัมมาทิฏฐิ ๑๐” และคำว่า “สิทธัตถะ”ก็หมายถึง ความเกิดเป็น“ลูก”อันเป็น“ความเกิดทางจิต” ของใครก็ตามย่อมคือ“ลูกทางจิต”ทั้งนั้น เรียกโดยศัพท์ว่า “การเกิดของสัตว์ทางจิต คือ “สัตว์โอปปาติกะ” ซึ่งทั้งคำว่า“สิริมหามายา”ก็ดี และคำว่า“สิทธัตถะ”ก็ดี ที่เป็น“ภาวะ”ของ“จิตในจิต”นี้ จึงไม่ใช่หมายถึง“ตัวตนบุคคล” ที่มีเนื้อหนังมังสาเป็น“พระมารดา”ของ“เจ้าชายสิทธัตถะ” หรือระบุเฉพาะว่า เป็นผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งคือ“องค์พระมารดา” หรือคือ“องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า”เท่านั้น แต่เป็นเรื่องของ“ธรรมะ”ที่คนผู้ใดก็มีสิทธิ์ปฏิบัติ “กาย-เวทนา-จิต-ธรรม”ที่เป็น“ธรรมในธรรม”โดยตรง มิใช่หมายเอา“ตัวบุคคล” อย่าสับสน“หลงผิด-กำหนดผิด”ไป ฉะนี้เองคือเรื่องของการปฏิบัติธรรมทำ“กายในกาย-เวทนาในเวทนา-จิตในจิต-ธรรมในธรรม”ของใครก็ทำได้ เป็น “กรรมกิริยา”ท่ี่วิจิตรวิสิฏฐ์วิเศษวิสุทธิ์เยี่ยมยอดจริงๆ เพราะคนมี“กาย” มี“เวทนา” มี“จิต” มี“ธรรม” ซึ่งถ้าขาด“กาย”มันก็ไม่เป็น“คนเต็มคน” ดังนั้น การปฏิบัติธรรมของพุทธ ถ้าไม่มี“กาย”เป็นพื้นฐานในการปฏิบัติ ก็โมฆะ สูญเปล่า เช่น ไป“หลับตา”ปฏิบัติ หรือ“พระเจ้า”ก็“ลึกลับ” ไม่สามารถสัมผัสทาง“กาย”กัน่ได้ มันก็ไม่มี“เวทนา”อันเป็น“กรรมฐาน”ให้เราปฏิบัติ “กิเลส”ที่เราจะจัดการกับมันอย่างสำคัญ มันก็คล้ายกับ“เจตสิก” คือ ส่วนหนึ่งที่หลอกแฝงเป็น“เจตสิก”อยู่ในจิต เราจัดการกับ“เวทนา”นั้น คือ เราจัดการกับ“เจตสิก” เพียงแต่เราทำบางส่วนของ“จิต” คือ ทำส่วนที่เป็น“เจตสิก”ที่แยกละเอียดไปกว่า“จิต” แล้วก็ทำใน“เจตสิก”ส่วนนี้ นั่นคือ ปฏิบัติตาม“โพธิปักขิยธรรม ๓๗” ที่เริ่มด้วยการกระทำ“กายในกาย-เวทนาในเวทนา-จิตในจิต-ธรรมในธรรม” อันเป็นการกระทำ“สติปัฏฐาน ๔”นั่นเอง จึงจะทำ ให้“กิเลส”ในจิตลดลง หรือ“กิเลส”ดับไปหรือ“ตาย”ได้สำเร็จ การทำให้“กิเลส”ตาย จึงเป็น“การเกิด”ของ“จิตในจิต”แท้จริง ทั้ง“ละชั่ว-ทำดี” ทั้ง“ดับสุข-ดับทุกข์”ได้สำเร็จ การทำ“จิตในจิต”ให้“เกิด”ได้ด้วยสามารถปานฉะนี้ คือการทำ“การเกิด”ได้ถึงขั้น“นิพพัตติ”และ“อภินิพพัตติ” “การเกิด”นี้ เป็น“การเกิดขั้นโลกุตระ” คือ “การเกิด”ขั้น“สิทธัตถะ” ที่สามารถทำ“จิตในจิต”ได้ถึง“กำจัดกิเลส”ลดละลงไปถึงขั้น“ดับกิเลส”หมดสิ้น“อาสวะ”ได้ ซึ่งมี“การตาย”ของ“กิเลส” แล้ว“จิต”ก็“เกิด”เป็น“จิตใหม่”ใสสะอาดขึ้นไปตามลำดับๆ ผู้ทำได้คือ“สิริมหามายา” กล่าวคือ ผู้ทำ“จิต-เจตสิก”ให้มี“การเกิด”ทรงสภาพอยู่ในฐานะของ“พืช”ที่ไม่มี“เวทนา-ไม่มีความรู้สึก”ก็ทำได้ และทำได้ยิ่งไปกว่ามีฐานะ“พืช” เป็นต้นว่า ทำให้ “ความรู้สึก”ของเล็บ”ส่วนที่ถูกกระทบอยู่นั้น มันไม่มี“ความรู้สึกเลย” ภาวะ“ไม่มีความรู้สึกเลย”นี้ มันก็มีฐานะเป็น “อุตุ” คือ เป็นภาวะ“ไม่มีความรู็สึก”กันทีเดียว ก็ทำได้ นั่นคือ เราสามารถทำให้มันอยู่ใน“ฐานะ”ของภาวะที่“พลังงานไม่มีชีวะ” เป็น“อุตุนิยาม”ในขณะยังมีชีวิตอยู่ ก็ทำได้ นี้ก็ความสามารถขั้นหนึ่ง ที่ทำสำเร็จได้ หรือที่สุดทำให้“จิตนิยาม”หรือ“วิญญาณ”สลายไปเป็น“ดินน้ำไฟลม”ไปเลย ก็ทำได้สำเร็จจริง แต่ความจริงขณะที่เราทำจิตตนให้อยู่ใน“ฐานะพืช” หรือ“ฐานะอุตุ”นี้เราก็ยังมี“ชีวิต”คนผู้ยังไม่ตาย ยังมี“จิตวิญญาณ” ทว่า“การทำจิตในจิต”ของเราได้ปานฉะนี้ เพราะเรามี“ปัญญา”รู้จักรู้แจ้งรู้จริง“จิต เจตสิก รูป นิพพาน” และจัดการกับ“กิเลส”ที่มีอยู่ใน“จิต”ใน“เจตสิก”ให้หมดสิ้นไปได้ด้วย“ฌาน”ด้วย“บุญ” ถึงขั้น“ปุญญาภิสังขาร” ขณะมี“ชีวิต”เราก็สามารถทำ“จิตในจิต”ของเราให้ “ไม่มีกิเลส” ถึงขั้น“ไม่มีอาสวะ”ของ“กิเลส”ได้แล้วเป็นที่สุดกระทั่งหมดสิ้น“อวิชชาสวะ ๘” ซึ่งมีข้อแม้สำคัญ ว่า ต้องมี“กาย”ร่วมด้วยเสมอ คนผู้ยังมี“ชีวิต” มี“นาม”มี“รูป”ครบ“ขันธ์ ๕”ปานนั้นต้อง“สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย”เรียนรู้ฝึกฝนตน จึงจะได้รับมรรคผลครบ“จิต เจตสิก รูป นิพพาน”สำเร็จบริบูรณ์ได้จริง เป็น“ปัจจุบันชาติ(ทิฏฐธรรม)”นั้นๆกันเลย ครบ“กาย-จิต” หาก“หลับตา”ปฏิบัติก็ดี หรือลัทธิมี“พระเจ้า”ที่ “ลึกลับ”อยู่ แบบ“เทฺวนิยม”ก็ดี ซึ่ง“พระเจ้า”สัมผัสไม่ได้ ด้วย“กาย” ไม่มีทฤษฎีแบบ“โลกุตระ” ก็ไม่สามารถเรียนรู้ “เวทนา”ให้ศึกษาความเป็น“จิต-เจตสิก-รูป-นิพพาน” เพราะมันไม่สามารถเรียนรู้ได้ด้วย“ทวาร ๕” ยังเป็น คนที่่ีไม่มี“กาย”ก็ยังไม่เต็ม“คน” จึงรู้จักรู้แจ้งรู้จริงรู้จบไม่ได้ ซึ่ง“กาย”ที่เป็นส่วน“ภายนอกทวาร ๕”นั้นคนปกติมันต้อง“มีในชีวิต“ลืมตา”ตามสามัญ จึงจะเรียนรู้ให้“จบ”ได้ ผู้“หลับตา”ปฏิบัติก็ดี หรือศาสนาที่นับถือ“พระเจ้า” ยังไม่มี“คำสอน”ของ“พระเจ้า”หรือของศาสดาเทฺวนิยมทั้งหลายก็ดี ซึ่งไม่มีการเรียนรู้“กายในกาย-เวทนาในเวทนา-จิตในจิต-ธรรมในธรรม”ก็ย่อมไม่สามารถปฎิบัติบรรลุ “โลกุตรธรรม”สัมบูรณ์พ้น“อวิชชาสวะ ๘”ครบถ้วนสัมบูรณ์ได้เลย แน่นอน เพราะสำเร็จบริบูรณ์ด้วย“กิจ-กาล-กรรม”ได้ไม่ครบ ดังนั้น ผู้เรียนรู้และฝึกฝน“การทำจิตในจิต”ที่จะ“พ้นอวิชชาสวะ ๘”ได้นั้น จึงคือ การเรียนรู้“กายในกาย-เวทนาในเวทนา-จิตในจิต-ธรรมในธรรม”นี้แล ที่มี“กาย”ร่วมอยู่ด้วยตลอดการปฏิบัติกระทั่งบรรลุธรรม“พ้นอวิชชาสวะ ๘” ผู้จะกำจัดกิเลสที่“จิตในจิต”มันยังเกิดอยู่ ต้องเริ่มจากเบื้องต้น ในขณะมี“สัมผัส”ทาง“กายภายนอก”กับ“กายภายใน”อยู่ใน“กามาวจร” ที่มี“กิเลสกาม” จึงจะเป็นไปตามลำดับ อย่างถูกต้องถ่องแท้ ไม่ใช่“หลับตา”ปฏิับัติ นั่นเป็นการปฏิบัติลัดขั้นตอน ต้องกำจัด“กิเลสกาม”ใน“กามาวจร”ได้ก่อน แล้วเมื่อเหลือ“กิเลส”ที่มันเกิดอยู่ใน“รูปาวจร”ต่อไป ในขณะที่เราก็มี“กาย”มี“กามาวจร”อยู่นั่นแล แต่“กิเลสกาม”หมดไปแล้ว ต่อจากนั้นจึงกำจัด“กิเลส”ใน“รูปาวจร”ที่เหลือ เป็นลำดับๆ ซึ่งการปฏิบัติก็อยู่ในหลัก“จรณะ ๑๕ วิชชา ๘”ซึ่งมี“อธิศีล”ปฏิบัติ“โพธิปักขิยธรม ๓๗”ไต่ระดับสูงขึ้นไปเป็น“อธิจิต-อธิปัญญา”นั่นเอง ต้องผ่าน“การกำจัดกิเลสกาม”ก่อน เป็นขั้นๆไป ไม่ใช่หลง“หลับตา”ปฏิบัติ”ลัดเข้าไป“รูปาวจร”เลย ปฏิบัติธรรมของพุทธ“ลืมตา”สามัญปกติชีวิตนี่เอง แตมี“สัมมาทิฏฐิ”รู้จักรู้แจ้งรู้จริงลำดับขั้น“กามราคะ” ก็ดี ขั้น“รูปราคะ”ก็ดี ขั้น“อรูปราคะ”ก็ตาม ย่อมมีลำดับๆ เราก็กำจัด“กิเลส”ใน“กามาวจร-รูปาวจร-อรูปาวจร” ให้หมดไปได้สิ้น“อาสวะ” มี“ปัญญา ๘” จึงไม่มี“อวิชชา”เลย และกำจัด“กิเลส”หมดสิ้น“อาสวะ”ได้หมดเกลี้ยงบริบูรณ์ “อวิชชาสวะ ๘”นั้น ๔ ข้อต้น คือ“ไม่รู้”ใน“อาริยสัจ ๔” ซึ่งเป็น“กิจ”ที่จะต้องปฏิบัติให้“จบกิจ” ต่อมาก็“กาล”อีก ๓ ข้อ ที่ยัง“ไม่รู้”ใน“ส่วนอดีต-ส่วนอนาคต-ทั้งส่วนอดีตส่วนอนาคต” ซึ่งเป็น“กาล”ที่จะต้องปฏิบัติให้“อยู่เหนือกาล” จึงจะสามารถทำตนให้หมดไปจาก“กาล”ก็สำเร็จ หรือจะทำตนอยู่ใน“กาล”ต่อไปก็ทำได้้ สุดท้าย“กรรม”ที่จะต้องกระทำหรือปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จได้ด้วย“วิชชา”หรือ“ปัญญา”จึงจะ“พ้นอวิชชา”ในความเป็น“ปฏิจจสมุปบาท”ทั้ง“อนุโลม”และ“ปฏิโลม” จึงจะทำ“กิจ”จบได้ครบทั้ง“กิจ-กาล-กรรม”บริบูรณ์ “อาริยสัจ ๔”คือ“ทุกข์-สมุทัย-นิโรธ-มรรค” ที่จัด เป็นเรื่องสำคัญถึงขั้นเปรียบปาน“หัวใจคน”ทีเดียว “อาริยสัจ ๔”ในศาสนาพุทธที่ชาวพุทธจะต้องศึกษาจัดการอย่าให้มี“เหตุ”ก่อพิษภัยเป็น“ทุกข์”แก่ตนจึงสุดสำคัญ ผู้สามารถ“ดับทุกข์”ด้วยการ“ดับเหตุแห่งทุกข์”ด้วย จึงจะทำ“นิโรธ”ได้สำเร็จอย่าง“สัมมาทิฏฐิ”ถูกต้องถ่องแท้ แบบ“โลกุตระ” ให้เป็น“อุตุ” ซึ่ง“โลกุตรธรรม”นี้เป็น “วิทยาศาสตร์ทางจิตสูงสุด”ในโลก อันเป็น“ชีววิทยา”ที่สามารถรู้จักรู้แจ้งรู้จริง“พลังงาน”ตั้งแต่ขั้น“อุตุนิยาม”คือ “มหาภูต ๔” อันได้แก่ “ดิน น้ำ ไฟ ลม”ที่ยังไม่เป็น“ชีวะ” ก็“กระทำใจในใจ(มนสิกโรติ)”ให้“จิตใจ”มีความเป็น“อุตุภาวะ” และทั้งสามารถทำพลังงานให้เป็น“พีชนิยาม”ที่เป็น “ชีวะ”แล้ว แต่่ยังไม่มี“เวทนา”ก็ทำได้ จนกระทั่ง“จบกิจ” เมื่อทำ“จบกิจ”สำเร็จได้แล้ว สูงขึ้นไปถึงพลังงานที่เป็นชีวะ”ขั้น“จิตนิยาม”เกี่ยวกับ“กาล” ก็ต้องทำิให้“พ้นอวิชชาสวะ”ส่วนนี้อีก ให้เป็นผู้“อยู่เหนือกาล” สามารถจะจัดการ“ตนเอง”กับ“กาล”ได้ถึงขั้น“ทำกาละ”คือ “ตาย”ชนิดที่จะ“เวียนวนอยู่ในกาล” คือ “เกิด”มาเป็น“คน”แล้วๆอีกๆ ก็ได้ หรือจะ“ทำกาละ”คือ “ตาย”ชนิดที่ทำ“จิตวิญญาณตนเอง”ให้สลายหายไปจาก“กาล”กลายเป็น“ดินน้ำไฟลม” นิรันดรกันเลย ก็ทำ สำเร็จเป็นได้จริง ดังนั้น ความเป็น“ตน” ที่เกี่ยวกับ“กาล” หากผู้ใดยังไม่รู้ใน“ส่วนอดีต-ส่วนอนาคต-ทั้งส่วนอดีตอนาคต” ก็คือ ผู้ยังมี“ความไม่รู้”เป็น“อวิชชา”อยู่ ยังไม่สิ้น“อาสวะ”ในเรื่องของ“กาล” ก็ต้องเรียนรู้ปฏิบัติจนกระทั่งมี“วิชชา”หรือ “ปัญญา”รู้จักรู้แจ้งรู้จริงรู้จบที่จะทำ“กรรมสำเร็จ”ให้“จบกิจ” เป็นผู้“อยู่ในกาล”หรือจะ“ตาย”จาก“กาล”สลายสูญไปก็ได้ และทำ“กรรม”สำเร็จเสร็จ“จบ”พ้น“อวิชชาสวะ ๘” ด้วยความมี“วิชชา”รู้จักรู้แจ้งรู้จริงใน“ปฏิจจสมุปบาท” ทั้งทำได้ครบ“อนุโลม-ปฏิโลม” นั่นคือ จะต้องเป็นผู้มี“วิชชา”หรือ“ปัญญา”รู้จักรู้แจ้งรู็จริงรู้จบใน“ส่วนอดีต-ส่วนอนาคต-ทั้งส่วนอดีตอนาคต”อันคือ ความเป็น“กาล” คนผู้นี้จึงจะต้องปฏิบัติตนมี“วิชชา ๘”หรือ“ญาณ ๑๖”หรือ“ปัญญา ๘”ให้บริบูรณ์ทั้ง“กิจ”ทั้ง“กาล”ทั้ง“กรรม” เรื่อง“กิจ”อาตมาได้สาธยายมามากแล้วจนกระทั่ง ครบทั้ง“จบกิจ”ในเรื่อง“ดี-ชั่ว”อันเป็นเรื่องของ“สมมุติธรรม” ที่มนุษย์แต่ละหมู่แต่ละกลุ่มต่างยึดถือ“สมมุติ”ไม่ตรงกันทั้ง“ความยึดถือ”ที่ยัง“ไม่เที่ยง”กันอยู่ และทั้ง“เที่ยง”นิรันดร ทั้งความ“จบกิจ”ในเรื่อง“สุข-ทุกข์”อันเป็นเรื่องของ “ปรมัตถธรรม”ที่เป็นเรื่องของ“จิต เจตสิก รูป นิพพาน” อาตมาก็ได้สาธยายมามากแล้ว ทั้งความ“อยู่เหนือกาล”ในเรื่อง“โพธิสัตว์-อรหันต์” ที่มี“กิจ”มี“กรรม” อัน“จบกิจ”ได้จริง ทั้ง“ทำกรรม”ไปกับ“ปฏิจจสมุปบาท”ได้สำเร็จครบ “อนุโลม-ปฏิโลม” ซึ่งสามารถ“มีชาติ”หรือ“ดับชาติ”ได้ตามต้องการกันจริงๆ เพราะมี“ปัญญา”ที่รู้จักรู้แจ้งรู้จริง“ชาติ ๕”จึงสามารถจัดการกับ“ชาติ”ใน“ปฏิจจสมุปบาท” อันเป็น“ชาติ”อยู่ใน “ปัจจุบันชาติ”ที่ไม่ใช่ยังหลงผิปจัดการ“ชาติ”ที่อยู่ใน“ส่วนอดีต”หรือ“ส่วนอนาคต”กันให้สูญเสียเวลาเปล่าๆปลี้ๆ เพรายัง“มี“อวิชชาสวะ ๘”อยู่เกี่ยวกับ“กาล”นี้เอง ••••••• [แล้วขยายความ“อวิชชาสวะ ๘”ต่อให้ฟังกันละเอียดไปตามลำดับ] Categories: ธรรมะพ่อครู, ศาสนาBy Samanasandin5 มกราคม 2024 Author: Samanasandin https://boonniyom.net Post navigationPreviousPrevious post:670103 คนอยู่เหนือกาละต้องชนะปฏิจจสมุปบาท พุทธศาสนาตามภูมิ ราชธานีอโศกNextNext post:670108 ตอบปัญหาผ่ามิจฉาอาชีวะ 5 รายการปรับทุกข์ปลุกธรรม #50 ราชธานีอโศกRelated Posts150401 จะพึ่งอะไรดี-พ่อท่าน-วัดมหาธาตุ28 พฤษภาคม 2024141026 จูฬสุญญตสูตร ตอนที่ 2-พ่อท่าน-วัดธาตุทอง7 พฤษภาคม 2024141026 จูฬสุญญตสูตร ตอนที่ 1-พ่อท่าน-วัดธาตุทอง4 พฤษภาคม 2024670224 พ่อครูเทศน์เวียนธรรมมาฆบูชา งานพุทธาภิเษกฯ ครั้งที่ 48 ราชธานีอโศก24 กุมภาพันธ์ 2024670126 ตอบปัญหาเพื่อละอวิชชา 8 พุทธศาสนาตามภูมิ ราชธานีอโศก26 มกราคม 2024670117 ปฏิจจสมุปบาท ตอน 4 พุทธศาสนาตามภูมิ ราชธานีอโศก17 มกราคม 2024