141026 จูฬสุญญตสูตร ตอนที่ 1-พ่อท่าน-วัดธาตุทอง
https://www.boonniyom.net/53876.html
อ่านคำเทศนาได้ที่ https://docs.google.com/document/d/16wQhs5XLU8gv7aQBkrXaeWRMI-guyA1M-5fh21oJj3A/edit?usp=sharing
ดู Youtube ได้ที่ https://youtu.be/mc-82cCjBXI
ต่อจากนี้ไป เป็นการแสดงธรรมจากพ่อท่าน ที่วัดธาตุทอง วันที่ 26 ตุลาคม 2514
พ่อครูว่า… จะพูดสู่กันฟังโดยภาษาตรงๆ ของอาตมาคนเดียว แต่ว่าจะเอาพระสูตรมาอ่านเลยทีเดียว เอาออกมาจากพระไตรปิฎกเลยทีเดียวมาอ่านแล้วก็ขยายความกันพอที่จะขยายได้ เท่าที่จะขยายได้ทำความเข้าใจกัน ที่จริง สุญญตานั้น เป็นเรื่องที่ ไม่ใช่เรื่องตื้น เป็นเรื่องที่ลึก เป็นเรื่องที่ไกล แต่ว่าเราเองก็พูดกันมานักเพราะว่า แม้กระทั่งในที่นี้ เราก็ยังพูดกัน อย่าว่าแต่สุญญตาเลย แม้กระทั่งการตายของพระอรหันต์ตายอย่างไรอย่างไรเราก็พูดกันไปจนถึงขนาดนั้น ก็เรียกได้ว่ามันสูงเกินขนาดแล้วล่ะมันสูงก็สูงกันไปพูดสูงบ้างต่ำบ้างคละเคล้ากันไป
แต่ว่า ไอ้ที่จะสูงหรือจะต่ำอะไรก็ตามแต่ มันก็ไม่มีอะไรมากนอกจากว่า เราเองเราจะสมมุติเอา หรือว่าจะยึดถือเอาว่าไอ้นี่สูงไอ้นี่ต่ำ หยาบหรือละเอียด เราจะดำเนินจากละเอียดมาหาหยาบก็ได้ ดำเนินจากหยาบหาละเอียดก็ได้ มันได้ทั้ง 2 ส่วน 2 ด้าน แต่ว่าโดยถูกโดยต้องแล้ว มันก็ควรจะเป็นจากหยาบไปหาละเอียด จะทำจากละเอียดมาหาหยาบมันก็ได้ แต่ว่ามันนานมันใช้เวลานาน
เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านเองท่านไม่พยายามให้พาทำอย่างที่ท่านได้เคยตรัสเอาไว้แล้วในเรื่องปฏิปทา 4 ซึ่งบางอย่างก็ปฏิบัติได้ เรียกว่าสะดวก แต่ว่านาน
บางอย่าง สะดวกแต่เร็วด้วย อย่างนี้เป็นต้น แต่ส่วนอีกบางอย่างนั้นทั้งยากทั้งนานหรือว่ายากแต่เร็วก็ดี ซึ่งเหล่านั้นเราก็แยกแยะให้ออกตามที่พระพุทธเจ้าท่านได้แยกแยะให้ฟังแล้ว เราก็เลือกให้เป็น พยายามจัดให้ถูก ไม่ใช่ว่ามันไม่ได้ ปฏิบัติละเอียดมาหาหยาบก็ได้ แต่ควรจะปฏิบัติหยาบไปหาละเอียด
พระสูตรที่อาตมาจะอ่านนี้ หรือว่าจะเอามาเล่าสู่กันฟังนี้คือ จูฬสุญญตสูตร
จูฬสุญญตานั่นเอง จูฬสุญญตสูตร อยู่ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 14 ข้อ 333 ที่อาตมาได้พระไตรปิฎกมาแล้ว ยังไม่มีเวลาได้อ่านเลย แต่ว่าเปิดตรงไหน ๆ ก็รู้สึกว่าดีทั้งนั้นเลย เปิดเจอตรงไหนอ่านเอาไว้แล้วก็มาร์คเอาไว้แล้วก็เล่าสู่กันฟัง
จริงๆ สุญญตะนี้ อาตมาก็เคยพูดกันมาแล้วตั้งหลายทีแล้ว แม้แต่สุญญตวิโมกข์ สุญญตวิมุติ สุญญตวิหาร เราก็เคยได้อธิบายถึงขนาดนั้น โดยความเป็นจริงแล้ว ขั้นที่เรามาพูดสู่กันฟังนี้เป็นขั้นอาริยะนะ ที่พูดกันถึงสุญญตวิโมกข์ สุญญตวิมุติ สุญญตวิหาร หรือแม้จะพูดถึง อนิมิตตนิพพาน อัปนิหิตตนิพพาน จนกะทั่งถึงสุญญตนิพพานมันเป็นที่ของพระอาริยะที่รู้อารมณ์ของนิพพาน รู้อารมณ์ของสุญญตาได้แล้ว แล้วก็มาพูดกัน ไม่ใช่ของต่ำๆ นะที่เราพูดกันอยู่นี่
เพราะฉะนั้นถึงบอกว่าแหม! ฟังๆ ดูแล้วก็ออกหมั่นไส้ เราเองพูดก็ออกหมั่นไส้ตัวเองเหมือนกันนะ แหม..เอาเรื่องที่มันไม่น่าพูดมาพูด ที่จริงมันเป็นเรื่องของสิ่งที่จะรู้ได้โดยสภาวะ ไม่ใช่เรื่องที่จะพูดเอาเท่านั้น เพราะฉะนั้นพูดให้ฟังก็ฟังกันไปได้เฉยๆ ฟังกันไปได้เฉยๆ สำหรับผู้ที่ลูบคลำนิพพาน ลูบคลำสุญญตาจริง ๆ แท้ ๆ ได้ฟังจะ อ๋อ.. หรือว่าจะเข้าใจ หรือว่าจะเป็นไปได้ แต่ถ้าผู้ที่ยังไม่ได้ลูบคลำแม้อารมณ์นิพพานเป็นยังไง อารมณ์สุญญตาเป็นยังไงจริงๆ รู้แต่สภาวะตัวหนังสือที่บรรยายออกมาเป็นบัญญัติเป็นภาษา เป็นนิรุตติเป็นคำพูดคำท่องคำอ่านอะไรก็ตามแต่ เราก็จะยึดแต่เพียงเหตุผลของภาษา เหตุผลของคำพูดนั้นๆ ที่มันมีเป็นเหตุเป็นผล คล้องจองกันไปเท่านั้นเอง มันก็ไม่ซาบซึ้งถึงขีดถึงขั้นอะไร ฟังๆ ไปจำได้ก็ดี ถ้าจำไม่ได้เลิกกันเลย หมายความว่าไม่ได้เรื่องอะไรที่ฟังไป ถ้าจำได้ก็ยังดียังติดไว้ในสมอง
แต่ถ้าผู้ที่เข้าใจเจอสภาพหรือสภาวะของนิพพานจริงๆ เจอสภาวะของสุญญตาจริงๆ แล้ว เป็นสภาวะเป็นสิ่งที่มันเกิดในจิตในใจจริงๆ ผู้เจออันนั้นแล้วพออธิบายให้ฟัง ไม่จำเป็นจะต้องใช้คำว่าจำเลย มันซึ้งทันที ไม่ต้องจำไม่ต้องจด เรียกว่า เข้าใจอย่างซาบซึ้งเลย จะไม่ลืมอีกเลย ยิ่งซาบซึ้งมาก ยิ่งมีสภาวะมากยิ่งซาบซึ้งมาก แล้วยิ่งจะจำติดใจไปเลย ไม่มีถอดถอน นี่แหละเรียกว่าสภาวะกับ ของ ๆ จริงมันมาสัมพันธ์กันเข้ามันจะดูดจะติดเลยพอมีสภาวะ พอกล่าวชื่อมันปั๊บ มันดูดจนติดเลย แต่ถ้าเราไม่มีสภาวะกล่าวชื่อมันก็มีแต่ชื่อ ถ้าเราไม่มีชื่อมีแต่สภาวะมันก็ไม่มีอะไรเหมือนกัน มันก็มีแต่ตัวตน เป็นประโยชน์ตนเท่านั้น ทีนี้ถ้าเผื่อว่าเอาชื่อมาพูดด้วยเป็นสภาวะด้วย แล้วเราก็เป็นประโยชน์ที่เอาสภาวะนั้นมาอธิบายหรือมากล่าวชื่อกล่าวนามให้คนอื่นเค้าฟังได้ด้วย มันก็เป็นประโยชน์ 2 ส่วน เป็นประโยชน์ขึ้นไปเรียกว่า ปฏิสัมภิทาญาณ หรือผู้ที่มีสภาวะแล้ว มีอรรถะแล้ว มีธรรมะแล้วในตัว ก็มาเรียนรู้นิรุตติคือมาเรียนรู้ภาษาให้มันประกอบกัน เมื่อประกอบกันแล้วก็เป็นปฏิสัมภิทาญาณ 2 3 4 ขึ้นไปแล้วก็เอามาพูดสู่กันฟัง
เอาลองมาฟัง จูฬสุญญตสูตร ดูซิ https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=4714&Z=4845 จูฬสุญญตสูตร
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา มิคารมารดา ในพระวิหาระบุพพาราม เขตนครสาวัตถี เนี่ยก็เป็นวิหารของนางวิสาขาสร้างเองวิหารบุพพารามเนี่ย ซึ่งมีโลหะปราสาทเป็นเอกอยู่ในวัดนั้น ซึ่งโลหะปราสาทนั้นมีตั้ง 1,000 ห้อง คิดดูซิว่าความเจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้นกับความเจริญรุ่งเรืองในประเทศไทย เดี๋ยวนี้มันต่างกัน เดี๋ยวนี้มีมั๊ยอาคารที่ไหนมีห้องถึง 1,000 ห้อง ดุสิตธานีที่ว่าเก่งที่สุดเดี๋ยวนี้นะมีถึง1,000 ห้องไหม มีแค่ 500 ห้อง
เพราะฉะนั้นถึงบอกว่าความเจริญของประเทศไทยเดี๋ยวนี้อย่าอวดดีเลยว่า เจริญยิ่งกว่าสมัยพระพุทธเจ้า ไม่มีทางเลย ไม่มีทางเจริญเท่าสมัยพระพุทธเจ้าเลย แต่เราก็อวดดีว่า เราเจริญยิ่งกว่าสมัยพระพุทธเจ้า แล้วก็ไปว่าสมัยโน้นคนไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรต่ออะไร มีการงมงายอะไรมีอะไรต่ออะไรไม่จริงเลย ที่จริงฉลาดกว่าเราเยอะแยะ แต่เราไม่รู้ว่าความฉลาดนั้นคืออะไร แต่ว่าถ้าไปพูดถึงว่าความฉลาดทางโลก จริง เดี๋ยวนี้เราฉลาดทางโลกมากกว่าสมัยพระพุทธเจ้า เพราะอะไร โลกคืออะไร โลกหรือโลกีย์คือกิเลส คือกาม เพราะฉะนั้นบอกว่าเราฉลาดทางโลกมากกว่าสมัยโน้น จริง อาตมาไม่เถียงเลย เพราะเรามีกิเลสกามหรือกิเลสโลกียะมากกว่าสมัยโน้น อันนี้ไม่เถียง แต่ความเจริญทางโลกุตระสิ สมัยพระพุทธเจ้าเจริญกว่ามากกว่ามาก นี่แหละต้องทำความเข้าใจ
แม้พระสูตรที่ท่านตรัสเอาไว้ คำกล่าวต่างๆ นานา เราต้องมาวิจัยให้ออกว่า มันมีเหตุผลที่จะฟ้อง ที่จะแสดงอะไรต่ออะไรให้เราเข้าใจได้ด้วย เช่นว่า วิหารบุพพารามซึ่งมีโลหะปราสาทถึง 1,000 ห้อง มันก็แสดงผลให้เราเข้าใจได้ว่า ความเจริญสมัยโน้นยิ่งกว่าสมัยนี้
[333] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขามิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ออกจากสถานที่หลีกเร้นอยู่ในเวลาเย็น แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
นี่เป็นสำนวนของท่านบาลี ไปที่ไหนแล้วก็นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง นี่เป็นภาษาบาลีก็หมายความว่า ไปถึงแล้วก็หาที่นั่งที่เหมาะๆ ควรๆ สำนวนนี้เข้าใจให้ได้ แล้วก็มี
เสมอๆ แปลทีไรก็จะมีอย่างนี้เป็นสำนวนพระสูตร ในสำนวนพระไตรปิฎก
พอนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่สักยนิคมชื่อ นครกะ ในสักกชนบท ณ ที่นั้น ข้าพระองค์ได้สดับได้รับคำ ได้รับพระดำรัสนี้เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า
ดูกร อานนท์ บัดนี้เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม ฟังดีๆ นะเริ่มต้นแล้วนะ บัดนี้เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม มีชื่อเลย สุญญตวิหาร หรือ สุญญตวิหารธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ข้าพระองค์ได้สดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว จึงจำไว้ดีแล้วหรือ ไอ้ที่แล้ว ๆ แล้ว ๆ น่ะ นี่ยังไม่แน่ใจนะ ยังกำชับ เรียกว่า ยังทูลถามพระพุทธองค์ต่อไปอีกว่า ดีแล้วน่ะ ดีแล้วหรือ เพราะฉะนั้น คล้ายๆ ยังคลางแคลงตัวเองอยู่ว่าพระอานนท์คลางแคลงตัวเอง ว่าตัวเองเนี่ยจะเข้าใจสิ่งเหล่านั้นได้ดีแล้วทุกอย่างแล้วหรือ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรอานนท์ แน่นอนนั่นเธอสดับดีแล้ว สดับนี่หมายความว่าฟังนะ เอาแค่ฟังนะ สดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว แล้วก็รับเอามาจากฟัง ใส่ใจดีแล้วเอามาคิด ทบทวน กำหนดสัญญาลงไปในใจ ใส่ใจ จงจำไว้ดีแล้ว ผนึกลงไปเลยสัญญามันมีกำหนด กำหนดแล้วก็ฝังจำ ทรงจำไว้ดีแล้ว ท่านยังไม่ได้บอกเลยท่านยังไม่ได้บอกมากกว่านี้เลย ฟังให้ดีนะ อานนท์ แน่นอน เธอนั้นสดับมาดีแล้ว ฟัง รับมาดีแล้ว คือรับเอามาจากฟัง ใส่ใจดีแล้ว เอามาคิดดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว แล้วก็จำ ผนึกลงไว้ในใจ ฟังให้ดีนะ มีอยู่แค่นี้ พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้บอกว่าอานนท์ไม่ได้รับอะไร ไว้เลย แต่รับไว้ เพราะแน่นอนพระพุทธเจ้าท่านขยักเอาไว้นิดนึงเท่านั้นเอง ถ้าพระอานนท์เข้าใจสุญญตวิหารธรรมนี้ได้ดีซาบซึ้งแล้ว พระอานนท์ย่อมเป็นอรหันต์ ย่อมเกิดปัญญาวิมุติ แต่นี่พระอานนท์ยังไม่วิมุติยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์ เพราะเหตุนั้นพระพุทธเจ้าถึงตรัสไว้แค่นี้ ก็ได้แค่ ได้สัญญาจำไว้เท่านั้น ยังไม่ดีไปกว่านี้
ดูกรอานนท์ ทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้ เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม ทำไมอาตมาอธิบายตอนนั้นว่า พระอานนท์ได้แค่จำได้แค่รู้เฉยๆ แต่ยังไม่แจ้ง ยังไม่สว่างถึงที่ ก็เพราะเหตุว่า ถ้าแจ้งถ้าสว่างถึงที่แล้ว พระพุทธเจ้าจะไม่ต้องอธิบายต่อ เท่านี้เองเคล็ด พระพุทธเจ้าก็ไม่อธิบายต่อเพราะคนรู้แล้วจะไปอธิบายให้เสียเวลาทำไม แต่ที่นี้พระพุทธเจ้าอธิบายต่อแสดงว่า คนขอร้องว่าพระพุทธเจ้าจะต้องสอนต่อไปอีก ท่านก็ต้องสอนให้ฟัง
ดูกรอานนท์ ทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้ เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม เปรียบเหมือนปราสาทของมิคารมารดาหลังนี้ อย่าลืมนะเราขึ้นต้นด้วยว่าขณะนี้เราอยู่ที่ปราสาทนี้ ปราสาทของนางวิสาขา นางวิสาขานี้มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า มิคารมารดา คือพ่อผัวของนางวิสาขาชื่อมิคาระ แล้วมิคาระนี้เกิดเลื่อมใสยกตำแหน่งวิสาขาให้เป็นแม่ จึงเรียกว่าเป็นแม่ของมิคาระดังนี้ เพราะฉะนั้น ชื่อหนึ่ง หรือสมญานามอีกชื่อหนึ่งของนางวิสาขาคือ มิคารมารดา ขณะนี้กำลังนั่งอยู่ในโลหะปราสาทอันนี้ พระพุทธองค์กำลังเปรียบเทียบอยู่
เปรียบเหมือนปราสาทของนางมิคารมารดาหลังนี้ ว่างเปล่าจากช้าง โค ม้า และลา ว่างเปล่าจากทองและเงิน ว่างเปล่าจากการชุมนุมของสตรีและบุรุษ เหมือนกันเลยกับที่อาตมาเคยเปรียบเทียบที่นี่ว่า ที่นี่ว่างเปล่าจากช้าง แต่ไม่ได้ว่างเปล่าจากคน ซึ่งอาตมาเคยยกตัวอย่างสุญญตาตั้งแต่ก่อนโน้น ตั้งแต่ยังไม่เคยได้พระไตรปิฎกมานี่พอดีได้มาอ่านพระไตรปิฎกเข้าเจอ อ่านเหมือนกันเลย ก็เลยว่าดีเหมือนกัน ว่างจากสิ่งเหล่านั้นคือว่างจากช้าง จากโค จากม้า จากลา จากทองและเงิน ท่านอธิบายเยอะแยะ ว่างจากการชุมนุมของสตรีและบุรุษคือไม่มีทั้งสตรีและบุรุษ
แต่ดูให้ดีนะ ฟังให้ดี มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียว เฉพาะ ภิกษุสงฆ์เท่านั้น ฟังให้ดี แต่มีไม่ว่างอยู่สิ่งเดียวคือ ภิกษุสงฆ์เท่านั้น คำอธิบายอันนี้ของพระพุทธองค์นี่ ละเอียดกว่าที่อาตมาได้เคยยกตัวอย่างว่า ที่นี่ว่างจากช้างแต่ไม่ว่างจากคน ละเอียดตรงไหนละเอียดตรงที่ว่า ของท่านนอกจากไม่ว่างจากช้างแล้วก็ไม่ว่างจากม้า ว่างจากโค ว่างจากลา แล้วก็ว่างจากบุรุษและสตรีด้วย แต่ไม่ว่างอยู่อย่างเดียว ของท่านเหลืออย่างเดียวคือไม่ว่างจากพระสงฆ์ ฟังให้ดี นอกนั้นว่างหมดแต่ไม่ว่างอยู่แต่พระสงฆ์
แต่ที่อาตมายกตัวอย่าง คราวก่อนนั้น ว่างจากช้างแต่ไม่ว่างจากคน และไม่ว่างจากม้านั่ง ไม่ว่างจากต้นอโศก สุดท้าย ว่างจากช้างว่างจากม้า ว่างจากคนนั้นหมายความว่า ตัดกิเลสทั้งหมดออกไป ว่างจากอะไรต่ออะไรต่างๆ ที่เรียกว่าเป็นกิเลสเป็นเครื่องรบกวน เพราะฉะนั้นท่านถึงบอกว่าสิ่งที่รบกวนทั้งหลายแหล่หายออกไปหมด แต่มันยังมีสิ่งหนึ่งที่อาศัยอยู่ มีสิ่งหนึ่งที่อาศัยอยู่
เพราะฉะนั้นท่านบอกว่าว่างจากช้าง โค ม้า ลา จากเงิน จากทอง แม้กระทั่งชุมนุมสตรีบุรุษอะไรต่างๆ ว่างหมด มีไม่ว่างอยู่คือสิ่งเดียวเฉพาะภิกษุสงฆ์ แสดงว่าสิ่งที่จะให้ดูมีอย่างเดียวเท่านั้นเอง อย่างเดียวเท่านั้นที่ยึดถืออยู่ นี่แหละ ฉันใด ดูกรอานนท์ ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่ใส่ใจสัญญาว่าบ้าน ไม่ใส่ใจสัญญาว่ามนุษย์ ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าป่า จิตของเธอย่อมแล่นไปเลื่อมใสตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าป่า เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่าในสัญญาว่าป่านี้ ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยสัญญาว่าบ้านและชนิดที่อาศัยสัญญาว่ามนุษย์เลย ไอ้ที่ว่าป่า ไอ้ที่ว่าบ้าน ไอ้ที่ว่ามนุษย์อะไรต่ออะไร รวมลงไปหมดเลย รวมลงไปหมดเป็นสิ่งเดียว ใส่ใจแต่สิ่งเดียว
นี่พระพุทธเจ้าบอกท่านรวมลงไปให้ไม่ใส่ใจในสัญญาว่าบ้าน ไม่ใส่ใจสัญญาว่ามนุษย์ ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่า ป่า รวมลงไปหมด จิตของเธอย่อมแล่นไปเลื่อมใสตั้งมั่นและนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่า ป่า เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในสัญญาว่าป่านี้ ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยสัญญาว่าบ้าน ไม่แบ่งไม่แยกน่ะ และชนิดที่อาศัยสัญญาว่ามนุษย์เลย มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวายคือภาวะเดียว ฟังให้ดีนะท่านจึง บอกว่ามีอยู่แต่เพียงความกระวนกระวายคือภาวะเดียว ยังมีความกระวนกระวายนะ ยังมี มีภาวะเดียวด้วยเฉพาะสัญญาว่าป่าเท่านั้น คืออันหนึ่งที่เรายึดอยู่
ก็ขออธิบายนิดนึงซะก่อน ก่อนจะต่อ เพราะฉะนั้นถ้าเราจะยึดอะไร รวมลงมาเป็นหนึ่ง เราก็ต้องว่างจากสิ่งอื่นหมด เราไม่แจง ซึ่งสมมติว่าอยู่ในบริเวณนี้ ขณะนี้ มีอะไรต่ออะไรเยอะแยะเลย ถ้าจะเราจะแบ่งแยกว่า นี่คน นี่ต้นอโศก นี่ไมโครโฟน นี่ขวดน้ำ มีแก้วอะไรต่ออะไรแยกแยะไปหมดเลยตามสมมุติโลก โลกเขาสมมุติว่าอันนี้ขวดอันนี้คน อันนี้ต้นไม้ นี้ม้านั่ง อันนี้เก้าอี้ อันนี้ว่าถ้วย ว่าชาม ต่างๆ นาๆ สมมุติโลกทั้งสิ้น ถ้าเราไปแยกแยะจิตของเราให้ไปตามรู้พวกนี้ พวกนี้นะ เราก็จะมีการแบ่งแยกออกไปหมดเลย ไม่รวมลงเป็นหนึ่ง
เพราะฉะนั้นเมื่อเราจะรวมลงเป็นหนึ่ง เราต้องเห็นสิ่งพวกนี้ว่าคือสมมุติโลก ที่มันพึงเกิดพึงเป็นตามเหตุของโลก ถ้าใครที่บอกว่าไอ้นี่มีค่าเพราะมันเป็นขวด ถ้าใครเอาเพชรมาวางไว้ตรงนี้ ไอ้นี่เป็นเพชร แล้วก็เดือดร้อนแล้วไม่อเนญชาแล้วชักหวั่นไหวในเพชรว่า เอาเพชรมาวางไว้ตรงนี้นี่ ชักไม่ค่อยดี ใครเอาแบงค์ร้อยมาวางเกลื่อนอยู่บนโต๊ะนี้ ชักหวั่นไหวแล้ว ไม่อเนญชาแล้ว เกิดจะมี อกุศลจิต หรือ กุศลจิต เกิดขึ้นซะแล้ว คนนึกดี ก็บอกว่า เฮ้ยของใครนี่เก็บสิ ไอ้คนที่มันนึกไม่ดีมีอกุศลจิตก็บอกว่า เฮ้ย ไม่ต้องไปบอกเค้าเก็บแล้ว เผลอ ๆ เราค่อยไปหยิบ มันก็เป็นได้ เพราะอะไร เพราะจิตมันไม่นิ่งแล้ว ไม่อเนญชาแล้ว ชักหวั่นไหวซะแล้ว แล้วก็จะได้รับความกระทบกระเทือนเฟื่องฟูออกมา คิดไปในทางต่ำหรือทางสูงได้ คิดไปได้
แต่ถ้าเผื่อว่าเราไม่สำคัญมั่นหมายมันเลย ไม่ไปตีค่าอะไรมันเลย เงินก็เงินสิ แบงค์แดงๆ กองอยู่บนโต๊ะก็เฉย เพชรวางอยู่บนนี้ก็เฉย แก้วน้ำขวดน้ำก็เฉย เหมือนกันกับแก้วน้ำวางอยู่ เพชรเม็ดนึงก็เหมือนกับแก้วน้ำวางอยู่เฉยๆ ไม่สะดุ้งสะเทือนอะไร เห็นแล้วก็เฉย มีเงินมีทองอยู่ในนี้ล้านนึง ก็เหมือนกับเห็นกาน้ำใบนี้วางอยู่บนนี้ ไม่ไปสำคัญมั่นหมายอะไรด้วย ไม่ไปกำหนดไม่ไปสมมุติด้วย ใครจะสมมุติว่าเพชรมีค่า เงินมีค่า ไม่สมมุติด้วย ใครจะสมมติว่าแก้วมีค่าหรือน้อยค่ากว่าเพชร น้อยค่ากว่าเงินก็ไม่สมมุติด้วย เห็นอยู่อย่างนี้ สักแต่ว่าเป็นสภาวะเดียว เฉยๆ อยู่ ไม่ไปแยกไม่ไปสมมุติอะไรด้วยเลย รู้แต่ว่าเราอยู่ ณ ที่นี้ที่หนึ่งที่เดียว แล้วก็สำคัญที่เราอยู่ไม่ไปสมมุติอะไรเพิ่มขึ้นเลย นี่คือคำอธิบายของพระพุทธองค์ที่หมายถึงเมื่อตะกี้นี้
เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าบ้าน มีคำอธิบายเหมือนกับที่อาตมาอธิบายแล้วอาตมายังไม่ได้อ่านต่อ เธอรู้ชัดว่าสัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าบ้าน สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่ามนุษย์ และรู้ชัดว่า มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าป่าเท่านั้น นี่ท่านแยกแยะแค่บ้านกับมนุษย์ อาตมาแยกแยะมากไปอีกจนกระทั่งถึงเพชรถึงเงินให้ฟัง เพื่อที่จะได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
เช่นเดียวกัน แล้วเราก็สัญญาแล้วก็เป็นแต่เพียงกำหนดลงไปแต่เพียงว่า ไอ้นี่คือสภาวะหนึ่ง อยู่ในแดนหนึ่ง อยู่ในโลกๆ หนึ่ง มีความว่างเปล่า ถึงแม้จะมีสิ่งพวกนี้ๆ อยู่ เท่าไหร่ๆ ก็ตามแต่ มีคนอยู่ มีต้นไม้อยู่ มีเพชรอยู่ มีขวดอยู่ หรือสมมุติจนกระทั่งแม้เอาเพชรมาวางไว้ตรงนี้ เอาแบงค์ร้อยมากองไว้บนโต๊ะนี้ก็เหมือนกัน เราไม่มีความหวั่นไหว เราไม่มีความไปสมมุติอะไรตามเดิม สมมุติแต่เพียงว่า อย่างเดียวแต่ว่า เรายืนอยู่ในโลกนี้ว่างว่างเฉยๆ อยู่นั่งอยู่ที่นี่ว่างๆ เฉยๆ คนอื่นหวั่นไหวตาม เขาเห็นว่าของเหล่านี้มีอะไรแปลกแตกต่างกันไป แต่เราไม่แปลกเราเฉยๆ เป็นอาการอย่างนั้น
และรู้ชัดว่า มีไม่ว่างอยู่สิ่งเดียว คือเฉพาะสัญญาว่าป่าเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ เธอจงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย เธอจึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย ท่านให้พิจารณาสิ่งที่เราไปยึดถือสิ่งที่เรายังไปยอมสมมุติอยู่ในนั้นด้วย แล้วสัญญาเหล่านั้นอย่าไปยึดถือ จงเห็นว่า สิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นด้วย หมายความว่าจงเห็นให้ได้ว่า มันมีอยู่ก็ช่างมันปะไรเราไม่มีเราไม่เกี่ยวข้อง มันจะเป็นของเราเปล่า ๆ หรือของใครก็ไม่เกี่ยวไม่แตะต้อง ความหมายอย่างนั้นไม่เกี่ยวข้องเลย จะเป็นของเราหรือของใครก็ไม่เกี่ยว มีอยู่ก็พยายาม เห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้น
หมายความว่าเห็นความว่างนั้นเป็นว่างจริงๆ แม้จะมีสิ่งที่มีอยู่สิ่งที่ไม่มีอยู่ ก็เหมือนกับมีสิ่งที่ไม่มีอยู่เท่านั้นเองฟังให้ดีนะ เหมือนกับสิ่งที่ไม่มีอยู่ เงินมันมีก็ช่างมันเหมือนมันไม่มี เพชรมันมีก็ช่างมันเหมือนมันไม่มี คนมีก็ช่างมันเหมือนมันไม่มี เหมือนกับสิ่งไม่มีอยู่ในสัญญาคือในความรู้สึกเท่านั้นเอง ท่านหมายความเอาอย่างนี้
และรู้ชัดสิ่งที่เหลืออยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี และให้รู้ด้วยนอกจากเห็นว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มีแล้ว ก็รู้ชัดลงไปอีกด้วยว่า ไอ้นี่โลกเขาเรียกว่า เงิน ไอ้นี่โลกเขาเรียกว่า เพชร ไอ้นี่โลกเขาเรียกว่า ขวด ไอ้นี่โลกเขาเรียกว่า เพชร ไอ้นี่เขาเรียกว่า คน นี่โลกเขาเรียกว่าต้นอโศก ให้รู้ชัดอย่างนั้นให้ได้ด้วย แต่สำหรับเราไม่เกี่ยวแล้วโลกนี้จะมีขวดนี้ก็ได้ โลกนี้จะมีต้นอโศกนี้ก็ได้ โลกนี้จะมีเพชรนี้ก็ได้ โลกนี้จะมีเงินแบงค์ร้อยกองอยู่บนโต๊ะนี้ก็ได้ หรือไม่มีก็ได้ ไม่แปลก มีความหมายของท่านอย่างนั้น
ดูกร อานนท์ แม้อย่างนี้ก็เป็นการก้าวลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อนบริสุทธิ์ของภิกษุนั้น ผู้ใดที่พิจารณาอย่างนี้ อย่างที่อาตมาว่ามาแล้วนี่ ก็เป็นการอยู่ในหรือว่าก็เป็นการก้าวลงสู่สุญญตวิหาร หรือ ก้าว ลงสู่ความว่างตามความเป็นจริง ไม่คลาดเคลื่อนบริสุทธิ์ของภิกษุนั้น ท่านยืนยันว่านี่แหละคืออาการของการทำสุญญตวิหาร
เพราะฉะนั้นถ้าผู้ใดจะถึงสุญญตวิหารได้ ก็ต้องพยายามให้มันหลุดพ้นคือเรียกว่ารู้ให้ได้ก่อนแล้วทิ้งให้ได้ด้วยเรียกว่าสุญญตวิโมกข์ สุญญตวิโมกข์หมายความว่ารู้ความพ้น สุญญตวิมุติ หมายความว่า หลุดออกไปเลย รู้ วิโมกข์
โมกขะ หมายความว่าความรู้ ความรู้ในการหลุดพ้นนั้นด้วย โมกขะ โมกขธรรมนี้ คือความรู้ในการที่จะหลุดพ้นอันนั้น ถ้าใครรู้ในสุญญตวิโมกข์ได้แล้ว ก็ทิ้งให้ได้ๆ ทิ้งสิ่งที่ควรทิ้ง
อย่างเมื่อกี้นี้ เรารู้ให้ได้ว่าไอ้นี่มันเป็นสมมุตินะ เพชรที่วางอยู่บนนี้ก็เป็นสมมุติ แบงค์ร้อยถ้าเอามากระจายอยู่บนโต๊ะนี้ก็เป็นสมมุติ ขวดนี้ก็เป็นสมมุติ คนนี่ก็เป็นสมมุติ เพชรนี่ก็เป็นสมมุติ ต้นอโศกนี่ก็เป็นสมมุติ รู้ให้ได้ว่ามันเป็นสมมุติ เมื่อรู้ได้แจ้งแท้ในใจแล้วถึงจะถึงสุญญตวิโมกข์ ถ้ารู้ยังไม่ได้ไม่ใช่สุญญตวิโมกข์
นอกจากรู้ว่าเป็นสมมุติแล้ว ใจเราอย่าไปยึดถืออย่าไปนำพาด้วย ให้รู้มันเป็นจริงให้ได้ว่ามันเป็นสมมุติจริงๆ แต่โลกเขาเองเขายึดถือ โลกเขายึดถือแบงค์ แหม ใครได้แบงค์ดี โลกเขายึดถือเพชร ใครได้เพชรมาแหม ฮ้อ โลกเขายึดถือนี่ เค้าเรียกว่าคน ถ้ามีผู้หญิงก็ผู้หญิง นี่ผู้ชายแตกต่างกันเขายึดถือไปหมดเลย มีความแตกต่าง มีการเทียบค่า มีการสร้างค่า สร้างไอ้นี่ต่ำ ไอ้นี่สูง ไอ้นี่จะต้องบวกไอ้นี้ ไอ้นี่จะต้องลบไอ้นี่ ตลอดเวลาเลย
เพราะฉะนั้นถ้าเรารู้อย่างนี้ได้แล้วด้วย แล้วเราก็วางให้ได้ จึงเรียกว่า สุญญตวิมุติ รู้แล้ววางให้ได้เราจึงเรียกว่า สุญญตวิมุติ เมื่อสุญญตวิมุติลงไปได้แล้วด้วย ผู้นั้นรู้แล้ว แล้วก็วางได้ด้วยสุญญตวิโมกข์รู้ แล้วสุญญตวิมุติก็วางได้ เมื่อรู้ด้วย วางได้ด้วย ก็อยู่ในสุญญตวิหาร เรียกว่าเป็นผู้มีสุญญตานั่นแหละเป็นเครื่องอยู่ เป็นเครื่องที่อยู่ในตนสบายเปล่าว่างดายไม่ยึดถือ เห็นสักแต่ว่าเห็นรู้สักแต่ว่ารู้ แต่เหมือนกับไม่มีเหมือนกับไม่รู้ เหมือนไม่มีเหมือนไม่รู้
นี่ภาษาพูดนะ แต่ที่นี้ถ้าใครมีอารมณ์รู้ว่าสุญญตะเป็นอย่างนั้นๆ เข้าใจอย่างนั้นเข้าใจ ซึ้งเลย ไม่ต้องไปพูดอะไรกันมากอะ ฟังเดี๋ยวนี้แค่นี้ก็จำได้ตลอดกาล เห็นเดี๋ยวนี้จำได้เดี๋ยวนี้ไปเลย ไม่ต้องไปท่องด้วย ทันที แต่คนไหนที่ยังไม่รู้เรื่องก็มานั่งท่องแล้ว ไอ้นี่สุญญตวิโมกข์มันแตกต่างกับสูญญตวิมุติอย่างไร ท่องเป็นระดับๆ ไป อะไรต่ออะไรไป
นี่ท่านอธิบายละเอี๊ยด ละเอียด แต่ภาษาของท่าน พระพุทธเจ้าท่านอธิบายให้สงฆ์ฟังแค่นี้นะ ท่านเข้าใจกันแล้วเพราะมันไม่มีเรื่องมาก เพชรมันก็ไม่มี แบงค์มันก็ไม่มีมากมายถึงเดี๋ยวนี้ที่เป็นจิตสมมุติกันมากมายถึงเดี๋ยวนี้ เดี๋ยวนี้ติดสมมุติกัน โอ้โห เพชรพลอยแบงค์ร้อย มันเป็นเจ้าเป็นนายเลยมีอำนาจเหนือหัวคนเหลือเกินเดี๋ยวนี้ มันมีอำนาจเหนือหัวคนจริงๆ คนนี่ โอ้โฮ ซูฮกมันเหลือขนาดเลย มันจึง ลำบ๊ากลำบาก ต้องอธิบายเน้นแล้วเน้นอีก ย้ำแล้วย้ำอีก ให้เห็นเป็นสมมุติให้ได้ก็ไม่เชื่อ บอกเอามาหน่อยสักร้อย ไม่ได้หรอก แหม เอาไปได้ไงตั้ง 100 นึงอะ อย่างนั้น
เพราะฉะนั้นถึงบอกว่ามันยึดอยู่อย่างนั้นแหละ มันไม่รู้จักวาง มันไม่มีค่าอะไร ถ้าเราไม่ไปไอ้นั่นมัน ไม่ไป สมมุติมัน ไม่ไปหลงติดมัน มันไม่มีค่าหรอก มันเป็นการสมมุติในโลกเท่านั้นเอง ให้เห็นว่าเราจำเป็นเหลือเกิน ขาดแบงค์ร้อยจะตาย ขาดเพชรจะตายให้ได้ ทั้งๆ ที่ไม่มีเพชรแต่มีเงิน หาเงินยังไม่พอ ยังจะไปผ่อนส่งเอาเพชรมาไว้ในมือ เนี่ยเป็นอย่างนี้โดยเฉพาะผู้หญิง ถ้าผู้ชายไม่เท่าไหร่ พูดถึงเรื่องเพชรยังไม่ค่อยเท่าไหร่ พวกผู้หญิง แหม ไม่มีเพชรอะไม่มี ต้องไปผ่อนส่งมาให้ได้ จะใส่ เงินไปให้เขายังไม่พอเลย จะต้องเป็นของสำคัญอย่างนั้นน่ะ
เห็นไหมไปยึดไปถือมันมากแล้วมันก็ทุกข์ ไปนั่งผ่อนส่งเขาแล้วมันก็ตะแง็กๆ ไม่ทุกข์หรือ ทุกข์ เป็นแต่เพียงเพื่อจะได้เพชรมาไว้ในมือ ถ้าเอาเพชรนั้นโยนทิ้งไปไก่มันยังไม่กินเลย มันไม่มีค่าอะไรกันนักกันหนาดูซิ โยนให้ไก่ ไก่ก็ยังไม่จิก ไม่กินอะ สู้เม็ดข้าวเปลือกเม็ดนึงก็ยังไม่ได้ มันจะไปมีค่าอะไรกันนักกันหนา
พระว่า..สุญญตวิหารเป็นขณะนั้น
พ่อครูว่า… ถ้าผู้ปฏิบัติและผู้ที่รับแล้วก็แน่นอนก็ต้องเห็นว่า สุญญตวิหารเป็นของที่สูงที่สุด แต่ก่อนจะเป็นสุญญตวิหารได้มันต้องมีสุญญตวิโมกข์ แล้วมีสุญญตวิมุติเสียก่อน เมื่อมีสุญญตวิโมกข์ มีสุญญตวิมุติ แล้วมันก็เป็นสุญญตวิหาร มันก็ไม่มี มันก็เป็นแต่เพียง สักแต่ว่ารู้สักแต่ว่าเห็น ตาไม่บอด ใจไม่หลับ ทุกอย่างรู้ทุกอย่างเห็น แต่ทุกอย่างไม่รู้ ทุกอย่างไม่เห็น ฟังแล้วอาจจะงง ทุกอย่างรู้ทุกอย่างเห็น แต่ทุกอย่างก็ไม่รู้ทุกอย่างก็ไม่เห็น
พระว่า…มันไม่ใช่พูด มันเป็นสภาวะ
พ่อครูว่า… สภาวะไม่ใช่พูด มันเป็นสภาวะไม่ใช่พูดแต่ภาษาพูดก็พูดให้ฟังแล้วบ้า ทุกอย่างรู้ ทุกอย่างเห็นแต่ทุกอย่างไม่รู้ ทุกอย่างไม่เห็น นี่คือภาษาพูดที่มันบ้าๆ แต่สภาวะมันไม่บ้าหรอกมันรู้มันเห็นจริง แต่ไม่เอาด้วย มันก็เหมือนกับเราไม่รู้ เราไม่เห็น
เหมือนกันกับไก่ มันบอกเอาเพชรไปโยนให้มัน มันบอกว่ามันไม่รู้มันไม่เห็นด้วยมันบอกว่าไม่เห็นเข้าท่าอะไรเลย มันก็เหยียบไปเลยเหยียบเลย เอาแบงค์ร้อย ไปโยนให้มันเหรอ สู้เขาเปลือกเม็ดเดียวก็ไม่ได้มันไม่เอาด้วยเพราะมันไม่สมมุติด้วย แต่กระนั้นก็ดี ไก่มันก็ไปสมมุติไอ้ข้าวเปลือกนั่นแหละมีค่าสูง ถ้าไก่มันไม่ยึดติดข้าวเปลือกด้วยนะ ไก่มันก็สุญญตวิหารเหมือนกัน
ทีนี้ไก่มันก็ยังยึดติดสิ่งที่มันยังกินอยู่อย่างนึง และสิ่งที่มันยังเสพยังหลงอยู่อีกอย่างนึงเหมือนกัน แต่มันไม่มีปัญญาที่จะมาอธิบายสุญญตาให้มันฟังได้ มันไม่มีปัญญาแน่ คนนี้แหละมีปัญญาที่จะรู้ได้
เพราะฉะนั้นพยายามเข้า นอกจากจะไปรู้ด้วยการฟังแล้ว ต้องพยายามไปค้นหาสภาวะที่ว่านี้ให้เจอด้วย จะมาโมเมๆ เอาไม่ได้ จะค้นได้ยังไงค้นได้สิ ทำสิ บอกแล้วว่าอย่าติดสมมุติ ก็แบงค์ร้อยอยู่ในกระเป๋า ถ้าบอกว่าเราไม่ถือสมมุติด้วย อ้าววันนี้มีแบงค์ร้อย 5-6 ใบเอาไปทำทานให้หมดเลย ดูซิ ใจมันจะวิมุติลงไปได้ด้วยไหม เอ้ย เอ้ย เอ๊ยดี กระเป๋าเรามีตั้ง 500 บาท ตอนนี้วิมุติจาก 500 บาทไปแล้วนะ หลุดพ้นจาก 500 บาทแล้ว มีว่างเปล่ามีแต่กระเป๋าว่างเปล่า เงิน 500 บาทวิมุติไปแล้ว
ลองทำดูซิแล้วใจมันจะเป็นยังไง วัตถุวิมุติไปแล้ว 500 บาทเอาไปทำทานหมด หรือเอาไปทำประโยชน์ที่มันควรที่สุด เอาไปทำไปหมดแล้ว ไม่มีแบงค์ร้อย 5 ใบอยู่ในกระเป๋า แบงค์ 100 คือสุญญตะ ไม่มี แบงค์ร้อยคือว่างเปล่าจริงๆ ไม่มีแบงค์ร้อยในกระเป๋า กระเป๋าจึงว่างเปล่าจากแบงค์ร้อย
แต่ทีนี้ เมื่อเวลานั้นแหละมาดูใจตัวเองซิเป็นยังไง ใจตัวเองเป็นยังไง ยังรอนๆ คิดถึงแบงค์ร้อย 5 ใบนั้นมั้ย ยังรอนๆ ไหม บางคนไม่รอนๆ ธรรมดานะ เจ็บปวดเอาด้วย แหม กว่าจะหามาได้ 500 กว่าจะออกไป เจ็บปวดเอาด้วย แต่คนไหนไม่เจ็บปวด แต่ยังรอนๆ อยู่ คนนั้นก็ยังมีปฏิฆะ ถ้าใครไม่มีปฏิฆะ ก็หมายความว่าไม่รอนๆ ด้วยเลย เฉย ว่างเปล่า แต่ไปยึดอะไร ไปยึดว่าดีแล้วเราทำบุญได้ตั้ง 500 บาท เราได้บุญนั้นแล้วเป็นรูปเป็นร่าง วาดบุญไว้เป็นรูปเป็นร่างเลย ไม่รอนๆ หรอกแต่ดีใจกับบุญ ผู้ที่ยังมีอารมณ์ดีใจอย่างนั้นอยู่นั่นแหละจึงเรียกว่า พรหม เรียกว่า พรหม เรียกว่าเป็นผู้ยังมีอรูปอย่างนึง ที่สร้างไว้เป็นลมๆ เป็นลมลอยรูป แล้วก็ยังหลงดีใจกับอันนั้นอยู่ยังมีสิ่งที่ยึดถืออยู่
แต่ถ้าผู้นี้เงิน 500 บาทก็สุญญตะไปแล้ว หายไปแล้ว ไม่มีแล้วให้เขาไปหมดจริงๆ ทำประโยชน์ในโลกไปหมดแล้ว ใจก็ไม่รอนๆ บุญก็ไม่นึกถึง อะไรก็ไม่ยึดถือไม่นึกถึงอยู่ ใจก็ดับลงไม่มีคำว่าแบงค์ 500 เมื่อกี้นี้ก็ลืมไปสิ้นด้วย ไม่มีอะไรเลยในใจว่างเปล่าใจก็ว่างเปล่าแบงค์ร้อยก็หายไปจริงๆ ด้วย ผู้นั้นแหละจึงวิมุติทั้งสภาวะ วิมุติทั้งของจริงๆ และวิมุติทั้งใจด้วย นี่แหละอาการนี้เราจะทำ
เพราะฉะนั้นถ้าใครยังไม่เคยเลยที่จะควักแม้แต่ 100 บาท 10 บาท 20 บาทให้คนอื่นไปดูซิ ไม่เคยมีทานเลยคิดดูซิ ว่าเราจะได้มั้ย เราจะเจอสภาวะมั้ย มันก็ได้แต่หลักการที่อาตมาอธิบายให้ฟังนี่ แล้วก็คุยหลักการว่า ฉันรู้แล้ว เข้าใจได้ซาบซึ้งแล้ว ใครมาถามก็อธิบายให้ฟังฉับๆ เลย สบาย อย่างนี้แน่มากดี อย่างนี้แจ๋วเลย แต่ตัวเองเขามาขอแค่เงิน 5 บาท 10 บาทไม่ให้ แล้วมันจะวิมุติลงไปได้อย่างไรไม่ให้ มันวิมุติไม่ได้
เพราะฉะนั้นแม้กระทั่งของหวาน ของคาว ของอร่อยก็ยังอยากได้ ไอ้นี่เมียฉัน ไอ้นี่ลูกฉัน ไอ้นี่ข้าวของฉัน ไอ้นี่รถฉัน ไอ้นี่ฐานะฉัน แหม ไอ้นี่สรรเสริญของฉัน เขาบอกว่าฉันเป็นอาจารย์ ยังยึดแม้กระทั่งคำว่าอาจารย์ไว้อีก หรือยกคำว่า แหมฉันเป็นรัฐมนตรีติดอยู่ที่รัฐมนตรีอีก มันก็ไม่มีวิมุตได้ มันก็ไปติดเป็นติ่ง ติ่งจากตรงนี้ ละจากตรงนี้ได้ ก็ไปติ่งตรงนี้ ตรงนี้ มันจะหลุดได้จริงๆ ต้องตัดอกตัดใจแล้วก็ต้องกระทำในวาระนั้น สิ่งนั้นลองดูจริงๆ ถ้าไม่ได้ลองแล้วไม่รู้
ถ้าพระพุทธเจ้าไม่ลองไปนั่งแม้กระทั่ง โอ้โห บำเพ็ญทุกรกิริยา จับนิดนึงพอจะลูบหนังขนก็ติดมือขึ้นมาอย่างท่านที่อธิบายไว้นะ ถ้าท่านไม่ไปลองอย่างนั้นท่านก็ไม่รู้หรอกว่า สภาวะสุดโต่งอีกอย่างหนึ่งมันถึงขนาดไหน แล้วท่านก็ท้าด้วยว่า จะไม่มีใครมาทำได้อุกฤษฏ์อย่างท่านอีกแล้ว เรียกว่าท่านทำอุกฤษฏ์กว่าใคร ๆ ที่ทำมาแล้ว เขาบำเพ็ญตนทรมานตนมาถึงขนาดไหน ท่านบอกว่าท่านได้ทำมาหมด ทำมาจนกระทั่งอุกฤษฏ์ถึงขั้นสุดที่แล้ว ท่านถึงได้เอามาอธิบายให้กันฟังได้ สู่กันฟังได้ว่า โอ้โห ป่วยการ ไปนั่งทำอะไรบางสิ่งบางอย่างเกินขอบเขต ก็ไม่ถึงขั้นนั้นหรอก ไม่จำเป็น
แต่ทำไมท่านต้องทำ ที่ท่านต้องทำก็เพราะเหตุว่าท่านจะต้องวัด ท่านจะต้องวัด วัดวา ให้รู้ความสุดโต่งของทางนี้ และทางนี้ให้รู้หมดเลยเพื่อที่จะเอามาตอบคำถามพวกเราได้เท่านั้นเอง และเพื่อที่จะเอามาตอบคำถามของพวกลัทธิอื่นๆ ที่เขาไปสุดโต่งสายไหนก็ไม่รู้ ให้มันรู้ชัดรู้แจ้ง
เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงจำเป็นที่สุดที่ท่านจะต้องวัดวาสิ่งเหล่านั้นให้รู้ ไปลูบไปคลำสิ่งเหล่านั้นให้รู้โดยแท้จริง แต่เรายังไม่ได้ประพฤติบำเพ็ญตัวเป็นพระพุทธเจ้า อย่าไปทำอย่างท่าน อย่าไปทำอย่างท่าน ประเดี๋ยวตายๆ ก็เหมือนเราอดข้าว กินวันละเท่าปลายมือ แล้วก็ลดลง 5 เม็ด 10 เม็ด ไปจนกระทั่งกินเท่าเม็ดงา กินวันละเท่าเม็ดงา จนกระทั่งไม่กินเลย ไหวมั้ย อาตมาว่าชักลงตรงนั้นก่อนนะ จะจับที่ตรงข้างหน้าท้องก็ดูเหมือนจะถึงข้างหลัง จับข้างหลังก็ดูเหมือนถึงหน้าท้องแล้ว คิดดูซิว่า มันติดหมดเลยเนี่ย เราจะทำได้อย่างนั้นมั้ย ทำไม่ได้ และยังไม่ควรทำด้วยเพราะเป็นการสุดโต่ง แต่พระพุทธเจ้าท่านไม่สุดโต่ง ท่านไม่สุดโต่ง เพราะว่าท่านทำได้ ทำแล้วไม่ตาย เราทำถ้าไปทำอย่างนั้นตายเข็ดด้วย เข็ดหลาบเลย และไม่อยากจะประพฤติธรรมต่อไป
เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าถึงบอกว่า อาการที่ประพฤติที่สุดโต่งเนี่ยเป็นภัย เป็นภัยต่อผู้ที่ยังไม่ถึงขั้น บารมียังไม่ถึงอย่าทำ เพราะฉะนั้น คุณไสวบอก อาตมาสุดโต่ง โอ้ว ดูซิ รองเท้าก็ไม่ใส่..ไปกินทำไมมื้อเดียว.. เขาบอกว่า ไปทำอะไรสุดโต่งมัน จะไปสุดโต่งอย่างไรเราก็ยังทำได้เลย เขาก็เห็นสุดโต่งเพราะเขายังทำไม่ได้ แต่อาตมาไม่ได้เดือดร้อนอะไร อาตมาทำได้อาตมาก็ไปของอาตมาสบายๆ เขาก็เห็นว่าสุดโต่งอยู่ดี แต่เพียงว่าอาตมาเอง อาตมาเห็นว่าพระพุทธเจ้าทำที่สุดโต่ง แหม ไปนั่งอดข้าวถึงขนาดนั้น หนังติด แขม่วแล้ว แหม นั่งทรมานกาย จนมือลูบนี้ขนหลุดติดมือมาเลย อาตมาก็เห็นว่ามันสุดโต่ง อาตมาไม่ทำหรอก แล้วอาตมาไม่ทำเพราะอะไร เพราะพระพุทธเจ้าได้สอนไว้แล้ว อาตมารู้จากพระพุทธเจ้าแล้ว ว่าถ้าไปนั่งทำอย่างท่านนี้สุดโต่งนะ อาตมาก็เชื่อท่าน อาตมาก็ไม่ทำ
อาตมาก็ทำมัชฌิมาปฏิปทา ขณะนี้ อาตมาไม่ใส่รองเท้าเป็นมัชฌิมาปฏิปทาของอาตมา อาตมาฉันมื้อเดียวมัชฌิมาปฏิปทาของอาตมา อาตมา ฉันข้าวเปล่าๆ กินผักได้สบายๆ เป็นมัชฌิมาปฏิปทาของอาตมา อาตมาสบายไม่เดือดร้อนและในสิ่งที่ควรจะสูงขึ้นอาตมาก็รู้ และอ่านให้มันชัดแล้วก็บำเพ็ญ ต่อไปเรื่อยๆ ตามลำดับไม่แปลกอะไรเลย
แต่จะให้อาตมาไปนั่งป่าแล้วก็ทำเหมือนอย่างพระพุทธเจ้าที่ท่านทำแล้วนั้นอาตมาก็บอกแล้วว่า อาตมายังไม่ถึงขั้นจะเป็นพระพุทธเจ้า และชาตินี้ให้ต่ออีกสักกี่ชาติ ไอ้ชาตินี้ จนกะทั่งบำเพ็ญให้หนักที่สุดเท่าไหร่อาตมาก็ไม่สูง และอาตมาก็ยังไม่ทำเพราะเป็นภาวะสุดโต่งอาตมารู้ได้ เพราะพระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ ท่านครอบเอาไว้ แล้ว ก็อาตมาเชื่ออย่างยิ่ง มีศรัทธาในท่านอย่างสูงสุด อาตมาถึงไม่ทำ
เพราะฉะนั้นเราต้องเข้าใจระดับขั้นให้ได้ ถ้าไม่เข้าใจระดับขั้น เราจะไปมองคนเขาว่าสุดโต่ง เช่นเดียวกันกับคนที่เขาว่าอาตมา มากที่ว่า แหม พระองค์นี้เคร่ง เดินก็เดินเอาอย่างนั้นแหละ กินก็กินอย่างนี้แหละ เคร่ง อาตมาไม่เคร่ง อาตมาเฉยๆ อะ ไม่ได้เคร่งตรงไหนเลย มันไม่ได้เดือดร้อนตรงไหนเลย
เพราะฉะนั้นอาการที่เคร่งก็หมายความว่า คนอื่นเขาเห็นว่าเราทำไม่ได้ เช่นเดียวกัน เดี๋ยวนี้ไปถามพระที่วัด ที่บวชมาแล้ว 3 พรรษา 5 พรรษาท่านฉันข้าววันละ 2 มื้อนี้ ท่านเดือดร้อนไหม ท่านไม่เดือดร้อนนี่ แต่ท่านเคร่งกว่าเราเราล่อซะ 3 มื้อ 4 มื้ออะไรอย่างนี้เป็นต้น คนธรรมดาเนี่ย
เพราะฉะนั้นคนธรรมดาก็บอกว่าพระไปทำทำไมกิน 2 มื้อนี่มันอดไปกิน 1 มื้อทำไม มันเคร่งไปหาอะไรกัน หรือบางองค์ท่านฉันมื้อเดียวก็ว่าท่านเคร่งท่านทรมาน แล้วไปว่าท่านทรมาน เปล่าเลยท่านไม่ได้ทรมาน ท่านไม่ได้เคร่ง แต่ท่านเป็นปกติวิสัย ท่านเป็นปกติวิสัยแล้วเป็นธรรมดาแล้ว แล้วท่านก็สุขแล้ว และท่านทำให้น้อยลงได้อย่างนั้นแหละ ท่านเบียดเบียนโลกน้อยลง ถ้าโลกเรามีคนอย่างพระภิกษุสงฆ์ ฉันแต่เพียง 2 มื้อไม่มากเกินควร ไม่ แหมวันนี้ 3 มื้อ แล้วยังมีดึกๆ ยังมี ซัพเพอร์อีกเป็น 5 มื้องี้ พวกนั้นถ้ามีมากๆ โลกก็ถูกข้าวก็ถูกกินไปมาก อะไรก็ถูกใช้สอยไปมาก โดยเกินเหตุ แต่ถ้ามี เฉพาะตัวที่จะทำได้อย่างนั้นก็ตัวเองนี่แหละไปทำการกิน 4 มื้อ 5 มื้อ เพราะฉะนั้นตัวเองนี่แหละจึงบังคับโลกของตัวเองให้ดี แล้วโลกอื่นจะดีตาม เมื่อตัวเองทำตนเองให้ได้อาตมาถึงได้ยกตัวอย่างว่าถ้ามีคนอย่างพระสงฆ์ได้ ฉันแต่เพียง 2 มื้อหรือกินแต่เพียง 2 มื้อ มีผ้านุ่งแค่จีวรไม่ต้องไปมีแฟชั่นเหลืองเขียวแดงอะไรอีก ไม่ต้องมี
เดี๋ยวนี้แฟชั่นผู้ชายก็เหลือเกินนะ แฟชั่นผู้ชาย โอ้โห เสื้อเค้าอะไรต่ออะไรคอกุด คอปลิ้นแล้วก็มีลายพร้อย มีเจาะตรงนั้นแหว่งตรงนี้อะไรเดี๋ยวนี้แฟชั่นผู้ชายก็เหลือเกิน ถ้าคนไม่มีอย่างนั้นสิ มีอยู่อย่างพระสงฆ์นี่แหละ นุ่งห่มอย่างพอดีกินอย่างพอดีไม่เดือดร้อนได้ ทำอย่างนั้นจริงๆ เขาจะมาติดโชว์ไว้ที่ร้านสัก 5 ปี 10 ปีอะไรก็ไม่ไปซื้อกับเขามา โลกนี้จะดีขึ้นนะๆ
มองในด้านกลับ มองในด้านอย่างคนโลกๆ ก็บอกว่า..โอ้ย.. ไอ้พวกนี้ อัพทูเดท ไม่ไหวเลยไม่ทันสมัยเลย ไม่ตามโลกเลย ใช่ คนนี้ไม่ตามโลกเลยเพราะเขาไม่เล่นกับโลก เขาไม่เล่นกับโลกแล้วเขาก็ไม่ตามโลก โลกก็จะสร้าง จะสมมุติอะไรขึ้นมาอีกก็ตามแต่ ตั้งแต่สมมุติหัวฟูๆ ผมยาวๆ ไว้ผู้ชายก็ไว้ปะบ่าแค่นี้ นอกจากไว้ปะบ่าแค่นี้แล้วก็นุ่งกางเกงก็ขาบาน เดี๋ยวนี้มองเห็นข้างหลังผู้ชายผู้หญิงไม่รู้เลย มองข้างหลังนี่หนุ่มๆ สาวๆ เดี๋ยวนี้เดินข้างหลังไม่รู้เลยว่าใครเป็นผู้หญิงใครเป็นผู้ชาย ต้องไปดูข้างหน้าถึงจะรู้ว่าผู้หญิงผู้ชาย ดูข้างหน้า ดูข้างหลังใครไม่รู้ผู้หญิงผู้ชายเลยเนี่ย จนถึงขนาดนั้น มันกลับกันไปยิ่งกว่า ผู้หญิงเดี๋ยวนี้ตัดสั้น ก็เก่งซะด้วยนะเดี๋ยวนี้ ผู้หญิงตัดสั้นซะด้วยนะ กลับกัน ผู้ชายดันไปไว้ยาว แล้วไปกันใหญ่เลยยุ่งกันไปหมดเลย ดูโลกยุ่งพิลึกเลยดูไม่ออก เพราะเหตุว่าไปสมมุติมันขึ้น ประเดี๋ยวอะผมยาวๆ เป็นฮิปปี้ฮิปโป้ ประเดี๋ยวมันก็ตัดสั้น มันจะไปมีอะไรยาวมากรุงรังเดี๋ยวมันก็เบื่อเดี๋ยวมันก็ตัด แฟชั่นต่อไปเบื่อแล้วนะตอนนี้ตัด พวกที่ไปหลงสมมุติโลกเขาคิดสั้นก็ตัดสั้นบ้างตามเขาไป ตัดทีหนึ่งก็เสียเงิน อะไรทีหนึ่งก็เสียเงินทั้งนั้นแหละ เสื้อแบบนี้ใช้หมดสมัยแล้วก็เก็บขึ้นไม่ใช้เอาอย่างที่ทันสมัยมาใช้ มันก็ตามโลกเขาไปหมด
และเรื่องมันมีอยู่ว่ามีพราหมณ์ทั้งหลาย พราหมณ์ต่างๆ ทุกคนที่เป็นพราหมณ์ก็เหมือนกันกับทุกวันนี้ผู้ที่เป็นพระสงฆ์ ผู้ที่เป็นพราหมณ์ในสมัยนั้น ก็เหมือนกับเป็นพระสงฆ์ในสมัยนี้ นี่พระพุทธเจ้าตรัสใช้คำว่า สมณะพราหมณ์เหล่าใด ฉะนั้นสมณะในสมัยนี้ หรือพระสงฆ์ต่างๆ เราเรียกว่าสมณะ ในสมัยนั้น พราหมณ์ผู้นับตัวเองว่าเป็นพราหมณ์ผู้ดำเนินกิจการของพราหมณ์ก็เหมือนกันกับพระสงฆ์สมัยนี้
เมื่อเวลาพระพุทธเจ้าตรัสรู้พราหมณ์เหล่านั้น ก็ไม่รู้ว่านิพพานอยู่ที่ไหน พรหมจรรย์ที่สุดอยู่ที่ไหนไม่รู้เรื่องเลย สมัยนั้นไม่รู้เรื่อง แต่สมัยนั้นเขาไม่ได้พูดอะไรกันมาก พูดกันแต่เพียงว่าจะให้บรรลุพรหมจรรย์ เขาพูดกันสำนวนนี้ พรหมจรรย์หมายความว่าบรรลุที่สุดแห่งพรหม หรือบรรลุที่สุดแห่งพรหม คำเดียวกัน พวกพราหมณ์ทั้งหลายแหล่ เขาก็เพ่งพยายามพากเพียรที่จะไปให้ถึงที่สุดแห่งพรหม ซึ่งพระพุทธเจ้าเองท่านก็ไม่เคยตั้งลัทธิอะไร ท่านก็ไม่คิดตั้งลัทธิอะไร
เพราะฉะนั้นท่านก็ต่อของเก่า ท่านจะทำอะไรก็ตามแต่ก็บอกว่าสมณะและพราหมณ์ทั้งหลายแหล่ที่จะมาบำเพ็ญประพฤติธรรมนี้ ก็บำเพ็ญเพื่อที่จะไปถึงที่สุดแห่งพรหม หรือถึงที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ทั้งนั้นที่พูดกันอยู่ที่ฝึกกันอยู่ ฉะนั้นพราหมณ์นั้นก็เป็นกลุ่มกันเดียวกับศาสนาที่พระพุทธเจ้าท่านตั้งขึ้นมาใหม่หรือตั้งลัทธิหมู่ใหม่เหล่าใหม่ขึ้นมา เป็นผู้สืบกิจการเดียวกัน ลัทธิพราหมณ์กับที่พระพุทธองค์ตรัสเป็นอย่างเดียวกัน
กับอาตมากำลังพูดอยู่เดี๋ยวนี้อาตมากำลังพูดถึงเรื่องนิพพาน ถึงเรื่องความพ้นทุกข์ มาพยายามที่จะชักนำชี้แจงแล้วก็ให้การปฏิบัติไปในทางให้ไปสู่จุดที่พ้นทุกข์ที่ดีที่สุด อันเดียวกันกับที่พระสงฆ์ทั้งหลายแหล่ทุกๆ องค์ในวัดต่างๆ ในประเทศไทย มุ่งหวังอันเดียวกัน แต่มันไม่อันเดียวกันเลย อันเดียวกันแต่ว่ามันไม่อันเดียวกัน ที่ว่ามันไม่อันเดียวกันเพราะมันไปคนละทาง ผู้ที่จะเห็นว่าไปคนละทางก็ต่อเมื่อได้พยายามพากเพียรศึกษาแยกออก จะรู้ว่ามันไปคนละทางแล้วนะ ต้องเห็นชัดๆ อาตมากำลังนำพาไปอีกทางหนึ่งเขาก็พาไปอีกทางหนึ่ง มองเห็นเองกัน
สมัยนั้นพระพุทธเจ้ากับพราหมณ์ทั้งหลายแหล่ก็เหมือนกัน พระพุทธเจ้าก็พยายามที่จะพาไปสู่ที่จุดที่สูงเหล่านั้น แต่มันไม่ตรงกับพราหมณ์ เพราะฉะนั้นพราหมณ์คนไหนๆ มาถึง ท่านก็จะถามอย่างนี้
ท่านก็ถามว่า…พราหมณ์ ไอ้ที่ตัวเองถืออยู่ไอ้ที่ตัวเองบำเพ็ญอยู่ ยึดถืออยู่ที่จะทำตนให้ไปถึงที่สุดแห่งพรหม หรือไปจนบรรลุพรหมจรรย์นั้น จะต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง พระพุทธเจ้าท่านจะถามอย่างนี้ทุกองค์ พราหมณ์คนไหนมาท่านก็จะถามอย่างนี้หมอ และพราหมณ์ต่างๆ ก็จะตอบไม่ตรงกัน แต่มีความตรงกัน ฟังให้ดีนะ
พราหมณ์หลายๆ คนที่จะมาก็จะตอบไม่ตรงกัน แต่ว่ามีความตรงกัน ที่ว่าไม่ตรงกันก็คือ แบ่งแยกหัวข้อไม่เท่ากัน พราหมณ์องค์หนึ่งอาจจะตอบว่ามี 1 อย่าง พราหมณ์บางองค์อาจจะตอบว่ามี 5 พราหมณ์บางองค์อาจจะตอบว่ามี 6 อย่าง ใน 4 อย่างใน 5 อย่างใน 6 อย่างนั้นมีอะไรบ้าง
รวมความแล้วก็มี 1 เอาเลยให้ทะลุไปทั้งหมดเลย แบ่งออกไปละเอียดเลย บางองค์ก็จะบอกว่า
-
พราหมณ์จะต้องเกิดแต่ตระกูลพราหมณ์อย่างน้อย 7 ชั่วโคตร ถึงจะเป็นผู้ไปถึงพรหมได้ ถ้าเกิดนอกตระกูลของพราหมณ์ต่ำกว่า 7 ตระกูล จะบรรลุพรหมจรรย์ไม่ได้
-
จะต้องเป็นผู้มีรูปงาม เหมือนพรหม จึงจะไปถึงพรหมจรรย์ได้ ถึงอย่างนี้ พราหมณ์ยึดถือกันอย่างนี้
-
จะต้องเป็นผู้ที่เก่ง ท่องบทสวดมนต์ ฟังให้ดีนะข้อนี้สำคัญ จะต้องเป็นผู้เป็นผู้เก่งท่องบทสวดมนต์ จบไตรเพท ข้อนี้สำคัญ
-
จะต้องเป็นผู้ถือศีลให้บริสุทธิ์
-
จะต้องเป็นผู้ที่บำเพ็ญให้เกิดสมาธิ
-
จะต้องเป็นผู้ที่ เขาบอกว่าจะต้องเป็นผู้ไม่มีปัญญา ของพราหมณ์นี่จะไม่มีคำว่าปัญญาเลย จะต้องเป็นผู้ที่บำเพ็ญตนให้เกิดปัญญาทัศนะอันสูงสุด เขาใช้คำใบ้
มี 5 ไม่มี 6 อาตมาลืมไป ทั้งหมดมีแบ่งออกเป็นอย่างมากที่เขาตอบมี 5 อย่าง ทีนี้พระพุทธเจ้าท่านจะรวบรัดหมดเลยทุกเจ้า พระพุทธเจ้าท่านจะร่วมรัดหมดเลยทุกเจ้า ท่านบอกว่า การที่พราหมณ์ทั้งหลายแหล่ยึดถือแบบนี้ก็เพราะเหตุว่า มันมีการสร้างจารีตประเพณียึดถือผิดๆ และก็เพี้ยนมาเรื่อย เหมือนพระพุทธศาสนาในเมืองไทยขณะนี้มันเพี้ยนไปหมดเลย เพี้ยนไปหมดเลยเดี๋ยวนี้
เพราะฉะนั้น ถ้าถามพระภิกษุสงฆ์หรือผู้ที่ดำเนินอยู่เดี๋ยวนี้ ถ้าถามว่า ผู้ที่บวชแล้วจะประพฤติตนให้เป็นไปเพื่อความถึงนิพพาน จะมีอะไรบ้าง ถ้าใครถามพระภิกษุอย่างนี้นะ คำตอบที่พระภิกษุจะตอบให้ได้ อาตมาจะยกตัวอย่างเทียบเคียง คำตอบว่าภิกษุสมัยนี้ของเราจะตอบให้ได้ก็คือ
-
จะต้องเป็นผู้ที่ได้เปรียญ ฟังให้ดีนะ จะต้องเป็นผู้ที่ได้ศึกษาเรียนปริยัติได้
ตำแหน่งเปรียญพูดให้ชัดๆ ละเอียดๆ การบวชจะต้องได้เรียนอย่างน้อยก็เรียนนัก
ธรรมตรี นักธรรมเอก นักธรรมโท
-
จะต้องเป็นผู้ที่ มีพรรษาอายุอย่างน้อย 5 ปีขึ้นไป คือจะต้องเป็นผู้แก่วัดจะต้องมีอายุพรรษาอย่างน้อย 5 ปีขึ้นไป ต้องแก่วัด ต้องรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีทุกอย่าง เพื่ออะไร เดี๋ยวอาตมาอธิบายพิเศษให้ฟัง เพราะเดี๋ยวนี้มันจะยึดถือกันมาก เพื่อจะได้รู้ว่าพิธีการไปสวดอย่างนี้จะทำไงพิธีการไปงานแต่งงาน จะทำยังไง พิธีไปงานคนตายจะทำยังไง พิธีขึ้นบ้านใหม่จะทำยังไง วิธียกช่อฟ้าใบระกาวิธีทำอะไรต่ออะไรจะทำยังไง พิธีอะไรต่างๆ นานา พิธีการทั้งนั้นทั้งหมดจะทำยังไง เพราะฉะนั้นจึงต้องมีอายุถึง 5 พรรษาเป็นอย่างน้อย จึงจะเรียนรู้พิธีการต่างๆ นานา พวกนี้ ที่ไม่ได้มีเขียนไว้ในตำรา แต่จะต้องใช้ตาใช้หูใช้ตามประสบการณ์ที่เห็นว่าเขาทำอย่างนี้ ทำอย่างนี้แล้วก็จำ จำ จำ กันทำใจว่าทำไมต้องใช้เวลาถึง 5 ปี ที่ต้องใช้เวลาถึง 5 ปี ก็เพราะว่าจะต้องเห็นวิธีการที่ทำนี้ด้วยตา ถ้าบวชแค่ 3 เดือนไม่พอหรอก วิธีกฐินทำยังไง วิธีผ้าป่าทำยังไง พิธีออกพรรษาเป็นยังไง พิธีนั่นพิธีนี่เป็นยังไง โอ้โห นับวิธีการไม่หวาดไม่ไหว
เพราะฉะนั้นคำว่าจะต้องแก่วัดนี่หมายความว่าจะต้องรู้ขนบธรรมเนียมพิธีต่างๆ มาสัก 5 พรรษา
-
ผู้ที่จะเป็น ไปสู่ที่สูงฉลาดแท้อารยะแท้ จะต้องเป็นผู้ที่ยอมรับเป็นส่วนใหญ่ และ มีตำแหน่งหน้าที่ เป็นทางการ เช่น เป็นพระครู เป็นสมเด็จ เป็นท่านเจ้าคุณอะไรต่างๆ เป็นต้น
-
จะต้องเป็นผู้ที่ท่องบทสวดมนต์ให้ได้อย่างน้อย 7 ตำนาน อย่างมากยิ่งกว่า 12 ตำนานเลยเถิดไปจนกระทั่ง แต่งเองได้แต่งคำสวดเองได้ยิ่งเก่งใหญ่
-
จะต้องเป็นผู้ที่นั่งบำเพ็ญสมถกรรมฐานเป็น ฟังนะอาตมาแยกแยะให้ฟังแล้วนะ ซึ่งละเอียดยิ่งกว่าสมัยพระพุทธเจ้า จะต้องเป็นผู้ที่นั่งสมถกรรมฐานเป็น
-
จะต้องเป็นผู้ที่มีศีล
-
จะต้องมีผู้ที่เป็นสมาธิ
-
จะต้องเป็นผู้ที่มีปัญญา
พระสมัยนี้จะตอบให้ละเอียดต้องตอบอย่างนี้ว่าพระสมัยนี้จะไปถึงที่สุดแห่งทุกข์หรือ ว่าจะไปที่สุดแห่งพรหมจรรย์ได้จะต้องเป็นอย่างไร จะเป็นอย่างที่ว่า ถึง 8 ข้อ เหลือเฟือ มากเกินกว่าสมัยพระพุทธเจ้าอีก เป็นกอบเป็นกอง
ฉะนั้นเมื่อยกตัวอย่างพระสมัยนี้ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วอาตมาก็จะแยกแยะให้ฟัง หรือว่าจะทำลายไปให้ฟัง เป็นเพราะเหตุใดมันจึงเป็นอย่างนี้ และอะไรคือของที่สำคัญที่สุด
เมื่อสมัยพระพุทธเจ้าที่อย่างที่เล่าให้ฟังสมัยตั้งแต่ต้น ที่บอกว่าพราหมณ์
-
จะต้องเป็นพราหมณ์ 7 ชั่วโคตรเกิดแต่ในตระกูลพราหมณ์มา 7 ชั่วโคตร จึง
จะถึงพรหมจรรย์ได้
-
จะต้องเป็นผู้ที่มีรูปงามเหมือนดั่งพรหม จึงจะสามารถเป็นผู้ที่มีสิทธิ์ถึง
พรหมจรรย์ได้
-
จะต้องเป็นผู้ที่ท่องบ่นสวดมนต์เก่งจบไตรเพท
-
จะต้องเป็นผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์
-
จะต้องเป็นผู้ที่ประพฤติพรตจนกระทั่งสำเร็จ มีปัญญาญาณทัศนะสำเร็จ
จึงจะเรียกว่าถึงซึ่งพรหมได้ 5 อย่างนี้ บางคนรูปงามอย่างพรหมก็ไม่มี มีข้อ 4 ข้อไม่ครบ พระพุทธเจ้าก็เลยถามพราหมณ์ผู้นั้นว่า ถามต่อไปว่า
มันไม่เยอะไปหรือ ตัดทิ้งซะบ้างได้ไหม จะไปถึงพรหมได้ไหม พราหมณ์ต่างๆ ก็มีปัญญาผู้ที่ไปถามนี้ก็มีปัญญาก็ตอบได้ ผู้ไม่มีปัญญาก็ตอบไม่ได้หรอก เพราะฉะนั้นในพระไตรปิฎกเอาแต่ตัวอย่างที่มีปัญญามาเล่าไว้ ผู้ที่มีปัญญาก็จะนั่งคิดบอกว่า ตัดได้แฮะ พระพุทธเจ้าท่านก็บอกว่า ถ้ายังไม่ต้องเกิดในตระกูลพราหมณ์ 7 ชั่วโคตรจะไม่มีสิทธิ์ไปถึงพรหมได้เชียวหรือ จะไม่มีสิทธิ์บรรลุได้เชียวหรือ เกิดในตระกูลศูทร ในตระกูลแพทย์ และตระกูลกษัตริย์จะบรรลุไม่ได้เชียวหรือ เขาเป็นคนเหมือนกันมีมันสมองเท่ากันหรือว่าพิสูจน์ได้ว่าเขามีมันสมองไม่เท่ากัน ตามผู้ที่มีปัญญาก็จะรู้ว่า ตัดทิ้งได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ 7 ชั่วโคตรไม่สำคัญเลย
เพราะฉะนั้นใครก็ได้สามารถบรรลุที่สุดแห่งพรหมได้ ไม่ต้องเกิดในตระกูลพราหมณ์ 7 ชั่วโคตรข้อนี้ตัดได้ พระพุทธเจ้าก็บอกว่าดีแล้วพราหมณ์ตัดไปเถอะพราหมณ์อย่าไปยึดถือเลยว่าคนที่จะถือพรหมได้ หรือว่าจะถึงพรหมจรรย์ได้จะต้องเกิดในตระกูลพรหมเท่านั้น ให้คนอื่นเขาถึงได้บ้างสิอย่าแค่ร้อยรัดเอาไว้แค่หนึ่งเดียว ให้คนอื่นเขามีสิทธิ์บ้างสิ พระพุทธเจ้าเป็นนักประชาธิปไตยแท้ บอกว่าคนอื่นก็สำเร็จได้จะไปกำหนดกฎเกณฑ์อย่างนั้น
ข้อที่ 2 ที่บอกว่าจะต้องเป็นผู้ที่มีรูปงามดั่งพรหมนี้ชัดเลย เรียกว่าหลงรูป คัดเอาเลยคนจะเป็นกระจอกงอกง้อย คนที่ไม่เข้าท่าเข้าทางรูปไม่งามนามไม่เพราะอะไรไม่ให้บรรลุได้เลย เช่นเป็นขอทานอะไรนี่อีกแล้วใหญ่ ไม่ได้เลย นี่เป็นผู้ที่เป็นขี้ทูดกุดถังไม่ได้เลยนะ แต่ศาสนาพุทธเจ้ามีนะคนที่เป็นขี้เรื้อนเป็นผู้ที่สามารถบรรลุนิพพานได้
เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านถึงบอกว่า ไอ้ที่บอกว่ามีรูปงามดั่งพรหมจึงจะสามารถบรรลุพรหมจรรย์ได้ นี้ไม่เอาตัดทิ้งตัดทิ้ง อย่าไปกำหนดกฎเกณฑ์อย่างนั้นตัดทิ้งไม่เอา 2 ข้อนี้เห็นได้ชัดเรารู้ได้ชัดเพราะเป็นประชาธิปไตยธรรมดาๆ เรารู้ได้ชัด ใครๆ ก็ต้องเห็นได้ชัด
ทีนี้ข้อที่ 3 นี่สิ ที่อาตมาเน้นเอาไว้สำคัญ ที่พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ที่พราหมณ์ทูลพระพุทธเจ้าว่าจะต้องเป็นผู้ที่ท่องบ่นสวดมนต์จบไตรเพท พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ข้อนี้ก็ตัดทิ้งไปเลย ผู้ที่ไม่เก่งท่องบ่นสวดมนต์ต้องเรียนรู้จบไตรเพท ไม่สามารถบรรลุได้พอดี ทำไมจะต้องเอาอย่างนั้น ความบรรลุอยู่ที่การท่องบทสวดมนต์จบไตรเพทหรือ อธิบายกัน พราหมณ์ก็ต้องเข้าใจ พวกเรานี้ก็อาจเข้าใจได้แล้วที่ฟังอาตมาพูดก็เข้าใจได้
ไม่ต้องไปนั่งท่องนั่งบ่นอะไร ไม่ต้องเป็นเลย นั่งท่องบทสวดมนต์อะไรก็ไม่จำเป็น จะไปเรียนปริญญา ไปเรียนเปรียญ 9 เปรียญ 8 นักธรรมเอกนักธรรมโทก็ไม่จำเป็น จะไปเรียนให้จบพระไตรปิฎก จบไตรเพท ของพราหมณ์เขาเรียกว่าไตรเพทก็คือไตรปิฎก ให้เรียนจบไตรปิฎกก็ไม่จำเป็นตัดออกก็ได้ ตัดออกไปพระพุทธเจ้าท่านบอกว่าตัดออกไป พราหมณ์ที่เข้าใจก็บอกว่าจริงพระเจ้าข้า ตัดออกไปได้
ตกลงที่แท้ๆ ที่จะพาตนบรรลุได้หรือถึงนิพพานได้นั้น มีอยู่เพียง
-
จะต้องศีลบริสุทธิ์ 2. จะทำตนให้ถึงขั้นหลุดพ้นด้วยปัญญา 2 ข้อนี้ แต่ในข้อที่ 2 นี้รวมไปหมดแล้ว ผู้ที่ถือศีลบริสุทธิ์ย่อมมีสมาธิในตน ผู้ที่ถือศีลไม่บริสุทธิ์เป็นสมาธิหลอก สมาธิเก๊ ถ้าผู้ใดอยากให้สมาธิตัวเองเกิด ไม่ใช่ว่าไปนั่งหลับตาแล้วเกิดสมาธิ ไม่ใช่ ผู้ที่จะเกิดสมาธิอยู่ที่ผู้นั้นบำเพ็ญตนให้อยู่ในขอบข่ายของศีล ถือหลักใจหรือกฎที่เราตั้งมาประพฤติว่าเราจะทำอย่างนี้ๆ ให้มันได้ละกิเลสอันนี้ทิ้งกิเลสอันนี้ ทำอย่างนี้ให้เกิด ทำอย่างนี้ให้บริบูรณ์ นั่นแหละสมาธิจะเกิดที่ตนเองเป็นสมาธิแท้ ไม่ใช่สมาธิเอาแต่เอาล่ะวันนี้ฉันจะไปทำสมาธิแล้วมานั่งหลับตา พอลืมตาก็ว่ากับกิเลสจมไปเลย รอเวลาจะนั่งสมาธิก็กลับเข้ามานั่งหลับตาอยู่ในมุมมืด
ตัวเองก็นั่งหลับตาสมาธิอยู่อย่างเก่าแบบนี้เป็นสมาธิปลอมสมาธิเก๊ เป็นสมาธิชั่วคราว เหมือนหินทับหญ้า ที่ท่านพูดเอาไว้มาแต่ไหนจำนวนเก่าๆ บอกว่าหินทับหญ้านี่แหละ สมาธิแบบเก๊ มานั่งทับอยู่เดียวไปเดี๋ยวเดียวก็ออกไปแหม รูปรสกลิ่นเสียงสัมผัสนี้ ฟุ้งไปหมดเลย ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ล่อกันให้นัวเลย ลืมตาออกไปแล้วก็ว่ากันไป เพลงนี้ไม่ใช่อย่างนี้สมาธิเก๊ไม่ใช่
เพราะฉะนั้นสมาธิที่แท้ก็คือเกิดมาจากศีล ถ้าศีลไม่ดีไม่มีสมาธิ ไม่มีสมาธิเพราะฉะนั้นผู้ที่บวชเป็นพระปั๊บเข้าไปพระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ต้องอยู่ในวินัย อยู่ในศีลอย่างเข้มงวด ถ้าไม่มีศีลไม่มีวินัยเข้มงวด สมาธิในพระไม่เกิด เพราะฉะนั้น พระต่างๆ จึงต้องอยู่ในศีลอยู่ในวินัยอย่างเข้มงวด ถึงจะเกิดสมาธิแท้ จะนั่งหลับตาหรือไม่นั่งหลับตาไม่ว่าอะไรทั้งนั้น พระพุทธเจ้าท่านไม่เคยบังคับ จะหลับตาหรือไม่หลับตาก็ช่าง ท่านไม่ว่า เพราะสมาธินั้นไม่ได้หมายความว่าไปนั่งหลับตา สมาธิแท้ๆ ของพระพุทธเจ้าไม่ใช่หมายความว่านั่งหลับตา แต่ต้องเกิดมาต่อเนื่องกัน พอถึงศีลบริสุทธิ์ สมาธิก็บริสุทธิ์จริงๆ เพราะสมาธิบริสุทธิ์จริงแล้วยกสติปัฏฐานขึ้นปั๊บพิจารณา เราพิจารณารายละเอียดขึ้นมาได้ปัญญาญาณตัวแท้เกิด ญาณทัศนะเกิดญาณวิมุติเกิดเมื่อนั้นก็เป็นสมาธิ อยู่ในตัวของมันเอง
เพราะฉะนั้นความสำคัญของการประพฤติพรหมจรรย์ของพระพุทธเจ้าจึงมีอยู่แค่ศีล สมาธิ ปัญญา ท่านแยกออกมาให้ละเอียดนิดนึงตรงวิมุติ แยกศีลสมาธิปัญญาแยกลงมาตรงนี้ เพราะฉะนั้นไปท่องบทสวดมนต์จบไตรเพท มีกายดั่งพรหม มีเกิดในตระกูลพราหมณ์ 7 ชั่วโคตรอะไรไม่เกี่ยวพระพุทธเจ้าท่านว่าไม่เกี่ยวเลย นั่นเรื่องของสมัยก่อน
ที่นี้พอมาเกิดในเมืองไทยขณะนี้ ขณะนี้เราพูดถึงพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ในเมืองไทย พูดถึงศาสนาพุทธในเมืองไทย ที่อาตมาแยกแยะไปถึง 8 ข้อเมื่อกี้นี้ถึงพระภิกษุสงฆ์สมัยนี้ ที่บอกว่า
-
จะต้องเรียนเปรียญ
-
จะต้อง เป็นผู้ที่บวชอย่างน้อย 5 ปีเป็นเถระไป แก่วัด
มีทั้งหมด 8 ข้อ ที่ได้เคยพูดรายละเอียดให้ฟัง
ฉะนั้นในระบบเหล่านั้นจนกระทั่งจำได้ว่า ข้อ 6 7 8 สุดท้ายคือศีล สมาธิปัญญา นอกนั้นที่สูงขึ้นมาเป็นเรื่องลัทธิ ที่ไปไม่ถึงนิพพาน จะเป็นประเด็นก็ตามจะไปนั่งแก่วัดเอาจารีตประเพณีส่วนนั่นส่วนนี่ก็ตาม หรือจะเป็นเรื่องอื่นๆ ต่างๆ นานา ที่จะได้ไปท่องบทสวดมนต์เก่งก็ตาม ท่องบทสวดมนต์อย่างน้อย 7 ตำนานก็ตาม ข้อ 4 จะต้องเป็นผู้ที่ได้ตำแหน่งสมณะอย่างต่ำก็เป็นผู้ที่ได้การยอมรับนับถือจากมวลชน แต่งตั้งให้เป็นผู้กว้างขวาง อย่างต่ำก็เป็นพระครู เป็นเจ้าคุณ เป็นสมเด็จอะไรขึ้นไปตามลำดับ นั่นอีกข้อหนึ่ง และอีกข้อต่อไปทั้งหมดนั่นแหละมันรวมความแล้วเป็นการติดยึดประเพณีต่างๆ ทั้งหมดทั้งมวล เป็นการติดยึดไม่ได้เป็นไปเพื่อความควรเป็นไปอย่างแท้จริง
เพราะฉะนั้นรวมความที่พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า ไตรสิกขาเท่านั้น เป็นทางออกทางเอก เป็นทางเดียวที่จะพาบรรลุได้สูงสุด ไตรสิกขาที่ว่าก็มี ศีล สมาธิ ปัญญา พระพุทธเจ้าท่านได้แยกแยะละเอียด
จะทำตนให้บรรลุสูงขึ้นไป อันนี้แหละมันเป็นคำตอบที่พิสูจน์บ่งบอกได้ว่า พระพุทธเจ้าท่านรังเกียจรังงอนการสวด ข้อที่ 3 ที่พวกพราหมณ์ว่าไว้ อันนั้นอาตมาจำได้เพราะเอามาจากพระไตรปิฎก ท่านไม่ให้มานั่งติดยึดไม่ให้มานั่งผูกพัน อยู่กับการท่องการบ่น ไม่ให้ทำ
และนอกจากท่านไม่ให้ทำแล้ว ก็มีศีลมีวินัยมีปาฏิโมกข์ที่ห้ามไว้ด้วย ว่าอย่าสวดนะ นี่อันนี้สำคัญ สำคัญที่สุดสำคัญจนกระทั่งพระเดี๋ยวนี้ ตั้งแต่สังฆราชมาไม่รู้กี่ชั้นกี่องค์มาแล้ว ไม่รู้เรื่องแล้ว ศีลวินัยข้อนี้ แม้แต่สมเด็จพรหมพระวชิรญาณวโรรสที่เขียนไว้ในหนังสือนวโกวาท ยังได้เขียนในเชิงวิจารณ์ว่า วินัยข้อนี้ไม่เข้าท่า ผิดวินัยปาจิตตีย์ข้อที่บอกไว้ว่า อย่าท่องบ่นยกธรรมบทขึ้นมาท่อง ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปให้ดัง ไอ้พวกที่ไม่ใช่เป็นนักบวชด้วยกันได้ยินอันนี้สำคัญ วินัยปาฏิโมกข์ข้อนี้พระพุทธเจ้าท่านบอกเอาไว้ด้วยเป็นกฏข้อห้ามเอาไว้ด้วย แต่พระภิกษุผู้ใหญ่ทั้งหลายที่ผ่านมาก็ไม่เข้าใจ ก็เลยตีความหมายไม่ออก
งั้นถ้าเราเข้าใจเนื้ออรรถเนื้อธรรม มันเรียบร้อยแล้ว ชัดตรงนี้ว่ามันมีความโยงใยรอบรัดไปถึงกันและกันอย่างไร เพราะพระพุทธเจ้าท่านเองท่านกันเอาไว้ว่าไม่ให้เอานะ ไม่ให้มีพระลูกศิษย์ของตถาคตลูกศิษย์พระพุทธองค์ต่อไปอย่ามานั่งเอาแต่ท่องบทสวดมนต์ไม่เอา ท่านถึงออกกฎข้อนี้เอาไว้ว่าอย่านะ อย่าอุตริไป สวดมนต์สวดพรอะไร ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมาสวดกันโครม ๆ เอาแต่สวดกันไม่เอานะ ท่านถึงออกกฎข้อนี้ว่า อย่านะ อย่าผิดศีลนะ ผิดวินัยปาฏิโมกข์ในอาบัตินะ
ถึงกันนั้นก็ตามเดี๋ยวนี้ อาตมาถึงกล้าพูดได้เลยว่าสวดมนต์ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็นของพระ นี่พวกนี้อาบัติอยู่ทั้งนั้น ไปได้ประพฤติอาบัติอยู่อย่างนั้น แต่ก็ไม่เป็นไร ประพฤติอาบัติโดยไม่รู้พระพุทธเจ้าท่านไม่เอาโทษ แต่อาตมากำลังชี้ให้เห็นว่ามันเป็นอาบัติ ถ้าไม่พูดถึงนะคำที่อธิบายอยู่ที่นี่ เวลานี้เดี๋ยวนี้เอาไปบรรยายต่อหน้า พระผู้ใหญ่หรือเถระเจ้าทั้งหลายแหล่ ถ้าไปบรรยายนี้ อธิบายบัญญัติชัดเมื่อไหร่เกิดเรื่องทันที เกิดเรื่องเลย
เพราะอะไร เพราะพระเดี๋ยวนี้เป็นอยู่ได้ด้วยการสวด คำว่า เป็นอยู่ได้นี่หมายความว่าอะไร หมายความว่าเลี้ยงชีวิตอยู่ได้ด้วยการสวด หมายความว่าอย่างนั้น อย่างนั้นจริงๆ เช้าก็มาทวน อ้าว สวดมนต์ เย็นก็มาทวนสวดมนต์ ทวนเอาไว้แล้วก็ทำใหม่ ส่วนถือว่าสวดมนต์ได้บุญ สวดเข้าไป
พระพุทธเจ้าพาอ้อนวอนหรือ พาสวด หรือ พระพุทธเจ้าเคยสอนแบบให้อ้อนวอนแบบพระเจ้า อ้อนวอนสวดมนต์สวดพร พุทธเจ้าไม่เคย เคยแต่ให้ภูมิปัญญาพาให้รู้ดีให้รู้ชั่ว พระพุทธเจ้าไม่เคยพาทำอย่างนั้น
เพราะฉะนั้นเมื่อเวลาเขามานั่งสวดมนต์เช้า สวดมนต์เย็นนี้สวดอะไร สวดเพื่อที่จะให้มันสักแต่ว่ามารวมหมู่กันแล้วก็ท่องกัน ท่องได้แล้วนะไม่ใช่ท่องไม่ได้ แล้วพระส่วนมากที่บวชอยู่ประจำนอกจากพระ 3 เดือนที่พึ่งมาเข้าใหม่ พระต่างๆส่วนมากท่องได้แล้ว สวดเช้าสวดเย็นท่องได้ทุกองค์แหละ จนกระทั่งขี้เกียจจะสวด เจ้าอาวาสวัดไหนเข้มงวดหน่อย ก็บอกว่าไม่ได้นะไม่ขึ้นสวดไม่ได้นะไม่ให้รับนิมนต์ นี่แหละแสดงว่าอะไร ไม่ให้รับนิมนต์เพราะอะไร ไม่ไปสวดข้างนอกเดี๋ยวไม่ได้เงินนะ ฟังให้ดี ไม่ได้รับนิมนต์เป็นการลงโทษพระไม่ให้รับนิมนต์
เพราะฉะนั้นพระสมัยนี้จึงเป็นอยู่ได้ด้วยการสวด ถ้าไม่ให้ไปสวดนอกวัดหมายความว่า ไม่ให้ไปรับนิมนต์ เขาให้ไปกรวดน้ำ ให้ไปเปิดป้ายให้ไปเจิมอะไรก็ตามแต่ ไปงานแต่งงานไปอะไรก็ตามแต่ เขานิมนต์ 5 รูปบ้าง 7 รูปบ้าง 9 รูปบ้าง ไปนั่งสวด ถ้าไม่ได้รับนิมนต์ไปไม่ให้รับนิมนต์ไปอย่างนี้ก็หมายความว่าจะไม่ได้เงิน
หรือถ้าในวัดมีการเผาผี ก็ไม่ให้รับนิมนต์ขึ้นมาสวดหน้าศพนะ ไม่ให้มาสวดเอาเงินที่หน้าผีนะ ฉะนั้นถ้าบอกว่าไม่ได้นะ พระเจ้าอาวาสวัดไหนบอกว่าไม่ให้ขึ้นสวด ไม่ให้รับนิมนต์แล้ว แหม พระองค์นั้นถูกทรมานยิ่งกว่าให้อยู่กรรม ผิดสังฆาทิเสส ต้องกำหนดปริวาสยิ่งกว่านั้นอีก ยิ่งกว่าลงโทษขั้นสูง
การลงโทษของพระมีตั้งแต่ปาราชิกไล่ออกจากความเป็นพระเลย 2 ก็คือ
สังฆาทิเสส ต้องอยู่ปริวาส ไปไหนก็ไม่ได้รับนิมนต์ก็ไม่ได้ นี่เรียกว่าให้อยู่ปริวาสให้บำเพ็ญอยู่ตรงนั้น อันนี้เป็นการลงโทษขั้นสูง นอกนั้นก็เป็นอาบัติธรรมดาที่จะต้องปลงได้หมายความว่าบอกคืน คล้ายๆ กับแบบของศาสนาคริสต์เขา เรียกว่า ไถ่บาป คือทำผิดอะไรก็มาพูดกันบอกกันว่า วันนี้ข้าพเจ้าได้ทำผิดอันนี้อันนี้แล้วนะก็บอกไป ทำไมพระพุทธเจ้าก็ทำอย่างนั้น
สมัยนี้แม้แต่บอกคืนหรือปลงอาบัติอย่างนี้ ก็ไม่รู้แล้วด้วย พอถึงก็เอาแล้วท่องทวนกันเฉยๆ โดยไม่รู้ว่าตัวเองมีความผิดอะไร ท่องก็เป็นภาษาบาลีถึงต่อหน้ากันก็สวด คนนี้รับคนนี้สวด คนนี้รับคนนี้สวด คนนี้รับ จบเท่านั้นเองเรียกว่า กลายเป็นประเพณีจารีตไม่มีเนื้อแท้ มีแต่ประเพณีสักแต่ว่าทำเท่านั้น
เพราะฉะนั้นถ้าเรื่องสวดไปพูดกับพระเหล่านี้ขึ้นมาเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดเลย เรื่องสวดเป็นเรื่องที่สักแต่ว่าทำ ทั้งๆ ที่พระพุทธเจ้าท่านแก้ศาสนา คือท่านจะพยายามให้คนมาถือความเป็นพรหมจรรย์ได้จริงๆ คือบรรลุพรหมจรรย์ให้ได้จริงๆ แล้วท่านก็แก้วิธีการหรือพิธีกรรมต่างๆ ที่พราหมณ์เขาติดยึด นอกจากจะรื้อแล้วยังออกวินัยกฎปาฏิโมกข์ ว่าอย่าไปทำอีกอย่าไปทำอย่างนี้ขึ้นมามันจะผิด แต่เดี๋ยวนี้ก็ผิดกันเต็มบ้านเต็มเมืองแล้วก็
ระบบที่ว่าไปทำอยู่ที่วัดนรนาถ อาตมาพูดไม่ออกไม่รู้จะทำยังไง มาถึงก็เอา
อานาปานสติขึ้นมากางแล้วก็สวดกันเฉยๆ แล้วแถมเป็นทำนองร้องเพลงด้วยนะ สูงต่ำด้วยนะ ตอนไหนเป็นบาลีก็สวดเสียงสูง พอเป็นภาษาไทยก็ต่ำลงมา เขาเรียกว่าเล่นทำนองอะไร อาตมาก็ไม่รู้เป็นทำนอง ไพเราะเพราะพริ้ง ให้มันเยิ่นเย้อ เอิงเอยกันไปมากมายไพเราะ แข่งกันใครจะสวดได้เพราะหมู่ไหนสวดได้ดี เลยไปเอาโน่น เอารูป เอารส เอาเสียงไพเราะ แทนที่จะเอาเนื้ออรรถเนื้อธรรม จากภาษาที่ท่องที่อ่านกันที่เอาจากพระพุทธเจ้า กลับไปเอารสเอาชาติ แล้วท่องได้เพราะดี สวดได้เพราะดีอะไรอย่างนี้
ฉะนั้นไอ้การที่คลี่ขยายมาจนกระทั่งมาสวดหน้าผี เอาพระอภิธรรมมาสวดหน้าศพอะไรนี่ แหมพระพุทธเจ้าเดี๋ยวนี้ ถ้าเผื่อว่าท่านอยู่จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ท่านเห็นแล้วว่า พระสงฆ์สมัยนี้ได้หาอุบายในทางหากินกับศาสนาพระพุทธองค์ จนกระทั่ง ไปขุดเอาพระอภิธรรมปิฎกมาอ่านต่อหน้าศพ เพื่อหากินแลกเงิน แล้วจนกระทั่งบานปลายออกไป แต่ก่อนสวดพระอภิธรรมหน้าศพก็เพราะจำไม่ได้เขามีตู้พระธรรมที่สวดหน้าศพ ก็คือมีตู้พระไตรปิฎกแต่ทำเป็นใบลานก็เอาใบลานพระอภิธรรมขึ้นมาอ่านสู่กันฟังจริงๆ
สมัยต่อมาก็บอกว่า ไม่เก่งนะสวดต้องท่องให้ได้ เอาใบลานมาอ่านไม่โก้ เอาใส่ตู้ท่องให้ได้แล้วก็มานั่งถือตาลปัตร สวดปากเปล่าให้ได้นะ มันก็จะยิ่งศรัทธา แหม นี่ท่านท่องพระอภิธรรมโดยไม่ต้องใช้ใบลานเลย เก่งอย่างนี้เลยให้ค่าสวดแพงขึ้นแพงขึ้นแพงขึ้น ไม่พอ แม้พระองค์นี้สวดเฉยๆ ไม่เก่งใส่ทำนองมันเข้าให้เลย
เดี๋ยวนี้พระมหานิกาย โอ้โห! สวดทำนอง โอ้โห! ใครเคยได้ฟังบ้างสวดหน้าศพเดี๋ยวนี้ อื้อหือ! ขึ้นลูกคอ สวดกันขนาดหนักเลย อย่างเก่งเลยเดี๋ยวนี้นี่แหละเขาว่าก้าวหน้านะ เรียกว่าเป็นการก้าวหน้า ก้าวหน้ากันใหญ่โต
อย่าว่าแต่เอาใบลานมาอ่านเลย แต่นี่แต่งเองเลยนะ ไอ้ที่สวดใส่ทำนองนี้แต่งเองเลยนะ อนิจจาสังขารนี้ไม่เที่ยงหนอโยม ขึ้นน่าดูเลย แต่งเองนะไม่ใช่ภาษาบาลีนะ สังขารมันก็จะผุพังอะไรอย่างนี้ ตะเบ็งซัดคอแตกเลย ใครมีต้นเสียงแล้วก็รับกันเป็นหมู่ สวดอย่างนี้มีคนนำคนหนึ่ง นอกนั้นเกิดเป็นหมู่คอยรับเป็นลูกคู่ที่เป็นคอรัส มีคนนำอยู่คนหนึ่ง นอกนั้นก็เป็นคอรัสหลงกันใหญ่ ก็กลายเป็น พระร้องเพลง อาตมา เรียกว่าพระร้องเพลง เอาให้ชัดๆ นี่แหละเพลงของพระ
ทีนี้เพลงของพระพวกนี้ก็ออกมาเป็นแหล่ทั้งหลายแหล่ เป็นอะไรต่ออะไร เวลาทำขวัญนาคอะไรต่ออะไร ประยุกต์เข้าไปใหญ่เลย ออกไปหาลิเก จากลิเกเข้ามา ก็กลับเข้ามาหาพระใหม่ เรียงกันไปเรียงกันมาอย่างนี้ ตอนนี้พระก็ได้เพลงจากคน คนก็ได้เพลงจากพระเลอะกันไปใหญ่เลย เรื่องของการสวด พอสวดเข้ามากๆ ก็กลายเป็นเพลง
ที่ว่าสวดเป็นบทมนต์ต่างๆ มันไม่ได้ประโยชน์ เพราะสักแต่ว่าทำมันไม่เกิดผล ถ้าการสวดนั้นมีฤทธิ์มีเดช มีบุญมีกุศลจริง คุ้มครองรักษาเนื้อรักษาตัว คุ้มครองรักษาสังฆมณฑล คุ้มครองรักษาปวงชน หรือคุ้มครองรักษาหมู่ชนทั้งโลก ทั้งกลุ่มทั้งหมู่นี้ได้จริงแล้วล่ะ ก็เมืองทิเบตไม่มีใครตีแตก เพราะเมืองทิเบตสวดกันทั้งเมืองเลย เป็นพระพุทธศาสนากันทั้งเมืองเลยเมืองทิเบต ศาสนามหายานทิเบต สวดกันทั้งเมืองเลย เรียกว่า ลัทธิมนตรยาน พวกทิเบตสวดกันทั้งเมืองเลยสวดสวดมนต์กันทั้งเมืองเลย พึมพำพึมพำบ้านไหนต่อบ้านไหน ก็สวดบางคนสวดกลางคืนยันรุ่งเลยสวดกันทั้งวันทั้งคืน ถ้าใครเคยศึกษามหายานแบบมนตรยานของทิเบตมาแล้วจะเคยรู้เรื่อง
เพราะฉะนั้น ถ้าเผื่อว่าการสวดมนต์สวดพร ได้บุญและมีกุศลแรงเข้มแข็งดีแล้ว ทิเบตไม่เป็นคอมมิวนิสต์หรอก ไม่ถูกคอมมิวนิสต์มันตีแตก จนป่านนี้หรอก มันแข็งแกร่ง แต่นี่เพราะทิเบตเป็นแต่นั่งสวดกันอยู่ มันถึงหมด หมดคุณค่าหมดพลัง ที่จะเรียกว่าปัญญาจะเอาตัวรอด เพราะเขามาตีเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะเอาแต่นั่งสวด พอเขาจะมาตีก็นั่งสวดนั่งสวด ก็หวานเขา เขาก็ตีเอาสบายสิ เขาก็เลือกตีที่สบายเหมือนตีกบตีเขียดเลย ต่างคนต่างนั่งเอาแต่สวด เขาก็ตีเอาสบายไม่รู้จักในการที่จะทำอย่างไร ดีอย่างไร ชั่วอย่างไร ควรอย่างไรควร อย่างไรไม่ควร เพราะฉะนั้นทิเบตจึงพัง เพราะเหตุว่าไปหลงมนต์ หลงสวด นี่พูดถึงโทษของมนต์ โทษของสวด
ท่านเล่ามาก็เลยยาวไปเลยตอนแรกว่าจะเล่าสั้นๆ จริง ๆ ยาวกว่านี้ก็ได้ แต่เอาละ พอ การสวดมีแสลงอีกอันก็คือการว่า อาตมาก็กำลังว่าคนอื่น
คำว่าทำวัตรเดี๋ยวนี้ แปลเปลี่ยน คำว่าทำวัตร สมัย พระพุทธเจ้าอยู่มีการทำวัตร ไม่ใช่ทำวัตรเช้าทำวัตรเย็นอย่างที่เป็นเหมือนกันทุกวันนี้ ซึ่งหมายความว่าไปรวมกันที่ศาลาหรือไปรวมกับที่โบสถ์แม้แต่นั่งสวดเอาๆ เรียกว่า ทำวัตรเช้าทำวัตรเย็นของพระ ความหมายของเขา แต่คำว่าทำวัตรของพระพุทธเจ้านั้นหมายความว่า ไปเคารพผู้ใหญ่ ไม่รู้เลยใช่ไหมความหมายอย่างนี้ ถ้าไปถามพระเดี๋ยวนี้ พระที่บวชมาแล้วหลายๆ พรรษาจะรู้ ว่าคำว่าทำวัตรนี้ หมายความว่าไปเคารพผู้ใหญ่เขายังมี ยังมีการทำ
เพราะฉะนั้นมาเข้าพรรษาทีนึง ก็มีการทำวัตรออกพรรษาทีนึง ก็มีการทำวัตรเขายังทำวัตรนะ แต่ทำวัตรอันนี้หมายความว่าไม่ได้ไปสวดมนต์เช้าสวดมนต์เย็น เขาเรียกทำวัตรเหมือนกัน เพราะฉะนั้นเดี๋ยวนี้คำว่าทำวัตร เลยกลายเป็น 2 ความหมาย เข้าใจไหม เดี๋ยวอาตมาจะแยกแยะให้ฟังว่า ทำไมมันถึงกลายเป็น 2 ความหมาย
ความหมายที่แท้จริงมันเป็นอย่างไร และความหมายที่ไม่แท้จริง มันเป็นอย่างไร ความหมายเดี๋ยวนี้เลย ทุกคนรู้ว่า ทำวัตรคือการเข้าไปรวมกันสวดมนต์เช้าสวดมนต์เย็นสวดมนต์ อันที่จริงนั้นตั้งแต่สมัยพุทธกาล อาตมาขอเล่าเรื่องพุทธกาลนอกพระไตรปิฎก ทุกที สมัยพุทธกาลนั้น พระพุทธเจ้าท่านเองท่านเป็นผู้ปกครองท่านเป็นผู้สร้าง สังฆมณฑล เป็นผู้สร้างศาสนาเอง ท่านเป็นใหญ่ เวลาท่านไปที่ไหนท่านมีสาวกต่างๆ มา ท่านไปถึงไหนสาวกก็อยากจะเข้ามาเฝ้า มาเฝ้าทำไม
-
มาเฝ้าเพื่อทำความเคารพ
-
มาเฝ้าเพื่อที่จะได้ฟังธรรมเทศนา