670117 ปฏิจจสมุปบาท ตอน 4 พุทธศาสนาตามภูมิ ราชธานีอโศก ดาวโหลดเอกสารที่ https://docs.google.com/document/d/1zPESYkGu7tHSan4lNcO6mciTVbtzrRTy/edit?usp=sharing&ouid=101958567431106342434&rtpof=true&sd=true ดาวน์โหลดเสียงที่ https://drive.google.com/file/d/1WHrAzUFXi8txCkFGcQpV2F2iNmqfaqIH/view?usp=sharing และ ดูวิดีโอได้ที่ https://youtu.be/UfT0G9IJTqI และ https://www.facebook.com/100078722032092/videos/900248995156528 มีซับ ความเห็นพ่อครูต่อการตัดสินคดี พธม.ยึดสนามบิน _สู่แดนธรรม… เมื่อวานนี้เป็นวันครูแห่งชาติ ครูขั้นที่ให้ความรู้ไปเลี้ยงชีพได้นั้นก็ขั้นหนึ่ง แต่ครูที่เป็นขั้นโลกุตระ ก็เป็นอีกระดับหนึ่ง มีชาวอินเดียเคยพูดไว้ว่าถ้าหากแก้วสารพัดนึกมีอยู่จริงในโลกนี้ บันดาลข้าวของทุกอย่างได้ดั่งใจผู้ขอ ยกเว้นว่าตัวแก้วเองไม่สามารถสร้างแก้วสารพัดนึกดวงที่ 2 ขึ้นมาได้ ซึ่งผิดจากคุณค่าของความเป็นครูที่บรรลุวิชาได้ ก็สามารถสร้างผู้อื่นให้สืบสานรับวิชาให้พ้นทุกข์ต่อไป ให้ช่วยผู้อื่นอีกต่อไป นี่คือนัยยะความสำคัญของความเป็นครูเมื่อวานนี้ วันนี้เป็นวันพุธที่ 17 มกราคม 2567 ขึ้น 7 ค่ำเดือนยี่ ปีเถาะ ที่บวรราชธานีอโศก ประเทศไทยเราก็มีข่าวดีที่ศาลได้ยกฟ้องพันธมิตรข้อหาก่อการร้าย จากการชุมนุมทางการเมือง และไปบุกสนามบินสุวรรณภูมิ ให้ปรับคนละ 20,000 บาททานฝ่าฝืนพรบฉุกเฉินและบุกรุกสถานที่ราชการ เห็นได้ถึงความเมตตาของศาลไม่เอาก็หาร้ายแรงถึงขั้นเป็นกบฏมาลงโทษ อยากกราบเรียนธรรมพ่อท่านมองในกรณีนี้เป็นเช่นไรบ้างครับ พ่อครูว่า… ก็ดี ตัดสินออกมาอย่างนี้ได้ก็ดี ผู้ที่ทำเพื่อประเทศชาติ เพื่อมวลชนประเทศชาติ และก็เป็นเรื่องของประชาธิปไตยเป็นเรื่องของมวลประชาชนจริงๆ จริงใจด้วย ทำเสร็จแล้วก็ยังได้รับโทษรับไปดีไม่ดีได้รับข้อหาถึงขั้นกบฏ มันจะทำให้ประชาชนหมดกำลังใจ โดยเอาข้อกฎหมายพาซื่อกับคำว่ากฎหมาย ซึ่งมันซับซ้อนอยู่ว่า กฎหมาย อย่าไปทำผิดกฎหมาย ตามที่เป็นกบฏคือไปล้มล้างรัฐบาล คำว่าใครที่ไปล้มล้างรัฐบาล จบอยู่แค่นี้กบฏทุกคน ถ้าไม่มีการอธิบายนอกบริบทนี้ออกไป ถ้าจบความหมายของกฎหมายอยู่ที่บริบทนี้หรือ Concept นี้เท่านั้น เป็นกบฏหมด เพราะฉะนั้นผู้ที่จะเป็นผู้ช่วยเหลือประเทศชาติด้วยพลังงานของประชาธิปไตย หรือพลังงานของมวลประชาชนจริงๆนี่ และถูกต้องด้วย ถ้าจะบอกว่าให้พูดถูกต้องตามนัยยะกฎหมาย ถูกต้องตามสัจจะด้วยไม่ใช่อยู่ในกฎหมาย ถูกต้องตามสัจจะคืออะไร คือรัฐบาลนั้นควรจะต้องถูกประชาชนไล่ออกจริงๆ เพราะรัฐบาลนั้นไม่สมควรจะด้วยการโกงทุจริตหรือไม่มีความสามารถหรืออะไรก็แล้วแต่เถอะ ไม่สมควรที่จะบริหารต่อไป และมวลประชาชนมีความเห็นร่วมกัน เป็นความเห็นร่วมที่พร้อมเพรียงจนกระทั่งถึงขั้นออกไปประท้วงเป็นมวลชน เสร็จแล้ว หัวหน้าผู้ที่จะไปชุมนุมประท้วงก็ดี ก็ต้องมีประชาชน มวลประชาชน และก็มีหัวหน้าเป็นผู้นำกระบวนไปด้วย แล้วก็จะไปเอาผิดที่หัวหน้า แน่นอนไปเอาผิดมวลประชาชนทั้งหมดเข้าคุกไม่ไหวหรอก มันมาก เป็นล้านๆคนไปเอาเข้าคุกไหนล่ะ เขาก็ต้องเอาอยู่ที่หัวหน้า ดูที่ว่าหัวหน้านั้นเป็นตัวการ ว่างั้นเถอะ ถ้าไม่มีหัวหน้าประชาชนก็คงทำเองไม่ได้อะไรอย่างนี้ ก็เป็นเหตุเป็นผลของเขาก็ว่ากันมาแต่ไหนแต่ไร สรุปแล้วก็คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และการตัดสินล่าสุดนี่สวยงาม ถูกตามหลักประชาธิปไตยที่ดีทีเดียว นี่ก็เป็นเรื่องที่ดีที่สู่แดนธรรมได้หยิบขึ้นมาพูดในวันนี้ โอกาสนี้ ทีนี้ก็เข้าสู่รายการสำหรับวันนี้ อาตมาก็ขอเอา SMS มาเป็นตัวตั้ง SMS วันที่ 15 – 16 มกราคม 2567 ปฏิจจสมุปบาทถึงมูลสูตร 10 โศก ปริเทว ทุกข โทมนัส อุปายาสะ _สว่างแสง ขวัญดาว . น้อมกราบนมัสการพ่อครูด้วยความเคารพอย่างสูงสุดค่ะ ลูกเห็นว่าแม่ฟังธรรมะจากพ่อครูในยุคใหม่ๆ ไม่ค่อยเข้าใจ แม่อยากจะฟังธรรมะยุคเก่าๆ ตั้งแต่สมัยปี 30 ที่แม่รู้จักอโศกใหม่ๆ ลูกก็ไปเสนอแม่ว่า “แม่ข่อยสิเว่าปฏิจจสมุปบาทให้แม่ฟัง เป็นของใหม่ที่แม่บ่เคยได้ฟังมาก่อนเอาบ่” แม่ตอบว่า “คั้นสิเว่าให้ฟังแม่กะฟังบ่ทัน คั้นเขียนโตใหญ่ๆ ให้แม่อ่านกะพอได้อยู่ดอก” ลูกจึงเขียนปฏิจจสมุปบาทตัวใหญ่ๆ ทั้ง11 ข้อให้แม่อ่าน ปรากฏว่าแม่ท่องปฏิจจสมุปบาทปากขมุบขมิบทั้งวันเลย แม่ท่อง 4 วัน แม่ก็จำได้ ลูกตั้งใจว่าจะพูดความหมายให้แม่ฟัง ลูกขอกราบเรียนถามพ่อครูว่า ในส่วนปฏิจจสมุปบาท ตอนท้ายที่ว่า โศกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสะ แตกต่างกันอย่างไรคะ น้อมกราบนมัสการพ่อครูสุดเศียรสุดเกล้าค่ะ พ่อครูว่า… ถาม ประเด็นที่ถามก็คือ ถามตัวท้าย กลุ่มสุดท้ายตั้งแต่คำว่า โศกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ ที่นอก 11 ข้อแล้ว เลยคำว่า ชาติ ไปแล้ว ก็คงอยากให้อธิบายคำว่า โศกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ ว่า มันแตกต่างกันอย่างไร ก็พอฟังวันนี้ก็ได้ ก่อนที่จะอธิบายอันนี้ก็คือว่า ถ้าเผื่อว่าปฏิบัติไม่บรรลุ ไม่บรรลุธรรม ไม่เป็นวิชชา เมื่อไม่เป็นวิชชาดับชาติไม่ได้ ตัวสุดท้ายของ ปฏิจจสมุปบาท ดับชาติไม่ได้ก็ย่อมเกิดและก็มี โศกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ อยู่ตลอดไป สรุปก็คือทุกข์ทั้ง โศกะหรือโศกเศร้า ปริเทวะ คือความพิรี้พิไรเนื่องต่อไม่รู้จะขาดจากสูญหายก็ยังมี ทุกขะ สรุปลงไปที่หนักหนาสาหัสก็คือทุกข์ โทมนัสก็เบากว่าทุกข์ อุปายาสะ ก็เหลือเศษเสี้ยวเหลือเล็กเหลือน้อย เหลืออะไรที่มันยังไม่มีจบสิ้น นั่นคือ โศกะ แตกต่างตามอธิบายไปอย่างนี้ สรุปอีกทีหนึ่งก็คือ มวล โศกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ นั้น สรุปแล้วก็คือทุกข์ที่ยังไม่จบ จบไม่ได้ เพราะดับความเป็นชาติไม่ได้ ดับความเกิด ทีนี้ดับความเกิดนี่ ของพระพุทธเจ้านี้ไม่ต้องไปดับความเกิดทั้งหมด สภาวะการเกิดมันจะมี 2 ดับเหตุ มันก็จบ ทีนี้คนที่ไม่รู้จักความจริง คำว่าเหตุ มันจะมีอีกคำคือคำว่าผล ไปเมามัวงมงายจะดับแต่ผล ไม่ดับเหตุกัน เช่น เขาดับทุกข์ ชาวพวกหลับตาปฏิบัติหรือพวกมิจฉาทิฏฐิไปมัวแต่จะดับทุกข์ และก็ไม่เข้าใจว่าทุกข์มาจากเหตุ เหตุที่ 1 เหตุที่ 2 เหตุที่ 3 เหตุที่ 4 เป็นลำดับแต่เขาไม่รู้ ไปจะดับเอาตัวปลายตัวผลคือทุกข์ ไม่ใช่ไปดับเหตุแต่ไปดับตัวผลคือจะต้องดับทุกข์ เข้าใจว่าทุกข์นี่แหละมันเป็นตัวการ ทุกข์นี่แหละเป็นผลก็เลยเผินๆไปดับทุกข์ วิธีการก็เลยไปคิดหาแต่วิธีการที่จะไปดับผลหรือดับทุกข์ _สู่แดนธรรม… พ่อท่านหมายความว่าทุกข์คือทุกขเวทนา เขาต้องการดับที่เวทนาใช่ไหมครับ พ่อครูว่า… ดับตัวทุกข์นั่นแหละ มันเวทนานั่นแหละมันเป็นตัวสภาพแท้ เป็นสัจจะของความรู้สึก ของอารมณ์ ทุกข์สุขมันอยู่ที่เวทนา แต่เขาเข้าใจจิตเจตสิกต่างๆ แบ่งเวทนาออกจากจิต มาเรียนรู้เป็น 2 ไม่ได้ เป็นจิตเจตสิกต่างๆออกไม่ได้ ที่แบ่งจิต เจตสิกออกเป็น 2 ก็คือ ของพระพุทธเจ้าจะต้องเรียนรู้สภาวะ 2 เสมอ เพราะมันแยกออกมา ถ้าดับ 2 โดยดับเหตุ ๆๆๆ จนหมดเหตุถึงสุดท้าย ถึงมูลกา ถึงรากมันหมดสุดเลย ดับเหตุจนสุดราก มันจะหมด เพราะฉะนั้นธรรมะของพระพุทธเจ้าจึงลึกซึ้งไปถึงที่สุด ถึงมูลสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ที่มูลสูตร 10 ถ้าเข้าใจองค์ประกอบถึงราก 10 ตัวนี้ ตั้งแต่ฉันทะเป็น มูลกา ฉันทะเป็นรากทั้งหมด ตัวต้น แล้วมีมนสิการ(การทำใจในใจ) เป็นแดนเกิด เป็นสัมภวะหรือปภวะ เพราะต้องทำใจในใจให้เกิด ใช้ศัพท์ว่า สัมภวะ แปลว่าแดนเกิด ตรงที่มันพาเกิด จุดที่ภพชาติที่เกิด ภว สัมภวะ คือภพชาติ ต้องทำใจในใจถึงจะเกิดตรงนี้ เกิดคืออะไรอีกเเหละ เกิด คือ ตาย คือทำให้กิเลสตายแล้วจิตจะเกิดใหม่ ทำใจคือทำใจให้เป็นใจใหม่ ใจเก่าคือมันกิเลสมาผสม ต้องทำให้กิเลสให้ตาย จิตจึงจะเกิดใหม่เป็น สัมภวะ เพราะฉะนั้นถ้าทำไม่ถูกต้องมันก็ไม่สัมมาทิฏฐิ ถ้าทำถูกต้องจะสำเร็จ พระพุทธเจ้าแจกละเอียดต่อไปอีก มนสิการเป็นสัมภวะ ผัสสะเป็นเหตุเกิด ผัสสะเป็นสมุทัย สมุทัยตัวนี้ไม่ใช่สมุทัยของอริยสัจ 4 สมุทัยตัวนี้เป็นสมุทัยตัวภาคปฏิบัติ มีผัสสะ เมื่อปฏิบัติต้องมีผัสสะจริงๆ จึงจะเกิดเวทนา เพราะฉะนั้นผัสสะจึงเป็นเหตุเกิดที่จะปฏิบัติถูกต้อง ถ้าไม่มีผัสสะเป็นเหตุพาเกิด เกิดอะไร เกิดเวทนา เพราะฉะนั้นตัวต่อมาจึงมีผัสสะเป็นเหตุเกิด มีเวทนาเป็นที่ประชุมลง เพราะฉะนั้นจัดการอยู่ที่เวทนานี้ สโมสรณา แปลว่าที่ประชุมลง ก็คือจัดการกับเวทนาทั้งหมดนี่ให้สำเร็จลง ให้มันรวมลงได้ ให้มันสรุปลงได้ หรือให้มันจบลงได้ ที่เวทนา ให้รวมลงได้ ให้สรุปลงได้จบลงได้ จบลงได้เป็น 1 จาก 2 เป็น 1 ไปเวทนา 2 ทำให้เป็นเวทนา1 ได้อาศัยเวทนา1 แล้วก็ยังสามารถทำให้เวทนา 1 เป็นเวทนา 0 ได้อีก อย่างนี้เป็นต้น นี่คือทำลงไปให้มันหมดจบได้ เพราะฉะนั้นผู้ที่ทำเวทนา สรุปลง ประชุมลงสรุปลง จบลง สำเร็จได้ ก็เป็นจิตสะอาด จิตบริสุทธิ์สะอาดจากกิเลส เมื่อสะอาดจากกิเลสแล้วก็ตกผลึก จากเวทนาลงมาเป็นสมาธิ สมาธิแปลว่าความตั้งมั่นของจิต เพราะฉะนั้นความตั้งมั่นของจิตของพุทธศาสนาไม่ใช่ไปสะกดจิตเอาแต่กิเลสก็ยังเขรอะอยู่เลยแล้วก็สะกดจิตให้หยุดนิ่งแข็ง ก็ไปเรียกว่าสมาธิ นั่นเป็นของเดียรถีย์ ของพระพุทธเจ้านั้นล้างกิเลสหมดอย่างที่อธิบายมาถึงถอนเวทนา เป็นเวทนา ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสสรา เป็นองค์ธรรม 5 ของ เนกขัมสิตอุเบกขาเวทนาทำให้จบถึงขั้นอุเบกขา แล้วสั่งสมเป็นจิตบริสุทธิ์ จิตบริสุทธิ์สั่งสมตกผลึกเป็นอเนญชาๆๆ หรือ จิตที่บริสุทธิ์อย่างนี้คือจิตที่เรียกด้วยศัพท์ตัวหนึ่งว่า สมาหิตะหรือสมาหิโต เป็นสมาธิของพุทธ เป็นตัวเกือบสุดท้ายของ เจโตปริยญาณ 16 สมาธิหรือสมาหิโต อสมาหิโต แล้วก็ วิมุติ อวิมุติ จบท้ายด้วยวิมุตติญาณทัสนะ ส่วนสมาธิเป็นตัวรู้เป็นจิตบริสุทธิ์สะอาดแล้วตรวจสอบด้วยญานกับวิมุติว่าหลุดพ้นหรือไม่หลุดพ้นจริง ก็ใช้ศัพท์ภาษาไทยสภาวะก็คือวิมุตติญาณทัสสนะเป็นภาษาบาลีจริงๆก็คือวิมุตติญาณทัสนะตรวจสอบให้เห็นจริงเห็นจังด้วยปัญญา เมื่อสามารถทำให้จิตเป็นสมาธิ หรือ สมาหิโต จิตที่ตั้งมั่นแบบของพระพุทธเจ้าเพราะหมดกิเลส แล้วก็ตกผลึก ๆๆๆ ผนึกกันแน่นเป็น อเนญชา อเนญชายิ่งขึ้นๆๆ ยิ่งไม่มีทางที่จะเปลี่ยนแปลง ไม่หวั่นไหวยิ่งขึ้นๆ เป็นอเนญชา จิตนี้แหละเป็นประมุข จึงเรียกว่า สมาธิเป็นประมุข เป็นหัวหน้าใหญ่ของจิตได้เลย เพราะฉะนั้นจิตเป็นประมุขนี้คือจิตที่เป็นแก่นแกน เป็นสาระแท้ของศาสนาของพระพุทธเจ้า มีสติเป็นใหญ่ มีปัญญาเป็นยิ่ง ท่านแปลเป็นไทยตามสำนวนท่านอยู่ในพระไตรปิฎกมา ซึ่งสติเป็นอธิปไตย มีปัญญาเป็นอนุตระ พระบาลีเขาเป็นอย่างนั้น แต่ท่านไปแปลเป็นไทยว่า เป็นใหญ่กับเป็นยิ่ง ทีนี้ขยายความมีสติเป็นอธิปไตยคืออำนาจ มีปัญญาเป็นอุตระหรืออยู่เหนือ อุตระคืออยู่เหนือ พลังคืออำนาจ ไม่ใช่อำนาจบาตรใหญ่ พลังคือจะมี สตินี้เป็นตัวตื่น สติเป็นตัวตื่นเต็ม ตื่นทั้งกาย วาจา ใจ ตื่นรอบถ้วน ไม่ใช่ไปตื่นอยู่แต่ข้างในจิตในภวังค์ ตื่นทั้งนอกทั้งในพร้อมหมด ร้อย สติมาจากรากศัพท์คือ สติคือร้อย ตื่นเต็ม ตื่นเพราะเป็นจิตที่ยิ่ง เป็นตัวธาตุรู้ จิตที่เป็นตัวธาตุรู้ที่รู้ยิ่ง ใส ยิ่งสะอาด ยิ่งสว่าง ยิ่งรู้รอบ รู้เร็ว รู้ครบ รู้บริบูรณ์ รู้ได้อย่างสดชื่นเบิกบานด้วย และจิตเช่นนี้แหละ มีลักษณะอยู่เหนือโลกีย์ อยู่เหนือโลกอยู่เหนือโลกีย์ขึ้นไปเรื่อยๆ โลกหยาบ โลกกลาง โลกละเอียด โลกที่ มนุษย์หรือคนทั้งหลายแหล่เขายังติดยังยึดก็หลุดพ้นไปได้ละเอียด ตั้งแต่ กามภพ รูปภพ อรูปภพ ก็บริบูรณ์ บริสุทธิ์ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งอยู่เหนือไม่ใช่ไปข่ม แต่มีปัญญาเป็นอุตระ ไม่ได้ไปเบ่งไปข่ม แต่มีน้ำใจเกื้อกูล เอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือ มีเมตตา ใช้สำนวนใช้ภาษาเท่านั้นว่า อยู่เหนือ อยู่เหนือเป็นผู้ที่คุ้มครองดูแล ช่วยเหลือ เกื้อกูล เอื้อเฟื้อ ไม่ใช่อยู่เหนืออย่างไปเบ่ง ไปข่ม ไปชิงอำนาจ เพราะฉะนั้นคุณสมบัติหรือคุณลักษณะที่ยิ่งใหญ่ ของความอยู่เหนือนี่มันจึงเป็นคุณลักษณะที่สุดวิเศษ มีปัญญาเป็นอุตระ มีวิมุติเป็นแก่น แก่นคือสาระแท้ๆของเนื้อแท้ของศาสนา ที่เรียกว่า แก่น แปลเป็นไทยว่าแก่น บาลีว่า สาระ เพราะฉะนั้นผู้ที่ได้อันนี้แล้วได้แก่นของศาสนาพระพุทธเจ้า แก่นนี้คือวิมุติ ได้แล้ว คนนี้ก็เป็นอมตะบุคคล คือเป็นผู้ที่จะทำเกิดทำตายของตัวเองได้ จะเกิดจะตายของตัวเองได้ และตายได้เกิดได้ จะเกิดจะตายแบบเกิดอยู่ไม่ยอมตายไปทีเดียว หรือจะตายไม่เกิดเลย ตายไม่เกิดเลยหมายความว่า ตายอย่างแยกธาตุจิตวิญญาณเป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม ไปเลย แยกธาตุจิต เป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม ไปเรียบร้อย หมด จบ อวสานเลย จิตวิญญาณหายไปจากกาละ หายไปจากความเป็นกาละ กาละก็คือ ไอ้ที่มันจะมีการเคลื่อนที่อยู่ในมหาจักรวาลนี้ อยู่ในดวงดาวทั้งหลายแหล่นี้ มีอะไรอยู่ในอวกาศนี้ เคลื่อนอยู่ หายไปจากอันนี้เลย จิตวิญญาณนี่แหละหรืออัตภาพของผู้นี้ หายตัวไปเลย ตัวเองก็สลายตัวเองเป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม จิตวิญญาณนั้นก็สิ้นสุด ถ้าจบอันนี้แล้วจะฟื้นอีกฟื้นไม่ได้ จะฟื้นกลับมาอีกไม่ได้ อันนี้เป็นจบสุดแห่งที่สุดของศาสนาพุทธ จึงเรียกว่า ปรินิพพานเป็นปริโยสาน จึงเรียกว่าปรินิพพานตายอย่างรอบถ้วน เป็นอวสาน อวสานคือจบจริงๆ นี่คือ รากหรือมูลกา 10 มูลสูตร 10 ของพระพุทธเจ้า อยู่ในพระไตรปิฎกเล่ม 24 ข้อ 58 อาตมาเห็นว่า โอ้โห.. อันนี้เป็นหลักฐาน หลักฐานของความรู้พระพุทธเจ้า ไม่มีสุดยอดอะไรที่จะสุดยอดกว่านี้อีกแล้ว เรียกว่าพูดกันถึงรากเลย พูดกันถึง root แห่ง root เลย นี่เป็นสัจจะ ถามมาหน่อยเดียวอาตมาอธิบายไปซะยาวเลย ปฏิจจสมุปบาทโยงไปถึงมูลสูตร ปฏิจจสมุปบาท เดี๋ยวจะอธิบายต่อ อาตมาเขียนไว้ดีนะอันนี้ ปฏิจจสมุปบาทอันนี้ได้ไม่ถึง100 หน้าหรอก คงจะพิมพ์เป็นเล่มน้อยๆได้ อาตมายังรู้สึกชมเชยตัวเองที่จริงอาตมาจบแล้วนะ ปฏิจจสมุปบาทที่เขียนเจตนาจะจบ จริงๆแล้วแค่ 52 หน้าเอง โอ้โห ของท่านพุทธทาสเขียนปฏิจจสมุปบาทเล่มใหญ่ แต่อาตมาเขียน 52 หน้า ซึ่งสรุปไว้อย่างดี จะเขียนให้ได้เป็นเล่มก็ได้ แต่ว่าอันอื่นๆดีกว่า ขยายความไป ไว้ค่อยติดตามอ่าน งานการที่ทำไว้ผู้ที่เห็นคุณค่าก็คงเห็น ผู้ที่ไม่เห็นคุณค่าก็ทิ้งไปก็ไม่มีปัญหาอะไร อาตมามีหน้าที่ทำงานทิ้งไว้ในโลก ใครเห็นคุณค่าก็เก็บรักษา อาตมาไม่ได้แต่มีการกำหนดหมายอะไร ความเชื่อว่าอรหันต์ตายแล้วสูญ ทำให้ศาสนาพุทธขาดด้วน _นพพล จรัสวิกรัยกุล . ผู้ที่ไม่เชื่อว่าพระอรหันต์ตายแล้วเกิดอีกได้ หรือเชื่อว่าพระอรหันต์ตายแล้วไม่เกิดดับสูญ ผู้นั้นมีอุจเฉททิฐิ เป็นผู้ทำให้ศาสนาขาดด้วน เป็นผู้ทำลายอายุศาสนาที่แท้จริง เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ เพราะผู้นับถือศาสนาพุทธแทบทั้งหมด หรือทั้งหมดเชื่อเช่นนี้ เขาจึงทำร้ายศาสนาได้รับวิบากบาป เป็นผลร้ายต่อศาสนาพุทธอยู่ทุกลมหายใจอยู่ทุกวันนี้ ซึ่งจะเป็นตรงกันข้ามกับโพธิสัตว์อย่างพ่อท่าน ที่พยายามยืดอายุศาสนา ทะนุบำรุงศาสนา ต้องทำอย่างไรจริงแล้วที่จะตามเรื่องแบบนี้ครับ กราบนมัสการพ่อท่านด้วยความเคารพอย่างสูงครับ พ่อครูว่า…ประโยคคำถามนี้อาตมามึนเลย ต้องทำอย่างไรจริงแล้วที่จะตามเรื่องแบบนี้ มี 3 ประเด็นว่า ต้องทำอย่างไร จริงแล้ว ที่จะตามเรื่องแบบนี้ ต้องทำอย่างไรจริง แล้วที่จะตามเรื่องแบบนี้ _สู่แดนธรรม… ผมอ่านว่า ที่จริงแล้วจะตามเรื่องแบบนี้อย่างไร พ่อครูว่า… เออ น่าจะเข้าใจได้ง่าย ก็ตอบตรงนี้ก่อน ก็ตามอาตมาก็แล้วกัน ถ้าคุณไม่ตามอาตมา คุณไปฟังตามเถรสมาคมหรือตามกระแสหลักเลยนะ คุณไม่ยากหรอก อาตมาว่าไม่ยาก แต่ตามอาตมาจะยากเพราะอาตมามีโลกุตรธรรมมาอธิบาย จะยาก นี่ก็ตอบประเด็นนี้ก่อน ที่ว่า ผู้ที่ไม่เชื่อพระอรหันต์ตายแล้วเกิดอีกได้ หรือเชื่อว่าพระอรหันต์ตายแล้วไม่เกิดดับสูญ นี่ประเด็นหลักเลย ต้องคม แม่น ชัด นะ ฟังดีๆ ผู้ที่ไม่เชื่อ ไม่เชื่ออะไร ไม่เชื่อว่าพระอรหันต์ผู้เป็นอรหันต์แล้วของศาสนาพุทธ ตายแล้วเกิดอีกได้หรือตายแล้วไม่ เกิด สูญเป็นดิน น้ำ ไฟ ลมได้ ผู้ที่บรรลุนิยามคำว่า อรหันต์ ต้องมีความสามารถแบบนี้พระอรหันต์มีความสามารถตายแล้วสูญได้ หรือไม่สูญจะเกิดอีกได้จึงชื่อว่าอมตะบุคคล อยู่ในมูลสูตร ผู้ที่ผ่านวิมุตติ กายวิมุติ แล้วเป็นอรหันต์เป็นอมตะบุคคลจะเกิดอีกก็ได้จะตายก็ได้ อันนี้แหละเหตุเถรสมาคม ศาสนาพุทธแทบทั้งหมดหรือทั้งหมดเชื่อว่า พระอรหันต์ตายแล้วสูญหมด ไม่เชื่อว่า ตามประเด็นที่คุณนพพลพูดมา ไม่เชื่อว่าพระอรหันต์ตายแล้วเกิดอีกได้ หรือเชื่อว่าพระอรหันต์ตายแล้วดับสูญ ผู้นั้นมีอุจเฉททิฏฐิ คุณนพพลเข้าใจว่าผู้อุจเฉททิฐิคือผู้ที่ เชื่อต้องใช้คำว่าเชื่อ อุจเฉททิฐิคือเชื่อว่าอรหันต์ตายแล้วต้องสูญ นี่คือผู้ที่อุจเฉททิฏฐิ สถานเดียว แต่คุณนพพลพูดว่าผู้ที่ไม่เชื่อว่าพระอรหันต์ตายแล้วเกิดอีกได้ ก็หมายความว่าไม่เชื่อว่าพระอรหันต์นี้จะตายเกิดอีกได้หรือเชื่อว่าพระอรหันต์ตายแล้วไม่เกิดดับสูญ อันนี้ชัดเจนขึ้นมาแล้ว คุณนพพลเข้าใจว่าพระอรหันต์ ตายแล้วต้องสูญ ทั้ง 2 ประโยค ประโยคแรกบอกว่า ไม่เชื่อว่าพระอรหันต์ตายแล้วเกิดอีกได้ก็ต้องสูญ หรือเชื่อว่าพระอรหันต์ตายแล้วไม่เกิดดับสูญ ต้องไม่เกิดอีก อรหันต์ตายแล้วต้องไม่เกิด ต้องดับสูญ ผู้นี้เป็นผู้อุจเฉททิฏฐิ เป็นผู้ทำให้ศาสนาขาดด้วน อันนี้อาตมาก็อธิบาย ทำลายอายุศาสนาที่แท้จริง เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ เพราะผู้นับถือศาสนาพุทธแทบทั้งหมดหรือทั้งหมด คุณนพพลพูดเลย เชื่อเช่นนี้ ใช่ ตามที่คุณนพพลพูดถูกต้อง ตามที่คุณนพพลเข้าใจ เชื่อกันเช่นนี้เป็นส่วนใหญ่หรือแทบทั้งหมด เขาจึงทำร้ายศาสนา ชัดเจนว่าคุณนพพลก็เชื่อว่าขณะนี้ส่วนใหญ่หรือแทบทั้งหมด กำลังทำร้ายศาสนาอยู่ ได้รับวิบากบาปทุกลมหายใจอยู่ทุกวันนี้ ทีนี้ลงท้าย ซึ่งจะเป็นตรงกันข้ามกับโพธิสัตว์อย่างพ่อท่าน ถูกต้องไหม ก็ตรงกันข้ามกับที่อาตมาทำที่พยายามยืดอายุศาสนา ทำนุบำรุงศาสนา ต้องทำอย่างไรถึงจะตามเรื่องแบบนี้ ก็ตอบไปแล้ว ต้องทำอย่างอาตมา อาตมาก็ต้องทำด้วยความจริงใจ และก็ทำมาตลอดเวลาและก็ต้องทำต่อไปอีกตามนี้แหละ อาตมาก็ไม่ได้เห็นว่าอาตมานี้ผิดพลาด ขออภัยเถอะพูดความจริง ไม่ได้เห็นว่า มันผิดมันพลาดมันเพี้ยน มันอะไร ไม่มี มีแต่ถูกต้อง ตรงยิ่งขึ้น _สู่แดนธรรม… ถ้าเป็นผมว่าจะมองอย่างไร เขาถามว่าอย่างไรจึงจะตามเรื่องแบบนี้ครับ คือตามว่าพ่อท่านสอนถูกไหม ว่าพระอรหันต์ตายแล้วตัวเองกลับมาเกิดได้ ผมนี่เป็นตัวคำตอบว่า คำแรกที่ผมได้ยินพ่อท่านพูดเมื่อหลายสิบปีมาแล้ว พูดแบบนี้แหละ ผมไม่สงสัยเลยครับ เพราะว่าผมเอาแค่หลักของตรรกะก็ได้ มาตรวจจับว่าพ่อท่านนี่ ถ้าไม่มีภูมิเก่าเรื่องธรรมะของตัวเองในความเป็นอรหันต์มาตั้งแต่ชาติที่แล้ว พ่อท่านจะเอามาจากไหน ชาตินี้ก็บอกว่าตัวเองไม่มีครูบาอาจารย์ ไปพิสูจน์ดูได้เลยว่าอาตมาไปศึกษามาจากใครบ้าง พระอาจารย์สอนเช่นไรอาตมาก็ต้องบรรลุตามเขาแล้ว แต่นี่พ่อท่านก็สอนอธิบายตรงกันข้ามกับเขาอีก แล้วความรู้ สิ่งที่เป็นหลักฐานยืนยันพาคนหลุดพ้นได้ มาเป็นคนจนอันมหัศจรรย์อย่างนี้ก็เป็นหลักฐานได้อย่างหนึ่งว่า มีพระอรหันต์ ถ้าไม่ใช่พระอรหันต์ทำแบบนี้ได้ไหมล่ะ พ่อครูว่า… เหมือนกับอาตมายืนยันว่าอาตมาเป็น สยังอภิญญา มาเกิด มีความรู้ของโลกุตรธรรมมาแล้ว เป็นพระอรหันต์มาแล้ว ยืนยันว่าเป็นอรหันต์ระดับ 4 ด้วย เป็นนิยตโพธิสัตว์ อะไรอย่างนี้เป็นต้น อธิบายตอนหลังๆนี้ขยายความโพธิสัตว์กี่ระดับ อรหันต์ กี่ระดับ ก็ชัดเจนขึ้นมาจนกระทั่งป่านนี้แล้ว อาตมาก็ไม่ได้เอามาจากของใครเลย เพราะฉะนั้นอันนี้มันก็ต้องเป็นของอาตมา 100% ที่อาตมามีมาและอาตมาก็ไม่ได้หมายความว่าอาตมาเป็นของอาตมาเจ้าของศาสนานะ อาตมาก็เอามาจากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆเป็นโพธิสัตว์ได้รับความรู้นี้มาตามลำดับ ยังไม่ถ้วนเต็มเป็นพระพุทธเจ้าด้วย ก็ไม่ได้ปิดบัง ไม่ได้อำพราง ไม่ได้พูดคลุมๆเครือๆอะไร พูดชัดอย่างกับอะไรดี _สู่แดนธรรม… พยายามถ่อมตนอยู่ว่า เป็นแค่ สยังอภิญญา พ่อครูว่า… เราจะมีภูมิถึงขั้นเป็นมหาโพธิสัตว์แค่ไหนแล้วเราก็ไม่ได้ไปอวดดิบอวดดีอะไร แล้วแต่ใครจะรู้ ใครจะเห็น ใครจะเข้าใจว่า มันเพิ่มไปบ้างไหม ก็ไม่เป็นไร อาตมาไม่มีปัญหาอะไรในการถ่อมตน เพราะอาตมาเห็นว่าการถ่อมตนไม่เสียหาย แต่การอวดดีแล้วไม่จริงของตน มันไม่ใช่เสียหายนะ มันชิบหาย มันแย่เลย อาตมาไม่คิดจะไปทำหรอกเพราะมันไม่เป็นประโยชน์ มันมีแต่โทษ เพราะฉะนั้นการถ่อมตนนี้ไม่เสียหาย แต่การอวดตนที่ไม่เป็นจริงนั้นมันเป็นโทษเป็นภัยหนักหนาสาหัสด้วย เพราะฉะนั้นอาตมาไม่ทำหรอก สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ _สู่แดนธรรม… มีข้อมูลส่งมาจากท่าน ปัจฉา สมณะเดินดิน ยืนยันว่า พระอรหันต์ที่ใครไปกล่าวหาว่า พระอรหันต์ตายแล้วสูญ พระพุทธเจ้าก็ตรัสไว้ว่าเป็นแนวคิดที่มิจฉาทิฏฐิ เป็นปาปกังทิฏฐิกตัง ยมกะภิกษุเกิดทิฏฐิอันชั่วช้า (ปาปกัง ทิฏฐิกตัง) ว่า พระขีณาสพเมื่อกายแตกตายไปแล้ว (กายัสสะ เภทา ปรัม มรณา) ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก ภายหลังพระสารีบุตรช่วยถอนทิฏฐิอันชั่วช้านั้นของยมกภิกษุ โดยแสดงให้เห็นถึง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ดับไป ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้แห่งขันธ์นั้น ฯลฯ (คือ กิเลสอุปาทานในขันธ์เท่านั้นที่ตายดับสูญไป หรือกิเลสตายขาดสนิท กิเลสเท่านั้น ที่ไม่เกิดขึ้นมาอีกเลย อย่าไปเหมาว่าร่างกายจะไม่เกิดอีก) (พตปฎ. เล่ม ๑๗ ข้อ ๑๙๘-๒๐๔) พ่อครูว่า… อันนี้ก็พูดมาไม่ใช่น้อยในเรื่องอุจเฉททิฏฐิ โดยเฉพาะเข้าใจเรื่องอรหันต์มันไม่ใช่ไปเดา ทางบ้านก็ได้อ่านกัน อินเสิร์ทพระไตรปิฎกมายืนยัน สิ่งเหล่านี้อาตมาทำงานมา มีพระไตรปิฎกอ้างอิงยืนยัน อาตมาว่าอาตมาหลังพิงพระไตรปิฎกนี้อยู่รอดมา หลังพิงพระไตรปิฎกด้วยเลย ถ้าเผื่อว่าศาสนาพุทธในเมืองไทยกระแสหลักทั้งหมดไม่เอาพระไตรปิฎกด้วยนี่ อาตมาหัวคะมำเลย ล้มคว่ำหัวคะมำเลย แต่โชคยังดี เมืองไทยก็ยังยอมรับนับถือพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐนี้ ไม่เอาฉบับอีกหลายๆฉบับอื่นๆมาให้มันยุ่งยากวุ่นวาย ซึ่งอาตมาว่าฉบับอื่นๆถ้าเอามาอีกมันก็ไม่แล้ว เพราะว่าฉบับนี้เป็นฉบับที่เข้มข้นแล้วที่พระมหากัสสปะเป็นผู้ที่ยอดสรุปแล้ว เอามาเหลือหัวๆแก่นๆเนื้อๆแล้ว อาตมาว่าอาตมาไม่กลัว ที่จะเป็นมหายาน ที่จะอธิบายออกไปเป็นอาจาริยวาท บานตะโก้ออกไปอีก อาตมาว่าอาตมาไม่กังวล ไม่มีปัญหาอะไรมาก เอ้า ผ่านเรื่องนี้ไปก่อน พ่อครูทำใจอย่างไรกับอาการเจ็บป่วย _ป้ารัตน์ หนึ่งในธรรม . กราบนม้สการพ่อท่านด้วยความเคารพอย่างสูง ขอเรียนพ่อครูว่า เวลาพ่อท่านป่วย พ่อท่านมีวิธีป่วย พ่อได้ทำใจอย่างไร ดูแล้วไม่มีอาการ ที่ป่วยเเล้วยังแสดงธรรมปกติ เหมือนไม่มีปวดหรือป่วยเลยกราบนมัสการค่ะ พ่อครูว่า… โรคป่วยของอาตมานี่มันไม่เหมือนโรคป่วยของคนอื่นเขา คือมันไม่ได้ปวดหัว มันไม่ได้ตัวร้อนหรือว่าเป็นอะไรที่เป็นแบบที่มันมีอะไรมาทำให้ โดยเฉพาะไปทำให้สมองเราทำงานไม่ได้ มันต้องพักสมองนี่มันต้องพัก อาตมาป่วยๆที่คอมีเสลด แล้วอาตมาก็ยังพูดหลายทีแล้วว่า โชคดีที่อาตมาไม่เจ็บ คอไม่เจ็บ ไอแรงๆไอมากๆ ไอสเลดเยอะอย่างไรก็มันไม่เจ็บ บางทีไอมากๆหน่อยก็กระเทือนทรวงอก ก็อาจจะเจ็บร้าวๆบ้าง เคยบ้างแต่ไม่มาก เพราะฉะนั้นสรุปแล้วก็คือว่าไอ้โรคที่เป็นนี้มันไม่เกี่ยวกับสมอง เพราะฉะนั้นอาตมาทำงานนี้ใช้สมองและอาตมาพูดมาบรรยาย มันก็ไม่มีปัญหาอะไร มันไม่เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ แต่มันก็เป็นอาการที่ก็อย่างที่ให้เห็นนี่แหละ แค่ขัดขวางนิดหน่อย อาตมาปล่อยไปไม่ไหวก็ขากเสลดออกมาแค่นี้ ทนเอาก็แล้วกัน มันอาจจะไม่เรียบร้อยไม่สวยไม่งามอะไร คนทั่วไปสมองจะไปอยู่ที่ป่วยด้วย แต่อาตมาไม่เกี่ยวหรอก ป่วยก็คือป่วย มันจะเป็นการทับถมตน พระพุทธเจ้าก็บอกว่ามันเป็นการทำความทุกข์ทับถมตนเอง ป่วยมันก็ทุกข์อยู่แล้วและเอาจิตไปป่วยอยู่กับมันอีกมันก็ทุกข์ซ้อนเข้าไปอีก ป่วยก็ป่วยก็รักษาสิอาการป่วย จิตใจเราก็อย่าไปเกาะอยู่ที่ป่วย ถ้าไปเกาะอยู่ที่ป่วยมัน ก็ทุกข์ทับถมตน ทุกข์ทับถมทุกข์ มันไม่ดี ก็พยายามแยกให้ถูกแยกให้ได้ _ช่อทิพ หนูทอง . ลูกผ่าตัดต้อกระจก เจ็บ กลัว แต่ใจไม่เคยขอให้พ่อครูช่วย เพราะพ่อครูอยู่บ้านราช ลูกผ่าที่กทม. สิ่งที่ทำได้คือ นึกถึงคำสอนพ่อครูเรื่องผัสสะทำให้เกิดเวทนา ต้องดับสุขทุกข์ ทำให้ใจคลายลง ผ่าตัดได้โดยปกติ ตาอักเสบ แต่หูปกติ จึงยังตามฟังพ่อครูตามปกติค่ะ พ่อครูว่า… ดีๆ เห็นไหม ok ไม่มีอะไร การใช้ตรรกะหลอกตัวเอง มันเสียเวลาเปล่า _นพดล ทองโคตร . กำหนดรู้ไว้ว่า..ฉันไม่มีหน่วยชีวิต เกิดมาในโลกที่งดงามใบนี้.ฉันไม่ได้ความสำคัญใดๆในทุกๆที่ที่ฉันไป สบายใจดีขอรับพ่อครู พ่อครูว่า… ไม่มีหน่วยชีวิตก็เป็นอุตุสิ เป็นดิน น้ำ ไฟ ลม ไปสิ ใช้สัญญากำหนด เออเนาะ ถ้าไม่มีหน่วยชีวิตคุณก็ไม่มีเซลล์ คุณก็กลายเป็นพลังงาน หรือเป็นสสารไป แต่ที่จริงคุณเป็นไหมล่ะ คุณเป็นชีวิตไหมล่ะ คุณอย่าโกหกตัวเอง ถ้าคุณโกหกตัวเองคุณเป็นชีวิตอยู่ คุณมีชีวิต มีความรู้สึกมีเวทนา แค่พืชคุณยังไม่ได้เป็นเลย พืชมีชีวิตไม่มีเวทนา แต่นี้คุณมีเวทนาด้วย คุณรู้สึกสบายใจด้วย ที่คุณบอกมาเองสบายใจขอรับกระผม คุณอย่าโกหกตัวเองด้วยการใช้พยัญชนะเหล่านี้มาตีกินแล้วก็หลอกตัวเอง เสียเวลา เอาล่ะเอาแค่นี้ก็พอ ไม่งั้นต้องใช้ตรรกะพวกนี้เยอะ แล้วก็สับสนเอาสบายๆเข้าว่า มันก็เป็นอุปทานที่คุณหลอกตัวเองอยู่ตลอดกาล ยึดติดสร้างนิรมานกายหลอกตัวเองไป ขยายความไว้แค่นี้ก่อน นิรมานกายหลอกตัวเองสร้างภพสร้างชาติอะไรหลอกตัวเอง ต้องศึกษาดีๆ ตรรกะมีเยอะพวกตรรกะนี้พระพุทธเจ้าก็สอนพวกนี้ได้แต่สร้าง เป็นนักค้นคิดได้แต่ค้นและคิดและไม่ได้ยึดถือเอาเยอะ อะไรก็ได้นี่ไม่ยากพวกนักค้นคิด มันง่าย _มดแดง สวนสะแกกรัง . หากสมาธิหลับตายังอิทธิฤทธิ์มีปาฏิหาริย์ได้จริงฯอาการพระครูบาจะไม่ผันผวน ธาตุพระบุญชุ่มจะไม่ปรวนแปรทุพภิกขโรคาพยาธิภัยคราออกจากถ้ำฯ แล้วในหลวงทรงโปรดเกล้ารับเป็นคนไข้รักษาไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ฯ จนพระครูบาหายอาพาธคืนปกติสุขสงบสาธุ พ่อครูว่า… คุณมดแดงก็ท้วงว่า ถ้าอิทธิปาฏิหาริย์มีจริง ไม่เจ็บไม่ป่วยหรอก แต่นี่ครูบาไม่มีอิทธิฤทธิ์จริง จึงเจ็บ จึงป่วย มีทุพภิกขโรคาพยาธิภัย ออกจากถ้ำมาก็ยังป่วยอะไรอย่างนี้ ศึกษาไปดีๆอาตมาก็ขอบอกอีกทีหนึ่งว่า อย่างครูบา อาตมาพูดไปแล้ว ลัทธิที่ปฏิบัติอย่างนั้นแหละ มันไม่ใช่ของพุทธ มันเป็นของเดียรถีย์เป็นลูกศิษย์ของ อาฬารดาบส อุทกดาบส อาตมาก็ขอพูดตรงๆชัดๆไว้อย่างนี้ศึกษาดีๆด้วยความสงสารเห็นใจ ไม่ได้พูดข่มพูดดูถูกดูแคลนอะไร ไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น แต่อาตมาไม่มีสิทธิ์ เพราะว่าเรื่องนี้มันไม่ใช่เรื่องเล็ก ยิ่งคุณพาดพิงไปถึงเบื้องบน อาตมาก็ยิ่งไม่กล้าจะพูดอะไรมากไปกว่านี้ _สมณะคิดถูก . ศึกษาความไม่เห็นด้วยจนเห็นได้ คือคนฉลาดแท้ คนฉลาดเทียมคือคนเชื่อเพียงได้ยินต่อๆกันมา เช่น เชื่อว่าอรหันต์ตายแล้วสูญเท่านั้น พ่อครูว่า…สรุปง่ายๆของสมณะคิดถูก ความสุข ความทุกข์ เกิดพร้อมกันไม่ได้ _นพพล จรัสวิกรัยกุล . ในความคิดของผมนะครับ สุขกับทุกข์สามารถเกิดพร้อมกันได้ ในจิตไม่มีอะไรที่ตายตัว มันผสมมั่วตั้วกันได้ เหมือนคนดูหนังผีมีความสุขพร้อมความทุกข์ไปด้วยกัน สุขกับความตื่นเต้นกับเรื่องราวหรือแม้สุขที่จะได้เห็นตัวผี แต่พร้อมกันก็ปะปนด้วยความทุกข์จากความกลัวผีความสงบสยองน่ารังเกียจสะอึกสะอื้นความฝันเสียครับ ผิดพลาดพลั้งไปขออภัยด้วยครับพ่อท่าน พ่อครูว่า…ก็ขอบอกคุณนิดๆ ไม่ต้องพูดมากว่า คุณยังอ่านสภาวะธรรมต่างๆไม่ได้ เอาสุขกับทุกข์ไปเห็นด้วยกันได้ มันก็ขัดแย้งแม้แต่พระพุทธเจ้าท่านตรัสท่านสอนเอาไว้ก็บอกว่า สุขก็อย่างหนึ่งทุกข์ก็อย่างหนึ่ง ไม่สุขไม่ทุกข์ก็อีกอย่างหนึ่ง คนละกาละ คนละวาระ ไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกัน มันเร็วเกินจนกระทั่งคุณแยกไม่ออกเท่านั้นเอง ไม่มีอะไร คุณยังแยกไม่ทัน มันก็เลยมั่วซั่ว คุณนั่นแหละมั่วซั่วเอง มันปนกันเอง ศึกษาดีๆ กำหนดให้แม่นๆ ปฏิบัติเรียนรู้กิเลสจากการกิน ดีที่สุด ได้ผลที่สุด จบง่ายสุด _ขวัญไพรเย็น ขวัญชวนไพร. วันนี้ลูกมีประเด็นจะเล่าว่าการปฏิบัติเช่นนี้ ถูกหรือไม่ค่ะ เมื่อปี55-59ได้สู้กับกิเลสเรื่องอาหาร ทั้งลดละเนื้อสัตว์และกินมื้อเดียว ทั้งลดละคนคู่ ทำพร้อมกัน น้ำตาไหลแทบเป็นสายเลือดเพราะมารมารุม ก็ได้กำลังใจจากพ่อครูและอาจารย์หมอเขียว จนสามารถทานข้าวมื้อเดียวได้และเลิกเรื่องคนคู่ได้ ฟ้าหลังฝนสว่างสดใส ความผาสุกในจิต เป็นได้จริงๆค่ะ จากนั้นเมื่ออาจารย์พาปฏิบัติทานอาหารทีละชนิด ย่ำยีมาร เมื่อเดือนกพ.60-ปัจจุบัน แรกๆทำได้อย่างตั้งมั่นเพราะมีกระบวนการอปริหานิยธรรมด้วย กิเลสข้าพเจ้าร้องโหยหวน มันบอกว่าอะไรว่ะกินจืด ก็กินแล้ว ยังมากินตามลำดับอีก มันตายๆแน่ๆมันโอดครวญ ช่วงแรกๆมันยอมพลังหมู่เยอะ หลังๆมันรุมข้าพเจ้า มันบอกกินทีละอย่างไม่ปรุงเกลือกินใส่น้ำมันขอตายมันร้อง จากนั้นมันบอกว่ามันขอกินอะไรก็ได้ มันไม่เลือก ข้าพเจ้าเห็นมันยั้วเยี๊ยะไปหมด มันมาเป็นกองทัพ ข้าพเจ้าคิดว่ามันเหลือน้อย ที่ไหนได้มันกบดาน พอเพิ่มศีลให้ลำบากขึ้น มันโผล่หน้าเรียงเป็นตับทั้งกามทั้งอัตตา ข้าพเจ้าก็ยอมมัน แต่ก็ตามติดมัน คือรู้กำลังของมัน ถึงแม้จะแพ้ ข้าพเจ้าก็สู้ ทุกลีลาเหมือนกัน (พ่อครูไอตัดออกด้วย) _สู่แดนธรรม… อาจจะไปทำเปิดศึกหลายด้าน _ข้าพเจ้าพบว่า การกินอาหารเช่นนี้ อัตตาบางตัวสลายไปเช่น การเพ่งโทษ การอวดดี แม้เวลาเห็นอะไร เช่น เห็นคนไปดูหมอดูดวง ข้าพเจ้ากลับเข้าใจ และมองเห็นเงาตัวเองในนั้นว่า ข้าพเจ้าได้เป็นแบบอย่างชั่วนั้นมา ข้าพเจ้าได้พบพ่อครูได้ฟังธรรม จึงได้มีวันนี้ จากนี้ไปข้าพเจ้าจะเป็นแบบอย่างที่ดีด้วยการทำที่ตน คำถามข้าพเจ้าคือ ..พอทานอาหารย่ำยีมาร กินไม่ปรุง กินตามสภาพร่างกายต้องการจริงๆ ทำให้มารโผล่มาเป็นขบวน แต่ข้าพเจ้าก็สู้ มียอมไปด้วยสู้ไปด้วย ทุกครั้งที่ยอม ก็จะประเมินกำลังมัน เช่น ความอร่อยมันไม่ใช่แล้ว มันดายๆ แม้ไปเสพ ร่างมันไม่เอา แต่ก็เห็นการพัฒนาของจิตที่เปลี่ยนไป คือ จิตไม่มีความกลัว ความกังวล แม้จะแพ้ก็ตาม วางแผนสู้ต่อ กำลังมันอ่อนลงๆ แต่ตัวที่เสพในอาหารมันแตกตัว..บางตัว ใช้เวลาเป็นอาทิตย์กว่าจะตามไปเก็บ ทุกวันนี้ผาสุกกับการสู้มาร เรียนรู้เหลี่ยมมุมมันค่ะ ลูกปฏิบัติเช่นนี้ ขอความเมตตาคำแนะนำค่ะ— พ่อครูว่า… ก็สู้ไป การปฏิบัติธรรมกับการกินนี่แหละ พระพุทธเจ้าท่านตรัสเป็นเยี่ยม โภชเนมัตตัญญุตา ปฏิบัติธรรมะกับการกิน มันรวมลงในนี้แล้วมันก็จบในนี้ คุณบรรลุอรหันต์แล้วคุณก็ยังต้องกิน คุณบรรลุเป็นพระพุทธเจ้าแล้วคุณก็ยังต้องกินเพราะมันหนีไม่พ้นหรอก หนีการกินไม่ได้ อันอื่นยังหลุดห่างมาได้เลยนะ แต่กินนี่ไปกับเราจนตาย เรื่องกินนี่ และการกินก็มี รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส(โผฏฐัพพะ) มันมีให้เราศึกษาได้ครบพร้อม เพราะฉะนั้นการปฏิบัติธรรมะย่นย่อเข้ามาตรงที่ ปฏิบัติเรียนรู้กิเลสจากการกินนี้แหละ ดีที่สุด ได้ผลที่สุด แล้วจะจบได้ง่ายที่สุด _สู่แดนธรรม… มีคนเคยโจมตีพ่อท่าน พ่อครูว่า… พันตำรวจโทอนันต์ เสนาขันธ์ บอกว่าปฏิบัติธรรมะอะไรพูดแต่เรื่องการกินมาหลงอยู่กับการกิน ซึ่งเขายังไม่สัมมาทิฐิเลย _สู่แดนธรรม… เขาไม่รู้ว่าการกินอยู่ในสติปัฏฐาน 4 ด้วย พ่อครูว่า… ใช่ ทุกการปฏิบัติอาหารเป็นหนึ่งในโลกอย่างนี้เป็นต้นอยู่ในปุตตมังสสูตร อยู่ในอาหาร 4 กวฬิงการาหาร ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร วิญญาณหาร นั่นก็ชัดเจนที่สุดเลยเรียนรู้แล้วจะรู้จักกาม รู้จักผัสสะ เรียนรู้เจตนาของจิต เรียนรู้หมดได้ พระพุทธเจ้าก็สรุปถึงวิญญาณรูปนามค่อยๆอธิบายไป ปฏิจจสมุปบาทโดยพ่อครู ตอน 4 จาก sms ตอบไปหมด ก็จะได้ต่อปฏิจจสมุปบาทที่ได้อ่านไปแล้วถึง 18 หน้า ชาวโลกุตระจึงจะมี“ปัญญา”รู้ว่า “สุข-ทุกข์”เป็นมายา “สุข-ทุกข์”เป็น“อุปาทาน” เป็นความ“ติดยึด”ทาง จิตวิญญาณ ซึ่ง“พลังงานทางจิต”เป็น“ชีวะ”แล้วเริ่มมีภาวะตั้งแต่ขั้น“เจตสิก”ขึ้นไป สู่“จิต” สู่“วิญญาณ”เต็มสภาพ แล้วก็เคลื่อนไหวออกมาเป็น“ตัณหา”ทำหน้าที่ตั้ง แต่หยาบสุดคือ “กามตัณหา” ถ้าคนผู้อวิชชาที่“ไม่รู้”เรื่อง“กาม”ก็จะ“ใคร่อยาก”ดึง ดูดแย่งชิงมาให้ตน“เสพสุข” หรือ‘ใคร่อยาก”ผลักดันออกไป ถึงขั้นทำลายทำร้ายฆ่าแกงกันทีเดียว ด้วย“ความไม่รู้(อวิชชา)” “ความไม่รู้”นี้ศัพท์บาลีว่า “อวิชชา” ซึ่งใน“วิญญาณ” ของสัตวโลก จะสะสมใส่จิตวิญญาณของตนโดยย“ความไม่รู้” นั่นแหละ จนกว่าจะได้พบ “ศาสนาพุทธ” ได้พบ “คนชาวพุทธ” ได้ฟังธรรมขั้น “โลกุตระ”จากผู้รู้ที่“สัมมาทิฏฐิ” หรือจาก“สัตตบุรุษ” ยิ่งได้ฟังจากพระพุทธเจ้าก็ยิ่งโชคดีสุดยอด “อวิชชา”จะตกผลึกสะสมอยู่ใน“อาสวะ” “อาสวะ”คือ กิเลสที่นอนเนื่องในจิตฝังสันดานอยู่ จึงต้องชำระละล้าง“กิเลส”ออกไปจากจิตให้หมดสิ้น“อาสวะ” จะได้หมด“โง่”งมงาย หายซมซาน อยู่กับ“สุข” “กิจ”ยิ่งใหญ่สำคัญในความเป็นคนคือ สิ่งนี้ “อวิชชา”ซึ่งเป็น“ความไม่รู้”ที่พระพุทธเจ้าทรงแยก แยะไว้ คือ (1)ไม่รู้ทุกข์ (2)ไม่รู้เหตุให้เกิดทุกข์ (3)ไม่รู้ความดับทุกข์ (4)ไม่รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ (5)ไม่รู้ในส่วนอดีต (6)ไม่รู้ในส่วนอนาคต (7)ไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและอนาคต (8)ไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาท ว่า สิ่งทั้งหลายอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ถ้า“ดับเหตุให้เกิดทุกข์”ไปหมดสิ้น“อวิชชาสวะ 8”ได้ก็ถือว่า “จบกิจ”แล้วสำหรับเรื่อง“โง่”งมงายสำหรับมนุษย์ “อวิชชาสวะ 8”นั้นแบ่งออกเป็น ก.“กิจ” คือ “อาริยสัจ 4” ได้แก่ (1)ไม่รู้ทุกข์ (2)ไม่รู้เหตุให้เกิดทุกข์ (3)ไม่รู้ความดับทุกข์ (4)ไม่รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ก.“กาล” คือ “ภาวะของวาระเวลา” ได้แก่ (5)ไม่รู้ในส่วนอดีต (6)ไม่รู้ในส่วนอนาคต (7)ไม่รู้ทั้งในส่วนอดีตและอนาคต ก.“กรรม” คือ “(8)ไม่รู้ใน“ปฏิจจสมุปบาท” ว่า สิ่งทั้งหลายอาศัยกันและกันเกิดขึ้น คนที่มี“อวิชชาสวะ 8”ก็คือ “คนผู้ไม่รู้ 8 อย่าง”นี้ ก.“กรรม”นั้นคือ “การกระทำ”ที่คนแต่ละคนมี“เป็น ของตนเอง” คนทุกคนที่“กระทำ“อะไรตั้งแต่ทาง“กาย”และ ทาง“วาจา” โดยเฉพาะทาง“ใจ” ที่เป็น“กายกรรม-วจีกรรม-มโนกรรม” ทำแล้วก็สะสมเป็น“วิบาก”ตกเป็นมรดกของตน “กายกรรม”นั้น ไม่ใช่“การกระทำตนฝึกฝนตนให้มีกำลัง”แค่ทำให้“ร่างหรือสรีระ”แข็งแรงเท่านั้น แต่หมายถึงการปฏิบัติตนฝึกฝนตนให้มี“กาย”มี“จิต”ที่ลดละกิเลสออกไปจิตกระทั่ง“กิเลส”หมดสิ้น ครบครันทั้ง“กิจ” ทั้ง“กาล” ทั้ง“กรรม”จนบริบูรณ์หมดสิ้น“อวิชชาสวะ8” คำว่ากายนี้ มีทั้งภายในและภายนอก แต่หมายเอาจิตเป็นใหญ่ด้วย การไปทำให้ร่างแข็งแรง มันไม่ต้องใช้คำว่า กายกรรม มันใช้คำว่า กรรมทางถามะหรือกรรมทางพละ การกระทำทางกำลัง(ถามะ หรือพละ)ให้มันเกิดกำลังแข็งแรง จะบอกว่า ถามพละหรือสรีระพละก็ได้ ส่วนการทำตนให้มีกำลังนั้นบาลีคือ “กายถามะ” หรือ“กายพละ” แต่“กายกรรม”นี้พิเศษวิเศษกว่านั้น เพราะชาวพุทธทุกวันนี้“มิจฉาทิฏฐิ”ในคำว่า “กาย” ไปจริงๆ เสื่อมกันไปหนักมาก จึงเข้าใจความหมายคำว่า “กาย”ผิดสารสัจจะไป จนเละเทะ เลอะเทอะ เช่น แม้แต่คำว่า “กาย” ก็มิจฉาทิฏฐิกันไปสนิทสนมแล้ว เข้าใจว่า “กาย”มีแค่“สรีระ(ร่างเฉพาะภายนอก)” หรือคำว่า “บุญ”ยิ่งสับสนไปเข้าใจว่า เป็นแค่“กุศล”กันจริงๆจังๆกันไปหมด หรือคำอื่นๆ “ฌาน”ก็ดี “สมาธิ”ก็ดี “สมาบัติ”ก็ตาม “สัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย”ก็ดี มันไม่ใช่ปัญญาที่สัมมาทิฏฐิ เข้าใจผิด แตกต่างกัน เห็นตรงข้ามกัน หันหลังให้กัน แล้วต่างคนต่างเดินของตนไป ตามความเชื่อถือของตนๆ นั่นคือ ต่างคนต่างสื่อกัน ต่างก็กำหนดรู้กันไปคนละทิศ คนละทาง คนละอย่าง คนละความถูกต้องกันแล้ว เพราะมี“กายต่างกัน สัญญาต่างกัน”ไปสารพัด ดังนั้น “อวิชชาสวะ 8”จึงมิจฉาทิฏฐิกันสมบูรณ์แบบ เริ่มตั้งแต่“อวิชชาสวะ 4 ข้อต้น” ได้แก่ ไม่รู้“ทุกข์” ไม่รู้“สมุทัย” ไม่รู้“นิโรธ” ไม่รู้“มรรค” มันก็ยังมี“อวิชชา” จึงไม่หมดสิ้น“อาสวะ”กันได้สักที อาริยสัจ 4 เขาเรียนกันในวงการศาสนาแต่การกำหนดหมาย เรื่องกาย สัญญา ต่างกัน ตั้งแต่มันมิจฉาทิฏฐิข้อต้นในวิญญาณฐีติ 7 น่าสงสารมาก เพราะฉะนั้นไม่ต้องไปพูดถึงข้อ 2 3 4 ในวิญญาณฐีติ 7 ขอยกตัวอย่างเช่นข้อ 2 แวะนิดหนึ่ง วิญญาณฐีติ7 ข้อที่ 2 กายต่างกันสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น ปฐมฌาน คือไม่มีนิวรณ์ 5 ต่างกัน กายต่างกันสัญญาอย่างเดียวกัน สัญญาว่าอะไร สัญญากำหนดหมายว่ามีนิวรณ์ 5 ทำให้ไม่มีนิวรณ์ 5 เขาก็ทำได้แต่เขามิจฉาทิฐิ เขาหลับตาปฏิบัติไม่ให้มีนิวรณ์ 5 เป็นต้น หรือจะทำด้วยวิธีลืมตาแบบสมถะลืมตาก็ตาม เขาก็ไม่มีนิวรณ์ 5 ได้ แต่ กายมันต่างกัน องค์ประชุมของรูป ของนามขององค์ประกอบต่างๆข้างนอกข้างในต่างกัน เขาได้แต่ข้างใน เขาทำได้แต่ข้างในจิตไม่มีนิวรณ์ 5 แต่ข้างนอกนี้เขาไม่ได้ _สู่แดนธรรม… เขาก็ถือว่าเขาสำเร็จของเขานะครับ พ่อครูว่า… สำเร็จอะไรอย่างมหาบัว ยกตัวอย่างเป็นต้น นั่งหลับตานึกว่าตัวเองบรรลุอรหันต์เลยไม่มีนิวรณ์ แต่ลืมตาออกมา เบะเลย กิเลสกามคุณ 5 กิเลสอะไรต่างๆนานาไม่รู้เรื่องเลย _สู่แดนธรรม… เคยมีครั้งหนึ่งมีคนมาต่อรองว่าอย่าไปตำหนิทำไมในเมื่อหลับตาก็ได้ผลเหมือนกัน ของคุณลืมตาก็ได้ผลเหมือนกัน ทำไมจะต้องมาว่ากัน พ่อครูว่า… เอ๊า ผลมันเหมือนกันที่ไหนผลมันไม่เหมือนกัน ของพระพุทธเจ้าบอกว่ากายต่างกันสัญญาอย่างเดียวกัน อย่างเดียวกันคือไม่มีนิวรณ์ 5 แต่กายมันต่างกันมันสัมมาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิมันจะไปไอ้นั่นได้ยังไง มันหลอกอยู่ อย่างนี้เป็นต้น _สู่แดนธรรม… สรุปจบ แม้จะสามารถทำให้“อาสวะ”บางส่วนสิ้นไปได้ ก็ไม่“จบกิจ”ชนิดที่เป็น“นิยตะ”หรือนิรันดรเด็ดขาด เพราะ“อาสวะ”ที่เหลือมันจะพาวนเวียนกลับมามีกิเลสอีกจนได้ใน“ชาติ”ที่ยังไม่สามารถ“ดับเหตุ”ไม่ให้มี“ชาติ”ต่อไปสำเร็จ ยิ่งเป็นชาวเทฺวนิยมที่“ความรู้”ยังเป็น“ปัญญา”ไม่ได้ ยังมีแต่“ความรู้”ที่เป็น“เฉโก”เท่านั้น ก็ยิ่งไม่ต้องพูดถึงเลย แม้แต่ชาวพุทธที่“หลับตา”ปฏิบัติก็ไม่สามารถจะ พูดเรื่อง“อาสวะ”หรือ“อวิชชา”กันถูกเรื่องถูกสภาวะกันได้ เพราะยังพูดถึง“กิเลส”ก็ดี ถึง“อาสวะ”ก็ดี ยังไม่ตรงกันเป็น“สัมมาทิฏฐิ” มันยังมี“มิจฉาทิฏฐิ”ต่างกันไปได้สารพัด จนกว่าจะเป็น“ผู้มี“สัมมาทิฏฐิ”เริ่มต้นในคำว่า “กาย” และ“สัญญา”กันก่อน จึงจะปฏิบัติมีมรรคผลใน“อาริยสัจ ๔” บรรลุ“สัมมามรรค-สัมมาผล”ได้สำเร็จ นั่นคือ คนผู้นั้นต้องมี“สัมมาทิฏฐิ”ในความเป็น “กาย”กับความเป็น“สัญญา”ถูกต้องถ่องแท้จริง ถ้าใครไม่พ้น“มิจฉาทิฏฐิ”ในความเป็น“กาย”ได้ก่อนอื่น และยังไม่สามารถรู้จักรู้แจ้งรู้จริงการแยก“กาย”แยก “จิต“ ใน“ธรรมนิยาม ๕” โดยอาศัย“ผม”เป็นเครื่องใช้พิจารณาหรือใช้“ขน“หรือใช้“เล็บ”หรือใช้“ฟัน”หรือใช้“หนัง” อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเครื่องแยกแยะพิจารณา ก็ปฏิบัติธรรมให้สิ้น“อาสวะ”ด้วยการศึกษาจาก“อาริยสัจ ๔”ไม่ได้ เช่น การแยก“กาย”แยก“จิต”โดยอาศัย“เล็บ”เป็นต้น พิจารณา เราก็จะจับ“ความรู้สึก”คือ“เวทนา”ที่เล็บของเราได้ ว่า “เล็บ”ส่วนที่ยังมี“ชีวะ”และมีประสาทรับรู้ต่อเนื่องอยู่นั้น คือ ส่วนที่ยังมี“กาย” ถ้ากระทบก็“รู้สึก”ได้ ถ้ากระแทกแรง”ถึงขีดหนึ่งก็จะ“รู้สึกเจ็บ”กันเลย ถ้า“เล็บ”ส่วนที่ยังมี“ชีวะ”อยู่นั้นแหละ แต่มันไม่มีประสาทรับรู้ต่อเนื่องแล้ว คือ ส่วนที่มันยาวพ้นเนื้อออกไปยิ่งมา ก็ยิ่งจะพิจารณาได้ง่าย ว่า แม้จะกระทบกระแทกมันก็“ไม่รู้สึก”หรือไม่“เจ็บปวด”แต่อย่างใด เพราะเล็บส่วนนั้น ไม่เป็น“กาย”แล้ว จึงไม่มี“เวทนา” นี่คือ ภาวะที่นับว่า “ความไม่มีกาย”ของ“เล็บ” แต่เล็บส่วนนั้นมันยังมี“ชีวะ”อยู่นะ ยังไม่ตาย ยังไม่ได้ขาดออกไปจากร่าง “เล็บ”ส่วนนั้นยังเจริญด้วยอาหารอยู่ ผู้ปฏิบัติเรียนรู้จาก“เล็บ”นี้เป็นต้น จึงสามารถแยก “กาย”แยก“จิต” โดยการอ่านความรู้สึก“เวทนาในเวทนา”นี้เองสำเร็จได้ ก็จะรู้จักรู้แจ้งรู้จริงว่า ภาวะใดเป็น“กาย” และภาวะใดที่ไม่ใช่“กาย”แล้วในความเป็น“เล็บ”นั้น คือแม้ส่วนนั้นจะมี“สัมผัส”กระทบกระแทกอยู่ ส่วนนั้นก็มี“ความรู้สึก”อยู่นะ แต่“ไม่รู้สึกเจ็บใดปวดใด”หรือ“ไม่มีทุกข์-ไม่มีสุข”ใดแล้ว ไม่มี“กรรมวิบาก” “กรรม”ส่วนนี้“พ้น“สุข-พ้นทุกข์” ไม่รักไม่ชัง ก็ไม่“ผูกเวรจองกรรม”ใดๆ จึงเป็น“กรรม”ที่ไม่มี“วิบาก” เพียงภาวะที่ไม่มี“กาย”นั้น ภาวะนี้ไม่มี“เวทนา”แล้ว จึงเรียกภาวะฉะนี้ของเล็บว่า มีฐานะเป็น“พืช” เพียง แต่นับว่า เป็นภาวะไม่มี“กาย” เพราะไม่มี“เวทนา”ในระดับของ“ความไม่รู้สึกสุข-ทุกข์”เท่านั้น ศัพท์คือ“อทุกขมสุข” ถ้าเราตัดหรือทำส่วนของเล็บที่เป็น“พืช”นี้ขาดออกไปจาก“ร่าง”ของเรา ส่วนที่ถ้าเราตัดหรือทำส่วนของเล็บที่เป็น“พืช”นี้ขาดออกไปจาก“ร่าง”ของเรา ส่วนที่ขาดออกไปจากร่างของเราก็กลายเป็น“อุตุ” ซึ่ง“เล็บ”ส่วนที่เป็น“พืช”แล้วก่อนที่เราจะตัดมันออก เราเรียกว่า “ร่างกาย”ของเราไม่ได้แล้วนะ! เพราะมันเป็น“พืช”แล้ว ไม่มี“กาย”แล้ว จึงเป็นเพียง“ร่าง”เท่านั้น เมื่อ“เล็บ”ส่วนที่ถูกตัดขาดออกไปจาก“ร่าง” “เล็บ” ส่วนที่ขาดออกไปแล้วนั้นก็เป็น“อุตุ” เพราะไม่มี“ชีวะ”แล้ว กลายเป็น“มหาภูต”เป็นดินน้ำไฟลมไปแล้ว ฉะนี้คือ “ความรู้”ที่เราต้องรู้ให้“สัมมาทิฏฐิ”จึงจะสามารถมี“ปัญญา”รู้ได้ว่า เมื่อใดใน“เวทนา”หรือ“ความรู้สึก”ของเราจะเป็น“กาย”และเป็น“จิต” หรือไม่เป็น“กาย” แล้ว แต่มี“จิต”เป็น“ชีวะ”รู้จักรู้แจ้งรู้จริงเต็มสภาพอยู่ ทว่าเรารู้ว่า เมื่อใดมีความเป็น“กาย” เมื่อใดไม่มีความเป็น“กาย” ความเป็น“กาย”จึงสำคัญมากยิ่งที่จะทำให้เรา“พ้นความรู้สึก“สุข-ทุกข์”หรือยัง“ไม่พ้นความรู้สึกสุข-ทุกข์” ความเป็น“อรหันต์”ถือว่า “จบกิจ”ตรงที่สามารถทำ “กายในกาย-เวทนาในเวทนา*จิตในจิต-ธรรมในธรรม”ของเราเป็น“เนกขัมมสิตอุเบกขาเวทนา”สำเร็จเสร็จ“กิจ”ได้แล้วจริง เพราะ“จิตในจิต”ของเราได้หมดสิ้น“สุข-ทุกข์”ด้วย หมดสิ้น“กิเลสาสวะ”เด็ดขาดด้วย ซึ่งต้องมี“กาย”ด้วย ถ้าไม่มี“กายภายนอก”ด้วย ก็ไม่“สัมผัสวิโใกข์ ๘ ด้วยกาย” ก็“ไม่จบกิจ”สิ้น“อวิชชาสวะ ๘” พระพุทธเจ้าจึงทรงให้“พระอุปฌาย์”เมื่อบวช“สัทธิ วิหาริก”เสร็จเป็นภิกษุขึ้นมาแล้ว ก็ให้“อุปัชฌายะ”สอน“มูลกรรมฐาน ๕”คือ “ผมหรือขนหรือเล็บหรือฟันหรือหนัง” อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ทั้งนั้น ใช้เรียนรู้การแยก“กาย”แยก“จิต” โดยเฉพาะแยก“เวทนาในเวทนา” ละเอียดถึง“เวทนา ๑๐๘” ก็จะสามารถรู้จักรู้แจ้งรู้จริงว่า “ภาวะที่ไม่มีกาย”นั้นคือ เรา“ไม่มีเวทนา”หรือไม่มี“ความรู้สึกสุข-ทุกข์”ตามจุดหมายสำคัญยิ่งใหญ่ของศาสนาพุทธ เพราะสามารถเรียนรู้ฝึกฝนปฏิบัติกระทั่งบรรลุตาม “ธรรมนิยาม ๕”ที่เป็น“ความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า” นั่นคือ เป็น“ผู้พ้นทุกขอาริยสัจ” โดย“ทำจิตในจิต” ของตนให้อยู่ในภาวะ“พีชนิยาม”คือ อยู่ในภาวะ“พืช”ได้ขณะที่มี“ชีวะ”อยู่ มี“กาย”ภายนอก“สัมผัส”สัมพันกับโลกภายนอกอยู่ปกติสามัญ แต่ไม่มี“เวทนาที่เป็นสุขเป็นทุกข์” ดังนั้น ภาวะนี้ก็คือ ผู้มีจิต“ไม่สุข-ไม่ทุกข์”ที่“สัมมาทิฏฐิ” ซึ่งมันไม่ใช่“ไม่สุข-ไม่ทุกข์”ที่“มิจฉาทิฏฐิ”ตามวิธีแบบเดียรถีย์ คือ ไปหลง“หลับตา”ปฏิบัติกันงมงายอยู่ พระอรหันต์คือ ผู้“ทำจิตในจิต”อย่าง“สัมมาทิฏฐิ” ปฏิบัติ“เวทนา ๑๐๘” กระทั่งบรรลุภาวะนี้ได้แล้ว คือทำ “เนกขัมมสิตอุเบกขาเวทนา”เป็นผลสำเร็จเด็ดขาด “จิต”จึงได้“อาศัย”ความไม่สุข-ไม่ทุกข์ และ“ไม่สุข- ไม่ทุกข์”เพราะได้ปฏิบัติกำจัด“กิเลส”ใน“จิต”จนกระทั่ง“จิต” สะอาดจากกิเลสนั้นๆ บรรลุเป็น“อุเบกขา ๕”คือ “ปริสุทธา ปริโยทาตา มุทุ กัมมัญญา ปภัสรา” (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ “ธาตุวิภังคสูตร” ข้อ ๖๙๐) ซึ่งแตกต่างจาก“การหลับตา“ปฏิบัติ เพราะคนผู้ทำ“ฌาน”แบบ “หลับตา”เดียรถีย์เขาก็ทำ “ฌานโลกียะ”ให้จิตของเขา“ไม่สุข-ไม่ทุกข์”เขาก็ทำได้ แต่“ฌาน”ที่ต้องปฏิบัติ“เข้าฌาน”ด้วย“การหลับตา” แล้วมี“การข่มจิต”ของตนเข้าไป เป็น“การเข้าฌาน” แล้ว ก็มี”การถอนจิต”เป็น“การออกฌาน”นี้ คือ “ฌาน”ของเดียรถีย์ ที่มีอยู่เป็น“ฌาน”สามัญของปุถุชนคนโลกียะ มันไม่ใช่“ฌาน”ที่ไม่ต้อง“เข้าฌาน-ออกฌาน”แบบพุทธที่พิเศษยิ่งของอาริยชนคนโลกุตระ “ฌาน”ของพุทธศาสนาไม่“หลับตา”แต่“ลืมตา”มี“ศีล ๑-อปัณณกปฏิปทา ๓”ปฏิบัติแล้วเกิด“สัทธรรม ๗-ฌาน ๔-วิชชา ๘” จึงครบถ้วนได้ตามทฤษฎี“จรณะ ๑๕ วิชชา ๘” เป็น“สัมมาทิฏฐิ-สัมมาปฏิบัติ-สัมมาปฏิเวธ”สัมบูรณ์ “ฌาน ๔”ของพุทธศาสนาจึงมีอยู่ในคน“ลืมตา”ปกติสามัญที่ปฏิบัติตามหลัก“โพธิปักขิยธรรม ๓๗”นี้เอง จึงจะทำ“ความไม่ทุกข์-ไม่สุข”ที่เกิดใน“ฌาน”แบบ “ลืมตา”ที่“สัมมาทิฏฐิ” กำจัด“กิเลส”ออกในขณะ กันจริงๆ “ความไม่ทุุกข์-ไม่สุข”ที่เกิดใน“ฌาน”แบบ“หลับตา”นั้น มัน“มิจฉาทิฏฐิ” มันยัง”ไม่ใช่“ความไม่สุข-ไม่ทุกข์”ที่มี“ปัญญา” รู้จักรู้แจ้งรู้จริง“กายในกาย-เวทนาในเวทนา-จิตในจิต-ธรรมในธรรม”ที่“สัมมาทิฏฐิ” และได้ปฏิบัติอย่าง“สัมมาปฏิบัติ” แล้วกำจัด“เหตุ”แห่งทุกข์”คือ“กิเลส”ถึงขั้น“สิ้นอาสวะ” อันเป็น“สัมมาปฏิเวธ” จึง“จบกิจ”บริบูรณ์ใน“ความสิ้นทุกขอาริยสัจ”แล้ว ดังนั้น “สุขขัลลิกะ”แปลว่า“สุขเท็จ”ที่มัันเป็น“ผีหลอก” หรือ“จอมมายา” เพราะมันไม่ใช่“อาริยสัจ”เลย มันจึงหมดสิ้นไปอย่างง่ายดายยิ่งกว่า“ทุกข์”ทีมี่ชื่อว่า“อาริยสัจ” “อาริยสัจ”แปลว่า “ความจริงอันประเสริฐสุดของชีวิต” จึงต้องรู้จักรู้แจ้งรู้จริงด้วย“การสัมผัส”ที่มี“ตาหูจมูกลิ้นกายใจ” ใน“ปัจจุบันชาติ”ของตนแต่ละคน ขณะ“ลืมตา”ตื่นเต็มครบ“กายภายนอก-ภายใน”มี“โพชฌงค์ ๗”รู้จักรู้แจ้งอยู่ จึงจะมี“เวทนา ๑๐๘”ให้รู้จักรู้แจ้งรู้จริงเพื่อเรียนรู้ จนกระทั่ง“รู้จบ”ใน“ฌาน ๔”ครบ“๓ กาล” ได้แก่ อดีต ๓๖- ปัจจุบัน ๓๖-อนาคต ๓๖ คนผู้ใดถ้าแม้นมี“กิเลส”เกิด เข้ามาใน“ปัจจุบัน”นั้นๆจะร้ายแรงขนาดไหน คนผู้นี้้ก็สามารถ กำจัด“กิเลส”สำเร็จชนิดที่มีประสิทธิภาพเด็ดขาดขนาดต่อให้ “อนาคต ๓๖”จะมี“กิเลส”ตัวเก่งปานใด เดินทางมาถึง“ปัจจุบัน”. นั้นๆ ก็ถูกฆ่าสิ้นเกลี้ยง ไม่มีกิลสตัวไหนรอดได้เลย “ปัจจุบัน”สำคัญปานฉะนี้ทีเดียว ไม่มี“ปัจจุบัน”ก็ ไร้“ความจริง”ที่จะยืนยันกันกับความเป็นคนทั้งหลายในโลก มันต้องผ่าน“กาล”ที่เป็น“ปัจจุบัน ๓๖”จึงจะมีความเป็น“สภาวะจริง”เปิดเผยยืนยัน“ตัวกลาง”กับใครต่อใครได้โต้งๆ โทนโท่ หลัดๆ ให้ทุกคนรับรอง“สัมผัส”ร่วมกันได้ ดังนั้น “หลับตา”มันพิสูจน์่ครบ“กาล ๓”ไม่ได้ พระเจ้าก็“ลึกลับ”หรือหลับตาก็ไม่อาจ“สัมผัส”ครบ เพราะทั้ง“พระเจ้า”ทั้ง“หลับตา”ปฏิบัติ มันปฎิบัติ “เวทนา ๑๐๘”ไม่ได้ มันไม่มี“ทวาร ๖”ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ ที่ จะเรียนรู้“มโนปวิจาร ๑๘” ที่มีทั้งที่เป็น“เคหสิตเวทนา ๑๘” และมีทั้งที่เป็น“เนกขัมมสิตเวทนา ๑๘”ให้ปฏิบัตัิครบบริบูรณ์ แต่“หลับตา”ปฏิบัตินั้น มันปิด“ตาหูจมูกลิ้นกาย” “เวทนา”ที่เกิดจาก“ผัสสะเป็นปัจจัย ๕ ทวาร” มันก็มีไม่ได้ มันมีเฉพาะ“ทวารใจ”ของคนอยู่ใน“ห้วงฝัน”ทวารเดียวเท่านั้น “ตาหูจมูกลิ้นกาย”ข้างนอกอีก ๕ ทวาร มันไม่มีเลย แล้วมันจะเจริญ“มรรคผล”ครบถ้วนได้อย่างไร? ผู้“หลับตา”ที่เรียนรู้หวัง“นิพพาน”กันจริงๆต้องไตร่ตรอง ให้ถูกต้องถ่องแท้“สัมมาทิฏฐิ”ดีๆเถิด “เวทนา ๑๐๘”นี้จึงชี้้บ่งยืนยันให้เห็นกันชัดเจนยิ่ง ว่า ผู้“หลับตา”ปฏิบัตินั้น เป็น“มิจฉาทิฏฐิ”แท้จริง ชัดมั้ยว่า แค่ประเด็น“หลับตา”นี้ก็ปฏิบัติ“มิจฉาทิฏฐิ” สมบูรณ์แบบแล้ว ชาวพุทธทั้งหลายพิจารณากันให้ชัดๆ “หลับตา”ปฏิบัติมันไม่สามารถจะ“แยกกาย-แยกจิต” หรือไม่สามารถรู้จักรู้แจ้งรู้จริง“กายในกาย-เวทนาในเวทนา-จิตในจิต-ธรรมในธรรม”ได้เลย เพราะมันไม่มี“กาย”ภายนอก ก็เห็นกันอยู่โทนโท่ มันต้องมี“กาย-เวทนา-จิต-ธรรม”ครบทั้ง ๔ ภาวะมันจึงจะสามารถปฏิบัติธรรมแบบพุทธบรรลุ“สัมมาผล”ได้ จึงจะสามารถแยก“ธรรมนิยาม ๕” ที่มีความเป็น“อุตุนิยาม-พีชนิยาม-จิตนิยาม-กรรมนิยาม-ธรรมนิยาม”ได้อย่าง“สัมมาทิฏฐิ”ครบครัน บริบูรณ์ “ปัญญา”จึงจะสามารถรู้จักรู้แจ้งรู้จริงรู้จบภาวะใด ของ“กาย”ของ“เวทนา”ของ“จิต”ของ“ธรรม”ได้สุดลึกลงไปจัดการถึง“ราก(มูลกา)”กันทีเดียว ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน“มูลสูตร ๑๐”(พระไตรปิฎก เล้ม ๒๔ ข้อ ๕๘) เมื่อมีการปฏิบัติ“สติปัฏฐาน ๔-สัมมัปปธาน ๔-อิทธิบาท ๔-อินทรีย์ ๕-พละ ๕-โพชฌงค์ ๗-มรรค ๘”ที่สัมมาทิฏฐิกันจริงได้ เราก็สามารถทำ“ความตาย”ของ“จิตในจิต” ของตนได้ มันก็มี“การเกิด”ของ“จิตในจิต”ขึ้นมาแทนที่ได้แท้ นี่คือ “การทำใจในใจ(มนสิการ)”เป็น“แดนเกิด(สัมภวะ)” จึงสามารถทำ“การตาย”ให้แก่“จิต-เจตสิก” และทำ “การเกิด”ให้แก่“จิต-เจตสิก”ได้เป็นส่วนๆที่พิเศษวิเศษจริงๆ เช่น เราทำภาวะใดของ“จิต เจตสิก”เราให้“ไม่มีชีวะ” ได้ ส่วนนั้นก็คือ “อุตุนิยาม” คือ ภาวะ“ไม่มีชีวะ” หรือ“ตาย” หริอเราทำภาวะใดของ“จิต-เจตสิก”ให้“มีชีวะระดับพืช”ได้ ส่วนนั้นก็คือ “พีชนิยาม” คือ ภาวะ“มีชีวะ”แต่“ไม่มีสุขเวทนาและไม่มีทุกขเวทนา”เป็นผลสำเร็จในส่วนที่เป็น “เจตสิก”เฉพาะ“เวทนาในเวทนา” ตาม“ชีวะ”แบบ“พืช”ได้ไง! หรือเราทำภาวะใดของ“จิต-เจตสิก”ให้“มีชีวะเจริญขึ้นๆ” เป็น“อาริยบุคคล”ได้แต่ละระดับ ส่วนนั้นก็“เกิด”อยู่ ซึ่งมี“การตาย-การเกิด”ของ“จิต-เจตสิก”ที่เราจัดการกับ“จิตในจิต”ของเราตามประสงค์ได้สำเร็จเท่านั้น ไม่ใช่“การตาย-การเกิด”ของ“ชีวิตทั้งหมด ชนิดที่ “สิ้นลมหายใจ”ไป จึงเป็น“การตาย-การเกิด”ของ“ชีววิทยาทางจิต” ที่“พระสัมมาสัมพุทธเจ้า”เป็นพระผู้ทรงค้นพบ ความยังมี“ชีวะ”อยู่ ที่สามารถแยก“กาย”แยก“จิต”ได้ตามที่สาธยายมานี้ จึงเป็นสุดยอด“วิชชา”อันเป็นสความรู้วิทยาศาสตร์“ชีววิทยาทางจิต”แท้จริง และสุดยอดจริงๆที่ทำได้ทั้ง“ทำเวทนาในเวทนา-ทำจิตในจิต”ของตน ให้เป็นไปได้ถึงขั้น“เกิด”ขั้น“ตาย”สำเร็จปานนี้ ซึ่งแน่นอนว่า “ไม่มีจิต”กับ“ไม่มีเวทนา” ย่อมแตกต่างกันอย่างเป็น“ความจริง”ที่มีนัยสำคัญขั้น“สิริมหามายา”ยอดยิ่ง เพราะเรา“ทำจิตในจิต”ของเราเองให้มี“การเกิด-ก่ารตาย”เอง ให้แก่ตนเองเป็น“สิทธัตถะ”ของเราเองได้สำเร็จในตัวเอง ซึ่งบุคคลแต่ละคนสามารถทำได้จริงแท้แน่แท้ “การทำให้กิเลสตาย”ที่มี“การเกิดเฉพาะของจิตในจิต”เท่านั้น “การเกิด”ฉะนี้ จึงคือ “การให้กำเนิด”ที่เป็น“สิริมหามายา”ขั้น“ปรมัตถธรรม” ที่“สมมุติธรรม”ยังทำไม่ได้ คำว่า “สิริมหามายา”จึงหมายถึง ความเป็น“ผู้ให้กำเนิด”ซึ่งในที่นี้ขณะนี้นั้น เป็น“การกำเนิดทางจิต”โดยตรงโดยเฉพาะในความเป็น“แม่”อันวิเศษที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน“ข้อ ๗ ของ“สัมมาทิฏฐิ ๑๐” (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ ข้อ ๒๕๗) ดังนั้น คำว่า “สิทธัตถะ”ก็หมายถึง ความเกิดเป็น “ลูก”อันเป็น“ความเกิดทางจิต”ของใครก็ตามย่อมคือ“ลูกทางจิต”ทั้งนั้น เรียกโดยศัพท์ว่า “การเกิดของสัตว์ทางจิต” คือ “สัตว์โอปปาติกะ”นั่นเอง ซึ่งทั้งคำว่า“สิริมหามายา”ก็ดี และคำว่า“สิทธัตถะ”ก็ดี ที่เป็น“ภาวะ”ของ“จิตในจิต”นี้ จึงไม่ใช่หมายถึง“ตัวตนบุคคล” ที่มีเนื้อหนังมังสาเป็น“พระมารดา”ของ“เจ้าชายสิทธัตถะ” หรือระบุเฉพาะว่า เป็นผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งคือ“องค์พระมารดาพระพุทะเจ้า” หรือคือ“องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า”เท่านั้น แต่เป็นเรื่องของ“ธรรมะ”ที่คนผู้ใดก็มีสิทธิ์ปฏิบัติ “กาย-เวทนา-จิต-ธรรม”ที่เป็น“ธรรมในธรรม”โดยตรง มิใช่หมายเอา“ตัวบุคคล” อย่าสับสน“หลงผิด-กำหนดผิด”ไป ฉะนี้เองคือเรื่องของการปฏิบัติธรรมทำ“กายในกาย-เวทนาในเวทนา-จิตในจิต-ธรรมในธรรม”ของใครก็ทำได้ เป็น “กรรมกิริยา”ท่ี่วิจิตรวิสิฏฐ์วิเศษวิสุทธิ์เยี่ยมยอดจริงๆ เพราะคนนั้นมี“กาย” มี“เวทนา” มี“จิต” จึงจะปฏิบัติให้มี“ธรรม”ได้สำเร็จบริบูรณ์ถ้วนครบ ซึ่งถ้าขาด“กาย”มันก็ไม่เป็น“คนเต็มคน” ไม่เป็น“ธรรมเต็มบริบูรณ์”ได้ ดังนั้น การปฏิบัติธรรมของพุทธ ถ้าไม่มี“กาย”เป็นพื้นฐานในการปฏิบัติ ก็โมฆะ สูญเปล่า เช่น ไป“หลับตา”ปฏิบัติ หรือ“พระเจ้า”ก็“ลึกลับ” ไม่สามารถสัมผัสทาง“กาย”กัน่ได้ มันก็ไม่มี“เวทนา”อันเป็น“กรรมฐาน”ให้เราปฏิบัติ “กิเลส”ที่เราจะจัดการกับมันอย่างสำคัญนี้ มันก็คล้ายกับ“เจตสิก” มันเป็นส่วนหนึ่งที่แฝงเป็น“เจตสิก”อยู่ในจิต เราจัดการกับ“เวทนา”นั้น คือ เราจัดการกับ“เจตสิก” ที่แฝงตัวเป็น“กิเลส”อยู่ใน“จิต” คือ ทำส่วนที่เป็น“เจตสิก”ที่แยกละเอียดไปกว่า“จิต” แล้วก็ทำใน“เจตสิก”ส่วนนี้ นั่นคือ ปฏิบัติตาม“โพธิปักขิยธรรม ๓๗” ที่เริ่มด้วยการกระทำ“กายในกาย-เวทนาในเวทนา-จิตในจิต-ธรรมในธรรม” อันเป็นการกระทำ“สติปัฏฐาน ๔”นั่นเอง จึงจะทำ ให้“กิเลส”ในจิตลดลง หรือ“กิเลส”ดับไปหรือ“ตาย”ได้สำเร็จ การทำให้“กิเลส”ตาย จึงเป็น“การเกิด”ของ“จิตในจิต” ที่เจริญ ทั้ง“ละชั่ว-ทำดี” ทั้ง“ดับสุข-ดับทุกข์”สำเร็จจริง ทั้งทำ“การตาย”ให้แก่“อวิชชาสวะ ๘”เกิด“ปัญญา ๘” การทำ“จิตในจิต”ให้“เกิด”ได้ด้วยสามารถปานฉะนี้ คือการทำ“การเกิด”ได้ถึงขั้น“นิพพัตติ”และ“อภินิพพัตติ” “การเกิด”นี้ เป็น“การเกิดแบบโลกุตระ” คือ “การเกิด”ขั้น“สิทธัตถะ” ที่สามารถทำ“จิตในจิต”ได้ถึง“กำจัดกิเลส”ลดละลงไปจนจบขั้น“ดับกิเลส”หมดสิ้น“อาสวะ”ได้ ซึ่งเป็น“การเกิด”ของ“จิตใหม่”เจริญใสสะอาดขึ้นไป ตามลำดับๆ ที่คนผู้ปฏิบัติ“กายในกาย-เวทนาในเวทนา-จิตใน จิต-ธรรมในธรรม“ฉะนี้แลคือ“แม่”ผู้ทำ“การเกิด”แบบ“สิริ มหามายา”สำเร็จเป็นผู้“จบกิจ” ขั้น“อรหัตตผล”กันทีเดียว สามารถ“ทำใจในใจ”ของตนให้วิเศษได้ยิ่งกว่าทำ“การเกิด-การตาย”ใน“จิตนิยาม”ขอตนที่ยัง“ไม่สิ้นลมหายใจ” กล่าวคือ ผู้ทำ“จิต-เจตสิก”ให้มี“การเกิด”ทรงสภาพอยู่ในฐานะของ“พืช”ที่“ไม่มีเวทนา-ไม่มีทุกข์-สุข”ก็ทำได้ และทำได้ยิ่งไปกว่านั้น คือ ทำให้มีฐานะ“อุตุ” ดังที่ผู้เรียน“มูลกรรมฐาน ๕ (ผม,เล็บ,ขน,ฟัน,หนัง)”มาแล้ว สามารถรู้ใน“ความรู้สึก”ของ“เล็บ” เป็นต้น ว่า ”ส่วนที่ถูกกระทบอยู่นั้น” ทำให้ไม่มี“ความทุกข์-ความสุข”ได้ คือ “ไม่เจ็บไม่ปวด-ไม่มีชีวะใดๆ”เหมือน“สสารพลังงาน” มันก็มีฐานะเป็น“อุตุ” คือ เป็นภาวะยิ่งกว่า“พืช”กันทีเดียว เราก็ทำสำเร็จ นั่นคือ เราสามารถทำให้มันอยู่ใน“ฐานะ”ของภาวะที่เป็น“พลังงานไม่มีชีวะ” หรือที่สุดทำให้“จิตนิยาม”ส่วน “เวทนาเจตสิก”สลายไปเป็น“ดินน้ำไฟลม”ไปเลยเป็น“อุตุนิยาม”ในขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่แท้ๆ ก็ทำได้สำเร็จ ความสามารถนี้คือ “คุณวิเศษของมนุษย์โลกุตระ”ที่เรียกว่า “อุตตริมนุสสธรรม” ถึงขั้นทำ“ความไม่มีตัวตน”ได้ แต่ความจริงขณะที่เราทำจิตตนให้อยู่ใน“ฐานะพืช” หรือ“ฐานะอุตุ”นี้เราก็ยังมี“ชีวิต”ยังไม่ตายนะ! ยังมี“ลมหายใจ” ทว่าที่เรามี“การทำจิตในจิต”ของเราได้ปานฉะนี้ เพราะเรามี“ปัญญา”รู้จักรู้แจ้งรู้จริง“จิต เจตสิก รูป นิพพาน” และจัดการกับ“กิเลส”ที่มีอยู่ใน“จิต”ใน“เจตสิก”ให้หมดสิ้นไปได้ด้วย“ฌาน”ด้วย“บุญ” ถึงขั้น“ปุญญาภิสังขาร” ขณะมี“ชีวิต”เราก็สามารถทำ“จิตในจิต”ของเราให้ “ไม่มีกิเลส” ถึงขั้น“ไม่มีอาสวะ”ของ“กิเลส”ได้แล้วเป็นที่สุดกระทั่งหมดสิ้น“อวิชชาสวะ ๘” ซึ่งมีข้อแม้สำคัญว่า ชีวิตนี้ต้องมี“กาย”ร่วมด้วยเสมอ คนผู้ยังมี“ชีวิต” มี“นาม”มี“รูป”ครบ“ขันธ์ ๕”นั้นต้อง “สัมผัสวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย”เรียนรู้ฝึกฝนตน จึงจะได้รับมรรคผลครบ“จิต เจตสิก รูป นิพพาน”สำเร็จบริบูรณ์ได้จริง เป็น“ปัจจุบันชาติ(ทิฏฐธรรม)”หลัดๆกันเลย ครบ“กาย-จิต” หาก“หลับตา”ปฏิบัติก็ดี หรือลัทธิมี“พระเจ้า”ที่ “ลึกลับ”อยู่ แบบ“เทฺวนิยม”ก็ดี ซึ่ง“พระเจ้า”สัมผัสไม่ได้ ด้วย“กาย” จึงไม่ครบทฤษฎีแบบ“โลกุตระ” ก็ไม่สามารถเรียนรู้“เวทนา”ให้ศึกษาความเป็น“นาม-รูป”ของ“คนเต็มคน” เพราะมันไม่สามารถเรียนรู้ได้ด้วย“ทวาร ๕” ยังเป็น คนที่่ีไม่มี“กาย”ก็ยัง“ไม่เต็มคน” จึงรู้จักรู้แจ้งรู้จริงรู้จบไม่ได้ ซึ่ง“กาย”ที่เป็นส่วน“ภายนอกทวาร ๕”นั้นคนปกติมันต้อง“มีในชีวิต“ลืมตา”ตามสามัญ จึงจะเรียนรู้ให้“จบ”ได้ ผู้“หลับตา”ปฏิบัติก็ดี หรือศาสนาที่นับถือ“พระเจ้า” ยังไม่มี“คำสอน”ของ“พระเจ้า”หรือของศาสดาเทฺวนิยมทั้งหลายก็ดี ซึ่งไม่มีการเรียนรู้“กายในกาย-เวทนาในเวทนา-จิตในจิต-ธรรมในธรรม”ก็ย่อมไม่สามารถปฎิบัติบรรลุ “โลกุตรธรรม”บริบูรณ์พ้น“อวิชชาสวะ ๘”ครบถ้วนสัมบูรณ์ได้เลย แน่นอน เพราะความไมมี“กาย”นี้เอง ชัดเจนยิ่งมั้ย ว่า “กาย”นี้สำคัญยิ่งนักในเรื่อง“ธรรมะ” ถ้าไม่มี“กาย”สำเร็จบริบูรณ์“กิจ-กาล-กรรม”ไม่ได้ ดังนั้น ผู้เรียนรู้และฝึกฝน“การทำจิตในจิต”ที่จะ“พ้นอวิชชาสวะ ๘”ได้นั้น จึงคือ การเรียนรู้“กายในกาย-เวทนาในเวทนา-จิตในจิต-ธรรมในธรรม”นี้แล ที่มี“กาย”ร่วมอยู่ด้วยตลอดการปฏิบัติจึงจะบรรลุธรรม“พ้นอวิชชาสวะ ๘” ผู้จะกำจัดกิเลสที่“จิตในจิต”มันยังเกิดอยู่ ต้องเริ่มจากเบื้องต้น ในขณะมี“สัมผัส”ทาง“กายภายนอก”กับ“กายภายใน”อยู่ใน“กามาวจร” ที่มี“กิเลสกาม” จึงจะเป็นไปตามลำดับ อย่างถูกต้องถ่องแท้ ไม่ใช่“หลับตา”ปฏิบัติ “หลับตา”นั้นเป็นการปฏิบัติลัดขั้นตอน เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นความโง่ เป็นลัทธินอกพุทธ ต้องกำจัด“กิเลสกาม”ใน“กามาวจร”ได้ก่อน แล้วเมื่อเหลือ“กิเลส”ที่มันเกิดอยู่ใน“รูปาวจร”ต่อไป ในขณะที่เราก็มี“กาย”มี“กามาวจร”อยู่นั่นแล แต่“กิเลสกาม”หมดไปแล้ว ต่อจากนั้นจึงกำจัด“กิเลส”ใน“รูปาวจร”ที่เหลือ เป็นลำดับๆ ซึ่งการปฏิบัติก็อยู่ในหลัก“จรณะ ๑๕ วิชชา ๘”ซึ่งมี“อธิศีล”ปฏิบัติ“โพธิปักขิยธรม ๓๗”ไต่ระดับสูงขึ้นไปเป็น“อธิจิต-อธิปัญญา”นั่นเอง ต้องผ่าน“การกำจัดกิเลสกาม”ก่อน เป็นขั้นๆไป ไม่ใช่หลง“หลับตา”ปฏิบัติ”ลัดเข้าไป“รูปาวจร”เลย ปฏิบัติธรรมของพุทธนั้น ไมลัด ไม่หลับ และไม่ลึกลับ แต่“ลืมตา”สามัญปกติชีวิตนี่เอง แต่มี“สัมมาทิฏฐิ”รู้จักรู้แจ้งรู้จริงลำดับขั้น“กามราคะ” ก็ดี ขั้น“รูปราคะ”ก็ดี ขั้น“อรูปราคะ”ก็ตาม ย่อมมีลำดับๆ เราก็กำจัด“กิเลส”ใน“กามาวจร-รูปาวจร-อรูปาวจร” ให้หมดไปได้สิ้น“อาสวะ”ด้วย“ปัญญา ๘” จึงไม่มี“อวิชชา” เลย และกำจัด“กิเลส”หมดสิ้น“อาสวะ”ได้หมดเกลี้ยงบริบูรณ์ “อวิชชาสวะ ๘”นั้น ๔ ข้อต้น คือ“ไม่รู้”ใน“อาริยสัจ ๔”ที่เป็น“ทุกข์” ซึ่งเป็น“กิจ”ที่จะต้อง“ดับทุกข์”ให้“จบกิจ” ต่อมาก็“กาล”อีก ๓ ข้อ ที่ยัง“ไม่รู้”ใน“ส่วนอดีต-ส่วนอนาคต-ทั้งส่วนอดีตส่วนอนาคต” ซึ่งเป็น“กาล”ที่จะต้องปฏิบัติให้“อยู่เหนือกาล” จึงจะสามารถทำตนให้หมดไปจาก“กาล”ก็สำเร็จ หรือจะทำตนอยู่ใน“กาล”ต่อไปก็ทำได้้ สุดท้าย“กรรม”ที่จะต้องกระทำหรือปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จได้ด้วย“วิชชา”หรือ“ปัญญา”จึงจะ“พ้นอวิชชา”ในความเป็น“ปฏิจจสมุปบาท”ทั้ง“อนุโลม”และ“ปฏิโลม” จึงจะทำ“กิจ”ได้สำเร็จทั้ง“กิจ-กาล-กรรม”บริบูรณ์ “อาริยสัจ ๔”คือ“ทุกข์-สมุทัย-นิโรธ-มรรค” ที่จัด เป็นเรื่องสำคัญถึงขั้นเปรียบปาน“หัวใจคน”ทีเดียว “อาริยสัจ ๔”ในศาสนาพุทธที่ชาวพุทธจะต้องศึกษาจัดการอย่าให้มี“เหตุ”ก่อพิษภัยเป็น“ทุกข์”แก่ตนจึงสุดสำคัญ ผู้“ดับทุกข์”ด้วย“ดับเหตุแห่งทุกข์”ด้วยนี้คือ“ภาวะ ๒” ซึ่งก็คือ “เทฺว”นี่เอง“ภาวะ ๒”ที่“ดับได้ครบ“๒ ภาวะ” จึงจะทำ“นิโรธ”ได้สำเร็จอย่าง“สัมมาทิฏฐิ”ถูกต้องถ่องแท้ แบบ“โลกุตระ” ให้เป็น“อุตุ” ซึ่ง“โลกุตรธรรม”นี้เป็น “วิทยาศาสตร์ทางจิตสูงสุด”ในโลก อันเป็น“ชีววิทยา”ที่สามารถรู้จักรู้แจ้งรู้จริง“พลังงาน”ตั้งแต่ขั้น“อุตุนิยาม”คือ “มหาภูต ๔” อันได้แก่ “ดิน น้ำ ไฟ ลม”ที่ยังไม่เป็น“ชีวะ” ก็ “กระทำใจในใจ(มนสิกโรติ)”ให้“จิตใจ”มีความเป็น“อุตุภาวะ” และทั้งสามารถทำพลังงานให้เป็น“พีชนิยาม”ที่เป็น “ชีวะ”แล้ว แต่่ยังไม่มี“เวทนา”ก็ทำได้ จนกระทั่ง“จบกิจ” เมื่อทำ“จบกิจ”สำเร็จได้แล้ว สูงขึ้นไปถึงพลังงานที่เป็นชีวะ”ขั้น“จิตนิยาม”เกี่ยวกับ“กาล” ก็ต้องทำให้“พ้นอวิชชาสวะ”ส่วนนี้อีก ให้เป็นผู้“อยู่เหนือกาล” สามารถจะจัดการ“ตนเอง”กับ“กาล”ได้ถึงขั้น“ทำกาละ”คือ “ตาย”ชนิดที่จะ“เวียนวนอยู่ในกาล” คือ “เกิด”มาเป็น“คน”แล้วๆอีกๆ ก็ได้ หรือจะ“ทำกาละ”คือ “ตาย”ชนิดที่ทำ“จิตวิญญาณตนเอง”ให้สลายหายไปจาก“กาล”กลายเป็น“ดินน้ำไฟลม” นิรันดรกันเลย ก็ทำสำเร็จเป็นจริงได้ด้วย“กรรม”ที่ตนทำ ดังนั้น ความเป็น“ตน” ที่เกี่ยวกับ“กาล” หากผู้ใดยังไม่รู้ใน“ส่วนอดีต-ส่วนอนาคต-ทั้งส่วนอดีตอนาคต” ก็คือ ผู้ยังมี“ความไม่รู้”เป็น“อวิชชา”อยู่ ยังไม่สิ้น“อาสวะ”ในเรื่องของ“กาล” ก็ต้องเรียนรู้ปฏิบัติจนกระทั่งมี“วิชชา”หรือ “ปัญญา”รู้จักรู้แจ้งรู้จริงรู้จบที่จะทำ“กรรมสำเร็จ”ให้“จบกิจ” เป็นผู้“อยู่เหนือกาล” นั่นคือ คนผู้“จบกิจ”แต่ยังไม่“ตาย”พ้นไปจาก“กาล” ยังจะ“เกิด-ตาย ; ตาย-เกิด”อยู่ใน“กาล”อยู่ หรือจะ“ตาย”จาก“กาล”สลายสูญไป“ปรินิพานเป็นปริโยสาน” แยกธาตุจิตวิญญาณสู่“ดินน้ำไฟลม”ไปเลยก็ได้ จึงเป็นผู้ทำ“กรรม”สำเร็จเสร็จ“จบ”พ้น“อวิชชาสวะ ๘”ด้วยความมี“วิชชา”รู้จักรู้แจ้งรู้จริงใน“ปฏิจจสมุปบาท” ทั้งทำได้ครบ“อนุโลม-ปฏิโลม” นั่นคือ จะต้องเป็นผู้มี“วิชชา”หรือ“ปัญญา”รู้จักรู้แจ้งรู้จริงว่า “ปัจจุบันชาติ(ทิฏฐธรรม)”เท่านั้นจึงจะปฏิบัติทำ“กรรม”เป็น“ความจริง”บรรลุธรรมได้ หากยังหลงจมงมงายใน“ส่วนอดีต-ส่วนอนาคต-ทั้ง ส่วนอดีตอนาคต” ก็ไม่มีวันหมดสิ้น“อวิชชาสวะ ๘”อยู่แน่ เพราะพ้น“มิจฉาทิฏฐิ”ในความเป็น“กาล”ไม่ได้ ผู้จะหลุดพ้น“อวิชชาสวะ ๘”จึงต้องทำ“กิจ”ให้“จบกิจ” ต้องปฏิบัติตนให้“อยู่เหนือกาล” และทำ“กรรม”ให้หมดสิ้น“อวิชชา”จนสิ้นเกลียง“อาสวะ” คนผู้นี้จึงจะต้องปฏิบัติตนมี“วิชชา ๘”หรือ“ญาณ ๑๖”หรือ“ปัญญา ๘”ให้บริบูรณ์ทั้ง“กิจ”ทั้ง“กาล”ทั้ง“กรรม” เรื่อง“กิจ”อาตมาได้สาธยายมามากแล้วจนกระทั่ง ครบทั้ง“จบกิจ”ในเรื่อง“ดี-ชั่ว”อันเป็นเรื่องของ“สมมุติธรรม” ที่มนุษย์แต่ละหมู่แต่ละกลุ่มต่างยึดถือ“สมมุติ”ไม่ตรงกันทั้ง“ความยึดถือ”ที่ยัง“ไม่เที่ยง”กันอยู่ และทั้ง“เที่ยง”นิรันดร ทั้งความ“จบกิจ”ในเรื่อง“สุข-ทุกข์”อันเป็นเรื่องของ “ปรมัตถธรรม”ที่เป็นเรื่องของ“จิต เจตสิก รูป นิพพาน” อาตมาก็ได้สาธยายมามากแล้ว ทั้งความ“อยู่เหนือกาล”ในเรื่อง“โพธิสัตว์-อรหันต์” ที่มี“กิจ”มี“กรรม” อัน“จบกิจ”ได้จริง และยังต่อ“พุทธภูมิ”อีก ทั้ง“ทำกรรม”ไปกับ“ปฏิจจสมุปบาท”ได้สำเร็จครบ “อนุโลม-ปฏิโลม” ถึงขั้นสามารถ“มีชาติ”หรือ“ดับชาติ”ได้ตามที่ตนประสงค์กันจริงๆ ซึ่งเป็นการ“ดับชาติ”ขั้น“โลกุตระ” เพราะมี“ปัญญา”ที่รู้จักรู้แจ้งรู้จริง“ชาติ ๕”จึงสามารถจัดการกับ“ชาติ”ใน“ปฏิจจสมุปบาท” และต้องเป็น“ชาติ”อยู่ใน“ปัจจุบันชาติ”ที่ไม่ใช่ยังหลงผิดจัดการ“ชาติ”ที่อยู่ใน“ส่วนอดีต”หรือ“ส่วนอนาคต”กันให้สูญเสียเวลาไปเปล่าๆปลี้ๆ สำคัญมากยิ่ง ก็คือ ความเป็น“ปัจจุบันชาติ(ทิฏฐธรรม)” สรุป“ชาติ”ตรงนี้กัน ก็ได้แก่ ผู้มี“ปัญญา”รู้จักรู้แจ้งรู้จริง“ชาติ ๕”แล้ว แต่ไม่มี“ปัญญา”รู้จักรู้แจ้งรู้จริง“ชาติ”ที่เป็น“นิพพัตติ-อภินิพพัตติ” ก็ยังคือ ผู้มี“อวิชชาสวะ ๘”อยู่… นี่ (๑) หรือผู้มี“ปัญญา”จักรู้แจ้งรู้จริง“ชาติ”ที่เป็น“นิพพัตติ-อภินิพพัตติ”แล้ว แต่ไม่มี“ปัญญา”รู้จักรู้แจ้งรู้จริง“ชาติ”ใน“ปฏิจจสมุป บาท” ก็ยังคือ ผู้มี“อวิชชาสวะ ๘”อยู่ …นี่ (๒) แม้จะมี“ปัญญา”รู้จักรู้แจ้งรู้จริง“ชาติ”ใน“ปฏิจจสมุป บาท”ทั้ง“อนุโลม”และทั้ง“ปฏิโลม”แล้ว แต่ไม่มี“ปัญญา”รู้จักรู้แจ้งรู้จริงความเป็น“ปัจจุบันชาติ(ทิฏฐธรรม)” ซึ่งหมายเอา“กาละ”“ปัจจุบัน”หลัดๆ ณ บัดนั้น โทนโท่ โต้งๆกันทีเดียว ผู้ไม่มี“ปัญญา”ใน“ชาติ”อันเป็น“ปัจจุบัน”นั้นๆแท้ๆ ผู้นี้ก็ยังคือ ผู้มี“อวิชชาสวะ ๘”อยู่ เพราะยัง“อวิชชาสวะ”ใน“ส่วนอดีต-ส่วนอนาคต–ทั้ง ในส่วนอดีตและอนาคต” จึงยังมี“อวิชชาสวะ ๘”อยู่ …นี่ (๓) ชัดๆก็คือ (๑) “กิจ”จะต้อง“จบ” (๒) “กรรม”จะต้อง“ครบ” (๓) “กาล”จะต้องไม่“หลบ”อยู่แต่ใน“อดีต”หรือใน“อนาคต” กันเท่านั้น ผู้มี“ปัญญา”จึงจะรู้จักรู้แจ้งรู้จริงว่า “ปัจจุบัน”นี้แลแท้ๆ คือ “ความจริง”ที่“จริง”ที่สุด ไม่“หลับตา” ไม่“ลึกลับ” ดังนั้น ผู้จะ“หลุดพ้นอวิชชาสวะ ๘”จึงต้องมี“ธรรม” ในขณะ“ปัจจุบัน” แล้วต้องปฏิบัติในขณะ“ปัจจุบัน” จึงจะมี “ชาติ”ที่ครบความเป็น“คนเต็มคน” ปฏิบัติบรรลุ“ผล”จนกระทั่งหมดสิ้น“อวิชชาสงะ ๘”ได้ บริบูรณ์สัมบูรณ์สุด มันต้องไม่“โง่”งมงายหลงจมอยู่กับ“ส่วนอดีต-ส่วนอนาคต -ทั้งส่วนอดีตอนาคต”ที่อยู่ใน“ภวังค์” จึงจะปฏิบัติ หมดสิ้น“อวิชชาสวะ ๘” เกิดเป็น“วิชชา“ขึ้นมาได้ตามลำดับ เข้าใจได้หรือยัง? ว่า ต้องอยู่ใน“ปัจจุบัน”เท่านั้น จึงจะเป็นการปฏิบัติที่“สัมมาทิฏฐิ” และพาบรรลุธรรมได้ ผู้มี“ปัญญา”ก็รู้จักรู้แจ้งรู้จริงได้ว่า “ธรรม”หรือการปฏิบัติธรรมที่จะบรรลุ“ธรรม”ได้ต้องอยู่ใน“ปัจจุบัน”เท่านั้น ถ้าขืนยัง“อวิชชา”หลงโง่อยู่แต่กับใน“ส่วนอดีต-ส่วนอนาคต-ทั้งอยู่ในส่วนอดีตและอนาคต” ก็คือ คนผู้ยังไม่มีทางที่จะหลุดพ้น“อวิชชาสวะ ๘”ได้เลย ขอยืนยันเด็ดเดี่ยว นั่นคือ คนผู้“หลับตา”ปฏิบัติก็ดีี ผู้ยัง“สัมผัส”กับความเป็น“พระเจ้า”หรือกับความเป็น“วิญญาณ”แท้ๆ ด้วย“ทวาร ๕”นั่นเองก็ดี ไม่ได้ มันก็หมดประตู ไม่บรรลุธรรมจนกระทั่งสิ้น“วิจิกิจฉาสังโยชน์-วิิจิกิจฉานุสัย” บรรดาชาวเทฺวนิยมทั้งหลายที่เขานับถือ“พระเจ้า” ก็แล้วไปเถอะ มันย่อมเป็นเรื่องยากมากที่จะพูดกันรู้เรื่อง มาพูดกับผู้มี“ปัญญา”รู้จักรู้แจ้งรู้จริงใน“ส่วนอดีต-ส่วน อนาคต-ทั้งในส่วนอดีตและอนาคต”ว่า มันไม่ใช่“ปัจจุบัน” แน่ๆ!!!! แล้วจะไปจัดการกับ“ชาติ”ใน“อดีต”ใน“อนาคต” มัน ก็“โง่”งมงายอยู่ไปทั้งชาติเกิดชาติหน้าชาติไหนก็“โง่”อยู่ไม่จบ “หลับตา”นั้น มันไม่ใช่“ชาติ”ที่เป็น“ปัจจุบัน”ครบเต็มคน ผู้รู้จักรู้แจ้งรู้จริงความเป็น“ชาติ”ได้ ทั้งในความเป็น “ชาติ ๕” ทั้งความเป็น“ชาติ”ใน“ปฏิจจสมุปบาท” ทั้งความเป็น“ชาติ”ใน“ปัจจุบัน” ทั้ง ๓ ประเด็นด้วย“ปัญญา”อันยิ่ง คนผู้่นี้จึงจะเป็นผู้มี“ปัญญา”แน่แท้้รู้จักรู้แจ้งรู้จริง“ชาติ”ถูกต้องถ่องแท้ ที่สามารถปฏิบัติบรรลุธรรมได้แท้ การจัดการกับความเป็น“ชาติ ๕”บรรลุธรรมบริบูรณ์ได้สัมบูรณ์เป็นที่สุด“จบกิจ” จนกระทั่ง“อยู่เหนือกาล” และจัดการทุกสรรพสิ่งที่ตนต้องการได้ก็ด้วย“กรรม”ที่เกิดอยู่โทนโท่ หลัดๆ เป็น“ปัจจุบัน”ขณะนั้นๆ ได้จริงปานฉะนี้ จึงจะสามารถปฏิบัติ“ดับภพ-จบชาติ”ได้ถ้วนสิ้นกันแน่แท้บริบูรณ์สัมบูรณ์ จึงจะเป็นคนผู้ไม่มี“อวิชชา”บรรลุเป็นผู้มี“วิชชา” เพราะได้“กำจัดกิเลส” ถึงขั้น“อาสวะ”หมดสิ้นเกลี้ยงเกลาไปจาก“จิตวิญญาณ”สำเร็จเด็ดขาด จึงจะเป็น“ผู้ไม่มี”ทั้ง“อวิชชา”ทั้ง“อาสวะ”ครบแท้จริง “อวิชชา”คือ “โง่’หรือ“ไม่รู้” …ก็ไม่มีแล้ว “อาสวะ”คือ “กิเลส”ทั้งหลายทั้งหมด …ก็ไม่มีแล้ว ผู้ไม่มี“อวิชชาสวะ ๘”ครบถ้วนบริบูรณ์ถูกต้องถ่อง แท้ ก็คือ คนที่ไม่มี“โทษ” ไม่มี“ภัย” ไม่มี“ความผิด”ได้แล้ว ผู้หมดสิ้นอวิชชาสวะ ๘ จึงนับเป็น“อรหันต์”ขึ้นไปได้ อรหันต์คือ ผู้หมดความเป็น“ผีหลอก”ทั้งตนทั้งผู้อื่น ความเป็นโทษเป็นภัยหรือเป็นความผิดที่คนปุถุชนหรือคนชาวเทฺวนิยมโลกียะทั้งหลายยังหลงใหลติดยึดกันอยู่นั้น มันเป็น“ผีหลอกตัวยิ่งใหญ่ที่สุด”ที่ชื่อว่า “ความสุข”นี้แล “ความสุข”มันจึงเป็น“ผีร้ายตัวสำคัญสุดยอดยิ่งใหญ่ “โทษ”หรือ“ภัย”หรือ“ความผิด”คือ“ปโทสิกะ”ที่คนมี พระพุทธเจ้าตรัส“ปโทสิกะ”ไว้ในพระไตรปิฎก เล่ม ๙ ข้อ ๓๒ ว่า เป็น“อัตตภาพ ๔” ความเป็น“อัตตภาพ ๔”ที่พระพุทธเจ้าตรัส มีดังนี้ พวกที่ ๑ คือ พวก “อาภัสสรพรหม” พวกที่ ๒ คือ พวก “เทวดาชื่อว่า ขิฑฑาปโทสิกะ” พวกที่ ๓ คือ พวก “เทวดาที่ชื่อว่า มโนปโทสกะ” พวกที่ ๔ คือ “พวกนักคิดนักตรึก นักค้นคิดขบคิด” ซึ่งทั้ง ๔ พวกนี้ คือ คนผู้ยัง“มีภพ” ยัง“ไม่จบชาติ” จึงยังไม่ใช่คนที่บรรลุ“อรหันต์”อยู่ทั้งนั้น เพราะคนพวกนี้ยังไม่หมดสิ้น“อัตตภาพ”ทั้ง ๔ พวก พวกที่ ๑ “อาภัสสรพรหม” พวกนี้ยังยึดติด“ความใส เยี่ยงอวกาศ(อากาสาณัญจายตนภพ)” ว่า เป็น“สภาพของความไม่มีตัวตน” เป็น“ความว่าง” เป็น“อากาสไม่ใช่ตัวตนแล้ว” จึง“สัญญา”กำหนดมั่นหมายทำ“กาย”ของตนให้เป็น“ความว่างใส”หรือ“อากาส”หรือ“อวกาส”ตามที่ตนเข้าใจสำเร็จ แล้วเสพ“ความว่างใส”ที่ตนเนรมิตหรือทำขึ้นในใจสำเร็จนี้้ อันเป็น“นิรมานกาย”หรือ“มโนมยอัตตา”ขนิดหนึ่ง เมื่อทำได้แล้วตนก็ยังหลงยึดเสพ“ว่า เป็น“สุข”อยู่ ซึ่งก็เป็นแค่การเสพ“ความว่างใส”ในใจของตนเองที่ตนปั้นขึ้น-ตนเนรมิตขึ้นมา อันเกิดโดยวิธีทำกำหนดหมายให้“สังขาร”ของตนเป็นไปตามที่ตนต้องการคือให้“ว่าง” มันเป็นแค่“สังขารจิต”ที่ตนยัง“หลงเสพ”ติดเป็น“สุข”อยู่เท่านั้น มันยังไม่เป็น“ปัญญา” ไม่ใช่“ปัญญา”ที่รู้จ้กรู้้แจ้งรู้จริง “เหตุปัจจัยภายนอก”อันมี“กาย”ปรุงแต่งร่วมกับ“จิต”ภายในอยู่ แล้ว“สัมผัสเห็นความจริง”นั้น ที่เป็น“จิตว่างจากกิเลส” เรียนรู้กำหนดรู้ความเป็น“จิตที่ว่างจากกิเลส”ให้ดีๆ “จิตว่างจากกิเลส”กับ“ความว่าง”คือ“อากาส”ที่เราปั้นขึ้นมาสำเร็จด้วยจิต มันคนละสิ่งแตกต่างกันอย่่างสำคัญยิ่ง คนผู้“หลับตา”ก็ดี “ลืมตา”ก็ดี ที่ทำ“จิต”ให้มี“ความรู้สึก”ว่างๆ เป็น“อากาส”ได้สำเร็จ กับความเป็นผู้มี“จิตว่างจากกิเลสาสวะ” มันแตกต่างกันไปคนละทิศ คนละโลกเลย ภาวะ“ความว่าง”ที่เป็น“อากาส” มันมีได้แค่“สัญญาภายในจิต”ของตนเองกำหนดรู้“อากาสว่างๆ”อยู่ภายในใจตนเอง ที่ตนปั้นขึ้นมาได้สำเร็จอยู่ใน“ภวังคจิต”ตนเองแค่นั้น ซึ่งไม่ใช่“ปัจจุบัน”ที่มี“โลก”ภายนอก และมี“อะไรอื่นๆอีกมากมายร่วมกำหนดปรุงแต่งอยู่ด้วย แล้วเราก็ปฏิบัติกำจัด“กิเลสออกไปจากจิต”กระทั่งเป็น“จิตที่ว่างจากกิเลส” มันแตกต่างกันยิ่งกับ“อากาสว่างที่ตนปั้นขึ้นในจิต”ที่หลงผิดว่า เป็น“อรูปฌาน”บ้าง เป็น“อรูปภพ”บ้าง นั่นมันเป็นฌานเป็นภพแบบเดียรถีย์แท้ๆ ผู้มี“สัญญา”หลงจมอยู่“ในส่วนอดีต-ในส่วนอนาคต-ทั้งในส่วนอดีตอนาคต” เพราะยังมี“อวิชชาสวะ”อยู่แล้วเสพ คนผู้หลงเสพ“สัญญา”ของตน ว่า “จริง” จึงยังจมอยู่ในสัญญา“ส่วนอดีต-ส่วนอนาคต-ทั้งในส่วนอดีตอนาคต” ซึ่งมันยังไม่ใช่“ส่วนที่เป็นปัจจุบัน”กันเลย และหลงติดยึด“ความว่าง”ที่ตนปั้นขึ้นสำเร็จด้วยจิตเป็น“มโนมยอัตตา”หรือเป็น“นิรมานกาย”ของตนเองเท่านั้น มันก็เป็นแค่“สัญญา” ที่วนอยู่ใน“ส่วนอดีต-ส่วนอนาคต-ทั้งส่วนอดีตอนาคต* ยังไม่มี“ปัจจุบัน” ไม่มี“ปัญญา” นั่นคือ คนผู้ยังไม่มี“ปัญญา”รู้จักรู้แจ้งรู้จริงทั้งความเป็น“โลก” ทั้งความเป็น“อัตตา” ที่เป็น“ปัจจุบันชาติ” จึงไม่ได้ปฏิบัติทำให้“กิเลสที่เกิดอยู่หลัดๆปัจจุบัน” นั้น มันหมดไปได้ จนกระทั่ง“จิตว่างจากกิเลส“ นั่นมันแค่ทำจิตปฏิบัติจิตที่หลงกันว่าเป็น“ฌาน”เป็น “ภพ”ตามแบบเดียรถีย์ แต่เป็น“การปั้นความว่างขึ้นในจิต” แล้วตนก็ยังหลงเสพ“ความว่าง”นั้นเป็น“ภพ”ที่มี“ชาติ”แล้วเกิดเป็น“สุข”อยู่นั้นเท่านั้น คนผู้นี้ี่มีแค่“เฉโก”ที่ยัง“เสพสุข” เพราะยังไม่รู้“เหตุ-ปัจจัย” จึงมี“ภพ-ชาติ” และหลง“ภพ-ชาติ”อยู่ “เหตุ”ก็คือ “ความสุข”ที่ตน“โง่”หลงติดยึดอยู่นี้แหละเป็น“ตัวการ” เป็น“เหตุ”ใหญ่ที่ทำให้เรายังมี“ความโง่”ติดยึดใน“ความว่าง”ที่เป็น“อาภัสรา” เทวดาพวกที่ ๑ ซึ่งยังเป็นเรื่อง“การวนเวียน”ของคนที่ยังมี“อัตตา” อยู่ทั้งนั้น ยังไม่ใช่“การลดละจนดับเหตุแห่งความวน”เลย พวกที่ ๒ “เทวดาชื่อว่า ขิฑฑาปโหสิกะ” ก็ยังหลง “ความสุข”อยู่ ยังไม่มี“ปัญญา”รู้จักรู้แจ้งรู้จริง ว่า “โลก”เป็น “ภพ” อัตตา”เป็น“ชาติ” จึงมี“ภพ”มี“ชาติ”อยู่นั่นแหละ เพราะ“หมกมุ่นอยู่แต่ในความสรวลเสเฮฮา ความรื่นรมย์ การเล่นหัวจนเกินเวลา” จมอยู่ใน“สัญญา” ไม่ตื่นออกมาจาก“ภพส่วนอดีต-ภพส่วนอนาคต-ทั้งในภพส่วนอดีตอนาคต” จึงมี“โทษ” มี“ภัย” มี“ความผิด”อยู่ ก็ได้ชื่อว่า “ขิฑฑาปโทสิกะ” เป็นผู้งมจมติด“จิต”ตนเองอยู่กับ“สัญญา” ปุถุชนคนทั้งหลายในโลกล้วนยังหลงใหลจมงมงาย “หมกมุ่นอยู่แต่ในความสรวลเสเฮฮา ความรื่นรมย์ การเล่นหัวจนเกินเวลา”กันอยู่ ยังหลงว่า มันเป็น“สุข”กันไม่จบ เพราะ“ธาตุรู้”ยังไม่รู้ใน“อายตนะ ๖” ยังอยู่ในภวังค์ จึงไม่สามารถมี“ปัญญา”รู้จักรู้แจ้งรู้จริง“ความสุข”ที่หลงจมงมงายอยู่กับ“ความสรวลเสเฮฮา ความรื่นรมย์ การเล่นหัวจนเกินเวลา” ว่า มันเป็น“ผีหลอก” เขาไม่ตื่นมารู้จักรู้แจ้งรู้จริงในภาวะ“ปัจจุบัน” เขาก็ยังงมงายตาม“สัญญา”ที่เดิมที่เขาเคยจมงมงาย มืดบอดอยู่ ไม่ถอดถอน “ขิฑฑา”หรือ“ความสรวลเสเฮฮา ความรื่นรมย์ การเล่นหัวจนเกินเวลา” ที่เป็น“ผีหลอก”นี้ จึงเป็น“ความสุข”ที่มี“โทส”มีภัย” มี“ความผิด”ติดตนอยู่ เพราะไม่มี“ปัญญา” ทั้งๆที่ความเป็นคนของเขาขณะนี้ เขาก็เป็นคน ในปัจจุบันชาตินี้แล้ว และตัวตนก็มี“โลกภายนอก” เพราะเกิดมามี“ร่าง”มี“กาย”เป็น“คน”ได้แล้วแท้ๆ แต่เขาก็ไม่รู้ “กาย”รู้“จิต” แต่มี“จิต”จมอยู่ใน“สัญญาเก่าๆเดิมๆ“ ภายใน ที่ยังหลงงมงายอยู่กับ“สุข” ดังที่ใน“อดีต-อนาคต-ทั้งอดีตอนาคต”ที่ตนเคยติดเคยเสพมาหนักหนา ไม่รู้กี่ชาติต่อกี่ชาติ แถมชาตินี้กลับมาหลง“หลับตา”ปฏิบัติกันให้โง่ซ้ำอีก คนผู้นี้ก็หลงจมงมงายอยู่กับ“ความสุข”จมดักดานอยู่ใน“ความหลับไม่ตื่น” ไม่ถอดถอน ยิ่งกว่า“พญานาค” ที่“นอนหลับไม่รู้คู้ไม่เห็น”เฝ้า“ถาดทองคำ”ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงลอยถาด“ทวนกระแสน้ำ”มากองเรียงกันอยู่ ในชาตินี้ก็ยังติดหนักติดหนา อยู่กับ“ครามสรวลเสเฮฮา ความรื่นรมย์ การเล่นหัวจนเกินเวลา” ยังไม่ตื่นรู้เลย เหมือนเป็น“คนหลับ”กันอยู่ทั้งนั้น ดังที่คนปุถุชนทั้ง หลายพากันวิ่งไล่เสพ“สุข”กันอยู่ โดยไม่รู้ว่า มันคือ “ผีหลอก” จึงพากันหลงใหลคลั่งไคล้้“ผีหลอก”คือ “ความสุข”ที่เป็น“ครามสรวลเสเฮฮา ความรื่นรมย์ การเล่นหัวจนเกินเวลา”อยู่ มันก็“เกินเวลา”อยู่ตลอด ไม่มี“สิ้นสุดเวลา”ลงได้ เพราะยังไม่มี“ปัญญา” มีแต่จมอยู่กับ“สัญญา” “จนเกินเวลา”หมายความว่า เสพติดในชาตินี้ยังไม่ยอมหยุด ไม่ยอมพอ ยังเสพยังติด อย่างหนักอย่างหนา แม้จะตายไปอีก ชาติหน้า ต่อไปอีกกี่ชาติต่อกี่ชาติก็ยังติดยังเสพเกินเวลา จนมีแต่ตลอดเวลาต่อๆๆๆ ไปอีก ที่จะยัง“หลงติดเสพครามสรวลเสเฮฮา ความรื่นรมย์ การเล่นหัวจนเกินเวลา”ไปนิรันดร เพราะไม่ได้เรียนรู้“ทุกข์-สุข”และ“ดับสิ้นทุกข์สุข” สัมมาทิฏฐิ-สัมมาปฏิบัติ-สัมมาปฏิเวธ”สัมบูรณ์ จึงชื่อว่าคนติดยึดความสรวลเสเฮฮา รื่นรมย์ บันเทิง ไม่ว่า“ความบันเทิง”จะเป็นชนิดใดประดามีที่คนสมัยนี้ต่างก็สร้างใหม่ขึ้นมาเรื่อยๆ เป็น“ความบันเทิง”สารพัดที่เรียกว่า กีฬา ทั้งเล่นๆบ้าง ทั้งหลงว่าจริงบ้าง เช่น ทำสงคราม ฆ่าแกงกัน ทั้งแข่งเอาชนะคะคานกันเอาเป็นเอาตายบ้าง การเล่นวิตถารบ้าง ละครบ้าง ภาพยนต์บ้าง ตลกบ้าง เล่นมายากลบ้าง เต้นสารพัดเต้นบ้าง ร้องสารพัดร้อง รำสารพัดรำ คิดประดิษฐ์ขึ้นมาอีกมากมาย ล้วนสนุกสนาน สรวลเส เฮฮา รื่นรมย์ เป็นการเล่นหัวจนเกินเวลากันยิ่งๆ ไม่เคยรู้สีรู้สาว่า มันเป็นโทสเป็นภัย ซึ่ง“สูญเสีย” เวลา แรงงาน ทุนรอน อย่างไม่เจริญ คนเราจะมีเวลาพักผ่อนหย่อนใจ หรือรื่นเริงบันเทิงบ้าง มันก็ย่อมมีบ้างเป็นธรรมดา แต่ไม่ใช่“หมกมุ่นอยู่แต่ในความสรวลเสเฮฮา ความรื่นรมย์ การเล่นหัวจนเกินเวลา” ยิ่งถึงกับหมกมุ่นกันจนหลงเป็น“อาชีพ” ก็เสื่อมหนัก ถ้ายุคใดสมัยใด คนงมงายหลงเห็นว่า “กีฬาและความบันเทิง”เป็นเรื่องสำคัญ ถึงขั้น ยกย่อง ให้ราคายิ่ง ทั้งเงินทอง เกียรติยศ แก่ผู้มี“อาชีพบันเทิงและกีฬา” นั่นคือ คนเสื่อม ไม่มี“ปัญญา” เห็นสิ่งควร เป็นสิ่งควรกันแล้ว เพราะไปหลงเห็น“สิ่งไม่ควร เป็นสิ่งควรกันหนัก จนไม่มีไหวพริบที่จะรู้จักรู้แจ้งรู้จริง“โลกุตรธรรม” นี่แหละ คือ คนผู้เป็น“ขิฑฑาปโทสิกะ”ที่“ติดสุข”อยู่ ยังเป็นคนที่“หมกมุ่นอยู่แต่ในความสรวลเสเฮฮา ความรื่นรมย์ การเล่นหัวจนเกินเวลา” มัน“เกินเวลา”ไป จน“เหมิดควมเว้า”กันจริงๆ พวกที่ ๓ “เทวดาที่ชื่อว่า มโนปโทสิกะ” พวกนี้ก็ยังหลง“การเพ่งโทษกันและกันเกินควร”บ้าง ยังก่อความลำบากให้แก่ตนเองบ้าง ไม่มี“ปัญญา”เป็น“ปัจจุบันชาติ” ที่จะรู้จัก“ตนเอง” จึงไม่อาจจะรู้จักรู้แจ้งรู้จริงใน“ความจริง”ที่เกิดอยู่กับ“ความรู้สึกในปัจจุบันบัดนั้น”ของตนเองได้เลย เพราะคนผู้นี้ยัง“ถูกผี”ในอดีต-อนาคต-ทั้งอดีตอนาคตหลอกตนเองจมอยู่ใน“สัญญา” ไม่รู้จักรู้แจ้งรู้จริง “ภาวะแท้”ใน“ปัจจุบัน” ยังพากันหลง“ผีหลอก” ซึ่งจิตของตนหลงเข้าใจว่า“ผี”เป็น“ความสุข” แท้ๆมันมีคู่หูคือ“ทุกข์”อยู่ด้วย แต่ก็มืดบอดอยู่กับ“ผีหลอก”ในตนอยู่นั่นเอง “มโน”หรือ“จิต”ตนเองแท้ๆ เป็น“ผี”หลอก“ตนเอง ด้วยความมี“อวิชชา”อยู่ใน“อาสวะ” เป็น“เทวดา”หน้าโง่อยู่ จึงสร้างโทษ สร้างภัย สร้างความผิดให้ตนเองและผู้อื่นอยู่ “เทฺวดา“ คือ “เทฺว”คือ “ภาวะ ๒”ที่ตนเอง“โง่-ไม่รู้” “มโนปโทสิกะ”หรือคนผู้มี“มโนเป็นโทสเป็นภัยเป็นความผิด”นี้ มันทั้งหลอกตนเอง ทั้งหลอกผู้อื่น ร้ายกาจมาก เพราะ“ตน”มันยัง“โง่”โดยแท้ หรือ“มิจฉาทิฏฐิ“อยู่ ซึ่งพวก“มโนปโทสิกะ”นั้น คือ พวกหลง“ใจตนเอง” เพราะยังไม่สามารถรู้จักรู้แจ้งรู้จริง“กาย”และ“จิต” ยังแยก “กาย”แยก“จิต”ตนเอง ไม่ถูกต้องถ่องแท้ คือ หลงความเป็น“กาย” ว่า หมายถึง “สรีระ” อันมีแค่“ร่าง”อันเป็น“วัตถุภายนอก” ๑ เดียวเฉพาะ ไม่มี“จิต”ร่วม “กาย“นั้นในพจนานุรมบาลี ก็ยังแปลว่า องค์ประชุม คือ ภาวะที่เป็น“หมู่” เป็น“พวก” เป็น“กลุ่ม” ซึ่งไม่ใช่“ภาวะเดียวเดี่ยวๆ” ก็ยังถูกต้องอยู่นะ แต่ความเข้าใจคือ “ทิฏฐิ”ของคนสิ กลับเพี้ยนผิดไปหมายเอา“ร่างภายนอก”อย่างเดียวโดยเฉพาะเท่านั้น ผู้เข้าใจว่า “กาย”มีแต่“ร่างภายนอกเดี่ยวๆ”นี้ ..ผิด! “กาย”ต้องมี“จิตร่วมด้วย”เสมอ คือ ต้องมีเจตสิก เช่น มีเวทนา หรือมีสัญญา หรือมีสังขาร ร่วมด้วย เป็นต้น ที่มี“ทั้งส่วนภายนอก”และมี“ทั้งส่วนภายใน”เข้าไปรวมกันอยู่ มี“ภาวะ ๒” คือ “นามกับรูป”รวมกันอยู่ เป็น“กาย” “กาย”คือ ความปรุงแต่งของ“ภาวะ ๒”ขึ้นไปนี่เอง ผู้มี“อวิชชา”ที่ยังมี“กาย” ก็ยังมี“กิเลส” มี“ตัณหา” เป็น“เหตุ”ให้เกิด“ทุกข์” เกิด“สุข” ขึ้นใน“เวทนา”กันอยู่ จึงต้องเรียนรู้“เวทนา”นี้เอง อ่านรู้ได้ถึง“ความรู้สึก” แต่คนผู้ไม่มี“ปัญญา”ก็ไม่สามารถอ่าน“เวทนา”กันได้ ทั้งๆที่มันมีอยู่ให้“เจ้าตัว”อ่านรู้หรือ “กำหนดรู้(สัญญา)”ได้ จึง“ไม่รู้”ว่า “เพราะ“เหตุนี้ จึงเป็นผลนี้” หรือเพราะ“เหตุ”นี้เป็น“ปัจจัย”จึงเกิด“ผล”นี้ ก็ไม่รู้“อิทัปปัจจัยตา” ที่เป็น“ปัจจยาการ”กันอยู่ เพราะยังเป็นผู้มี“อวิชชาสวะ”ใน“ปฏิจจสมุปบาท”แท้ จึงไม่ได้ศึกษา“การเกิด”ที่เป็น“ชาติ”เป็น“ภพ”อยู่ ก็เนื่องจากหลงเมามัว หมกมุ่นอยู่แต่“ความรู้สึกสุข” ที่เพ่งแน่วแน่อยู่แต่“สุข”เท่านั้น เป็น“จุดเดียวจึงไม่รู้อะไรอื่น คนมันหลง“สุข”กันอย่างมืดบอดจริงๆนะ!!!! ผู้ยังไม่ใช่“อรหันต์”จริงๆ คือ ผู้ยังหมด“สุข”ไม่ได้ “สุข”จึงเป็น“ตัวการ”ของ“โทษ”ชอง“ภัย”ของ“ความผิด” ที่คนผู้ใดแม้จะได้ศึกษาเรียนรู้ลดละ“สุข”จากที่ไปหลงติดยึดเกี่ยวกับอะไรต่ออะไร ที่เป็นขี้หมูราขี้มาแห้งมาได้ไม่น้อยแล้ว ก็ใช่ว่า เราจะมี“ไหวพริบ”รู้ทันเจ้าตัว“ผี”คือ“สุข”นี้ง่ายๆ “ผี”คือ “มโน”ตนเอง นี่แหละคือภัยหลอก“ตนเอง”อยู่ “มโน”หรือ“จิต”ก็“หลอกตนเอง”เทวดาหน้าโง่”ไม่จบ แม้จะหลงปฏิบัติ“หลับตา”ทำ“เจโตสมาธิ”เก่งปานใดๆ ก็เหมือน“อาฬารดาบส”หรือ“อุทกดาบส”เท่านั้นนั่นแล “เก่ง”แบบ“อาฬารดาบส”หรือ“อุทกดาบส”ก็ยังไม่มี “ปัญญา”ที่จะรู้จักรู้แจ้งรู้จริง“มโน”อยู่ดี “มโน”จึงเป็น“โทส”เป็น“ภัย”ตนเอง อยู่ ไม่พ้นไปได้ ถ้าไม่มาเรียนรู้แบบ“ลืมตา”เป็น“ปัจจุบัน”รู้จักรู้แจ้งรู้จริง“ชาติ”ให้บริบูรณ์ครบถ้วนทุก“ชาติ” ก็พ้น“ชาติ”ไม่ได้เลย เพราะยังมี“อวิชชา”ในความเป็น“ชาติ”อยู่ ยังไม่มี “ปัญญา”หรือ“วิชชา”รู้จักรู้แจ้งรู้จริงว่า “ชาติ”คือ เหตุที่เป็นปัจจัยของ“รูป”กับ“นาม”เท่านั้นที่มัน“ปรุงแต่ง”หรือ“สังขาร” กันอยู่ จึงพากันทำ“ความเกิด”คือ “ชาติ”กันอยู่ด้วย“อวิชชา“ ความเป็น“อัตตภาพ”ได้กล่าวสังเขปมาถึง ๓ ภาวะแล้ว ที่เกิดเป็น“ความว่างใส”ชื่อว่า“อาภัสสรพรหม”ก็ดี ที่เกิดเป็น“ความหมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ คือ การสรวลเสเฮฮา การเล่นการหัวจนเกินเวลา”ชื่อว่า เทวดา“ขิฑฑาปโทสิกะ”ก็ดี ที่เกิดเป็น“พวกนักเพ่งโทษกันและกันเกินควร”แล้วก็หลงยึดติด“ความเที่ยง”ในความเป็น“อัตตา”ของตน เป็นเทวดา“มโนปโทสิกะ”ก็ดี ต่างก็ล้วนยังมี“ความเกิด”คือ “ชาติ”กันอยู่ทั้งนั้น จึงยังเป็นผู้ไม่หลุดพ้นได้ มี“อวิชชาสวะ ๘”อยู่ เป็นผู้ยังมี“อัตตา”อยู่ ไม่หมด“ความเกิด”ก็ยัง“เกิด”ไม่มี“จบกิจ” ศาสนาพุทธในยุคทุกวันนี้ ที่่หลงผิดว่าเป็น“อรหันต์” กันนั้น ก็ยังมี“อัตตา”อยู่ทั้งนั้น เพราะยังไม่พ้น“อวิชชาสวะ ๘”นี่เอง เช่น ไป“หลับตา”ปฏิบัติ เป็นต้น ก็ไม่มี“ปัจจุบัน”อันเป็น“ชาติ”ให้ตนเองปฏิบัติเรียนรู้ และกำจัดกิเลสใน“ชาติ” ทั้งหลายของ“จิต เจตสิก รูป”ของตน จึงทำ“นิพพาน”ไม่ได้ แม้ในหมู่พวกผู้ที่เรียนรู้ก็ดี ทั้งปฏิบัติจริงจังก็ดี แต่ยังไม่“พ้นมิจฉาทิฏฐิ”ก็ยังหลงงมจมกันอยู่กับ“อัตตภาพ ๓”นั้น ทีนี้พวกที่ ๔ พวกนี้เป็นนักตรึก เป็นนักค้นคิด กล่าวแสดงปฏิภาณของตนตามที่ตรึกได้ ตามที่ตนคิดได้ อย่างนี้ว่า สิ่งที่เรียกว่าจักษุก็ดี โสตะก็ดี ฆานะก็ดี ชิวหาก็ดี กายก็ดี ได้ชื่อว่า อัตตา เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่คงทน มีอัน แปรผันเป็นธรรมดา ก็จักต้องเที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว ส่วนที่เรียกว่า จิต หรือใจ หรือวิญญาณ นี้ชื่อว่า อัตตา เป็นของเที่ยง ยั่งยืน คงทน มีอันไม่แปรผันเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เที่ยงเสมอไปเช่นนั้นทีเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๔ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตา และโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง นี้คือ “อัตตภาพ ๔” ความยังมี“อัตตา”ทั้ง ๔ ประเด็น เพราะยังมี“อวิชชาสวะ ๘”อยู่ ไม่พ้นไปได้ จึงไม่สามารถเรียนรู้“ปฏิจจสมุปบาท”จนกระทั่งบรรลุธรรมบริบูรณ์สัมบูรณืได้ ด้วยประการฉะนี้แล. Categories: ธรรมะพ่อครู, ศาสนาBy Samanasandin17 มกราคม 2024 Author: Samanasandin https://boonniyom.net Post navigationPreviousPrevious post:670115 ลดละจากมหามาสู่จุล เปลี่ยนจากไม่เห็นด้วยจนมาเห็นได้ รายการปรับทุกข์ปลุกธรรม #51 ราชธานีอโศกNextNext post:ฉบับที่ ๕๖๔(๕๘๖) นสพ.ข่าวอโศกรายปักษ์ ปักษ์แรก มกราคม ๒๕๖๗Related Posts150401 จะพึ่งอะไรดี-พ่อท่าน-วัดมหาธาตุ28 พฤษภาคม 2024141026 จูฬสุญญตสูตร ตอนที่ 2-พ่อท่าน-วัดธาตุทอง7 พฤษภาคม 2024141026 จูฬสุญญตสูตร ตอนที่ 1-พ่อท่าน-วัดธาตุทอง4 พฤษภาคม 2024670224 พ่อครูเทศน์เวียนธรรมมาฆบูชา งานพุทธาภิเษกฯ ครั้งที่ 48 ราชธานีอโศก24 กุมภาพันธ์ 2024670126 ตอบปัญหาเพื่อละอวิชชา 8 พุทธศาสนาตามภูมิ ราชธานีอโศก26 มกราคม 2024670115 ลดละจากมหามาสู่จุล เปลี่ยนจากไม่เห็นด้วยจนมาเห็นได้ รายการปรับทุกข์ปลุกธรรม #51 ราชธานีอโศก15 มกราคม 2024
670115 ลดละจากมหามาสู่จุล เปลี่ยนจากไม่เห็นด้วยจนมาเห็นได้ รายการปรับทุกข์ปลุกธรรม #51 ราชธานีอโศก15 มกราคม 2024